คลังเก็บป้ายกำกับ: CMO

dtac เปิดตัว ฮาว ริ เร็น CMO คนใหม่สร้างความแตกต่างด้วย Mobile Only ไม่ง้อ Convergence

CMO กลายเป็นตำแหน่งที่หายากย่ิงสำหรับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ dtac ไปแล้ว ในรอบเกือบ 10 ปีที่ผ่านมามีคนทำหน้าที่ทั้ง ชาวต่างชาติ และคนไทย แต่ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ข้อจำกัดเรื่องการกำกับดูแล และนโยบายจากผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างเทเลนอร์เอง ทำให้ยังไม่มีใครที่ตอบโจทย์ของ dtac ได้ชัดเจน

เมื่อผสมกับความคาดหวังที่ CMO จะสร้างความแตกต่างและพลิกสถานการณ์ให้กับ dtac ที่หล่นจากอันดับ 2 มาอยู่อันดับ 3 ในตลาดโทรคมนาคมไทย งานนี้ยิ่งยากขึ้นกว่าเดิม และทำให้คนที่จะมารับตำแหน่งนี้ ถูกจับตามองอยู่ไม่น้อย

ฮาว ริ เร็น CMO ใหม่จากมาเลเซีย

ฮาว ริ เร็น (How Lih Ren) คือชื่อของ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารการตลาด หรือ Chief Marketing Officer (CMO) ของดีแทค โดยเริ่มทำงานตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 ก่อนหน้านี้เป็นผู้นำการตลาดที่สร้างการเติบโตใน Digi Telecommunication ประเทศมาเลเซีย ผ่านประสบการณ์มา 8 ปี เคยดูแลฝ่ายขาย ฝ่ายงานกลยุทธ์องค์กร ฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายบริหารจัดการโครงการ และฝ่ายงานบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในองค์กร

ก่อนหน้าร่วมงานกับ Digi (เป็นบริษัทที่เทเลนอร์ถือหุ้นอยู่เช่นเดียวกับ dtac) ริ เร็น เคยทำหน้าที่ผู้จัดการอาวุโส Deloitte Consulting ดูแลบริษัทในอันดับ Fortune 500 ในหลายประเทศ รวมถึงในไทยด้วย

และการมาทำหน้าที่ CMO ของ dtac จะทำหน้าที่ดูแลการตลาดบริการระบบรายเดือน ระบบเติมเงิน งานบริการและงานขายดิจิทัล การบริหารและสร้างคุณค่าในการใช้งานให้กับลูกค้า งานวางแผนและสร้างความเข้าใจลูกค้า รวมถึงงานสื่อสารแบรนด์ดีแทค

สร้างความแตกต่างด้วย Mobile Only ไม่ต้องมี Convergence

คู่แข่งในตลาดอย่าง AIS และ True สร้างบริการที่เรียกว่า Convergence และต่อยอดไปสู่ความเป็น Digital Lifestyle ไม่ได้มีแค่บริการมือถืออย่างเดียว แต่ dtac มีบริการมือถือเป็นหลักเพียงอย่างเดียว แม้จะมี New Business เช่น รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า, หรือบริการ dtac@Home แต่ก็อยู่บนพื้นฐานของ Mobile

ริ เร็น บอกว่า dtac จะมุ่งสร้างความแตกต่างด้วย Mobile Only โดยไม่จำเป็นต้องมี Convergence ก็ได้ และจะเห็นภาพชัดเจนในอีกไม่กี่เดือนนี้ (ภายในปี 62)

ความแตกต่างของ dtac ที่จะเกิดขึ้น จะเน้นทำให้ผู้ใช้เกิดประสบการณ์ที่ดีที่สุด ไม่ใช่แค่แจกของ หรือให้สิทธิพิเศษ แต่ต้องให้สินค้าและบริการในช่องทางที่ถูกต้อง ในเวลาที่เหมาะสม

ยอมรับ Functional มีจุดอ่อน แต่จุดแข็งคือ Emotional

dtac เสียผู้ใช้บริการไปหลายล้านรายในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ทำให้เสียอันดับ 2 ในตลาดและลงมาอยู่อันดับ 3 ซึ่ง ริ เร็น ยอมรับและมองเห็นจุดอ่อนของดีแทคว่า อยู่ที่ Functional นั่นคือ การใช้งาน ซึ่งได้เร่งปรับปรุงมาโดยตลอด การมีคลื่นความถี่ย่านสั้น คือ 700 และ 900MHz มีส่วนช่วยบริการในพื้นที่ไกล และมีคลื่น 2100 กับ 2600MHz ช่วยให้บริการในเมืองดีขึ้น

เทียบกับผู้ให้บริการรายอื่นแล้ว dtac มีคลื่นความถี่มากที่สุด ดังนั้นต้องสร้าง Functional ให้ผู้ใช้ได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด

อย่างไรก็ตาม จุดแข็งของ dtac คือ Emotional ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์ ลูกค้าที่อยู่ด้วยกันหรือเคยอยู่ด้วยกัน มีความผูกพันและรักดีแทค มั่นใจว่าถ้า Functional ดี ลูกค้ามีโอกาสกลับมาอยู่ด้วยกัน

“บริการกับราคา เป็นเรื่องที่ใครก็ทำได้ Copy กันได้ง่ายๆ แต่สิ่งที่ Copy ได้ยาก คือ การสร้างความรู้สึก ความผูกพัน และประสบการณ์ที่ได้รับ”

Be Simple, Honour and Physical

ริ เร็น บอกว่า บุคลิกของดีแทคนั้น แต่เดิมเป็นคน “ใจดี”​ อยู่แล้ว แต่ที่ผ่านมาเหมือนจะจางๆ ไป ดังนั้นต้องทำให้ชัดเจนขึ้น ให้ผู้ใช้รู้สึกว่า การใช้ดีแทค มีความรู้สึกดีๆ ติดมาด้วย บางแบรนด์ใช้แล้วอาจรู้สึกมีระดับ บางแบรนด์อาจจะรู้สึกไปอีกทางหนึ่ง แต่สำหรับดีแทค ต้องรู้สึกใจดี

ดังนั้น การรู้สึก Be Simple หรือ เรียบง่าย, Honour จริงใจตรงไปตรงมา และ Physical เอาใจใส่ลูกค้า จะเป็นบุคลิกของ dtac ที่สำคัญคือ ลูกค้ากว่า 20 ล้านราย ใช้งานต่างกัน รายเดือน เติมเงิน มีเงื่อนไขสารพัด เป็นโจทย์ที่ไม่ง่าย แต่คือสิ่งที่ต้องทำเพื่อชนะใจลูกค้า

“ความจริงใจคือประเด็นสำคัญ dtac ไม่ขายข้อมูลลูกค้าแน่นอน เทเลนอร์ คือผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นรัฐวิสาหกิจของนอร์เวย์ให้ความสำคัญเรื่อง Good Governance ในยุโรปมีกฎหมายเรื่องนี้เข้มงวดมาก

เป้าหมาย ไม่ใช่กลับไปเบอร์ 2 แต่คือ ชนะใจลูกค้า

เมื่อถูกถามว่า ดีแทค จะกลับขึ้นไปเป็นเบอร์ 2 ได้หรือไม่ ริ เร็น บอกว่า การเปลี่ยนอันดับของผู้ให้บริการโทรคมนาคมในตลาดไทย เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย แต่ก็ไม่ได้บอกถึงประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กร ต้องดูผลประกอบการ ผลรายได้ กำไรขาดทุน ดูความพึงพอใจของลูกค้า

การที่ ดีแทค จะกลับขึ้นไปเป็นเบอร์ 2 ของตลาด ถือเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน แต่ไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุด เป้าหมายของดีแทคในความเห็นของริ เร็น คือ การเอาชนะใจลูกค้าให้ได้ (ซึ่งเป็นคำพูดเดียวกับ อเล็กซานดรา ไรช์ -Alexandra Reich CEO ของ dtac) ซึ่งผลประกอบการไตรมาส 2 ของดีแทคก็ออกมาดี แปลว่ามีสัญญาณบวกแล้ว

การจะเอาชนะใจลูกค้าดีแทคไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คิดว่า มาเลเซียกับไทย ก็มีทั้งส่วนที่เหมือนกันและต่างกัน แต่สุดท้ายหลักการและพื้นฐานในการให้บริการเหมือนกัน

ถ้าคนในไม่ได้ บางทีคนนอกอาจเป็นคำตอบ

อย่างที่เกริ่นไปแต่แรกว่า dtac หา CMO มานาน ริ เร็น บอกว่า บางทีถ้าคนในประเทศยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ บางทีต้องลองให้คนนอกมาทำดู เรียกว่า Outside in และเป็นคนนอกที่อยู่ไม่ไกลจากไทย เรียกว่าถ้าไม่มีการคิดใหม่ ทำใหม่ ก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่ทำแบบเข้าใจบริบทในเมืองไทย ปรับให้เข้ากับพฤติกรรมและความต้องการ

แต่สุดท้ายแล้วเวลาเท่านั้น ที่จะพิสูจน์ว่า ฮาว ริ เร็น คือ CMO ที่ใช้สำหรับ dtac หรือไม่

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/dtac-how-lih-ren-cmo/

“ปัญญา เวชบรรยงรัตน์” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาดของ dtac ลาออก

การมาถึงของ Alexandra Reich ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนล่าสุดของ dtac ก็เกิดเรื่องเปลี่ยนแปลงมากมาย ซึ่งล่าสุดก็คือการจากไปของ “ปัญญา เวชบรรยงรัตน์” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ที่ขอลาออก

ปัญญา เวชบรรยงรัตน์

คนไทยอีกหนึ่งที่ต้องออกจากทีมบริหาร

หลังจากเริ่มทำงานกับ dtac มาตั้งแต่ปี 2551 ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจที่ทำกับพาร์ทเนอร์ต่างๆ “ปัญญา เวชบรรยงรัตน์” ก็ใช้เวลาไม่นานในการขยับตำแหน่งขึ้นมาเรื่อยๆ ตั้งแต่หัวหน้าภูมิภาค จนล่าสุดคือ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด

แต่ล่าสุด “ปัญญา” ก็ได้ยื่นลาออกจากตำแหน่งนี้แล้ว แต่จะทำงานร่วมกับบริษัทในฐานะที่ปรึกษาอยู่ ถือเป็นอีกครั้งที่ dtac ต้องสูญเสียหัวเรือหลักด้านการตลาดออกไป และนับตั้งแต่การลาออกของผู้บริหารไทยชุดใหญ่เมื่อปี 2558 ตัวตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาดก็หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา

ไล่ตั้งแต่ผู้บริหารจากต่างชาติ และคนก่อนหน้า “ปัญญา” ที่เรารู้จักกันดีก็คือ “สิทธิโชค นพชินบุตร” มือการตลาดตัวเก๋าจากค่าย Samsung ที่หลังจากเข้าร่วมงานกับ dtac ในช่วงกลางปี 2559 แต่สุดท้ายก็ต้องลาออกไปในต้นปี 2561 ดังนั้นคงต้องจับตาดูว่า ตำแหน่งนี้ของ dtac คนถัดไปจะเป็นคนไทยเหมือนเดิมหรือไม่

อย่างไรก็ตามระหว่างช่วงเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ Alexandra Reich จะเข้ามารักษาการในตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ย. ก่อน เพื่อหาผู้บริหารที่เหมาะสมในการแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งดังกล่าวต่อไปในอนาคต

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/dtac-cmo-resign/

แบรนด์ที่มี CMO เป็นผู้หญิง ช่วยสร้างประสบการณ์ให้ลูกค้าได้ดีกว่าจริงหรือ?

จากการจัดอันดับ Brand Relevance Index พบว่าแบรนด์ที่ติดอันดับแบรนด์ชั้นนำล้วนมีแม่ทัพด้านการตลาดเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น ประเด็นนี้สามารถสะท้อนอะไรได้บ้าง

Photo : Shutterstock

จากการจัดอันดับรายงาน Brand Relevance Index ของ Prophet พบว่า 7 แบรนด์ จาก 20 แบรนด์ล้วนมี CMO หรือแม่ทัพสูงสุดด้านการตลาดเป็นผู้หญิงทั้งสิ้น

ได้แก่ Netflix อันดับ 4, Google อันดับ 6, Samsung อันดับ 7,  LEGO อันดับ 11, YouTube อันดับ 12, Pixar อันดับ15 และ Intel อันดับ 18

รายงานฉบับนี้ได้ทำการสำรวจผู้บริโภคจำนวน 47,845 รายทั่วสหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี และจีน ทำการสำรวจกับ 800 แบรนด์ พร้อมกับเป็นพันธมิตรกับ Research Now SSI ซึ่งเป็นผู้ให้บริการข้อมูลสำหรับผู้บริโภค และเก็บดาต้าเรื่องการวิจัยทางการตลาด

จากข้อมูลของรายงานฉบับนี้สามารถสะท้อนให้เห็นอะไรหลายๆ อย่าง ที่เห็นชัดคือการตั้งคำถามในเรื่องของแบรนด์ที่มี CMO เป็นผู้หญิงสามารถติดโผมาตั้ง 7 แบรนด์ อาจจะบ่งบอกได้หลายประการ ทั้งในเรื่องของนโยบายในการให้ผู้หญิงมีส่วนในการตัดสินใจในตำแหน่งระดับสูงๆ

หรือจะเป็นในเรื่องของ Women Economy ที่เศรษฐกิจถูกขับเคลื่อนโดยผู้หญิงทั้งนอกบ้าน และในบ้าน ผู้หญิงเป็นผู้มีอำนาจในการใช้เงิน เพราฉะนั้นกลยุทธ์ที่เจาะผู้หญิงอาจจะมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วยหรือไม่

ส่วนภาพรวมของรายงานนั้นพบว่า Apple ยังคงครองอันดับ 1 ติดต่อกันเป็นปีที่ 4 ในฐานะที่เป็นแบนด์สหรัฐอเมริกาที่ยอดนิยมที่สุด รองลงมาคือ Amazon ซึ่งมีคะแนนสำหรับเรื่องนวัตกรรมที่หลากหลาย ตามมาด้วย Pinterest ในอันดับที่ 3

นอกจากนี้ยังมีแบรนด์ในด้านไอทีที่ติดอันดับเยอะเช่นกัน ได้แก่ YouTube อันดับ 12, Bose อันดับ 17, Intel อันดับ 18, Sony อันดับ 21, Fitbit อันดับ 27 และ Microsoft อันดับ 33

Source

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/female-cmos-delivering-customer/

CMO แห่ง Huawei ติดทำเนียบสุดยอดนักการตลาดโลกปีนี้

สมาพันธ์โฆษณาโลกหรือ World Federation of Advertisers นั้นมีธรรมเนียมจัดอันดับนักการตลาดโลกเพื่อให้รางวัลเป็นประจำ ล่าสุดหัวหน้าทีมการตลาดหรือ CMO ที่ถูกจัดขึ้นทำเนียบปีนี้มีแบรนด์เอเชียอย่าง Huawei รวมอยู่ด้วย ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจสำหรับ Huawei ในการก้าวสู่ระดับโลก

ในรายชื่อ CMO จำนวน 6 รายที่มีคิวได้รับรางวัล Global Marketer of the Year มีชื่อหัวหน้าฝ่ายธุรกิจคอนซูเมอร์ของ Huawei อย่าง Glory Cheung ปรากฏชัดเจน โดยรายชื่อ CMO ทั้ง 6 รายถูกเปิดเผยสู่สาธารณชนหลังจากผ่านกระบวนการคัดเลือกผู้เข้ารอบ 35 ราย ที่ถูกเลือกโดยคณะผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและการตลาด 14 คน

เกณฑ์การตัดสินคือการเลือก CMO ที่มีผลงานแสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำที่โดดเด่นใน 3 ประเด็นหลัก คือการพัฒนาองค์กรให้มีความเป็นศูนย์กลางมากขึ้น การทำงานอย่างชาญฉลาดกับคู่ค้า และการสร้างงานสุดเก๋ที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจที่แตกต่าง

CMO ทั้ง 6 รายที่ได้รับเลือกได้แก่ (เรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อ)

1. Marc Pritchard ประธานเจ้าหน้าที่แบรนด์และผลิตภัณฑ์ Procter & Gamble
2. Raja Rajamannar ประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร และประธานธุรกิจดูแลสุขภาพ Mastercard
3. Hans-Christian Schwingen ประธานฝ่ายการตลาด Deutsche Telekom
4. Jane Wakely ประธานฝ่ายการตลาด ธุรกิจโภชนาการสัตว์เลี้ยง Mars
5. Keith Weed หัวหน้าฝ่ายการตลาดและการสื่อสารของ Unilever
6. Glory Zhang ประธานฝ่ายการตลาด กลุ่มธุรกิจผู้บริโภค Huawei

จากรายชื่อ 6 คนนี้ จะมีนักการตลาด 1 เดียวเท่านั้นที่เป็นผู้ชนะการโหวต โดย WFA จะจัดลงคะแนนทางเว็บไซต์ต่อไป

แม้ว่า Global Marketer of the Year จะเป็นรายชื่อของนักการตลาดเฉพาะกลุ่ม แต่การก้าวขึ้นทำเนียบนักการตลาดระดับโลกของผู้บริหาร Huawei ถือเป็นหลักไมล์สำคัญของแบรนด์สัญชาติเอเซีย ซึ่งโดดเด่นเหนือแบรนด์อื่นในเรื่องการสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าในมือ

ที่มา: CampaignAsia

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/12/huawei-global-marketer-of-the-year/

แนะแนววิธีทำ digital transformation ของผู้บริหาร CCO และ CMO

ผู้บริหารด้านการตลาดหรือ marketing executive ในวันนี้ล้วนมีวิธีรับมือกับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลหรือการทำ digital transformation ที่แตกต่างกันไป แต่อย่างน้อย ผู้บริหาร 22 คนนี้มีแนวทางเริ่มต้นทิศทางเดียวกันในการโหนกระแสเทรนด์ดิจิทัล

CCO ที่ต้องดูแลการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกของบริษัท และ CMO ที่ต้องดูแลการตลาดในภาพรวม ล้วนมีโอกาสใช้คำว่า “ดิจิทัล” หลายสิบครั้งในรอบสัปดาห์ ถามว่าแท้จริงแล้ว “ดิจิทัล” คืออะไร? แล้ว “digital content” คือทุกสิ่งที่ไม่ได้ถูกพิมพ์มาบนกระดาษใช่หรือไม่? แน่นอนว่าทั้ง CCO และ CMO มือดีต่างรู้แก่ใจว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลหรือ digital transformation นั้นมีอะไรมากกว่านั้น ซึ่งทำให้ทุกคนมีงานและความรับผิดชอบเพิ่มขึ้นในแต่ละวัน

การสำรวจของสถาบันด้านประชาสัมพันธ์หรือ Institute for Public Relations และ Peppercomm ซึ่งถามความเห็นนักบริหารกว่า 22 ราย พบว่าส่วนใหญ่ใช้ 3 ขั้นตอนในการทำ digital transformation ในแผนกการตลาด ซึ่ง 3 ขั้นตอนนี้สามารถเป็นแนวทางที่ยังไม่ล้าสมัยอีกนาน

ขั้นตอนแรกคือการเริ่มตรวจสอบก่อนวางแผน ขั้นนี้ผู้บริหารควรเชื่อมประสบการณ์ผู้ใช้เข้ากับข้อมูลที่มี ขณะเดียวกันก็ควรวิเคราะห์ว่าเมื่อไรหรืออย่างไรที่บริษัทสามารถผู้ติดกับลูกค้าได้มากที่สุด จุดนี้ขอให้แน่ใจว่าบริษัทมีซอฟต์แวร์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งหากไม่มี ก็จงเอาท์ซอร์สจ้างบริษัทอื่น

ขั้นที่ 2 คือเดินตามกลยุทธ์ ขั้นนี้บริษัทต้องรู้ว่าใครที่เป็นเจ้าของข้อมูลหรือเครื่องมือ รวมถึงเนื้อหาที่บริษัทจำเป็นต้องใช้ในโครงการสื่อสารดิจิทัลนั้น กรณีนี้ Infographic แนะนำว่าทางที่ดี บริษัทควรนึกถึงจิตใจของผู้อ่านหรือกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถมองเห็นช่องว่างของนโยบายที่วางไว้ได้ชัดเจน

ขั้นที่ 3 คือการวัดผลและปรับปรุง ขั้นนี้มีคำแนะนำให้เปิดโครงการขึ้นมาติดตามเลยว่าคู่แข่งทำแคมเปญดิจิทัลอย่างไร ขณะเดียวกันก็ควรทำระบบวัดผลที่สามารถติดตามข้อมูลที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับโครงการ

แน่นอนว่าทั้ง 3 ขั้นนี้ฟังดูง่าย แต่จากประสบการณ์ หลายคนพบว่าการผลักดันให้องค์กรเดินไปตามโมเดลนี้ต้องใช้เวลาพอสมควรทีเดียว

ติดตามรายละเอียดจาก Infographic ด้านล่าง:

ที่มา: PRDaily

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/10/digital-transformation-cco-cmo/

1 ปีกับบทบาท CMO “สิทธิโชค นพชินบุตร” ขอเวลาปรับฐานองค์กรใหม่ ครึ่งปีหลังมีเซอร์ไพรส์แน่นอน

ทำงานมาครบ 1 ปีพอดี สำหรับ สิทธิโชค นพชินบุตร CMO ฝีมือคนไทยฝีมือดี ที่หลายคนกำลังจับตามองว่า จะมาพลิกสถานการณ์ทางการตลาดให้กับ dtac ที่ต้องยอมรับว่าก่อนหน้านี้ใช้ CMO จากต่างประเทศ เลยทำให้ยังเข้าใจผู้บริโภคคนไทยไม่ถึงแก่นมากนัก

ครั้งนี้ Brand Inside ได้โอกาสเข้ามานั่งพูดคุยถึง 1 ปีที่ผ่านมาและอีก 1 ปีจากนี้ สิทธิโชค มองสถานการณ์ต่างๆ และเตรียมขยับการตลาดของ dtac อย่างไร

1 ปี ปรับฐานองค์กรใหม่… ยังไม่จบ

สิทธิโชค บอกว่า ช่วงเวลา 1 ปีที่ทำงานกับ dtac ต้องบอกว่ายังใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการปรับฐานภายในองค์กรใหม่ ด้วยองค์กรขนาดใหญ่ที่มีพนักงานกว่า 5,000 คน มีฝ่ายการตลาดกว่า 1,500 คน การกำหนดแนวทางและกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นต้องยอมรับว่ อาจต้องใช้เวลาอีกสักระยะกว่าการปรับฐานทางธุรกิจจะเสร็จเรียบร้อย

“แม้ส่วนตัวจะอยากทำให้เร็วกว่านี้ แต่ก็ต้องยอมรับว่าในเวลา 1 ปียังเร็วเกินไปที่จะปรับเปลี่ยนองค์กรขนาดใหญ่ให้เสร็จ ทุกคนในองค์กรต้องการเวลาในการปรับตัว”

ในยุค Digital Transformation องค์กรต้องปรับตัวให้เร็ว แต่ส่วนตัวมองว่ายังมีเวลาที่จะทบทวนและปรับตัวอย่างระมัดระวัง เพื่อทิศทางขององค์กรที่ถูกต้อง อาจใช้เวลาอีกประมาณ 1 ปีจากนี้ เชื่อว่า Core Business ของ dtac ยังสามารถสร้างรายได้และทำกำไรได้ ในระยะสั้นอาจมีผลกระทบบ้าง

แต่เชื่อว่าในระยะยาว dtac จะเติบโตขึ้นอย่างมั่นคง

 6 เดือนแรกยังไม่ชัด ธุรกิจต้องดูกันยาวๆ

สำหรับ 6 เดือนแรกของปีนี้ สิทธิโชค บอกว่ามีทั้งเรื่องที่ดีและเรื่องที่ต้องปรับปรุง จะเห็นว่า ไตรมาสแรกแม้จำนวนลูกค้าจะลดลงแต่รายได้เพิ่มขึ้น ถือเป็นสัญญาณที่ดี เรียกว่าระยะสั้นอาจจะสะดุดบ้างจากการทุ่มตลาดของคู่แข่ง แต่เรื่องนี้ต้องดูกันยาวๆ

ผลบวกเกิดขึ้นในไตรมาสแรก เริ่มจาก dtac เลือกใช้ อั้ม พัชราภา ไชยเชื้อ เซเลบซูเปอร์สตาร์มาเป็น พรีเซ็นเตอร์ในเรื่องความกว้างของคลื่นความถี่ และความลื่นของบริการ ซึ่งกลายเป็น Talk of the Town ตามมาติดๆ ด้วยแพ็คเกจ Go No Limit ที่มี นาย ณภัทร เสียงสมบูรณ์ มาเรียกเสียงฮือฮา และเป็นแพ็คเกจแรกของตลาด ที่ตรงกับพฤติกรรมผู้ใช้ที่เปลี่ยนไปเน้นเรื่อง data มากกว่า

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าไตรมาส 2 ควรมีแคมเปญออกมาต่อยอดทันที แต่ dtac ก็หายไป ขาดความต่อเนื่อง นี่คือสิ่งที่ต้องปรับปรุง ดังนั้นในครึ่งปีหลังนี้ การตลาดของ dtac จะมีความต่อเนื่องมากขึ้น และมีเซอร์ไพรส์ออกมาแน่นอน

dtac Reward บริการ CRM ที่เห็นผลชัดเจน

ในด้าน CRM ต้องบอกว่าผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดคือ Serenade จาก AIS รวมถึง True Privilege ก็มีบริการที่หลากหลาย ขณะที่ dtac เริ่มต้นทีหลังสุด แต่หลังจากที่วางแผนและดำเนินการอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา dtac Reward ก็ได้รับการตอบรับที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ

มีการทำโพลอย่างไม่เป็นทางการในเว็บไซต์ pantip.com เปรียบเทียบบริการ CRM จาก 3 ค่าย คลิกทีนี่ ผลปรากฎว่า dtac ชนะ!

สิทธิโชค บอกว่า dtac Reward ยังต้องพัฒนาไปอีกมากเพื่อให้บริการกับผู้ใช้ และเพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายอื่น ซึ่งผลสำรวจครั้งนี้อาจไม่สามารถใช้อ้างอิงอะไรได้ แต่ก็แสดงให้เห็นว่า การทำงานอย่างเต็มที่ด้าน CRM ของ dtac ผู้บริโภคสามารถรับรู้ได้ถึงความเปลี่ยแปลงที่เกิดขึ้น และจะเป็นแรงผลักดันให้ dtac ทำให้ดีขึ้นต่อไป

อะไรจะเกิดขึ้นภายใน 6 เดือนข้างหน้า

อย่างที่บอกไปแล้วว่าบทเรียนจากไตรมาส 2 ที่เงียบเกินไป ทำให้ครึ่งปีหลังแคมเปญการตลาดต้องต่อเนื่อง และจะมีเซอร์ไพรส์ออกมาสู่ตลาดแน่นอน รวมถึงเรื่องคลื่นความถี่ 2300MHz ที่ยังอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียดสัญญากับทีโอที ทำให้ไม่สามารถเปิดเผยอะไรได้มากนัก

แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่นอนคือ การปลดล็อคความกังวลใจของผู้ใช้ว่า dtac จะไม่มีคลื่นสำหรับให้บริการ ซึ่งการมีคลื่นความถี่กว้าง 60MHz ทำให้สามารถสร้างสรรค์บริการใหม่ๆ ได้ ถือเป็นจิ๊กซอว์ของ story ที่ dtac จะเล่าถึงในอนาคต

และจะส่งผลดีในระยะยาวต่อธุรกิจของ dtac อย่างแน่นอน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/cmo-dtac-new-strategy/

งานน้อยลง? CMO หลายแบรนด์ถูกยุบรวมงานปี 2017

น่าใจหายไม่น้อยเมื่อหลายแบรนด์ส่งสัญญาณยุบงานของ CMO ที่เคยแบ่งเป็นหลายฝ่าย มารวมกันอยู่ภายใต้ผู้บริหารคนเดียว การประกาศนี้เกิดขึ้นอย่างพร้อมเพรียงในเวลาไล่เลี่ยกัน ถือเป็นสัญญาณที่แสดงว่าบทบาทของ CMO ของแบรนด์อื่นทั่วโลกอาจจะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย

หลังจากมีนาคมที่ผ่านมา Coca-Cola เป็นข่าวดังในวงการการตลาดว่าผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดระดับโลกหรือ CMO อย่าง Marcos de Quinto ประกาศเกษียนตัวเองหลังจากงานกลุ่ม C-suite หดหายไปเพราะการปรับโครงสร้างบริษัท ล่าสุด Citi ก็ประกาศรวมแผนกงานการตลาดระดับโลก (global consumer marketing) เข้ากับแผนกการโฆษณาในสหรัฐ ซึ่งควบกลุ่มงานความบันเทิงระดับโลกไว้ด้วย (U.S. advertising and global entertainment groups) โดยทั้งหมดจะขึ้นตรงกับ CMO คนเดียว

ยังมีแบรนด์อย่าง Mars ที่ประกาศปรับโครงสร้างบริษัทด้วยการรวมงานดูแลลูกค้า Chief Customer Officer และงาน CMO เข้าไปเป็นแผนกเดียวกัน

ข่าวเหล่านี้สะท้อนถึงเหตุผลในการสร้างบทบาท “hybrid CMO” ซึ่งทำให้ผู้บริหารกลุ่มนี้มีพลังมากขึ้นในการสร้างแบรนด์ การรวมศูนย์ไปที่ผู้บริหารคนเดียวยังถูกมองว่าสามารถช่วยให้แบรนด์ส่งสารถึงสาธารณชนได้แบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมากขึ้น ผ่านช่องทางหลากหลายที่ผู้บริโภคจะได้สัมผัสแบรนด์ทั้งทางโฆษณา ทางการขาย หรือทางงานบริการลูกค้า

แม้จะฟังดูดี แต่ความเคลื่อนไหวเหล่านี้สะท้อนความไม่มั่นคงของผู้บริหารฝ่ายการตลาดไปด้วย ที่ผ่านมา การสำรวจไม่น้อยชี้ว่าตำแหน่ง CMO นั้นมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้บริหารจะอยู่ในตำแหน่งสั้นกว่าผู้บริหารด้านอื่น

ที่เห็นชัดคือเมื่อมีนาคมที่ผ่านมา บริษัท Spencer Stuart พบว่าอายุครองเก้าอี้ของ CMO โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.5 ปีเท่านั้น น้อยกว่า CFO หรือผู้อำนวยการฝ่ายการเงินที่มีอายุครองเก้าอี้เฉลี่ย 5.7 ปี (สำรวจจากบริษัทกลุ่ม S&P 500 เมื่อปีที่ผ่านมา) ขณะที่ CEO มีอายุงานเฉลี่ย 7.2 ปี (สำรวจจากบริษัทกลุ่ม Fortune 500)

ที่มา: MarketingDive

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/05/cmo-role-is-shifting-in-2017/

หัวใจคือ Team Work กับ “ปรัธนา ลีลพนัง” CMO คนใหม่ AIS ในบทบาท Digital Service Provider

AIS (เอไอเอส) แต่งตั้ง ปรัธนา ลีลพนัง เป็น หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการตลาด หรือ CMO อย่างเป็นทางการกว่า 1 เดือนที่ผ่านมา รับผิดชอบหัวหน้างานด้านการตลาดเต็มรูปแบบ แต่ความพิเศษคือ ไม่ได้ดูแลเฉพาะบริการโทรศัพท์มือถือเหมือนในอดีต แต่เป็นการดูแลด้าน Digital Service Provider ซึ่งเรียกได้ว่า ต้องจัดเต็มมากกว่าที่เคย เป็นทั้งความท้าทายส่วนตัวและเป้าหมายขององค์กรที่ต้องยอมรับว่า ไม่ง่าย

คำถามคือ ปรัธนา จะทำงานอย่างไร ท่ามกลางการแข่งขันที่หนักหน่วงจากคู่แข่งในตลาดคือ dtac และ True พร้อมกับการขยายธุรกิจของ AIS ไปพร้อมกัน

15321707_10153911159666020_1326415830_o

ทำงานกับ AIS ไม่ใช่ Hero แต่เป็นเรื่องของ Team Work

ปรัธนา บอกว่า การได้รับแต่งตั้งเป็น CMO อาจเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับตัวเอง แต่ก็ไม่ใช่เรื่องโดดเด่นอะไรมากนัก ส่วนตัวยังคงทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพเช่นเดิม เพราะการทำงานที่ AIS ไม่ได้มีใครเป็น Hero เพียงคนเดียว ที่จะสามารถตอบความต้องการของลูกค้าหลายสิบล้านคนได้ แต่ AIS ทำงานเป็น Team Work ร่วมกันอย่างแข็งแกร่งมากกว่า

ดังนั้น หน้าที่ของ CMO จึงเป็นการสร้างสรรค์บริการที่พัฒนาขึ้นมาโดย Team Work ของ AIS ทุกคน เพื่อให้สามารถตอบความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างดีที่สุด มีคุณภาพที่สุด และแตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่น สาระสำคัญคือ มีคุณภาพและแตกต่าง ซึ่งเกิดขึ้นจาก Team Work ทุกคนร่วมมือกัน

“การทำงาน CMO ยังคงเหมือนเดิม แม้จะขยายธุรกิจใหม่ๆ ให้ครอบคลุมความเป็น Digital Service Provider ไม่ได้มีบริการโทรศัพท์มือถืออย่างเดิม แต่สาระสำคัญของงานยังคงเดิม เพียงแต่ส่งต่อบริการจากทุกส่วนที่ Team ของ AIS สร้างขึ้นไปให้ถึงมือลูกค้า สุดท้ายแล้ว องค์กร ต้องก้าวหน้า และประชาชนต้องได้ประโยชน์”

d3s_5264

มองการแข่งขันขยับจากราคา สู่คุณภาพบริการ

สำหรับมุมมองด้านการแข่งขันในปี 2559 ที่ต้องยอมรับว่ารุนแรงมาก เนื่องจากต้นปีถึงกลางปีมีความวุ่นวายเรื่องคลื่นความถี่หัวใจคือ Team Work ของ “ปรัธนา ลีลพนัง” CMO คนใหม่ AIS และการรุกบริการระหว่างประเทศเกิดขึ้น ทำให้เกิดการแจกเครื่องฟรีเพื่อดึงดูดลูกค้าให้ย้ายค่าย จากนั้นตั้งแต่กลางปีมาถึงปลายปี ก็เริ่มการแข่งขันราคา ลดค่าเครื่อง แลกกับสัญญาการใช้บริการ นี่คือภาพการแข่งขันในปีนี้

ด้าน AIS ต้องยอมรับว่าปีนี้ เป็นฝ่ายตั้งรับพอสมควร จนกระทั่งได้คลื่นความถี่ 900MHz ทำให้สามารถปิดจุดอ่อนเรื่องคลื่นความถี่ได้ในช่วงกลางปี และอยู่ระหว่างแผนการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมมมากที่สุด โดยภายในสิ้นปีนี้ AIS จะสามารถให้บริการ 4G และ 3G ได้ครอบคลุม 98% ของประชากรทั่วประเทศ ดังนั้นจึงไม่มีช่องว่างเรื่องการให้บริการอีกต่อไป

ถ้ามองในอดีตจะรู้ว่า AIS เริ่มต้น 3G และ 4G ช้ากว่าผู้ให้บริการรายอื่น 1-2 ปี แต่ตอนนี้ AIS ไม่มีข้อจำกัดนี้อีกต่อไปแล้ว ดังนั้นเชื่อว่าในปี 2560 การแข่งขันจะอยู่บนเรื่องของคุณภาพการให้บริการ ซึ่งยังต่อยอดไปยังบริการอื่นๆ เช่น AIS Fibre ที่มีลูกค้ากว่า 3 แสนราย และจะให้บริการได้ครอบคลุมกรุงเทพฯ ในสิ้นปีนี้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีบริการ mPay และ Cloud Service อีกด้วย

sim2fly-ais

ขยายบริการโรมมิ่งด้วย Sim2Fly

แนวทางของ AIS ที่ชัดเจนคือ การสร้างการเติบโตทางธุรกิจไปพร้อมกับพันธมิตร AIS จะไม่ทำทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด แต่จะเลือกจับมือกับพันธมิตรที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ เพื่อสร้างการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน ในการให้บริการโรมมิ่งในต่างประเทศก็เช่นเดียวกัน

ปรัธนา บอกว่า การโรมมิ่ง มีปัจจัยสำคัญคือ โครงข่ายของพันธมิตรที่ต้องครอบคลุมซึ่ง AIS ได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้บริการมือถือที่มีพันธมิตรโครงข่าย 4G ใหญ่ที่สุดในเอเชีย พร้อมกับการเปิดบริการ Sim2Fly ก่อนหน้านี้ จุดเด่นคือ ราคาต่ำกว่าซื้อซิมใช้งานในต่างประเทศ และยังไม่มีคู่แข่งในไทยพัฒนาบริการมาแข่งขัน

ข้อดีของ Sim2Fly คือ เมื่อเดินทางมาต่างประเทศ สามารถเปิดใช้ซิมใหม่ได้ทันที เป็นซิมสำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตเป็นหลักโดยเฉพาะ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วนของบริการ Voice) เป็นการแก้ปัญหาผู้ใช้งาน เวลาเดินทางไปต่างประเทศแล้วไม่กล้าใช้บริการโรมมิ่ง หลังจากออก Sim2Fly ทำให้เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น

โดยพบว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวในไทยกว่า 7 ล้านราย และนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางไปต่างประเทศกว่า 2 ล้านรายต่อปี คือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย หลักการคือ การใช้งานโรมมิ่งต้องง่ายและราคานถูกซื้อซิมในต่างประเทศใช้ ซึ่ง Sim2Fly จะมีลักษณะเป็นซิมใหม่แบบพรีเพด (เติมเงิน) ราคา 199, 399 หรือ 899 ขึ้นอยู่กับโซนประเทศที่ไป โดยใช้ความเร็ซได้ไม่จำกัด สูงสุด 3GB (จากนั้นใช้ได้ที่ความเร็ว 128kbps) ภายในเวลาที่กำหน (8 หรือ 15วัน)

ดังนั้น สำหรับคนเดินทางมาต่างประเทศ ก็สามารถใช้งาน Data Roaming ได้ต่อเนื่อง โดยไม่ต้องห่วงว่าจะมี Shock Bill เจอค่าบริการโหด (เพราะเป็นซิมพรีเพด) และหากใช้งานหมด 3GB หรือหมดวัน จะมี SMS แจ้งหากต้องการขยายแพ็คเกจ

15388567_10153911160001020_986714735_o

สรุป

ปรัธนา ลีลพนัง ถือเป็นผู้บริหารรุ่นใหม่ของ AIS ที่น่าจับตามอง และการขยับขึ้นมาทำหน้าที่ CMO ยิ่งทำให้น่าสนใจว่า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับ AIS ในยุค Transformation สู่การเป็น Digital Service Provider ท่ามกลางการแข่งขันบนบริการโทรศัพท์มือถือเดิม ซึ่งยังเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้ไปอีกอย่างน้อย 3 ปี กับการก้าวเข้ามาในธุรกิจใหม่ ที่เป็นความท้าทายของ AIS อยู่ไม่น้อย

สิ่งที่น่าสนใจซึ่ง ปรัธนา ได้เสนอไว้คือ AIS มีความชัดเจน ที่จะเปลี่ยนผ่านสู่ Digital Service Provider ที่พร้อมเติบโตไปกับพันธมิตร แต่คู่แข่งอีก 2 ราย คือ dtac ที่คาดว่าอยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนองค์กรภายใน และ True ที่กำลังเร่งสร้างขยายฐานลูกค้า ถือเป็นภาพที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจโทรคมนาคมทั้ง 3 รายในปี 2560

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ais-new-cmo-team-and-digital-service-provider/

ผลสำรวจชี้ CMO กว่า 30% มีสิทธิ์ตกกระป๋องปี 2017

a0fcbfabc97baba1c871c297230d1db4

บริษัทวิจัยอเมริกัน Forrester พยากรณ์ว่า CMO หรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการตลาดอย่างน้อย 30% ในสหรัฐฯ อาจถูกลดความสำคัญลงในปี 2017 เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังไม่มีทักษะที่รองรับการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของธุรกิจ

การขาดทักษะที่จำเป็นในการช่วยให้ธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนั้นทำให้ CMO ยุคเก่าไม่สามารถประสานงานกับเอเยนซี่ได้ ความผิดหวังของเหล่าเอเยนซี่บวกกับความต้องการความรู้ความเชี่ยวชาญเบื้องลึกถึงข้อมูลผู้บริโภคเชิงดิจิทัลที่มากขึ้นล้วนทำให้ CMO ต้องประสานงานกับผู้บริหารฝ่ายไอทีหรือ CIO มากขึ้น จุดนี้เองที่อาจเป็นแรงส่งให้หลายธุรกิจลงมือปรับโครงสร้างบริษัทในที่สุด

สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือการปรับโครงสร้างนี้เอง การวิจัยของ Forrester พบว่าเหล่า CMO ในยุคนี้จะถูกคาดหวังให้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาดให้ผูกพ่วงประสบการณ์ของผู้บริโภค (โดยเฉพาะประสบการณ์ที่ผูกกับกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแบบออนไลน์ผสมกับออฟไลน์) แถมจำนวน CMO ที่ถูกตั้งความหวังเช่นนี้มีจำนวนมากขึ้นทุกนาที

สิ่งที่เราสามารถสรุปได้จากผลการสำรวจล่าสุดของ Forrester คือเส้นกั้นระหว่างโลกดิจิทัลและโลกจริงนั้นบางลงแล้วอย่างชัดเจนจนทำให้โลกดิจิทัลเริ่มส่งผลถึงธุรกิจดั้งเดิม โดยปี 2017 ที่ Forrester เชื่อว่า CMO กว่า 30% จะตกขบวนรถนั้นถือเป็นปีที่นักการตลาดจำเป็นต้องไล่ตามการวิเคราะห์ความรู้สึกบนโลกออนไลน์ที่จะเพิ่มขึ้นก้าวกระโดด ซึ่งใครที่ทำได้ก็จะเป็นโอกาสให้แบรนด์สามารถสร้างประโยชน์และต่อยอดธุรกิจได้ดี

สำหรับ CMO ที่จะอยู่รอดในปี 2017 การสำรวจพบว่าผู้บริหารการตลาดกลุ่มนี้จะวางจุดยืนเป็นผู้สร้างการเชื่อมต่อทางอารมณ์กับลูกค้า พร้อมกับการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับบริการเพื่อตอบโจทย์จุดยืนที่แบรนด์มี รวมถึงการมองหาโอกาสใหม่จากข้อมูล (data-driven) อยู่เสมอ

เราอยู่ในโลกที่ออนไลน์ผสมกับออฟไลน์ คนที่รู้ออนไลน์อย่างเดียว หรือออฟไลน์อย่างเดียว จะทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ว่าแล้วก็ต้องกลับมาตรวจสอบว่าตัวเรารู้ และลงมือปฎิบัติปรับเปลี่ยนองค์กรในส่วนการตลาดมากพอหรือยัง คุณล่ะ?

ที่มา: MarketingDive

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2016/11/forecast-cmo-2017/

IBM แต่งตั้ง CMO ประธานฝ่ายการตลาดคนแรกของบริษัท

s3-news-tmp-109131-michelle_peluso--2x1--940

ในที่สุด ยักษ์ใหญ่สีฟ้า IBM ก็แต่งตั้ง “Chief Marketing Officer” คนแรกของบริษัทอย่างเป็นทางการ ถือเป็นความเคลื่อนไหวที่แปลกแต่จริงสำหรับบริษัทที่มีประวัติยาวนาน 105 ปี

สำนักข่าว Fortune รายงานว่าที่ผ่านมา IBM ก็ดึงผู้บริหารอาวุโสมากมายขึ้นมาช่วยงานการตลาดขององค์กรมาตลอด เพียงแต่ไม่มีใครถูกตั้งให้ดำรงตำแหน่ง CMO อย่างเป็นทางการเท่านั้น โดยผู้ที่ดำรงตำแหน่ง CMO คนแรกของ IBM เป็นผู้หญิง มีนามว่า Michelle Peluso

Peluso นั้นเป็นอดีตซีอีโอเว็บไซต์ชื่อ Gilt.com ซึ่งเคยร้อนแรงมากในปี 2011 ด้วยฐานะเว็บไซต์แหล่งจำหน่ายสินค้าหรูราคาถูก สไตล์เว็บส่วนลดออนไลน์ซึ่งยั่วยวนให้การซื้อขายเกิดขึ้นเร็วมาก (flash sales) ขณะเดียวกัน Peluso ก็มีดีกรีเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม Technology Crossover Ventures และเคยนั่งเก้าอี้ประธานฝ่ายการตลาดของ Citigroup มาก่อน

สื่อใหญ่ Fortune วิเคราะห์ว่า การว่าจ้าง Peluso สะท้อนจุดประสงค์ของ IBM ในการสร้างแบรนด์ที่เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น นี่เองที่เป็นคำตอบว่าทำไมเราจึงเห็นความเคลื่อนไหวของระบบปัญญาประดิษฐ์ Watson บนเวทีโลกมากขึ้น

416c69539020cad39d672dee8a4ea3ac

ข่าวคราวของ Watson ในวันนี้ทำให้ชื่อปัญญาประดิษฐ์ของ IBM เริ่มคุ้นหูในสายตาผู้บริโภค แถมชื่อของ Watson ยังพา IBM ให้กลับมามีบทบาทอีกครั้งในวงการคอนซูเมอร์ เรียกว่าการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งนี้ทำให้ภาพการสร้างแบรนด์ IBM มีความชัดเจนกว่าเดิม

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวนี้สวนทางกับงานวิจัยของ Gartner ที่เชื่อว่าตำแหน่ง CMO จะถูกแทนที่ด้วย CIO ในอนาคต และทิศทางการดึงผู้เชี่ยวชาญไอทีให้มาทำงานการตลาดนั้นจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นในปี 2017 แต่ IBM กลับเดินทางตรงกันข้ามเพราะบริษัทนั้นมี CIO และเซียนไอทีมากมายอยู่แล้ว จึงหันมาจ้าง CMO ในที่สุด

ที่มา : MarketingDive

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2016/09/ibm-first-ever-cmo/