คลังเก็บป้ายกำกับ: ZENPAD

[ASUS] แท็บเล็ตรุ่น ZenPad 3S 10 LTE มาพร้อมหน้าจอ 9.7 นิ้วพร้อมชิปเซ็ท Snapdragon 650

เมื่อไม่นานมานี้นั้นทาง ASUS ได้ทำการเปิดตัวแท็บเล็ตรุ่นใหม่ในซีรีส์ ZenPad กับ ZenPad 3S 10 LTE โมเดล Z500KL ที่จะมาพร้อมกับหน้าจอขนาด 9.7 นิ้วใช้พาเนลแบบ IPS รองรับความละเอียดที่ระดับ 2,048 x 1,536 pixels พร้อมเทคโนโลยีเฉพาะของทาง ASUS อย่าง VisualMaster technology ซึ่งช่วยให้หน้าจอมีสีสันที่สะดุดตามากขึ้นกว่าเดิม ตัวหน้าจอนั้นออกแบบด้วยดีไซน์ขอบบางทำให้ขาบของหน้าจอในแต่ละข้างนั้นอยู่ที่ 5.32 mm โดยคิดแล้วตัวหน้าจอมีสัดส่วนอยู่ที่ 78% ของตัวเครื่องครับ

asus-zenpad-3s-10-lte-600 01

ฟีเจอร์ของหน้าจอยังไม่หมดเท่านั้นนะครับเพราะทาง ASUS ยังได้ใส่ฟีเจอร์ ASUS Tru2Life+ ที่มาพร้อมกับ motion-estimation and motion-compensation (MEMC) โดยอาศัยการตรวจจับการเคลื่อนไหวและนำมาประเมินวิเคราะหฺเพื่อหาค่าด้านการแสดงผลของหน้าจอทดแทน ความหมายก็คือหน้าจอของ ZenPad 3S 10 LTE นั้นจะยังคงทุกความคมชัดไม่ว่าคุณจะนั่งดูอยู่เฉยๆ หรือเดินไปด้วยดูไปด้วย งานนี้สามารถที่จะทำกิจกรรมพร้อมกับดูแท็บเล็ตได้โดยที่หน้าจอนั้นไม่เบลอแล้วหล่ะครับ(น่าจะเหมาะสมอย่างมากเวลาที่ต้องนั่งบนพาหนะที่มีอัตราการสั่นสูงครับ)

asus-zenpad-3s-10-lte-600 02

ตัวหน้าจอยังมาพร้อมกับการรองรับความกว้างของสีแบบ NTSC ที่สูงถึง 95% ซึ่งมากพอที่จะแสดงสีสันออกมาได้อย่างไม่ต้องกลัวว่าสีจะผิืดเพี้ยนไปมากนัก และยังมี Bluelight filter ในตัวช่วยให้ผู้ใช้ปลอดภัยจากแสงสีฟ้าเมื่อต้องใช้เป็นระยะเวลานานๆ อีกด้วยต่างหากครับ ที่สำคัญที่สุดและจะไม่พูดถึงเลยไม่ได้ซึ่งนั่นก็คือหน้าจอของ ZenPad 3S 10 LTE นั้นยังรองรับการใช้งานร่วมกับสไตลัสอย่าง Z stylus ซึ่งตัวหน้าจอจะมีความสามารถในการรองรับแรงกดดันได้มากถึง 1024 ระดับเลยทีเดียวครับ

asus-zenpad-3s-10-lte-600 03

 ZenPad 3S 10 LTE จะมาพร้อมกับชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 650 ซึ่งมีแกนการประมวลผลทั้งหมด 6 แกน(2 แกนแบบ Cortex-A72 และ 4 แกนแบบ Cortex-A53) พร้อมชิปกราฟิก Adreno 510 หน่วยความจำ(RAM) ขนาด 4 GB แหล่งเก็บข้อมูลภายใน 32 GB กล้องหลังความละเอียด 8 MP กล้องหน้าความละเอียด 5 MP รองรับการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายแบบ LTE(โดยก่อนหน้านี้จะมีโมเดลที่ไม่รองรับการเชื่อมต่อ LTE วางจำหน่ายด้วย) แบตเตอรี่ความจุ 7,800 mAh สามารถใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่อง 16 ชั่วโมง มาพร้อม Android 6.0 ครับ

น่าเสียดา่ยที่ว่า ZenPad 3S 10 LTE นั้นจะวางจำหน่ายเฉพาะในมาเลเชียเท่านั้น สนนราคานั้นอยู่ที่ RM1,799 หรือประมาณ 14,300 บาทซึ่งถถือว่าไม่แพงเลยหล่ะครับ

ที่มา : vr-zone

from:https://notebookspec.com/asus-launches-zenpad-3s-10-lte-tablet-with-a-9-7-display-snapdragon-650-soc/381640/

[IFA 2016] Asus เปิดตัว ZenPad 3S 10 แท็บเลตหน้าจอ 2K พร้อมระบบเสียง Hi-Res

ในงาน IFA 2016 ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี Asus ขนสินค้าใหม่มาเปิดตัวมากมาย โดยหนึ่งในนั้นเป็น ZenPad 3S 10 แท็บเลตหน้าจอใหญ่ 9.7 นิ้ว ที่ชูเรื่องภาพและเสียงเป็นจุดขายหลัก

Asus ZenPad 3S 10 มีสเปกดังนี้

  • หน้าจอ IPS ขนาด 9.7 นิ้ว ความละเอียด 2048×1536 พิกเซล พร้อมฟีเจอร์ Asus Tru2Life
  • ซีพียู MediaTek 8176 6 คอร์ แบ่งเป็นซีพียูดูอัลคอร์ความถี่ 2.1GHz และซีพียูควอดคอร์ความถี่ 1.7GHz
  • แรม 4GB
  • พื้นที่เก็บข้อมูล 32GB หรือ 64GB รองรับ microSD สูงสุด 128GB
  • กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล ส่วนกล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล
  • มีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือ
  • แบตเตอรี่ขนาด 5,900 mAh รองรับ Quick Charge 3.0
  • หนา 5.8 มม.

จุดขายสำคัญของ Asus ZenPad 3S 10 คือระบบเสียง มันมาพร้อมกับแอมป์ในตัวจาก NXP เพื่อกำลังขับที่แรงกว่าปกติ รองรับระบบเสียง Hi-Res ที่ 24-bit/192kHz และระบบเสียง DTS-HD โดยตัวแท็บเลตมีลำโพงคู่ที่โฆษณาว่าดังกว่าปกติถึง 41% นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมเป็นปากกา Z Stylus ที่รองรับแรงกด 1,024 ระดับอีกด้วย ส่วนราคาและวันวางจำหน่ายยังไม่ประกาศ

ที่มา – Android Authority

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/85038

เปิดตัว Asus ZenFone 3 Deluxe สมาร์ทโฟนรุ่นแรกที่ใช้ชิป Snapdragon 821

asus-zenfone-3-deluxe-821

เมื่อวานนี้ Qualcomm ได้มีการแนะนำชิปประมวลผล Snapdragon 821 อย่างทางการ ค่ายมือถือจากไต้หวัน Asus ก็ประกาศทันทีว่า จะนำชิปประมวลผลดังกล่าวมาฝังไว้ในสมาร์ทโฟน Asus ZenFone 3 Deluxe รุ่นไฮเอนด์ ซึ่งเดิมทีได้ประกาศไว้ว่าจะใช้ชิป Snapdragon 820 อย่างไรก็ตามชิปรุ่นใหม่ของ Qualcomm ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ พื้นฐานการผลิตยังใช้เทคโนโลยี 14 นาโนเมตรเหมือนเดิม เพิ่มเติมคือแรงขึ้น 10%

zd

Snapdragon 820 มากับความเร็ว 2.2 GHz Dual Core + 1.6 GHz Dual Core จีพียู 624 MHz ส่วนชิปตัวใหม่ Snapdragon 821 มากับความเร็ว 2.4 GHz Dual Core + 2.0 GHz Dual Core จีพียู 650 MHz

Asus ZenFone 3 Deluxe เวอร์ชั่น Snapdragon 821 จะมาพร้อม RAM 6 GB ความจำภายในแบบ UFS 2.0 ความจุ 256 GB ราคา 780 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 27,410 บาท นอกจากนี้ยังมีอีก 2 เวอร์ชั่นที่ใช้ชิปรุ่นก่อน Snapdragon 820 โดยรุ่นที่ใช้ RAM 6 GB + ROM 64 GB จะมีราคา 560 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 19,680 บาท และรุ่นที่ใช้ RAM 4 GB + ROM 32 GB มีค่าตัวอยู่ที่ 500 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือราว 17,570 บาท

Asus ZenFone 3 Deluxe เวอร์ชั่น Snapdragon 820 จะเริ่มวางจำหน่ายก่อนในไต้หวันและฮ่องกงภายในเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนเวอร์ชั่น Snapdragon 821 จะทำตลาดในช่วงปลายปี 2016

ที่มา –  engadget 

from:http://www.flashfly.net/wp/?p=151654

[ASUS] ZenFone 3 Deluxe มาพร้อม Snapdragon 821 เครื่องแรกของโลก, ZenPad 3S 10 ที่สเปคก็ใช่ย่อย

หลังจากที่เมื่อเดินก่อนหน้านี้ทาง ASUS ได้ทำการเปิดตัวสมาร์ทโฟนในซีรีส์ ZenFone 3 ไปแล้วนั้น ดูเหมือนล่าสุด ASUS จะยังไม่พอใจครับ เนื่องจากว่าในวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้นทาง ASUS ได้ทำการเปิดตัว ZenFone 3 อีกรุ่นในชื่อรุ่นว่า ZenFone 3 Deluxe ออกมาด้วยอีกรุ่นหนึ่ง

ซึ่งในคราวนี้นั้นมาพร้อมกับสเปคที่เรียกได้ว่าน่าจะเป็นสมาร์ทโฟนที่โหดที่สุดในปัจจุบันนี้เลยก็ว่าได้หล่ะครับ แถมยังได้มีการเปิดตัวแท็บเล็ตรุ่น ZenPad 3S 10 ที่สเปคนั้นก็น่าใช้งานใช่ย่อยออกมาด้วย ไปดูกันดีกว่าครับว่าแต่ละผลิตภัณฑ์จะมีสเปคอย่างไรบ้าง

ASUS ZenFone 3 Deluxe

ASUS ZenFone 3 Deluxe 600 01

สำหรับ ASUS ZenFone 3 Deluxe ที่พึ่งจะเปิดตัวออกมานั้นถือได้ว่ามีสเปคเป็นรุ่นท๊อปสุดของซีรีส์ ZenFone 3 เลยก็ว่าได้ครับ ที่เหนือกว่านั้นก็คือมันยังเป็นสมาร์ทโฟนรุ่นแรกของโลกที่มาพร้อมกับชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 821 พร้อมกับหน่วยความจำ(RAM) มากถึง 6 GB สำหรับสเปคโดยรวมของ ZenFone 3 Deluxe นั้นจะมีดังต่อไปนี้ครับ

  • หน้าจอขนาด 5.7 นิ้วใช้ panel แบบ Super AMOLED รองรับความละเอียดที่ระดับ 1920 x 1080 pixels
  • ใช้กระจกกัน Gorilla Glass 4
  • ชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 821 ที่มาพร้อมกับ Kryo quad-core CPU ความเร็วสัญญาณนาฬิกาสูงสุดที่ 2.4 GHz
  • ชิปกราฟิกรุ่น Adreno 530 GPU
  • หน่วยความจำ(RAM) ขนาด 6 GB
  • รองรับ dual-SIM แบบ Micro SIM + Nano SIM โดยจะรองรับมาตรฐาน 4G LTE แบบ Cat 13 LTE สำหรับ SIM ตัวแรก
  • แหล่งเก็บข้อมูลภายในแบบ UFS 2.0 ความจุ 256 GB(สามารถเพิ่มได้อีก 128 GB ผ่านทาง microSD Card)
  • กล้องหลังความละเอียด 23 MP พร้อมรูปรับแสงขนาด F/2.0 มาพร้อมฟีเจอร์ OIS, laser AF และ dual-tone flash
  • กล้องหน้าความละเอียด 8 MP พร้อมรูปรับแสงขนาด f/2.0 เช่นเดียวกัน
  • มาพร้อมกับระบบสแกนลายนิ้วมือทางด้านหลังของตัวเครื่อง
  • แบตเตอรี่ความจุ 3,000 mAh พร้อมรองรับเทคโนโลยการชาร์จเร็ว Quick Charge 3.0
  • มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Android 6.0

ทั้งนี้ด้วยสเปคที่สูงขึ้นก็ทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วยครับ โดยราคาจำหน่ายของ ASUS ZenFone 3 Deluxe นั้นจะอยู่ที่ NT$24,990 หรือประมาณ 27,350 บาท โดยจะเริ่มวางจำหน่ายในฮ่องกงและไต้หวันก่อนเป็นที่แรกในช่วงต้นเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ครับ

หมายเหตุ – สำหรับอีก 2 รุ่นที่เป็นรุ่นเล็กกว่านี้จะยังคงใช้ชิปเซ็ท Qualcomm Snapdragon 820 อยู่เช่นเดิมครับ

ASUS ZenPad 3S 10 (Z500M)

asus-zenpad-3s-10-z500m 600 01

และในวันเดียวกันนั้นทาง ASUS ก็ได้เปิดตัวแท็บเล็ตซีรีส์ ZenPad รุ่นใหม่ออกมาอย่างเป็นทางการด้วยเช่นเดียวกันกับรุ่น ZenPad 3S 10 (Z500M) ซึ่งสเปคนั้นก็ใช่ย่อยหล่ะครับ(อยู่ในระดับกลางไปจนถึงระดับบน) โดยสำหรับสเปคของ ZenPad 3S 10 (Z500M) มีดังต่อไปนี้ครับ

  • หน้าจอขนาด 9.7 นิ้วรองรับความละเอียดที่ระดับ 2,048 x 1,536 pixels แต่ใช้ panel เป็นแบบ LCD เท่านั้น
  • ชิปเซ็ท MediaTek MT8176 แบบ Hexa-core แบ่งเป็น 2.1GHz Cortex-A72 จำนวน 2 cores และ 1.7 GHz Cortex-A53 จำนวน 4 cores
  • หน่วยความจำ(RAM) ขนาด 4 GB
  • แหล่งเก็บข้อมูลภายในความจุ 32 GB สามารถเพิ่มได้ผ่านทาง microSD Card
  • มีระบบสแกนลายนิ้วมือ
  • กล้องหลังความละเอียด 8 MP
  • กล้องหน้าความละเอียด 5 MP
  • รองรับการเชื่อมต่อไร้สายแบบ WiFi 802.11ac
  • รับบเสียงรองรับ DTS ผ่านทางหูฟัง(X audio)
  • ใช้พอร์ทการเชื่อมต่อแบบ USB Type-C
  • แบตเตอรี่ความจุ 5,900 mAh รองรับเทคโนโลยีการชาร์จเร็ว Quick Charge 3.0(แต่ที่ชาร์จที่รองรับเทคโนโลยีนี้ต้องซื้อแยกต่างหาก)
  • มาพร้อมกับระบบปฎิบัติการ Android 6.0

ทั้งนี้ ASUS ZenPad 3S 10 (Z500M) จะเริ่มวางจำหน่ายก่อนในไต้หวันช่วงเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ สนนราคาอยู่ที่ NT$10,990 หรือประมาณ 12,030 บาทเท่านั้นครับ

ที่มา : engadget

from:http://notebookspec.com/asus-zenfone-3-deluxe-gets-first-dibs-on-snapdragon-821-chip/356292/

Asus จัดเต็มกว่าเดิมในงาน Thailand Mobile Expo 2016

เอซุสส่งโปรโมชั่นของบูธเอซุสในงาน Thailand Mobile Expo ที่กำลังจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ (วันพฤหัสที่ 11 กุมภาพันธ์) จนถึงวันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 

“งานนี้บูธเอซุสได้ย้ายจาก location เดิม มาเป็นที่ใหม่ที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพื่อให้ทุกท่านที่มาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่บูธของเรา ได้รับความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนี้ก็ยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างสมาร์ทโฟน Zenfone Zoom ที่ใช้เทคโนโลยีกล้อง 3X optical zoom ซึ่งเพิ่งเปิดตัวล่าสุด และ Zenfone Max กับ Zenfone 2 Deluxe Special Edition ทางฝั่งแท็บเล็ตก็ยังมี ZenPad ที่ตอบโจทย์ทุกความบันเทิง หลากหลายรุ่นให้เลือก”

นอกจากนั้น ในงานก็ยังมีกิจกรรมให้ร่วมสนุก ลุ้นรับของรางวัลจากเอซุสอีกด้วย พบกันที่บูธ  PL 4/1 โซน Plenary Hall

977b1ef4-1354-4c4a-bec4-bf1e448ac603

from:https://www.appdisqus.com/2016/02/11/asus-promotion-thailand-mobile-expo-2016.html

Asus จับมือ AdBlock เตรียมบล็อคโฆษณาบน Zenfone และ ZenPad ในรุ่นถัดไป

AdBlock เจ้าพ่อแห่งวงการปิดกั้นโฆษณาได้ประกาศว่ามีการทำสัญญากับผู้ผลิตสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตรายใหญ่แห่งไต้หวันที่เรารู้จักกันดี Asus ว่าจะมีการใช้งาน AdBlock เพื่อบล็อคโฆษณาต่างๆ บน Zenfone และ ZenPad ในอนาคต

โดยการทำงานของ AdBlock บน Zenfone และ ZenPad นั้นจะถูกเปิดใช้งานเฉพาะ Browser หลักของเครื่อง (ตามภาพประกอบด้านบน) ที่เป็น Browser Android ปกติ แต่จะไม่ทำงานบน Google Chrome และ Firefox หรือ Browser อื่นๆ (3rd Party) ที่ผู้ใช้งานติดตั้งเพิ่มเข้าไป ทั้งนี้ยังไม่มีการประกาศว่าทาง Asus และ AdBlock จะเริ่มใช้งานในรุ่นไหน แต่ก็คาดว่าถ้าตกลงเรื่องสัญญาและรายละเอียดเสร็จแล้วก็คงจะเริ่มใช้งานใน Zenfone และ ZenPad ที่จะเปิดตัวในปี 2016 เลยก็เป็นได้

 

source : talkandroid

from:http://droidsans.com/asus-team-up-with-adbock-to-enable-this-feature-on-new-devices

Review : รีวิว Asus Zenpad C 7.0 แท็บเล็ตราคาประหยัดจาก Asus

Asus นอกจากจะสร้างชื่อจาก Zenfone จนเป็นที่รู้จักและให้การยอมรับแล้ว ฝั่งของแท็บเล็ตเองก็มีตั้งแต่ Memo Pad, Fonepad จนล่าสุดได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ ZenPad โดยได้เปิดตัวไปทั้งหมด 3 รุ่น ZenPad C 7.0, ZenPad 7.0 ZenPad S 8.0 และเริ่มทยออยวางจำหน่ายมาเรื่อยๆ วันนี้เราสบโอกาสได้เครื่้องมาลอง เลยขอรีวิว ZenPad C 7.0 รุ่นที่ราคาถูกที่สุดเพียง 4,490 บาท ให้ได้อ่านได้ชมกัน

สิ่งที่ซีรี่ส์ ZenPad เปลี่ยนไปจากแท็บเล็ตเดิมๆ ของ Asus คือการเปลี่ยนดีไซน์ให้ออกมาในรูปแบบของแฟชั่นและไลฟ์สไตล์มากขึ้น แม้ด้านหน้าจะดูเหมือนแท็บเล็ตทั่วไป แต่ด้านหลังนั้นกลับให้ความรู้สึกเหมือนกระเป๋าถือของสาวๆ ด้วยลายหนังเทียมที่คาดทับอยู่บนพื้นหลังนั่นเอง  

สเปค ZenPad C 7.0 (Z170CG)

  • Android OS 5.0 (Lollipop) + ZenUI
  • หน้าจอ IPS ขนาด 7 นิ้ว ความละเอียด 1024 x 600 พิกเซล
  • CPU Intel Atom x3-C3230 Quad-Core, 64 bit
  • GPU Mali-450
  • RAM 1 GB
  • หน่วยความจำภายใน 16 GB
  • กล้องหลัง : 2 ล้านพิกเซล
  • กล้องหน้า : 0.3 ล้านพิกเซล
  • แบตเตอรี่ Li-polymer 3,450 mAh
  • 2 ซิม
  • รองรับ 2G / 3G
  • Wireless Data : WLAN802.11 b/g/n, Bluetooth V4.0 + BLE, รองรับ Miracast
  • Sensor : G-Sensor / E-compass / GPS / Light / Proximity / Hall
  • สัดส่วน : 189 x 108 x 8.4 มม., น้ำหนัก 265 กรัม
  • สีดำ, สีขาว, สีเมทัลลิค

ZenPad C 7.0 นั้นมีข้อแตกต่างจากรุ่น ZenPad 7.0 พอสมควรครับ เรื่องแรกเลยคือพวกอุปกรณ์เสริมฝาหลังต่างๆ ของรุ่น 7.0 นั้นไม่สามารถใช้งานได้แล้ว เพราะรุ่น C นั้นถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นประหยัด ฝาหลังรุ่นนี้จึงถอดไม่ได้และมีช่องใส่ซิมแอบซ่อนอยู่ที่มุมขวาล่างของตัวเครื่อง (ซ้ายล่างถ้าเรามองจากด้านหลัง)

ส่วนเรื่องการชาร์จแบตนั้นก็ใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงจากแบตที่หมดเหลือ 0% โดยใช้หม้อแปลงที่แถมมาในกล่อง

ตัวเครื่องรองรับการใช้งาน 2 ซิม (เป็น Micro SIM ทั้งสองช่อง) และอีกช่องนึงสำหรับใส่ Miro SD เพิ่มเติมหน่วยความจำ

ส่วนในตัวเครื่อง ZenPad C 7.0 นั้นมีให้อยู่แล้ว 16GB เหลือใช้ใช้ราวๆ 11GB ก็ถือว่าพอเหลือเฟือลงแอปลงเกมได้เยอะพอสมควรอยู่เหมือนกัน

ขนาดของ ZenPad C 7.0 นั้นถือว่าพอใช้ได้เพราะถือในมือเดียวได้ค่อนข้างสะดวก หยิบขึ้นมาโทรออกรับสายได้สบายๆ  ฝาหลังที่เป็นพลาสติกลายหนังก็ช่วยให้เครื่องไม่ลื่น เวลาถือก็ไม่ต้องใช้แรงบีบเยอะเพราะกลัวไหลหลุดจากมือไป ส่วนน้ำหนักก็ถือว่าไม่หนักไม่เบา ถ้าเทียบกับแท็บเล็ตในช่วงราคา 4-5 พันบาท คือถือใช้งานได้เรื่อยๆ แต่นานๆ ก็เมื่อยได้เหมือนกัน

หน้าจอขนาด 7 นิ้วความละเอียด 1024×600 พิกเซลนั้นคำนวนออกมาได้ 170 ppi ถือว่าคมชัดในระดับนึง ถ้าเพื่อการใช้งานเฉยๆ ก็ถือว่าไม่มีปัญหาอะไร อาจจะแค่ไม่เนียนตาในบางครั้ง เช่นถ้าเพ่งๆ หน่อยก็จะเห็นว่าไอคอนบางแอปมันจะเบลอนิดๆ ส่วนพวกตัวหนังสือมันก็จะคมๆ แข็งๆ หน่อยๆ แต่ก็ไม่ถือเป็นอุปสรรคต่อการใช้งาน

แต่ก็ยังมีข้อดีของหน้าจอ IPS มาชดเชยคือมุมมองกว้าง 178 องศา คือมองจากด้านข้างหรือมุมเอียงก็ไม่มีอาการสีเหลือบหรือเป็นเงาขาวๆ และยังมีแอป Splendid ที่ช่วยปรับสีหน้าจอได้ตามแบบที่เราชอบ ใครชอบสีสด สีโทนขาวๆ ก็เลือกปรับได้ รวมถึงมีโหมดลดแสงสีฟ้า (Blue Light ด้วย)

การใช้งานทั่วของ Asus ZenPad C 7.0 แรกๆ ก็ถือว่าลื่นไหลในระดับนึงครับ คือถ้าใช้งานแอปไม่เยอะมาก เน้นเล่น Social และ Chat นิดๆ หน่อยๆ ดูเว็บจอใหญ่ๆ ถือว่ามันตอบโจทย์ได้ดีเลยหละ

แต่พอเปิดแอปเปิดเกมไปสักพักก็จะเจออาการหน่วงเป็นพักๆ เวลาเข้าออกหรือสลับแอปที่ใช้งาน CPU หนัก หรือซัด RAM เยอะหน่อยจะเห็นได้ชัด ยิ่งถ้าลองกดสลับแอปไปมาเร็วๆ จะเห็นได้ชัดมาก ส่วนนึงน่าจะมาจาก CPU Intel Atom X3 ที่ดูเหมือนจะประมวลผลช้าไปนิด คือเหมือนจะยังแรงไม่พอ บวกกับ RAM ที่ให้มาแค่พอใช้งานคือ 1GB นั้นไม่สามารถเปิดแอปรอไว้หลายๆ ตัวได้นั่นเอง ถึงแม้ Zen UI จะใช้ RAM ไปเพียงครึ่งเดียวหรือราวๆ 450MB ก็ตาม ส่วนคะแนน Antutu ได้ออกมาประมาณ 20,000 คะแนน

กล้องหลังความละเอียด 2 ล้านพิกเซลนั้นเป็นแบบ Fixed Focus นะครับ เพราะฉะนั้นจะถ่ายภาพได้ที่ระยะห่างออกมาหน่อย ประมาณ 2 ฟุตขึ้นไป ถ้าใกล้กว่านั้นถ่ายออกมาจะไม่ค่อยชัด ถ้าเอามาถ่ายภาพใกล้ๆ พวกอาหาร เอกสาร หรือตัวหนังสือมันจะเบลอ ซึ่งเป็นข้อจำกัดของกล้องแบบ fixed focus ที่ใช้ในกลุ่มสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระดับเริ่มต้น กล้องหน้าความละเอียด VGA เวลาถ่ายภาพ selfie จะดูเบลอๆ หน่อยเพราะความละเอียดจอมันสูงกว่าเกือบ 2 เท่าเรียกได้ว่ากล้องของ ZenPad C 7.0 นั้นไม่ได้โดดเด่นอะไรมากนัก แต่ก็มีโหมดกล้องมาให้เล่นด้วยกว่า 7-8 โหมดเผื่อเอาไว้ใช้งานในโอกาสต่างๆ กันเช่น โหมด HDR, โหมด Beauty ส่วนตัวอย่างภาพถ่ายก็ลองดูได้ครับ

 

อย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่ากล้องเป็นเลนส์แบบ fixed focus ไม่สามารถถ่ายภาพแบบมาโครได้ ถ้าจะถ่ายภาพอาหารอาจจะต้องถือออกมาไกลนิดนึง เข้าไปโคลสอัพไม่ได้นะครับ

ถ้าลองเปิดโหมด effect ก็จะมีลูกเล่นให้เราเล่นกับภาพถ่ายได้อีกนิดหน่อย เช่นการปรับสีภาพ หรือเอฟเฟกต์หิมะตกเอาไว้ถ่ายขำๆ กันแบบนั้น

 ลองมาตัวอย่างภาพจากกล้องหน้า ความละเอียด VGA กันต่อ

มาถึงการดูหนังฟังเพลงกันบ้าง ZenPad C 7.0 นั้นมีระบบเสียง DTS HD มาให้ด้วยซึ่งสามารถปรับเสียงได้หลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะกับการชมภาพยนตร์ ฟังเพลง หรือเล่นเกม

รวมถึงยังสามารถปรับ EQ หรือ Equalizer ได้ตามที่เราชอบด้วย แต่หากลองฟังผ่านลำโพงที่ติดมากับเครื่องอาจจะไม่ได้ยินความแตกต่างเท่าไหร่ แนะนำให้หาหูฟังมาเสียบแทน จะได้อารมณ์และอรรถรสกว่ามาก

ส่วนการเล่นเกมนั้นตอนแรกคิดว่าจะเล่นเกมหนักๆ ไม่ไหว แต่พอลองเล่นจริงๆ แล้วก็พอได้อยู่ เกมเบาๆ อย่าง Shooty Skies หรือพวกเกมเล่นขำๆ เพลินๆ ทั่วไปไม่มีปัญหา

พอเป็นเกมกราฟิคเยอะแอคชั่นหนักหน่วงหน่อยอย่าง Darkness Reborn ก็อาจจะเจอกับอาการแล็คนิดๆ และวาร์ปไปมาของตัวละครบ้าง เวลาที่มีเอฟเฟคเยอะๆ

แต่เท่าที่ลองเล่นดูก็คือพอเล่นได้หน่อยๆ เอาตัวรอดได้ ไม่โดนยำตายประมาณนั้น

ส่วนเกมกราฟิคโหดๆ ไฟล์ใหญ่ๆ อย่าง Asphalt 8 นั้นแน่นอนอย่างแรกเลยคือโหลดนานนิดๆ แต่ตอนเล่นก็กระตุกเป็นพักๆ แถมตัวกราฟิคอาจจะไม่ได้สวยเนียนกริ๊ปเหมือนฝั่ง Zenfone 2 เพราะตัวเกมเองก็มีการเลือกปรับรายละเอียดและความสวยของภาพตามความแรงของ CPU และ GPU ไปในตัว เพื่อให้สามารถพอเล่นได้ พอลองสลับมาเป็น Asphalt Nitro ที่ขนาดเกมเล็กกว่าก็เจออาการกระตุกพอๆ กัน สรุปไม่ค่อยเหมาะกับเกมรถแข่งเท่าไหร่

โหมดที่น่าสนใจอีกโหมดของ ZenPad C 7.0 คือ Kid Mode หรือ โหมดเด็กที่เราสามารถล็อคหน้าจอและเลือกแอปหรือเกมสำหรับเด็กๆ ให้เล่นและเข้าได้เฉพาะแอปหรือเกมนั้นๆ

เพื่อป้องกันเด็กไปโหลดแอปเองหรือไปกดซื้อแอปหรือเติมเงินในเกมได้นั่นเอง (อันนี้ต้องล็อค Password ใน Play Store เพิ่มด้วย)

ข้อดีของ ZenPad C 7.0

  • ดีไซน์สวยกว่าแท็บเล็ตรุ่นอื่นๆ ในตลาดในช่วงราคาเดียวกัน

  • วัสดุและงานประกอบถือว่าดี

  • ระบบเสียง DTS ปรับเสียง EQ ได้ ฟังผ่านหูฟังถือว่าโอเค

ข้อเสียของ ZenPad C 7.0

  • กล้องพอใช้ถ่ายรูปได้ ภาพอาจจะไม่ได้คมชัดมากด้วยข้อจำกัดของ fixed focus และตัวเซนเซอร์เอง

  • ซอฟต์แวร์ยังไม่ค่อยเสถียร เจออาการ deep sleep ไป 1 ครั้ง ต้องกด power ค้างเพื่อ reset ใหม่

  • แบตเตอรี่ชาร์จนานไปนิด และจากที่ทดลองใช้งานมาก็กินแบตพอสมควร ยิ่งถ้าเล่นเกมนี่หมดก่อนวันแน่นอน

สรุป Asus ZenPad C 7.0

รวมๆ แล้ว ZenPad C 7.0 นั้นเป็นแท็บเล็ตราคาประหยัดหน้าตาดี ที่เหมาะกับการใช้งานเบาๆ เน้นโซเชียล ดูหนังฟังเพลง เล่นเกมเบาสมองเพลินๆ และเหมาะสำหรับเป็นแท็บเล็ตสำหรับเด็กๆ หรือเอาไว้ให้คุณพ่อคุณแม่หรือญาติผู้ใหญ่ใช้ก็ได้ เรียกว่าทำได้ตามราคา 4,490 บาทครับ

อ้อ แถมทิ้งท้ายไว้นิดนึง ตอนนี้ถ้าซื้อ Asus Zenpad C 7.0 มีโปรโมชั่นซื้อเครื่องพร้อมรับซิม Happy จาก DTAC ตั้งแต่วันนี้จนถึงมกราคม 2559 เล่นเน็ตแค่ 1.50 สตางค์ต่อวินาที ทั้งยังมีโปรโมชั่น เติมเงินเดือนละ 150 บาท รับโบนัสค่าโทรเพิ่มอีก 200 บาททุกเดือน เป็นระยะเวลา 2 ปี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,800 บาท รวมถึงสามารถเล่นโซเชียล Line และ Facebook ได้นานถึง 10 เดือน (โบนัส 200 บาท ต้องใช้ภายใน 15 วัน ตามข้อกำหนดของ DTAC)

from:http://droidsans.com/review-asus-zenpad-c-70

ຣີວິວ ASUS Zenpad 7.0 (Z370CG) ແທັບເລັດເຈັດນິ້ວ ແຖມໂທໄດ້ ໃນລາຄາສຸດປະຫຍັດ

ຣີວິວ  ASUS Zenpad 7.0 (Z370CG) ແທັບເລັດເຈັດນິ້ວ ແຖມໂທໄດ້ ໃນລາຄາສຸດປະຫຍັດ

 

ຫລັງຈາກເປີດໂຕກັນມາບໍ່ດົນໃນປະເທດໄທສຳລັບແທັບເລັດເຄື່່ອງໃຫມ່ຈາກທາງ ASUS ເຈົ້າຂອງຕະຫລາດລາຄາປະຫຍັດທີ່ຜະລິດເຄື່ອງສະມາດໂຟນ ແລະ ແທັບເລັດລະບົບ Android ອອກມາຈຳຫນ່າຍໃນລາຄາ ແລະ ສະເປັກສຸດຄຸ້ມຄ່າ ແລະ ໂຕລ່າສຸດນັ້ນກໍ່ຄື ASUS Zenpad 7.0 ເຊິ່ງເປັນໂຕທີ່ທາງ ASUS ເບິ່ງຄືຈະໃສ່ໃຈເປັນພິເສດ ແລະລາຄານັ້ນບໍ່ແພງເລີຍ ASUS Zenpad 7.0 ຈຳຫນ່າຍໃນລາຄາ 5.990 ບາດ ຫລື ປະມານ 1.370.000 ກີບເທົ່ານັ້ນເອງ.

P8282046

 

ASUS Zenpad 7.0 ເປັນເຄື່ອງແທັບເລັດລະບົບ Android ທີ່ເນັ້ນຈຸດຂາຍມາໃນເລື່ອງຂອງລາຄາຈຳຫນ່າຍທີ່ຖືກຫລາຍ ແຕ່ເປັນເຄື່ອງລາຄາຖືກທີ່ມາພ້ອມກັບຄວາມໃສ່ໃຈໃນລາຍລະອຽດ ບໍ່ວ່າຈະເປັນການອອກແບບ ແລະ ອຸປະກອນເສີມເພາະວ່າໃນການເປີດໂຕທີ່ຜ່ານມາແທັບເລັດຕະກູນ Zenpad ນັ້ນມີການປະກາດອອກມາຫລາຍລຸ່ນ ແຕ່ລຸ້ນທີ່ມາພ້ອມກັບເຄສ ແລະ ອຸປະກອນເສີມຄັກໆນັ້ນມີແຕ່ຕະກູນ Zenpad 7.0 ໂຕນີ້ໂຕດຽວເທົ່ານັ້ນ.

P8282045

ການອອກແບບນັ້ນເບິ່ງຂ້ອນຂ້າງແປກຕາ ຮູບຊົງດ້ານຫນ້າອາດຈະຄຸ້ນໆ ແຕ່ດ້ານຫລັງພັດອອກແບບມາໃຫ້ເຫມືອນກັບການໃຊ້ງານແນວນອນ ຝາຫລັງບໍ່ເຕັມຫລັງ ເປັນຝາປິດແບບພຽງແຕ່ສ່ວນເທິງ ເຊິ່ງການອອກແບບໆນີ້ແຫລະທີ່ເຮັດໃຫ້ມີການຕໍ່ຍອດສາມາດໃຊ້ງານກັບເຄສເສີມຂອງມັນໄດ້ສາລະພັດ.

P8282049

ໂຕເຄື່ອງພາຍນອກ

ໂຕເຄື່ອງສ່ວນໃຫຍ່ໃຊ້ວັດສະດຸປາສຕິກ ຫນ້າຈໍ 7 ນີ້ວເຄິ່ງແຕ່ເຄື່ອງບໍ່ໃຫຍ່ຫລາຍ ເນັ້ນການໃຊ້ງານໃນຮູບແບບແນວຕັ້ງຄ້າຍຈະເປັນໂທລະສັບຫລາຍກວ່າແທັບເລັດ.

P8282042

 

ປຸ່ມຄວບຄຸມຢູ່ເທິງຫນ້າຈໍທັງຫມົດ ປຸ່ມເພີ່ມລົດສຽງ ແລະ ປຸ່ມ Power ຢູ່ດ້ານຂວາຂ້າງດຽວກັນ (ກົດປຸ່ມລົດສຽງ + ພາເວີ້ ເປັນການເຊບພາບຫນ້າຈໍ)

P8282055

 

ດ້ານຫນ້າຈໍເປັນລຳໂພງ ແລະ ກ້ອງຫນ້າ ລຳໂພງບ່ອນນີ້ໃຊ້ເປັນທັງລຳໂພງຫລັກຂອງເຄື່ອງ ແລະ ລຳໂພງສົນທະນາ.

P8282038

 

ດ້ານຫລັງອອກແບບແປກຕາໄປເລັກນ້ອຍ ເພາະວ່າມາເປັນແນວນອນ ທາງ ASUS ເຂົາວ່າການອອກແບບນີ້ໄດ້ແຮງບັນດານໃຈມາຈາກກະເປົາຂອງຜູ່ຍິງ ສ່ວນໂຕເຄື່ອງຈະເປັນສີລ້ວນແຕ່ຝາຫລັງບໍລິເວນນີ້ຕ່າງກັນອອກໄປຫລາຍສີ.

 

ເຖິງຝາຫລັງຈະເປີດໄດ້ ແຕ່ປ່ຽນແບັດຯເຄື່ອງເອງບໍ່ໄດ້ ເປີດອອກມາເພື່ອໃສ່ຊິມ ແລະ ໃສ່ Micro SD Card ເທົ່ານັ້ນ.

P8282059

 

ຈະສັງເກດເປັນຂົ້ວໄຟຢູ່ໃຕ້ຝາຫລັງນີ້ ເປັນຄວາມພິເສດຂອງ ASUS Zenpad 7.0 ເພາະມັນຈະສາມາດເຊື່ອມຕໍ່ການເຮັດວຽກ ແລະ ພະລັງງານກັບເຄສພິເສດຕ່າງໆທີ່ອີກຈັກຫນ່ອຍຈະມາແນະນຳກັນໃນທ້າຍໆບົດຣີວິວໃຫ້ເບິ່ງເນາະ ^_^

P8282041

 

ສະເປັກເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0 Z370CG

OS The latest Android 5.0 Lollipop
Display 7″ LED Backlight IPS panel, 1280 x 800 (WXGA); 16:1010 finger multi-touch supportTP Full-Lamination  bonding technology
CPU Intel A 3G-R Z5210RK Quad-Core processor, 1.2 GHz
Memory 2GB
Storage 16GB(5GB Life Time ASUS Webstorage Space ; with an additional 11GB for the first year)
Graphic Mali-450
Wireless Data Network WLAN 802.11 b/g/n, Bluetooth V4.0 + BLE, Support Miracast
Camera 2 MP Front8 MP Rear
Audio Single Front Stereo Speakers  with SonicMaster technology
Interface 1 × Micro USB    1 × 2-in-1 Audio Jack (Headphone / Mic-in) 1 × Digital Microphone   1 × Micro SD Card Reader, up to 64GB (SDXC) Single SIM
Sensor G-Sensor / E-compass / GPS / Light / Proximity / Hall Sensor
Battery 9 hours ; 13 Wh Li-polymer Battery
Navigation E-compass & GPS
Color Black / White / Metallic
Dimensions & Weight 189mm (L) x 110.9mm (W) x 8.7mm (H), 272g

 

DSC06849-610x406

 

ການໃຊ້ງານພາຍໃນ

ASUS Zenpad 7.0 ມາພ້ອມກັບ Android L 5.0 ແຕ່ປັບແຕ່ງການໃຊ້ງານດ້ວຍ ZenUIທີ່ມີຟັງຊັ່ນຫລາຍເລີຍແຫລະ ສຳລັບປະສິດທິພາບການເຮັດວຽກທົ່ວໄປຫລາຍຄົນບອກວ່າມັນຊ້າ ແລະ ຫນ່ວງ ມັນກໍ່ຂ້ອນຂ້າງຊ້າແທ້ ແລະ ມັນມີເຫດຜົນທີ່ເພີ່ມຕື່ມດ້ວຍເພາະເຄື່ອງທີ່ຫລາຍຄົນທົດສອບໃຊ້ງານສ່ວນໃຫຍ່ຈະຢູ່ໃນໂຫມດການປະຫຍັດພະລັງງານຂັ້ນພື້ນຖານມາເປັນຄ່າເລີ່ມຕົ້້ນນັ້ນຄືມັນຈະຢູ່ໃນໂຫມດ “ການປະຫຍັດພະລັງງານແບບສະມາດ” ໂດຍມັນຈະເປັນໂຫມດທີ່ປັບສົມດຸນການໃຊ້ງານພະລັງງານໃຫ້ຍາວນານທີ່ສຸດ ສົ່ງຜົນໃຫ້ສຳຜັດທຳອິດກໍ່ຮູ້ສຶກວ່າມັນຫນ່ວງກວ່າທີ່ຄາດໄວ້ຫລາຍ ຕ້ອງລອງເຂົ້າໄປປິດມັນສະກ່ອນໃນການຕັ້ງຄ່າພາຍໃນ ແຕ່ຫລັງຈາກປິດໂຫມດປະຫຍັດພະລັງງານແລ້ວ ກໍ່ບໍ່ໄດ້ເປັນເຄື່ອງທີ່ລ່ຽນໄຫລປານໃດ ລະດັບກາງໆ ແຕ່ເຄື່ອງກໍ່ບໍ່ໄດ້ແຮງຢູ່ແລ້ວໄປລົດປະສິດທິພາບມັນລົງເພື່ອປະຫຍັດແບັດຯອີກກໍ່ຍິ່ງເຮັດໃຫ້ຊ້າເຂົ້າໄປອີກ.

Screenshot_2015-08-27-20-26-27-horz

 

ZenUI ມີຂໍ້ດີທີ່ເດັ່ນໆໃນເລື່ອງຂອງການປັບແຕ່ງ ແລະ ລູກຫລີ້ນ ໃນຫນ້າໂຮມຂອງທາງ ASUS Zenpad 7.0 ຈະສາມາດປັບແຕ່ງໄດ້ຫລາກຫລາຍ ຕັ້ງແຕ່ດາວໂຫລດ ແລະ ເລືອກໃຊ້ໄອຄອນໃນລັກສະນະຕ່າງໆ ເຊິ່ງເຮົາສາມາດດາວໂຫລດເພີ່ມຕື່ມມາໃຊ້ງານໄດ້ຈາກ Playstore

Screenshot_2015-08-27-20-58-19-horz

 

ການປັບແຕ່ງອະນິເມຊັ່ນເຄື່ອນໄຫວຂອງຫນ້າໂຮມ

Screenshot_2015-08-27-21-01-14

 

ການປັບແຕ່ງຟ້ອນໂຕອັກສອນທີ່ມີໃຫ້ເຮົາເລືອກໃຊ້ຫລາຍ ປັບແຕ່ງຂະຫນາດ ແລະ ສີຂອງປ້າຍໄອຄອນ ເຮົາເລືອກເອງໄດ້ຕາມໃຈທັງຫມົດ.

Screenshot_2015-08-27-21-01-33-horz

 

ການເລືອກຮູບແບບຫນ້າໂຮມ ວ່າຕ້ອງການຈະເປັນແບບສອງຊັ້ນ (ມີຫນ້າໂຮມ ແລະ ຫນ້າ Appdrawer ລວມແອັບຯແຍກອອກຈາກກັນ) ຫລື ຈະເອົາເປັນແບບຫນ້າໂຮມຊັ້ນດຽວຄືຫນ້າລວມລາຍການແອັບຯຈະມາຢູ່ລວມໃນດ້ານນອກທັງຫມົດ ບໍ່ມີຫນ້າ Appdrawer ອີກຕໍ່ໄປ.

Screenshot_2015-08-27-21-01-54

 

ປັບແຕ່ງໄດ້ຫລາກຫລາຍ

ໃຊ້ງານໄດ້ທັງແນວຕັ້ງ ແລະ ແນວນອນ

Screenshot_2015-08-27-21-08-48

 

ໃນຫນ້າການແຈ້ງເຕືອນຈະເຫັນໄອຄອນຟັງຊັ່ນການເຮັດວຽກບາງໂຕທີ່ເປັນຂອງທາງ ASUS ເອງເຊັ່ນ: ໂຕຈັດການການເລີ່ມເຮັດວຽກໂດຍອັດຕະໂນມັດ ສຳລັບອຸປະກອນທີ່າະເປັກບໍ່ສູງຫລາຍ ຟັງຊັ່ນນີ້ມີະໂຫຍດຫລາຍ ເພາະມັັນຄືຄວາມສາມາດໃນການປິດກັ້ນການເລີ່ມເຮັດວຽກເອງຂອງໂຕໂປຣແກຣມທີ່ບໍ່ຈຳເປັນ ເຊິ່ງປົກະຕິແອັບຯບາງໂຕຂອງລະບົບແອນດຣອຍ ມັນມັກເລີ່ມເຮັດວຽກເອງເບື້ອງຫລັງ ແຕ່ໃນ ASUS Zenpad 7.0 ແມ່ນຫມົດສິດ ເພາະເຮົາລັອກມັນໄວ້ໄດ້.

Screenshot_2015-08-27-21-07-46-horz

 

“ບັນທຶກຫຍໍ້” ການຈົດບັນທຶກດ່ວນທີ່ເຮົາເອີ້ນໃຊ້ໄດ້ຈາກຫນ້າແຈ້ງເຕືອນນີ້ເລີຍ ສາມາດບັນທຶກໄດ້ັທັງແບບລາຍມື ແລະ ການພິມຂໍ້ຄວາມ.

 

ໂຕກອງແສງສີຟ້າເຊິ່ງຕອນນີ້ກຳລັງນິຍົມເລີຍຢ່າງພວກຟີມກອງແສງສີຟ້າ ທີ່ເຂົາວ່າຈະເປັນອັນຕະລາຍຕໍ່ຫນ່ວຍຕາຂອງເຮົາ ສຳລັບ ASUS Zenpad 7.0 ມີໃສ່ມາໃຫ້ເປັນຟັງຊັ່ນການກອງແສງເລີຍ ໂດຍຈະປ່ຽນໂທນສີຫນ້າຈໍໃຫ້ອອກເຫລືອງໆແທນ ເຊິ່ງຈະສົ່ງຜົນໃຫ້ສະບາຍຕາຫລາຍຂຶ້ນນັ້ນເອງ.

P1015235

 

ຫນ້າການຕັ້ງຄ່າຈະແຍກເປັນສອງແຖວຄືກັບເຄື່ອງແທັບເລັດ ສ່ວນທີ່ຫນ້າສົນໃຈໃນການຕັ້ງຄ່າເປັນພິເສດໃນ ASUS Zenpad 7.0 ກໍ່ຫນ້າຈະເປັນເລື່ອງຂອງການສະແດງຜົນ ນອກຈາກຈະປັບຕັ້ງຂະຫນາດຟ້ອນ ຫລື ການເປີດໂຫມດແສງສີຟ້າໄດ້ແລ້ວເຮົາຍັງສາມາດປັບຕັ້ງໂທນສີ ແລະ ຄວາມສົດຂອງຫນ້າຈໍໄດ້ໃນລະດັບເລິກໃນການຕັ້ງຄ່າສ່ວນນີ້ ຢາກໄດ້ສີສົດປະມານໃດ ຫນ້າຈໍອອກໂທນສີແບບໃດກໍ່ປັບຕັ້ງໄດ້ເລີຍ.

Screenshot_2015-08-27-21-18-28-horz

 

Zenmotion ການສັ່ງງານດ້ວຍການສຳຜັດ ແລະ ລັກສະນະພິເສດເຊັ່ນການເຄາະຫນ້າຈໍສອງຄັ້ງເພື່ອລັອກຫນ້າຈໍ ແລະ ປົດລັອກຫນ້າຈໍເປັນຕົ້ນ ການຂຽນໂຕອັກາອນລົງເທິງຫນ້າຈໍເພື່ອເອີ້ນໃຊ້ແອັບຯ ຫລື ການເຮັດວຽກທີ່ເຮົາລະບຸເອົາໄວ້ໄດ້ ຫລື ການສັ່ນເຄື່ອງເພື່ອຈັບພາບຫນ້າຈໍ ຫລື ການພິກເຄື່ອງຂວ້ຳລົງເພື່ອປິດສຽງແຈ້ງເຕືອນ ເຫລົ່ານີ້ຄືຄວາມສາມາດທີ່ເຮົາມາເປີດໃຊ້ງານໄດ້ໃນຫນ້າການຕັ້ງຄ່າ Zenmotion ແຕ່ບອກກ່ອນວ່າເປີດໃຊ້ງານພວກນີ້ຫລາຍໆເຮັດໃຫ້ເປືອງແບັດຯ ແລະ ການໃຊ້ງານໂຕຈິງອອກຈະສ້າງຄວາມລຳຄານຫລາຍກວ່າ.

Screenshot_2015-08-27-21-20-19

 

ໂຕ ASUS Zenpad 7.0 ຈະມີເຄສຝາປິດທີ່ເປັນເຄສເສີມອອກມາຈຳຫນ່າຍເຮົາສາມາດຕັ້ງຄ່າໄດ້ວ່າຈະໃຫ້ໃຊ້ງານຮ່ວມກັບການປິດຝາເຄສແບບໃດ ໃຫ້ລັອກເຄື່ອງ ແລະ ປົດລັອກເຄື່ອງແບບອັດຕະໂນມັດ ຫລື ບໍ່.

 

ພະລັງງານແບບສະມາດຢູ່ແລ້ວເຮົາສາມາດປິດມັນໄດ້ເພື່ອເພີ່ມປະສິດທິພາບມັນອີກເລັກນ້ອຍໂດຍແບັດຯຂະຫນາດ 3,450 mAh ຂອງມັນສາມາດຢູ່ກັບເົຮາໄດ້ເຖິງຄ່ຳ ສາກກັນມື້ຕໍ່ມື້ ແຕ່ກໍ່ທົນພໍທີ່ຈະກັບມາເຖິງບ້ານໄດ້.

Screenshot_2015-08-27-21-29-13

 

ການຕັ້ງຄ່າທີ່ຫນ້າສົນໃຈອີກໂຕຫນຶ່ງໃນເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0 ກໍ່ຄື: ໂຕຕັ້ງຄ່າແບບກຳນົດເອງ ທີ່ໃຫ້ເຮົາເຂົ້າໄປຕັ້ງຄ່າວິທີການເຊັບພາບຫນ້າຈໍ ແລະ ກຳນົດແຫລ່ງຕິດຕັ້ງແອັບຯພື້ນຖານວ່າຕ້ອງການໃຫ້ຕິດຕັ້ງລົງຫນ່ວຍຄວາມຈຳເຄື່ອງຫລືຖ້າເປັນໄປໄດ້ໃຫ້ຕິດຕັ້ງລົງຫນ່ວຍຄວາມຈຳພາຍນອກເປັນຕົ້ນ ສາມາດກຳນົດໂຕ Toggle ເປີດປິດຟັງຊັ່ຍດ່ວນໃນຫນ້າແຈ້ງເຕືອນໄດ້ໃນການຕັ້ງຄ່າສ່ວນນີ້.

Screenshot_2015-08-27-21-34-44-horz

 

ASUS ຍັງໄດ້ອອກແບບການໃຊ້ງານຂອງເຄື່ອງໃຫ້ເຫມາະສົມກັບຜູ່ໃຊ້ງານສະມາດໂຟນ ຫລື ແທັບເລັດແອນດຣອຍໄດ້ບໍ່ຊຳນານປານໃດດ້ວຍ “ໂຫມດງ່າຍ” ໂຫມດການເຮັດວຽກທີ່ແປງຫນ້າຕາ UI ໃຫ້ໃຊ້ງານງ່າຍໆມີໄອຄອນໃຫຍ່ໆ ສຳລັບການປັບເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0 ໃຫ້ເຫມາະກັບເດັກ ຫລື ຜູ່ສູງອາຍຸນັ້ນເອງ.

 

ຫລືຈະເປັນໂຫມເດັກທີ່ເປັນແອັບຯສະເພາະທີ່ທາງ ASUS ມອບໃຫ້ ແອັບຯທີ່ຈະເຮັດໃຫ້ເຄື່ອງຂອງເຮົາປອດໄພຕໍ່ການໃຊ້ງານຂອງເດັກນ້ອຍ ເພາະເຮົາສາມາດກຳນົດຂອບເຂດການຫລີ້ນຂອງເຂົາໄດ້ ກຳນົດເວລາໃນການຫລີ້ນ ກຳນົດແອັບຯທີ່ເຂົາຫລີ້ນ ໃຫ້ເຂົາໃຊ້ເນັດບຣາວເຊີ້ທີ່ປອດໄພດ້ວຍການກັ່ນກອງຂອງໂຕລະບົບ ເຊິ່ງຈະສາມາດໃສ່ລະຫັດຂອງເຮົາເອົາໄວ້ໄດ້ເພື່ອປ້ອງກັນບໍ່ໃຫ້ເຂົາອອກຈາກໂຫມດເດັກເມື່ອເຮົາບໍ່ຢູ່ “ໂຫມດເດັກ” ເປັນແອັບຯຫນຶ່ງທີ່ຫນ້າສົນໃຈໃນ ASUS Zenpad ແລະ Zenfone ເຊິ່ງຫນ້າຈະມີຢູ່ທຸກເຄື່ອງ.

Screenshot_2015-08-27-21-44-27-horz

 

ແອັບຯທີ່ທາງ ASUS ກຽມເອົາໄວ້ໃຫ້ກັບຜູ່ໃຊ້ໃນເຄື່ອງກໍ່ມີຫລາກຫລາຍ ຫນ້າຈະຄົບກັບການໃຊ້ງານຂັ້ນພື້ນຖານແລ້ວທຸກຢ່າງ.

Screenshot_2015-08-27-21-40-42

 

ແລະຈະມີແອັບຯດ້ານການບໍລິການທີ່າຳຄັນອີກສອງໂຕ ນັ້ນຄື MyASUS ສຳລັບການຕິດຕາມງານສ້ອມແປງ ແລະ ສອບຖາມຂໍ້ມູນ.

Screenshot_2015-08-27-21-41-01

 

ອີກຫນຶ່ງໂຕຄື ASUS Support ສຳລັບການຊ່ງຍເຫລືອ ຄູ່ມື ແລະ ເຄື່ອງມືຈັດການເຄື່ອງດ້ວຍຕົນເອງເຊັ່ນ ການ ເຄຣຍແຣມ, ຈັດການແອັບຯເປັນຕົ້ນ.

Screenshot_2015-08-27-21-41-36-horz

 

ຜົນທົດສອບຂອງ ASUS Zenpad 7.0

ຫນ່ວຍຄວາມຈຳໃນເຄື່ອງມີ 16 GB ໃຊ້ໄດ້ແທ້ 11GB

Screenshot_2015-08-27-21-51-09-tile

 

ການຈັບສັນຍານ GPS ບໍ່ເປີດເນັດຊ່ວຍຕ້ອງໃຊ້ເວລາໃນການຫາຕຳແຫນ່ງເລັກນ້ອຍ ແຕ່ກໍ່ຖືວ່າຍັງຢູ່ໃນລະດັບໃຊ້ໄດ້ ຖ້າມີເນັດຊ່ວຍກໍ່ສາມາດນຳໄປໃຊ້ນຳທາງໄດ້ເລີຍ.

 

ທົດສອບການຫລີ້ນໄຟລຫນັງ Full HD ກໍ່ຫລີ້ນໄດ້ບໍ່ກະຕຸກ ແຕ່ມີສະດຸດຢູ່ໃນເວລາຂ້າມເວລາໄປຂ້າມເວລາມາ ສ່ວນດ້ານສຽງລຳໂພງໂຕເຄື່ອງດັງດີ ສຽງອອກແຫລມໆ ບໍ່ແຕກ ຖືວ່າໃຊ້ໄດ້.

P1015244

 

ຫນ້າຈໍຂະຫນາດເຈັດນີ້ວແບບກຳລັງເຫມາະມື ເຫມາະສົມສຳລັບການອ່ານ.

P1015238

 

ຫນ້າຕາແປ້ນພິມຂອງເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0

Screenshot_2015-08-27-22-26-38-tile

 

ກ້ອງຖ່າຍພາບ

ກ້ອງຫລັງ 8 ລ້ານພິກເຊວ ກ້ອງຫນ້າ 2 ລ້ານພິກເຊວ ຟັງຊັ່ນກ້ອງຫລາຍສຸດຍອດດດ ແຕ່ຄຸນນະພາບຂອງພາບຖ່າຍສຸດແສນຈະທຳມະດໍດາ ຖ່າຍກາງເວັນແສງພຽງພໍກໍ່ຖືວ່າຖ່າຍໄດ້ຕະຫລອດ ແຕ່ພໍແສງນ້ອຍໃນບ່ອນຮົ່ມກໍ່ເລີ່ມອອກອາການ ຕັ້ງຄວາມຫວັງຫລາຍບໍ່ຄ່ອຍໄດ້ເລີຍ ສຳລັບກ້ອງຂອງ ASUS Zenpad 7.0

Screenshot_2015-08-27-22-05-55

 

ຟັງຊັ່ນ ແລະ ການຕັ້ງຄ່າຢ່າງຫລາຍຍຍຍຍຍຍ

Screenshot_2015-08-27-22-06-01

ຕົວຢ່າງພາບຖ່າຍ

P_20150828_114803

P_20150828_114818

P_20150828_114853

P_20150828_114908

 

ຟັງຊັ່ນການຖ່າຍພາບດ້ວຍກ້ອງຫນ້າ ເຊວຟີ່ມາເຕັມຂັ້ນ ຕາໂລ້ ຜິວຂາວ ຫນ້າໃສ ຄາງແຫລມ ຈັດມາໄດ້ຫມົດແບບສຸດໆ

Screenshot_2015-08-27-22-04-27

P_20150828_115033_BF

 

ອຸປະກອນເສີມ ASUS Zenpad 7.0 ບັນດາເຄສຝາຫລັງມະຫັດສະຈັນ

ອີກຫນຶ່ງໄມ້ຕາຍຂອງເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0 ຄືອຸປະກອນເສີມຈາກທາງ ASUS ເຊິ່ງຈະເປັນບັນດາຝາຫລັງທີ່ອອກແບບມາເພື່ອສ້າງຄວາມແຕກຕ່າງໃນຫານເລືອກໃຊ້ ເພາະມັນຈະມີຝາຫລັງທັງແບບແຟຊັ່ນຫລາກຫລາຍສີ ແບບເປັນເຫມືອນກະເປົາເງີນຂອງຜູ່ຍິງທີ່ເບີ່ງແລ້ວກໍ່ງາມໄປອີກແບບ.

P8282061

P8282063

P8282064

P8282065

P8282067

 

ແຕ່ຍັງມີອີກຫນຶ່ງໂຕເດັດຄືຝາຫລັງທີ່ເປັນແບັດຯເສີມໃນໂຕ ພຽງປ່ຽນຝາຫລັງກໍ່ເປັນການເພີ່ມແບັດຯໃນໂຕໄດ້ແລ້ວ.

DSC06883-610x406

 

ຍັງມີເຄສອີກແບບຄືເຄສຝາປິດແບບເປັນລຳໂພງ DTS 5.1 ເຊິ່ງໂຕນີ້ໄດ້ຈັບມາຣີວິວພ້ອມໆກັບເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0 ດ້ວຍ

P8282071

 

ຝາຫລັງພ້ອມລຳໂພງໂຕນີ້ອອກແບບມາເພື່ອໃຊ້ງານກັບໂຕເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0 ໂດຍກົງເລີຍ ມັນຈະປ່ຽນໃຊ້ງານແທນຝາຫລັງເກົ່າຂອງໂຕເຄື່ອງ ແລະ ຂົ້ວໄຟຟ້າຫລັງໂຕເຄື່ອງກໍ່ຈະສົ່ງຜ່ານສັນຍານສຽງ ແລະ ລ້ຽງພະລັງງານໄປໃຫ້ແກ່ກັນ ແລະ ກັນໂດຍອັດຕະໂນມັດເຮົາບໍ່ຕ້ອງທຳການຈັບຄູ່ເຊື່ອມຕໍ່ໃດໆເລີຍ ພຽງແຕ່ໃສ່ມັນເຂົ້າໄປດ້ວຍກັນກໍ່ເທົ່ານັ້ນ.

P8282069

P8282079

P8282074

 

ຝາພັບພ້ອມລຳໂພງນີ້ ຈະມີແບັດຯຂອງໂຕມັນເອງຢູ່ເຊັ່ນກັນ ເມື່ອເຮົາສາກພະລັງງານຜ່ານໂຕເຄື່ອງໂທລະສັບ ຝາພັບລຳໂພງໂຕນີ້ກໍ່ຈະສາກພະລັງງານໄປດ້ວຍໃນໂຕ ແຕ່ໃນຂະນະສາກຈະບໍ່ສາມາດໃຊ້ລຳໂພງໂຕນີ້ໄດ້ ສຽງທີ່ອອກຈະຖືກສະລັບໄປຍັງໂຕເຄື່ອງ ASUS Zenpad 7.0 ໂດຍອັດຕະໂນມັດ.

P8282075

 

ສ່ວນຄຸນນະພາບສຽງຂອງເຄສຝາພັບລຳໂພງໂຕນີ້ ກ່ອນອື່ນເລີຍມັນດັງ ສຽງດັງກວ່າລຳໂພງໂຕເຄື່ອງແທັບເລັດຫລາຍ ມີເນື້ອສຽງຫລາຍກວ່າ ແຕ່ກໍ່ບໍ່ແມ່ນວ່າສຽງມັນຈະເທບຄືກັບລຳໂພງດີໆ ມັນດີປະມານຫນື່ງ ເບິ່ງຫນັງໄດ້ ຟັງເພງໄດ້ ແຕ່ເປີດດັງໆສຽງມັນກໍ່ອອກແຫລມໆ ເປີດພໍປະມານຈະໄດ້ສຽງກຳລັງດີ.

P8282078

ເບິ່ງແລ້ວເທ່ໄປອີກແບບສຳລັບເຄສແປກໆແບບນີ້.

 

ສະຫລຸບທ້າຍຣີວິວ

ASUS Zenpad 7.0 ເປັນເຄື່ອງຄຸ້ມຄ່າໃນດ້ານຂອງການໃຊ້ງານ ໂທອອກໄດ້ ໂຕເຄື່ອງສວຍງາມ ສະເປັກພໍໃຊ້ໄດ້ ໃນລາຄາບໍ່ແພງ ແຕ່ປະສິດທິພາບຫນ້າແປກໃຈເລັກນ້ອຍສຳລັຫນ່ວຍປະມວນຜົນໂຕໃຫມ່ຂອງ Intel ກັບແຣມ 2GB ມັນຫນ້າຈະລ່ຽນໄຫລກວ່ານີ້ໃນຫນ້າໂຮມ.

ແຕ່ດ້ວຍລາຄາທີ່ຕັ້ງມາບໍ່ແພງກໍ່ພໍໄຫວຫນ້າສົນໃຈສຳລັບໄຜທີ່ກຳລັງຊອກຫາເຄື່ອງແທັບເລັດແອນດຣອຍ ທີ່ຄຸ້ມຄ່າຄົບຖ້ວນໃນລາຄາຖືກ ບໍ່ຕ້ອງການສະເປັກແບບອະລັງການຫລາຍ ASUS Zenpad 7.0 ໂຕນີ້ຫນ້າຈະນຳໄປພິຈາລະນາ.

 

เกรด C พอถูไถ !

from:http://www.appdisqus.com/2015/10/18/review-asus-zenpad-7-0-z370cg.html

รีวิว ASUS ZenPad 7.0 แท็บเล็ตตัวเล็ก อัดแน่นความบันเทิง พร้อมอุปกรณ์เสริมเพิ่มฟีเจอร์

ASUS เพิ่งเปิดตัวแท็บเล็ตไลน์ใหม่เมื่อช่วงกลางปี โดยรวมเอาจุดเด่นของแท็บเล็ตโทรได้ในซีรีส์ PadFone มาบวกกับงานออกแบบ และฟีเจอร์ความบันเทิงของ ZenFone กลายมาเป็นแท็บเล็ตโทรได้โฉมใหม่ซีรีส์ ZenPad ที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยไปเมื่อเดือนสิงหาคม

จุดเด่นของ ZenPad คือการเป็นแท็บเล็ตราคาไม่แพงเกินเอื้อม แต่ให้ฟีเจอร์ด้านความบันเทิงมาครบครัน ซึ่งประสบการณ์ความบันเทิงมากขึ้น นานขึ้นด้วยอุปกรณ์เสริมอย่าง ASUS Cover ที่สามารถเป็นได้ทั้งแบตเตอรี่สำรอง และลำโพงพกพา 5.1 ด้วยการติดไว้กับเคสด้านหลังเครื่อง ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถใช้โทรศัพท์แบบแนบหูได้

ZenPad ที่มาเปิดตัวในประเทศไทยมีสองรุ่น สามโมเดลคือ ZenPad 7.0 C รุ่นถูกสุดใช้งานอุปกรณ์เสริมไม่ได้, ZenPad 7.0 รุ่นกลาง และ ZenPad S 8.0 รุ่นท็อปหน้าจอความละเอียดสูง โดยตัวที่ทาง ASUS ประเทศไทยส่งมาให้รีวิวเป็นรุ่น ZenPad 7.0 (Z370CG) ราคาเปิดตัว 5,990 บาท พร้อมอุปกรณ์เสริมอีกสองชิ้น โดยสเปคคร่าวๆ มีดังนี้ครับ

* หน้าจอ 7” ความละเอียด 1280×800 พิกเซล
* ซีพียู Intel Atom x3-C3230RK ควอดคอร์ความถี่ 1.2GHz รองรับ 64 บิต
* หน่วยความจำภายใน 16GB, แรม 2GB
* รัน Android 5.0.2
* กล้องหลัง 8 เมกะพิกเซล, กล้องหน้า 2 เมกะพิกเซล ไม่มีแฟลชทั้งหน้า-หลัง
* ตัวเครื่องบาง 8.7 มม. หนัก 272 กรัม แบตเตอรี่จุ 3450 mAh

จับตัวเครื่องจริง

ZenPad 7.0 เป็นแท็บเล็ตสไตล์คิดใหม่ ทำใหม่จาก ASUS ที่ปรับหน้าตาจากรุ่นเดิมๆ ไปพอสมควร แม้ว่าจะราคาค่าตัวไม่สูงนัก แต่ก็ทำมาได้ดูดีทีเดียว สิ่งที่เปลี่ยนไปมากจากรุ่นก่อนๆ คือ ขอบหน้าจอที่ลดขนาดลงมาอย่างเห็นได้ชัด และใช้หน้าจอคุณภาพดีขึ้นมาก

หยิบเครื่องมาครั้งแรกอาจงงๆ เล็กน้อยว่าทาง ASUS ออกแบบมาให้ใช้แนวตั้ง หรือแนวนอนกันแน่ เพราะด้านหน้าวางโลโก้ไว้แนวตั้ง แต่ด้านหลังวางโลโก้ไว้แนวนอน ถึงกระนั้นการใช้งานทั้งสองรูปแบบก็ไม่มีความแตกต่างกันมากนัก เพียงแต่ถ้าใช้งานแนวตั้งจนชิ้นน่าจะสะดวกเวลาโทรศัพท์มากกว่า

ด้านหน้าของตัวเครื่องไม่มีปุ่มเลยแม้แต่ปุ่มเดียว ตามสไตล์แท็บเล็ตยุคปัจจุบันที่ไม่ใช่ iPad หรือ Galaxy Tab ด้านบนวางกล้องหน้า และเซ็นเซอร์ไว้รอบลำโพงสนทนา ส่วนด้านล่างไม่มีอะไรเลย

ด้วยความที่หน้าจอเท่ากันกับรุ่นราคาถูกสุดอย่าง ZenPad 7.0 C แต่สเปคภายในต่างกันเอาเรื่อง เพื่อไม่ให้สับสน ASUS จึงใส่ขอบโครเมียมรอบตัวเครื่อง ZenPad 7.0 ด้วย นอกจากจะช่วยกันงงแล้ว ยังดูหรูขึ้นมาอีกหนึ่งระดับ

ปุ่มทั้งหมดของตัวเครื่องถูกวางไว้ขอบด้านขวา (หรือด้านบนเมื่อวางแนวนอน) เป็นปุ่มเปิดเครื่อง และปุ่มปรับเสียง เรียงจากซ้ายไปขวา

ขอบบน และขอบล่างของตัวเครื่องวางพอร์ตไว้ฝั่งละหนึ่งพอร์ต ขอบบนเป็นพอร์ตหูฟัง 3.5 มม. ส่วนขอบล่างเป็นพอร์ต micro USB ข้างๆ กันเป็นไมโครโฟนสนทนา

พลิกมาด้านหลังจะพบกับความเปลี่ยนแปลงจากแท็บเล็ตเดิมๆ ด้วยการเพิ่มฝาหลังพิมพ์ลายหนัง ที่แม้จะไม่นุ่มนวลชวนฝันเหมือนหนังแท้ๆ แต่ก็ทำให้ถือจับได้อย่างมั่นคง และช่วยกันรอยฝาหลังได้ระดับหนึ่ง แต่ขอบฝาหลังจะหนาขึ้นมานิดหน่อย

กล้องหลังความละเอียด 8 เมกะพิกเซลถูกวางไว้ด้านซ้ายบนของฝาหลัง ใช้งานแนวตั้งไม่มีปัญหา แต่ถ้าแนวนอนต้องระวังมือบังเลนส์กล้องกันหน่อย

ดูภายนอกกันครบแล้วก็ถึงเวลาพิสูจน์ภายใน การเปิดเครื่องทำได้ด้วยการแงะฝาหลังจากร่องบริเวณขวาล่างของตัวเครื่อง (จากด้านหน้า) ค่อยๆ แกะออกมาแล้วจะเห็นข้างในเป็นดังนี้

แม้ว่าจะแกะฝาหลังได้ แต่ตัวแท็บเล็ต ZenPad 7.0 ไม่ได้ออกแบบมาให้ผู้ใช้เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้เอง จุดสำคัญจะมีเพียงถาดใส่ซิมการ์ดขนาด microSIM และถาดใส่ microSD ส่วนด้านซ้ายสุดเป็นจุดสำหรับเชื่อมต่อกับ ASUS Cover

ASUS Cover อุปกรณ์เสริมเพิ่มฟีเจอร์ให้ ZenPad

พูดถึง ASUS Cover เคสอุปกรณ์เสริมสำหรับใช้กับ ZenPad ไปแล้วก็ถึงเวลามาลองเล่นเจ้าเคสที่ว่านี้กัน ZenPad 7.0 ที่ได้มารีวิวนั้น มีเคสแบบ Power Case ที่เป็นแบตเตอรี่สำรอง และ Audio Cover ที่เป็นเคสฝาพับพร้อมลำโพง 5.1 ว่าแล้วก็ค่อยๆ ดูกันทีละตัวครับ

เริ่มต้นด้วยของที่ใช้บ่อยกว่าอย่าง Power Case ฝสหลังที่ยัดแบตเตอรี่เสริมเข้าไปในฝาหลัง รูปร่างภายนอกของเจ้า Power Case เรียกได้ว่าใกล้เคียงกับฝาหลังปกติมาก ต่างกันที่ตัวฝาหลังจะหนากว่าเล็กน้อย และมีแถบโครเมียมเพิ่มเข้ามา

อันบนเป็นฝาหลังแบตเตอรี่เสริม อันล่างเป็นฝาหลังปกติ

หนากว่ากันเล็กน้อย

พลิกดูด้านในของ Power Case จะพบจุดสำหรับเชื่อมต่อกับตัวเครื่องด้านขวาบน โดยปกติแล้วการชาร์จแบตเตอรี่ใน Power Case ทำโดยการชาร์จไปพร้อมกับตัวเครื่องแท็บเล็ต

แต่สำหรับคนที่ใช้งานเครื่องตลอดเวลา อาจไม่มีเวลาไปใส่ฝาหลังนี้ แล้วชาร์จอีกที (เพราะจะชาร์จนานกว่าเดิม) ทาง ASUS ก็มีอุปกรณ์เสริมมาให้อีกหนึ่งชิ้น สำหรับแปะเข้ากับตัว Power Case แล้วต่อสายชาร์จแบตเตอรี่ได้โดยไม่ต้องเสียบเข้ากับตัวแท็บเล็ตเลย

ตัวช่วยชาร์จ Power Case จะมีล็อกมาให้สองตัว เล็งให้พอดีแล้วจะได้ตำแหน่งตามรูป เสียบสายแล้วจะมีไฟขึ้น ถ้าสีแดงแปลว่ากำลังชาร์จไฟ สีเขียวคือชาร์จเต็มแล้ว ถ้าเชื่อมต่อไม่แน่นจะเป็นไฟส้มกระพริบ

ลองประกอบเข้ากับตัวเครื่องได้หน้าตาแบบนี้ บนหน้าจอแท็บเล็ตจะมีสัญลักษณ์ขึ้นมาข้างแบตเตอรี่ เป็นรูปฝาหลัง+แบตเตอรี่ก้อนเล็ก และมีเครื่องหมายลูกศรชี้ไปยังแบตเตอรี่ก้อนใหญ่

ถ้าเสียบฝาหลังไปในขณะที่แบตเตอรี่หลักไม่เต็ม ตัว Power Case จะชาร์จแบตเตอรี่ให้อัตโนมัติ ถ้าหากไม่ชาร์จ ลองปิด-เปิดเครื่องใหม่ซักครั้งครับ

เมื่อใส่ Power Case จะไม่ทำให้ตัวเครื่องหนาขึ้นมากตามที่ ASUS เคลมไว้ ด้วยตัวเคสหนาเพียง 4.7 มม. แต่ด้วยน้ำหนัก 100 กรัมที่เพิ่มเข้ามาทำให้รู้สึกเครื่องหนักขึ้นอย่างรู้สึกได้ (จาก 272 กรัม เป็น 372 กรัม)

ตามสเปคของ Power Case ระบุว่าแบตเตอรี่จุ 3450 mAh เท่ากับในแท็บเล็ต ทาง ASUS เคลมว่าทำให้ใช้งานได้ยาวนานเป็น 15ชั่วโมงต่อเนื่อง (8 วโมงบนแท็บเล็ต และอีก 7 ชั่วโมงบนแบตเตอรี่ของ Power Case) จากการใช้งานจริงพบว่าใกล้เคียงกับที่บอกมา ตัวแบตเตอรี่บนแท็บเล็ตใช้ได้ราว 6-7 ชั่วโมงต่อเนื่อง ส่วนแบตเตอรี่บน Power Case จะน้อยกว่าประมาณ 1 ชั่วโมง (น่าจะเกี่ยวกับการส่งพลังงาน) ถ้าใช้งานหนักๆ จะเหลือประมาณ 4 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง ดังนั้นการใช้งานทั่วไปพร้อม Power Case น่าจะเกิน 10 ชั่วโมงไปสบายๆ ถ้ารับได้กับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น

สำหรับอุปกรณ์เสริมอีกตัวที่ได้มาเล่นคือ Audio Cover เคสฝาพับที่ซ่อนลำโพง 5.1 ไว้ข้างใน พื้นผิวของเคสตัวนี้จะทำลายลึกกว่าทั้งฝาหลังปกติ และ Power Case พอสมควร

กางออกมาแล้วได้หน้าตาแบบนี้

ประกอบร่างกับแท็บเล็ตแล้ว จะขึ้นสัญลักษณ์เหมือนกับตอนต่อ Power Case คือมีรูปฝาหลัง+แบตเตอรี่ตัวเล็ก แต่จะไม่มีลูกศรชี้ไปยังแบตเตอรี่ตัวหลัก คือจะบอกแค่แบตเตอรี่ที่เหลืออยู่ใน Audio Cover นั้นไม่สามารถใช้ชาร์จแบตเตอรี่ก้อนหลักได้

ด้วยความที่เป็นเคสฝาพับ แถมยังมีลำโพงอยู่ด้านใน เมื่อสวมแท็บเล็ตเข้าไปแล้ว ความหนาตัวเครื่องเรียกได้ว่าเป็นสองเท่าของปกติ และหนักขึ้นอีก 221 กรัม (เป็น 493 กรัม)

การใช้งาน Audio Cover ที่ถูกต้อง ต้องวางตัวเครื่องไว้ในร่องในเคสตามนี้

จากการใช้งาน และเปรียบเทียบกับลำโพงอื่นๆ ตั้งแต่สมาร์ทโฟน ลำโพงในตัวเครื่องเอง และลำโพงไร้สาย พบว่าคุณภาพเสียงเมื่อใช้งาน Audio Cover นั้นยอดเยี่ยมมากๆ ทั้งสเตจ เบส และความดัง สามารถปาลำโพงไร้สายทิ้งไปได้เลย แบตเตอรี่ในตัวใช้งานได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง ถือว่ากำลังดีไม่น้อยจนเกินไป

ตัว Audio Cover ยังสามารถปรับเสียงตามการใช้งานได้ด้วยแอพ Audio Wizard อีกด้วย แต่เท่าที่ลองเล่นพบว่าไม่ค่อยแตกต่างจากการตั้งค่าพื้นฐานนัก

ข้อเสียหลักๆ เท่าที่นึกออกคือวัสดุที่ใช้ทำ Audio Cover นั้นเรียกฝุ่นมากๆ และการปรับองศาหน้าจอไม่ได้ ทำให้ลำบากในบางการใช้งาน เช่น วางบนโต๊ะ หรือวางบนหน้าท้องแล้วนอนดู

การชาร์จ Audio Cover ทำได้ทั้งผ่านตัวแท็บเล็ต และใช้ตัวช่วยแยกเหมือนกับ Power Case

สำหรับอุปกรณ์เสริมอื่นที่ไม่ได้นำมารีวิวจะมีฝาหลังหลากสี (Zen Case) และเคสฝาพับทรงกระเป๋า (Zen Clutch)

ใช้งาน Zen UI โฉมใหม่

Zen UI ที่ใช้กับ ZenPad ถ้าหากเทียบกับ ZenFone จะต่างกันไม่มาก แต่ถ้าหากเทียบกับแท็บเล็ตด้วยกันอย่าง FonePad แล้ว จะเห็นความต่างได้ชัดว่า ASUS ขยับจากการทำอินเทอร์เฟซแบบปรับแต่งจากกูเกิลเพียงเล็กน้อย ให้มีความเป็นตัวของตัวเองขึ้นกว่าเดิม

เมื่อกดหน้าจอค้าง หรือปัดนิ้วจากด้านล่าง จะมีเมนูให้จัดการหน้าแรกเด้งขึ้นมา

แถบแจ้งเตือน ถูกรวมกับทางลัดสำหรับปรับตั้งค่าตามแนวทางของ Lollipop ซึ่งตัวเลือกที่ ASUS ใส่เพิ่มเข้ามาใน Zen UI จะมีแถบบนสุดสำหรับเคลียร์แรม และแอพที่ใช้งานบ่อย ส่วนทางลัดด้านล่างจะมีฟังก์ชันสำหรับลดแสงฟ้าบนหน้าจอ (ด้วยการทำให้หน้าจอเหลืองขึ้น) เพิ่มเข้ามา

ฟีเจอร์ด้านหน้าจอของ Zen UI ยังไม่หมดแค่นี้ สามารถไปปรับแต่งได้อีกในเมนู Display

การปรับแต่งในเมนู Display จะเน้นไปที่การปรับสีบนหน้าจอ โดยจะมีอยู่สามโหมดใหญ่ๆ คือสมดุล ลดแสงฟ้า สีจัดจ้าน และปรับแต่งสีเองตามใจ

การปรับแต่งสีหน้าจอ ASUS ใช้บริการแอพชื่อว่า Splendid ซึ่งปิดฟีเจอร์นี้ให้อัตโนมัติเมื่อจับภาพหน้าจอ ผลคือไม่เห็นความแตกต่างเลยอ่ะ T_T

ในการปรับแต่งสีหน้าจอนั้น ถ้าหากไม่พอใจยังสามารถเลื่อนแถบอุณหภูมิสีด้านบนได้ตามใจชอบ ถ้าหากอยากปรับแต่งเองทั้งหมดก็สามารถเลือกช่องสุดท้ายได้

ในตัว Zen UI ยังมาพร้อมกับหน้าโฮมแบบใช้ง่ายในชื่อ Easy mode ที่ปรับเพิ่มขนาดของฟอนต์ และไอคอนอย่างมหาศาล

จากหน้าหลักที่มีแอพเลือกมาให้แล้ว สามารถเลื่อนซ้ายไปเพิ่มรายชื่อผู้ติดต่อ และเลื่อนไปหน้าขวาเพื่อเพิ่มรายชื่อแอพได้

ในระหว่างใช้งาน Easy mode แม้แต่เมนูตั้งค่าก็ถูกลดรูปให้เหลือแค่ฟีเจอร์จำเป็นเท่านั้นอีกด้วย

ในกลุ่มซอฟต์แวร์ที่พ่วงมากับ Zen UI Suite มีกลุ่มแอพเรียกว่า ZenLink ที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานร่วมกับพีซีโดยเฉพาะ เท่านี่ลองเล่นก็พบว่าทำได้ค่อนข้างดี รายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

PC Link – เชื่อมต่อแท็บเล็ตเข้ากับพีซี สามารถส่งภาพหน้าจอแท็บเล็ตขึ้นไปบนหน้าจอพีซีได้ การเชื่อมต่อทำได้ทั้งผ่าน Wi-Fi และ Bluetooth

คำอธิบายการใช้งาน

ทดลอง mirror หน้าจอขึ้นไป

ขยายเต็มหน้าจอพีซีได้ทั้งแนวตั้ง-แนวนอน

ใช้ท่องเว็บไซต์ได้ด้วย แต่ฟอนต์แตก

Remote Link – ใช้แท็บเล็ตเป็นทัชแพด และคีย์บอร์ด

หน้าตาแอพฝั่งแท็บเล็ต ใช้เป็นทัชแพดได้ พิมพ์ได้ ขยายหน้าจอได้

ปาดสามนิ้วขึ้นเพื่อเปิดโหมด workspace

Share Link – แอพสำหรับแชร์ไฟล์โดยไม่ใช้ 3G ด้วยการส่งผ่าน Wi-Fi ใช้ได้กับทั้งแท็บเล็ต สมาร์ทโฟน และพีซี (ต้องดาวน์โหลดแอพเพิ่ม)

ประสิทธิภาพ ผลการทดสอบ และกล้อง

แม้ว่าจะเป็นแท็บเล็ตราคาไม่แพง แต่สเปคของ ZenPad 7.0 เรียกได้ว่าให้มาพอใช้ทั้งซีพียูควอดคอร์ หน่วยความจำภายใน 16GB และแรม 2GB การใช้งานทั่วไปค่อนข้างลื่น แต่ยังมีกระตุกบ้างในบางจังหวะ โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนแอพ

หน่วยความจำภายใน 16GB ที่ว่ามา ถูกแบ่งไปให้ส่วนระบบเกือบ 5GB และเมื่อรวมกับแอพที่มาพร้อมกับตัวเครื่องแล้ว จะมีพื้นที่ว่างให้ใช้ประมาณ 8GB-9GB ได้ ส่วนแรมจะเหลือใช้ประมาณ 1GB เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรก

ลองนำไปเล่นเกม พบว่าไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องกราฟิกมากนัก จะติดขัด กระตุกบ้างเวลาโหลดซีพียูมากกว่า

Angry Birds 2 – โดยรวมลื่น กระตุกเวลาระเบิดตูมตามเยอะๆ

Dragon Blaze – เกมออนไลน์ใช้ซีพียูเยอะ กระตุกตลอดการเล่น

Asphalt 8 – เกมขับรถยอดนิยม ค่าเริ่มต้นปรับกราฟิกมาระดับกลางลื่นไหลดี ปรับสูงสุดก็ยังลื่น แต่โหลดนานขึ้นมาก

ทดลองดูวิดีโอสกุลไฟล์ .MKV ผ่าน MX Player พร้อม x86 Codec พบว่าลื่นมาก มีแอบโหลดช้าเวลาเปิดซับไตเติ้ลที่ต้องโหลดฟอนต์ขึ้นมา ใช้กับเคส Audio Cover แล้วฟินมาก

ลองไปรันทดสอบกับ Antutu เวอร์ชันล่าสุด ได้ผลคะแนนประมาณรุ่นท็อปของเมื่อสองปีก่อน โดยคะแนนฝั่งจีพียูนั้นดีมาก แต่ความเร็วแรม และหน่วยความจำค่อนข้างแย่ โดยเฉพาะซีพียูแย่กว่าใครๆ

ตัว ZenPad 7.0 ให้กล้องหลังความละเอียด 8 เมกะพิกเซลมา แต่ไม่มีแฟลชมาให้ พูดถึงอินเทอร์เฟซทำมาค่อนข้างใช้งานง่าย และมีระบบแนะนำฟีเจอร์อัตโนมัติ รวมถึงโหมดการถ่ายจำนวนมาก

เมื่อปรับเป็นกล้องหน้า ฟังก์ชันแรกที่พบคือการปรับระดับความงามในการถ่ายเซลฟี่ ทั้งหมดสิบระดับ และแยกได้ตั้งแต่ใบหน้า โครงหน้า ดวงตา และความวิ้่ง

ส่วนที่ชอบมากคือชัตเตอร์กล้องหน้าจะใช้วิธีลากมาด้านซ้ายเพื่อนับถอยหลัง ใช้งานง่าย และน่ารักดี

ทั้งหมดทั้งมวลนี้พังทะลายด้วยตัวกล้องของ ZenPad ที่แม้ว่าจะความละเอียดเหลือกินถึง 8 เมกะพิกเซล รูรับแสงกว้างถึง f/2 แต่ผลงานกลับไม่น่าประทับใจเท่ากับสเปคที่ให้มา ไม่คม มีนอยส์ในที่แสงมาก และความเร็วชัตเตอร์ช้ามาก ไม่มีแฟลชในตัว บอกลืมภาพถ่ายกลางคืนไปได้เลย

ข้อดีที่นึกออกคือให้ภาพสว่าง และสีสันสดใสระดับหนึ่ง ผิดกับที่คาดไว้ว่าจะสีซีด

(เดี๋ยวมาใส่รูปเพิ่มให้ครับ)

สรุป

เท่าที่ใช้งาน ZenPad 7.0 มาได้ราวหนึ่งสัปดาห์ การใช้งานทั่วไปทั้งเล่นเบราว์เซอร์ โทรศัพท์ทำได้ไม่มีปัญหา (ลำโพงเสียงแตกไปหน่อย) หน้าจอสวยในราคาเท่านี้ ตัวเครื่องไม่ร้อนมากแม้ใช้งานต่อเนื่อง การมีอุปกรณ์เสริมช่วยเพิ่มจุดเด่นให้กับรุ่นนี้ได้มาก แลกกับราคาที่ต้องจ่ายเพิ่ม และต้องคอยชาร์จแบตเตอรี่แยกอีกชิ้น ที่แย่กว่าคือผมหาราคาของอุปกรณ์เสริมทั้งคู่ไม่เจอ (ใครทราบวานแจ้งทีครับ)

ข้อเสียที่เห็นได้ชัดคือประสิทธิภาพ ตัว Atom x3 สเปคค่อนข้างต่ำกว่าคู่แข่งในราคาไล่เลี่ยกันพอสมควร รวมถึงฮาร์ดแวร์ส่วนอื่นๆ อย่างแรม และหน่วยความจำภายในที่ค่อนข้างช้าด้วย ปิดท้ายด้วยกล้องหน้า-หลังที่ยังไม่ดีนัก

ถ้าซีพียูแรงกว่านี้ซักหน่อยจะกล้าแนะนำให้ซื้อเต็มปากกว่านี้แล้วเชียว

ASUS, Review, Tablet, ZenPad

from:https://www.blognone.com/node/72121

รีวิว ASUS Zenpad 7.0 (Z370CG) แท็บเล็ตโทรได้ในราคาสุดประหยัด

หลังจากเปิดตัวกันมาไม่นานเท่าไหร่ในประเทศไทยสำหรับแท็บเล็ตเครื่องใหม่จากทาง ASUS เจ้าตลาดราคาประหยัดที่ผลิตเครื่องสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตระบบ Android ออกมาจำหน่ายในราคาและสเปคคุ้มค่าเข้าตาคนไทยหลายๆ ตัว และล่าสุดนั้นคือ ASUS Zenpad แท็บเล็ตแอนดรอยด์ที่สามารถโทรเข้าโทรออกได้ จริงๆ แล้วเปิดตัวมาพร้อมกันหลายรุ่นครับ แต่รุ่นที่ผมจะรีวิวนั้นคือ ASUS Zenpad 7.0 ซึ่งเป็นตัวที่ทาง ASUS ดูจะใส่ใขเป็นพิเศษ และมีการนำเข้ามาจำหน่ายแล้ววในบ้านเรา ซึ่งราคานั้นไม่แพงเลยครับ Zenpad 7.0 จำหน่ายในราคา 5,990 บาทเท่านั้นเองครับ

P8282046

 

Zenpad 7.0 เป็นเครื่องแท็บเล็ตระบบแอนดรอยด์ ที่เน้นจุดขายมาในเรื่องของราคาจำหน่ายที่ถูกมาก แต่เป็นเครื่องราคาถูกที่มาพร้อมกับความใส่ใจในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบและอุปกรณ์เสริม เพราะในการเปิดตัวที่ผ่านมา แท็บเล็ตตระกูล Zenpad นั้นมีการประกาศออกมาหลายรุ่นครับ แต่รุ่นที่มาพร้อมกับเคสและอุปกรณ์เสริมเจ๋งๆ นั้น มีแต่เจ้าตัว Zenpad 7.0 ตัวนี้ตัวเดียวเท่านั้นเลยครับ

P8282045

การออกแบบนั้นดูค่อนข้างแปลกตาครับ รูปทรงด้านหน้าอาจจะคุ้นๆ แต่ด้านหลังกลับออกแบบมาเหมือนให้ใช้งานแนวนอน ฝาหลังไม่เต็มหลัง เป็นฝาปิดแบบแค่ส่วนบน ซึ่งการออกแบบนี้แหละครับ ที่ทำให้มีการต่อยอดสามารถใช้งานกับเคสเสริมของมันได้สารพัดมากมาย

P8282049

ตัวเครื่องภายนอก

ตัวเครื่องส่วนใหญ่ใช้วัสดุพลาสติกครับ หน้าจอเจ็ดนิ้วแต่เครื่องไม่ใหญ่มาก เน้นการใช้งานในรูปแบบแนวตั้ง คล้ายจะเป็นโทรศัพท์มากกว่าแท็บเล็ตครับ

P8282042

ปุ่มควบคุมอยู่บนหน้าจอทั้งหมด ปุ่มเพิ่มเสียงลดเสียงและปุ่ม Power อยู่ด้านขวาข้างเดียวกัน (กดปุ่มลดเสียง + พาวเวอร์ เป็นการเซฟภาพหน้าจอ)

P8282055

ด้านบนหน้าจอเป็นลำโพงและกล้องหน้าครับ ลำโพงตรงนี้ใช้เป็นทั้งลำโพงหลักของเครื่องและลำโพงสนทนา

P8282038

ด้านหลังออกแบบแปลกตาไปสักหน่อย เพราะมาเป็นแนวนอน ทาง ASUS เขาว่าการออกแบบนี้ได้แรงบรรดาลใจมาจากกระเป๋าสุภาพสตรีครับ ตัวเครื่องจะเป็นสีล้วน แต่ฝาหลังตรงนี้จะต่างกันออกไปหลายสีครับ

P8282057

แม้ฝาหลังจะเปิดได้ แต่เปลี่ยนแบตเตอรี่เองไม่ได้นะครับ เปิดออกมาเพื่อใส่ซิมและใส่ Micro SD card เท่านั้นครับ

P8282059

เราจะเห็นขั้วไปอยู่ใต้ฝาหลังนี้ นี่เป็นความพิเศษของเจ้า Zenpad 7.0 เพราะมันจะสามารถเชื่อมต่อการทำงานและพลังงานกับเคสพิเศษต่างๆ ที่เดี๋ยวผมจะแนะนำกันในท้ายรีวิวให้ดูกันครับ

P8282041

สเปคเครื่อง ASUS Zenpad 7.0 Z370CG

OS The latest Android 5.0 Lollipop
Display 7″ LED Backlight IPS panel, 1280 x 800 (WXGA); 16:1010 finger multi-touch supportTP Full-Lamination  bonding technology
CPU Intel A 3G-R Z5210RK Quad-Core processor, 1.2 GHz
Memory 2GB
Storage 16GB(5GB Life Time ASUS Webstorage Space ; with an additional 11GB for the first year)
Graphic Mali-450
Wireless Data Network WLAN 802.11 b/g/n, Bluetooth V4.0 + BLE, Support Miracast
Camera 2 MP Front8 MP Rear
Audio Single Front Stereo Speakers  with SonicMaster technology
Interface 1 × Micro USB    1 × 2-in-1 Audio Jack (Headphone / Mic-in) 1 × Digital Microphone   1 × Micro SD Card Reader, up to 64GB (SDXC) Single SIM
Sensor G-Sensor / E-compass / GPS / Light / Proximity / Hall Sensor
Battery 9 hours ; 13 Wh Li-polymer Battery
Navigation E-compass & GPS
Color Black / White / Metallic
Dimensions & Weight 189mm (L) x 110.9mm (W) x 8.7mm (H), 272g

DSC06849-610x406

การใช้งานภายใน

Zenpad 7.0 มาพร้อมกับ Android L 5.0 แต่ครอบทับการทำงานด้วย ZenUI ที่มีฟังชั่นเยอะดีทีเดียวครับ สำหรับประสิทธิภาพการทำงานทั่วไปหลายคนบอกว่ามันช้าและหน่วง มันค่อนข้างช้าจริงครับ และมันมีเหตุผลเพิ่มเติมด้วยครับ เพราะเครื่องที่หลายคนทดสอบใช้งานส่วนใหญ่จะอยู่ในโหมดการประหยัดพลังงานขั้นพื้นฐานมาเป็นค่าแรกเริ่ม นั้นคือมันจะอยู่ในโหมด “การประหยัดพลังงานแบบสมาร์ต” โดยมันจะเป็นโหมดที่ปรับสมดุลการใช้พลังงานให้ยาวนานที่สุด ส่งผลให้แรกสัมผัสผมก็รู้สึกว่ามันหนืดกว่าที่คาดไว้มากครับ ต้องลองเข้าไปปิดมันซะก่อนในการตั้งค่าภายใน  แต่หลังจากปิดโหมดประหยัดพลังงานแล้ว ก็ไม่ได้เป็นเครื่องที่ไหลลื่นมากนักนะครับ ระดับกลางๆ แต่เครื่องก็ไม่แรงอยู่แล้วไปลดประสิทธิภาพมันลงเพื่อประหยัดแบตอีกก็ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ

Screenshot_2015-08-27-20-26-27-horz

ZenUI มีข้อดีที่เด่นๆ ในเรื่องของการปรับแต่งและลูกเล่นครับ ในหน้าโฮมของทาง Zenpad 7.0 จะสามารถปรับแต่งได้มากมายเลย ตั้งแต่ดาวน์โหลดและเลือกใช้ไอคอนในลักษณะต่างๆ ซึ่งเราสามารถดาวน์โหลดเพิ่มเติมมาใช้งานได้จากใน Playstore

Screenshot_2015-08-27-20-58-19-horz

การปรับแต่งอนิเมชั่นเคลื่อนไหวของหน้าโฮม

Screenshot_2015-08-27-21-01-14

การปรับแต่งฟ้อนตัวอักษรที่มีให้เราเลือกใช้เพียบเลยครับ ปรับแต่งขนาดและสีของป้ายไอคอน เราเลือกเองตามใจได้ทั้งหมด

Screenshot_2015-08-27-21-01-33-horz

การเลือกรูปแบบหน้าโฮม ว่าต้องการจะเป็นแบบสองชั้น(มีหน้าโฮมและหน้า Appdrawer รวมแอพ แยกออกจากกัน) หรือจะเอาเป็นแบบหน้าโฮมชั้นเดียว คือหน้ารวมรายการแอพจะมาอยู่รวมในด้านนอกทั้งหมด ไม่มีหน้า Appdrawer อีกต่อไป

Screenshot_2015-08-27-21-01-54

ปรับแต่งได้เยอะมากครับ

ใช้งานได้ทั้งแนวตั้งและแนวนอน

Screenshot_2015-08-27-21-08-48

ในหน้าการแจ้งเตือน จะเห็นไอคอนฟังชั่นการทำงานบางตัวที่เป็นของทาง Asus เอง เช่นตัวจัดการการเริ่มทำงานโดยอัตโนมัติ สำหรับอุปกรณ์ที่สเปคไม่สูงมากนัก ฟังชั่นนี้มีประโยชน์มากทีเดียวครับ เพราะมันคือความสามารถในการปิดกั้นการเริ่มทำงานเองของตัวโปรแกรมที่ไม่จำเป็น ซึ่งปกติแอพพลิเคชั่นบางตัวของระบบแอนดรอยด์ มันชอบแอบเริ่มทำงานเองเบื้องหลัง แต่ใน Zenpad 7.0 หมดสิทธิ์ครับ เพราะเราล็อกมันไว้ได้ครับ

Screenshot_2015-08-27-21-07-46-horz

“บันทึกย่อ” การจดบันทึกด่วนที่เราเรียกใช้ได้จากหน้าแจ้งเตือนนี่เลยครับ สามารถบันทึกได้ทั้งแบบลายมือและการพิมพ์ข้อความ

Screenshot_2015-08-27-21-12-46

ตัวกรองแสงสีฟ้า ซึ่งตอนนี้กำลังนิยมเลยครับอย่างพวกฟิล์มกรองแสงสีฟ้า ที่เขาว่าจะเป็นอันตรายต่อลูกตาของเรา สำหรับ Zenpad 7.0 มีใส่มาให้เป็นฟังชั่นการกรองแสงเลย โดยจะเปลี่ยนโทนสีหน้าจอให้ออกเหลืองๆ แทน นัยว่าจะส่งผลให้สบายตามากขึ้นนั้นเองครับ

P1015235

หน้าการตั้งค่าจะแยกเป็นสองแถวเหมือนเครื่องแท็บเล็ตครับ ส่วนที่น่าสนใจในหน้าการตั้งค่าที่ดูจะเป็นพิเศษในเครื่อง Zenpad 7.0 ก็น่าจะเป็นเรื่องของการแสดงผลครับ นอกจากจะปรับตั้งขนาดฟ้อน หรือการเปิดโหมดแสงสีฟ้าได้แล้ว เรายังสามารถปรับตั้งโทนสีและความสดของหน้าจอ Zenpad 7.0 ได้ในเชิงลึกในการตั้งค่าส่วนนี้ครับ อยากได้สีสดประมาณไหน หน้าจอออกโทนสีอะไรก็ปรับตั้งได้เลยครับ

Screenshot_2015-08-27-21-18-28-horz

Zenmotion การสั่งงานด้วยการสัมผัสและสัญลักษณ์พิเศษ เช่นการเคาะหน้าจอสองครั้งเพื่อล็อกหน้าจอและปลดล็อกหน้าจอเป็นต้นครับ การเขียนตัวอักษรลงบนหน้าจอเพื่อเรียกใช้งานแอพพลิเคชั่นหรือการทำงานที่เราระบุเอาไว้ได้ หรือการเขย่าเครื่องเพื่อจับภาพหน้าจอ หรือการพลิกเครื่องคว่ำลงเพื่อปิดเสียงแจ้งเตือน เหล่านี้คือความสามารถที่เรามาเปิดใช้งานได้ในหน้าการตั้งค่า ZenMotion ครับ แต่บอกก่อนนะครับว่า เปิดใช้งานพวกนี้มากๆ เปลืองแบตเตอรี่ และการใช้งานจริงออกจะสร้างความรำคาญมากกว่าสำหรับผมครับ

Screenshot_2015-08-27-21-20-19

ตัว Zenpad 7.0 จะมีเคสฝาปิดที่เป็นเคสเสริมออกมาจำหน่าย เราสามารถตั้งค่าได้ว่าจะให้ใช้งานร่วมกับการปิดฝาเคสอย่างไร ให้ล็อกเครื่องและปลดล็อกเครื่องอัตโนมัติหรือไม่

Screenshot_2015-08-27-21-24-51

มาถึงตัวจัดการพลังงาน ตัวนี้แหละครับที่ผมพูดถึงตอนแรก เพราะค่าพื้นฐานของเครื่องตั้งค่ามาให้อยู่ในโหมดประหยัดพลังงานแบบสมาร์ตอยู่แล้ว เราสามารถปิดมันได้ครับเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพมันอีกสักหน่อย โดยแบตเตอรี่ขนาด 3,450 mAh ของมัน ก็สามารถอยู่กับเราได้ถึงค่ำนะครับ ชาร์จกันวันต่อวัน แต่ก็อึดมากพอจะกลับมาถึงบ้านได้

Screenshot_2015-08-27-21-29-13

การตั้งค่าที่น่าสนใจอีกตัวหนึ่งในเครื่อง Zenpad 7.0 ก็คือ “ตัวตั้งค่าแบบกำหนดเอง” ที่ให้เราเข้าไปเซ็ตวิธีการเซฟภาพหน้าจอและกำหนดแหล่งติดตั้งแอพพลิเคชั่นพื้นฐานว่า ต้องการให้ติดตั้งลงหน่วยความจำเครื่อง หรือถ้าเป็นไปได้ให้ติดตั้งลงหน่วยความจำภายนอกเป็นต้นครับ สามารถกำหนดตัว Toggle เปิดปิดฟังชั่นด่วนในหน้าแจ้งเตือนได้ในการตั้งค่าส่วนนี้ครับ

Screenshot_2015-08-27-21-34-44-horz

ASUS ยังได้ออกแบบการใช้งานของเครื่องให้เหมาะสมกับผู้ที่ใช้งานสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตแอนดรอยด์ได้ไม่คล่องดีนัก ด้วย “โหมดง่าย” โหมดการทำงานที่แปลงหน้าตา UI ให้ใช้งานง่ายๆ มีไอคอนใหญ่ๆ ไม่มีอย่างที่สำคัญๆ สำหรับการปรับเครื่อง Zenpad 7.0 ให้เหมาะกับเด็กหรืออาจจะผู้สูงอายุนั้นเองครับ

Screenshot_2015-08-27-21-36-36

หรือจะเป็นโหมดเด็ก ที่เป็นแอพพลิเคชั่นเฉพาะที่ทาง ASUS มอบให้ แอพพลิเคชั่นที่จะทำให้เครื่องของเราปลอดภัยต่อการใช้งานของเด็กเล็กๆ เพราะเราสามารถกำหนดขอบเขตการเล่นของเขาได้ กำหนดเวลาในการเล่น กำหนดแอพพลิเคชั่นที่เขาเล่น ให้เขาใช้เล่นเน็ตเบราว์เซอร์ที่ปลอดภัยด้วยการกลั่นกรองของตัวระบบ ซึ่งจะสามารถใส่รหัสของเราเอาไว้ได้เพื่อป้องกันไม่ให้เขาออกจากโหมดเด็กได้เมื่อเราไม่อยู่ “โหมดเด็ก” เป็นแอพพลิเคชั่นหนึ่งที่่น่าสนใจใน ASUS Zenpad และ Zenfone ซึ่งน่าจะมีทุกเครื่องครับ

Screenshot_2015-08-27-21-44-27-horz

แอพพลิเคชั่นที่ทาง ASUS เตรียมเอาไว้ให้กับผู้ใช้ในเครื่องก็มากมายครับ น่าจะครบกับการใช้งานพื้นฐานแล้วแทบทุกอย่าง

Screenshot_2015-08-27-21-40-42

โดยจะมีแอพพลิเคชั่นด้านการบริการที่สำคัญอีกสองตัว นั้นคือ MyASUS สำหรับการติดตามงานซ่อมและสอบถามข้อมูล

Screenshot_2015-08-27-21-41-01

อีกหนึ่งตัวคือ ASUS Support สำหรับการช่วยเหลือ คู่มือ และเครื่องมือจัดการเครื่องด้วยตัวเอง เช่นการเคลียแรม จัดการแอพเป็นต้นครับ

Screenshot_2015-08-27-21-41-36-horz

ผลทดสอบของ ASUS Zenpad 7.0

หน่วยจำในเครื่องมี 16GB ใช้ได้จริง 11GB ครับ

Screenshot_2015-08-27-21-51-09-tile

การจับสัญญาณ GPS ไม่เปิดเน็ตช่วยต้องใช้เวลาในการหาตำแหน่งสักพักครับ แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับใช้ได้ ถ้ามีเน็ตช่วยด้วยก็สามารถนำไปใช้นำทางได้เลย

P1015240

ทดสอบการเล่นไฟล์ภาพยนต์ Full HD ก็เล่นได้นะครับไม่กระตุก แต่มีสะดุดๆ อยู่บ้างในเวลาข้ามเวลาไปข้ามเวลามาครับ ส่วนด้านเสียงลำโพงตัวเครื่องดังดีครับ เสียงออกแหลม ไม่แตก ถือว่าใช้ได้

P1015244

หน้าจอขนาดเจ็ดนิ้วแบบกำลังถือ ดูจะเหมาะมากสำหรับการอ่าน กำลังพอดีมือพอดีตาเลยครับ

P1015238

หน้าตาแป้นพิมพ์ของเครื่อง Zenpad 7.0

Screenshot_2015-08-27-22-26-38-tile

กล้องถ่ายภาพ

กล้องหลัง 8ล้านพิกเซล กล้องหน้า 2ล้านพิกเซล ฟังชั่นกล้องเยอะมากกกกกกกก แต่คุณภาพของภาพถ่ายสุดแสนจะธรรมดาครับ ถ่ายกลางวันแสงเพียงพอก็ถือว่าถ่ายได้สนุกครับ แต่แสงน้อยในที่ร่มก็เริ่มออกอาการ หวังมากไม่ค่อยได้ครับสำหรับกล้องของ Zenpad 7.0

Screenshot_2015-08-27-22-05-55

ฟังชั่นและการตั้งค่าเยอะมาก

Screenshot_2015-08-27-22-06-01

ตัวอย่างภาพถ่าย

P_20150828_114803 P_20150828_114818 P_20150828_114840 P_20150828_114853 P_20150828_114908

ฟังชั่นการถ่ายภาพด้วยกล้องหน้า เซลฟี่มาเต็มขั้น ตาโต ผิวขาว หน้าใส คางแหลม จัดได้หมดครับ

Screenshot_2015-08-27-22-04-27

P_20150828_115033_BF

อุปกรณ์เสริม Zenpad 7.0 เหล่าเคสฝาหลังมหัศจรรย์

ไม้ตายหนึ่งของเครื่อง Zenpad 7.0 คืออุปกรณ์เสริมจากทาง ASUS ซึ่งจะเป็นเหล่าฝาหลังที่ออกแบบมาเพื่อสร้างความแตกต่างในการเลือกใช้ครับ เพราะมันจะมีฝาหลังทั้งแบบแฟชั้นหลากหลายสี แบบเป็นเหมือนกระเป๋สตางค์ของผู้หญิงที่ดูแล้วก็งามไม่ใช่เล่น

P8282061 P8282063 P8282064 P8282065 P8282067

แต่ยังมีทีเด็ดคือฝาหลังที่เป็นแบตเตอรี่เสริมในตัว เพียงเปลี่ยนฝาหลัง ก็เป็นการเพิ่มแบตเตอรี่ของตัวเครื่องได้แล้วครับ

DSC06883-610x406

ยังมีอีกหนึ่งตัวเด็ดนั้นคือเคสฝาปิดแบบเป็นลำโพง DTS 5.1 ซึ่งเจ้านี้ผมได้มารีวิวพร้อมๆ กับตัวเครื่อง Zenpad 7.0 ด้วยครับ

P8282071

ฝาหลังพร้อมลำโพงตัวนี้ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับตัวเครื่อง Zenoad 7.0 โดยตรงเลยครับ มันจะเปลี่ยนใช้งานแทนฝาหลังเดิมๆ ของตัวเครื่อง และขั้วไฟฟ้าหลังตัวเครื่องก็จะส่งผ่านสัญญาณเสียงและเลี้ยงพลังงานไปให้แก่กันและกันโดยอัตโนมัติ เราไม่ต้องทำการจับคู่เชื่อมต่อใดๆ เลยครับ แค่สวมมันเข้าด้วยกันก็เท่านั้น

P8282069 P8282079

P8282074

ตัวฝาพับพร้อมลำโพงตัวนี้ จะมีแบตเตอรี่ของตัวมันเองอยู่เช่นกัน เมื่อเราทำการชาร์จพลังงานผ่านตัวเครื่องโทรศัพท์ ฝาพับลำโพงตัวนี้ก็จะชาร์จพลังงานไปด้วยในตัว แต่ในขณะชาร์จ จะไม่สามารถใช้งานลำโพงนี้ได้นะครับ เสียงที่ออกจะโดนสลับไปยังลำโพงตัวเครื่อง Zenpad 7.0 โดยอัตโนมัติ

P8282075

ส่วนคุณภาพเสียงของเจ้าเคสฝาพับตัวนี้ ก่อนอื่นเลย มันดังครับ เสียงดังกว่าลำโพงตัวเครื่องแท็บเล็ตมาก มีเนื้อเสียงมากกว่า แต่ก็ไม่ใช่ว่าเสียงมันจะเทพเหมือนลำโพงดีๆ มากสักเท่าไหร่นะครับ มันดีประมาณหนึ่ง ดูหนังได้ ฟังเพลงได้ แต่เปิดดังๆ เสียงมันก็ออกแหลมๆ ฟุ้งๆ หน่อย เปิดพอประมาณจะได้เสียงกำลังดีครับ

P8282078

มันก็ดูเท่ดีสำหรับเคสแนวคิดแปลกๆ แบบนี้ครับ

สรุปท้ายรีวิว

เกรด C พอถูไถ !

ASUS Zenpad 7.0 เป็นเครื่องคุ้มค่าในด้านของการใช้งานครับ โทรออกได้ ตัวเครื่องสวย สเปคพอใช้ ในราคาไม่แพงเลย แต่ประสิทธิภาพดูจะแปลกใจผมไปสักหน่อยสำหรับหน่วยประมวลผลตัวใหม่ของ Intel กับแรมขนาด 2GB มันน่าจะลื่นไหลกว่านี้ในหน้าโฮม

แต่ด้วยราคาที่ตั้งมาไม่แพง ก็พอไหวครับ น่าสนใจสำหรับใครมองหาเครื่องแท็บเล็ตแอนดรอยด์ ที่ดูจะคุ้มค่าครบครันในราคาประมาณแค่ห้าพัน ไม่ต้องการสเปคอลังการมากแต่อยากประหยัดตังค์ ตอนนี้ตัวนี้น่าพิจารณา

from:http://www.appdisqus.com/devices/review-asus-zenpad-7-0-z370cg