คลังเก็บป้ายกำกับ: syndacast

The Great Digital Marketing Trends of 2016 – จับตาเทรนด์ใหม่ในโลกดิจิทัลปี 2559

digital-marketing-trends-2016

หลายปีมานี้ การทำการตลาดด้านดิจิทัลมีความสำคัญเพิ่มขึ้น ด้วย Search Algorithms เองก็ถูกพัฒนาให้สามารถรองรับซับซ้อนยิ่งขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีของโลกอันก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่ตามมา ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โลกดิจิทัลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญ เพราะนี่อาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผลสถิติระบุว่าในปี 2557 มีจำนวนผู้ใช้งานบนโทรศัพท์มือถือมากกว่าผู้ใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์แล้ว รวมทั้งยังคาดการณ์กันว่าจำนวนผู้ใช้จะเพิ่มสูงขึ้นอีกเท่าตัวในปี 2559 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่สัปดาห์นี้ เห็นได้ชัดว่าหลาย ๆ สิ่งในโลกดิจิทัลกำลังจะเปลี่ยนไปอีกครั้ง

ดังนั้น แบรนด์และธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยน พฤติกรรมการใช้ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายก็ย่อมเปลี่ยนไปเช่นกัน

The Content King Remains King – ราชา อย่างไรก็ยังคงเป็นราชา

content

Content Marketing จะยังคงมีบทบาทสำคัญในปี 2559 การทำ Customized Content ช่วยให้แบรนด์เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นการเขียนคอนเทนต์โดยใช้สำนวนและถ้อยคำให้เข้ากับกลุ่มผู้ซื้อกลุ่มนั้น ๆ วิธีนี้ช่วยให้แบรนด์มีความเป็นมนุษย์ มีชีวิตชีวามากขึ้น หรือพูดอีกอย่างก็คือ ช่วยลดระยะห่างของการสื่อสารระหว่างลูกค้ากับแบรนด์ลง จนทำให้ลูกค้ารู้สึกว่ากำลังคุยกับตัวพนักงานไม่ใช่กับบริษัท ทั้งนี้แก่นของการทำ Content Marketing ยังคงอยู่เหมือนเดิม โดยเนื้อหาจะยังเป็นตัวหลักในการส่งข้อมูลที่สำคัญและมีประโยชน์ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบันและลูกค้าในอนาคต การปรับแต่งคอนเทนต์จะมีบทบาทต่อไปและโตขึ้นโดยไม่เกี่ยงขนาดของธุรกิจ ประเภทธุรกิจ หรือแม้แต่พวกตลาดเฉพาะกลุ่ม พูดง่าย ๆ Content Marketing เปรียบเสมือนสะพานที่เชื่อมตัวแบรนด์กับกลุ่มลูกค้า อีกทั้งยังช่วยลดช่องว่างระหว่างกัน โดยเน้นความเชื่อใจซึ่งกันและกันเป็นหลัก

หลายคนเข้าใจว่า การทำ Content Marketing หลัก ๆ แล้วคือการทำให้แบรนด์ถูกจัดอันดับอยู่ในลำดับต้น ๆ บน Search Engine ซึ่งก็ไม่ผิดนัก แต่จริง ๆ แล้ว Content Marketing มีอะไรมากกว่าแค่ “การเป็นอันดับ 1 บน Google” จุดประสงค์หลักไม่ใช่เพื่อช่วยเรื่องอันดับหรือการันตีผลลัพธ์ให้แก่ลูกค้า (ROI) แต่ Content Marketing ยังช่วยส่งเสริมการทำ SEO และการตลาดแขนงอื่น ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามเนื้อหายังเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะถือเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

และจากงานวิจัยซึ่งดำเนินการโดยสถาบันผู้เชี่ยวชาญด้าน Content Marketing (Content Marketing Institute) แสดงให้เห็นว่า

  • 88% ขององค์กรที่ทำการค้ากันเองระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) จ้างตำแหน่งที่ทำ Content Marketing โดยเฉพาะ
  • 78% (ของ 88%) ขององค์กรเพิ่มปริมาณการผลิตคอนเทนต์และงบประมาณโดยรวม
  • 90% ของผู้บริโภคพบว่า Custom Content (คอนเทนต์ที่ผ่านการปรับให้เหมาะกับผู้บริโภคแต่ละกลุ่ม) มีประโยชน์ต่อพวกเขา
  • 78% ของผู้บริโภคเชื่อว่า บริษัทที่มีการทำ Custom Content นั้นน่าเชื่อถือและเหมาะที่จะสร้างความสัมพันธ์ด้วย
  • 80% ของนักธุรกิจมักจะสนใจการนำเสนอข้อมูลบริษัทในรูปแบบงานเขียนมากกว่างานโฆษณา
  • การทำ Content Marketing ใช้งบประมาณน้อยกว่าการทำการตลาดเชิงรุก (Outbound Marketing) แบบเดิม ๆ ถึง 62%

ดังนั้น แบรนด์ควรจะสร้างคอนเทนต์โดยคำนึงถึงผู้ใช้มากกว่าที่จะสนใจแค่อันดับบน Google และออกแบบคอนเทนต์ที่ตรงตามกฎของ Search Engine เพียงอย่างเดียว พูดง่าย ๆ Content Marketing คือการทำ Marketing ให้แก่คอนเทนต์ที่คุณสร้างขึ้นมา ไม่ว่าจะในรูปแบบใด ๆ (บทความ, Infographic, Podcast หรือ Video) เพื่อเชื่อมโยงแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมาย มากกว่าไปบังคับให้ผู้บริโภคต้องเจอคอนเทนต์เหล่านั้น เพียงแค่เป็นเนื้อหาที่ปรากฏบนหน้าแรกของผลลัพธ์การค้นหา

Visual Content is Pleasing to the Eyes – เล่าเรื่องด้วยภาพจะทำให้เห็นได้มากกว่า

twoheads

บางคนอาจจะสงสัย Visual Content ว่ามันคืออะไร หากแปลตรงตัว Visual Content คือ การสร้างสรรค์คอนเทนต์แบบให้เห็นภาพเพื่อให้ผู้รับเข้าใจคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้น Visual Content เป็นได้ตั้งแต่รูปภาพธรรมดาไปจนถึง Infographic และ Video ที่ซับซ้อน แบรนด์และเหล่า Visual Influencer จึงต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศด้านบวกที่ชวนให้ตื่นตาตื่นใจเพื่อสะท้อนความจริงใจและความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ด้วยเหตุนี้ มีการคาดการณ์ว่า Visual Content จะช่วยดึง Engagement เข้ามาสู่แบรนด์ได้มากพอสมควร

หนึ่งใน Visual Content ที่กำลังมาแรงแซงโค้งอยู่ในขณะนี้คงหนีไม่พ้น วิดีโอคอนเทนต์ (Video Content) และคาดว่า กว่า 74% ของ Traffic จากอินเทอร์เน็ตทั้งหมดในปี 2560 จะมาจาก Video ต้องยอมรับว่า Video เป็นสื่อกลางที่มีอิทธิพลอย่างมาก แต่ใช่ว่า Video เหล่านั้นจะต้องยาวเสมอไป บางทีคลิปถ่ายเองสั้น ๆ แค่ 15 วินาทีอย่างใน Instagram สามารถเล่าเรื่องราวได้ดีกว่าเรียงความ 100 บรรทัดซะอีก และไม่ใช่เพียง Instagram เท่านั้น แต่ปัจจุบัน Video Content ได้แฝงตัวอยู่ในเกือบทุก platform ไม่ว่าจะเป็น Facebook, Twitter รวมถึง LinkedIn รวมถึงพี่ใหญ่อย่าง YouTube

On-the-Go with Mobile – โมบายล์ ไปไหนไปกัน

mobile-social-hero

ในปี 2557 Traffic จากการใช้งานบนมือถือเพิ่มสูงขึ้นมากในกว่า 10 ประเทศทั่วโลก จนสามารถไล่ทันสถิติ Traffic บน Desktop ที่เคยมีมา และในเดือนเมษายน Google ได้อัปเดต Algorithm สำหรับการค้นหาบนมือถือโดยเฉพาะขึ้นมา คนในวงการต่างพากันเรียก Algorithm ใหม่นี้ว่า Mobilegeddon (เป็นการเล่นคำจาก Mobile และ Armageddon) ซึ่งเน้นผู้ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเป็นหลัก เว็บไซต์ที่อ่านบนอุปกรณ์พกพาได้ไม่สะดวกจะถูกลดอันดับลง ขณะที่เว็บไซต์ที่เป็น Mobile Friendly จะถูกเลื่อนขึ้นมาอยู่อันดับต้น ๆ  ซึ่งในความจริงแล้วเราเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของอุปกรณ์พกพา อย่างพวกสมาร์ทโฟนมาได้ 2-3 ปีแล้ว แต่ไม่มีอะไรสะเทือนวงการได้มากเท่ากับปรากฎการณ์ Mobilegeddon เพราะเป็นการอัปเดตที่ถูกพัฒนาสำหรับอุปกรณ์พกพาเท่านั้น ราวกับ Google ได้ส่งสัญญาณบอกพวกเราว่า ยุคของอุปกรณ์สมาร์ทโฟนมาถึงแล้ว ยิ่งมีคนใช้สมาร์ทโฟนมากเท่าไหร่ ข้อมูลต่าง ๆ ยิ่งต้องเข้าถึงง่ายมากเท่านั้น

โดยมีการคาดว่ายอดผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนจะเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 2 พันล้านคนในปี 2559 และในปี 2561 อาจสูงถึง 2.56 พันล้านคนเลยทีเดียว (ซึ่งก็เท่ากับ 1 ใน 3 ของประชากรโลก) ผู้คนจำนวนมากในหลาย ๆ พื้นที่สามารถเข้าถึงและเชื่อมต่อมือถือของพวกเขากับ Wi-Fi และเครือข่าย 4G ทำให้พวกเขาติดต่อสื่อสารกับครอบครัว เพื่อน และแบรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สมาร์ทโฟนต่างๆ ไม่ใช่ของใช้หรูหรา แต่เป็นสิ่งที่ต้องมีติดตัวไว้ สำหรับบางคนอาจเปรียบเป็นอวัยวะชิ้นที่ 33 ได้ด้วยซ้ำ สมัยนี้ใคร ๆ ก็อยากออนไลน์อยู่ตลอด เอาง่าย ๆ แค่มองรอบ ๆ ตัวตอนนี้ดู ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้า รถไฟฟ้า หรือแม้แต่บนรถเมล์ จะมีสักกี่คนที่ไม่ใช้งานสมาร์ทโฟนบ้าง

ในแง่ธุรกิจ แบรนด์เองก็ต้องพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็น Mobile Responsive ด้วย โดยมีข้อมูลว่าเว็บไซต์ที่เป็น Mobile Optimized มีสถิติการเข้าชมจากนักช็อปออนไลน์มากกว่าเว็บไซต์ที่ไม่ได้ทำ มากถึง 160 % เพราะผู้คนชอบและสนุกกับการเข้าถึงเว็บไซต์ต่าง ๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา ถ้าหากเว็บไซต์ของคุณไม่ Responsive นั่นแปลว่า คุณเสียลูกค้าที่จะเข้ามาในอนาคตอย่างแน่นอน หากแบรนด์ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากพอ คุณเตรียมใจไว้เลยว่าลูกค้ากว่า 14% จะไม่ทำธุรกิจร่วมกับแบรนด์ของคุณแน่ ๆ

ปัจจุบันมือถือทำอะไรได้มากกว่าแค่ส่งผ่านข้อมูลให้แก่ลูกค้า เราสามารถสั่งซื้อของพร้อมทั้งจ่ายเงินผ่านแอปได้เลย หลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูกันมาบ้างกับ “Apple Pay” เป็นแอปพลิเคชันที่ Apple พัฒนาขึ้นเพื่อให้ลูกค้าสามารถพกกระเป๋าสตางค์ดิจิทัลติดตัวไปได้ทุกที่ เพียงกดปุ่มไม่กี่ครั้งก็ซื้อของได้ง่ายๆ  ขณะที่ Apple Pay เป็นที่รู้จักและถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศแถบตะวันตก คนฝั่งเอเชียรวมทั้งไทยอย่างเราก็ได้แต่คอยว่า เมื่อไหร่ที่ Apple Pay จะเข้ามาให้เราได้ใช้สักที

Talk to Me, Digital Assistances – คุยกับฉันสิ เราคือผู้ช่วยดิจิทัล

14557817254_3d85b0a105_o

ผู้ช่วยดิจิทัล หรือ Digital Assistances เป็นอีกคุณสมบัติที่คาดว่าจะมาแรงในปี 2559 นี้ ผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั้งหลายเช่น iPhone และ Nokia Lumia คงจะคุ้นเคยกับชื่อ Siri และ Cortana เป็นอย่างดี  Digital Assistance ที่ว่านี้ทำงานเสมือนเป็น Search Engine  บนมือถือ (โดยไม่ต้องไปพิมพ์คีย์เวิร์ดค้นหาสิ่งต่าง ๆ ในอุปกรณ์ค้นหาให้ยุ่งยาก) ผู้ช่วยดิจิทัลอย่าง Siri และ Cortana อาจเป็นอีกฟังก์ชั่นหลักที่ทำงานเข้ากันได้ดีกับ Hummingbird Algorithm ของ Google ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหนึ่งที่ช่วยค้นหาจากคำถามหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ซึ่งคนส่วนใหญ่ที่ใช้ Digital Assistance ก็มักจะออกคำสั่งในรูปแบบ “คำถาม” มากกว่า เช่น “ร้านกาแฟที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ไหน” ระบบก็จะเสนอคำตอบ พร้อมบอกเส้นทางที่ใกล้ที่สุด ขึ้นรถเมล์สายอะไร และแนะนำร้านอื่น ๆ เป็นตัวเลือกให้อีกด้วย เดี๋ยวนี้ไปเที่ยวไหนก็ไม่ต้องแบกแผนที่หรือคู่มือท่องเที่ยวให้พะรุงพะรังแล้ว แค่ใช้มือถือเครื่องเดียวแล้วถาม Digital Assistance เอา

ในอนาคตอันใกล้ Digital Assistance จะสามารถตอบสนองต่อคำสั่งที่มีคีย์เวิร์ดยาวระดับปานกลางจนถึงยาวมาก และจะถูกพัฒนาให้ฉลาดยิ่งขึ้น แม่นยำมากขึ้นจนสามารถระบุคำสั่งและให้คำตอบที่ผู้ใช้พอใจได้ ไม่นานมานี้ Google ได้ปล่อยแอปพลิเคชั่น Google App ออกมา ซึ่งช่วยค้นหาผลลัพธ์ที่ถูกต้องและมีคุณภาพให้แก่ผู้ใช้ได้เหมือนมีคนจริง ๆ มาเป็นผู้ช่วยเลยหล่ะ

Virtual Realities are Real – นี่แหละโลกเสมือนจริง!

16863422875_8698414a3c_b

ขณะที่คนส่วนใหญ่โฟกัสเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีให้เจริญก้าวไกล Virtual Reality กลับโฟกัสที่การนำเทคโนโลยีมาสร้างสรรค์สิ่งสวยงามแทน คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า เราใช้ Virtual Reality เพื่อสนองความต้องการของเหล่าเกมเมอร์ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวและอยากได้ประสบการณ์เล่นเกมส์แบบสมจริง แต่สำหรับนักการตลาด Virtual Reality อาจกลายเป็นคุณสมบัติสุดเจ๋งเลยก็ว่าได้ อย่างปีที่แล้ว Facebook เพิ่งได้เข้าซื้อบริษัทพัฒนาแว่นสามมิติ Oculus กว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ แว่นนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของความแปลกใหม่สำหรับนักการตลาด Virtual Reality ที่อาจช่วยคุณสานสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าของคุณ เช่น คุณอาจจะทักทายกับลูกค้าของคุณได้โดยไม่ต้องไปเคาะหน้าประตูบ้านหรือนัดเจอกันข้างนอก หรือหากลูกค้าของคุณมีปัญหาด้านสุขภาพและอยากปรึกษาคุณหมอแบบส่วนตัวสักหน่อย Virtual Reality ก็อาจเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้คุณหมอและคนไข้สามารถพูดคุยกัน แม้จะอยู่ที่บ้าน

อย่างไรก็ดี ก็ยังเร็วไปที่จะกำหนดว่า Virtual Reality จะสามารถช่วยนักการตลาดในแง่ใดได้บ้าง แต่ด้วยความที่โลกดิจิทัลพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ก็เป็นไปได้มากที่จะมีการต่อยอดไอเดียเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในอนาคต

Wearable Technology is a Fashion Statement – ไฮเทคแค่ไหน ใส่แล้วต้องสวยด้วย

7069578953_e59184709b_o

ข้อสุดท้ายนี้ ไม่พูดถึง Wearable Technology คงไม่ได้ คำนิยามของ Wearable Technology คืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกออกแบบให้สามารถพกพาหรือสวมใส่บนร่างกายได้นั่นเอง ตัวอย่างเช่น สมาร์ทวอทช์ (Smartwatch) ที่วางขายตามท้องตลอด ณ ขณะนี้สามารถส่ง Notification มาเตือนผู้ใช้ได้ด้วย (โดยการ Sync ข้อมูลจากบัญชีอีเมล์และปฏิทินของผู้ใช้) วัดระดับการเต้นของหัวใจและคอยเฝ้าระวังให้ ทั้งยังช่วยหาทิศทาง รองรับระบบ GPS  และอีกมากมาย ผู้ที่บุกเบิกตลาดเทคโนโลยี Wearable คาดการณ์ไว้ว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลักษณะนี้จะได้รับการยอมรับมากขึ้นในปี 2559 อีกราว 28% ดังนั้น บริษัทที่กำลังปรับแผนการตลาดหรือกำลังคิดค้นวิธีเข้าหาลูกค้า คุณต้องหาวิธีที่จะสื่อสารกับพวกเขาให้ได้ภายใน 2 วินาที

ในอนาคต อาจมีโอกาสที่ Wearable Technology จะขยายตลาด และสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบ Accessories อื่น ๆ เช่น สร้อยคอ ต่างหู แหวน หรืออาจปักลงบนเสื้อผ้าโดยตรง ทั้งยังกันน้ำ ทนทานต่อสภาพอากาศและการเสื่อมสภาพจากการสวมใส่อีกด้วย บางทีในอนาคต Wearable Technology อาจจะพัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถช่วยชีวิตผู้ใช้งานได้เลยก็เป็นได้

ปี 2559 นับเป็นปีที่เทคโนโลยีจะก้าวกระโดดไปอีกขั้น มีหลายสิ่งให้เราต้องค้นหาในปี 2559 ด้วยความก้าวหน้าด้านอุปกรณ์แกดเจ็ตและความคิดสร้างสรรค์จากบรรดานักบุกเบิกอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เหล่านักการตลาดดิจิทัลมีช่องทางมากมายที่สามารถติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายของตน อย่างที่รู้กันเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาเพื่อตอบสนองและรองรับความต้องการของเหล่าผู้ชมที่หลงใหลในเทคโนโลยี

บทความแปล-เขียนโดย นางสาวนริสา เพิงมาก – Content Project Manager ที่ Syndacast ดิจิทัล เอเจนซี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชีย

แหล่งข้อมูล:

http://digitalmarketingmagazine.co.uk/digital-marketing-features/digital-marketing-trends-to-watch-in-2016/2749
http://www.zestdigital.com/top-digital-marketing-trends-for-2016/
http://www.zestdigital.com/what-you-need-to-know-about-video-on-social-media/
http://www.forbes.com/sites/jaysondemers/2015/09/29/the-top-7-online-marketing-trends-that-will-dominate-2016/
http://localvox.com/blog/2016-digital-marketing-trends/

บทความนี้เป็น Advertorial

from:http://thumbsup.in.th/2015/12/the-great-digital-marketing-trends-of-2016-syndacast/

ปรากฏการณ์ไวรัล (Viral Phenomena) vs การตลาดที่เน้นด้านเนื้อหา (Content Marketing) ไม่เหมือนกันจริงหรือ?

คงจะไม่มีนักการตลาดออนไลน์คนไหนไม่รู้จักคำว่า “Content Marketing” ซึ่งหมายถึงการทำการตลาดด้วยการสร้างและเผยแพร่ คอนเทนต์ (Content – เนื้อหา) ที่มีประโยชน์แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของตน จุดประสงค์เพื่อดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายให้จดจำแบรนด์สินค้า เกิดการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) และส่งเสริมให้เกิดความจงรักภักดีในแบรนด์ (Brand Loyalty)

Content Marketing เติบโตอย่างรวดเร็วในหลายปีที่ผ่านมา ทำให้นักการตลาดออนไลน์พิถีพิถัน ใส่ใจ และให้ความสำคัญกับคุณภาพของตัวคอนเทนต์มากกว่าการเน้นปริมาณ เราไม่สามารถจำกัดขอบเขตของ Content Marketing ได้ เนื่องจากคอนเทนต์ที่เขียนขึ้นหรือที่นำมาใช้ไม่มีรูปแบบตายตัว และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับโซเชียลมีเดีย (Social Media) ได้หลากหลายช่องทาง ทั้งนี้เพื่อจุดประกาย Brand Awareness รวมถึงสร้าง Engagement กับกลุ่มลูกค้า เนื่องจากหลักการของ Content Marketing มุ่งที่การพัฒนาคอนเทนต์ให้มีคุณภาพในระยะยาว ฉะนั้น เราจึงไม่ควรเหมารวม Content Marketing กับไวรัลว่าเป็นสิ่งเดียวกัน เพราะสองสิ่งนี้ไม่เหมือนกันเลย!

เรามาดูกันว่าทำไมไวรัล ถึงไม่รวมอยู่ใน Content Marketing

ไวรัล (Viral) คืออะไร

อธิบายง่ายๆ ปรากฏการณ์ไวรัล (Viral Phenomena) คือ การกระตุ้นหรือปลุกเร้ากระแสต่างๆ ในสังคมให้เกิดการตื่นตัว และเป็นที่พูดถึงในวงกว้าง เรื่องที่เป็นไวรัลสามารถเป็นได้ทั้งเรื่องราวเชิงบวกและเชิงลบ หลายปีที่ผ่านมามีกระแสไวรัลด้านบวกเกิดขึ้นมากมายในโลกออนไลน์ ซึ่งตัวอย่างดีๆ คงหนีไม่พ้น ALS Ice Bucket Challenge แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากสังคมออนไลน์ ผู้คนจำนวนมากรวมถึงเหล่าเซเลบก็เข้าร่วมแคมเปญนี้เพื่อช่วยระดมทุน ปรากฏการณ์ครั้งนี้มียอดระดมทุนสูงถึง 220 ล้านดอลล่าร์สหรัฐเพื่อนำไปต่อยอดการวิจัยโรค ALS (โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง) และทำให้มีคนหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้นอีกด้วย

IceBucket

เครดิตจาก 21stcenturyscholar.org

อีกหนึ่งตัวอย่างของไวรัลที่ประสบความสำเร็จอย่างไม่น่าเชื่อคือเรื่อง “ชุดนี้สีน้ำเงินดำ หรือ ขาวทอง” เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยผ่านตากันมาบ้างแล้วสำหรับประเด็นนี้ ชุดเดรสตัวนี้เกิดเป็นกระแสโด่งดังมากในโลกโซเชียล เพียงเพราะผู้คนพากันตั้งคำถามว่า ชุดเดรสตัวนี้ที่จริงแล้วเป็นสีน้ำเงินสลับดำ หรือ ขาวสลับทองกันแน่ ชาวเน็ตทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าจะใน Buzzfeed, Reddit, Imgur, Facebook หรือ Twitter ต่างพากันถกเถียงถึงประเด็นของสีเดรสตัวนี้ ขณะที่ประเด็นชุดเดรสกลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์อย่างกว้างขวาง ใครจะเชื่อว่าแคมเปญที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อวัตถุประสงค์ด้านเงินทุนหรือส่งเสริม Brand Awareness ใดๆ เลย กลับดึงดูดความสนใจของผู้คนทั่วโลกและนำ Traffic เข้าสู่เว็บไซต์ได้อย่างล้นหลาม ตามรายงานของ Buzzfeed ปรากฏการณ์ชุดเดรสได้ยอดผู้เข้าชมเว็บไซต์กว่า 670,000 คน และมีผู้คนกว่า 500,000 คนค้นหารูปภาพและโพสต์ที่พูดถึงชุดเดรสนี้บนมือถืออีกด้วย

viral

เครดิตจาก cdn.inquisitr.com

ปรากฏการณ์ไวรัลนั้นไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดคะเนทิศทางได้ อีกทั้งไม่มีการวางแผนใดๆ ล่วงหน้า ดังนั้น ไวรัลจึงไม่จัดว่าเป็น Content Marketing อย่างแน่นอน

ถ้าอย่างนั้น Content Marketing คืออะไร

‘แท้จริงแล้ว Content Marketing คืออะไร?’ เราได้ยินคำถามนี้จากนักการตลาดมือใหม่กันอยู่เสมอ แล้วการทำไวรัลเป็นส่วนหนึ่งของ Content Marketing ด้วยหรือเปล่า… ตอบง่ายๆ เลยว่า ไม่เป็น อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า Content Marketing เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่เน้นพัฒนาและเผยแพร่คอนเทนต์ผ่านช่องทางที่หลากหลาย เพื่อให้ข้อมูลส่งตรงถึงกลุ่มเป้าหมาย และได้รับข้อมูลนั้นอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด หลักการทำ Content Marketing นักการตลาดต้องคำนึงถึงชุดคำสั่งของกูเกิล (Google’s Algorithm) ซึ่งมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มั่นใจว่าคำหลัก (Keywords) ซึ่งเป็นคำศัพท์และวลีต่างๆ จะถูกจัดอันดับอย่างถูกต้องในเครื่องมือค้นหา (Search Engine) ดังนั้น กูเกิลจึงจะจัดอันดับให้กับเว็บไซต์ที่ตรงตามกฎเกณฑ์ตายตัวของกูเกิลได้อย่างถูกต้อง สรุปก็คือ การทำ Content Marketing แบบ White Hat (SEO หมวกขาว) นั้นต้องใจเย็นๆ เพราะการคิด พัฒนา และเผยแพร่คอนเทนต์สู่กลุ่มเป้าหมายโดยอาศัยเว็บไซต์และโซเชียลมีเดียเป็นตัวช่วยนั้นต้องใช้เวลา เราสามารถส่งต่อข้อมูลเหล่านั้นให้กลุ่มลูกค้าได้ในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะในรูปของบทความ, พอดคาสท์ (Podcast), วีดิโอ, อินโฟกราฟิก (Infographic) และอีกมากมาย

และเพราะว่า Content Marketing ต้องใช้ความพยายามในระยะยาวเพื่อวางแผนและจัดการ ดังนั้น กว่าจะได้ผลลัพธ์มาก็ต้องใช้เวลาบ่มเพาะด้วยเช่นกัน คอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องตอบโจทย์เหล่านี้ได้ว่า

–               ใคร

–               ทำอะไร

–               ที่ไหน

–               เมื่อไหร่

–               อย่างไร

–               ทำไม

จะเห็นว่าหลักการทำ Content Marketing กับไวรัลนั้นไม่เหมือนกันเลย สิ่งที่จู่ๆ ก็ดังเปรี้ยงปร้างขึ้นมาไม่ได้แปลว่าสิ่งนั้นมีผลมาจากการทำ Content Marketing เสมอไป เพราะการทำไวรัลใช้เวลาเพียงระยะสั้นๆ และไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันในเรื่องของคอนเทนต์มากนัก
บทความแสดงความคิดเห็น โดย นางสาวนริสา เพิงมาก – Content Project Manager ที่ Syndacast ดิจิตอล เอเจนซี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดออนไลน์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในเอเซีย

บทความนี้เป็น advertorial
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัท Syndacast

from:http://thumbsup.in.th/2015/10/why-the-viral-phenomena-is-not-content-marketing/

4 characteristics of great digital marketer

digital_marketer

What do you think makes a great digital marketer? Here’s what some experienced digital marketers in Thailand thinks:

Customer –Centric Mindset

Good marketers understand their customers’ needs and beyond. Besides understanding the goal of each campaign, great marketers understand their customer’s brand image, voice and how they want to represent their organization to the public.

If you are a digital marketer who is employed by a brand, this is, of course, a given. However, for others who work for a digital marketing company; it’s always a great idea to study each and every prospect’s background before meeting face-to-face during the first meeting. For example, you might discover that the target group for a certain prospect is teenagers and as such they have been running campaigns designed for this target group. You also discovered that they may be rebranding to target adults better.

Having this knowledge ready for when meeting the prospect means you’re able to discuss and come up with sample ideas on the fly. In other words, from the client’s perspective, it’s more productive to meet with a digital marketer who already understands their brand as oppose to a digital marketer who comes empty-handed.

Knowledge-able of Changing Trends

When was the last time you saw a chunky monitor or a bulky CPU? Can’t remember? Well, that’s exactly how fast technology and the digital world changes. Your mobile phone isn’t just for making phone calls anymore either. You use it to surf the Internet, take photos, listen to music, set reminders; it also acts as your pocket book or Gameboy!

Knowing how the world have switched from desktop to smartphone, tablets and portables, means the difference between truly helping customers with their heartaches from the get go, and going on a wild goose chase.

For instance, your client may be getting a lot of traffic already but for some reason they’re not able to keep visitors on their website for longer than 5 seconds on average. After a quick check, you discovered that their website isn’t responsive. Since you are also up-to-date on changing trends, you know that users have switched from desktop browsing to mobile. In essence, this means you would be able to quickly provide the right solution for your client; which is to switch to a mobile-friendly website.

Good Understanding of the Target Group’s Behavior

Several years back, when we think social media, MSN and Hi5 comes to mind. Today, there’s just too many to add to the list, ranging from Facebook, Instagram, Twitter, Pinterest, to Snapchat and Reddit. Good marketers are individuals who are able to identify which is trending for the different age groups right way.

To be able to identify this, a great marketer doesn’t only understand the individual platforms but is also insightful on the behavior of the different target groups. For example, Thais read less, prefers images and loves videos. In addition, they spend hours daily browsing the Internet via smartphones. Given this information, if your client is targeting Thai teenagers and you’re providing recommendations on which channels to focus on, Instagram should instantly come to mind as one of the top options.

Many times over, it’s not just about, ‘what’s trending’, but having a good understanding of different generations, cultural differences and so on, which would allow you to predict how things may change every year.

What may have worked wonders a certain year such as a photo contest might turn out to be a total flop the next year per se.

Be a Great Consultant

Some of the best marketers strive to become more than entrepreneurs. It is true that it’s the client’s business, but your relationship with every project should be more than just to finish the job, get paid, and be done with it.

Admirable marketers are those who are also both a teacher and advisor to their customers. Some clients might not be familiar with online marketing. As such there is a communication gap and the best marketers are those who put in the effort to close that gap. For instance, when discussing banner advertisements, you might be thinking of retargeting, real-time bidding and native advertising, while your client have only ever did single-site buys. The result? Your client feels confused, unengaged and simply lost.

A truly effective digital marketer open new doors and opportunities for clients while also being able to effectively explain and advice all the different techniques and options.

The Take Away

In the end, if you want to become a truly admirable digital marketer, think of your client’s business as your own. Try to figure out what they might be thinking about, how they think, what they probably want and then gradually expand from there.

In addition, do lots of reading and research to understand different target audiences and changing trends. Coupled with a clear understand of your client’s business, you would be well on your way to provide your clients with successful marketing campaigns.

This article is a summary from interviewing several digital marketers at Syndacast, a performance-driven digital marketing company in Asia.

#Advertorial

from:http://thumbsup.in.th/2015/09/4-characteristics-of-great-digital-marketer-eng/

4 คุณสมบัติหลักนักการตลาดดิจิทัลที่ดีควรมีอะไรบ้าง?

digital_marketer

นักการตลาดดิจิทัล (Digital Marketer) กำลังเป็นตำแหน่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นน้องๆ ที่จบมาใหม่ หรือใครที่สนใจอยากเปลี่ยนสายงานก็เสริมทักษะหาประสบการณ์ความรู้เพิ่มเติม เพื่อเริ่มต้นในสายธุรกิจนี้ วันนี้เรามี 4 คุณสมบัติการเป็นนักการตลาดดิจิทัลที่ดี มาแบ่งปันกัน สำหรับใครที่สนใจที่จะเติบโตในสายธุรกิจนี้

  1. ใส่ใจลูกค้า

    นักการตลาดไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์ หัวใจสำคัญที่สุดคือต้องเข้าใจลูกค้า รู้ว่าบุคลิกของลูกค้าคืออะไร ตัวองค์กรเน้นภาพลักษณ์ไปในทิศทางไหน ส่วนมากลูกค้าจะบอกจุดประสงค์ที่อยากทำงานร่วมกัน เมื่อเจอกันครั้งแรก แต่เราก็ควรทำการบ้านโดยการศึกษารายละเอียดของลูกค้าล่วงหน้า เช่น ถ้าที่ผ่านมา แบรนด์ลูกค้าแอคทีฟมาก เน้นความเร็ว เพราะต้องการเจาะกลุ่มวัยรุ่น แต่ตอนนี้ลูกค้าอยากโตขึ้น อยากมีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือ เพื่อเจาะตลาดผู้ใหญ่ เราก็ต้องวางกิจกรรมทางการตลาดที่ส่งเสริมบุคลิกที่โตกว่าของแบรนด์นี้ ยกตัวอย่าง การโพสต์บทความให้ความรู้เพื่อเพิ่มมูลค่าของแบรนด์ และให้ข้อมูลบริษัทลูกค้าแก่กลุ่มเป้าหมาย แทนการแนะนำให้สร้างเกมในเฟสบุคเพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ได้ผล แต่ทำให้ภาพลักษณ์ไม่ตรงกับที่ลูกค้าต้องการ

  1. รู้ทันเทรนด์

    มีใครในที่นี้โตมาพร้อมกับจอคอมใหญ่ๆ ซีพียูที่ส่งเสียงหึ่งๆ บ้าง ตอนนี้ เราจะเห็นจอคอมที่บางลงมาก (เหมือนโทรทัศน์จอแบน) ซีพียูที่เล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เวลาเราไปไหนมาไหน ก็สามารถพกโน้ตบุ๊ก หรือแท็ปเล็ตไซส์ถนัดมือออกจากบ้าน มือถือของเราไม่ได้มีแค่โทรเข้าโทรออก แต่เป็นสมาร์ทโฟน ที่ทำหน้าที่ได้หลายอย่าง เป็นคอมเอาไว้ท่องเน็ต กล้องถ่ายรูป นาฬิกาปลุก เครื่องเล่นเพลง ศูนย์รวมเกม เป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่ไปๆมาๆ กลายเป็นอวัยวะ 33 ของพวกเรา ด้วยความที่เราถือมือถือตลอด ในยุคนี้ คนเราจึงท่องอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือมากกว่าผ่านคอมตั้งโต๊ะ ดังนั้น หากลูกค้าจะสร้างฐานข้อมูล นักการตลาดสามารถแนะนำให้สร้างเป็นแบบ Responsive Design (หมายถึงการแสดงภาพแบบ One size fits all เป็นหน้าเว็บที่แสดงผลได้ทุกขนาดหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นจอคอมพิวเตอร์ จอโน้ตบุ๊ก จอแท็ปเล็ตหรือจอมือถือ) การสร้างฐานข้อมูลแบบ Responsive ทำให้นักการตลาดฝ่ายผลิตทำงานหนักขึ้น แต่ผู้ได้รับประโยชน์เต็มๆ คือ ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ต้องเลื่อนหน้าจอซ้ายขวาๆ ขึ้นลงๆ นอกจากนั้น ทางลูกค้าสามารถเก็บข้อมูลของทั้งเว็บไซต์คอมพิวเตอร์และของมือถือไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน ซึ่งก็ง่ายและสะดวกต่อการดูแล

  1. เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

    แต่ก่อนเรารู้จัก MSN และ Hi5 ตามด้วย Facebook, Instagram, Twitter, Pinterest และอื่นๆ นักการตลาดที่ดีต้องรู้ว่าช่วงนี้เทรนด์ไหนกำลังมาแรง จากที่ลิสต์ชื่อมาจะเห็นได้ว่า บางชื่อก็เลือนหายกลายเป็นความทรงจำแล้ว (เด็กรุ่นนี้บางคนยังไม่ทัน Hi5 ด้วยซ้ำ) นักการตลาดต้อง (ไม่ใช่แค่ควร) รู้ว่าเทรนด์กำลังไปในทิศทางไหน คนไทยอ่านหนังสือน้อยลงจริงหรือเปล่า ถ้าอย่างนั้น ใช้รูปภาพในการสื่อสารดีกว่าไหม นอกจากจะตามเทรนด์แล้ว เราก็ต้องสวมบทบาทนักพยากรณ์ด้วยว่า ในอนาคต เทรนด์ไหนจะมา อีกสัก 10- 20 ปีคนเราจะใช้สติกเกอร์สื่อสารกันแทนการพิมพ์ไหม จะมีแอปรูปภาพไหนมาสู้กับ Instagram หรือ Pinterest ได้หรือเปล่า แต่การทำนายนี้ก็ไม่ได้มาจากการคิดเอาเอง อินเทอร์เน็ตคือแหล่งข้อมูลชั้นดีที่นักการตลาดสามารถอ่านและหาข้อมูลจนตกผลึกทางความคิด ถ้าคุณอยากมองให้ออก คุณก็ต้องมีข้อมูลที่แน่นในระดับหนึ่ง ยกตัวอย่าง เพจลูกค้าที่อยากให้กลุ่มเป้าหมายมาทำกิจกรรมมากกว่าแค่กดไลค์และคอมเมนต์ นักการตลาดอาจแนะนำให้มีประกวดภาพถ่าย เนื่องจากช่วงนี้คนไทยชอบถ่ายรูปกันมากขึ้น การประกวดภาพถ่ายใน Facebook จึงเป็นกิจกรรมดีๆ ที่เรียกให้กลุ่มเป้าหมายออกมาแสดงตัว ถ้ากลุ่มเป้าหมายช่วยกันแชร์รูปก็จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากขึ้น

  1. เป็นผู้แนะนำที่ดี

    นักการตลาดต้องเป็นมากกว่าผู้ประกอบการ จริงอยู่ว่าเราได้เงินจากลูกค้า แต่ความสัมพันธ์ของเราไม่ใช่ควรเป็นเราทำงานให้คุณ คุณจ่ายเงินมา จบ นักการตลาดที่น่าชื่นชมต้องเป็นทั้งครูและกุนซือ ลูกค้าบางคนอาจจะไม่คุ้นกับวงการการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) เพราะที่ผ่านมาเน้นการตลาดแบบดั้งเดิม (Traditional Marketing) เช่น การโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ วิทยุ บิลบอร์ด ป้ายประกาศทั่วไป แต่พอพูดถึงการตลาดออนไลน์ พวกเขาอาจนึกออกเพียงแบนเนอร์โฆษณาบนเว็บไซต์ แต่ยังไม่เข้าใจว่า เราสามารถโฆษณาแบรนด์ของตัวเองในแง่มุมอื่นได้ เช่น การปรากฏตัวในอันดับต้นๆ ของกูเกิ้ล การส่งอีเมล แม้แต่การโต้ตอบผ่าน Facebook Message ก็ถือเป็นการตลาดอย่างหนึ่ง นักการตลาดต้องเป็นกุนซือที่คอยให้คำแนะนำต่างๆ เช่น การใช้แบนเนอร์โฆษณาแบบ Real time bidding ซึ่งหมายถึงแบนเนอร์ที่ปรากฏตัวตามกลุ่มเป้าหมาย ยกตัวอย่าง การโฆษณาปกติจะปรากฏตัวซ้ำๆ บนเว็บไซต์เดิม แต่ถ้าลูกค้าใช้ RTB แบนเนอร์จะปรากฏตัวในเว็บไซต์อื่นๆ ที่กลุ่มเป้าหมายเราเข้าชม โดยทางลูกค้าสามารถตั้งค่าว่าจะให้กลุ่มเป้าหมายใดเห็นโฆษณาตัวไหน แบนเนอร์โฆษณานี้ถูกพัฒนาจากแนวคิดที่ว่า เราให้ความสำคัญกับคนที่จะเห็นโฆษณา แทนการเอาโฆษณาไปวางไว้ที่ไหน

ถ้าคุณอยากเป็นนักการตลาดยุคดิจิทัล คุณไม่ต้องคิดอะไรให้ซับซ้อน แค่คิดถึงลูกค้าก่อนอันดับแรก มองให้ออกว่า ลูกค้าคิดอะไร ลูกค้ามีวิธีคิดอย่างไร ลูกค้าอยากได้อะไร จากนั้น ค่อยขยายไปที่กลุ่มเป้าหมาย หาข้อมูลและวิเคราะห์ว่ากลุ่มเป้าหมายของลูกค้าคือใคร กลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมการซื้ออย่างไร พอเราได้ไอเดียแล้ว ก็เอาความรู้และประสบการณ์ที่มีมาผสมผสานกันอย่างสร้างสรรค์ จริงอยู่ว่า เงินทำให้บริษัทโตและขับเคลื่อนไปข้างหน้า ความสำเร็จทำให้เราเป็นที่รู้จักและน่ายกย่อง แต่สิ่งที่มีค่ามากกว่านั้นคือสายสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกค้า การมุ่งหวังให้พวกเขาได้สิ่งที่ดีที่สุด ทั้งสองฝ่ายจะได้เป็นมากกว่าผู้สั่งงานกับผู้รับงาน แต่จะเป็นพันธมิตรที่แข็งแกร่งในโลกของการตลาดออนไลน์

บทความนี้เป็น advertorial
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่บริษัท Syndacast

from:http://thumbsup.in.th/2015/09/4-characteristics-of-a-great-digital-marketer/

กรณีศึกษาสำหรับแบรนด์: แนวทางสร้างประโยชน์จาก User-Generated Content

content-is-the-key

คงไม่ต้องบอกกันแล้วล่ะครับว่า Content ที่น่าสนใจ รูปภาพสวยๆ ที่ดูเตะตานั้นสำคัญกับการทำการตลาดดิจิทัลมากแค่ไหน ทั้งหมดทั้งมวลเริ่มต้นขึ้นมาจากผู้บริโภคสมัยนี้เริ่มคุ้นเคยกับโฆษณาแบบเดิมๆ ประมาณว่ามองปราดเดียวก็รู้เลยว่านี่มันโฆษณาชัดๆ แล้วก็สร้างขึ้นมาเพื่อทำการตลาด และกลายเป็นว่าโฆษณานั้นใช้ไม่ค่อยได้ผล นักการตลาดสมัยนี้จึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีสานสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้บริโภคในแบบตัวต่อตัวมากขึ้น และหนึ่งในวิธีนั้นก็คือการทำ user-generated content และวันนี้เราจะนำกรณีศึกษาของ 5 แบรนด์ที่น่าสนใจมาให้คุณ

Starbucks

อ่านบล็อกการตลาดที่ไหนก็จะมีตัวอย่าง Starbucks แต่เราก็จำต้องยอมรับว่า Starbucks มีแคมเปญที่ประสบความสำเร็จมากมาย เพราะ Starbucks ไม่เพียงแต่สานสัมพันธ์กับแฟนๆ ได้เป็นอย่างดี แต่ยังสามารถสร้าง user-generated content ขึ้นมาได้ดีด้วย อย่างครั้งเมื่อ Starbucks ทำกิจกรรมชื่อ White Cup Contest ซึ่งเป็นแคมเปญที่ขอให้แฟนๆ Starbucks ทุกคนระบายสีแก้วสีขาวของ Starbucks จากนั้นก็ถ่ายรูปโชว์ลายสีและ artwork ของตัวเองบน social media ผ่านทาง hashtag #WhiteCupContest ผลลัพธ์ออกมาน่าสนใจมาก เพราะมันทำให้แฟนๆ สร้างภาพสวยๆ ของ Starbucks ออกมาล้นทะลัก Facebook และ Pinterest เลยทีเดียว แถมทางแบรนด์ก็ยังได้ Reach เพิ่มโดยไม่ต้องซื้อด้วยนะ ง่ายๆ แต่เวิร์คสุดๆ

starbucks-white-cup

Belkin

ในปี 2013 แบรนด์เคสมือถือ Belkin ได้ทำเคสของ iPhone โดยทางบริษัทได้ร่วมมือกับ Lego โดยออกแบบเคสด้วยการใช้ Lego blocks Belkin เริ่มต้นด้วยการถามลูกค้าของตัวเองบน Instagram ว่าใครอยากจะโชว์ความสามารถในการสร้างสรรค์ออกแบบ Lego structures บนเคส iPhone บ้าง ว่าแล้วก็ใส่ tag #LEGOxBelkin ในมุมมองการตลาดแล้ว แคมเปญนี้เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้าช่วย Belkin ขายของด้วยการแสดงให้เห็นว่าเคส Belkin จะเจ๋งจะ cool ได้มากแค่ไหน แถมยังออกมาแบบเนียนสุดๆ ไม่ดูยัดเยียดอีกด้วย

belkin

Momondo

เมืองไทยอาจไม่ค่อยรู้จัก Momondo กันเท่าไหร่ Momondo คือบริษัท travel metasearch engine จากกรุงโคเปนเฮเกนที่เปิดให้ผู้ใช้ค้นหาและเปรียบเทียบราคาตั๋วเครื่องบิน โรงแรม รถยนต์ ทางบริษัทได้จัดประกวดภาพถ่ายขึ้นมาโดยให้คนส่งภาพที่แสดงถึงชีวิตคนเมืองด้วยสีที่สดใสแล้วชิงรางวัล ฟังดูง่ายๆ แต่ท้ายที่สุดบริษัทก็สร้างกระแสบนโลกออนไลน์ได้ด้วยการดึงคนนับพันนับหมื่นมาร่วมสร้างภาพสวยๆ บน Instagram ของตัวเอง ในแง่การตลาด Momondo กำลังสร้างความน่าติดตามให้กับแบรนด์ตัวเองมากกว่าขายของอย่างเดียว ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เราควรทำในยุคที่การตลาดไม่ควรแต่จะยัดเยียดขายของมิใช่หรือ?

momondo

Estee Lauder

ในปี 2013 Estee Lauder เปิดตัวแคมเปญสร้างการตระหนักรู้ของโรคมะเร็งเต้านมที่หลายๆ คนควรจะใส่ใจ เพราะมันเป็นโรคยอดฮิตของคนทั่วโลก โดยทาง Estee Lauder ได้จัดทำแคมเปญภายใต้ธีม Stronger Together ที่เปิดให้ผู้หญิงทุกคนเข้ามาสร้าง ‘Circle of Strength’ กับเพื่อนๆ ของตัวเอง โดยสาวๆ ผู้ร่วมแคมเปญจะได้รับการร้องขอให้สัญญาว่าตัวเองจะไปทำ mammograms หรือตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องเอ็กซ์เรย์ เดินออกกำลังกายบ่อยๆ ทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และสนับสนุนกันและกัน โดยเจ้า Circle of Strength จะถูกแสดงผ่านทางรูปบน Instagram และ Twitter งานนี้ Estee Lauder ได้อะไรในเชิงการตลาด? มันเป็นการ connect กับผู้บริโภคในระดับสูง ที่ไม่ใช่แค่การเล่น การประกวดอะไร แต่มันเป็นการประสานใจของผู้หญิงทั่วโลกที่จะมาร่วมกันให้กำลังใจกันและกันในแคมเปญนี้

estee-lauder

Air New Zealand

ในปี 2014 สายการบิน Air New Zealand ได้เปิดตัวแคมเปญสร้างแรงบันดาลใจที่เป็นแนว user-generated โดยจัดประกวดภาพถ่ายบน hashtag #AirNZPacked โดยมีคอนเซ็ปต์ว่า จะต้องจับภาพที่เป็นอารมณ์ความตื่นเต้นและกระแสก่อนที่ตัวเองจะได้เริ่มต้นเดินทางท่องเที่ยวทริปในฝัน ผู้ร่วมแคมเปญจะถูกร้องขอให้ถ่ายรูปของกระเป๋าของตัวเองที่แสดงให้เห็นว่าพวกเขากำลังจะเดินทางไปไหน และอัปโหลดภาพเหล่านี้ขึ้นมาบน Pinterest และ Twitter ใครที่ชนะก็จะได้รับบัตรสมนาคุณของ Air New Zealand มูลค่า 1,000 เหรียญนิวซีแลนด์

air-new-zealand

ที่มา: Syndacast.com

และสำหรับนักการตลาด หรือใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ info@syndacast.com หรือเว็บไซต์ Syndacast.com

บทความนี้เป็น advertorial

from:http://thumbsup.in.th/2015/03/leveraging-user-generated-content-a-case-study-of-brands/

จับตาเทรนด์การตลาดออนไลน์ปี 2015 กันเถอะ [Infographic]

 

Screen Shot 2557-12-15 at 12.15.33 AM

พอใกล้สิ้นปี ก็ถึงเวลาที่เราจะไปดูเทรนด์ต่างๆ จากทั่วโลกที่น่าสนใจว่าปีหน้ามีอะไรที่นักการตลาดออนไลน์ควรให้ความสนใจบ้าง โดยครั้งนี้เป็นการสรุปเทรนด์ปี 2015 ในรูปแบบ Infographic โดยบริษัท Syndacast มีอะไรที่ยังฮอตฮิตอยู่ ไปดูกันเลยดีกว่า

1) Mobile Optimization – Mobile เป็นช่องทางการตลาดที่จำเป็นที่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้โดยตรง นักการตลาดต้องอย่าลืมว่าถ้าพัฒนาเว็บฯ หรือวางแผนสื่อโฆษณาขึ้นมา ต้องปรับให้รองรับกับการใช้ผ่าน Mobile ด้วย

2) Content Marketing – ยังคงแรงไม่เลิกเพราะเชื่อมโยงกันไปหมดทั้ง PPC , SEO, โซเชียลมีเดีย และดึงทราฟฟิคเข้ามายังเว็บไซต์

3) Social Media Marketing – มีการคาดการณ์กันว่า Linkedin จะกลายเป็นช่องทางที่น่าสนใจสำหรับธุรกิจ B2B (ในต่างประเทศ สำหรับบ้านเราคงยังไม่ใช่เร็วๆ นี้) ในขณะที่ Instagram จะยังได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากนักการตลาด

4) Social Payments – ธุรกิจขนาดเล็กจะได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์การชำระเงินของโซเชียลมีเดียมากขึ้น

5) Repurposing Email Marketing – การตลาดผ่านทางอีเมลยังอยู่ และทำให้เนื้อหาน่าสนใจมากขึ้น สามารถดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ เช่น Whitepaper, Ebook ได้สะดวกขึ้น

6) Reinvent Native Advertising – ด้วยเทคโนโลยีที่ดีขึ้น โฆษณาต่างๆ ที่เราเห็นจะเน้นที่ตัวผู้บริโภค มีเนื้อหาความเกี่ยวข้องตรงตามความสนใจมากขึ้น ซึ่งเป็นเทรนด์ที่ต่อเนื่องมาจากปีนี้อยู่แล้ว

และสำหรับนักการตลาด หรือใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ info@syndacast.com หรือเว็บไซต์ Syndacast.com


Digital Marketing Trends 2015_withsource-01

บทความนี้เป็น advertorial

from:http://thumbsup.in.th/2014/12/digital-marketing-trends-2015-infographic/

พร้อมแล้วหรือยังกับการเตรียมจัดสรรงบด้าน Digital Media ปี 2015?

budget

ปฏิเสธไม่ได้ว่าดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง หรือการทำตลาดบนโลกออนไลน์ในทุกวันนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น จากการสำรวจของ  Gartner ที่ตีพิมพ์ในเดือนพฤศจิกายน 2014 ที่ผ่านมา งบประมาณสำหรับดิจิตัล มาร์เก็ตติ้งจะเพิ่มขึ้น 8% ในปี 2015 และในปี 2014 นี้ หลายบริษัทมีการใช้จ่าย 10.2% (โดยเฉลี่ย) ของรายได้ทั้งปีสำหรับกิจกรรมด้านการตลาดที่ครอบคลุมงบประมาณทุกไตรมาส ผลการสำรวจพบว่าจาก 51% ของบริษัทที่วางแผนเพิ่มงบประมาณด้านดิจิตัล มาร์เก็ตติ้งในปี 2015 มีการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 17%

Laura McLellan รองประธานฝ่ายวิจัยของ Gartner กล่าวว่า “เส้นแบ่งระหว่างการตลาดในรูปแบบดิจิทัลกับการตลาดแบบดั้งเดิมนั้นยังคงไม่ชัดเจน” ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งยังคงเป็นส่วนน้อยในการตลาดของยุคดิจิทัลสำหรับในปี 2014 นั่นทำให้นักการตลาดสามารถจัดการและวางแผนกับส่วนประสมการตลาด (marketing mix) ได้ลงตัวกว่าปีก่อนๆ ที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ส่งผลให้โมเดลการซื้อของลูกค้าที่มีประสบการณ์ด้านดิจิทัล ถูกเปลี่ยนมาเป็นการให้บริการตนเองมากขึ้น และสุดท้ายก็จะช่วยลดงบประมาณที่ใช้ในการเร่งยอดขายในรูปแบบเดิมๆ ได้ หรือกล่าวได้ว่าดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งจะช่วยเพิ่มผลกำไร ในขณะที่ใช้งบประมาณเท่าเดิม และยังช่วยเพิ่มประสบการณ์ของลูกค้าโดยการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายผ่านทางช่องทางต่างๆ ได้มากขึ้น

จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงไม่มีคำถามว่า เหตุใดดิจิทัล มาร์เก็ตติ้งจึงเติบโตได้อย่างต่อเนื่องในปี 2015? แต่คำถามที่ตามมาคือ จะจัดสรรงบประมาณของดิจิทัลมีเดียอย่างไรดีให้มีประสิทธิภาพสูงสุด? ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีโมเดลไหนที่จะเหมาะสมกับทุกธุรกิจ แม้ว่าคู่แข่งทางตรงจะมีกลยุทธ์ที่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้รับประกันว่าการจัดสรรงบประมาณแบบเดียวกันจะให้ผลลัพธ์เหมือนกันเสียทีเดียว แต่สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องทำในการนำเสนอช่องทางไปยังผู้บริโภคคือ ดูว่าผู้บริโภคจะมีปฏิสัมพันธ์กับช่องทางเหล่านั้นอย่างไร

วิดีโอโฆษณา
ตามที่ eMarketer บริษัทวิจัยตลาดในโลกดิจิทัลพยากรณ์ว่า ในอเมริกาจะมีเม็ดเงินลงโฆษณาทางวิดีโอที่เพิ่มขึ้นไปตลอดจนถึงปี 2018

emarketer

อีกงานวิจัยที่จัดทำโดย Interactive Advertising Bureau (IAB) พบว่า การลงโฆษณาวิดีโอออนไลน์ผ่านช่องทางอย่าง YouTube ก่อนที่จะลงโฆษณาทางทีวี จะช่วยเพิ่มประสิทธิผลของโฆษณาทั้งทางวีดีโอออนไลน์และทางทีวี

iab

ภาพจาก : IAB

การเติบโตแบบก้าวกระโดดของดิจิทัลวีดีโอและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของโฆษณาทางทีวีนั้น อาจจะแสดงให้นักการตลาดในปัจจุบันเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาวิธีการที่ดีที่สุดในการจัดการเนื้อหาระหว่างหน้าจอทีวีและดิจิทัลวิดีโอ

โฆษณาบนมือถือ

ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่นักการตลาดควรจับตามองในการแบ่งสรรงบประมาณ เราทราบกันดีว่าดิจิทัลทีวีและโฆษณาวีดีโอออนไลน์จะเติบโตอย่างมาก และในปี 2014 เราได้เห็นความสำคัญของการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือที่มีมากกว่าการใช้งานผ่านเดสก์ท็อปแล้วในอเมริกา หากเรานำสองอย่างนี้มารวมกัน จะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ทวีคูณ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่รับชมวีดีโอผ่านทางมือถือนั่นเอง ตามที่ KPCB Mary Meeker’s 2014 Internet Trends Report ได้วิเคราะห์ว่า 22% ของผู้ใช้มือถือมีการรับชมวิดีโอดิจิทัล

Content Marketing

เพราะโปรแกรมค้นหาหรือ search engine ในปัจจุบันสามารถทำความเข้าใจในคำค้นหาได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ยิ่งมีการพัฒนาเนื้อหาให้มีคุณภาพมากเท่าใด ก็จะยิ่งส่งผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคมากเช่นกัน ในปี 2014 เราได้เห็นการเชื่อมโยงระหว่าง SEO และ Content Marketing แล้ว และจะยิ่งเห็นมากขึ้นในปี 2015 ในขณะที่ Content Marketing ได้มีการเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ของ SEO และโซเชียลมีเดียนั้น ช่องทางการตลาดก็จะเติบโตอย่างรวดเร็วไปตามๆ กัน นำไปสู่การตลาดแบบ Influencer และบล็อกออนไลน์

influencer

เมื่อได้เห็นพลังของช่องทางการตลาดในการขับเคลื่อนข้อมูล ข่าวสาร เนื้อหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นตอนเหล่านี้จึงถูก Retargeting หรือมีการ
กระตุ้นให้ลูกค้ากลับเข้ามาเลือกซื้อสินค้าและบริการอีก เห็นได้จากการศึกษาของ comScore ที่มีการ Retargeting โฆษณา ทำให้มีการค้นหาแบรนด์ผ่าน smart search เพิ่มขึ้นถึง 1046% และ 726% ของการเข้าชมเว็บไซต์ภายใน 4 สัปดาห์หลังจากที่มีการทำ Retargeting ถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากในการสร้างโอกาสให้เกิดการซื้อสินค้ามากขึ้น

ท้ายบทความนี้เราจึงอยากขอแนะนำ ดิจิทัลทีวี – วิดีโอโฆษณา, โฆษณาบนมือถือ, Content Marketing และการ Retargeting เป็น 4 แนวทางในดวงใจของนักการตลาดยุคปัจจุบัน

และสำหรับนักการตลาด หรือใครที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ info@syndacast.com หรือเว็บไซต์ Syndacast.com

บทความนี้เป็น advertorial

from:http://thumbsup.in.th/2014/12/allocating-digital-media-budget-2015/

ส่องกล้องขยายทำความรู้จักกับ Content Marketing ทั้งความเป็นมา ปัจจุบันและอนาคต

ASIA BUSINESS CONNECT - Content Marketing Conference October 2014 v_2

สำหรับโลกแห่งการตลาดแล้ว ถือได้ว่าปี 2014 เป็นปีของ Content Marketing อย่างแท้จริง แต่นี่ก็ยังเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเพราะความร้อนแรงของ Content Marketing ยังจะเพิ่มขึ้นไปอีกในปี 2015 ที่จะถึงนี้ แต่ก่อนที่จะก้าวไปถึงปีหน้า เราลองมาย้อนหลังทำความรู้จักกับ Content Marketing กันสักหน่อยดีกว่าครับ

ที่มาที่ไปของ Content Marketing

จริงๆ แล้ว Content Marketing เริ่มมาตั้งแต่ยุค 4,200 ปีก่อนคริสตกาลกันเลยทีเดียว ซึ่งในยุคนั้นภาพวาดบนผนังชิ้นหนึ่งสามารถตีความเป็นภาษาปัจจุบันได้ว่า “6 วิธีที่หอกจะช่วยปกป้องคุณจากหมีป่า” ข้ามมาจนถึงยุคร้อยกว่าปีที่ผ่านมา Michelin ได้จัดทำคู่มือขนาด 400 หน้าให้กับผู้ขับขี่รถยนต์ซึ่งเนื้อหาจะแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษารถและการหาจุดแวะพักระหว่างที่เดินทาง

1

การพัฒนายังมีมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งปี   1998 ได้มีการจัดตั้ง Customer Publishing Council ขึ้น และกลายมาเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญสำหรับการทำการตลาดด้วยคอนเทนต์ก่อนที่จะข้ามมาถึงปี 2011 ที่กระแส Content Marketing เริ่มเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและมีหนังสือเฉพาะทางวางขายอยู่ทั่วไป

2

กระแสในปี 2014

Mobile – กระแสที่เห็นชัดที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องของ Mobile หรือทุกๆ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์พกพาโดยเฉพาะโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเราจะเริ่มเห็นชัดเจนว่าการเข้าสู่เว็บหรือการเข้าดูข้อมูลต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตเริ่มย้ายจากการใช้คอมพิวเตอร์มายังฝั่งของอุปกรณ์พกพามากขึ้นเรื่อยๆ นั่นหมายถึงว่าข้อมูลต่างๆ จะถูกบริโภคบนจอขนาดเล็กลง และรูปแบบการการแสดงผลยังต้องมีการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น HTML5 ด้วย

3

Social Media – สังคมและสื่อออนไลน์กลายเป็นช่องทางสำหรับการทำการตลาดในยุคดิจิทัลและกลายเป็นส่วนสำคัญของการทำ Content Marketing ซึ่งในขณะที่เป้าหมายของการทำการตลาดผ่าน social media จะเน้นไปที่การสร้าง engagement การที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นก็ต้องพึ่งคอนเทนต์หรือเนื้อหาต่างๆ ที่ดึงดูดเพียงพอ และในทางตรงกันข้าม หากมีการสร้างคอนเทนต์แต่ไม่มีการเผยแพร่ผ่าน social media ต่างๆ โอกาสในการสำเร็จก็จะน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด โดยสรุปก็คือ social media และ content marketing กลายมาเป็นกลยุทธ์ในการทำการตลาดร่วมกันไปโดยปริยาย

4

New Channels – ช่องทางใหม่ๆ จริงๆ แล้วก็คือการเอาช่องทางที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ ตัวอย่างเช่น Video Marketing ที่เราได้เห็นการบริโภควิดีโอเติบโตอย่างก้าวกระโดด หรือเติบโตกว่า 5 เท่าตัวใน 5 ปี ซึ่งในปี 2012 แบรนด์อันดับต้นๆ ของโลกทั้งหลายได้ลงทุนเป็นเม็ดเงินรวมกันกว่า 4,300 ล้านเหรียญ (เกือบ140,000 ล้านบาท) ในการสร้างคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอของตัวเอง ส่วนอีกหนึ่งช่องทางก็คือ อีเมลที่เราคุ้นเคยกันนั่นเอง การหันมาใช้อีเมลที่ผนวกกับคอนเทนต์ที่ถูกสร้างมาอย่างพิถีพิถันจะช่วยสร้าง engagement และกระตุ้นให้ผู้บริโภคอย่างที่จะซื้อสินค้าได้ ซึ่งมีการประมาณกันว่าช่องทางนี้สามารถสร้าง ROI ได้มากกว่า 4,300% ทีเดียว โดยกลุ่มเป้าหมายของช่องทางนี้ 64% เป็นผู้ตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยตัวเองและอ่านอีเมลผ่านอุปกรณ์พกพา และถึง 91% ที่เช็คอีเมลทุกวัน

5

ประเด็นร้อนๆ ในปี 2014

ในปี 2014 ที่ผ่านมาเราได้เห็นสถิติและข้อมูลต่างๆ ที่ทำให้เชื่อว่า Content Marketing จะยังเติบโตอย่างต่อเนื่องใน 2-3 ปีต่อจากนี้

–          Conversion rate หรืออัตราการเปลี่ยนผู้บริโภคมาเป็นลูกค้าของแบรนด์ที่ใช้ Content Marketing สูงกว่าแบรนด์ที่ไม่ได้ใช้ 6-7 เท่าตัว

–          การค้นหาคำว่า Content Marketing มีการเติบโตขึ้นกว่า 400% ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา

–          Content Marketing ถูดจัดเป็นความสำคัญในการทำตลาดอันดับสูงสุดของนักการตลาดกว่า 36% ในปี 2014

6

เครื่องมือที่ถูกใช้ในการทำ Content Marketing 4 อันดับแรกได้แก่ Social media, บทความบนเว็บ, E-newsletter และการทำการตลาดผ่าน blog

5 โอกาสสำคัญที่รออยู่

  1. Micro Video – เนื่องจากผู้บริโภคทุกวันนี้มีเวลาไม่เคยพอ และการบริโภควิดีโอส่วนใหญ่ก็เกิดขึ้นบนอุปกรณ์พกพา ดังนั้นวิดีโอที่แบรนด์สร้างควรจะมีขนาดสั้น และดึงดูดทันทีที่ดู
  2. Social Blogging – การเขียนบล็อกไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดขึ้นบนเว็บบล็อกอีกต่อไป สังคมออนไลน์อย่าง LinkedIn ก็สามารถถูกใช้เป็นช่องทางสำหรับการเผยแพร่บล็อกได้เช่นกัน
  3. Revisit Email Marketing – อาจจะฟังดูไม่ใหม่ แต่การใช้อีเมลสร้าง engagement กับลูกค้าเดิมยังมีโอกาสอีกมากเพราะลูกค้ามีแต่จะเพิ่มขึ้นทุกวัน
  4. Social Media – การผนวก Content Marketing เข้ากับ Social Media จะกลายเป็นช่องทางที่ทรงพลังและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
  5. Optimize for Mobile – ไม่ใช่แค่การสร้างเว็บให้เป็นแบบ responsive เท่านั้น แต่หมายถึงการสร้างทุกอย่างให้รองรับจอขนาดเล็กของมือถือด้วย

อนาคตที่กำลังจะมาถึง

  1. Cisco ได้คาดการณ์ว่าวิดีโอจะกลายเป็นส่วนสำคัญถึง 69% ของการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั้งหมดในปี 2017
  2. ใน 60 วินาที จะมีรูปใหม่ๆ กว่า 20,000 รูปถูกอัปโหลดบน Tumblr มีบล็อกใหม่บน WordPress กว่า 347 รายการและมีวิดีโอใหม่ๆ ถูกอัปโหลดบน YouTube รวมกันเป็นเวลากว่า 72 ชม. การทำให้คอนเทนต์โดดเด่นจากจำนวนที่มหาศาลจึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรกๆ
  3. Content Curation – การดูคอนเทนต์ทั้งหมดอย่างละเอียดเพื่อให้เกิด insight ที่มีประโยชน์ในการทำคอนเทนต์ หากทำได้ถูกวิธี การวางกลยุทธ์การตลาดคอนเทนต์ก็จะทรงพลังเป็นอย่างมาก
  4. ข้อมูลประเภทภาพเช่น infographic, วิดีโอ, คอนเทนต์บน Slideshare, visual.ly, paper.li
  5. ผลกระทบจาก SEO ที่แข็งแรงขึ้น เกิดจากคอนเทนต์ที่มีค่าที่ถูกจัดเรียงและเผยแพร่นอกเหนือจากบล็อกหรือเว็บที่ใช้งานอยู่แล้วทำให้เกิดการส่งต่อไปมาระหว่างกัน

และนี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Content Marketing กระแสการทำการตลาดที่ร้อนแรงในขณะนี้ เราคงจะได้เห็นกลยุทธ์และคอนเทนต์ที่น่าสนใจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายๆ ปีต่อจากนี้ แน่นอนว่าแบรนด์ที่มีกลยุทธ์และเครื่องมือที่ดีย่อมจะได้เปรียบในการแข่งขันที่ดุเดือด แล้ววันนี้คุณพร้อมหรือยัง?

บทความนี้เป็น advertorial

from:http://thumbsup.in.th/2014/10/knowing-content-marketing-syndacast/

Digital Matters #7 “Creating Mobile Marketing Strategy for Success”

mobile marketing

Mobile Marketing เป็นเรื่องที่พูดกันมาหลายปี จะว่าเป็นคำที่กว้างก็กว้างมาก เพราะมีหลากหลายรูปแบบ ในวันที่เทคโนโลยีต่างๆ ก้าวเข้ามา พร้อมทั้ง Ecosystem ที่แวดล้อมต่างมีความพร้อมมากขึ้น ถึงเวลาที่เราจะมาดูว่าการวางกลยุทธ์แบบไหน การเลือกใช้เทคโนโลยีอะไรถึงจะ “work” สำหรับ Mobile Marketing กัน

กลับมาอีกครั้งกับ “Digital Matters #7″ จับเอาธีมของโลกโมบายล์มาวิเคราะห์กันกับหัวข้อ “Creating Mobile Marketing Strategy for success” พบกับผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายแขนง

วันพฤหัสที่ 16 ตุลาคม 2557

เวลา: 18.30 น. – 21.30 น.

สถานที่: Launchpad (ชั้น 1 อาคารเศรษฐีวรรณทาวเวอร์ ถนนปั้น (ซอยวัดแขก) แนะนำเดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS ลงสถานีสุรศักดิ์) ดูแผนที่

18.30 -19.00:     ลงทะเบียน + พิซซ่า

19.00 – 19.45:   Challenge and Success in Smartphone App Marketing โดย คุณปิยะ แต่รุ่งเรือง General Manager บริษัท Adwayslab

19.45– 20.30:   Mobile Marketing: The new gen with Real Time Bidding and Measurement Performance พบกับผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนสื่อโฆษณาออนไลน์จากบริษัท Syndacast

=====พัก 10 นาที =====

20.40 – 21.15:   “เผยเคล็ดลับทำ Mobile App Marketing อย่างไรให้ติดอันดับ Top”

โดย 2 ผู้เชี่ยวชาญจาก 2 มุมมอง

  • คุณปิยะ แต่รุ่งเรือง General Manager บริษัท Adwayslab
  • คุณอรรถพล ฟักน้อย (อ๊อบ) Founder & CEO: Dev Design Corner Co.,Ltd. ผู้มากประสบการณ์การทำตลาดสำหรับโมบายแอปฯ ผู้เชี่ยวชาญด้าน ASO (App Store Optimization) ของไทย

21:15 เป็นต้นไป    พูดคุยแลกเปลี่ยนกันตามอัธยาศัย

ลงทะเบียนได้ที่นี่

~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~

Digital Matters เป็นการนัดพบปะพูดคุยของคนที่ทำงานด้าน Digital Marketing ในประเทศไทย ให้คุณได้เข้ามาพบปะพูดคุยในแบบ Pizza Party ที่เรียบง่าย แต่ที่แตกต่างไปจากงานอื่นๆ ก็คือเราจะเน้นการอัพเดตข่าวสารที่สำคัญในแวดวงดิจิทัลให้กับคนที่มาร่วมงาน ผ่านมุมมองของ thumbsup ใครอยากรู้ว่างานที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ติดตามอ่านย้อนหลังได้ที่รายงานบรรยากาศ Digital Matters ครั้งล่าสุดได้เลยค่ะ

Syndacast  ออนไลน์เอเยนซี่ผู้นำด้านการตลาดออนไลน์ด้าน Performance-based โดยเฉพาะ ได้รับความไว้วางใจและดูแลลูกค้าระดับโลกต่างๆ มากมายในประเทศต่างๆ เชี่ยวชาญในเรื่องการวางแผนกลยุทธ์ การวิเคราะห์ธุรกิจ วางแผนสื่อ และทำอย่างไรให้ลูกค้าสามารถนำออนไลน์มาประยุกต์ใช้เพื่อตอบโจทย์ตามที่ต้องการได้สูงสุด

Adwayslab บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2001 ดําเนินธุรกิจต่างๆ มากมาย ทั้ง บริหารจัดการระบบ Affiliate program (Smart-C) ของมือถือที่มีลูกค้าโฆษณาระดับยักษ์ใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น บริหารจัดการ AppDriver ซึ่งเป็น Advertising Service สําหรับสมาร์ทโฟน รวมทั้ง บริหารจัดการ JANet ซึ่งเป็นโปรแกรม Affiliate สําหรับ PC Media ส่วนบริษัทลูก Adways ในจีน (เซี่ยงไฮ้) ดําเนินธุรกิจโฆษณาบนอินเตอร์เน็ต กระทั่งในปี 2006 บริษัทได้ขยายธุรกิจด้วยการเข้าสู่ตลาดหุ้น MOTHERS (ตลาดหุ้นประเภทหนึ่งในญี่ปุ่น)

ลงทะเบียนได้ที่นี่

from:http://thumbsup.in.th/2014/09/digital-matters-7-creating-mobile-marketing-strategy-for-success/

“Big Data” กับความก้าวหน้าที่เปลี่ยนไปในธุรกิจดิจิทัล…

syndacast-bigdata-dmp

ในทุกวันนี้เรามีการใช้งานอินเทอร์เน็ต ซึ่งนั่นทำให้เกิดข้อมูลจำนวนมาก ทั้งจากคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ในทุกวันนี้ที่เชื่อมต่อทั้ง GPS และอินเทอร์เน็ต ข้อมูลมากมายเหล่านั้นบอกแม้กระทั่ง เราไปทำอะไร ที่ไหน รู้สึกอย่างไร ซื้อของอะไร ผ่านช่องทางไหน บ่อยแค่ไหน หรือแค่เพียงค้นหาอะไรใน Search Engine ทุกอย่างล้วนแล้วแต่สร้างให้เกิดเป็น “Big Data” ทั้งสิ้น…

แน่นอนครับว่าข้อมูล หรือ Data มากมายที่ลอยอยู่ในอากาศ มีอยู่มากมายมหาศาล เกิดขึ้นมาพร้อมกับช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สังคมออนไลน์ เว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน ในส่วนของนักการตลาด ก็มีข้อมูลที่ต้องการจะส่งไปให้ถึงผู้บริโภค ที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของพวกเขา ซึ่งก็เช่นกัน ข้อมูลเหล่านั้นก็มีมากมายหลากหลายเช่นกัน ทำให้มีข้อมูลมหาศาลจากทั้งผู้รับ และผู้สื่อสาร แต่สุดทั้งหมดอาจจะไม่ได้เชื่อมต่อกันได้เลย

การโฆษณาและการตลาดยุคใหม่ จึงต้องพัฒนาเพื่อให้สามารถเชื่อมโยง “ช่องว่าง” ตรงนั้น หาวิธีแปลงข้อมูลเพื่ออ่านใจผู้รับสาร และสื่อได้ตรงใจ ซึ่งจุดมุ่งหมายในการคิดค้นนวัตกรรมนี้ ก็เพื่อเหตุผลข้างต้น แบรนด์จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ ถูกใจ ถูกคน ถูกที่ และถูกเวลาที่สุด โดยทั้งหมดจะอยู่ในงบประมาณที่เหมาะสม การตลาดออนไลน์จะให้คุณได้ทำการตลาดแบบที่สามารถเชื่อมถึงลูกค้าได้จริงๆ โดยมีขั้นตอนจากการแปลข้อมูลจริง ประมวลผลภายในชั่ววินาที แล้วนำไปใช้ได้เลยทันที นวัตกรรมที่ว่าก็คือ DMPs ( Data Management Platform) โดยจะมีขั้นตอน 4 ขั้น ได้แก่:-

syndacast-dmp-01

  • Aggregation การรวบรวมข้อมูลที่มีหลากหลายรูปแบบ หลากหลายแหล่งข้อมูล เช่น อีเมล, ไอพีแอดเดรส, ข้อมูลการท่องเว็บ, ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า เข้ามาในระบบ
  • Profiling and Segmentation การจัดระเบียบข้อมูลให้เป็นหมวดหมู่ สร้างการเชื่อมโยงของข้อมูล หาความเหมือน-ความต่าง เพื่อนำไปวิเคราะห์การใช้งาน
  • Utilization การนำข้อมูลไปใช้งานจริง เช่น การโฆษณาแบบเจาะจงบุคคล (Targeted) ผ่านไปในระบบ RTB เพื่อโชว์บนเว็บไซต์
  • Visualization การประมวลภาพรวมผลการใช้งาน วิเคราะห์ผล และนำไปปรับใช้ในครั้งต่อไป

เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น เราลองดูตัวอย่างธุรกิจอย่าง “เว็บไซต์ขายรองเท้า” ซึ่งตัวสินค้านั้นมีความพิเศษ โดยใช้สำหรับใส่เดินทาง มีการจับสัญญาณ GPS ที่รองเท้าเพื่อวัดระยะทาง เพื่อบอกตำแหน่ง และมีการจำหน่ายในประเทศไทย

เราเลือกที่จะเจาะกลุ่มคนที่สนใจเรื่องท่องเที่ยว, เรื่องเทคโนโลยี และอาศัยอยู่ในประเทศไทย ผ่านระบบ DMP ได้ โดยระบบจะทำการค้นหาข้อมูลของคนที่เคยเข้าเว็บไซต์จำหน่ายรองเท้า สนใจซื้อรองเท้า หรือมีประวัติการซื้อรองเท้าจากศูนย์กลางข้อมูลอย่าง DMP ที่มีเก็บไว้ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เกิดขึ้นภายในชั่ววินาที เพื่อที่เราจะนำแบนเนอร์ ขึ้นไปแสดงบนเว็บไซต์ที่กลุ่มเป้าหมายกำลังเปิดอ่านอยู่

การทำการตลาดออนไลน์แบบใหม่นี้ จะไม่ได้เน้นที่ตัวเว็บไซต์ที่จะมีการนำแบนเนอร์ไปลง แต่เน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงมากกว่า ซึ่งระบบ DMP จะช่วยให้แบรนด์สามารถหาพวกเขาเจอ และนำแบนเนอร์ไปลงเว็บใดๆ ที่เขาตามไปอ่าน (เชื่อว่าเพื่อนๆ thumbsup’er หลายคนคงเคยเจอ ที่เวลาเราเข้าใช้งานเว็บไซต์ต่างประเทศ แต่กลับพบแบนเนอร์หรือรูปแบบการทำโฆษณา ซึ่งเป็นภาษาไทย หรือมาจากเมืองไทย เป็นต้น)

syndacast-dmp-02

แบรนด์หรือนักการตลาดไม่น้อย ยังคงมีการทำ Targeting ด้วย Demographics เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ อาจจะให้ผลที่ไม่แม่นยำอีกต่อไป เพราะผู้บริโภคจะมีความต้องการที่หลากหลายมากขึ้น เช่น คุณครูอายุ 54 อาจจะชอบหรือสะสมตุ๊กตาบลายน์ แต่คนอายุ 17 ปีบางคน อาจจะกำลังหาข้อมูลเพื่อกู้เงินลงทุนทำธุรกิจก็เป็นได้

นอกจากระบบ DMP จะช่วยในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำขึ้นแล้ว ยังมีตัวช่วยในการประมวลผลของแคมเปญออนไลน์ได้รอบด้าน เพื่อช่วยในการจัดสรรงบประมาณ และวางแผนการตลาดต่อไป นักการตลาดจะได้เห็นภาพรวมของสื่อดิจิตอลทั้งหมดว่า สื่อใดให้ผลตอบรับเป็นอย่างไร สื่อใดทำหน้าที่ใดได้ดี ในกรณีที่เราใช้สื่อหลากหลายชนิด ผู้บริโภค 1 คน ได้รับสื่อกี่ช่องทาง สื่อใดที่เรียกความสนใจได้ดี สื่อใดที่ปิดการขายได้ดี และควรใช้ Message แบบไหนกับสื่อต่างๆ อย่างเช่น อีเมล, Facebook Ads, แบนเนอร์ หรือ SEM (PPC) เป็นต้น

หากเราไม่มีระบบนี้ เราก็จะเห็นเพียง Last Interaction คือ สื่อสุดท้ายก่อนการ Convert (ซื้อสินค้าบนเว็บ, กรอก Lead Form หรือ Click มาที่เว็บ) แต่ที่จริงแล้ว หากขาดสื่ออื่นๆที่ช่วยให้เกิด Demand หรือ Interest อาจทำให้สื่อสุดท้ายนั้นไม่สามารถ Convert ได้ ก็เป็นได้

syndacast-dmp-03

บทความนี้อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่ แต่แท้จริงๆ แล้ว มันเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากๆ แค่เป็นเครื่องมือที่หยิบเอาสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งจากบทความนี้ผมจะขอสรุปประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้นะครับ

  • การโฆษณาที่มีการนำ Big Data  (DMP) ไปใช้ จะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการทำ Targeting ปกติ เพราะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำด้วยสถิติและการวิเคราะห์จากพฤติกรรมของผู้บริโภคจริง ณ เวลานั้นจริงๆ (Real Time)
  • แน่นอนครับ ผลตอบรับของโฆษณาดีขึ้น เพราะตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น
  • การใช้งบประมาณจึงสามารถมีประสิทธิภาพ และชาญฉลาดมากขึ้น เพราะไม่ต้องกระจายสื่อไปกว้างๆให้ครอบคลุมกลุ่มที่ไม่ใช่เป้าหมาย
  • เราสามารถมองเห็นภาพรวมและประสิทธิภาพการทำงานร่วมกันของสื่อต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น
  • ที่สำคัญตามชื่อหัวข้อครับ นี่เป็นการนำข้อมูลที่มีอยู่แล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ที่เราเรียกกันว่า “Big Data” ครับ

สำหรับความสามารถของ DMP ยังมีอีกมาก หากนักการตลาดท่านใดสนใจศึกษาเพิ่มเติม หรือ รัน Test Campaign สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  Syndacast หรืออีเมล info@syndacast.com

บทความนี้เป็น advertorial

from:http://thumbsup.in.th/2014/08/revolutionary-of-digital-advertising-using-big-data-dmp-syndacast/