คลังเก็บป้ายกำกับ: SMART_DEVICE

CBR แนะนำ 10 Opensource Tools สำหรับพัฒนาแอป IoT

ปัจจุบันมี tools จำนวนมากที่ช่วยนักพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างแอปพลิเคชัน IoT ได้อย่างไม่ยุ่งยากอีกต่อไป และในจำนวนนั้น ก็รวมไปถึงเครื่องมือโอเพ่นซอร์สดีๆที่เปิดให้ใช้งานกัน เช่น 10 tools ที่ CBR นำมาแนะนำในบทความนี้

1. DeviceHive (http://devicehive.com)

  • framework สำหรับการสื่อสารแบบ machine to machine (M2M)
  • ทำงานผ่าน API บน cloud ซึ่งสามารถควบคุมแบบ remote ได้ตลอด
  • สามารถนำไปใช้ในแอปพลิเคชันด้านความปลอดภัย, smart home, เซ็นเซอร์, automation และอื่นๆอีกมากมาย
  • มีชุมชนนักพัฒนาที่มีความเคลื่อนไหวตลอดเวลาและพร้อมให้การ support

2. Kaa (https://www.kaaproject.org)

  • middleware เอนกประสงค์ที่มีจุดประสงค์หลักในการมอบ end-to-end support สำหรับอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่านคลาวด์ขนาดใหญ่
  • มีการติดตั้งที่ง่าย และมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้เยอะ
  • ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ได้หลายชนิด
  • นักพัฒนาสามารถนำ Kaa ไปใช้พัฒนาโซลูชั่น IoT, connected application, หรือ smart product อื่นๆได้

3. Arduino (https://www.arduino.cc)

  • โด่งดังในฐานะโปรแจคที่มีทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์บอร์ดเป็นของตัวเอง
  • นักพัฒนาสามารถโค้ดผ่าน IDE เป็นภาษา Arduino
  • แต่ละบอร์ดของ Arduino สามารถสื่อสารกันได้ผ่าน MQTT broker บน cloud
  • แอปพลิเคชันบน Arduino นั้นมีมากมาย ตั้งแต่แอปติดตามสัตว์เลี้ยงด้วยอุปกรณ์ระบุตำแหน่ง ไปจนถึงระบบในออฟฟิศที่จะสั่งปรินท์ issue จาก github ลงมาบนกระดาษ

4. Home Assistant (https://home-assistant.io)

  • มีโฟกัสหลักอยู่ที่ home automation
  • แอปพลิเคชัน Home Assistant นั้นมี python เป็นฐาน และสามารถควบคุมได้ผ่าน browser บนคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
  • มีขั้นตอนการติดตั้งที่ง่าย
  • มีความปลอดภัยในระบบและการปกป้องความเป็นส่วนตัวที่ได้มาตรฐาน
  • support อุปกรณ์กว่า 250 ชนิด สามารถรันซอฟต์แวร์บนอุปกรณ์ใดก็ตามที่รัน python 3 ได้
  • มีการอัพเดทสม่ำเสมอทุก 2 สัปดาห์
  • ไม่มีการเชื่อมต่อกับ cloud แต่นั่นก็หมายความว่าแอปจะยังทำงานได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต

5. Devicehub.net (https://devicehub.net)

  • โซลูชั่นที่รวม business intelligence และ cloud integration มาไว้สำหรับโปรเจคพัฒนา IoT
  • มีความเป็นมิตรกับธุรกิจสูง สามารถนำโปรแกรมจาก Device Hub ไปติดตั้งบนคลาวด์ส่วนตัว on-premise หรือรีแบรนด์นำมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้
  • ตัวอย่างแอปจาก Device Hub คือ ระบบบริหารยานพาหนะ ตู้ขายของอัจริยะ และอุปกรณ์ wearable

6. SiteWhere (http://www.sitewhere.org)

  • ถูกออกแบบมาเพื่อย่นระยะเวลาในการพัฒนา product ออกสู่ตลาด
  • สามารถนำไป deploy บน cloud platform ใดก็ได้ รวมถึง private cloud ด้วย
  • แพลตฟอร์ม SiteWhere เคยได้รับการทดสอบจากเวนเดอร์อย่าง Hortonworks และ Cloudera
  • สามารถสเกลขยายขนาดได้มาก จึงนำไปใช้งานกับระบบ big data ได้

7. Zetta (http://www.zettajs.org)

  • แพลตฟอร์ม server-based ที่สร้างขึ้นบน Node.js
  • สามารถแปลง device เป็น API และพัฒนาให้อุปกรณ์สื่อสารกันผ่าน reactive programming และ Siren hypermedia
  • optimized สำหรับ big data จึงสามารถนำไปประยุกต์เป็น data-intensive real time application ได้
  • มี vitualization tool สำหรับตัวระบบและอุปกรณ์ด้วย

8. Particle (https://www.particle.io)

  • แพลตฟอร์มการพัฒนาแบบ full-stack ที่ช่วยเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัยและ reliable
  • มีการออกแบบอย่างรัดกุมและโปรโตคอลเข้ารหัสซึ่งช่วยด้านความปอลดภัย
  • นักพัฒนาสามารถเรียนรู้การพัฒนาแพลตฟอร์ม Particle ได้อย่างรวดเร็วแม้ไม่มีประสบการณ์การพัฒนา IoT มาก่อน

9. ThingSpeak (https://thingspeak.com)

  • แพลตฟอร์ม IoT ที่มีประวัติยาวนานและมีความ reliable สูงตามอายุ
  • เน้นใช้งานในการแจ้งเตือน การติดตามตำแหน่ง และการ log เซ็นเซอร์ แต่ก็สามารถใช้งานในรูปแบบอื่นๆได้
  • เป็นเทคโนโลยีของแอปพลิเคชัน Car Counter แอปพลิเคชันที่สร้างผ่านเว็บแคมและ Raspberry Pi เพื่อนับจำนวนรถยนต์ที่สัญจรไปมาบนทางด่วน วิเคราะห์ และ visualize ข้อมูล
    เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเก็บ วิเคราะห์ และสร้าง action จากข้อมูล IoT

10. OpenRemote (http://www.openremote.com)

  • middleware ที่เน้นในการพัฒนาโซลูชั่น smart home และ home automation
  • สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์และ network spec ได้หลายชนิด
  • มีเครื่องมือออกแบบ UI บน cloud
  • มี step by step guide ในการติดตั้ง ออกแบบ ไปจนถึงสร้างแอปพลิเคชันบนเว็บไซต์ให้สำหรับนักพัฒนามือใหม่

 

ที่มา: http://www.cbronline.com/news/internet-of-things/10-open-source-software-tools-developing-iot-applications/

from:https://www.techtalkthai.com/10-opensource-software-tool-for-iot-by-cbr/

เอไอเอส จัดหนัก ขนทัพสมาร์ทดีไวซ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ กระหึ่มงาน Mobile Expo ลดกระหน่ำโปรแรง เครื่องดี ราคาโดน เกินห้ามใจ!

เอไอเอส ขนทัพสมาร์ทดีไวซ์สุดฮิตหลากหลายรุ่น พร้อมโปรสุดแรง เครื่องดี ราคาโดน แพ็กเกจเด็ด กระหึ่มงาน Mobile Expo เอาใจสาวกไอที แวะมาบูธเดียวครบ จบทุกความต้องการ คุ้มค่าแก่การรอคอย ที่บูท PL 3 Plenary Hallศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 9 – 12 กุมภาพันธ์ 2560 โดยมีไฮไลท์เด่น ประกอบด้วย

–          เปิดจำหน่าย Google Chromecast อย่างเป็นทางการ รายแรกและรายเดียวในไทย อุปกรณ์พิเศษที่สามารถโยนภาพวีดีโอจากหน้าจอมือถือ ขึ้นฉายบนหน้าจอทีวีได้อย่างง่ายดาย ช่วยขยายความสุข สนุกครบทุกความบันเทิง ในราคาเพียง 1,490 บาท พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษเฉพาะ       ในงาน ดูซีรีส์และหนังฮอลลีวู้ดจาก HOOQ ฟรี ! ไม่อั้นนาน 3 เดือน (มูลค่า 357 บาท)

–          พบกับ AIS Super Combo สมาร์ทโฟน 4G VoLTE HD Voice 2 รุ่น ได้แก่ “LAVA 4G VoLTE 880” และ “ZTE Blade A512” ในราคาพิเศษเพียง 4,490 บาท พร้อมรับโบนัสฟรี! ค่าโทร+ค่าเน็ตมูลค่า 4,650 บาท (สำหรับลูกค้าเอไอเอสวันทูคอล) และ LAVA Iris 702 (ราคา 2,390 บาท ฟรี! ค่าโทร+ค่าเน็ต 2,450)

–          สุดคุ้มกับ Special AIS HOT DEAL in Thailand Mobile Expo พบกับสมาร์ทโฟนยอดฮิตหลากหลายรุ่น ลดสูงสุด 10,000 บาท อาทิ iPhone6, iPhone 6 Plus, Samsung Galaxy J5, Samsung Galaxy A7, BlackBerry DTEK 60

–          สุดเอ็กซ์คลูซีฟ Samsung Galaxy A3 มีจำหน่ายที่ เอไอเอส ที่เดียวเท่านั้น ในราคาพิเศษเพียง 6,990 บาท (จากปกติ 11,900บาท) เพียงจ่ายค่าบริการล่วงหน้าตามกำหนด พร้อมสมัครแพ็กเกจ 4G Hot Deal Non-Stop 499 ขึ้นไป (สำหรับลูกค้าเปิดเบอร์ใหม่,ย้ายค่ายเบอร์เดิม, เปลี่ยนจากเติมเงินเป็นรายเดือน และลูกค้ารายเดือนปัจจุบัน)

นอกจากนี้ ยังมอบความพิเศษกับสมาร์ทโฟนไฮเอนด์ HUAWEI Mate 9 PORSCHE DESIGN ที่มาพร้อม 3 สิทธิพิเศษ ฟรี! เบอร์ สวยระดับแพลทินัม, สิทธิ์ AIS Serenade Gold นาน 1 ปีพร้อม HOOQ ไม่อั้นนาน 1 ปี ในราคาเพียง 49,900 บาท ทั้งหมดนี้พบกันได้ที่บูทAIS ในงาน Thailand Mobile Expo 2017

from:http://mobileocta.com/ais-promotion-tme-2017/

นักวิจัยเตือน Smart City เสี่ยงถูก IoT Worm เข้าควบคุมระบบทั้งหมด

นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Weizmann Institute of Science in Rehovot (อิสราเอล) และ Dalhousie University in Halifax (แคนาดา) ออกมาเตือนถึงภัยคุกคามรูปแบบใหม่บนอุปกรณ์ IoT ที่ใช้ Worm ในการแพร่กระจายตัวไปยัง Smart Device เพื่อเข้าควบคุม และปฏิบัติตามคำสั่งของแฮ็คเกอร์ เสี่ยงระบบโครงสร้างสำคัญของ Smart City ทำงานผิดปกติจนถึงชีวิตและทรัพย์สิน

iot_worm_1

ทีมนักวิจัยได้ทำการทดสอบแสดงการโจมตี Smart City โดยใช้ IoT Worm ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเข้าควบคุมหลอดไฟอัจฉริยะของ Philips Hue ซึ่งมักนิยมใช้ใน Smart Building และไฟจราจรอัจฉริยะ ซึ่งหลอดไฟเหล่านี้จะถูกโปรแกรมตั้งค่าให้รับส่งข้อมูลกับ Controller ผ่านโปรโตคอลเครือข่ายไร้สาย ZigBee

IoT Worm ใช้ช่องโหว่บนโปรโตคอล ZigBee ในการแพร่กระจายตัวเข้าอุปกรณ์ Smart Devices จากนั้นจะทำการอัปเดตเฟิร์มแวร์ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อให้รับคำสั่งโจมตีจากทีมนักวิจัย ซึ่งการโจมตีที่เป็นไปได้มีดังนี้

  • กระพริบหลอดไฟด้วยความถี่สูงมาก เพื่อให้เกิดอาการลมชัก
  • ตั้งเวลาหลอดไฟอัจฉริยะให้เปิดปิดเป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดการบริโภคพลังงานไฟฟ้าเกินความจำเป็น
  • ปรับแต่งเฟิร์มแวร์เพื่อสร้างความวุ่นวายแก่สาธารณะ เช่น ดับสัญญาณไฟจราจร หรี่หลอดไฟให้ดูเหมือนว่ามีปัญหาเพื่อให้เจ้าหน้าที่มาเปลี่ยนใหม่ เป็นต้น
  • ใช้ “Test Mode” ของหลอดไฟอัจฉริยะเพื่อปล่อยสัญญาณคลื่นวิทยุมากวนสัญญาณ Wi-Fi Hotspot ที่ให้บริการ

วิดีโอด้านล่างแสดงการโจมตีแบบ ZigBee War Driving คือ การขับรถไปรอบเมืองเพื่อกระจาย Worm ไปยังอุปกรณ์ Smart Devices และอีกวิดีโอหนึ่งคือการใช้ Drone แทนการขับรถ

ทีมนักวิจัยชี้แจงว่า การโจมตีที่แสดงบนวิดีโอเป็นเพียงการโจมตีชั่วคราวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแฮ็คเกอร์สามารถโจมตีแบบถาวรได้ รวมไปถึงแก้เฟิร์มแวร์เพื่อยกเลิกการอัปเดตในอนาคตได้ด้วย นั่นหมายความว่าอุปกรณ์ Smart Devices จะทำงานผิดปกติตามคำสั่งแฮ็คเกอร์ต่อไปจนกว่าผู้ดูแลจะทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ หรือลงเฟิร์มแวร์ใหม่ผ่านตัวเครื่อง

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่: IoT Gose Nuclear: Creating a ZigBee Chain Reaction

ที่มา: http://www.bleepingcomputer.com/news/security/iot-worm-can-be-mounted-on-cars-drones-to-take-over-entire-smart-cities/

from:https://www.techtalkthai.com/iot-worm-can-take-over-smart-city/

Huawei เปิดตัว Liteos ระบบปฏิบัติการสำหรับ Internet of Things

huawei_logo

Huawei ผู้ให้บริการโซลุชันระบบเครือข่ายชั้นนำจากประเทศจีน เตรียมพุ่งเป้าตลาดมาที่ระบบสมาร์ทโฮม รถยนต์ และอุปกรณ์สวมใส่ โดยได้ทำการเปิดตัวระบบปฏิบัติการ Liteos เพื่อให้ 3rd Party สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นได้ภายใต้แนวคิด Internet of Things

Credit: Anna Bardocz/ShutterStock

Credit: Anna Bardocz/ShutterStock

Liteos ระบบปฏิบัติการที่ตอบโจทย์ทุกฮาร์ดแวร์

Huawei ระบุว่า Liteos เป็นระบบปฏิบัติการขนาดเล็กที่ตอบโจทย์แนวคิด Internet of Things ได้เป็นอย่างดี โดยมีขนาดเพียงแค่ 10 KB และกินพลังงงานน้อยมาก จึงเหมาะสมกับการใช้งานบนฮาร์ดแวร์หลากหลายประเภทรวมทั้ง Microcontroller และ ARM Cortex Embedded Processor นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งบนอุปกรณ์ที่ใช้ระบบปฎิบัติการ Android เพื่อเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นๆได้อีกด้วย

Open Source ภายใต้ ISC License

Liteos เป็นระบบปฏิบัติการแบบ Open source ซึ่งทาง Huawei เตรียมเปิด Source code ให้ดาวน์โหลดภายใต้เงื่อนไขของ ISC License คือ สามารถคัดลอก แก้ไข และแจกจ่ายโค้ดได้ฟรี หรือจะคิดค่าบริการก็ได้ นอกจากนี้ Huawei ยังเตรียมให้บริการ Chipset, Module และบอร์ดวงจร เพื่อดึงดูดนักพัฒนาผ่านทาง Liteos Community อีกด้วย ซึ่งทาง Huawei คาดการณ์ไว้ว่า ในปี 2025 จะมีอุปกรณ์ Internet of Things มากกว่าหนึ่งแสนล้านเครื่อง

Liteos ของ Huawei สามารถช่วยเร่งการพัฒนาของให้อุตสาหกรรม IT ผ่านทางระบบสมาร์ทฮาร์ดแวร์ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ทาง Huawei เองก็ต้องเผชิญกับการแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่หลายเจ้า เช่น Baidu, Tencent และ Alibaba ที่ต่างก็กำลังพัฒนาแพลทฟอร์มซอฟต์แวร์สำหรับ Internet of Things เช่นเดียวกัน

Liteos บน GitHub: https://github.com/OIOTC/Liteos

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/2923899/internet-of-things/huawei-launches-its-own-os-for-the-internet-of-things.html

from:https://www.techtalkthai.com/huawei-launches-liteos-for-internet-of-things-devices/