คลังเก็บป้ายกำกับ: SHOPPING_ONLINE

Future Shopper เมื่อการช้อปออนไลน์ไม่ใช่เรื่องใหม่ และประสบการณ์ใช้งานต้องดีขึ้นกว่าเดิม

หากย้อนกลับไปเมื่อช่วง 2-3 ปีก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 นักการตลาดและแบรนด์หลายท่านต่างก็คาดการณ์ว่าการจับจ่ายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของคนไทยน่าจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป อาจต้องใช้ระยะเวลานานถึง 5 ปี กว่าจะเห็นภาพได้แบบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เพราะการที่มนุษย์เราต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดกับวิถีชีวิตใหม่ เราจึงเห็นภาพคนไทยใช้จ่ายแบบ cashless society และ shopping online เร็วกว่าเดิมและเกือบจะเรียกได้ว่าใช้ชีวิตแบบนี้ได้จนกลายเป็นเรื่องปกติ

วันเดอร์แมน ธอมสัน ประเทศไทย ได้ทำผลสำรวจเกี่ยวกับ ฟิวเจอร์ ช้อปเปอร์ 2021 (Future Shopper 2021) ในประเทศไทย เพื่อชี้ให้นักการตลาดและแบรนด์ได้เห็นว่า ผู้บริโภคชาวไทยกำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำเทรนด์การช้อปปิ้งออนไลน์ทั่วโลก การย้ายฐานความคิดของผู้ซื้อจะสร้างทัศนคติและพฤติกรรมออนไลน์คอมเมิร์ซที่แข็งแกร่งอย่างต่อเนื่องหลังช่วงการระบาดของโควิด-19

พฤติกรรมการช้อปปิ้งออนไลน์ได้ก่อตัวขี้นแล้ว

วิกฤตโควิด-19 ได้เปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคไปอย่างถาวร กลายเป็นฐานของผู้ซื้อที่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและพร้อมใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น การศึกษาครั้งนี้พบว่าชาวไทยมีอัตราการใช้ช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์สูงที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคถึง 94% ระบุว่าการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นช่องทางที่มาช่วยพวกเขาไว้ในปี 2563 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลก เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 72%

นอกจากนี้ 90% ตอบว่าจะใช้ช่องทางดิจิทัลต่อไปในปีหน้า เทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 62% พวกเขามั่นใจว่าพฤติกรรมช้อปปิ้งออนไลน์ของตนเองได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วตลอดกาล เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลถูกกระตุ้นให้เกิดขึ้นเร็วยิ่งขึ้น (88%) และความกลัวที่จะไปเดินจับจ่ายภายในร้านค้า (62%)

นอกจากนี้ผู้บริโภคชาวไทยยังใช้เงินผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้นกว่าในอดีต โดยใช้เพื่อซื้อทั้งสินค้าและบริการ และมีถึง 45% ที่ยินดีจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 – 8,000 บาทในการช้อปปิ้งออนไลน์ แม้ว่าโดยรวมการใช้จ่ายในช่องทางออฟไลน์จะยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า แต่การช้อปปิ้งออนไลน์มีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นและอยู่ในระดับสูงต่อไปในอนาคต โดยผู้บริโภคชาวไทย 62% พบว่าตนเองใช้จ่ายผ่านช่องทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในช่วงโควิด-19 และ 92% ระบุว่าจะยังคงซื้อผ่านช่องทางออนไลน์ต่อไปเช่นเดิมหลังการระบาดสิ้นสุดลง

ฌอน ลี ออง ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน ได้เน้นย้ำว่าแบรนด์จะต้องพิจารณาผลปรากฏการณ์นี้ในทั้งสองด้าน แม้จะมีโอกาสใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่นั่นก็หมายความว่าผู้บริโภคชาวไทยอาจจะเป็นลูกค้าที่เอาใจยากด้วยเช่นกัน แบรนด์จะต้องสำรวจและปรับปรุงประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์ของตนเองให้อยู่ในเกณฑ์ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลเช่นเดียวกับที่ผู้บริโภคคาดหวัง

ประสบการณ์ที่ฉลาด รวดเร็ว และครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

ประเด็นสำคัญไม่ใช่เพียงแค่เป็นช่องทางออนไลน์ แต่เป็น Omnichannel เพราะว่าช่องทางทั้งออฟไลน์และออนไลน์ยังคงมีความสำคัญทั้งคู่ ผู้บริโภคชาวไทย 82% ชอบซื้อกับแบรนด์ซึ่งมีทั้งหน้าร้านปกติและหน้าร้านออนไลน์ แม้จะรู้สึกว่าพวกเขา ล้ำหน้ากว่าแบรนด์เหล่านี้เสียอีกในเรื่องการช้อปปิ้งออนไลน์

พวกเขาคิดว่าแบรนด์น่าจะใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสร้างสรรค์ประสบการณ์ได้ดีกว่านี้ (89%) พวกเขารู้สึกว่าผู้ค้าปลีกและบริการพาณิชย์ที่พวกเขาเป็นลูกค้าอยู่ยังก้าวไม่ทันพวกเขาในเรื่องชีวิตดิจิทัล (77%) และหวังว่าแบรนด์น่าจะสื่อสารข้ามช่องทางต่างๆ ได้อย่างไร้รอยต่อได้มากกว่าที่เป็นอยู่ (86%)

พวกเขาต้องการได้รับประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบ Omnichannel ที่ล้ำสมัย ผสานประสบการณ์ออฟไลน์และออนไลน์ไว้ด้วยกันอย่างราบรื่นไร้การสะดุด โดยที่ทุกทัชพอยท์จดจำสิ่งที่พวกเขาสนใจ ชื่นชอบ ตลอดจนวิธีการชำระเงินและประวัติการซื้อในอดีตของพวกเขาได้ ซึ่งจะทำให้ได้รับประสบการณ์ช้อปปิ้งที่รวดเร็วและดียิ่งขึ้น

ประสบการณ์ออนไลน์ที่คุณมีให้ ดีพอที่จะรับมือดับความต้องการและความคาดหวังที่สูงขึ้นแล้วหรือยัง?

ผู้บริโภคชาวไทยจะไม่ซื้อสินค้าจากธุรกิจที่ไม่ตอบสนองความคาดหวังของพวกเขา และทุกวันนี้พวกเขาตั้งความคาดหวังจากการช้อปปิ้งออนไลน์ไว้สูงด้วยเช่นกัน ผู้บริโภคชาวไทย 95% คิดว่าผู้ค้าปลีกต้องผลักดันตนเองให้ดียิ่งขึ้นในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ บริการ และประสบการณ์ที่พวกเขาควรจะได้รับจากการช้อปปิ้ง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดในโลก ประสบการณ์ที่ไม่น่ารื่นรมย์จะทำให้เสียลูกค้าไป

โดยผู้บริโภคชาวไทยถึง 64% ระบุว่าจะไม่ซื้อสินค้ากับใครก็ตามที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขาและในขณะที่ผู้ซื้อต่างพากันย้ายเข้าสู่ช่องทางออนไลน์กันมากขึ้น การช้อปปิ้งในร้านค้าแบบเดิมอาจถูกฉกชิงยอดขายไป ไม่น้อยหากไม่มีการปรับตัวใดๆ

4 เรื่องที่ร้านค้าและผู้ค้าปลีกสามารถดำเนินการได้

  1. จัดพื้นที่และวางแผนการขายในส่วน Curbside Shopping ให้ดี: ลองมองไปถึงการขายไขว้ (Cross-selling) และขายเพิ่ม (Up-selling) ให้กับลูกค้าที่อาจจะไม่เดินเข้าไปเลือกซื้อในร้านอีกต่อไป โดยจัดพื้นที่ให้ลูกค้าจอดรถริมขอบทางเพื่อแวะรับสินค้าที่สั่งซื้อไว้ (Curbside Pickup) ได้สะดวกรวดเร็ว พร้อมกับนำเสนอสินค้าเป็นแพ็คใหญ่ สินค้าราคาพิเศษ สินค้าแพ็คใหญ่ที่เย้ายวนให้ซื้อโดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า (Impulse Purchase) และการขายปลีกข้างตัวร้าน ฯลฯ
  2. อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าเลือกซื้อและกลับออกนอกร้านได้อย่างรวดเร็ว: ช่วงที่ใช้เวลารอคอยนานที่สุดคือจุดชำระเงิน ลองหาวิธีลดเวลาในส่วนนี้ลง เช่น เปิดช่องชำระเงินแบบบริการตัวเอง ซึ่งจะเอื้อให้ใช้วิธีการชำระเงินแบบไร้การสัมผัสได้มากขึ้นอีกด้วย
  3. ทบทวนการจัดพื้นที่ร้านใหม่: ในอดีตสินค้าซึ่งเป็นที่นิยมและสินค้าจำเป็นต่างๆ จะถูกจัดให้อยู่ในส่วนที่ลึกสุดของร้าน อาจถึงเวลาแล้วที่ต้องจัดให้สินค้าเหล่านี้อยู่ส่วนหน้าสุดของร้าน นอกจากนี้บริการแบบไร้การสัมผัส อาทิ เทคโนโลยีค้นหาสินค้าภายในร้านด้วยเสียง หรือเคาน์เตอร์บริการตัวเอง จะช่วยให้ลูกค้ารักษาระยะห่างจากผู้อื่นได้มากยิ่งขึ้น
  4. ประสบการณ์ Omnichannel: ผู้ค้าปลีกจะต้องวางแผนให้ผู้บริโภคมีเส้นทางลูกค้าที่เป็นองค์รวมมากยิ่งขึ้น ครบถ้วนยิ่งขึ้นทั้งในช่องทางออฟไลน์และออนไลน์

นอกจากนี้ เส้นทางลูกค้า ประสบการณ์ และความคาดหวังของผู้บริโภคชาวไทยกำลังก่อตัวขึ้นในรูปแบบใหม่ท่ามกลางการเติบโตของการช้อปปิ้งออนไลน์

เส้นทางผู้ซื้อสั้นกระชับยิ่งขึ้น – ยิ่งเร็วยิ่งดี!

ทุกวันนี้ผู้บริโภคสามารถจุดแรงบันดาลใจ ค้นหา และจบด้วยการซื้อได้บนแพลทฟอร์มเดียว ยิ่งเส้นทางผู้บริโภคสั้นกระชับมากขึ้น การเปลี่ยนสถานะสู่การซื้อก็ยิ่งเกิดขึ้นได้เร็ว ผู้บริโภคชาวไทย 97% ต้องการขยับจากช่วงแรงบันดาลใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไปสู่ช่วงของการซื้อให้ได้เร็วที่สุด ยิ่งสามารถจบด้วยการซื้อได้ในที่เดียวยิ่งดี ซึ่งนับเป็นทั้งภัยคุกคามและเป็นทั้งโอกาสสำหรับแพลทฟอร์มโซเชียลมีเดียและธุรกิจตรงสู่ผู้บริโภค (Direct-to-Consumer – D2C) ในการดึงผู้ซื้อกลับสู่แพลทฟอร์มของตนเองและทำให้เกิดการซื้อขึ้น

ตลาดออนไลน์นำโด่งในโลกช้อปปิ้งออนไลน์

ตลาดออนไลน์ (e-marketplace) เป็นผู้นำอันดับหนึ่งในทั้ง 3 ช่วงหลักของเส้นทางลูกค้า คือ แรงบันดาลใจ (Inspiration), ค้นหา (Search) และซื้อ (Purchase) ในช่วงของการจุดแรงบันดาลใจมีการย้ายฐานจากเดิมที่เคยเป็นเซิร์ชเอนจิ้น โดยในปัจจุบันผู้บริโภค 70% มุ่งตรงไปที่ตลาดออนไลน์ (เช่น Lazada และ Shopee) มากที่สุด

รองลงมาคือช่องทางโซเชียล (61%) และเซิร์ชเอนจิ้น (38%) ส่วนในช่วงของการค้นหา เซิร์ชเอนจิ้นก็ไม่ใช่จุดหมายหลักอันดับหนึ่งอีกต่อไปเช่นกัน ซึ่งพบว่า 78% จะเริ่มต้นการค้นหาที่ตลาดออนไลน์ ตามด้วยช่องทางโซเชียล (58%) และเซิร์ชเอนจิ้น (44%) จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่จะจบด้วยการซื้อที่ตลาดออนไลน์ (45%) ทิ้งห่างอันดับสอง คือ เว็บไซต์ผู้ค้าปลีก (11%) และอันดับสาม คือ โซเชียลมีเดีย (10%)

เมื่อพิจารณาตามกลุ่มผลิตภัณฑ์พบว่าสินค้าเพื่อความงามและเสื้อผ้ามีแนวโน้มจะเกิดการซื้อมากที่สุดที่ตลาดออนไลน์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีการซื้อสูงสุดในตลาดออนไลน์ได้แก่ ของเล่น สินค้าฟุ่มเฟือย ของตกแต่งบ้าน และสินค้าสำหรับสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีแง่มุมที่น่าสนใจคือ แอปพลิเคชั่นจัดส่งแบบออนดีมานด์เป็นช่องทางที่มีการซื้อของอุปโภคบริโภคมากที่สุด (35%) รองลงมาคือตลาดออนไลน์ (22%) และเว็บไซต์ของผู้ค้าปลีก (15%)

ช่องทาง D2C กำลังจะตกขบวน

แบรนด์ต่างๆ ได้มุ่งเน้นไปที่การสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ของตนในช่องทางตลาดออนไลน์ แต่พวกเขาควรคำนึงถึงกลยุทธ์ระยะยาวในการดึงผู้บริโภคกลับสู่ช่องทางของตนเองด้วยเช่นกัน ในปัจจุบันเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชั่นของแบรนด์และเว็บไซต์ของผู้ค้าปลีก เป็นจุดหมายอันดับท้ายๆ ในทุกช่วงของเส้นทางลูกค้า คือ ช่วงแรงบันดาลใจ 17% และ 15% ตามลำดับ ช่วงค้นหา 19% เท่ากัน และช่วงของการซื้อ 10% และ 11% ตามลำดับ ในประเทศจีน แบรนด์ต่างๆ สามารถดึงผู้บริโภคให้กลับสู่เว็บไซต์ของพวกเขาโดยตรงได้มากถึง 30% ซึ่งเป็นการนำพาแบรนด์ออกจากความแออัดในตลาดออนไลน์

ฌอน ลี ออง ชี้ว่าประสบการณ์ช้อปปิ้งออนไลน์กำลังถูกครอบงำโดยแพลทฟอร์มตลาดออนไลน์ เช่นเดียวกับประสบการณ์ ช้อปปิ้งออฟไลน์ที่มีเครือข่ายไฮเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่เป็นผู้ครองเกม “หากแบรนด์ไม่ต้องการตกเป็นเบี้ยล่างของผู้ทรงอิทธิพลในตลาดทั้งสองฟากฝั่ง พวกเขาจะต้องเริ่มพัฒนาแพลทฟอร์ม D2C และเส้นทางใหม่เพื่ออนาคตของตนเองในระยะยาว”

4 เรื่องที่แบรนด์ D2C สามารถดำเนินการได้

  • ทำให้การช้อปปิ้งที่ D2C เป็นช่องทางที่ดีกว่า: D2C เป็นเจ้าของแบรนด์และผลิตภัณฑ์ และมีเพียงพวกเขาเท่านั้นที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ได้อย่างครบถ้วนที่สุดและให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ได้ดีกว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องใช้จุดแข็งเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์บนเว็บไซต์ของตนเอง ทุกวันนี้การเสนอราคาที่ถูกกว่าและจัดส่งฟรีอาจเป็นสิ่งพื้นฐานในโลกของการช้อปปิ้งออนไลน์ไปแล้ว แต่แบรนด์ยังคงสามารถให้สิ่งทดแทนจาก “มูลค่า” อื่นๆ ที่หาไม่ได้ในตลาดออนไลน์ อาทิ นโยบายคืนสินค้าได้ฟรี สินค้าเอ็กซ์คลูซีฟ และสิทธิพิเศษต่างๆ สำหรับลูกค้า
  • สร้างกองหนุน: ผู้ซื้อส่วนใหญ่ที่มายังเว็บไซต์ของแบรนด์ล้วนแต่รู้จักและให้ความไว้วางใจแบรนด์นั้นๆ อยู่แล้ว แม้ว่าพวกเขาจะต้องหาบทรีวิวผลิตภัณฑ์จากตลาดออนไลน์หรือเว็บไซต์อื่นๆ ก็ตาม แพลทฟอร์มของแบรนด์ต้องยินดีที่จะสร้างความโปร่งใส 100% ในการนำเสนอรีวิวและคำติชมของลูกค้า หรือแม้กระทั่งมีสิ่งจูงใจให้แก่ผู้เขียนรีวิวหรือคำชมบนเว็บไซต์ของพวกเขา ทั้งนี้เพื่อสร้างชุมชนผู้สนับสนุนแบรนด์ขึ้นมา และแท้จริงแล้วการทำเช่นนั้นอาจเป็นช่องทางในการเปิดรับข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อไป
  • คอนเทนที่มีพลังสร้างสรรค์และตอบโจทย์ผู้บริโภค: แบรนด์ต่างๆ ได้พยายายามสร้างคอนเทนท์ทั้งในรูปแบบวีดีโอ อัลบั้มภาพ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ บทรีวิว ถาม-ตอบข้อสงสัยฯลฯ แต่ที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าสิ่งเหล่านี้ยังไม่ตอบโจทย์ คอนเทนท์ที่ใช่จะต้องมีพลังสร้างสรรค์และตอบข้อสงสัย คลายกังวล และตอบสนองความต้องการส่วนตัว แบรนด์จะต้องรู้จักผู้เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และสร้างคอนเทนท์ที่ตรงกับสิ่งที่พวกเขาต้องการ
  • ต้องสร้างความภักดี: ใช้พลังของข้อมูลผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์ด้วยการมอบโปรแกรม CRM ที่เป็นมากกว่าสิ่ง ตอบแทนที่เป็นสิ่งของ แต่ต้องให้รางวัลทางใจด้วยเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกดีและหวนกลับมาอีกเรื่อยๆ

ท่ามกลางการเติบโตของออนไลน์คอมเมิร์ซ แบรนด์ยังควรต้องติดตามสถานการณ์ว่ามีแพลทฟอร์มอื่นใดบ้างที่กำลังแจ้งเกิดหรือตีตื้นขึ้นมา

  • โซเชียลคอมเมิร์ซจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะช่องทางการขายออนไลน์

ผู้บริโภคชาวไทย 66% เคยซื้อสินค้าบนโซเชียลแพลทฟอร์ม ซึ่งเป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 44% โดยพวกเขาชี้ว่า Facebook เป็นช่องทางโซเชียลคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด (68%) และมี IG ตามมาห่างๆ เป็นอันดับสอง (13%) นอกจากนี้ 82% ยังคิดว่าจะซื้อผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซอีก โดยที่ 42% ระบุว่าปัจจัยที่จะทำให้พวกเขาซื้อผ่านแพลทฟอร์มนี้อีกในอนาคตคือความง่ายในการซื้อ ซึ่งบอกเป็นนัยถึงความรู้สึกของพวกเขาว่าโซเชียลคอมเมิร์ซยังไม่สะดวกราบรื่นดังใจนึก ปัจจัยอื่นๆ คือ การหาข้อเสนอและส่วนลดที่ดีกว่า (38%) และต้องการเห็นผลิตภัณฑ์เมื่ออยู่ในครอบครองของลูกค้าตัวจริง (35%)

  • โซเชียลมีเดียกำลังกำหนดเส้นทางช้อปปิ้งในโลกดิจิทัล

ในเมื่อการ “ส่งอิทธิพล” และ “แนะนำ” เป็นสองเทรนด์ที่กำลังเติบโตขึ้นในโซเชียลมีเดีย แพลทฟอร์มเหล่านี้จึงกำลังสร้างเส้นทางใหม่ในการจุดแรงบันดาลใจ ค้นหา และส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมาก ผู้บริโภคในประเทศไทย 77% ระบุว่าพวกเขาเคยแนะนำผลิตภัณฑ์ให้กับเพื่อนๆ ด้วยการแท็กหรือส่งข้อความถึงเพื่อนโดยตรง ฯลฯ ทั้งนี้ กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อพวกเขามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สมาชิกในครอบครัว (24%), อินฟลูเอนเซอร์ทางโซเชียลมีเดีย (19%) และเพื่อนๆ (12%)

  • เกมมิ่งคอมเมิร์ซเป็นอีกช่องทางที่กำลังโตวันโตคืนโดยที่หลายๆ แบรนด์ยังคงมองไม่เห็น

การศึกษานี้ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าผู้ซื้อออนไลน์กว่าครึ่งหนึ่งเป็นเกมเมอร์! ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้บริโภคชาวไทยมีเวลาเล่นเกมมากขึ้น โดย 54% เล่นเกมบนมือถือ และ 32% เล่นบนคอมพิวเตอร์ ที่สำคัญ ผู้ที่เคยใช้เงินจับจ่ายบน แพลทฟอร์มนี้มีสัดส่วนสูงถึง 72% ซึ่งทำให้แพลทฟอร์มเกมมิ่งเป็นช่องทางที่น่าสนใจอย่างมาก นอกจากนี้ยังพบว่าผู้บริโภค 66% มีแนวโน้มจะซื้อสินค้าแบบเดียวกันให้กับตัวเองและอวตาร์ของตนบนแพลทฟอร์มเกมมิ่ง เนื่องจากพวกเขาเห็นว่าอวตาร์ของตนคืออีกหนึ่งอัตลักษณ์ที่พวกเขาใช้ท่องไปในโลกดิจิทัลและสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

แบรนด์จึงควรวางแผนการใช้โซเชียลมีเดียให้เกิดประโยชน์มากกว่าเป็นเพียงแค่ช่องทางสร้างการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค แต่ต้องกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนสถานะสู่การซื้อด้วย

4 เรื่องที่แบรนด์สามารถยกระดับขึ้นอีกขั้นในโซเชียลและเกมมิ่งคอมเมิร์ซ

  1. เติมจิ๊กซอว์ตัวสำคัญ ให้ลูกค้าจบด้วยการซื้อได้บนช่องทางโซเชียล: เปิดใช้ฟีเจอร์เพื่อใช้งานระบบโซเชียลคอมเมิร์ซที่แท้จริงในแอปพลิเคชั่น โดยเริ่มจาก Facebook และ Instagram ก่อน เตรียมพร้อมผสานตัวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ เพื่อที่เมื่อใดก็ตามที่มันผ่านการทดสอบและพร้อมเปิดใช้งาน คุณก็จะพร้อมเริ่มต้นทันทีด้วยเช่นกัน
  2. อินฟลูเอนเซอร์และไลฟ์สตรีมมิ่ง: ในประเทศไทย ผู้ซื้อ 27.9% ระบุว่าการขายแบบไลฟ์สดจะกระตุ้นให้พวกเขาซื้อผ่านช่องทางโซเชียลได้มากขึ้น วีดีโอต่างๆ สามารถจุดแรงบันดาลใจให้ซื้อได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งวีดีโอที่เป็นคำยืนยันจากผู้ใช้จริงหรือการแนะนำโดยอินฟลูเอนเซอร์
  3. เข้าสู่โลกเกมมิ่งอย่างมีชั้นเชิง: ลองมองหาแง่มุมที่แบรนด์ของคุณกับวงการเกมมิ่งสามารถเสริมส่งกันได้ แล้วสร้าง
    กลยุทธ์ระยะยาวและกลวิธีต่างๆ ในการก้าวเข้าสู่โลกเกมมิ่ง
  4. สร้างพันธมิตรและความร่วมมือ: หาโอกาสสร้างพันธมิตรกับบริษัทเกมเพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือทั้งในรูปแบบที่ จับต้องได้และในโลกดิจิทัล หรืออาจร่วมกันสร้างผลิตภัณฑ์ของคุณในเวอร์ชั่นดิจิทัลซึ่งจะปรากฎอยู่ภายในเกมตามบริบทที่เข้ากับกลุ่มเป้าหมายของคุณ

นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังเผยให้เห็นคุณลักษณะที่แตกต่างกันของผู้บริโภคต่างรุ่นต่างยุค ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ถึงพฤติกรรมการช้อปปิ้งที่แตกต่างกัน และเป็นแนวทางให้แบรนด์ปรับใช้กลยุทธ์กับกลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Gen X – มือใหม่ดิจิทัล เกมเมอร์ตัวยง และรู้ดีว่าตนเองต้องการอะไร

ชาว Gen X เป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยเกมเมอร์ในสัดส่วนสูงที่สุด (55%) พวกเขารู้ดีว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง (66%) และเป็นผู้ซื้อที่ไม่ค่อยอดทนกับการรอคอย (84%) โดย 69% คาดหวังว่าจะต้องจัดส่งของถึงมือได้ภายใน 2-3 วัน

มิลเลนเนียล – ขอหาดูรีวิวก่อนนะ

ชาวมิลเลนเนียลจะศึกษาหาข้อมูลจากบทรีวิวที่น่าเชื่อถือก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ (88%) Facebook ได้กลายเป็นแพลทฟอร์มที่พวกเขาสามารถตัดสินใจซื้อสินค้าได้เลย (69%) โดยเป็นอีกหนึ่งแพลทฟอร์มที่พวกเขาจบการซื้อได้ในที่เดียว นอกเหนือจาก Lazada และ Shopee

Gen Z – ต้องดูสุดยอดทั้งในโลกความจริงและโลกเสมือน

ชาว Gen Z คุ้นเคยสุดๆ กับเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่แล้ว (76%) พวกเขาเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสูงที่จะซื้อสินค้าให้กับอวตาร์ของตนเองในโลกเกมมิ่งเพื่อเป็นตัวตนของพวกเขาในเวอร์ชั่นดิจิทัล (78%) ชาว Gen Z ชอบการเรียนรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ เนื่องจากทำให้พวกเขาตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ใดของแบรนด์ใด (77%)

การวางแผนสำหรับสร้างความคุ้นชินระหว่างการใช้งานช่องทางช้อปปิ้งออนไลน์กับผู้บริโภคแบบไร้รอยต่อ ยังคงเป็นโจทย์สำคัญที่แบรนด์และนักการตลาดไม่ควรมองข้าม

from:https://www.thumbsup.in.th/future-shopper-shopping-online?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=future-shopper-shopping-online

5 พฤติกรรมนักช้อปออนไลน์ที่กำลังเปลี่ยนไป

พฤติกรรมการช้อปออนไลน์คือสิ่งที่เปลี่ยนไปได้ตลอดเวลา ซึ่งปีนี้คือปีที่พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ เกิดจาก E-Commerce ที่เติบโตแบบก้าวกระโดด รวมถึงการจ่ายเงินที่หลากหลายและเข้าถึงมากขึ้น เช่น เว็บไซต์ต่างประเทศรับตัดเงินผ่านบัตรเครดิตมากขึ้นและส่งทั่วโลก จากแต่ก่อนที่จัดส่งแค่ประเทศตัวเอง อะไรเล็กน้อยแค่นี้แต่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการช้อปออนไลน์ไปได้อย่างมหาศาล แล้วการเปลี่ยนไปนี้ ส่งผลอะไรกับนักการตลาดบ้าง ไปติดตามกันค่ะ

รอช้อปวันเลขเบิ้ล

ถ้าถามว่าพฤติกรรมนี้เปลี่ยนไปช่วงไหนน่าจะเริ่มจากแคมเปญ 9.9 ที่มาเขย่าวงการช้อปออนไลน์ให้เปลี่ยนไป จากที่แต่ก่อนจะช้อปตอนไหนก็ได้ มากสุดก็รอวันลดครึ่งปีสิ้นปี แต่ตอนนี้วันช้อป ลดพิเศษมีมาทุกเดือนแล้ว คือวันที่ 10.10, 11.11 และที่ใกล้ถึงคือ 12.12

ด้วยพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปคือก่อนหน้าวันเหล่านี้ นักช้อปจะไม่ช้อปเลยแต่กดใส่ตะกร้าหรือส่องสินค้าเท่านั้น ถ้าแบรนด์ไหนน่าช้อปก็จะไปเช็คโปรโมชั่นและรอกดซื้อวันเลขเบิ้ล ส่วนร้านค้ายอดขายจะตกก่อนแล้ว มีพุ่งทะยานวันโปรพิเศษวันนั้น

สิ่งที่เปลี่ยนคงเป็นการปรับตัวของร้านค้าออนไลน์ที่ต้องผูกกับโปรโมชั่นช่วงนี้ หรือ E-commerce เจ้าใหญ่ๆ 

 

ทดลองหน้าร้าน แต่ซื้อออนไลน์

อีกพฤติกรรมที่น่าตกใจคือต่อให้ลูกค้าอยู่หน้าร้านก็ยังไม่ตัดสินใจซื้อสินค้าทันที แต่กลับเลือกที่จะทดลองใช้งานหรือสวมใส่สินค้าก่อนแล้วค่อยไปกดซื้อที่ช่องทางออนไลน์เอา เพราะว่าช่องทางออนไลน์จะมีโปรโมชั่นพิเศษค่อนข้างเยอะและส่วนใหญ่ทีมการตลาดที่ดูแลลูกค้าหน้าร้านกับออนไลน์ จะแยกกันคนละทีม

ทำให้ราคาสินค้าอาจจะอยู่ในระดับที่ต่างกันได้ แล้วความรู้สึกของนักช้อปเองก็รู้สึกว่าการช้อปออนไลน์ถูกกว่าหน้าร้านอีก ทำให้หลายคนแม้จะนั่งอยู่หน้าร้าน แต่ก็ตัดสินใจไปซื้อออนไลน์ ดังนั้น หลายแบรนด์จึงแก้ปัญหานี้โดยการซื้อหน้าร้านได้ Gift set พิเศษ แต่ของแถมแบบนี้จะได้ผลดีกับสินค้าประเภทเครื่องสำอางค์ซะมากกว่า

 

ฝากช้อปดีกว่า

ไม่ใช่แค่ความไม่มีเวลาของคนเจน Y หรือ X อย่างเดียว แต่คนรับหิ้วจะเหมือนตัวแทนเราไปเช็คสินค้าว่ามีอะไรถูกบ้าง เผลอๆ ส่องเก่งกว่าเราไปช้อปเองที่หน้าร้านเสียอีก รวมทั้งเงินที่เสียเพิ่มก็ถูกกว่าเราไปเดินช้อปเองด้วย ทำให้เพจที่ให้ข้อมูลด้านโปรโมชั่นเติบโตมากในตอนนี้ สังเกตได้จากคอมเมนต์เพจเหล่านี้ว่าจะเจอนักรับหิ้วของเต็มไปหมด สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดพฤติกรรมการฝากช้อปมากขึ้น 

 

ให้คุณค่ากับเงินดิจิทัล

เงินดิจิทัลนี้คือเงินที่อยู่ติดกับระบบ wallet ต่างๆ ที่จะเอา cashback กลับเข้าสู่ระบบให้คนยังใช้บริการช้อปสินค้าผ่านแอพนี้อยู่ สังเกตว่าเทรนด์นี้เริ่มมามากขึ้น จากแบรนด์ใหญ่ๆ ที่สร้าง wallet ของตัวเอง โดยผูกกับธนาคารชั้นนำเอาไว้ แต่ก็ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่า e-payment เจ้าไหนครองตลาดได้มากที่สุด แต่คาดว่าปีหน้าสงคราม e-Wallet เดือดแน่นอน 

 

ตัดสินใจซื้อผ่าน Community

ตอนนี้กรุ๊ปสินค้าต่างๆ เริ่มแอคทีฟขึ้นมาก ถ้าเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะสินค้าพวกเครื่องสำอางค์ กล้อง สินค้าไอที จะคึกคักกันที่สุด การตัดสินใจซื้อไม่ได้อยู่แค่ข้อมูลลูกค้าหรือจากปาก Influencer แล้ว แต่เป็นการรวมรีวิวปากต่อปากผ่านกรุ๊ป แล้วค่อยตัดสินใจไปซื้อ

ทำให้ Community ของสินค้าประเภทต่างๆ เริ่มกระจายมากขึ้น หลายเพจปรับตัวโดยการสร้างกรุ๊ปเอง เช่น Jeban ขยายการพูดคุยไปอยู่ในกรุ๊ป รีวิวเครื่องสำอางค์ราคาแพง ให้คนประเภทเดียวกันมาเจอกันแล้วป้ายยากันเอง 

 

ความคุ้มค่าที่เปลี่ยนไปทำให้การช้อปของลูกค้าเปลี่ยนไปตามยุคสมัยเช่นกัน แต่ทุกคนไม่ต้องกลัวไปนะคะ การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องธรรมชาติ อยู่ที่การปรับตัวของเราที่ตามมาต่างหากที่ต้องกังวลว่าจะปรับตามกระแสทันหรือไม่ แต่นี่ล่ะคือเสน่ห์ของการค้าขายและธุรกิจ

from:https://www.thumbsup.in.th/shop-online

รวมเว็บไซต์สั่งสินค้าจากจีน ที่ราคาถูกจนเหมือนได้ฟรี

นักช้อปออนไลน์ทั้งหลาย อยากได้ของถูกกันไหมคะ วันนี้เราจะมาแชร์เว็บไซต์จีนที่ร้านส่วนใหญ่ในไทยพรีออเดอร์มา ถ้าจะเทียบราคากับ Shopee หรือ Lazada เรียกได้ว่า ราคาถูกกว่า 2-3 เท่าเลย เหมาะกับคนที่อยากผู้ประกอบการมือใหม่ ที่กำลังมองหาแหล่งสินค้าราคาถูกใหม่ๆ หรือลูกค้าที่อยากได้สินค้าหลายชิ้นในราคาส่ง

ซึ่งร้านในนี้ส่วนใหญ่ต้องมีบริษัท Shipping รับของจากโกดังจีนอีกที ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทแต่ละเจ้าว่าให้กิโลละเท่าไหร่ กับปริมาณการซื้อ ซึ่งแม่ค้าพ่อค้าทั้งหลายก็ต้องคำนวณต้นทุนในส่วนนี้ให้ดีด้วยนะคะ

 

Taobao

Taobao เป็นเว็บขายปลีกที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซื้อแค่ไม่กี่ชิ้นก็ได้ราคาถูกแล้ว ข้อดีของเว็บนี้คือสามารถต่อรองราคาได้ ไม่เหมือนไทยที่ราคาต้องตั้งตามเว็บ เป็นอีกแหล่งช้อปของวัยรุ่นที่อยากซื้อสินค้าไปใช้เองในปริมาณเยอะ

เพราะถ้าสั่งพรีออเดอร์จากไทยก็ต้องจ่ายเงินราคาเต็มก็อาจจะอ่วมได้ ความวุ่นวายมีสิ่งเดียวคือเว็บนี้เป็นภาษาจีน ไม่มีไทยกับอังกฤษ ทำให้เวลาดูต้องมีแอพแปลภาษาอยู่ข้างๆ ตอนช้อปเสมอ ไม่งั้นกดผิดชีวิตได้เปลี่ยนได้ สามารถจ่ายผ่าน Alipay กับ Paypal

 

Tmall

เป็นเว็บไซต์ขายของออนไลน์จีนที่มีคุณภาพ เพราะร้านค้าที่ขายในนี้ได้จะต้องจดทะเบียนการขาย ทำให้เชื่อได้ว่าสินค้าจะมีคุณภาพตามปก แต่ราคาสินค้าในนี้ก็จะสูงตามไปด้วย ด้วยความืที่เว็บนี้เป็นเว็บเครือเดียวกับ Taobao ทำให้มีแต่ภาษาจีน ไม่มีไทยอังกฤษ ก็จะมึนหัวหน่อย

แต่ถือว่าคุ้มค่ากับสินค้าและคุณภาพที่สั่งได้ อีกอย่างหนึ่งคือ ที่นี่ยังไม่ใช่แหล่งขายส่งเท่าไหร่นะคะ ถ้าซื้อเพื่อไปขายต่ออาจจะราคาสูงนิดนึง เหมาะกับการพรีออเดอร์จากไทยแล้ว มาสั่งสินค้าที่มียอดเงินเข้ามาแล้วมากกว่า

 

AliExpress

เว็บไซต์ที่คนไทยชอบสั่งสินค้ากันมาก ให้ฟีลลิ่งเหมือนช้อปสินค้าจากแพลตฟอร์มยอดนิยมของบ้านเราอย่าง Lazada แต่เป็นฝั่งจีน ด้วยความที่ AliExpress ค่อนข้าง Global มากกว่า ทำให้มีภาษาอังกฤษรองรับ และมีโปรโมชั่นคล้ายๆ กับของไทย ส่วนการจ่ายเงินก็ตัดผ่านบัตรเครดิตได้เลย

นอกจากนี้ ยังส่งได้ถึงหน้าบ้านไม่ต้องใช้ Shipping ให้วุ่นวาย เว็บนี้เป็นนิยมในไทยมาก เพราะผูกกับสินค้าไทยหลายชิ้น โดยเฉพาะการสินค้าแบบส่ง เลยไม่ค่อยมีความยุ่งยากอะไรมากเท่าไหร่

 

Ezbuy

สไตล์ของ Ezbuy คล้ายกับ Shopee ของไทย แต่ราคาจะถูกกว่า โดยเว็บไซต์จะมีระบบเปลี่ยนภาษาได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อให้อ่านได้ง่าย (ขณะที่บางเว็บเป็นภาษาจีนล้วน) ซึ่งที่นี่เรียกได้ว่าเป็นแหล่งขายส่งให้กับร้านค้าที่จะนำไปขายต่อใน IG แต่ปรับเป็นแบรนด์ตัวเอง หรือ Shopee สินค้าที่โดดเด่นคือ สินค้าแฟชั่น ต่างหู กระเป๋า ราคาจะถูกและคุณภาพดี

แต่ทั้งนี้ต้องเช็คสินค้ากับทางร้านค้าในระบบนั้นด้วย เพราะบางครั้งภาพก็ไม่ตรงปก ก็ต้องเช็ครีวิวจากคนที่เคยซื้อสินค้าไปแล้วอีกรอบ นอกจากนี้ ช่องทาง Ezbuy ยังรับบัตรเครดิตด้วยจึงไม่ต้องวุ่นวายเรื่องการจ่ายเงินเยอะ แค่รอของเหมือนพรีออเดอร์ภายใน 10-14 วัน

สำหรับทั้ง 4 เว็บไซต์นี้ เรียกว่าเป็นแหล่งขายส่งอย่างดีที่ทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการราคาลดลง เป็นอีกวิธีที่ช่วยเพิ่มกำไรให้แก่พ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายและยังมีอีกหลายเว็บที่จำแนกตามประเภทต่างๆ หากใครอยากได้เว็บไซต์เน้นขายสินค้าแนวไหนคอมเมนต์มาบอกกันได้เลยนะคะ

from:https://www.thumbsup.in.th/chinese-product-shipping

สองซีอีโอแท็กทีม ฉายวิสัยทัศน์ใหม่มั่นใจเป็นผู้นำอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หากพูดถึงวงการอีคอมเมิร์ซชั้นนำระดับโลก อย่างอาลีบาบา อะเมซอนแล้ว ในระดับภูมิภาค LAZADA ถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการอีกรายที่โดดเด่นและน่าจับตามองอย่างมาก โดยทาง Thumbsup ได้รับเกียรติเข้าร่วมงาน LazMall Brand Future Forum ที่ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นการจัดงานครบรอบ 7 ปีของลาซาด้า และได้ประกาศวิสัยทัศน์หลายอย่างที่น่าสนใจทีเดียวค่ะ

 

วิสัยทัศน์ที่น่าสนใจ

มร. ปิแอร์ ปัวยอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า กรุ๊ป ได้เล่าว่า ลาซาด้าเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยเติมเต็มวงการอีคอมเมิร์ซ ที่ยังเป็นโอกาสอีกมากในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้บริษัทจะเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชั่นต่างๆ เพื่อเติมเต็มการซื้อของออนไลน์ให้เป็นเรื่องง่ายและเพิ่มโอกาสในการซื้อและขาย ให้ลูกค้ากับร้านค้าเอสเอ็มอีเติบโตได้อย่างยั่งยืน ตั้งแต่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2012- ปัจจุบัน พบว่า ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีคอมเมิร์ซมีการเติบโตทุกรายและทุกประเทศ ทำให้ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล

นอกจากนี้ ซูเปอร์ โซลูชั่นส์ (Super-Solutions)” จะเข้ามาช่วยตอบโจทย์ปัญหาหลัก 3 ประการที่แบรนด์และผู้ขายมักประสบในการทำธุรกิจออนไลน์ ได้แก่ การสร้างแบรนดิ้ง (Branding) การทำการตลาด (Marketing) และการขาย (Sales) โดยมุ่งหวังให้แบรนด์และผู้ขายทุกรายสามารถเกาะกระแสการเติบโตของตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

โดยร้านค้าที่เข้าร่วมแคมเปญ Super Series จะได้แพคเกจโซลูชั่นทางการตลาดและ Business Advisor Dashboard ซึ่งเป็นกระดานแสดงผลข้อมูลทางธุรกิจใหม่ที่ดีกว่าเดิม เพื่อให้แบรนด์และผู้ขายนำไปใช้ในการตัดสินใจวางแผนเพิ่มจำนวนผู้เข้าชมหน้าร้าน ทำให้นักช้อปเห็นผลิตภัณฑ์ของพวกเขามากขึ้น และผู้ขายเองสามารถเลือกสรรโปรโมชั่นที่เหมาะสม ตอบโจทย์ลูกค้าที่เปลี่ยนไปได้ดียิ่งขึ้น และเพื่อเพิ่มยอดขายได้ 

เครื่องมือเทคโนโลยีที่ล้ำยุคทันสมัยเพื่อเพิ่ม Brand Awareness และยอดขาย ด้วยการใช้ Store Builder เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับหน้าร้านของตัวเอง รวมถึงการเปิดตัวเครื่องมือแบบโซเชียลสำหรับแสดงความคิดเห็นระหว่างการไลฟ์สตรีม และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าผ่านกิจกรรมในแอปพลิเคชัน อาทิ เกม เพื่อให้แบรนด์และผู้ขายสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น

โดยเครื่องมือเหล่านี้ ทางลาซาด้าได้รับมาจากอาลีบาบา จนสามารถขึ้นเป็นผู้นำด้านการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็น ฟังก์ชั่นการค้นหารูปภาพ, การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าผ่านเกม และฟีเจอร์ไลฟ์สตรีมในแอปพลิเคชั่น ทำให้เกิดการนำความบันเทิงเต็มรูปแบบสู่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (Shoppertainment) ซึ่งลูกค้าสามารถชม ช้อป และเพลิดเพลินไปพร้อมๆ กันได้

Shoppertainment ช่วยเพิ่มการขายอย่างไร

กลุ่มผู้ประกอบ SMEs ประมาณ 60% ในภูมิภาคนี้ มีความตั้งใจที่จะลงทุนด้านเทคโนโลยี เพื่อสร้างการเติบโตที่ยั่งยืนท่ามกลางเศรษฐกิจดิจิทัลในยุคปัจจุบัน เครื่องมือทางธุรกิจ อาทิเช่น โซลูชันการค้าออนไลน์ ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) และธุรกิจอัจฉริยะ (Business Intelligence) ได้รับการบ่งชี้ว่าเป็นการลงทุนที่ควรค่าแก่การลงทุนเป็นอันดับต้นๆ

มร. จิง ยิน (Jing Yin) ประธานกรรมการ ของ ลาซาด้า กรุ๊ป เล่าเสริมว่า ระบบของลาซาด้ามีผู้จำหน่ายจำนวนกว่า 400,000 ราย และอีกกว่า 3,000 แบรนด์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคจำนวน 560 ล้านรายในภูมิภาคผ่านแพลตฟอร์มตลาดสินค้า พร้อมทั้งการทำการตลาดแบบส่วนบุคคล ข้อมูล และการบริการครบวงจร ด้วยสินค้า 450 ล้าน SKUs

ส่วนประเทศไทย สินค้าขายดีมี 3 หมวดหมู่คือ Health & beauty, electronic, mother&baby โดยแบรนด์ที่เข้าร่วม LazMall ในไทยมีมากถึง 450 แบรนด์และคาดว่าช่วง LazMall จะมีแบรนด์ใหม่ๆ จากทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาในระบบเพิ่มขึ้นอีก 5 เท่า

อย่างไรก็ตาม การจัดแคมเปญกระตุ้นตลาดในทุกเดือนนั้น แม้จะมีจำนวนครั้งที่ค่อนข้างถี่แต่ทางลาซาด้าก็มั่นใจว่าเป็นกลยุทธ์ที่ดี เพราะเรามีฐานลูกค้าที่แข็งแกร่งอยู่แล้ว

ดังนั้น เวลาที่ลูกค้านึกที่จะช้อปออนไลน์สินค้าใดก็ตามในชีวิตประจำวัน ลูกค้าจะนึกถึงเราเป็น top of mind หากลูกค้า search บน google สินค้าบน platform ของเราก็ถูกค้นหาเป็นอันดับแรก เพราะเราเป็นแพลทฟอรมที่ตอบโจทย์ลูกค้าในทุกด้าน รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี AI ให้หาอะไรก็เจอ โดยใข้ฟีเจอร์ image search นั่นยิ่งทำให้การสร้างประสบการณ์ลูกค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น

เรื่องแบรนด์เราไม่ได้มีความกังวลในเรื่องนั้น เพราะตอนนี้ลาซาด้าเป็นtop of mind brand online shopping ที่ลูกค้าคนไทยไว้วางเป็นอันดับ 1

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2019/03/lazada-super-solutions-in-sea/

Officemate เพิ่มโอกาสช้อปบนมือถือสะดวกขึ้น

ออฟฟิศเมท เปิดตัวช่องทางการสั่งซื้อสินค้าช่องทางใหม่ เอื้อประโยชน์ให้ลูกค้าสามารถ Chat&Shop ผ่าน LINE และ Facebook ได้สะดวกขึ้น

สำหรับช่องทางการสั่งซื้อสินค้าช่องทางใหม่อย่าง “OfficeMate Chat&Shop” นั้น จะทำงานผ่านช่องทาง Line: @OfficeMate  และ Facebook Messenger เป็นการเพิ่มความสะดวกสบายและเพิ่มทางเลือกในการช้อปของลูกค้าองค์กรและ SMEs ทั่วประเทศที่นิยมช้อปสินค้าผ่านโทรศัพท์มือถือมากขึ้น

จากเดิมที่มีหน้าร้านออฟฟิศเมทมากกว่า 70 สาขาทั่วประเทศ, ช่องทาง OfficeMate Contact Center 1281 และออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ officemate.co.th หรือ OfficeMate Mobile App อยู่แล้ว แต่การเพิ่มช่องทางใหม่จะช่วยให้ลูกค้าทั้งองค์กรและทั่วไป สามารถแชทจ่ายรับ ได้สะดวกขึ้น

เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าทำงานง่าย

ต้องยอมรับว่าการสั่งซื้อสินค้าในยุคนี้ ต้องแข่งขันกันให้รวดเร็วขึ้น จะรอช้าแบบเดิมไม่ได้อีกแล้ว ดังนั้น การทำงานผ่าน 3 เครื่องมืออย่าง แชทจ่ายรับ นอกจากเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้า ก็ยังเพิ่มโอกาสทางการขายให้แก่บริษัทได้ดีขึ้น โดยวิธีการทำงานเครื่องมือนี้ ได้แก่

แชท” ง่ายแค่ปลายนิ้วกับการช้อปปิ้งผ่าน Line : @OfficeMate  และ OfficeMate Facebook Messenger

จ่าย” : เลือกได้กับ 4 รูปแบบการชำระเงินที่สะดวกสบาย (เก็บเงินปลายทาง, เก็บเงินปลายทางผ่านบัตรเครดิตหรือเลือกชำระด้วยบัตรเครดิตผ่านระบบออนไลน์, โอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร)

รับรอรับสินค้าที่บ้านได้ทันที พร้อมบริการส่งฟรี* เพียงมียอดซื้อขั้นต่ำ 499.- บาท (ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯ กำหนด)

ต้องยอมรับว่าการขายสินค้าในยุคที่พฤติกรรมบนมือถือเข้ามามีส่วนสำคัญมากขึ้นนั้น จะให้แบรนด์หรือผู้ขายรอลูกค้าอย่างเดียวไม่ได้แล้ว แต่ต้องเพิ่มโอกาสและความสามารถของตนเอง ให้ทันต่อกระแสเทคโนโลยีและเทรนด์ของโลกด้วย

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/09/officemate-shopping-online/

คนไทยช้อปออนไลน์สูงเร่งสร้างความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซให้ SME

เข้าสู่ปีที่ 13 แล้ว สำหรับสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเลคทรอนิคส์ไทย ที่แน่นอนว่านอกจากการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของกรรมการชุดใหม่แล้ว ในยุคที่อีคอมเมิร์ซกำลังเข้าสู่ชีวิตของคนไทยมากขึ้น ย่อมต้องมีความพิเศษที่มากกว่าเดิม

นายธนาวัฒน์ มาลาบุปผา นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเลคทรอนิคส์ไทย เล่าว่า คนไทยมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น จากปี 2015 ที่มีประชากรอินเทอร์เน็ต 38 ล้านคน คิดเป็น 55% ของจำนวนประชากรทั้งหมด และในปี 2020 เชื่อว่าประชากรอินเทอร์เน็ตจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 59 ล้านคน คิดเป็น 84% ของประชากรทั้งหมด โดยจะมีนักช้อปออนไลน์หน้าใหม่เพิ่มขึ้นมาไม่น้อยกว่า 20 ล้านราย

แม้ว่าตัวเลขจาก ETDA จะบอกให้ทราบว่าคนไทยท่องโลกออนไลน์เฉลี่ย 10.5 ชั่วโมงต่อวัน แบ่งเป็นการเข้าใช้งานโมบายอินเทอร์เน็ตก็ไม่น้อยกว่า 4.2 ชั่วโมงต่อวัน และหนึ่งในกิจกรรมที่คนไทยใช้เวลามากที่สุด 5 อันดับ การช้อปปิ้งออนไลน์มีสัดส่วนถึง 50.8% เรียกว่าเป็นตัวเลขที่ไม่น้อยเลยทีเดียว

ทิศทางอีคอมเมิร์ซ

ทั้งนี้ มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซของไทยในปี 2017 ที่สรุปมาอยู่ที่ 1.5 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 29% แบบปีต่อปี สัดส่วนของการช้อปปิ้งหลักๆ ยังคงมาจากโซเชียลมีเดียมากที่สุดถึง 40% เพราะคนไทยชอบการสื่อสารแบบเข้าถึงแบบ C2C มากกว่า ส่วนมาร์เก็ตเพลสชั้นนำอย่าง LAZADA, Shopee, JD Central ยังตามมาเป็นที่สองครองส่วนแบ่ง 35% ที่เหลืออีก 25% เป็นเจ้าของแบรนด์โดยตรง เรียกได้ว่าแบรนด์ที่ได้รับความน่าเชื่อถือยังคงมีโอกาสต่อเนื่อง

หากมองแบบวิเคราะห์ว่า E-commerce มีความสำคัญกับเศรษฐกิจและประเทศไทยอย่างไร แน่นอนว่า SME ที่มีการใช้งานอีคอมเมิร์ซอย่างจริงจังย่อมเพิ่มโอกาสโตทางธุรกิจเพิ่มเป็น 2 เท่าจากการขายแบบรูปแบบเดิม รวมทั้งมีโอกาสจากการขายแบบส่งออกต่างประเทศเป็น 2 เท่า แค่สองช่องทางนี้ก็กลายเป็นโอกาสทางรายได้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นแบบมหาศาลแล้ว รวมทั้งยังเพิ่มโอกาสจ้างงานถึง 2.6 อัตรา ทำให้ลดปัญหาการว่างงานได้

แม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะยังเข้าไม่ถึงคนชนบทแบบร้อยเปอร์เซ็นต์แบบคนกรุง แต่หากคนท้องถิ่นมีความรู้และเข้าใจด้านอีคอมเมิร์ซที่ดี รวมทั้งใช้อินเทอร์เน็ตในการสร้างโอกาสทางการขายใหม่ๆ ได้ ย่อมลดช่องว่างของความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้ระหว่างคนเมืองและชนบทได้

แม้ว่าปัญหาและความท้าทายของการเติบโตด้านอีคอมเมิร์ซจะเป็นเรื่องของคำว่า “ไม่รู้จะเร่ิมต้นอย่างไร” “เริ่มแล้วไปต่อไม่ถูก” “การทะลักเข้ามาของผู้ประกอบการต่างประเทศ” และ “กลัวเรื่องการจัดเก็บภาษีของรัฐ” แต่เชื่อว่าการมีสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเลคทรอนิคส์ไทยเข้ามาเป็นที่ปรึกษา น่าจะช่วยลดปัญหาความกังวลในการเดินหน้าธุรกิจอย่างมั่นคงได้

ธนาวัฒน์ กล่าวว่า “วิสัยทัศน์หลักของเราคือการส่งเสริมผู้ประกอบการให้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ และกระจายรายได้อย่างทั่วถึง โดยรวมเชื่อว่าหาก SME มีที่ปรึกษาที่น่าเชื่อถือและเป็นกลางก็น่าจะสร้างความมั่นใจและก้าวเข้าสู่โลกอีคอมเมิร์ซได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

ทั้งนี้ เป้าหมายของจำนวนสมาชิกสมาคมที่คาดไว้ใน 2 ปีคือ 30,000 ราย เพื่อเป็นศูนย์กลางผู้ประกอบการด้านอีคอมเมิร์ซไทย โดยมีการให้ Benefit สำหรับสมาชิกคือ

E-provider

  • มีรายชื่อในเว็บไซต์สมาคม
  • ได้รับส่วนลดค่าธรรมเนียมในการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาคม
  • ไม่จำกัดสัญชาติของบริษัท ขอเพียงทำธุรกิจในไทย

E-seller

  • ได้รับป้ายยืนยันความน่าเชื่อถือ
  • ได้ข้อมูลการทำอีคอมเมิร์ซโดยกูรูชั้นนำของไทย
  • มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ Thailand Online Mega Sale

E-Person

  • ได้รับการยืนยันจากสมาคมว่าเป็นผู้มีความรู้ด้านอีคอมเมิร์ซที่แท้จริง
  • มีการจัดทดสอบความรู้เพื่อเลื่อนระดับขั้น

ที่สำคัญ คือตอนนี้ลงทะเบียนสมัครได้ฟรี เพียงแสกน QR Code ด้านล่างและกรอกข้อมูลตามความเป็นจริง

และนี่คือโฉมหน้าของกรรมการชุดใหม่ทั้งหมด ที่เรียกได้ว่าแค่เห็นหน้าก็คุ้นเคย เพราะเป็นบุคคลที่มีฝีมือในการทำธุรกิจและเข้าใจโลกออนไลน์เป็นอย่างดีทั้งสิ้น

หากสนใจเข้าไปหาข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ https://thaiecommerce.org กันได้นะคะ

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/07/new-thai-ecommerce-association/

[Short News] Money Space เพิ่มช่องทางจ่ายออนไลน์ผ่านบัตร

ระบบชำระเงินออนไลน์สำหรับธุรกิจ E-Commerce เปิดให้บริการกันมากขึ้นแล้วนะคะ ล่าสุด Money Space ก็เปิดให้บริการรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิตเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจบนช่องทางออนไลน์ หวังช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานและลดขั้นตอนการทำงานให้สะดวกขึ้น

สำหรับ Money space เรียกว่าเป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินออนไลน์ด้วยบัตรเครดิต ที่ชูจุดเด่นอัตราค่าธรรมเนียมถูกที่สุด เริ่มต้นเพียง 2.78%-3.15% พร้อมลดขั้นตอนการดำเนินงานให้สะดวก รวดเร็ว โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องสมัครสมาชิก สามารถชำระเงิน และรับสิทธิประโยชน์ตามเงื่อนไขที่บริษัทกำหนดและไม่ต้องดำเนินการผ่านธนาคาร สามารถรองรับบัตรได้จากทุกธนาคารที่มีเครื่องหมาย VISA / Master Card / JCB และ Union Pay
และรองรับได้ 28 สกุลเงินหลัก ผู้ใช้บริการสามารถชำระเงินผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ Facebook และ Instagram ซึ่งตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ธุรกิจยุค 4.0

นอกจากนี้ได้รับใบอนุญาตจากธนาคารกลางประเทศสิงคโปร์ และธนาคารแห่งประเทศไทยให้ประกอบธุรกิจรับชำระเงินออนไลน์อย่างถูกกฏหมาย
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม www.moneyspace.net

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/06/money-space-shopping/

ไม่เข้าออนไลน์ไม่ได้แล้ว PPGroup ทำ E-Commerce หวังเสิร์ฟลูกค้าต่างจังหวัด

ด้วยมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซที่ ecommerce IQ เปิดเผยข้อมูลว่าในปี 2016 ที่ผ่านมา มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทย สูงถึง 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นธุรกิจแฟชั่น ประมาณ 390 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 13,650 ล้านบาท ทั้งยังเป็นกลุ่มสินค้าทีมีอัตราการเติบโตสูงถึง 49%ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าแบรนด์เนมอย่าง PP Group จะลองเข้ามาเป็นผู้เล่นบ้างแล้ว

สุวดี พึ่งบุญพระ ประธานกรรมการ และโอฬาร ปุ้ยพันธวงศ์ รองประธานกรรมการ PP Group เล่าให้ฟังว่า จากแนวโน้มการเติบโตของอีคอมเมิร์ซทำให้เราตัดสินใจลงทุนพัฒนาเว็บไซต์ ขึ้นมา โดยเลือก Longchamp เป็นสินค้ากลุ่มแรกในการทำตลาด

ธุรกิจของ พีพี กรุ๊ป คือเป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ภายใต้แบรนด์ Céline (เซลีน), Emilio Pucci (เอมิลิโอ ปุชชี่), Givenchy (จีวองชี่), Loewe (โลเอเว่), Longchamp (ลองฌอมป์), MCM (เอ็มซีเอ็ม), Roger Viiver (โรเฌร์ วิวิเยร์), Tod’s (ท็อดส์) และ Tory Burch(ทอรี่ เบิร์ช) ซึ่งเป็นสินค้า Hi-End ทั้งสิ้น ภาพรวมธุรกิจก็เติบโตดี ปีที่แล้วโต 40% ยอดขายรวม 1,000 ล้านบาท และปีนี้ลงทุนอีก 200 ล้านบ้านในการทำสาขาเพิ่มและกิจกรรมส่งเสริมการขาย จึงตั้งเป้าปีนี้ไว้ที่ 1,200 ล้านบาทหรือประมาณ 20%

ส่วนเหตุผลที่สนใจเรื่อง E-Commerce เพราะเทรนด์ดิจิทัลโตขึ้น เราก็ต้องปรับตัว ยิ่งแบรนด์ Luxury จะมีเรื่องของ Emotional เข้ามาเกี่ยวข้องมากกว่าเรื่องของ Functional เพียงอย่างเดียว แม้ว่าราคาสินค้าจะสูงแต่เพื่อให้ประทับใจ การทำ E-Commerce ของเราต้องไม่ละเลยเรื่องนี้

“ไม่ใช่แค่ลูกค้าส่ังออนไลน์ จ่ายเงินและจบ แต่เราเน้นดูแลหลังการขายให้ดี ประทับใจ อยากกลับมาซื้อซ้ำ นั่นเป็นหัวใจหลักที่เราเริ่มเข้าออนไลน์ช้า แต่ก็ถือว่าเป็นการเปิดตลาดลูกค้าใหม่และยังคงรักษาลูกค้าเก่าไว้”

ด้านช่องทางดิจิทัล มีการทดลองขายผ่าน Line มาระยะหนึ่ง ในสินค้า Longchamp และ MCM เพื่อตอบโจทย์คนที่เข้ามาในเมืองไม่ได้ และตัวเลขเป็นที่น่าพอใจ ก็เลยเปิดเว็บไซต์ขึ้นมา ส่วนการเลือกขาย Longchamp เพียงแบรนด์เดียวก่อน เพราะสินค้าตอบโจทย์คนหมู่มากและเหมาะกับตลาดเมืองไทย รวมทั้งราคาก็เป็นที่เอื้อมถึง ซึ่งตอนที่ทดลองทำออนไลน์ก็มียอดขายในส่วนออนไลน์เข้ามา 80% ส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด ส่วนกรุงเทพฯ คนจะเดินเข้าสาขามากกว่า

ด้าน Target จะเป็นผู้หญิง อายุ  25-40 ปี ช่วงเวลาก่อน 11.00 โมง จะมีลูกค้าเข้ามาช้อปเยอะ และเราทำเว็บออกมาแบบ Responsive ทำให้รองรับการเข้าใช้งานทั้งมือถือและคอม แน่นอนว่า 80% ลูกค้าใช้งานผ่านมือถือ แต่ Tablet และ Desktop ก็เรียงตามลำดับ ขณะนี้มีสินค้ากว่า 100 SKU ที่จำหน่ายผ่านเว็บ แต่ก็จะเพิ่มจำนวนสินค้าให้มากขึ้น และเพิ่มในส่วนของสินค้าผู้ชายด้วย รวมทั้งใช้กลยุทธ์ Pre Launch เพื่อกระตุ้นตลาดร่วมด้วย คิดว่าน่าจะช่วยให้ยอดขายผ่านออนไลน์อยู่ที่ 5% จากยอดขายทั้งหมดในปีหน้า

ส่วนแบรนด์ที่มองไว้เพิ่มเติมว่าจะมาขายออนไลน์คงเป็น MCM เพราะสินค้า Luxuary ยังไงก็ต้องช่องทาง Offline ก่อน เพราะเรื่องบริการเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งเรามีสาขาของ Longchamp ในกรุงเทพ 5 สาขาเป็น Flagship Store ที่ Emporium กับ Siam Paragon

แม้ว่าจะมีหลายแบรนด์จำหน่ายสินค้าผ่านช่องทาง E-Commerce  แต่ก็ยังมั่นใจว่าจุดแข็งของเราสร้างแรงดึงดูดได้มากกว่า ไม่ว่าจะเป็น การเป็นตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ จึงมั่นใจได้ว่าเป็นของแท้, การดูแลลูกค้าออนไลน์ระดับเดียวกับซื้อผ่านหน้าร้าน ทั้งการส่งซ่อม เปลี่ยนสินค้า รวมทั้งบริการหลังการขายอื่นๆ, มีสินค้า Exclusive เฉพาะออนไลน์เท่านั้น และราคาสินค้าเริ่มต้นที่ 4,000-40,000 บาท ถือว่าเหนือกว่าร้านรับหิ้วแน่นอน

เรียกได้ว่าแบรนด์ใหญ่งัดทุกกลยุทธ์มาสู้กับร้านรายย่อยบนช่องทางออนไลน์อย่างแท้จริง มั่นใจได้เลยว่าของปลอม ของก็อปบนช่องทางออนไลน์ที่คนกังวลจะลดลงได้แน่นอน เพราะตัวแทนนำเข้าและเจ้าของแบรนด์หันมาจับตลาดนี้กันมากขึ้นแล้ว

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/05/pp-group-ecommerce/

ไม่ใช่ E-commerce แต่เป็น On demand สำหรับคนขี้เกียจเดินห้าง

หากนึกถึงเรื่องของการช้อปปิ้งผ่านห้างสรรพสินค้าหลายคนอาจจะนึกถึง http://www.central.co.th ซึ่งเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซที่สั่งซื้อสินค้าจากห้างดัง ผ่านระบบออนไลน์ แต่ Central On Demand (COD) ไม่ใช่แบบนั้น เพราะจะให้ความรู้สึกเหมือนกำลังแชทกับเลขาส่วนตัวที่ให้ไปค้นหาสินค้าที่ต้องการภายในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลได้แบบทันท่วงที

ทาง Thumbsup ได้มีโอกาสร่วมพูดคุยกับ คุณปิยวรรณ ลีละสมภพ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายการตลาด บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล ที่เข้ามาดูเรื่องบริการ On demand นี้ โดยสิ่งที่ผู้บริหารอยากให้ทางเราบอกต่อกับคนที่อยากใช้งานช่องทาง On Demand นี้ คือให้ลบภาพอีคอมเมิร์ซของ Central Online ออกไปก่อน เพราะนี่คือการซื้อสินค้าแบบที่พบเห็นกันใน Instagram คือช้อปกับแม่ค้าโดยตรง ซึ่งงานนี้ เซ็นทรัล ก็ได้จัดพนักงาน 8 คน ไว้สแตนบายเพื่อไปหาสินค้าที่ลูกค้าแจ้งความต้องการผ่าน “แชท” เท่านั้น

เล่าถึงจุดเริ่มต้นของบริการนี้ คือ ทางเซ็นทรัลมองถึงพฤติกรรมของลูกค้าที่เข้าหา Central ในรูปแบบต่างๆ ก่อน จะพบว่าทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ลูกค้าต้องการให้ Central เติมเต็มประสบการณ์ให้ครบ และนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงจุดที่สุด เพราะขึ้นชื่อว่า Central ย่อมเกิดความคาดหวังว่าสินค้าต้องแท้ ขนส่งต้องดี ตอบต้องไว และเข้าใจเรื่องส่วนลด และเพื่อให้รับกับยุคดิจิทัลที่ลูกค้าชอบแชทเพื่อสอบถามและหาข้อมูล

และทาง Central ก็ใช้เวลาในการปรับแพลตฟอร์มแบบ 4.0 ในการเชื่อมระบบต่างๆ ให้เป็น Omni Channel และสื่อสารกับลูกค้าผ่านช่องทาง Social Media ได้อย่างสมบูรณ์แบบ จนได้รับรางวัลจากเวทีต่างๆ มากมาย ซึ่งเซ็นทรัลทำ E-commerce มา 7-8 ปีแล้ว วันนี้จะก้าวเข้าสู่ The next chapter รวมทั้งจะเน้นพัฒนาช่องทาง Instagram ให้แข็งแรงขึ้นกว่าเดิมเพื่อขึ้นเป็นอันดับ 1 เชื่อว่าภายในปีนี้น่าจะทำได้ รวมทั้งดึงลูกค้า The 1Card ที่มีกว่า 13 ล้านรายเข้ามาใช้งานออนไลน์ให้มากขึ้น

ตั้งแต่เปิดให้บริการ Central on Demand มาเมื่อตอน ก.ย.2016 ยอมรับว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นเรื่อยๆ เป็นลูกค้ากทม. และต่างจังหวัด อย่างละ 50% โดยจังหวัดที่ใช้บริการ COD จนมียอดขายมากสุด คือ สุราษฎร์ธานี ชลบุรีและเชียงใหม่ ตามลำดับ กว่า 90% เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่เป็นการสั่งซื้อสินค้าแบรนด์เนม ถือว่าตอบโจทย์ชีวิตที่ไม่ต้องเดินมาซื้อ เพราะจะจ่ายผ่านช่องทางไหนก็ได้ นัดรับสินค้าที่ห้างหรือส่งที่บ้าน ถ้าเป็นกทม.ภายใน 24 ชม. ต่างจังหวัดก็ 2-3 วัน ซึ่ง 60% ลูกค้าจะให้ไปส่งของที่บ้านและอีก 40% มารับที่สาขาด้วยตนเอง ด้านสินค้าที่คนนิยมช้อปมากที่สุด คือ สินค้าแบรนด์เนม ของตกแต่งบ้านและเครื่องสำอางค์

ซึ่งตอนนี้ออเดอร์ยังมีเพียง 400 ออเดอร์/วัน เชื่อว่าถ้าลูกค้าได้ลองสัมผัสประสบการณ์จากช่องทางนี้สักครั้งจะประทับใจ ซึ่งก็ตั้งเป้า transaction ไว้ที่ 2.5 แสนคน หวังจะมีรายได้สิ้นปีสักร้อยล้านบาทขึ้นไป พร้อมยืนยันว่าไม่ได้จะมา Disrupt ช่องทางออนไลน์ของตัวเอง แค่จะมาเสริมประสบการณ์ให้ดีขึ้น

ซึ่งทางผู้เขียนได้ทดลองใช้บริการซื้อสินค้าผ่านช่องทางดังกล่าว พบว่า ตอบคำถามได้อย่างรวดเร็วและช่วยให้การตัดสินใจซื้อเป็นไปได้เร็วขึ้น เรียกได้ว่าเสียเงินในเวลาไม่ถึงชั่วโมง เมื่อเดินทางเข้าไปรับสินค้าที่สาขาชิดลม ก็พบว่า ทางพนักงานได้เตรียมข้อมูลเกี่ยวกับโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษต่างๆ ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว เมื่อไปถึงที่สาขาก็รูดจ่ายรับส่วนลดและสินค้าได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องรอนาน เพราะเตรียมทุกอย่างไว้ให้เสร็จแล้ว ถือว่าตอบโจทย์คนที่มีความสนใจอยากได้สินค้าอย่างแท้จริง

หรือหากยังมีข้อสงสัย ลองศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ http://www.central.co.th/store/locations/centralondemand.aspx เพื่อให้มั่นใจในการใช้งานมากยิ่งขึ้น

 

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/04/central-on-demand-shopping/

10 ข้อแนะนำในการซื้อของออนไลน์ให้ปลอดภัย

ช่วงนี้ตลาดออนไลน์มาแรงมาก ดังนั้นวันนี้เราจึงได้สรุปคำแนะนำในการซื้อของออนไลน์ให้ปลอดภัยเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรในโลกไซเบอร์ โดยเฉพาะโปรโมรชันหลังวันขอบคุณพระเจ้า (Cyber Monday) จากเว็บต่างประเทศยิ่งเย้ายวนใจขาช้อปเสียด้วย

10 ข้อแนะนำมีดังนี้

  1. อย่าใช้ Search Engine เพื่อค้นหาการขาย พยายามเข้าตรงไปยังหน้าเว็บซื้อขายเนื่องจากจะเสี่ยงเข้าไปเจอเว็บหลอกลวงได้ เช่น อาจจะสร้างให้มีชื่อคล้ายกันกับเว็บจริง
  2. ปิด Pop-up หรือโฆษณาอื่นๆ ซะ Pop-up ที่เกิดขึ้นอาจจะมีข้อเสนอปลอมโดยลิ้งไปยังหน้าอื่นหรือโจมตีผู้ใช้ด้วย Cross-site scripting ได้ ดังนั้นพยายามกด X ที่มุมขวาปิดมันซะ
  3. ระมัดระวัง Social Media โดยเฉพาะ Facebook เพราะอาจตกเป็นเหยื่อผู้ไม่ประสงค์ดีที่อาจจะฝังลิ้งปลอมไว้โดยใช้บัญชีปลอมตั้งชื่อดึงดูดความสนใจ ถ้าในเฟสก็เช่น ตั้งข้อเสนอดีเกิดจริงบอกให้ผู้ใช้แชร์ต่อ
  4. อีเมล์ที่มีไฟล์แนบพร้อมชื่อหัวข้อตามเทศกาลยิ่งน่าสงสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเช่น ตั้งชื่อหัวข้อเกี่ยวข้องกับ Cyber Monday มาพร้อมไฟล์แนบ .Zip จงลบซะ รวมถึงเทคนิคเช่น ใส่ลิ้งมาให้เข้าไปจงระวังให้ดี
  5. เช็คให้แน่ใจว่าการเชื่อมต่อปลอดภัย พยายามมองหารูปแม่กุญแจสีเขียวที่แถบบนก่อนชื่อโดเมน หรือ HTTPS เพื่อให้แน่ใจว่าการใช้งานถูกเข้ารหัส
  6. อย่าใช้บัตรเดบิตซื้อของออนไลน์ ถ้าไม่อยากให้แฮ็กเกอร์เข้าตรงไปยังบัญชีของคุณจำไว้เลยอย่าใช้เดบิต พยายามใช้เครดิตหรือ PayPal ที่ลิ้งกับบัตรเครดิตจะปลอดภัยกว่า เพราะถ้าเกิดเรื่องขึ้นคุณก็ยังมีเวลาให้สืบสวนได้ก่อนถูกตัดเงินจริงในเดือนถัดไป
  7. หลีกเลี่ยงการใช้งานเครือข่ายไร้สายสาธรณะ อาชญากรต่างจับจ้องเครือข่ายสาธรณะทั้งนั้น ดังนั้นถ้าอยากซื้อของพยายามใช้เครือข่ายส่วนตัวที่บ้านคุณจะดีกว่า
  8. ระวัง QR Code แปลกปลอม บางครั้งแฮ็กเกอร์อาจจะสร้าง QR Code ปลอมเพื่อลิ้งไปยังเว็บไซต์หลอกหลวงหรือันตรายต่างๆ หรืออาจจะปริ้น QR Code ปลอมออกมาแปะทับของจริงก็ได้
  9. อย่าให้ข้อมูลมากนัก หากบางเว็บไซต์มีคำถามเกินกว่าข้อมูลส่วนตัวทั่วไป เช่น เลขประกันสังคม หรือคำถามยืนยันความปลอดภัย จงหยุดเดี๋ยวนั้นแล้วหนีออกมาให้ไว
  10. เตรียมตัวในด้านความมั่นคงปลอดภัยไว้ให้พร้อม ตัวอย่างเช่นเช็คให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์ของคุณเช่น OS และ Browser หรือแอปพลิเคชันอื่นๆ นั้นอัปเดตล่าสุด นอกจากนี้ควรหาโปรแกรมที่ช่วยในด้านความมั่นคงปลอดภัยมาใช้บนเครื่อง PC หรือมือถือของคุณซะ โดยดูให้แน่ใจว่ามันปกป้องมัลแวร์ได้ครอบคลุมพร้อมทั้งอัปเดตมันด้วย

ที่มา : https://blog.malwarebytes.com/101/2017/11/10-tips-safe-online-shopping-cyber-monday/

from:https://www.techtalkthai.com/10-hints-for-safe-online-shop/