คลังเก็บป้ายกำกับ: REUTERS

Alibaba ถูกกล่าวหาว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโจรกรรมข้อมูลพลเรือนจีน

ทางการจีน เรียกผู้บริหารของ Alibaba Cloud ซึ่งถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการขโมยข้อมูลพลเรือนจีนจากสำนักงานตำรวจ โดยเจ้าหน้าที่จะเร่งดำเนินการสอบสวนเพื่อหาข้อเท็จจริงให้เร็วที่สุด เนื่องจากจะเป็นคดีความมั่นคงทางไซเบอร์ที่มีขนาดข้อมูลใหญ่ที่สุดถ้ามีหลักฐานที่สามารถเอาผิดได้ตามข้อกล่าวหา
 

ฐานข้อมูลประชากรจีนมีมากกว่า 1,000 ล้านคน ซึ่งเคยถูกแฮกเกอร์ออกมาโพสคำอ้างว่าได้มีข้อมูลเหล่านี้ที่ได้มาจากสำนักงานตำรวจเซี่ยงไฮ้อยู่ในครอบครอง นักวิเคราะห์จับตามองเหตุการณ์นี้อย่างใกล้ชิด เพราะถ้าเป็นอย่างที่แอบอ้างจริง จะเป็นการโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลทางไซเบอร์ครั้งประวัติศาสตร์ทันที
 
จากรายงานของ Reuters – การที่ Alibaba Cloud ถูกตั้งข้อกล่าวหา สืบเนื่องมาจากการสแกนฐานข้อมูลของตำรวจ ซึ่งนักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้สรุปว่าข้อมูลพลเรือนชาวจีนที่ถูกโจรกรรมไปนั้น ถูกโฮสต์บนแพลตฟอร์มระบบคลาวด์ของ Alibaba
 
Alibaba Cloud – ไม่ได้ออกมาแถลงต่อคำกล่าวหานี้แต่อย่างใด ซึ่งนับตั้งแต่ค้นพบการโจรกรรม Alibaba ได้ปิดการเข้าถึงฐานข้อมูลที่ถูกละเมิดทั้งหมดเป็นการชั่วคราวและเริ่มดำเนินการตรวจสอบระบบทันที
 

from:https://www.techtalkthai.com/alibaba-execs-summoned-in-chines-citizen-data/

ทวิตเตอร์จะแสดงเนื้อหา AP, Reuters เป็นข้อมูลประกอบสิ่งที่กำลังเป็นเทรนด์ในขณะนั้น

ทวิตเตอร์ขยายความร่วมมือกับ AP และ Reuters เพื่อจัดการกับข่าวปลอม โดยจะแสดงเนื้อหาจากแหล่งข่าวเชื่อถือได้เป็นข้อมูลประกอบบน Trends, Explore Tab, Search, Prompts (แบนเนอร์เหตุการณ์สำคัญที่กำลังเกิดขึ้นอย่างโอลิมปิกหรือการเลือกตั้ง) และ Labels หรือการติดป้ายกำกับระบุข้อมูลเท็จหรือบิดเบือน

ภายใต้ความร่วมมือนี้ ทีม Curation หรือทีมดูแลเนื้อหาบนทวิตเตอร์จะสามารถคัดเลือกเนื้อหาจาก AP และ Reuters มาเป็นข้อมูลประกอบบนสิ่งที่กำลังเป็นเทรนด์ หรือกำลังเป็นที่ถกเถียงบนทวิตเตอร์ในขณะนั้น ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะมีข้อมูลปลอม การเพิ่มข้อมูลจาก AP และ Reuters อาจช่วยชะลอการแพร่กระจายของข้อมูลปลอมได้

ช่วงเริ่มต้นจะยังใช้งานในเนื้อหาภาษาอังกฤษก่อน ซึ่งทวิตเตอร์มีแผนจะขยายไปยังภาษาอื่นด้วย นอกจากนี้ AP และ Reuters ยังเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ของ Facebook ช่วยตรวจสอบข้อมูลปลอมด้วย

No Description

ที่มา – TechCrunch, ทวิตเตอร์

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/124029

หมดยุคอ่านข่าวฟรี สำนักข่าว Reuters จะทำ Subscription ให้สมัครสมาชิก เก็บเงินพันบาทต่อเดือน

ต่อไปอ่านข่าว Reuters ต้องเสียเงิน

Reuters สำนักข่าวรายใหญ่ระดับโลกประกาศทำบริการสมัครสมาชิก (subscription) หลังจากนี้ผู้อ่านจะต้องจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (อ่านฟรีได้ 5 ข่าวต่อเดือน หลังจากนั้นต้องจ่ายเงิน) โดยอัตราค่าบริการอยู่ที่เดือนละ 34.99 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1,000 บาทต่อเดือน

Josh London ผู้บริหารฝ่ายการตลาดของ Reuters บอกว่า นี่คือการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจครั้งใหญ่ที่สุดของ Reuters ในรอบกว่าทศวรรษ

จุดประสงค์หลักของการทำระบบจ่ายเงินเพื่ออ่านข่าว (paywall) Reuters ให้เหตุผลว่า คนทำงานระดับมืออาชีพต้องการข้อมูลคุณภาพสูง เจาะลึกในแต่ละอุตสาหกรรม แน่นอนว่า Reuters ต้องการเข้ามาตอบโจทย์ในจุดนี้

ระบบจ่ายเงินอ่านข่าว ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำนักข่าวแรกของโลกที่ทำคือ The Wall Street Journal เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 1996 หรือ The New York Times ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2011 แต่บางสำนักอย่าง Bloomberg ก็เพิ่งทำในปี 2018 ไม่นานมานี้เอง

มีนักวิเคราะห์สื่อให้ความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ไว้ว่า เมื่อ Reuters ก้าวเข้ามาทำระบบ paywall ถ้ามองในแง่ความ ‘ช้า’ ก็ถือว่าช้า แต่ยังไม่สายเกินไป เพียงแต่ว่าคำถามสำคัญของ Reuters นับจากนี้คือ ในฐานะคนอ่านข่าวธุรกิจ เขาจะได้อะไรมากกว่าการเป็นสมาชิกข่าวธุรกิจของ Bloomberg หรือ Dow Jones อยู่ก่อนหน้าแล้ว?

หน้าตาเว็บไซต์ Reuters โฉมใหม่ ปรับให้ดูดีมากขึ้น

ราคาแพงไปไหม เมื่อเทียบกับตลาด

เมื่อเทียบราคาระบบสมาชิกอ่านข่าวของ Reuters กับสำนักข่าวยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่มีระบบ subscription หรือ paywall

  • Reuters ราคา 34.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (1,093 บาท)
  • The Wall Street Journal ราคา 38.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (1,218 บาท)
  • Bloomberg ราคา 34.99 ดอลลาร์ต่อเดือน (1,093 บาท)
  • The New York Times ราคา 18.42 ดอลลาร์ต่อเดือน (575 บาท)

[opinion] ราคาค่าสมัครสมาชิกเหล่านี้คือราคาก่อนโปรโมชั่น ซึ่งแต่ละสำนักจะจัดโปรโมชั่นลดราคาออกมาอยู่เป็นระยะ ยกตัวอย่างเช่น The New York Times ที่ในขณะนี้ลดราคาเหลือสัปดาห์ละ 0.25 ดอลลาร์ต่อเดือน (8 บาทต่อสัปดาห์ ตกเดือนละ 32 บาท ดูได้ที่ NYT promotion) หรืออย่าง Bloomberg ที่ตอนนี้ก็จัดโปรโมชั่นลดราคาเหลือสัปดาห์ละ 2 ดอลลาร์ต่อเดือน หรือประมาณ 62 บาท ดูได้ที่ Bloomberg Promotion) แต่ทั้งนี้ ต้องอ่านรายละเอียดเงื่อนไขให้ดี เพราะแต่ละสำนักจะมีการคิดเงินเต็มราคาหลังจากหมดโปรโมชั่นในทันที

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ Reuters มีผู้เข้าชมใน 1 เดือนกว่า 41 ล้านคนทั่วโลก แต่ข่าวทั้งหมดอ่านฟรี แน่นอนว่า รายได้หลักต้องพึ่งพาจากรายได้ของโฆษณาออนไลน์ ซึ่งชัดเจนว่าไม่เพียงพอ (อันที่จริงรายได้กว่าครึ่งของ Reuters ในปัจจุบันมาจาก Refinitiv ธุรกิจเทคโนโลยีของบริษัทที่ดูแลบริหารด้านการเงิน-ความเสี่ยง ซึ่งแยกตัวออกมาจาก Thomson Reuters อีกที ใครที่สนใจอยากทำความรู้จักกับธุรกิจของ Refinitiv อ่านได้ที่นี่)

ที่มา – Reuters, NYT, The Verge

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post หมดยุคอ่านข่าวฟรี สำนักข่าว Reuters จะทำ Subscription ให้สมัครสมาชิก เก็บเงินพันบาทต่อเดือน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/reuters-paywall-subscription/

เว็บไซต์ Reuters เตรียมเก็บค่าอ่านข่าวเดือนละประมาณ 1,000 บาท หลังทำเว็บเวอร์ชั่นใหม่

เว็บไซต์ Reuters เป็นเว็บข่าวรายใหญ่อีกรายที่เก็บเงินค่าอ่านแบบ The New York Times, The Wall Street Journal, Bloomberg เก็บเดือนละ 34.99 เหรียญ หรือราวเดือนละ 1,000 บาท คนอ่านยังอ่านได้ฟรี 5 ข่าวในช่วงพรีวิว หลังจากนั้นระบบจะให้ลงทะเบียนเพื่อจ่าย ซึ่งยังไม่ระบุว่าจะเริ่มเก็บเงินเมื่อไร

ทาง Reuters ระบุว่า ปัจจุบันมีคนอ่านข่าวบนเว็บแอคทีฟรายเดือนถึง 41 ล้านราย มีรายได้ครึ่งหนึ่งจากลูกค้ารายใหญ่คือ Refinitiv บริษัทการเงิน และรายได้อีกส่วนจากโฆษณาออนไลน์ หลังจากนี้มีแผนจะลงทุนในเนื้อหาข่าวกฎหมาย และทำช่องทางสตรีมอีเว้นท์ออนไลน์

ราคารายเดือนของ Reuters ถือว่าสูงกว่า The New York Times (18.42 เหรียญ) และถูกกว่า The Wall Street Journal (38.99) ซึ่ง WSJ เริ่มให้คนจ่ายเพื่ออ่านมาตั้งแต่ปี 1996 แล้ว ส่วน Bloomberg ราคา 34.99 เหรียญ เริ่มให้จ่ายตั้งแต่ปี 2018

Reuters ถือเป็นหนึ่งในแหล่งข่าวใหญ่ที่นำข่าวลง Google News Showcase ด้วย

No Descriptionภาพอาคาร Reuters ที่ New York
ภาพจาก วิกิพีเดีย

ที่มา – The Verge, Reuters

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/122201

Google เผยความร่วมมือกับ Reuters นำข่าวมาลง Google News Showcase

ช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมา Google เปิดตัว Google News Showcase แพลตฟอร์มอ่านข่าวตัวใหม่ของ Google ที่สามารถอ่านข่าวและเข้าใจเนื้อหาได้จบในแพลตฟอร์มไม่ต้องกดเข้าไปอ่านที่เว็บไซต์ต้นทาง โดยร่วมมือกับแหล่งข่าวในหลายประเทศร่วม 450 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นข่าวท้องถิ่น

ล่าสุด Google ประกาศความร่วมมือในระดับ global กับ Reuters นำรายงานข่าวเชิงลึกเสริมกำลังเนื้อหาข่าวใน Google News Showcase

จนถึงตอนนี้ Google News Showcase เปิดตัวเฉพาะในบราซิลและเยอรมนี โดย Google อัดฉีดเงินสนับสนุนการสร้างเนื้อหาข่าวร่วม 1 พันล้านดอลลาร์ เน้นข่าวท้องถิ่นของประเทศนั้นๆ เป็นหลัก ตัวอย่างแหล่งข่าวเช่น Le Monde, Le Figaro และ Libérationในฝรั่งเศส El Cronista และ La Gaceta ในอาร์เจนตินา TAG24 และ Sächsische Zeitung ในเยอรมนี และ Jornal do Commercio หนังสือพิมพ์ระดับภูมิภาคจาก Pernambuco ในบราซิล

No Description

ที่มา – Google

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/120725

Reuters ร่วมกับเฟซบุ๊กทำคอร์สออนไลน์ฟรี ช่วยนักข่าวจับผิดข่าวปลอม deepfake

Reuters เปิดตัวคอร์สออนไลน์สำหรับนักข่าวคือ Identifying and Tackling Manipulated Media ให้เข้ามาเรียนรู้วิธี และการทำงานของข่าวปลอม กรณีศึกษา รวมถึง deepfake ความยาว 45 นาที โดยมีเฟซบุ๊กร่วมมือด้วย

ในเนื้อหาจะอธิบายสื่อต่างๆ ที่สามารถถูกควบคุมได้ (manipulated media) ไม่ได้มีแค่ deepfake แต่รวมถึงคลิปที่ถูกปรับแต่งเพื่อจุดประสงค์ให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมตัวอย่างสื่อที่เป็น manipulated media ของจริงมาให้ศึกษากันด้วย

ตอนนี้คอร์สยังมีเฉพาะภาษา อังกฤษ, ฝรั่งเศส, สเปนและอาหรับ และมีแผนที่จะขยายไปยังภาษาพม่า, จีนกลาง, เดนมาร์ก, เยอรมัน, ฮิบรู, ฮินดี, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, โปรตุเกส, รัสเซีย, สวีเดนและตุรกี

No Description

ที่มา – Axios

from:https://www.blognone.com/node/113733

Reuters เผย Hacker จีนโจมตี IBM และ HPE สำเร็จ IBM ปฏิเสธ HPE ไม่ออกความเห็น

Reuters ได้ออกมาเผยถึงเหตุการณ์การโจมตีโดยกลุ่ม Hacker ที่ระบุว่าทำงานให้กับ Ministry of State Security ของจีน ว่าการโจมตีดังกล่าวสามารถเจาะเข้าถึงระบบเครือข่ายของ HPE และ IBM ได้สำเร็จ และทำการโจมตีต่อเนื่องเพื่อโจมตีลูกค้าของทั้งสอง แต่ทาง IBM ได้ออกมาปฏิเสธต่อข่าวดังกล่าว ในขณะที่ HPE ไม่ขอให้ความเห็น

Credit: ShutterStock.com

ข่าวนี้ทาง Reuters ระบุว่าได้รับมาจากแหล่งข่าวที่ไม่เปิดเผยถึง 5 ราย โดยการโจมตีนี้มีชื่อแคมเปญว่า Cloudhopper ที่มุ่งเน้นการโจมตีเหล่า Managed Service Provider เพื่อทำการโจมตีต่อเนื่องและขโมยข้อมูลลูกค้าของผู้ให้บริการรายนั้นๆ ซึ่งการโจมตีดังกล่าวนี้ก็มีรายงานออกมาตั้งแต่ปี 2017 แต่ไม่มีการเปิดเผยชื่อของผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่ถูกเจาะระบบแต่อย่างใด

ทางด้าน IBM นั้นได้ออกมาระบุว่าทาง IBM ทราบถึงการโจมตีดังกล่าวอยู่แล้ว แต่ไม่เคยตรวจพบว่ามีข้อมูลความลับใดๆ ถูกขโมยออกไปได้สำเร็จ ในขณะที่ HPE เองก็ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นตรงๆ แต่ระบุว่าธุรกิจที่เป็น Managed Service Provider ของตนเองนั้นก็ได้ถูกรวมเข้ากับ DXC Technology ไปตั้งแต่ปี 2017 แล้ว

ทั้งนี้ Reuters เองก็ไม่สามารถยืนยันถึงรายชื่อของผู้ให้บริการเทคโนโลยีรายอื่นๆ ที่ตกเป็นเป้าของการโจมตีและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีดังกล่าว แต่แหล่งข่าวที่ไม่ระบุตัวตนของ Reuters นี้ก็ยังเสริมด้วยว่าไม่ได้มีเพียงแค่ HPE และ IBM ที่ตกเป็นเป้าของการโจมตีเท่านั้น

ไม่ว่าข่าวนี้จะเป็นจริงเท็จอย่างไรก็ตามแต่ แต่ความเสี่ยงหนึ่งของธุรกิจในทุกวันนี้ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดจากการที่ Managed Service Provider ถูกโจมตีได้เช่นกัน ก็ถือเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ธุรกิจองค์กรควรให้ความสำคัญในการว่าจ้าง MSP รายใดๆ มาให้บริการ

ที่มา: https://www.reuters.com/article/us-china-cyber-hpe-ibm-exclusive-idUSKCN1OJ2OY

from:https://www.techtalkthai.com/reuters-reveals-chinese-hackers-attacked-managed-service-providers/

Reuters เผยผลวิจัยผู้บริโภคเลือกเสพสื่อที่ตนเองต้องการ

โดยทาง Reuters ได้การสำรวจออนไลน์ทั่วโลก เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ใช้งานผ่านเว็บไซต์ Reuters.com จำนวน 752 ราย ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ – 6 มีนาคม 2561 พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่สนใจในคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาตรงกับบุคลิกของตนเองและการนำเสนอต้องเป็นโทนและสไตล์ที่ชื่นชอบมากขึ้น

รายงาน Content Connect II ซึ่งอาศัยผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้งาน Reuters.com ทั่วโลก พบว่าผู้บริโภค 77% ทั่วโลก คาดหวังว่า ในอนาคตจะมีคอนเทนต์ที่ตรงกับบุคลิกลักษณะของตนเองมากขึ้น หรือแม้แต่แคมเปญที่มีแบรนด์คอนเทนต์จะได้ผลดีมากกว่า หากมีการแทรกเนื้อหาที่ตรงกับตัวบุคคลรวมอยู่ด้วย โดย 63% เห็นด้วยว่า คอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับตัวตนของเขา ทำให้รู้สึกดีกับแบรนด์มากขึ้น และ 58% จะมองแบรนด์ในแง่บวกมากขึ้น หากนำเสนอคอนเทนต์ที่ตรงกับความสนใจของตน

ขณะเดียวกัน ก็พบว่าคอนเทนต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะเจาะจงในเรื่องต่างๆ นั้น ดึงดูดบุคคลที่มีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันไป เช่น บุคลิกลักษณะอันดับหนึ่งสำหรับคอนเทนต์ด้านธุรกิจและการเงินคือ ‘ความทะเยอทะยาน’ ส่วนคอนเทนต์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมคือ ‘ความสร้างสรรค์’ นอกจากนี้ การเมืองคือ ‘ความตรงไปตรงมา’ และการท่องเที่ยวคือ ‘สัญชาตญาณ

ผลการวิจัยยังพบคุณลักษณะที่ผู้บริโภคมองว่ามีความดึงดูดใจมากที่สุดในแบรนด์คอนเทนต์ โดยผู้บริโภคทั่วโลกมองว่าคอนเทนต์ที่มีแบรนด์สนับสนุนนั้นจะดึงดูดความสนใจได้มากกว่า หากคอนเทนต์ดังกล่าวมีเนื้อหาที่กระตุ้นความคิด 64% สร้างสรรค์ 58% ตลกขบขัน 55% และแปลกใหม่ 51%

นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังมีการเปิดรับแนวทางที่ใหม่และสร้างสรรค์ในการสื่อสารด้วยคอนเทนต์ โดยรูปแบบการนำเสนอที่ผู้บริโภคมองว่ามีความดึงดูดใจเป็นอันดับต้นๆ ได้แก่ บทความสั้น 64% บทวิเคราะห์เชิงลึก 60% วิดีโอ 55% และอินโฟกราฟิก 45%

รูปแบบการนำเสนอคอนเทนต์ ที่ผู้บริโภคสนใจนั้น ได้แก่ แบรนด์คอนเทนต์ 71% ต้องการให้แบรนด์ที่ตนชื่นชอบมีการสนับสนุนเว็บไซต์ พื้นที่ส่วนต่างๆ บนเว็บไซต์ หรือเพจ ขณะที่ 57% อยากเห็นแบรนด์สนับสนุนบทความตามเว็บไซต์ เว็บเพจ หรือแอปต่าง ๆ

ในภาพรวมนั้น ผู้บริโภคมองว่า แบรนด์จะได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนคอนเทนต์ที่มีคุณภาพกันมากขึ้น ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันเพิ่มขึ้นเป็น 68% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 60% ขณะที่ผู้บริโภคยังคงเต็มใจรับแบรนด์คอนเทนต์ หากมีประเด็นที่ตรงกับความสนใจ มีผู้เห็นด้วยอยู่ที่ 75% เท่ากับปีที่แล้ว

ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า นักการตลาดคอนเทนต์จำเป็นต้องเข้าใจความต้องการและบุคลิคของผู้บริโภคอย่างแท้จริง เพื่อดึงดูดความสนใจและการมีส่วนร่วมจากผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด หากสนใจอยากอ่านรายละเอียดเต็มๆ ได้ ที่นี่

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/05/reuters-consumer-survey/

Reuters เผยข่าวหลุดวงใน “สาเหตุ Galaxy Note 7 ระเบิดมาจากแบตเตอรี่”

ใกล้เข้ามาแล้วครับที่ทาง Samsung จะออกมาแถลงการณ์เกี่ยวกับสาเหตุการระเบิดและเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นใน Galaxy Note 7 โดยกำหนดการที่ทางบริษัทจะออกมาเปิดเผยผลลัพธ์ของการสืบหาสาเหตุนั้นจะเป็นวันที่ 23 มกราคมที่จะถึงนี้ แต่ทว่าก่อนที่เราจะไปถึงวันเวลาดังกล่าว ล่าสุดทางสำนักข่าว Reuters ก็ไปได้ข่าววงในมาว่าบทสรุปของเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดจาก ” แบตเตอรี่ ”

โดยทาง Reuters ได้ระบุเอาไว้แบบนี้ครับว่าผู้ที่ให้ข้อมูลนี้ไม่ต้องการถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถถามหาความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าวได้ แต่ถ้า Reuters จะนำข่าวออกมาเผยแพร่แบบนี้แล้วล่ะก็ เชื่อว่าแหล่งข่าวนั้นก็น่าจะมีความน่าเชื่อถืออยู่ในระดับหนึ่งแน่นอน

ทั้งนี้ทาง Reuters ยังได้ระบุไว้เพิ่มเติมว่าการแถลงการณ์ครั้งนี้ของ Samsung เป็นช่วงที่ยากมากๆสำหรับบริษัท เพราะอันที่จริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องการหาสาเหตุของการระเบิดเท่านั้น แต่ทางบริษัทจำเป็นต้องมั่นใจด้วยว่าสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้แล้ว รวมทั้งจะไม่เกิดขึ้นอีก เพื่อที่จะสามารถเรียกความศรัทธากลับมาจากผู้ใช้ได้

กล่าวคือ “ปัญหาที่เกิดขึ้น” ก็สำคัญ ” แต่แก้ปัญหาแล้วหรือไม่ ? และปัญหาจะเกิดขึ้นอีกไหม ? “ เป็นสิ่งที่ผู้ใช้ทุกคนให้ความสำคัญมากกว่าครับ ตรงจุดนี้แหละที่ทางบริษัทต้องทำการบ้านมาดีๆ

หากผลการแถลงการณ์ครั้งนี้สรุปว่าสาเหตุมากจากแบตเตอรี่จริงๆ อาจจะเป็นเหตุผลเดียวกับที่ผู้เชี่ยวชาญออกมาชี้แจงไว้ก่อนหน้านี้ครับว่า… Galaxy Note 7 ถูกลดพื้นที่ช่องว่างภายในเครื่อง หากว่าอุปกรณ์มีพื้นที่ว่างๆภายในสำหรับแบตเตอรี่ ตัวอุปกรณ์ไม่น่าจะเกิดการระเบิดหรือไฟลุกไหม้ได้ครับ

from:https://www.appdisqus.com/2017/01/17/samsung-inquest-finds-note7-battery-is-to-blame.html

Reuters สร้างอัลกอริทึมของตัวเองเพื่อดูว่ามีอะไรใน Twitter มาเป็นข่าวด่วนได้บ้าง

สำนักข่าวเก่าแก่ Reuters ไล่ตามเทคโนโลยีไม่แพ้สำนักข่าวหน้าใหม่ ล่าสุดพัฒนาเครื่องมืออัลกอริทีม เพื่อคอยมอนิเตอร์เนื้อหาจากอีเวนท์ใหญ่ในทวิตเตอร์ และจับเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันมาเป็นข่าวสั้น ช่วยประหยัดทั้งเวลาและกำลังคน

ยกตัวอย่างเช่นมีเหตุการ์ระเบิดก่อการร้ายในที่ใดที่หนึ่ง อัลกอริทีมจะจับเอาคำที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ จากฟีดทวิตเตอร์ที่มีคนรายงานเหตุการณ์นั้น จับคำที่เกี่ยวข้องเช่น attack, bomb สร้างข้อมูล นำคำต่างๆ มารวมกัน

Reg Chua บรรณาธิการบริหารข้อมูลและนวัตกรรมของ Reuters กล่าวว่าการทำงานข่าวต้องเร็ว และความคิดพื้นฐานของ Reuters คือต้องเป็นแห่งแรก ที่แรก เราจึงคิดหาวิธีสร้างระบบที่จะทำให้เราติดตามข่าวสารได้เร็ว แน่นอนว่าบุคลากรช่วยตรงนี้ได้ แต่ไม่ว่าจะโยนคนลงไปมากเท่าไหร่ก็ไม่ช่วยแก้ปัญหาทั้งหมดได้

การตรวจจับข้อมูล จับคำที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นไม่ยาก ที่ยากกว่าคือทำอย่างไรให้อัลกอริทึม หาอีเวนท์ที่น่าทำเป็นข่าวจริงๆ ไม่ใช่อีเวนท์สแปม

การแก้ปัญหานี้คือให้อัลกอริทึมคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานหลายอย่างเช่น จับเฉพาะแอคเคาท์ที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นของจริง พิจารณาจำนวนคนฟอลโล่ ดูว่าใครบ้างที่เป็นคนรายงานข่าว ผลการทำงานมาสักพักพบว่าทวีตที่มีแต่ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (capital letter) มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าทวีตทั่วไป

ที่มา – Niemanlab

from:https://www.blognone.com/node/87784