คลังเก็บป้ายกำกับ: OPENSHIFT

บริการ Managed Cloud จาก Red Hat เปิดทางให้องค์กรปรับตัวอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างสรรค์ได้มากกว่า

โลกธุรกิจในทุกวันนี้ ให้ความสำคัญกับความเร็วเป็นอันดับหนึ่ง องค์กรต้องการลดเวลาที่บริการแต่ละตัวใช้ในการพัฒนา จนถึงนำออกมาให้บริการ (time to value) เพื่อให้ลูกค้าใช้ประโยชน์จากบริการใหม่ๆ ได้ทันที

แนวทางเช่นนี้ทำให้บริการคลาวด์เข้ามาช่วยองค์กรได้มากขึ้น เพราะนักพัฒนาสามารถเข้าถึงเครื่องมือที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องรอให้ใครมาเซ็ตอัพเครื่องมือต่างๆ ให้เหมือนระบบไอทียุคก่อน

No Description

บริการคลาวด์ในยุคแรกๆ คือการย้ายเครื่อง server จาก bare metal หรือ physical server ไปเป็น virtual machine แต่นักพัฒนายังต้องจัดการเครื่องเองทั้งหมด (self-managed) ตั้งแต่บูตเครื่อง ติดตั้งระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่จำเป็น ไปถึงการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัย บำรุงรักษาฐานข้อมูล ตรงนี้ถือเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นเมื่อระบบใหญ่โตและซับซ้อนขึ้นตามระยะเวลา

ในช่วงหลังเราจึงมักจะเห็น “บริการคลาวด์ที่มาพร้อมการจัดการ” (managed cloud service) ที่ช่วยลดภาระของทีมพัฒนา ทำให้นักพัฒนาใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลกับการจัดการฮาร์ดแวร์, บริหาร uptime, หรือวุ่นวายกับการอัพเดตซอฟต์แวร์อีกต่อไป บริการประเภทนี้พร้อมใช้งานได้ทันที โดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งและคอนฟิก รวมถึงค่าใช้จ่ายในระยะยาวอาจจะถูกลงเพราะคิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

การเลือกระหว่างบริการทั้ง 2 แบบมีปัจจัยให้พิจารณาหลายอย่าง ทีมพัฒนาบางทีมต้องการปรับแต่งทุกส่วนตามใจ ขณะที่บางกลุ่มต้องการให้ผู้เชี่ยวชาญมาตัดสินใจแทนและเอาเวลาไปพัฒนาตัวแอปพลิเคชั่นแทน

Red Hat มีบริการให้กับทั้งสองกลุ่ม กลุ่มที่ต้องการปรับแต่งเองอาจใช้บริการในกลุ่ม self-managed และกลุ่มที่ต้องการใช้งานแบบสำเร็จรูปทาง Red Hat ก็เสนอ managed cloud service ให้ได้เช่นกัน

No Description

ตัวอย่างข้อดีของบริการแบบ managed cloud ได้แก่

  • Kubernetes เป็นแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ที่ทรงพลัง แต่การดูแลชิ้นส่วนแต่ละส่วนเองอาจจะซับซ้อนราวกับจรวดอวกาศ Red Hat เสนอบริการ Kubernetes แบบ managed cloud service ที่เลือกปรับแต่งค่า และเลือกซอฟต์แวร์แวดล้อมให้ผู้ใช้ไว้แล้ว
  • ระบบจัดการ API (API Management) สำหรับบริหารจัดการ service ต่าง ๆ ขององค์กร ให้เกิดความปลอดภัยในการให้บริการ รวมไปถึงความสามารถในการจัดการเรื่อง สิทธิในการใช้งาน Quota ในการให้บริการ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการติดตั้ง และยังรองรับการขยายตัวของบริการที่มากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว โดย Red Hat ได้ทำการจัดเตรียม ระบบงานให้ผู้ใช้ไว้แล้ว
  • การใช้งาน Apache Kafka ที่ปกติแล้วไม่ใช่เพียงการติดตั้งโบรกเกอร์เท่านั้น แต่ต้องการชิ้นส่วนต่างๆ ในการบริหารจัดการและดูแล ซึ่งบริการจาก Red Hat จะทำการจัดการเลือกชิ้นส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย

บริการคลาวด์เหล่านี้ไม่เพียงอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนา แต่ยังช่วยลดภาระฝ่ายไอทีที่ดูแลบริการ ตลอดจนฝ่ายธุรกิจที่เล็งเห็นโอกาสในด้านต่างๆ มาเป็นผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ทันที ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาแอปพลิเคชั่นใหม่ หรือการปรับปรุงระบบเดิม หรือหากต้องการทดสอบว่าจะใช้บริการเหล่านี้ได้ตรงความต้องการหรือไม่ก็สามารถทดสอบได้ทันโดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้ง

ทดสอบบริการคลาวด์พร้อมการจัดการของ Red Hat ได้แล้ววันนี้

from:https://www.blognone.com/node/123550

เรารักกัน เราชนะ ตัวอย่างความสำเร็จของ Red Hat กับ Microsoft Azure ขายของด้วยกัน

ไมโครซอฟท์ในอดีตเป็นศัตรูกับโลกโอเพนซอร์สมายาวนาน แต่ท่าทีของไมโครซอฟท์ช่วงหลังก็เปลี่ยนไปมาก ในปี 2019 เราเห็นข้อตกลงช็อกโลกอย่าง ไมโครซอฟท์ช่วย Red Hat ขาย OpenShift บน Azure รวมถึงการออก SQL Server บนลินุกซ์ เป็นต้น

สัปดาห์ที่ผ่านมา Red Hat ออกมาเล่าตัวอย่างความสำเร็จของความร่วมมือนี้ โดยลูกค้าคือบริษัทลอจิสติกส์ Andreani Logistics Group จากอเมริกาใต้ ที่เจอปัญหาดีมานด์พุ่งสูงขึ้นมาจาก COVID-19 จึงหาวิธีสเกลระบบไอทีของตัวเอง และลงเอยด้วยการเลือกใช้ Red Hat OpenShift รันบน Microsoft Azure

Andreani เป็นลูกค้าของทั้ง OpenShift และ Azure อยู่ก่อนแล้ว แต่แยกโครงการกัน เมื่อทั้งสองบริษัทจับมือกันออกโซลุชัน ทำให้ Andreani ตัดสินใจย้ายระบบจาก OpenShift แบบ on-premise มารันบน Azure Red Hat OpenShift ได้ไม่ยากนัก ผลของการย้ายคือรองรับโหลดที่เพิ่มขึ้นได้ดีขึ้น และการเพิ่มคลัสเตอร์ใหม่ใช้เวลาน้อยลงมาก จาก 3-4 สัปดาห์แบบ on-premise มาเหลือเพียง 1 ชั่วโมงบนคลาวด์

ความร่วมมือของ Red Hat กับ Azure ยังสะท้อนให้เห็นยุทธศาสตร์ของ Red Hat ที่ปัจจุบันเป็นบริษัทลูกของ IBM แต่ก็สามารถเลือกจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่เป็นคู่แข่งของ IBM ได้ด้วย ในขณะที่ IBM ยุคใหม่จะใช้เทคโนโลยีของ Red Hat เป็นแกนกลาง แล้วเพิ่มซอฟต์แวร์หรือบริการของตัวเองเข้ามา

ที่มา – Red Hat

from:https://www.blognone.com/node/123086

เปิดตัว Red Hat OpenShift Platform Plus เพิ่มฟีเจอร์ความปลอดภัย, ระบบจัดการข้ามคลาวด์, และ Quay

Red Hat จัดชุด OpenShift ใหม่เพิ่มบริการด้านความปลอดภัยและการจัดการเข้ามา โดยเพิ่มจากการซื้อ OpenShift ปกติ 3 ฟีเจอร์ได้แก่

  • Red Hat Advanced Cluster Security for Kubernetes บริการจัดการความปลอดภัยสร้างโดย StackRox ที่ Red Hat ซื้อเข้ามา
  • Red Hat Advanced Cluster Management for Kubernetes ระบบจัดการคลัสเตอร์ข้ามค้ายและข้ามคลาวด์ที่เปิดตัวมาเมื่อปีที่แล้ว
  • Red Hat Quay ซอฟต์แวร์รีจิสตรีคอนเทนเนอร์ที่กลายเป็นโครงการโอเพนซอร์สตั้งแต่ปี 2019 ใน OpenShift เดิมก็รีจิสตรีในตัวอยู่แล้ว แต่ Red Hat Quay มีความสามารถระดับองค์กรเพิ่มเติม เช่น การสแกนอิมเมจ, สำเนาข้อมูลข้ามศูนย์ข้อมูล ฯลฯ

Red Hat Advanced Cluster Security for Kubernetes เริ่มขายแยกแล้ววันนี้ ส่วนชุด Red Hat OpenShift Platform Plus จะเริ่มขายภายในไตรมาสที่สองของปีนี้

ที่มา – Red Hat

from:https://www.blognone.com/node/122384

ถึงยุคของการใช้คอนเทนเนอร์เป็นหลัก Red Hat ชี้ OpenShift on Bare Metal ช่วยลดค่าใช้จ่าย ใช้จัดการ Virtual Machine ได้

แนวทางการพัฒนาแอปยุคใหม่ย้ายไปอยู่บนคอนเทนเนอร์ หรือแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์อย่าง Kubernetes แล้วแทบทั้งหมด แต่ในการใช้งานจริง องค์กรก็มักจะติดตั้ง Kubernetes ลงบนเครื่องที่จัดการโดยแพลตฟอร์ม virtualization อีกต่อหนึ่ง เพื่อให้สามารถจัดการเซิร์ฟเวอร์ในคลัสเตอร์ผ่านเครื่องมือต่างๆ นับจากการติดตั้ง, คอนฟิกค่าต่างๆ บนเครื่อง, ไปจนถึงการจัดการเครื่องในตลอดอายุการใช้งาน

Red Hat OpenShift เป็นดิสโทร Kubernetes ระดับองค์กรอันดับหนึ่งที่ เริ่มหันมารองรับการใช้งาน OpenShift on Bare Metal ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4.6 เป็นต้นมา ทำให้องค์กรที่ต้องการติดตั้ง OpenShift โดยไม่ต้องมีแพลตฟอร์ม virtualization ใดๆ มาคั่นกลางอีก สามารถติดได้โดยยังจัดการเซิร์ฟเวอร์ได้จากศูนย์กลาง กระบวนการติดตั้งเพิ่มโหนดเข้าคลัสเตอร์ทำได้อย่างรวดเร็วและอัตโนมัติ ต้องการการคอนฟิกค่าตั้งต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

คุณสุพรรณี อํานาจมงคล Solution Architect Manager ของ Red Hat ประเทศไทย ระบุว่ามุมมองของ Red Hat นั้นมุ่งไปเปิดทางให้องค์กรสามารถรันแอปพลิเคชั่นได้ทั้งบนคลาวด์ในในองค์กรของตัวเอง แต่ปีนี้ Red Hat พบว่าลูกค้าของบริษัทมีการย้ายแอปพลิเคชั่นมายังคอนเทนเนอร์มากแล้ว จึงหันมาเน้น OpenShift on Bare Metal ที่จะทำให้ลูกค้าประหยัดลง และได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น

No Description

การที่องค์กรย้ายโหลดงานมายัง OpenShift มากขึ้นทำให Red Hat พบว่าลูกค้ามักจะมี virtualization จัดการอยู่ตรงกลางก่อนถึงฮาร์ดแวร์ แต่ในความเป็นจริงเครื่องจำนวนมากกลับใช้สำหรับรัน OpenShift เพียงอย่างเดียว โดยทุกวันนี้อาจจะเห็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นเช่นนี้อยู่ 40-50 เครื่องก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนัก

คุณสุพรรณีเล่าถึงความได้เปรียบของการติดตั้ง OpenShift on Bare Metal ไว้ 6 ด้าน ได้แก่

  • ประสิทธิภาพ เนื่องจากไม่มีชั้น virtualization คั่นกลางแล้ว ประสิทธิภาพที่แอปพลิเคชั่นจะได้รับจากฮาร์ดแวร์จะดีขึ้นกว่าเดิมอย่างน้อย 15% ความหน่วง (latency) ในการรันต่ำลง ประสิทธิภาพที่ได้คาดเดาได้มากขึ้น และสามารถใช้ฟีเจอร์ real-time ของลินุกซ์ได้
  • ความปลอดภัย การตัดแพลตฟอร์ม virtualization ออกช่วยลดจุดที่แฮกเกอร์จะใช้โจมตี (attack surface) ลง ขณะที่ OpenShift เองเพิ่มความสามารถในการดูแลความปลอดภัยคลัสเตอร์มากขึ้นเ้รื่อยๆ เช่น ระบบสแกนความปลอดภัยตาม CIS Benchmark
  • เข้าถึงฟีเจอร์ฮาร์ดแวร์ได้ เปิดทางสามารถรันแอปพลิเคชั่นที่ต้องการฟีเจอร์เฉพาะของฮาร์ดแวร์บางอย่าง เช่น ชิปกราฟิกที่มักใช้สำหรับงานด้านปัญญาประดิษฐ์ ฟีเจอร์ด้านนี้เป็นเหตุผลสำคัญให้บางองค์กรในไทยเริ่มใช้ OpenShift on Bare Metal แล้ว
  • ค่าใช้จ่ายถูกลง นอกจากองค์กรจะไม่ต้องเสียค่าไลเซนส์ซอฟต์แวร์ virtualization แล้ว Red Hat ยังมีแนวทางคิดค่าไลเซนส์ของ OpenShift on Bare Metal ตามซ็อกเก็ตซีพียูแทนการนับตามคอร์ ทำให้ค่าไลเซนส์โดยรวมประหยัดลง ตัวเซิร์ฟเวอร์สามารถใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ราคาถูกลง โดยมีเงื่อนไขเพียงว่าเซิร์ฟเวอร์ต้องผ่านการรับรองว่าใช้งานกับ RHEL ได้
  • สมรรถภาพของระบบเพิ่มขึ้น สามารถรัน Pod บนแต่ละโหนดได้สูงถึง 500 Pod และแต่ละแอปพลิเคชั่นสามารถใช้ซีพียู 32 คอร์หรือมากกว่าได้
  • แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเลเยอร์ซอฟต์แวร์ลดลง หากเกิดปัญหาขึ้นมาก็มักจะแก้ไขได้ง่ายขึ้นด้วย

No Description

การใช้จัดการโหลดงานทุกรูปแบบผ่าน API กลางน่าจะเป็นเรื่องแนวทางทั้งอุตสาหกรรมไอทีเห็นตรงกัน และที่ผ่านมาแพลตฟอร์ม virtualization ก็มี API ให้เครื่องมือภายนอกเข้าไปช่วยอำนวยความสะดวก ตัว OpenShift มีฟีเจอร์ virtualization สามารถใช้จัดการโหลดงานที่ยังต้องรันในเซิร์ฟเวอร์แบบ virtual machine อยู่ โดยคุณสุพรรณี ระบุว่ามุมมองของ Red Hat คือในอนาคต Kubernetes นั้นจะสามารถจัดการโหลดงานทุกรูปแบบในองค์กร รวมถึงการจัดการ virtual machine ด้วย และหากต้องการใช้งานฟีเจอร์ virtualization นี้องค์กรก็แนะนำให้ใช้ OpenShift on Bare Metal มากกว่า

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมบน OpenShift Blog ได้ทั้งการใช้งาน OpenShift on Bare Metal และฟีเจอร์ OpenShift virtualization

from:https://www.blognone.com/node/122247

OpenShift บน AWS เข้าสู่สถานะ GA พร้อมใช้งานจริง

Red Hat OpenShift Service on AWS (ROSA) บริการ Kubernetes ระดับองค์กรที่ AWS และ Red Hat ให้บริการร่วมกัน เปิดตัวให้ลูกค้าทดสอบตั้งแต่ปีที่แล้ว ตอนนี้บริการก็เข้าสู่สถานะ GA พร้อมใช้งานทั่วไปเรียบร้อยแล้ว

ลูกค้า AWS ที่ต้องการใช้ ROSA จะต้องเปิดการใช้งานบนหน้าเว็บก่อน หลังจากนั้นจะจัดการคลัสเตอร์ ROSA ได้ทางคำสั่ง ROSA CLI

ROSA คิดค่าบริการแยกเป็นราคาต่อคลัสเตอร์ปีละ 263 ดอลลาร์หรือ ประมาณ 8,000 บาท และราคาต่อ worker ขนาด 4 vCPU ปีละ 1,498 ดอลลาร์หรือประมาณ 45,000 บาท หากใช้แบบสัญญารายปีค่า worker จะลดเหลือ 998 ดอลลาร์ต่อปีหรือ 30,000 บาท

ที่มา – AWS Blog

from:https://www.blognone.com/node/121908

OpenShift ออกเวอร์ชั่น 4.7 รองรับ GitOps ด้วย ArgoCD, รองรับ Windows Container บน VMware

OpenShift ดิสโทร Kubernetes ของ Red Hat ประกาศอัพเดตเวอร์ชั่นเป็น 4.7 สร้างขึ้นบนฐานของ Kubernetes 1.20 รองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มเติมเข้ามาเป็น Technology Preview ได้แก่

  • Assisted Installer ตัวติดตั้ง OpenShift บนเครื่องเปล่า (bare metal) อย่างอัตโนมัติ
  • OpenShift GitOps พัฒนาจาก ArgoCD เปิดทางให้การดูแลแอปพลิเคชั่นสามารถติดตามสถานะได้ตามการเปลี่ยนแปลงคอนฟิกใน git เพิ่มเติม
  • Sheduling Profiles ปรับพฤติกรรมการวาง Pod ลงเครื่อง โดยเพิ่มเงื่อนไขเช่นโหลดของแต่ละเครื่อง

นอกจากฟีเจอร์ที่ยังอยู่ในสถานะ Technology Preview แล้ว OpenShift 4.7 ยังเพิ่มความสามารถในการเข้ารหัสทราฟิกทั้งระหว่างคอนเทนเนอร์แบบ IPSec, บริการ OpenShift Update Service เข้าสู่สถานะ GA, และ Horizonal Pod Autoscaler (HPA) รองรับการกระจายโหลดตามเงื่อนไขอัตราการใช้หน่วยความจำ

ที่มา – OpenShift Blog

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/121433

OpenShift รองรับ Quarkus เฟรมเวิร์ค Java สำหรับคอนเทนเนอร์ที่โหลดเร็ว-กินแรมน้อย

Red Hat ประกาศรองรับ Quarkus เฟรมเวิร์คจาวาสำหรับการใช้งานแบบคอนเทนเนอร์ บนแพลตฟอร์ม OpenShift ของตัวเองแล้ว

Red Hat เปิดตัว Quarkus ในปี 2019 เพื่อแก้ปัญหาสำคัญของ Java ที่ “โหลดช้า-กินแรมเยอะ” ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญของการรันงานในคอนเทนเนอร์ (Quarkus โฆษณาตัวเองว่าเป็น Supersonic Subatomic Java) เมื่อบวกกับการที่ Quarkus เองก็ออกแบบมาสำหรับคอนเทนเนอร์อยู่แล้ว จึงทำงานร่วมกับ OpenShift ได้อย่างแนบเนียน

Red Hat ยังออกเครื่องมือช่วยย้ายแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Spring Boot บนเซิร์ฟเวอร์แบบดั้งเดิม มารันบน Quarkus/OpenShift ด้วย

ที่มา – Red Hat

No Description

from:https://www.blognone.com/node/119748

OpenShift 4.6 ออกแล้ว: ใช้ Kubernetes 1.19, Istio 1.6, ติดตั้งบนเครื่อง bare metal ง่ายขึ้น

Red Hat ประกาศอัพเดตเวอร์ชัน OpenShift 4.6 เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการ โดย OpenShift เวอร์ชันนี้จะใช้ Kubernetes 1.19 เป็นแกน

สำหรับของใหม่ในเวอร์ชัน 4.6 คือระบบติดตั้ง OpenShift บน bare metal ที่เป็นระบบติดตั้งอัตโนมัติแบบ full-stack เข้าสู่สถานะ GA แล้ว หมายความว่าผู้ใช้ OpenShift สามารถติดตั้งบนโฮสต์แพลตฟอร์มใดก็ได้ ไม่ต้องใช้ cloud provisioning, VM hosting หรือเทคโนโลยีตัวกลางอื่น ๆ

ตัว Bare Metal Operator ใหม่จะทำการ expose ตัวโหนดที่เป็น physical ไปยังตัวติดตั้ง OpenShift เพื่อให้ตัวติดตั้งสามารถจัดการตัวโหนดต่อไปได้ ซึ่ง Red Hat ระบุว่าฟีเจอร์นี้ใช้ Metal3 เป็นแกนในการจัดการโฮสต์แบบ base metal

ส่วนฟีเจอร์อื่น ๆ เช่น

  • รองรับ Government Cloud ของ AWS และ Azure
  • OpenShift Compliance Operator เพื่อจัดการความปลอดภัยบนคลัสเตอร์ด้วยการอธิบายคอนฟิกและโปรไฟล์เพื่อให้ operator ทำการสแกนโปรไฟล์ของแต่ละโหนดในคลัสเตอร์
  • Open Virtual Network ระบบ Kubernetes CNI เข้าสู่สถานะ GA แล้ว ซึ่ง Red Hat มีโร้ดแมประยะยาวสำหรับ OVN และจะพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ทั้งหมดบน OVN-Kubernetes
  • OpenShift Service Mesh เวอร์ชัน 2.0 ใช้ Istio 1.6 เป็นแกนหลักในการพัฒนา

ที่มา – OpenShift

No Description

from:https://www.blognone.com/node/119294

ตลาดแข่งดุ Red Hat ลดราคา OpenShift Dedicated ลงเฉลี่ย 75%, เพิ่ม SLA เป็น 99.95%

Red Hat ถือเป็นผู้บุกเบิกตลาด Kubernetes สำหรับองค์กรมาก่อนใครเพื่อนด้วย OpenShift แต่ช่วงหลังเราเห็นผู้เล่นใหม่ๆ ในวงการ Kubernetes เริ่มเข้าสู่ตลาด (เช่น VMware Tanzu รวมถึงเจ้าเก่าอย่าง Rancher) ส่งผลให้ล่าสุด Red Hat ออกมาหั่นราคา OpenShift ลงเฉลี่ย 75% และเพิ่ม service-level agreenment (SLA) เป็น 99.95% เพื่อดึงดูดลูกค้า

Red Hat มี OpenShift ขายหลายเวอร์ชัน แต่หลักๆ แบ่งได้เป็น Self-Managed (ใช้เครื่องหรือคลาวด์ของลูกค้าเอง), Online (ทุกอย่างอยู่บนระบบ Red Hat), Managed (ผู้บริการคลาวด์อย่าง AWS, IBM, Azure บริหารให้) และ Dedicated (ลูกค้าเช่าเครื่อง AWS หรือ GCP แล้ว Red Hat บริหารให้)

สิ่งที่ประกาศลดราคาคือ OpenShift Dedicated โดยอัตราการลดราคาหลากหลาย ขึ้นกับจำนวนโหนด และวิธีการซื้อไลเซนส์ ตัวอย่างที่ Red Hat นำมาโชว์คือลดราคาถึง 79% หากลูกค้าเช่าเครื่องบนคลาวด์เอง เป็นต้น

No Description

ตัวอย่างตารางเปรียบเทียบ OpenShift แบบต่างๆ

No Description

ที่มา – Red Hat

from:https://www.blognone.com/node/118885

OKD เวอร์ชัน 4 เข้าสู่สถานะ GA แล้ว เปลี่ยน OS ที่ใช้รันเป็น Fedora CoreOS ตาม OpenShift

OKD Working Group ประกาศว่าตอนนี้ OKD4 ซึ่งเป็น OpenShift Container Platform (OCP) เจเนอเรชั่นที่ 4 เวอร์ชันคอมมูนิตี้ได้เข้าสู่สถานะ GA อย่างเป็นทางการแล้ว

จุดสำคัญของ OKD4 จะเปลี่ยนไปในลักษณะเดียวกับ OCP4 คือตัว OS ที่ใช้เป็นฐานในการรันแพลตฟอร์มจะใช้ Fedora CoreOS หรือ FCOS ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ Linux ที่ออกแบบมาเพื่อการรันคอนเทนเนอร์ (Fedora CoreOS เป็นเวอร์ชันคอมมูนิตี้ของ Red Hat Enterprise Linux CoreOS) รวมถึงรองรับระบบ Operator ที่ใช้สำหรับ maintain resource ภายใต้คลัสเตอร์

นอกจากนี้ ด้วยแนวทาง Universal Base Image ที่ Red Hat เปิดตัวมาเมื่อปีที่แล้ว จะส่งผลต่อการพัฒนาระหว่าง OKD กับ OCP อย่างชัดเจน จากเดิมที่เป็น upstream-downstream เปลี่ยนมาเป็น sibling distribution คืออิมเมจที่สร้างมาสำหรับ RHEL7 สามารถใช้ทั้ง OKD และ OCP โดยไม่จำเป็นต้อง rebuild อีกต่อไป

ที่มา – OpenShift Blog

No Description
ภาพจาก OpenShift

from:https://www.blognone.com/node/117511