คลังเก็บป้ายกำกับ: NFS

EA เปิดตัวอย่าง Need for Speed Heat ยั่วสายซิ่ง ก่อนจำหน่าย

ก่อนที่จะลงตลาดของ Need for Speed Heat เกมเรซซิ่งในตำนานภาคล่าสุด EA ก็ได้เตรียมตัวอย่างที่เป็นไฮไลต์เด็ดออกมายั่วก่อนที่จะให้ได้สนุกกับของจริง ด้วยความสวยงาม ไหลลื่นและความอลังการของภาพภายในเกม กับ Trailer แรกที่เป็นภาพระดับ 4K มาดูกันว่างดงามเพียงใด

Need for Speed Heat

สำหรับความต้องการของระบบ ในการเล่นเกม Need for Speed Heat (Recommended)

  • ซีพียู AMD Ryzen 3 1300X หรือเทียบเท่า
  • ซีพียู Intel Core i7-4790 หรือเทียบเท่า
  • แรม 16GB
  • การ์ดจอ Radeon RX480 หรือ GTX 1060 หรือเทียบเท่า
  • DX11
  • พื้นที่ติดตั้ง 50GB เป็นอย่างน้อย
  • ระบบปฏิบัติการ Windows 10
    หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมจาก: game-debate

Need for Speed Heat Need for Speed Heat Need for Speed Heat Need for Speed Heat

ตัวเกมจะเป็นแผนที่ในแบบ Open-world ที่มีการแข่งขันทั้งในช่วงเวลากลางวันและกลางคืนที่เราคุ้นเคย โลเคชั่นจะอยู่ในในปาล์มซิตี้ กับการแข่งขันที่ไม่มีข้อจำกัด ความเสี่ยงยิ่งมาก ก็หมายถึงโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนสูง อย่างไรก็ดีการแข่งขันในช่วงกลางวันกับการไล่ล่าของตำรวจที่ทำหน้าที่ตามปกติ อาจไม่ได้โหดร้ายกับคุณนัก ถ้าฝีมือคุณดีพอ แต่เมื่อตกกลางคืนแล้ว คุณอาจพบว่าเกมการไล่ล่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง สุดท้ายก็คือการแข่งชนะเท่านั้น ที่จะปลดล็อคตัวเลือกต่างๆ ในโรงรถให้กับคุณ สำหรับ Need for Speed: Heat อู่ซ่อมหรือโรงรถเป็นไม่ได้เป็นเพียงเซฟเฮาส์ที่ดีเท่านั้น แต่ยังเป็นโรงซ่อม สร้างและปรับแต่งให้กับรถในฝันได้เป็นอย่างดี ในการรีดประสิทธิภาพให้กับพาหนะคู่ใจได้สูงสุด ถ้าดูจากตัวอย่างเกมแล้ว บอกได้เลยว่าเอนจิ้นของเกมยังคงความคลาสสิก แต่การเปลี่ยนเงื่อนไขของเนื้อเรื่อง และดีไซน์รุ่นรถที่เปลี่ยนไป น่าจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดใจได้ไม่น้อย สำหรับคอเกม NFS ตัวยง

ใครที่กำลังรอ Need for Speed: Heat จะได้พบกันในวันที่ 8 พฤศจิกายน บนทุกแพลตฟอร์ม PC, Xbox One, และ PS4 ส่วนคนที่เป็นสมาชิก EA Access และ Origin จะได้เล่นก่อนใครราวๆ 5 พฤศจิกายนนี้่

from:https://notebookspec.com/ea-demo-need-for-speed-heat-trailer/499481/

เบื้องหลังการออกแบบ All Flash Storage: ประเด็นเบื้องลึกที่ Vendor ไม่ค่อยพูดถึง

เรามักได้ยินชื่อเสียงของ Huawei ในฝั่งเทคโนโลยีระบบเครือข่ายกันเป็นส่วนมาก แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าอันที่จริงแล้ว Huawei เองก็มีการพัฒนาชิปทางด้าน Storage จัดเก็บข้อมูลด้วยเช่นกัน ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้ศึกษาเรื่องราวที่มาว่าทำไม Huawei ต้องลงมาทำชิปสำหรับ Storage เอง และแนวคิดในการออกแบบต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร จึงขอนำมาสรุปให้ผู้อ่านทุกท่านได้อ่านกันสนุกๆ ดังนี้ครับ

 

Storage สำคัญอย่างไรต่อภาพใหญ่ในอนาคตของ Huawei?

ในมุมของ Huawei นั้น ระบบจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงทั้งขนาดเล็กสำหรับติดตั้งใช้งานภายใน Smartphone ไปจนถึงระบบขนาดใหญ่ภายใน Data Center นั้นต่างก็จะมีบทบาทเป็นอย่างมากสำหรับการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต ทั้งด้วยเทรนด์ของไฟล์วิดีโอความละเอียดสูงขึ้นเรื่อยๆ, ไฟล์สำหรับ Application ในกลุ่ม Augmented Reality และ Virtual Reality ที่จะมีขนาดใหญ่มาก, การประมวลผล AI ประสิทธิภาพสูงที่จะเกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลาในอนาคต และอื่นๆ อีกมากมาย

ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีด้าน Storage จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ทาง Huawei ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด Server และ Storage ระดับองค์กร ที่เทคโนโลยีกลุ่มนี้ยังคงพัฒนามาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง และด้วยทิศทางของ Huawei เองที่จะผลักดันบริการ Cloud สำหรับธุรกิจในระดับองค์กรด้วยนั้น การมีเทคโนโลยีด้าน Storage ที่เหนือกว่าผู้ผลิตรายอื่นย่อมจะสร้างความได้เปรียบให้กับ Huawei อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ Huawei เองก็ยังมีผลิตภัณฑ์กลุ่ม All Flash Storage อย่าง Huawei OceanStor Dorado V3 ซึ่งการแข่งขันของเหล่าผู้ผลิตเทคโนโลยี All Flash Storage นี้ก็มีอยู่ทั้งในส่วนของ Hardware, Controller, Software และ Cloud ดังนั้นหาก Huawei ต้องการจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาดนี้อย่างแท้จริง การลงทุนเพื่อเฟ้นหาเทคโนโลยี Storage ที่ดีที่สุดก็ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

การเข้าซื้อกิจการเป็นเรื่องยาก เพราะผู้ผลิตชิปด้าน Storage ในตลาด ถูกควบรวมกิจการกันไปเป็นส่วนมากแล้ว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นการควบรวมกิจการกันมากมายในบรรดาผู้ผลิตชิปกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Broadcom ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ Avago Technologies, Broadcom, Brocade, Emulex และ LSI กับ Marvell Technologies ที่เพิ่งเข้าซื้อกิจการของ Cavium ไปเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตชิปสำหรับระบบเครือข่ายและ Storage รายใหญ่นั้นเหลือเพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้นในตลาด ด้วยเหตุนี้การเข้าซื้อกิจการของผู้ผลิตชิปนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมกับ Huawei และหากมองว่าที่ผ่านมาคือช่วงเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีจาก Hard Disk Drive (HDD) สู่ Solid State Drive (SSD) พอดี การลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ต่ออนาคตด้วยตนเองนั้นจึงกลายเป็นหนทางที่น่าสนใจมากสำหรับ Huawei ในยามนั้น

 

การพัฒนาชิปทางด้าน Storage เองทั้งหมด คือยุทธศาสตร์ของ Huawei

แน่นอนว่าเมื่อการเข้าซื้อกิจการมาต่อยอดนั้นไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ทาง Huawei จึงตัดสินใจพัฒนาเทคโนโลยีชิปสำหรับระบบ Storage ขึ้นมาเอง โดยต่อยอดจากพื้นฐานของการพัฒนาชิปสำหรับระบบเครือข่ายที่เป็นจุดแข็งของ Huawei มาอย่างยาวนาน วิธีการนี้มีข้อดีกับ Huawei เองด้วยว่าจะทำให้ Huawei สามารถเลือกทิศทางของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งานได้เร็วกว่าการไปซื้อของผู้ผลิตรายอื่นมาใช้ เช่น ตอนนี้ Huawei สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรอรับการมาของ 3D XPoint ที่มีความเร็วสูงกว่า NAND ตั้งแต่ 10 – 1,000 เท่าได้แล้ว เป็นต้น

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทาง Huawei เองก็ได้เริ่มมีการพัฒนาชิปสำหรับระบบ Storage ของตนเองอย่าง Huawei OceanStor Dorado V3 ให้รองรับ IOPS ได้สูงถึง 4 ล้าน IOPS พร้อมทั้งมี Latency ที่ต่ำเพียง 0.5 ms เท่านั้น โดยภายในได้มีการปรับปรุงการประมวลผลด้วยกัน 3 ส่วนหลักๆ จนส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานของ SSD เร็วขึ้นถึง 200% ดังนี้

 

1. พัฒนาชิปประมวลผลสำหรับ Storage Protocol โดยเฉพาะ

 

Credit: Huawei

 

ในส่วนของ Host Interface สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ Storage เข้ากับ Server นั้น ทาง Huawei เองก็ต้องทำการพัฒนาชิปของตัวเองเพื่อให้ Storage สามารถเชื่อมต่อไปยัง Server ได้ด้วย Protocol ที่หลากหลาย ซึ่งทาง Huawei นั้นก็ได้ทำการออกแบบเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Huawei SmartIO Card ที่การ์ดเพียงใบเดียวสามารถรองรับการเชื่อมต่อได้ทุก Protocol ดังนี้

  • 10GbE: FCoE/iSCSI/iWARP/CIFS/NFS
  • 8/16Gbps Fibre Channel

การเชื่อมต่อ Protocol เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนการ์ด Host Interface เพียงอย่างใด แค่เลือก Optical Module ที่ต้องการใช้มาติดตั้งก็สามารถใช้งานได้ทันที ทำให้สามารถลดความซับซ้อนในการเดินสายภายใน Data Center ได้ถึง 1/3 และลดความซับซ้อนในการออกแบบการ์ดลงได้ถึง 75% เลยทีเดียว

นอกจากนี้ทาง Huawei ยังได้เน้นถึงจุดเด่นในการรองรับเทคโนโลยี Remote Directory Memory Access (RDMA) ที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง Storage Controller เข้าด้วยกันเอง ว่าจะทำให้ลด Latency ลงไปได้กว่า 60% เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับ TCP/IP บน 10GbE จึงทำให้การเพิ่มขยายระบบแบบ Scale-out นั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

ในขณะเดียวกัน ชิปของ Huawei เองก็ยังถูกพัฒนาให้รองรับการทำ QoS และการทำ TCP Congestion Avoidance ได้ในตัวจากการนำประสบการณ์การพัฒนาชิปสำหรับอุปกรณ์เครือข่ายเข้ามาเสริม ด้วยการนำเทคนิคอย่างเช่นการตรวจสอบ RTT Latency แบบ Real-time, การตรวจสอบ Packet Loss Rate, การทำ ECN และข้อมูลอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายมาใช้ร่วมในการประมวลผล TCP Congestion ก็ทำให้ชิปการประมวลผล Storage Protocol ของ Huawei นี้ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายที่มี Traffic หนาแน่นก็ตาม และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมในการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ 65% – 400%

 

2. พัฒนาชิปเร่งความเร็วการประมวลผล IO

ในยุคของ Flash นี้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่จำเป็นมากต่อระบบ All Flash Storage นั้นก็คือเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลและลดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลลง เพื่อให้อุปกรณ์ Flash หรือ SSD ที่มักมีขนาดเล็กกว่า HDD นั้นยังคงสามารถจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากได้ และสามารถทำงานได้อย่างทนทานยิ่งขึ้นไปพร้อมๆ กัน และแน่นอนว่าหากต้องการให้ระบบ Storage สามารถทำการบีบอัดข้อมูลและลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลนี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องทำการ Offload การประมวลผลเหล่านี้ออกจาก CPU ไปยังชิปประมวลผลเฉพาะทางให้ทำงานแทน

Huawei นั้นได้ทำการพัฒนาชิปเร่งความเร็วการประมวผล IO ในส่วนนี้เพื่อให้การทำ Deduplication, Compression และ Decompression ทำได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยทรัพยากรของ CPU เลย และในการทดสอบ Sequential IO นั้นก็พบว่า CPU สามารถทำงานลดลงได้ถึง 24.6% ในขณะที่ IOPS สูงขึ้นถึง 342.4% และ Latency ในการเข้าถึงข้อมูลนั้นก็ลดลงถึง 77.4% ในขณะที่มีการทำ Compression และ Deduplication ไปด้วย

 

3. พัฒนาชิปสำหรับควบคุมการทำงานของ SSD เอง

 

ตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี SSD จาก Huawei โดยรุ่นนี้เป็น NVMe SSD ในระดับ Enterprise ที่มีความจุสูงถึง 4TB เลยทีเดียว Credit: Huawei

 

สุดท้ายคือการพัฒนาชิปเพื่อควบคุมการทำงานของ SSD ด้วยตนเอง โดย Huawei ได้นำ Cortex-A9 ซึ่งเป็น CPU ตระกูล ARM เข้ามาใช้ เพื่อทำงานร่วมกับ DDR4 RAM และรองรับ Flash Channel ได้มากถึง 18 ช่องด้วยกัน ส่งผลให้ Hardware Flash Translation Layer (FTL) นั้นรองรับประสิทธิภาพได้สูงถึงระดับ 200,000 IOPS นั่นเอง

ความเร็วในระดับนี้เกิดขึ้นได้เพราะ Huawei นั้นเลือกที่จะใช้ Hardware มาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ FTL แทน Software ซึ่งชิปที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้เองก็ได้มีบทบาทตรงนี้ และทำให้ Latency ในการเข้าถึงข้อมูลนั้นลดเหลือเพียงแค่ 40 μs เท่านั้น นับเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 20%

 

Credit: Huawei

 

ผสานรวมเทคโนโลยีทั้งหมดใน Huawei OceanStor Dorado V3 ระบบ All Flash Storage ความเร็วสูงจาก Huawei

 

Credit: Huawei

 

เทคโนโลยีดังกล่าวทั้งหมดนี้ได้ถูกนำมาใช้จริงเป็นส่วนหนึ่งของ Huawei OceanStor Dorado V3 ซึ่งเป็นระบบ Enterprise All Flash Storage ความเร็วสูงจาก Huawei โดยทาง Huawei ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการให้สามารถทำงานร่วมกับชิปต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งทำการ Optimize ในส่วนต่างๆ เพิ่มเติมจนสามารถรับประกันได้ว่า Latency ของระบบนั้นจะไม่เกิน 0.5 ms ซึ่งการผสานรวมเทคโนโลยีตรงนี้เองก็ถูกตั้งชื่อเอาไว้ว่า Huawei FlashLink

นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการของ Huawei OceanStor Dorado V3 ก็ยังได้มีการใช้อัลกอริธึมในการวิเคราะห์ว่าข้อมูลใดมีแนวโน้มจะถูกเรียกไปใช้งานมากน้อยแค่ไหน และทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดโอกาสที่จะต้องย้ายข้อมูลลง และยังสามารถลดปริมาณข้อมูลที่ต้องถูกเขียนลงไปได้ถึง 40% และมี Latency ลดลงไปอีกประมาณ 20% ด้วย

Huawei OceanStor Dorado V3 นี้เป็นระบบ All Flash Storage ที่ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับ Mission Critical Application โดยเฉพาะ และมีทั้งประสิทธิภาพที่สูง, ความทนทานในระดับสูง และยังเสริมเทคโนโลยีในการลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้งานสูงขึ้น และเพิ่มอายุการใช้งานของ SSD ทั้งหมดด้วย

ด้วยประสิทธิภาพระดับ 4 ล้าน IOPS และ Latency ที่ต่ำเพียงระดับ 0.5 Millisecond ของ Huawei OceanStor Dorado V3 นี้ก็ทำให้ถือเป็นระบบ SAN Storage ความเร็วสูงที่รองรับ Business Application ขนาดใหญ่ขององค์กรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบ Database, Virtual Desktop หรือ Virtual Machine ก็สามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำ HyperMetro ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Active-Active ข้ามสาขาระยะไกลโดยไม่ต้องมี Storage Gateway ที่มี Latency เพียง 1 Millisecond เท่านั้น ก็ทำให้ความทนทานของ Huawei OceanStor Dorado V3 นี้มีค่าสูงถึง 99.9999% เลยทีเดียว

ในแง่ของการเพิ่มขยาย Huawei OceanStor Dorado V3 นี้รองรับการทำ Scale-out ได้สูงสุดถึง 16 Controller รวมกัน และมี Cache รวมกันตั้งแต่ 256GB ไปจนถึง 8,192GB โดยรองรับการเชื่อมต่อผ่านทาง Fibre Channel, iSCSI, InfiniBand เพื่อรองรับระบบ Storage Networking ได้ตามความต้องการของ Application ที่หลากหลาย รองรับการสร้าง LUN ได้มากถึง 16,384 LUN เพื่อเชื่อมต่อกับ Host จำนวน 8,192 เครื่อง

 

Credit: Huawei

 

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanStor Dorado V3 ได้ทันทีที่ http://e.huawei.com/topic/dorado-en/index.html

 

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

 

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้าน All Flash Storage และ Big Data Analytics จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่

Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Follow us on : www.twitter.com/huaweiENTth
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand
Website : e.huawei.com/th

 

from:https://www.techtalkthai.com/behind-all-flash-storage-design-by-huawei/

Dell EMC เปิดตัว Isilon รุ่น All-Flash เร็ว 25 ล้าน IOPS ความจุ 92.4PB #DellEMCWorld

All Flash Storage ได้กินส่วนแบ่งตลาดจัดเก็บข้อมูลใน Data Center ไปแล้ว 20% ทั่วโลก และ EMC ก็ประกาศเปิดตัว Dell EMC Isilon All-Flash ภายในงาน Dell EMC World 2016 ( #DellEMCWorld ) เป็นที่เรียบร้อย

dell_emc_isilon_all_flash

หลังจากที่ Dell EMC ได้วิจัยในโครงการ Project Nitro ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรม Blade ขนาด 4U ที่ได้กลายมาเป็น Dell EMC Isilon All-Flash ในตอนนี้ ทาง Dell EMC ก็ได้ประกาศเปิดตัว Dell EMC Isilon All-Flash ออกมาแล้วพร้อมประกาศเปิดตัวระบบปฏิบัติการ OneFS รุ่นใหม่ล่าสุดมาพร้อมกัน โดยมีคุณสมบัติใหม่ๆ ที่น่าสนใจดังนี้

  • มีความเร็วสูงถึง 25 ล้าน IOPS และมี Througput สูงถึง 1.5TBps
  • Chassis ขนาด 4U นั้นมีความจุสูงถึง 96TB และรองรับการเพิ่มขยายเป็น Scale-Out NAS สูงสุดได้ 400 Node ใน 100 Chassis รองรับความจุรวมกัน 92.4PB
  • มีเทคโนโลยี Next Generation Multi-Protocol Access ที่ทำให้ทุกๆ ข้อมูลสามารถูกเขียนอ่านได้พร้อมๆ กันจากผู้ใช้งานหลายๆ คนผ่านหลายโปรโตคอลพร้อมกันได้ ไม่ว่าจะเป็น NFS, SMB, HDFS, Object, NDMP, FTP และอื่นๆ
  • สามารถทำ Storage Tiering ได้ด้วยการทำ SmartPools และ CloudPools
  • มีอัตราการ Utilization สูงถึง 80% และยังประหยัดพื้นที่เพิ่มเติมได้มากกว่านั้นอีก 30% ด้วยเทคโนโลยี Isilon SmartDedupe
  • รองรับการควบคุมความปลอดภัยด้วยการกำหนดสิทธิ์, การแบ่งเขตการเข้าถึงข้อมูล, การกำหนด Write-Once Read Many (WORM), ระบบ File System Auditing, และเข้ารหัสข้อมูล Data-at-Rest ได้ด้วย Self-Encrypting Drive (SED)

Dell EMC Isilon รุ่น All Flash นี้เปิดให้สั่ง Pre-order ได้แล้ววันนี้ และจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในปี 2017 พร้อมกับ OneFS รุ่นใหม่ที่จะเปิดให้ลูกค้าเก่าสามารถอัปเกรดได้ฟรีๆ ด้วย โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.emc.com/en-us/storage/isilon/index.htm นะครับ

ที่มา: http://www.emc.com/about/news/press/2016/20161019-05.htm

from:https://www.techtalkthai.com/dell-emc-announces-isilon-all-flash-with-25m-iops-at-dell-emc-world-2016/

[News] Need For Speed ใหม่ในเวอร์ชั่นพีซี สนับสนุน 4K และปลดล็อคเฟรมเรต

สำหรับใครที่เป็นแฟนเกมแข่งรถที่มีอายุยาวนานมาถึง 22 ปีแล้ว ก็คงตั้งตารอ NFS เวอร์ชั่นใหม่บนพีซีแบบใจจดใจจ่อ หลังจากที่ห่างหายไปจากพีซีสักระยะ และไปเอาใจคอเกมคอนโซลที่ให้ภาพได้สวยงามและคุณภาพระดับสูงมากกว่า ข่าวล่าสุดที่ออกมานั้นนับเป็นเรื่องที่ดีสำหรับคนที่อยากจะเล่นเกมใหม่นี้ ในรูปแบบของ 4K เพราะนอกจากจะได้ความละเอียดเต็มจอภาพสวยๆ แล้ว ยังปลดล็อคเฟรมเรตให้ลื่นขึ้นอีกด้วย

need-for-speed-2015-4k

สำหรับ Need For Speed ถือเป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของการกำหนดค่าตายตัวของเฟรมเรตให้อยู่ที่ 30 เฟรมต่อวินาที ซึ่งก็ทำให้หลายคนรู้สึกผิดหวังนิดๆ เพราะคิดว่าน่าจะมีความยืดหยุ่นมากกว่านี้และอยากได้เฟรมเรตที่ลื่นขึ้นอีก โดยที่ EA ก็ได้ยอมรับในจุดนี้ และในตัวอย่าง PC Reveal ก็ได้มีการโปรโมตและผลักดันให้ออกตัวรีบูตใหม่ และเพิ่มไฮไลต์ในส่วนของความละเอียด 4K และรองรับระบบเสียงคุณภาพสูง รวมถึงปลดล็อคเฟรมเรตสำหรับคอมพิวเตอร์พีซีโดยเฉพาะ

นอกจากนี้ระบบขับเคลื่อนที่เป็นเกีนร์ธรรมดา ยังได้ถูกเพิ่มเข้ามาสำหรับเกมในทุกเวอร์ชั่น แต่ไม่ได้รวมถึงเกมรุ่นเดิมสำหรับต้นฉบับบนเครื่องคอนโซลในช่วงตั้งแต่ พฤศจิกายน 2015 โดยที่ EA ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า ต้องการที่จะเห็นผู้เล่นที่จะสัมผัสประสบการณ์ที่ดีกับภาพที่มีความชัดเจนในเฟรมเรตที่สูงมากขึ้น การปลดล็อคจึงถือเป็นการยืนยันและสนองความต้องการของผู้เล่นบนเครื่องพีซีในปัจจุบันได้อย่างเต็มที่ เอาเป็นว่า ใครที่กำลังรอเกมแข่งรถระดับตำนานนี้บนเครื่องพีซี เก็บเงินซื้อจอรอไว้ได้เลย สนุกมากขึ้นแน่นอน
ที่มา :vortez

from:http://notebookspec.com/need-for-speed-pc-4k-unlock-framerate/335481/

รู้จักกับ IBM Spectrum Scale สุดยอด Software Defined Storage สำหรับการจัดการ Unstructured Data เพื่อ Cloud และ Big Data

dcs_logo-with-text-screen-tr

สำหรับองค์กรที่ต้องการพัฒนา Application ขนาดใหญ่ ที่มีการประมวลผล Unstructured Data ปริมาณมหาศาล และต้องการมองหาทางออกที่จะช่วยให้การนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ต่อยอดได้อย่างยืดหยุ่นเพื่อความคุ้มค่าสูงสุด DCS ขอแนะนำ IBM Spectrum Scale โซลูชั่น Software Defined Storage ที่ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์นี้โดยเฉพาะนั่นเอง

ibm_spectrum_scale_banner

ทำความรู้จักกับ IBM Spectrum Scale

สำหรับ IBM Spectrum Scale นั้นก็คือเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อยอดมาจาก General Parallel File System หรือที่เรียกย่อๆ ว่า GPFS ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชื่อดังที่ได้คว้ารางวัลต่างๆ มามากมายของ IBM นั่นเอง ซึ่งความสามารถของ GPFS นี้ก็คือการเป็น File System ที่รองรับการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่กว่าพันล้าน Petabytes ได้ด้วยประสิทธิภาพในระดับหลายร้อย Gigabyte ต่อวินาที พร้อมให้ Application ต่างๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้หลากหลายทั้งแบบ Native, NFS, SMB, OpenStack Cinder, OpenStack Swift, OpenStack S3 และเชื่อมต่อกับ Apache Hadoop เพื่อนำไปใช้งานประมวลผล Big Data Analytics ได้อีกด้วย

ibm_spectrum_scale_diagram

โดยสรุปแล้ว IBM Spectrum Scale มีความสามารถดังต่อไปนี้

  • ติดตั้งบน Hardware และ OS ได้หลากหลาย
  • รองรับไฟล์สูงสุดได้จำนวน 9 ล้านล้านล้านไฟล์
  • รองรับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสูงสุด 5 แสนล้านล้านล้านล้านล้านไบต์ หรือประมาณ 5 แสนล้านล้านล้าน Petabyte
  • รองรับ Cluster ตั้งแต่ 1 – 16,384 Node
  • สนับสนุน POSIX, GPFS, NFS 4.0, SMB 3.0, OpenStack Cinder, OpenStack Swift, OpenStack S3, Hadoop MapReduce
  • รองรับการเพิ่มประสิทธิภาพถึง 6 เท่าด้วยการติดตั้ง SSD หรือ Flash ที่เครื่อง Client เพื่อทำ Local Cache
  • มีระบบบริหารจัดการที่สามารถจัดการไฟล์จำนวนมหาศาลเหล่านี้ได้ผ่านทาง GUI
  • มีเทคโนโลยี Active File Management (AFM) สำหรับทำ Distributed Disk Caching เพิ่มความเร็วในกรณีที่มีการติดตั้งกระจายหลายสาขา
  • สามารถทำ Tiering เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บข้อมูลได้ รวมถึงการ Tier ลง Tape ก็สามารถทำได้เช่นกัน
  • รองรับการทำ High Availability (HA) และ Disaster Recovery (DR) ได้ในทุกระดับ
  • สามารถเข้ารหัสข้อมูล และลบข้อมูลถาวรได้ด้วยเทคโนโลยีการเข้ารหัส
  • ทำ Policy-driven Compression และ Quality of Service ได้

 

รองรับ Hardware และ Operating System ได้หลากหลาย ตามแนวคิดของ Software Defined Storage

ด้วยความที่ IBM Spectrum Scale นี้เป็น Software Defined Storage จึงทำให้สามารถติดตั้งใช้งานได้บน Hardware และ Operating System ที่มีความหลากหลายได้ดี โดยสำหรับ Hardware ที่รองรับนั้นได้แก่ x86 CPU และ IBM POWER ส่วนระบบปฏิบัติการที่รองรับนั้นได้แก่ IBM AIX, Red Hat, SUSE Linux Enterprise Server, Microsoft Windows Server 2012, Microsoft Windows 7 และ IBM z Systems

 

IBM Spectrum Scale ถูกใช้งานอยู่แล้วทั่วโลก

จากการต่อยอดมาจากหนึ่งในเทคโนโลยีที่ดีที่สุดอันหนึ่งของ IBM ทำให้ IBM Spectrum Scale นั้นเป็นที่นิยมและมีผู้ใช้งานมากมายอยู่แล้วทั่วโลก ดังนี้

  • มี Production Systems หลายพันแห่งทั่วโลก
  • รวมพื้นที่จัดเก็บข้อมูลทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 30PB
  • การใช้งานที่ใหญ่สุดนั้นใช้ Cluster ขนาดมากกว่า 10,000 Nodes ภายในระบบเดียว
  • มีลูกค้าที่มีการใช้งานมากกว่า 10,000 ล้านไฟล์ภายในระบบเดียว

ดังนั้นถ้าหากองค์กรไหนที่กำลังมองหาทางออกในการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาล เพื่อนำไปใช้ประมวลผลต่อได้อย่างยืดหยุ่น หรือพัฒนา Mission Critical Application ก็ตาม IBM Spectrum Scale เองก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่ DCS ขอแนะนำเอาไว้ดังนี้

ibm_spectrum_scale_and_openstack

สำหรับองค์กรใดๆ ที่สนใจเทคโนโลยีทางด้าน Server หรือ Storage จาก IBM และต้องการให้ทีมงาน Datapro เข้าไปนำเสนอและช่วยให้คำปรึกษา หรือ ERP Consulting และ Software Provider รายใดที่ต้องการเป็นพาร์ทเนอร์กับ Datapro ในการให้บริการทางด้าน IT Infrastructure ด้วย IBM ก็สามารถติดต่อทีมงาน DCS ได้ทันทีที่คุณดวงเดือน โทร 02-684-8484

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/dcs-introduce-ibm-spectrum-scale-software-defined-storage-for-unstructured-data/