คลังเก็บป้ายกำกับ: INTERNET_OF_THINGS_SENSOR

ARM เปิดตัว Cortex-A32 CPU สำหรับอุปกรณ์ Wearables และ Internet of Things

ARM เปิดตัว CPU ARMv8-A ที่มีขนาดเล็กที่สุดและพลังประมวลต่ำรุ่นล่าสุด ARM Cortex-A32 โดยรองรับการใช้งานที่ระดับ 32-bit เพื่อมุ่งเน้นการนำไปใช้งานภายในอุปกรณ์ Wearables และ Internet of Things

arm-a32-930x594

ARM Cortex-A32 นี้รองรับการอัพเกรดขึ้นมาจากระบบเดิมที่เคยใช้ Cortex-A5 และ Cortex-A7 โดยมีประสิทธิภาพที่สูงกว่า Cortex-A7 ถึง 25% และใช้พลังงานต่ำกว่า

เหล่าองค์กรเองก็ควรต้องเริ่มศึกษาเทคโนโลยีฝั่ง Internet of Things เอาไว้บ้างแล้วนะครับ เพื่อจะได้ดูว่าจะนำไปประยุกต์กับผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการอะไรภายในองค์กรกันได้บ้าง

arm_Cortex-A32_Block_Diagram

สำหรับใครที่ต้องการรายละเอียดฉบับเต็ม สามารถเข้าไปศึกษาได้ที่ https://www.arm.com/products/processors/cortex-a/cortex-a32-processor.php เลยนะครับ

ที่มา: http://venturebeat.com/2016/02/22/arm-unveils-processor-for-wearables-and-the-internet-of-things/

from:https://www.techtalkthai.com/arm-announced-cortex-a32-cpu-for-wearables-and-iot/

ทีม X-Force ของ IBM ทำ Ethical Hacking เข้าไปยัง Smart Building ได้สำเร็จ

ทีม X-Force Ethical Hacking ของ IBM ได้ทำ Penetration Test ไปยังตึกออฟฟิศต่างๆ ที่มีการใช้เทคโนโลยี Building Automation Systems เพื่อควบคุม Sensor และตัววัดอุณหภูมิต่างๆ และพบว่าถึงแม้จะใช้เทคนิคเก่าๆ ในการโจมตีอย่างการเจาะช่องโหว่ของ Firewall ก็ทำให้ทีมของ IBM เข้าถึงระบบเครือข่ายภายในอาคาร ที่เชื่อมต่อกับระบบควบคุมอาคารได้แล้ว

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

จากนั้นทีมของ IBM ก็เจาะช่องโหว่ Remote Execution ต่อเพื่อเข้าถึงไฟล์ที่จัดเก็บ Password สำหรับควบคุมระบบควบคุมอาคารและการตั้งค่าของระบบควบคุมอาคารได้ แต่ก็พบกับปัญหาว่าไม่สามารถ Login เข้าไปได้เพราะระบบมีการทำ White List เอาไว้เพื่ออนุญาตเฉพาะการ Login จาก IP ภายในนั่นเอง

ทีม IBM จึงต้องขับรถไปที่บริเวณอาคารนั้น และทำการทดลองโจมตีต่อจากที่จอดรถจนสามารถเข้าถึงระบบควบคุมอาคารได้ ซึ่งการที่ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงระบบควบคุมอาคารได้แบบนี้ถือเป็นอันตรายที่ร้ายแรงมาก ทาง IBM จึงได้ทำการแจ้งไปยังผู้ผลิตระบบควบคุมอาคารเหล่านี้ถึงปัญหาที่พบ และผู้ติดตั้งระบบควบคุมอาคารนี้ เพื่อแก้ไขช่องโหว่ต่างๆ เหล่านี้ให้เรียบร้อย

นี่เป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างทางด้านความปลอดภัยของ Internet of Things ที่กำลังจะเติบโตอย่างรวดเร็วเท่านั้น โดย Gartner ได้สำรวจมาว่าปัจจุบันมีอุปกรณ์ในระบบ Smart Building อยู่มากถึง 206 ล้านชิ้น และจะเพิ่มเป็น 648 ล้านชิ้นในปี 2017 ทั่วโลก ซึ่งนับว่าอันตรายมากหากปล่อยเอาไว้ให้ถูกโจมตีได้แบบนี้

IBM แนะนำว่าในโครงการ Smart Building เหล่านี้ควรจะมีส่วนของข้อกำหนดทางด้านความปลอดภัยที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการตัดการเชื่อมต่อจาก Internet ภายนอก, การควบคุมความปลอดภัยในการเข้าถึงจาก VPN, การใช้ Two-factor Authentication, การทำ Audit, การทำ Penetration Test และการทำ Security Assessment เข้าไปด้วย อีกทั้งยังควรทบทวนสัญญาส่วนนี้เพิ่มได้เรื่อยๆ เพื่อให้การรับมือกับภัยคุกคามหรือเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์

ที่มา: http://www.networkworld.com/article/3031247/security/ibms-x-force-team-hacks-into-smart-building.html#tk.rss_all

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-x-force-ethically-hacks-smart-building/

Gartner เผย Internet of Things จะมีบทบาทในกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่เกินกว่าครึ่ง ภายในปี 2020

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

Gartner ได้ออกมาเผยถึงผลการทำนายเกี่ยวกับแนวโน้มทางด้าน Internet of Things (IoT) เอาไว้ดังต่อไปนี้

  • ภายในปี 2020 Internet of Things จะเข้าไปมีบทบาทภายในระบบและกระบวนการทางธุรกิจแบบใหม่ๆ มากกว่าครึ่ง โดยบางส่วนนั้น IoT ก็อาจไม่ใช่ตัวหลักในระบบหรือกระบวนการ แต่ก็ช่วยหนุนเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นได้ด้วยข้อมูล
  • ภายในปี 2018 75% ของโครงการทางด้าน IoT จะใช้เวลายาวนานกว่าที่วางแผนเอาไว้ โดยอาจใช้เวลาเกินไปถึง 2 เท่าจากที่กำหนดไว้ในตอนแรก และส่งผลให้ค่าใช้จ่ายบานปลายกว่าที่คิด เพราะความซับซ้อนของเทคโนโลยีและธุรกิจ รวมถึงการต้องใช้เวลาในการลองผิดลองถูก
  • ภายในปี 2020 ตลาดมืดที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านเหรียญจะเกิดขึ้นจากการขายข้อมูล Sensor และวิดีโอปลอม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำไปใช้ในการก่ออาชญากรรม หรือการปกป้องความเป็นส่วนตัวของบุคคลแต่ละราย
  • ช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัยที่เกิดจาก IoT จะทำให้การลงทุนทางด้านความปลอดภัยเติบโตขึ้น จากเดิมที่มีไม่ถึง 1% จากงบประมาณรวมทางด้านการลงทุนทางความปลอดภัยในปี 2015 กลายเป็น 20% ภายในปี 2020

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3185623

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-prediction-on-internet-of-things-2016-2020/

นักวิจัยผลิต Sensor สำหรับ Internet of Things ที่ใช้พลังงานจากคลื่นวิทยุสำเร็จแล้ว

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

Peter Baltus ศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีไร้สายแห่ง Eindhoven University of Technology ได้ออกมาเผยถึงผลสำเร็จในการสร้างชิป Sensor สำหรับระบบ Internet of Things (IoT) ที่สามารถรับพลังงานจากคลื่นวิทยุที่แผ่ออกมาจาก Wi-Fi Router ได้ทันที โดยชิปตัวอย่างชุดแรกนี้มีขนาดเพียง 2×2 ตารางมิลลิเมตร, หนักเพียง 1.6 มิลลิกรัม และสามารถตรวจวัดอุณหภูมิแวดล้อมได้

การมาของเทคโนโลยีนี้จะช่วยขับเคลื่อนเทคโนโลยี Smart Building เป็นอย่างมาก เพราะสามารถฝัง Sensor เหล่านี้เอาไว้ตามผนังได้ทันที อีกทั้งยังมีราคาที่เพียงชิปละ 20 เซนต์เท่านั้น

แต่อย่าเพิ่งรีบตื่นเต้นกันไป ปัจจุบันงานวิจัยชิ้นนี้ยังมีปัญหาหลักๆ อยู่คือเรื่องของระยะทางระหว่าง Sensor และ Wi-Fi Router ที่ตอนนี้อยู่ห่างกันได้สูงสุดเพียงแค่ 2.5 เซนติเมตรเท่านั้น ทำให้ในการใช้งานจริงนั้นยังแทบจะเป็นไปไม่ได้ แต่ปลายปีนี้ทางทีมวิจัยจะเพิ่มระยะออกไปให้ได้ถึง 1 เมตร และจากการออกแบบปัจจุบันนี้ ในเชิงทฤษฎีสามารถเพิ่มระยะได้ไกลที่สุดถึง 5 เมตรเลยทีเดียว

ที่มา: http://www.theregister.co.uk/2015/12/08/iot_sensor_using_radio_waves/

from:https://www.techtalkthai.com/researchers-successfully-invented-radio-wave-powered-internet-of-things-sensor/

Gartner คาด Smart City จะเชื่อมต่ออุปกรณ์ Internet of Things ถึง 1,600 ล้านชิ้นในปี 2016

Gartner คาดว่าจำนวนอุปกรณ์ Internet of Things ที่ใช้ใน Smart City นั้นจะเติบโตขึ้นถึง 39% จากปี 2015 และมีปริมาณการใช้งานรวมที่ 1,600 ล้านชิ้นในปี 2016 และเติบโตต่อไปเรื่อยๆ จนถึง 3,300 ล้านชิ้นในปี 2018 ทั้งนี้โครงการ Smart Commercial Building จะมีการใช้งานอุปกรณ์ IoT เป็นอันดับหนึ่งในปี 2017 และปี 2018 นั้นจะเป็นปีของ Smart Home ที่ใช้อุปกรณ์ IoT เกินกว่า 1,000 ล้านชิ้น

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

Smart Commercial Buidling หรืออาคารพาณิชย์ที่มีการติดตั้ง Sensor นั้นจะได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยี Internet of Things เป็นอย่างมาก เนื่องจากจะสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาและซ่อมแซมอาคารลงไปได้ถึง 30% สำหรับสถานที่ที่มีขนาดกว้าง ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรม, ห้างสรรพสินค้า, สนามบิน หรือแม้แต่ท่าเรือก็ตาม

ทางด้าน Smart Home หรือบ้านอัจฉริยะนั้น จะแบ่งอุปกรณ์ IoT ออกเป็นสามกลุ่มได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ, อุปกรณ์สำหรับความบันเทิง และเซ็นเซอร์สำหรับติดตั้งภายในบ้าน

สำหรับการใช้งานจริงในปัจจุบันก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจดังนี้

  • ในงานประชุม COP21 ที่กรุงปารีสเกี่ยวกับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมโลก ก็ได้มีการเปิดเผยถึงการเก็บข้อมูลมลภาวะต่างๆ ได้ผ่าน Internet of Things
  • ที่ประเทศสิงคโปร์ก็ได้มีการนำ Internet of Things มาประยุกต์ใช้เข้ากับระบบรถบัส ที่จะช่วยเตือนให้คนขับสามารถรู้ว่าคนที่จะขึ้นรถเป็นใครบ้าง และถ้ามีผู้สูงอายุอยู่ ผู้ขับรถบัสก็อาจจอดรอนานขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น
  • ที่เมืองมะละกาหรือแมดริด ก็มีการติดเซ็นเซอร์ตรวจจับมลภาวะบนรถมอเตอร์ไซค์และรถส่งจดหมาย เพื่อให้ประชาชนรับทราบถึงตัวเลขทางด้านมลภาวะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแหล่งชุมชนเพื่อทำการปรับปรุง และให้บริษัทต่างๆ มองหาโอกาสในการสร้างคุณค่าสู่สังคมได้

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3175418

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-predicted-smart-city-would-use-1600-million-iot-devices-in-2016/