คลังเก็บป้ายกำกับ: INTEL_OPTANE_MEMORY

Review – Intel Optane Memory H10 เมื่อ Option + SSD

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า Intel Optane Memory เป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจด้วยการผนวกเอาหน่วยความจำแบบ SSD มาเป็นแคชช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านเขียนของฮาร์ดดิสค์ให้เร็วมากยิ่งขึ้น ใกล้เคียง SSD ปรกติเลย แต่ได้ความจุแบบในแบบฮาร์ดดิสค์ที่สูงกว่า แต่ด้วยราคาค่าตัว Intel Optane Memory ที่ไม่ได้ต่างจาก SSD ความจุต่ำๆมากนัก เลยทำให้ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร อีกทั้งช่วงแรกการตั้งค่าค่อนค่างยุ่งยาก แต่มายุคหลังตั้งค่าง่าย โน้ตบุ๊คหรือพีซีก็ใช้งานได้สะดวกขึ้น และ Intel เองก็ยังไม่หยุดพัฒนา ด้วยการเปิดตัว Intel Optane Memory H10 ที่ผนวกรวม Intel Optane กับหน่วยความจำแบบ SSD เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งประสิทธิภาพจะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ต้องตามไปชมกัน

Intel Optane Memory H10 จะออกแบบมาให้สามารถใช้งานในโน้ตบุ๊คและพีซีที่เป็น 8th Gen และ 9th Gen บนสล๊อตแบบ M.2 PCIe 3.0×4 หน้าตาเหมือน SSD M.2 แบบ PCIe ทั่วไปแต่ภายในได้ผนวกรวม Intel Optane Memory เข้ากับ SSD Intel QLC 3D NAND โดยมีความจุเริ่มต้นที่ 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND ไปจนถึงตัวท๊อป 32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND โดยการันตีความเร็วการอ่านถึง 2400 MB/s และเขียนที่ 1800 MB/s โดยช่วงแรกจะมาในโน้ตบุ๊คบางแบรนด์ก่อน และว่างจำหน่ายทั่วไปเร็วๆนี้ แล้วมันจะต่างจาก SSD ทั่วไปอย่างไรเดี๋ยวไปดูกันต่อครับ

Intel Optane Memory H10 Specifications

Capacities 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND
32GB Intel Optane Memory + 512GB Intel QLC 3D NAND
​32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND
Form Factor M.2 2280-S3-M
Interface PCIe 3.0×4 with NVMe interface
Performance Sequential R/W: Up to 2400/1800 MB/s
QD1 4KB Random R/W: Up to 32K/30K IOPs
​QD2 4KB Random R/W: Up to 55K/55K IOPs
Latency Read 6.5μs (TYP)
​Write: 18μs (TYP)
Endurance Rating 16GB Intel Optane Memory + 256GB Intel QLC 3D NAND: Up to 75TBW
32GB Intel Optane Memory + 512GB Intel QLC 3D NAND: Up to 150TBW
​32GB Intel Optane Memory + 1TB Intel QLC 3D NAND: Up to 300TBW
Reliability 1.6 million hours Mean Time Between Failure (MTBF)
​1 sector per 10^15 bits read Uncorrectable Bit Error Rate (UBER)
Power 3.3V Supply Rail
​Deep Sleep/L1.2 (PCIe Low Power Link State): <15mW (Combined)
Temperature Operating: 0 to 700°C
Non-Operating: -40 to 850°C
​Temperature monitoring
OS Support Windows 10 64 bit
Supported Platforms 8th Gen and 9th Gen or newer Intel Core processor-based platforms
Weight Less than 10g
Warranty 5-year limited

Intel Optane Memory H10  ที่ทีมงานได้มาทดสอบ ติดตั้งมาในโน้ตบุีครุ่น HP Spectre x360 ที่ใส่มาให้พร้อมทดสอบเลย

หน้าตา  Intel Optane Memory H10 โดยโครงสร้างจะมีการแบ่ง Intel Optane Memory กับ Intel QLC 3D NAND อย่างชัดเจน

หัวใจสำคัญของการใช้งาน Intel Optane Memory คือซอฟแวร์ Intel Rapid Storage Technology ที่ใช้งานไม่ยากครับ ลงปุ๊ปโปรแกรมก็จะเช็คตัวอุปกรณ์เอง ถ้าอุปกรณ์พร้อมก็แค่กด Enable ตัวซอฟแวร์ก็จะจัดการรวมไดร์ฟให้โดยอัตโนมัติ โดยจากเดิมที่ต้องแบ่งเป็นตัว Intel Optane Memory กับตัวฮาร์ดดิสค์หรือ SSD คนละลูก ก็รวมเป็นชิ้นเดียว ประหยัดพื้นที่ แต่ก็ยังสามารถใช้ซอฟแวร์ตัวเดียวในการจัดการ แยก หรือรวมได้เหมือนเดิมครับ

Intel Optane Memory H10 ที่ทีมงานได้มาทดสอบนี้เป็นรุ่นความจุ 512 GB (+ 32GB Intel Optane Memory) มีความจุใช้งานจริงที่ 475 GB

ใน Device Manager จะเป็นเป็น Intel Optane + 477 GB SSD อย่างชัดเจน

ความเร็วการอ่านเขียนของ Intel Optane Memory H10 ออกมาตามสเปคเลยครับ สามารถอ่านได้ที่ 2442 MB/s และเขียนที่ 1210 MB/s เร็วกว่า SSD PCIe ตัวคุ้มที่ขายกันตามท้องตลาดตอนนี้อยู่ประมาณหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะอ่านอยู่ที่ราวๆไม่เกิน 2000 MB/s และยังเร็วกว่า SSD ที่แถมมากับโน้ตบุ๊คบางตัวเสียอีก

Option H10 – 1 Option H10 – 2 Option H10 – 3 SSD 760p – 1 SSD 760p – 2 SSD 760p – 3
Adobe Photoshop CC Launch time (วินาที) 4 3 3 8 3 3
เปิดไฟล์ Sheet Microsoft Excel (วินาที) 5 5 5 9 10 11
โอนไฟล์ 76 GB (วินาที) 6:51 4:03 4:06 2:35 2:45 2:46

แต่ที่โดดเด่นของ Intel Optane Memory H10 คือการใช้งานที่ต้องอ่านเขียนข้อมูลเป็นปริมาณมาก เช่นแต่งไฟล์รูปขนาดใหญ่ โอนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเปิด/ค้นหา Excel ที่มีข้อมูลเยอะๆ จะสามารถทำงานได้เร็วกว่า หรือเทียบเท่า SSD ตัวดีๆอย่าง Intel SSD 760p ที่ทีมงานทดสอบร่วมกันเลย โดยเฉพาะเปิดไฟล์ Excel ที่ทีมงาน intel มีการสร้างไว้ใหญ่ ด้วยไฟล์ขนาดใหญ่ และมีการเข้าสูตรไว้เยอะ เห็นผลความต่างอย่างชัดเจน

แต่ถ้าพูดถึงการเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรมทั่วไป หรือกระทั่งโหลดเกม ไม่ได้รู้สึกต่างกันมากนัก Intel SSD 760p ออกจะเร็วกว่าเล็กน้อยด้วยซ้ำครับ

Intel Optane Memory H10 เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจด้วยการผนวกรวม Intel Optane Memory เข้ากับ Intel QLC 3D NAND เพิ่มเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้มากขึ้นกว่า SSD ทั่วไปอีกขั้น ที่แม้ความเร็วการอ่านเขียนวัดกับ SSD ตัวแรงบางรุ่นอาจจะยังช้ากว่า แต่ถ้ามองถึงภาพรวมการใช้งาน ความเร็วการอ่านระดับ 2,400 MB/s ซึ่งก็ยังเร็วกว่า SSD PCIe NVMe อีกหลายตัวในท้องตลาด  แต่ที่โดดเด่นเลยคือด้วยการเพิ่มหน่วยความจำแคช แยกจากหน่วยความจำหลัก ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการโอนถ่ายไฟล์ขนาดใหญ่ได้เร็วขึ้น เปิดไฟล์ที่มีข้อมูลภายในซับซ้อนจำนวนมากเช่น Excel ที่มีการเข้าสูตรไว้เยอะได้เร็วกว่า เพราะมีพื้นที่พักข้อมูลก่อนใช้งานจริง อีกทั้งเมื่อวัดการใช้งานจริงด้วยหลายๆโปรแกรม แทบไม่ต่างจาก SSD ตัวแรง บางโปรแกรมอาจจะทำงานได้เร็วกว่าด้วยซ้ำไปครับ

Intel Optane Memory H10 เบื่องต้นจะมีติดตั้งในโน้ตบุ๊คก่อนในช่วงแรก และวางจำหน่ายแยกเร็วๆนี้

จุดเด่น

  • อ่านเขียนไฟล์ขนาดใหญ่ หรือเข้าสูตรไว้เยอะได้เร็วกว่า
  • ประสิทธิภาพการใช้งานจริงเทียบชั้น SSD ตัวแรง

ข้อสังเกตุ

  • ยังไม่มีราคาออกมาทำให้ประเมินความคุ้มค่าได้ยาก

from:https://notebookspec.com/review-intel-optane-memory-h10/486286/

Intel เปิดตัว Optane Memory Gen 3 รุ่นใหม่ล่าสุด เร็วแรงขึ้น พร้อมวางขายปี 2019

Optane Memory จาก Intel เป็นหน่วยความจำเสริมที่จะช่วยให้การทำงานของคอมพิวเตอร์เร็วขึ้นซึ่งหน่วยความจำชนิดนี้ก็ได้พัฒนามาต่อเนื่องจนล่าสุดทาง Intel ก็ได้เปิดตัว Optane Memory รุ่นใหม่ที่จะมาทดแทนของเก่าแล้ว 2 รุ่นและเผยโฉมรุ่นใหม่แกะกล่องอีก 1 รุ่นด้วยกัน

Optane Memory ที่เปิดตัวจะมาในรุ่นรหัส M15 โค้ดเนม Carson Beach จะมาแทนที่ Optane Memory M10 อัพเกรดเทคโฯโ,ยี PCIe Gen 3 X2 มาเป็น X4 พอร์ต M.2 2280 ขนาด 16 – 128 GB และ 16GB – 64GB พอร์ต M.2 2242

ต่อไปจะเป็น Optane SSD 815P โค้ดเนม Bombay Beach ซึ่งจะมาแทนที่โมเดล 800P โดยขนาดจะยังคง 58 และ 118 GB เหมือนเดิมรูปแบบพอร์ตจะเป็น PCIe 3×4 โดย Optane Memory ทั้งสองจะเข้ากันได้กับแพลตฟอร์ม Kaby Lake หรือใหม่กว่าและเป็น OS Windows

ส่วนหน่วยความจำรุ่นใหม่แกะกล่องจะใช้ชื่อ Optane Memory H10 ผสมผสานระหว่างชิป NAND และ 3D XPoint มาด้วยขนาดความจุ 16 GB Optane cache + 256 GB QLC NAND และ 32 GB cache + 512 GB / 1 TB QLC NAND พอร์ต PCIe 3 x2+x2 โดยจะต้องการแพลตฟอร์ม Whiskey Lake หรือ Coffee Lake ถึงจะใช้งานร่วมกันได้

หน่วยความจำเสริม M15 และ 815P ยังไม่มีกำหนดวางจำหน่ายแต่รุ่น H10 จะเริ่มวางจำหน่ายในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2019

ที่มา: Notebookcheck , anandtech

from:https://notebookspec.com/intel-intro-optame-memory-new-generation-coming-in-2019/468547/

CES 2019 – มันต้องแบบนี้ !!! Intel Optane Storage SSD ที่รวม Optane Memory + SSD 1TB ในตัวเร็วจี๊ด

ไม่ต้องพูดพร่ำทำเพลงกันมาก Intel ประเดิมโมเดลที่เป็นโมดูล SSD รุ่นใหม่ในงาน CES 2019 ได้อย่างสวยหรูกับ Intel Optane Storage ซึ่งรวมเอา Intel Optane Memory และ SSD ที่เป็น QLC มาวางไว้ในโมดูลเดียวกัน กลายเป็น Intel’s Optane Memory H10 มีความจุให้เลือกถึง 1TB เลยทีเดียว

โดยภาพที่ปรากฏในงาน CES นี้ แสดงให้เห็นถึงโมดูล H10 ที่เป็น Intel Optane Storage ที่มีทั้ง Optane Memory และ NAND Flash ที่เป็นแบบ 3D NAND QLC มาในตัว ในรูปแบบของ M.2 form factor กลายเป็นว่าผู้ใช้ จะสามารถรีดประสิทธิภาพในการเรียกใช้ เก็บข้อมูลและโอนถ่ายอย่างรวดเร็วได้เลย ซึ่งเวลานี้มีให้เลือก 3 โมเดลด้วยกันคือ

  • 16GB (Optane) + 256GB (QLC)
  • 32GB (Optane) +512GB (QLC)
  • 32GB (Optane) + 1TB (QLC).

ซึ่งทาง Intel คาดหมายว่าจะทำให้ระบบโดยรวมของพีซีหรือโน้ตบุ๊กดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการบูตเครื่องหรือเรียกโปรแกรมใช้งานก็ตาม แต่ก็มีบางความเห็นที่มองว่าไดรฟ์นี้ เดิมที่จะแยกเป็น 2 ระบบ ที่ใช้งานต่างกัน เพียงแต่เมื่อติดตั้งเข้าไปแล้วลงไดรเวอร์ Intel Optane Memory และ Intel Rapid Storage Technology ระบบก็จะทำการรวมทั้งสองไดรฟ์เข้าด้วยกัน ให้กลายเป็นเหมือน Storage ตัวเดียว

ซึ่งต่อไปหากผู้ใช้ที่กำลังจะเปลี่ยนจากระบบเดิมที่ใช้ HDD ก็อาจจะเลือก Intel Optane Storage เข้าไปแทนสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการและบูต แล้วเปลี่ยน HDD มาใช้สำหรับการเก็บข้อมูลแทนเท่านั้น โดยคาดว่าจะไตรมาสที่ 2 ของปีน่าจะได้สัมผัสกัน

ที่มา: Intel Optane Storage, Optane Memory H10

from:https://notebookspec.com/intels-drive-combines-optane-storage/468061/

Review – HP Pavilion x360 โน้ตบุ๊ค 2-in-1 น้องเล็ก ดีไซน์หรู แถมปากกา สเปค i5 + MX130 พร้อม Intel Optane ในตัว

หากใครที่ติดตามโน้ตบุ๊คแบรนด์ HP กันมาจะเห็นได้ว่าช่วงหลังๆ มานี้ทางแบดรน์จะเน้นในเรื่องของการดีไซน์มากขึ้น เพื่อให้เข้ากับกลุ่มวัยรุ่นวัยทำงานหรือนัก Creator ทั้งหลายที่นอกจากจะสเปคต้องได้แล้วดีไซน์ตัวเครื่องต้องได้ด้วย ซึ่ง HP ก็เน้นในจุดๆ นี้มาตลอด โดย HP Pavilion x360 ปี 2018 นี้ ถือเป็น 2-in-1 หน้าจอสัมผัสรองรับปากกา ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติและการใช้งานเหนือกว่าโน้ตบุ๊คปกติที่สามารถพับได้ 360 องศาใช้งานในหลากหลายตามใจต้องการ

โดย HP Pavilion x360 ปลายปี 2018 รุ่นใหม่นี้ จะมาพร้อมกับขนาดหน้าจอกระจก 14 นิ้ว แต่ตัวเครื่องเทียบเท่าโน้ตบุ๊คขนาดหน้าจอ 13.3 นิ้วเท่านั้น จากการที่ดีไซน์ให้ขอบหน้าจอบางลง การแสดงผลที่ความละเอียด Full HD พาเนล IPS ที่ดูแล้วสวยสมจริงสุดๆ เพิ่มเติมกว่ารุ่นกลางปีคือมี Intel Optane Memory มาให้ มีเลือกด้วยกัน 2 สเปค i5 ราคา 24,900 และ i7 ราคา 27,900 บาท โดยรุ่นที่ทีมงานได้มารีวิวจะเป็นตัว i5 ประสิทธิภาพการทำงานจะเป็นไงบ้างไปดูกันครับ

from:https://notebookspec.com/review-hp-pavilion-x360-i5-optane/466700/

Review – ASUS X407UF โน้ตบุ๊ตสายคุ้ม มีการ์ดจอแยก พร้อมเสริม Intel Optane เพียง 18,900 บาท

ในช่วงปลายปี 2018 นี้ จะเห็นได้ว่าโน้ตบุ๊ครุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะราคาถูกหรือแพงมักจะมากับเทรนด์ขอบจอบาง ซึ่งเป็นการทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง และมีน้ำหนักเบาลงด้วย พกพาไปไหนมาไหนก็สะดวกขึ้น เรียกได้ว่าต่อไปในอนาคตจะเป็นโน้ตบุ๊คทุกรุ่นในปีถัดๆ ไปจะเลือกใช้ขอบจอบางกันหมดทุกรุ่นก็ว่าได้ โดยสำหรับแบรนด์ ASUS เองก็มีทั้งตัวที่เป็น ROG, ROG Strix, VivoBook และ ZenBook ที่เลือกใช้ขอบจอบางกันหมดแล้ว คราวนี้มาดูตระกูลน้องเล็กสุดกันบ้างกับซีรีส์ X กับตัว ASUS X407UF รุ่นใหม่ล่าสุด

สเปคเบื้องต้นของ ASUS X407UF ที่ทีมงาน NBS ได้มานั้นจะใช้ CPU เป็น Intel Core i5-8250U + MX130 และที่สำคัญเลยคือตัวเครื่องพร้อมกับ Intel Optane  16 GB ทำให้มีประสิทธิภาพใช้ได้งานดีขึ้นแบบรู้สึกได้ ส่วนรีวิวข้างในจะเป็นอย่างไรไปดูด้านล่างกันได้เลยครับ

 

from:https://notebookspec.com/review-asus-x407uf/457548/

Intel – เปิดตัว Intel Optane SSD 905p ที่มาพร้อมกับความจุมากถึง 1.5 TB ทุบสถิติ Intel Optane ที่มีความจุมากที่สุดไปแล้ว

มาช่วงที่ผ่านมาทาง Intel ได้นำเสนอหน่วยความจำที่จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ของเราทำงานได้เร็วขึ้นอย่าง Intel Optane ที่จะมาทำงานร่วมกับ HDD ของเรา วันนี้เราจะพาไปดูรุ่นที่ทำงานเป็นหลักเหมือนกับ SSD ทั่วไปบ้าง โดยรุ่นที่เราจะพาไปดูนี้เป็นรุ่นที่มีความจุสูงที่สุดตั้งแต่ Intel เคยทำมา ส่วนจะเป็นอย่างไรไปชมกัน

Intel เปิดตัว Intel Optane SSD 905p จำนวนสองรุ่นด้วยกัน โดยรุ่นแรกเป็นรุ่นที่มาพร้อมกับความจุมากถึง 1.5 TB แบบ PCI-Express ส่วนความเร็วที่ทดสอบได้จะอยู่ที่ประมาณ sequential read มากสุดที่่ 2600 MB/s และ sequential write มากสุดที่ 2200 MB/s และ Random Read เรทที่ 575,000 IOPs และ random Write ที่่ 555,000 IOPs โดยกินไฟที่ 6W โหมด idle และกินไฟสูงสุดที่ 16.4W ส่วนราคาอยู่ที่ $1299 หรือประมาณ 42,000 บาท (iPhone Xs Max เครื่องนึง) ส่วนการออกแบบในภาพรวมจะคล้ายกับรุ่นก่อน Intel Optane SSD 900p แต่จะเพิ่มกับไฟ LED ด้านข้างเข้ามา

ตัวถัดมาเป็นรุ่น Intel Optane SSD 905 480GB ขนาด 2.5 นิ้ว ที่ใช้การเชื่อมต่อแบบ U.2 PCIe 3.0 x4 โดยมีความแรงที่ได้ ไม่มีความต่างกับรุ่น 1.5 TB และได้สเปคเดียวกัน แต่กินไฟน้อยกว่า โดยกินไฟที่ 3.3W  โหมด idle และกินไฟสูงสุดที่ 12.8W ส่วนราคาอยู่ที่ $599 หรือประมาณ 20,000 บาท สำหรับรุ่น 480 GB ถูกออกแบบมาให้เป็นรุ่นที่จับต้องได้ง่ายกว่า และการออกแบบดีไซน์ภายนอกใช้เป็น ฟินระบายความร้อน รอบๆ ตัวเครื่องอีกด้วย

สิ่งที่ทั้งสองรุ่นมีเหมือนกันคือ ใช้ custom Intel NVMe controller/รุ่นพิเศษ ส่วน memory ใช้ Intel 3D XPoint solutions แบบใหม่ ทำให้ได้ความจุ และ ความเร็วที่เพิ่มขึ้น เรียกได้ว่าแรงทุละโลกกันเลยทีเดียว

ที่มา wccftech

from:https://notebookspec.com/intel-launches-the-1-5-tb-optane-ssd-905p-the-highest-capacity-optane-drive-yet/456576/

ทดสอบ – Intel Optane Memory บน HDD และ SSD บนโน้ตบุ๊คจะแรงจริงไหม

หลังจากทีมงานเคยเขียนถึงปัญหาการใช้งาน Intel Optane Memory ไปเมื่อเดือนก่อน ก็มีหลายๆท่านเข้ามาคอมเมนท์กันว่า ปัจจุบัน Intel Optane Memory สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้นสะดวกขึ้น และยังสามารถใช้ร่วมกับ SSD ได้ด้วย ทีมงานก็เลยไปลองหามาทดสอบหน่อยว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยจะเป็นการทดสอบบนโน้ตบุ๊คซึ่งจะต่างจากเดิมที่ทดสอบบนพีซี มาลองดูกันว่าการทดสอบจะเป็นอย่างไรบ้าง

จากการที่ทีมงานไปอ่านวิธีการเซตอัพ และคอมเมนท์การใช้งานจากเพจต่างๆ เลยได้ข้อสรุปการแนะนำวิธีการเซ็ตอัพเบื่องต้นได้ประมาณนี้

  1. โน้ตบุ๊คหรือพีซีต้องมีพอร์ต PCIe แบบเดียวกับที่ใช้กับ SSD nVME นะละครับ พร้อมพอร์ต SATA III
  2. โน้ตบุ๊คที่รองรับจะเป็น Intel Gen 7 ขึ้นไป ส่วนใหญjสามารถใช้งานได้
  3. แนะนำว่าอัพเดท BIOS เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดก่อน
  4. โหลดไดร์ฟเวอร์ Intel Rapid Storage Technology เพราะจะเป็นซอฟแวร์ที่เป็นตัวจัดการหลัก
  5. ฮาร์ดดิสค์ หรือ SSD แบบ 2.5 นิ้ว สามารถใช้ได้เกือบหมด
  6. Intel Optane Memory มีทั้งแบบ 16GB และ 32 GB แต่ส่วนตัวแนะนำ 16 GB ก็พอ ถูกกว่าและไม่ต่างกันมาก

โน้ตบุ๊คที่ทีมงานใช้ทดสอบเป็น ASUS FX503 รุ่นที่เป็นฮาร์ดดิสค์ธรรมดาที่ทำงานช้ามากๆ พร้อม Windows 10 และสเปคอื่นๆตามนี้เลย

นอกจากการอัพเดท BIOS แล้ว หัวใจสำคัญของการใช้งาน Intel Optane Memory คือซอฟแวร์ Intel Rapid Storage Technology ที่ใช้งานไม่ยากครับ ลงปุ๊ปโปรแกรมก็จะเช็คตัวอุปกรณ์เอง ถ้าอุปกรณ์พร้อมก็แค่กด Enable ตัวซอฟแวร์ก็จะจัดการรวมไดร์ฟให้โดยอัตโนมัติ จากนั้นรีสตาร์ทอีกครั้งก็พร้อมใช้งานแล้วครับ

แต่ถ้าเราไม่ลองซอฟแวร์นี้ตัว Intel Optane Memory ก็จะเป็นเหมือนไดร์ฟขนาด 16 GB เท่านั้นเอง

ทดสอบกับฮาร์ดดิสค์ (HDD)

หลังจากการติดตั้งครั้งแรกจะเห็นเป็น 2 อุปกรณ์ชัดเจน ฮาร์ดดิสค์ และตัว Intel Optane Memory และเมื่อเช็คด้วยโปรแกรม Intel Rapid Storage Technology จะเห็นเป็น 2 ลูก และเมื่อ Enable แล้วจะใช้เวลาสักพัก รีสตาร์ทเครื่อง โปรแกรมจะโชว์รวมเป็นลูกเดียวเลย

HDD Test

ทดสอบการใช้งานบนฮาร์ดดิสค์อย่างเดียว ต้องบอกเลยว่าช้ามาก เปิดเครื่องทีก็ใช้เวลาเป็น 3-5 นาที เลยทีเดียว ความเร็วการอ่านเขียนช้ามากๆ

HDD + Intel Optane Test

แต่เมื่อใช้งานฮาร์ดดิสค์พร้อม Intel Optane Memory ความรู้สึกจากการใช้งานเบื่องต้นถือว่าเร็วขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด ตั้งแต่เปิดเครื่องที่ใช้เวลาแค่เพียงนาทีนิดๆ เปิดโปรแกรมต่างๆไวขึ้น แต่อาจจะมีช้าบางหากเปิดโปรแกรมครั้งแรกหรือไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ ส่วนการทดสอบผ่านโปรแกรม HD Tune เร็วขึ้นนิดนึงแต่ก็แทบไม่ต่างกัน น่าจะมาจากโปรแกรมที่ไม่รองรับ แต่เมื่อทดสอบด้วยโปรแกรม CrystalDiskMark ให้ผลทดสอบที่เร็วขึ้นกว่าเดิมมาก โดยเฉพาะความเร็วในการอ่านข้อมูลที่เทียบชั้น nVME ราคาประหยัดบางตัวเลยทีเดียว ส่วนความเร็วในการเขียนข้อมูลนั้นเร็วขึ้น แต่ก็ยังช้ากว่า SSD แบบ SATA III เสียด้วยซ้ำ

….

ทดสอบกับโซลิดสเตตไดรฟ์ (SSD)

ตอนแรกก็ไม่มั่นใจว่า SSD จะใช้กับ Intel Optane Memory แต่เมื่อติดตั้งแล้ว ทดสอบเปิดในโปรแกรม Intel Rapid Storage Technology ก็สามารถใช้งานได้เหมือนของ SSD เลย

หลังจาก Enable แล้ว ใน Device Manager จะโชว์ไดร์ฟรวมเลยเป็น Intel Optane + 489GBSSD ซึ่งเป็น SSD ความจุ 525GB ที่ทีมงานทดสอบร่วมกัน

SSD Test

SSD ที่ทีมงานทดสอบก่อนจัดว่าเร็วแรงตามมาตรฐาน SSD SATA III อ่านเขียนอยู่ที่ราวๆ 500 MB/s เปิดเครื่อง เปิดโปรแกรมต่างๆได้ไวตามาตรฐาน เป็น SSD ที่เมื่อก่อนผมใช้ประจำเลย

SSD + Intel Optane Test

แต่เมื่อนำ SSD มาทดสอบร่วมกับ Intel Optane Memory ความเร็วในการอ่านข้อมูลเร็วขึ้นเกือบเท่าตัว แต่ความเร็วการเขียนข้อมูลตกลงจนแทบไม่ต่างจากแบบฮาร์ดดิสค์ เหลือความเร็วการเขียนแค่ 179 MB/s เท่านั้น และจากการใช้งานเปิดเครื่อง เปิดโปรแกรมเร็วขึ้นเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึกต่างจากการใช้งาน SSD ลูกเดียว แต่หากทดสอบการเซฟไฟล์ใหญ่หรือเปิดโปรแกรมไฟล์ขนาดใหญ่กลับช้าลงกว่าใช้งาน SSD ลูกเดียว

สรุปสั้นๆเลยถ้าท่านต้องการใช้งานฮาร์ดดิสค์เป็นหลักเพื่อความจุสูง แต่อยากได้อ่านเขียนข้อมูลไวขึ้นแต่ก็ไม่อยากเปลี่ยน SSD ใหม่ หรืองบประมาณจำกัด (และเมนบอร์ดท่านรองรับ) Intel Optane Memory ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจด้วยเงินเพียงพันนิดๆก็ช่วยท่านได้แล้ว

แต่ถ้าท่านใช้งาน SSD SATA อยู่แล้ว Intel Optane Memory คงไม่เหมาะเท่าไร อ่านข้อมูลได้เร็วขึ้น แต่กลับทำให้ความเร็วในการเขียนข้อมูลตกลง ใช้งานได้ แต่ไม่เหมาะให้ใช้งานร่วมกันเท่าไร ผมแนะนำถ้าเป็นพีซีซื้อฮาร์ดดิสค์มาต่อเพิ่มดีกว่า แต่ถ้าเป็นโน้ตบุ๊ค ซื้อ SSD PCIe M.2 ความจุสัก 128GB สำหรับ Windows และย้าย SSD SATA ไว้เก็บข้อมูลคุ้มกว่า

**ข้อความระวัง

ถ้าท่านเลิกใช้งาน Intel Optane Memory หรือต้องการถอดฮาร์ดดิสค์ที่ใช้งานกับ Intel Optane Memory ไปใช้งานข้างนอก ต้องเข้าไปปิด Disable ในโปรแกรม Intel Rapid Storage Technology ก่อน เพื่อให้โปรแกรมแยกไดร์ฟออกมา ไม่เช่นนั้นอาจจะเข้าไปดึงข้อมูลในฮาร์ดดิสค์ไม่ได้เลย

from:https://notebookspec.com/test-intel-optane-memory-on-hdd-and-ssd-on-notebook/452541/

Review – Acer Aspire 5 ปี 2018 มาพร้อม Intel Optane สเปค i5 + MX150 เพียง 19,900 บาท

หากใครกำลังมองหาโน้ตบุ๊คดีไซน์เด่น เน้นความคุ้มค่า คงต้องยกให้แบรนด์ Acer ณ เวลานี้ เพราะ นอกจากตัวซีรีส์ Nitro ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ยังอีกซีรีส์ที่เน้นเรื่องความคุ้มค่าราคาประหยัดอีกเช่นกันซีรีส์ Aspire โดยครานี้มาพร้อมกับรุ่น Acer Aspire 5 ซึ่งปี 2018 นี้ใช้ดีไซน์แบบเดิม เพิ่มเติมคือสเปคใหม่ แถมมาพร้อมกับ Intel Optane Memory อีกด้วย โดยรุ่นที่ทีมงาน NBS ได้มารีวิวมีชื่อรุ่นเต็มๆ ว่า Acer Aspire 5 A515-51G 505G

เบื้องต้นตัวเครื่องติดตั้ง CPU ตัวประหยัดพลังงานเป็น Intel Core i5-8250U รุ่นล่าสุด พร้อมการ์ดจอแยกอย่าง NVIDIA GeForce MX150 (2GB GDDR5) + Ram 4 GB DDR4  + Intel Optane Memory 16 GB สนนราคาอยู่ที่ 19,900 บาท ส่วนรีวิวข้างในจะเป็นอย่างไรบ้างไปดูพร้อมกันเลยด้านล่างได้เลยครับ

from:https://notebookspec.com/review-acer-aspire-5-intel-optane-a515-51g-505g/446311/

Lenovo – Legion Y530 โน้ตบุ๊คเล่นเกมดีไซน์ล้ำจอบางเฉียบ แรงด้วย Core i7-8750 + GTX 1050Ti และ Intel Optane

โน้ตบุ๊คเล่นเกมโดยเฉพาะ หรือ Gaming Notebook นั้นมีมาให้เลือกซื้อกันมากมายหลากหลายจริงๆ ซึ่งจะไปว่าแล้ว แต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์ก็มีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันออกไป แน่นอนว่าทาง Lenovo ก็มีการนำเสนอสิ่งใหม่อยู่ตลอด อย่างล่าสุดก็จะเป็นการมาของ Lenovo Legion Y530 ที่เป็น Gaming Notebook ดีไซน์อนาคต โดดเด่นด้วยขอบจอที่บางและน้ำหนักเครื่องที่เบา รวมไปถึงตัวสเปกเองก็แรงชิปประมวลผล Intel Core i Gen 8 อย่าง Core i5-8300H ที่ทำงานแบบ 4 คอร์ 8 เธร์ด หรือจะเลือกเป็นตัวที่แรงกว่าด้วย Core i7-8750H ที่ทำงานแบบ 6 คอร์ 12 เธร์ดก็ได้

* ประกัน 2 ปี On-site Service ซ่อมฟรีถึงบ้าน

 

ส่วนการ์ดจอเองก็เป็นรุ่นยอดนิยมที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพรองรับการเล่นเกมได้ลื่นไหลอย่าง NVIDIA GeForce GTX 1050 และ GTX 1050Ti ทำให้การเล่นเกมกราฟิก 3 มิติ ทำได้อย่างยอดเยี่ยมให้ประสบการณ์ใช้งานที่ดีกว่าโน้ตบุ๊คยุคก่อนๆ อีกทั้งด้วยหน่วยความจำแบบใหม่  Intel Optane Memory ซึ่งประสานให้ฮาร์ดดิสก์ปกติทั้งลูก ทำงานได้เร็วขึ้นใกล้เคียงกับ SSD แท้ๆ ช่วยให้การทำงาน หรือความบันเทิงไม่สะดุด และที่แน่ๆ เปิดใช้งาน Windows 10 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่เล่นเกมได้ดีที่สุดในปัจจบัน หรือโปรแกรมอื่นๆ ได้รวดเร็วขึ้นอีกด้วย

โดย Lenovo Legion Y530 พัฒนาต่อยอดมาจาก Lenovo Legion Y520 อีกหนึ่ง Gaming Notebook ประจำปี 2017 – 2018 มาพร้อมกับหน้าจอขนาด 15.6″ ความละเอียดเป็น Full HD 1920 x 1080 พิกเซล พาเนลเป็น IPS คุณภาพให้สีสันสวยงาม เหมาะสมที่สุดสำหรับการเล่นเกมและความบันเทิงอื่นๆ ที่สำคัญยังมีดีไซน์ขอบจอที่บางเฉียบล้ำยุคกว่าโน้ตบุ๊คทั่วไป ส่งผลให้ดีไซน์รวมๆ ของตัวเครื่องมีมิติที่เล็กกระชับลงด้วย ด้วยความบางเพียง 24 มิลลิเมตร น้ำหนัก 2.3 กิโลกรัม ซึ่งเป็นจุดที่สมดุลทั้งในแง่ของประสิทธิภาพในการเล่นเกม และความสามารถในการพกพาได้อย่างลงตัว อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนใน Gaming Notebook ราคาระดับ 2x,xxx บาท

สำหรับ Lenovo Legion Y530 มาในราคาที่คุ้มค่า ในสเปคที่สดใหม่ล่าสุดสำหรับคอเกม ทำให้การออกแบบและดีไซน์ตัวเครื่องไม่ว่าจะเป็นสีสันที่เป็นตัวเครื่องเลือกที่จะให้มีความเรียบง่าย แตกจาก Gaming Notebook แบรนด์อื่นๆ ที่เน้นสีสันแดงดำเท่านั้น อย่างไรก็ตามความร้อนคือปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการเล่นเกมโดยตรง แต่ตัวของ Lenovo Legion Y530 ก็ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี ด้วยการออกแบบให้มีชุดระบายอากาศ 2 ชุด แยกกันระหว่าง CPU และ GPU ทำงานร่วมกับช่องระบายความร้อนถึง 4 ช่อง และพัดลมที่มีใบพัดถึงกว่า 70 ใบ ในแต่ละชุด เพื่อระบายความร้อนออกสู่ภายนอกให้เร็วที่สุด ขณะเดียวกันไม่ทำให้เกิดเสียงรบกวนที่ดังเกินไปอีกด้วย โดยยังให้ประสิทธิภาพได้ดีมากอยู่

Lenovo Legion Y530 วัสดุที่ใช้ในการประกอบตัวเครื่องนั้นจะเป็นพลาสติกทั้งหมด ซึ่งเลือกใช้พลาสติกเกรดสูงที่ให้สัมผัสที่ดีอีกทั้งยังทนทานไม่เป็นรอยง่ายๆ งานประกอบรวมก็มีคุณภาพมาตรฐาน สำหรับฝาหลังให้ความรู้สึกถึงพื้นผิวที่ไม่เรียบพร้อมไฟ LED ที่ขาวบริเวณโลโก้ Legion  ด้านในส่วนของคีย์บอร์ดมีไฟ Backlit สีขาวสวยงามใช้ได้จริง ทั้งยังตอบสนองการกดได้อย่างรวดเร็วด้วยการออกแบบให้มีระยะกดปุ่มเพียง 1.7 มิลลิเมตร เพื่อส่งมอบประสบการณ์การเล่นเกมที่สะดวกสบายกว่าที่เคย และทัชแพดให้ความรู้สึกกการใช้งานที่ดีมีความทนทานรวมไปถึงทำความสะอาดได้ง่าย

เจาะลึกหน้าจอ Lenovo Legion Y530 เป็นแบบด้านที่ลดแสงสะท้อนขนาด 15.6″ บนความละเอียดในระดับ Full HD หรือ 1920 x 1080 พิกเซล ที่สำคัญพาเนลยังเป็น IPS คุณภาพสูง ให้การแสดงผลที่สมจริงแบบสุดๆ มุมมองกว้างที่ 178 องศา ทำให้สีสันค่อนข้างตรงความสว่าง 300 nits ให้ประสบการณ์ใช้งานระดับที่น่าประทับใจ ทั้งการเล่นเกม ดูหนัง หรือชมวีดีโอจาก Youtube ก็สามารถมอบประสบการณ์ความบันเทิงให้อย่างดี จากความเรียบเนียนของพิกเซลและพื้นที่ในการใช้งานที่เหนือกว่า 1366 x 768 พิกเซลเดิมๆ หรือพวกที่เป็นพาเนล TN ทั่วไปมาก 

จุดเด่นด้านเสียง คือ ระบบและการออกแบบลำโพงที่เป็นจุดเด่นอย่างแท้จริง ด้วยลำโพงขนาดใหญ่แยกซ้ายขวาที่ติดตั้งบริเวณขอบตัวเครื่องด้านบนจำนวน 2 ตัว โดยใช้ระบบเสียง Harman ซึ่งได้คุณภาพเสียงที่ดี พร้อมระบบเสียง Dolby Audio Premium ที่จะเข้ามาเสริมพลังเสียงให้หนักแน่น เต็มอิ่ม ให้ประสบการณ์ระบบเสียงรอบทิศทางใกล้เคียงลำโพงจริงๆ ช่วยเพิ่มพลังเสียงเบส และระดับเสียงในทุกย่านให้ชัดเจน และดังเพียงพอสำหรับการแบ่งปันประสบการณ์ความบันเทิงให้กับคนรอบข้าง

นอกเหนือจากนั้นด้วยการมาของ Intel Optane Memory ยังช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของ Lenovo Legion Y530 ให้โดดเด่นยิ่งกว่าการใช้เพียงฮาร์ดดิสก์ปกติอย่าง ด้วยแนวคิดง่ายๆ ที่จะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์ก็ทำงานได้รวดเร็วเฉกเช่นเดียวกับ SSD ด้วยหน่วยความจำแบบชิปขนาดเล็กที่เชื่อมต่อผ่านพอร์ต PCIe ตัวเดียวกับที่ติดตั้ง M.2 SSD นั่นละครับ โดย Intel Optane Memory จะเป็นเหมือนหน่วยความจำแคช ช่วยให้ฮาร์ดดิสก็อ่านเขียนได้ไวขึ้น ลดช่องว่างข้อจำกัดของฮาร์ดดิสก์ไปได้นั่นเอง

Lenovo Legion Y530 มาพร้อมการเชื่อมต่อที่ครบครัน ช่วยให้เราใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมีการแยกติดตั้งไปทางด้านหลังของตัวเครื่อง ลดความหนาแน่นของด้านซ้ายและขวาไปอย่างลงตัว (ซ้ายขวายังมีช่อง USB 3.0, ช่องต่อหูฟังขนาดมาตรฐาน 3.5 มิลลิเมตรอยู่) และเหมาะสมกับการใช้งานแบบสุดๆ ซึ่งพอร์ตเชื่อมต่อที่มีมาให้ก็ถือว่าให้มามากว่า Gaming Notebook แบรนด์อื่น ได้แก่

  • USB Type-C port
  • Mini DP port
  • USB 3.0 port
  • HDMI port
  • RJ-45 port
  • AC adaptor port
  • Kensington Lock slot

เชื่อได้ว่าเพื่อนๆ หลายๆ คนคงมองหา Gaming Notebook ในช่วงราคา 2x,xxx – 3x,xxx บาทกันอยู่อย่างแน่นอน จากการมาของสเปกใหม่ล่าสุดอย่างชิปประมวลผล Intel Core i Gen 8 ตระกูล H ที่เน้นประสิทธิภาพที่ได้มีการจับคู่ควงแขนมากับชิปกราฟิก NVIDIA GeForce GTX 1050 และ GTX 1050Ti ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นสเปกยอดนิยมที่ Gaming Notebook ช่วงราคาคุ้มค่าเต็มใจนำเสนอกัน

สำหรับ Lenovo Legion Y530 นั้นถือว่าเป็น Gaming Notebook ที่มาพร้อมระบบปฏิบัติการ Windows 10 ที่มีคุ้มค่าคุ้มราคามาก ทั้งในส่วนของสเปกและดีไซน์ที่สดใหม่ไม่ซ้ำใคร รวมถึงมีระบบระบายความร้อนที่ดียิ่งขึ้นสมกับที่เป็นโน้ตบุ๊คเพื่อการเล่นเกม อีกทั้งสเปกเองก็เป็นมาตรฐานที่เน้นความแรงในราคาไม่แพง ที่สำคัญด้วย Intel Optane Memory ทำให้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ไม่ควรมองข้ามกันเลยทีเดียว ส่วนโลโก้ใหม่ของ Legion by Lenovo นั้นก็มีความโดดเด่นและดุดันกว่าเดิม ในสไตล์ที่ยังเป็น Gaming Notebook หรือ Gaming Desktop PC ที่ทรงประสิทธิภาพอยู่

       

from:https://notebookspec.com/introduce-lenovo-legion-y530-gaming-notebook-with-intel-optane-2018/445452/

Intel Optane Memory ความผิดพลาดที่โยนให้ผู้ผลิต

เป็นเวลาปีกว่าแล้วที่ Intel เปิดตัว Intel Optane Memory สู่ท้องตลาดด้วยแนวคิดง่ายๆที่จะช่วยให้ฮาร์ดดิสค์ทำงานได้รวดเร็วเฉกเช่นเดียวกับ SSD ด้วยหน่วยความจำแบบชิปขนาดเล็กที่เชื่อมต่อผ่านพอร์ต PCIe ตัวเดียวกับที่ติดตั้ง M.2 SSD นั่นละครับ โดย Intel Optane Memory จะเป็นเหมือนหน่วยความจำแคช ช่วยให้ฮาร์ดดิสค์อ่านเขียนได้ไวขึ้น ลดช่องว่างข้อจำกัดของฮาร์ดดิสค์ไปได้ ทำให้เหมือนมี SSD ในราคาเท่าๆกับฮาร์ดดิสค์ ด้วยราคาเปิดตัว Intel Optane Memory 16GB ในราคาพันนิดๆ แนวคิดโอเคนะ แต่ความเป็นจริงมันไม่ได้สวยงามขนาดนั้น

  • ราคาของ Intel Optane Memory แพงไป โดยเฉพาะราคาปรกติที่ขายทั่วไป พันกว่าบาท ซึ่งสามารถซื้อ SSD 128GB มือ 2 หรือมือ 1 บางแบรนด์ได้สบายๆ ถ้างบเหลือเพิ่มอีกนิดไม่กี่ร้อยได้ความจุ 256GB หรือ 128GB แบบ PCIe เร็วๆแรงๆได้สบายๆ
  • เซ็ตอัพยาก โดยเฉพาะเครื่องพีซีประกอบที่ต้องลงวินโดวส์เองไม่ใช่ว่าลงวินโดวส์พร้อมใส่ Intel Optane Memory แล้วได้เลย บางครั้งต้องตั้งค่าหรืออัพเดท BIOS ก่อน บางครั้งก็ต้องลงวินโดวส์ก่อนแล้วค่อยตั้งค่า ไม่ใช่ว่าใส่แล้วจะใช้งานได้เลยทันที ซึ่งแน่นอนว่าไม่เหมาะกับผู้ใช้งานมือใหม่เท่าไรนัก ขณะที่ SSD ส่วนใหญ่ใส่แล้วใช้งานได้เลย แทบไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเติม
  • เมนบอร์ดไม่ได้รองรับทุกตัว ขณะที่ SSD แบบ M.2 ไม่ว่าจะเป็น NVMe หรือ SATA สามารถติดตั้งในเมนบอร์ดส่วนใหญ่ได้ไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดตัวถูกหรือแพง (แต่ผู้ผลิตเมนบอร์ดจะระบุเอาไว้เลยว่าใส่แบบไหนได้) ขณะที่ Intel Optane Memory จะสามารถใช้ได้บนเมนบอร์ดที่เป็นชิปเซ็ต Intel บางรุ่นเช่น Z370 ,Z270 ,X299 และ H270 กับ B250 บางรุ่นเท่านั้น (ทีม AMD ใช้ไม่ได้แน่นอน)

และแน่นอนเมื่อไม่เป็นที่นิยม จากราคาพันกว่าบาท ในงานคอมมาร์ทที่ผ่านมาลดเหลือแค่ 690 บาท เท่านั้น (จากที่ลองไปถามมาแม้จะถูกมาก แต่ก็ไม่มีใครซื้ออยู่ดี) และในงานคอมมาร์ทอีกเช่นเดียวกัน Intel ก็ออกบูธโชว์ Intel Optane Memory เน้นโชว์ความเร็วเทียบกับฮาร์ดดิสค์ธรรมดา (ไม่ได้เทียบกับ SSD ด้วยกันนะ 555) ก็มีคนให้ความสนใจบ้างละ

แม้ Intel จะพยายามเข็ญ ผลัก ดัน สักเพียงไหน แต่ในกลุ่มผู้ใช้งานก็ไม่เป็นที่นิยมมากนัก จนสุดท้าย Intel ต้องเข้าหาผู้ผลิต ทั้งผู้ผลิตเมนบอร์ด ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คพีซีค่ายต่างๆ เพื่อผลัดดัน Intel Optane Memory ให้เข้าไปอยู่ในเครื่องของผู้ผลิตเหล่านั้น ทำให้เราเห็นผู้ผลิตหลายๆเจ้านำ Intel Optane Memory เข้าไปบัลเดิลเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าเช่นผู้ผลิตเมนบอร์ดก็เปิดตัวรุ่นพิเศษที่แถม Intel Optane Memory มาเลย โดยเพิ่มราคาแค่ไม่กี่ร้อยเท่านั้น ขณะที่ผู้ผลิตโน้ตบุ๊คหลายๆค่ายก็เริ่มเปิดตัวรุ่นที่มาพร้อม Intel Optane Memory เหมือนกัน แต่ราคานี่เพิ่มขึ้นมาหลักพันเลย (จากที่สอบถามมาราคาเครื่องที่มาพร้อม Intel Optane Memory จะบวกเพิ่มขึ้นมาจากโรงงานที่ 2,000 บาท เลยทีเดียว)

ถ้าซื้อเครื่องเหล่านี้นอกจากจ่ายแพงกว่าหลักพันแล้ว ก็เหมือนถูกบังคับให้รับ Intel Optane Memory ไปด้วยนั่นเอง แน่นอนว่ามันเร็วแรงกว่าฮาร์ดดิสค์ธรรมดา และส่วนใหญ่เป็นรุ่นที่มาพร้อม Windows มาจากโรงงานเลย ทำให้ไม่ต้องเซ็ตอัพให้วุ่นวายและอีกส่วนที่หลายแบรนด์ยอมใช้ Intel Optane Memory ก็เพราะ Intel จะมีงบการตลาดพิเศษมาให้เพื่อช่วยโปรโมทอีกทางหนึ่ง

แต่ก็มีข้อจำกัดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น

  • Intel Optane Memory จะติดตั้งอยู่บน M.2 PCIe แน่นอนว่าทำให้เพื่อนๆไม่สามารถอัพเกรท SSD ได้ในอนาคต (หรือถ้าต้องการอัพเกรทก็ต้องถอด Intel Optane Memory ทิ้งไป)
  • แม้เครื่องที่มาพร้อม Intel Optane Memory จะมาพร้อม Windows อยู่แล้ว แต่กรณีถ้าต้องการลงใหม่ หรือซื้อเมนบอร์ดที่มาพร้อม Intel Optane Memory ละก็การลงวินโดวส์เซ็ตอัพเป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากมาย
  • ขายต่อก็ไม่ได้ต้องเก็บไว้ดูต่างหน้า ด้วยเหตุผลของการรับประกัน บางแบรนด์เวลาเคลมต้องอุปกรณ์ครบ ต่อให้อัพเกรทเป็น SSD แล้วก็ต้องเก็บ Intel Optane Memory ไว้เผื่อเคลมนั่นเอง
  • ความคุ้มค่า…ไม่มี ส่วนต่างที่เพิ่มมาสำหรับเครื่องที่มาพร้อม Intel Optane Memory ในโน้ตบุ๊คหรือผู้ผลิตพีซีบางแบรนด์นั้นมีมูลค่าเป็นพันบาท ซึ่งส่วนต่างนี้ผมมองว่าไปซื้อ SSD  ความจุ 128GB ได้เลย

สรุปสุดท้าย Intel ทราบดีกว่า Intel Optane Memory คงจะขายให้ผู้ใช้ทั่วไปยาก ทั้งความคุ้มค่าที่ผู้ใช้มองว่าไปซื้อ SSD แยกดีกว่า และการเซ็ตอัพหรือตั้งค่าที่วุ่นวาย Intel เลยเบนเข็มไปผลักดันกับผู้ผลิตแทนให้ช่วยดัน Intel Optane Memory โดยการบันเดิลมาในเครื่องที่ขายเลย สำหรับเฉพาะเมนบอร์ดที่มาพร้อม Intel Optane Memory ราคาเพิ่มไม่มาก ถ้าอยากลองก็จัดซื้อมาลองกันได้ แต่สำหรับโน้ตบุ๊คที่มาพร้อม Intel Optane Memory ผมมองว่าราคามันสูงไปหน่อยเมื่อเทียบกับราคาค่าตัวของ Intel Optane Memory อีกทั้งเหมาะกับการติดตั้งมาในโน้ตบุ๊คบางเบา หรือรุ่นที่ราคาไม่สูงมาก มากกว่าเพราะผู้ใช้กลุ่มนี้ไม่ค่อยนิยมอัพเกรท หรือบางเครื่องอัพเกรทได้ยาก แต่ถ้าเป็นกลุ่มเกมมิ่งหรือเครื่องที่ออกแบบมาให้อัพเกรทได้ง่าย ผมมองว่าไม่เหมาะเพราะผู้ใช้กลุ่มนี้นอกจากเน้นความคุ้มค่าแล้ว ยังมองว่าอัพเกรทเป็น SSD เพียวๆจะคุ้มค่ากว่า

Intel นั้นมีแต่ได้กับได้ เพราะได้คนช่วยซื้อ Intel Optane Memory มีแบรนด์ช่วยประชาสัมพันธ์  ส่วนความลำบากสุดท้ายก็คือผู้ผลิตโน้ตบุ๊คที่นำเครื่องพร้อม Intel Optane Memory เข้ามา เพราะผมมองว่าราคาค่าตัวหลายๆรุ่นนั้นยังสูงเกินไป และผู้ใช้เองก็มองว่าไม่คุ้มค่าเมื่อเทียบสเปคกับราคา แต่ถ้าราคาเครื่องที่มาพร้อม Intel Optane Memory ไม่ถึงพันผมว่าก็น่าลองดูนะ สำหรับผู้ใช้ที่เน้นซื้อเครื่องมาแล้วจบไม่สนใจการอัพเกรทเลย เพราะมี Windows แท้มาเลย และไม่ต้องเซ็ตอัพอะไรเพิ่มเติมอีก แต่สำหรับกลุ่มเมนบอร์ดราคาเพิ่มมาแค่ไม่กี่ร้อยก็คุ้มอยู่ แต่ต้องลองฝึกการเซ็ตอัพหน่อนะครับ

รีวิว Intel Optane Memory : https://bit.ly/2KpgZYr

from:https://notebookspec.com/intel-optane-memory-error-thrown-to-the-manufacturer/445182/