คลังเก็บป้ายกำกับ: IBV

[Guest Post] ผลสำรวจไอบีเอ็มชี้ ผู้บริหารระดับสูงในไทยมองหมดยุคการใช้งานคลาวด์จากผู้ให้บริการรายเดียว

  • ในประเทศไทย 70% ของผู้บริหารที่สำรวจ มองว่าการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของอุตสาหกรรมที่กำกับดูแลอยู่ เป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่ง และจะทำให้เกิดการใช้คลาวด์เฉพาะอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
  • ภายใต้สถานการณ์การโจมตีไซเบอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 93% ของผู้บริหารที่สำรวจ ระบุว่าการลงทุนด้านซิเคียวริตี้ เป็นหนึ่งในการลงทุนด้านธุรกิจและไอทีที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุด

การศึกษาทั่วโลกโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็มหรือ IBV ภายใต้ความร่วมมือกับอ็อกซ์ฟอร์ด อีโคโนมิกส์ ได้สำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับ C-suite จำนวน 7,200 ราย ใน 28 อุตสาหกรรม ใน 47 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทย โดยการศึกษาพบว่าตลาดคลาวด์ได้เข้าสู่ยุคไฮบริดมัลติคลาวด์แล้ว ขณะที่ข้อกังวลเกี่ยวกับการ lock-in โดยผู้ให้บริการรายเดียว รวมถึงความกังวลด้านซิเคียวริตี้ การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่กำกับดูแล และความสามารถในการทำงานข้ามระบบ ยังคงเป็นปัญหาที่มีความสำคัญสูงสุด ทั้งนี้ ผลการศึกษาพบว่า

ภัยคุกคามไซเบอร์พุ่งสูงสุดเป็นประวัติกาล

  • ความซับซ้อนของระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีกำลังสร้างช่องโหว่การโจมตี และอาชญากรไซเบอร์ก็กำลังใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เหล่านี้
  • ในประเทศไทย 93% ของผู้บริหารที่สำรวจ ระบุว่าการลงทุนด้านซิเคียวริตี้ เป็นหนึ่งในการลงทุนด้านธุรกิจและไอทีที่มีสัดส่วนใหญ่ที่สุด
  • ขณะเดียวกัน ผู้บริหาร 83%มองว่าระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมคลาวด์ทั้งระบบ เป็นสิ่งสำคัญหรือสำคัญอย่างยิ่ง โดยส่วนใหญ่มองว่าเป็นกลไกสำคัญหากต้องการให้โครงการดิจิทัลต่างๆ ประสบความสำเร็จ

บริษัทต่างๆ หนีกับดักผู้ให้บริการรายเดียว (vendor lock-in)

  • 85% ของผู้บริหารไทยที่สำรวจ มองว่าเวิร์คโหลดที่สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ติดกับดัก lock-in ของผู้ให้บริการรายเดียวนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการด้านดิจิทัลของตน
  • ผู้บริหารไทยเกือบ 62% ที่สำรวจ มองว่ากับดัก lock-in ของผู้ให้บริการคลาวด์ เป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการเพิ่มประสิทธิภาพให้กับธุรกิจส่วนใหญ่หรือทั้งหมดที่อยู่บนคลาวด์

จากคลาวด์สาธารณะสู่คลาวด์เฉพาะอุตสาหกรรม

  • เกือบ 70% ของผู้ตอบแบบสำรวจในหน่วยงานภาครัฐและภาคบริการทางการเงินทั่วโลก มองว่าความจำเป็นในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของอุตสาหกรรมที่กำกับดูแลอยู่ เป็นอุปสรรคต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบคลาวด์ที่ใช้อยู่

“การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ทำให้องค์กรเริ่มคิดทบทวนถึงคุณค่าที่ได้จากการเก็บแอพพลิเคชันต่างๆ ไว้ในระบบในองค์กร (on-premise) และหันมาพิจารณาอย่างรอบคอบมากขึ้น ว่าแอพพลิเคชันไหนควรอยู่บนคลาวด์ และอันไหนควรได้รับการเก็บอยู่ในระบบภายในองค์กรต่อไป” สุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “ความซับซ้อนของระบบโครงสร้างพื้นฐานกำลังสร้างช่องโหว่การโจมตี และอาชญากรไซเบอร์เองก็กำลังหาทางใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เหล่านี้ วันนี้ ผลการศึกษาตอกย้ำอย่างชัดเจนว่า การจะเดินหน้าสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้อย่างประสบความสำเร็จนั้น องค์กรต้องมีเครื่องมือด้านซิเคียวริตี้ บรรษัทภิบาล และการควบคุมให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับที่กำกับดูแล ที่ต้องสามารถทำงานข้ามระบบคลาวด์ต่างๆ และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมคลาวด์ทั้งระบบ”

การศึกษายังแนะนำให้องค์กรควรประเมินตนเองว่าใช้งานระบบคลาวด์อย่างไร ทั้งในแง่มุมของรูปแบบการใช้งาน อัตราการใช้งาน การไมเกรทระบบ ความเร็ว รวมถึงโอกาสในการช่วยลดค่าใช้จ่าย โดยข้อแนะนำเพิ่มเติม ดังนี้

  • เน้นการรักษาความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว องค์กรต้องดูว่าเวิร์คโหลดที่มีความสำคัญถูกจัดเก็บอยู่ที่ไหน และไตร่ตรองให้ดีว่าใครและระบบใดที่ควรจะสามารถเข้าถึงเวิร์คโหลดเหล่านั้นได้ โดยองค์กรต้องทดสอบอย่างสม่ำเสมอว่ามีการปฏิบัติตามการควบคุมด้านความปลอดภัยและนโยบายความเป็นส่วนตัว และมีการแก้ไขอย่างทันท่วงทีหรือไม่เมื่อพบการตั้งค่าระบบผิดหรือช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ที่ใช้
  • ถามตัวเองว่าเวิร์คโหลดใดควรย้ายไปคลาวด์ องค์กรต้องเข้าใจภาพรวมของสภาพแวดล้อมไอทีของตน เพื่อที่จะสามารถกำหนดได้ว่า เวิร์คโหลดและแอพพลิเคชันใดที่จะให้คุณค่ามากที่สุดหากอยู่บนคลาวด์ และส่วนใดเหมาะที่จะอยู่บนระบบภายในองค์กรมากกว่า
  • ใช้ข้อมูลทำงานแทน องค์กรควรใช้เครื่องมือ AI และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practice) เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์เวิร์คโหลด เพื่อตัดสินใจว่าควรเก็บข้อมูลไว้ที่ไหนและอย่างไร ถึงจะถูกที่และสมเหตุสมผลมากที่สุด
  • กำหนดกลยุทธ์และแนวทางที่เหมาะสม ว่าควรเพิ่มหรือลดการใช้เทคโนโลยีในส่วนใด เช่น การเลือกแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อปรับปรุงแอพพลิเคชันที่มีความเฉพาะเจาะจงให้ทันสมัย และจัดการกับปัญหาที่สำคัญอย่างการรักษาความปลอดภัย การกำกับดูแล และการกู้คืนเมื่อระบบล่ม
  • เลือกทีมที่ใช่ ฟอร์มทีมด้วยคนที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายด้าน เพื่อช่วยกันคิดใหม่และมองมุมใหม่ว่าองค์กรจะสามารถสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้าได้อย่างไร

ผลการศึกษาทั่วโลกเพิ่มเติมจากรายงานฉบับปีนี้ยังคลอบคลุมถึง

  • ผลการศึกษาจำแนกตามอุตสาหกรรม โดยผู้ตอบแบบสำรวจในอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล หน่วยงานภาครัฐ (85%) และบริการทางการเงิน (80%) มองว่าเครื่องมือที่กำกับดูแลและควบคุมให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับ ที่สามารถทำงานข้ามคลาวด์หลายระบบได้ ถือเป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการดิจิทัล
  • ผลการศึกษาจำแนกตามอุตสาหกรรม ในปี 2564 มีผู้ตอบแบบสำรวจเพียง 1% ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประกันภัย การผลิต โทรคมนาคม การขนส่ง และท่องเที่ยว ที่ระบุว่ายังใช้ไพรเวทคลาวด์หรือพับบลิคคลาวด์จากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว

ดูผลการศึกษาฉบับเต็มได้ที่ https://www.ibm.com/thought-leadership/institute-business-value/report/cloud-transformation

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็มหรือ IBV ได้ที่ https://www.ibm.com/thought-leadership/institute-business-value/

 

ผลการศึกษาระดับโลกของไอบีเอ็ม (NYSE: IBM) เกี่ยวกับทรานส์ฟอร์เมชันของการใช้คลาวด์ ชี้ให้เห็นถึงความต้องการขององค์กรธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2564 ไม่มีผู้บริหารไทยที่ตอบแบบสำรวจแม้แต่รายเดียว ที่ระบุว่ายังใช้คลาวด์จากเวนเดอร์รายเดียว หรือยังใช้พับบลิคคลาวด์เพียงอย่างเดียวอยู่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับ 16% ในปี 2562 โดยสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จากนี้ไปไฮบริดจ์คลาวด์จะกลายเป็นสถาปัตยกรรมไอทีที่มีการใช้งานและมีความสำคัญสูงสุด

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-ibm-ibv-hybrid-cloud/

[Guest Post]การศึกษาผู้บริโภคของไอบีเอ็ม ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการค้าปลีกและท่องเที่ยว หลังผู้บริโภคได้รับวัคซีนโควิด-19

ผลการศึกษาผู้บริโภคทั่วโลกโดยสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) เผยให้เห็นว่าผู้บริโภคมองถึงแนวโน้มที่ดีเกี่ยวกับการกลับไปใช้ชีวิตหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยอุตสาหกรรมหลักๆ อย่างค้าปลีก ท่องเที่ยว และขนส่ง จะต้องสร้างประสบการณ์ที่เข้าถึงความต้องการส่วนบุคคลมากขึ้น หากต้องการคงความสามารถในการแข่งขันและดึงดูดลูกค้าให้สำเร็จ

การศึกษาผู้บริโภคมากกว่า 15,000 คนทั่วโลก พบว่าคนส่วนใหญ่มั่นใจในความปลอดภัย ประสิทธิภาพ และการกระจายวัคซีนโควิด-19 และมากกว่าครึ่งคาดหวังว่าวัคซีนโควิด-19 จะช่วยปกป้องพวกเขาได้ เศรษฐกิจจะสามารถกลับมาเติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคมองว่าระดับการฉีดวัคซีนจะต้องเกิน 70% ถึงจะทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนก่อนที่จะมีการระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ หากการฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังคงดำเนินไปในอัตราปัจจุบัน คนส่วนใหญ่อาจไม่ได้รับความสะดวกสบายแบบที่เคยได้รับก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 จนกว่าจะถึงปี 2022 โดยการศึกษาระบุว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ ผู้บริโภคกำลังมองถึงการปรับวิธีการทำงาน เข้าสังคม ท่องเที่ยว และซื้อของ

“ความเคยชินต่างๆ ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดได้เพิ่มความคาดหวังของผู้บริโภคเกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมของแบรนด์ผ่านช่องทางดิจิทัล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมบริการอย่างค้าปลีก ท่องเที่ยว และขนส่ง” นายเฮซุส แมนทัส Senior Managing Partner ของไอบีเอ็ม เซอร์วิสเซส กล่าว “หลายธุรกิจเริ่มมองถึง ‘การกลับมาสู่ภาวะปกติหลังการแพร่ระบาด’ ซึ่งธุรกิจต่างๆ จะต้องเร่งพัฒนาระบบดิจิทัลบนพื้นฐานของเทคโนโลยีเอไอและคลาวด์ เพื่อที่จะคงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ การลงทุนเพื่อสร้างประสบการณ์ไฮบริดที่ผสมผสานทั้งกิจกรรมเชิงกายภาพและดิจิทัลเข้าด้วยกัน จะช่วยมอบประสบการณ์ที่เข้าถึงความต้องการเฉพาะบุคคลได้อย่างไร้รอยต่อยิ่งขึ้น”

ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้

ผู้บริโภคทั่วโลกที่สำรวจส่วนใหญ่พร้อมที่จะกลับไปซื้อของในห้างร้านเมื่อได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

การศึกษาพบว่ากระแสอาจเปลี่ยนไปสำหรับอุตสาหกรรมการค้าปลีกที่ซบเซา โดยผู้บริโภคระบุถึงความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะได้กลับไปที่ห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้าอีกครั้ง หลังได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว

ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคที่สำรวจจำนวนมากอาจไม่ละทิ้งทางเลือกในการช็อปปิงออนไลน์ที่พวกเขาคุ้นเคยในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีกลุ่มที่สำรวจอย่างน้อยหนึ่งในห้าคนที่ระบุว่าพวกเขาวางแผนที่จะซื้อสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก แต่คาดว่าจะซื้อสินค้าในห้างร้านบ่อยขึ้นมาก หากว่าฉีดวัคซีนแล้ว

หมวดหมู่สินค้าที่คาดว่าผู้บริโภคน่าจะกลับไปซื้อที่ร้านค้ามากที่สุดคือของเล่น เกม และสินค้าที่เกี่ยวกับงานอดิเรก (เพิ่มขึ้น 121%) รวมถึงเครื่องแต่งกาย รองเท้า และเครื่องประดับ (เพิ่มขึ้น 76%)

เหตุผลหลักที่ผู้บริโภคที่สำรวจทั่วโลกยังคงจะซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไปคือเรื่องความสะดวก ตามมาด้วยความคุ้มค่า และความหลากหลายของสินค้าที่มีขายออนไลน์ หากจะดึงดูดให้ผู้บริโภคกลับไปซื้อของที่ห้างร้าน ผู้ค้าปลีกต้องมองถึงการจัดโปรโมชันและการเน้นสินค้าท้องถิ่น โปรโมชันในห้างเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่จะช่วยดึงผู้บริโภคให้ไปเลือกซื้อสินค้าที่ห้างร้าน โดยเฉพาะกลุ่มเจนเอ็กซ์ (54% ที่สำรวจ) และเบบี้บูมเมอร์ (52% ที่สำรวจ) นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่ไม่มีจำหน่ายออนไลน์ อย่างผลิตภัณฑ์อาหารที่ผลิตในปริมาณน้อย และเครื่องแต่งกายทำมือ อาจสามารถดึงดูดกลุ่มมิลเลนเนีลยล เจนเอ็กซ์ และเบบี้บูมเมอร์เกือบ 50% ที่สำรวจให้มาซื้อสินค้าที่ร้านได้

ศักยภาพในการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

ในขณะที่การเดินทางของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว แต่ก็มีเริ่มส่งสัญญาณที่ค่อนข้างชัดเจน การศึกษาแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการเดินทางด้วยเครื่องบินมากขึ้น โดยคน 30% วางแผนที่จะบินบ่อยขึ้น แม้ว่าจะสวนทางกับ 23% ของผู้ที่สำรวจที่วางแผนที่จะบินน้อยลง

การศึกษาพบว่าผู้บริโภคที่ได้รับวัคซีนเพิ่มขึ้นประมาณ 1.5 เท่า มองถึงการเดินทางค้างคืนในหกเดือนข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ประชากรกลุ่มใหญ่ยังมีแผนที่จะอยู่บ้านไปเรื่อยๆ โดยประมาณหนึ่งในสี่ของผู้บริโภคที่สำรวจระบุว่าพวกเขาไม่ได้วางแผนที่จะเดินทางในปี 2564 แม้ว่าจะได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วก็ตาม

วัคซีนอาจช่วยกระตุ้นการเดินทางที่เกี่ยวกับงาน โดยผู้ที่สำรวจรู้สึกสะดวกใจที่จะเดินทางที่เกี่ยวข้องกับงานเพิ่มขึ้นสองถึงสี่เท่าในประเทศส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ที่ต้องเดินทางเพื่อธุรกิจที่มีอายุมากกว่า แสดงความมั่นใจในเรื่องดังกล่าวน้อยกว่า โดยมีกลุ่มที่อายุมากกว่า 55 ปีเพียง 8% เท่านั้นที่สะดวกใจจะเดินทางเพื่อธุรกิจขณะที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 และมีเพียง 25% เท่านั้นที่รู้สึกสะดวกใจแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว

การศึกษายังชี้ให้เห็นว่ายานพาหนะส่วนบุคคลยังเป็นทางเลือกสำคัญทั้งในช่วงการระบาดของโควิด-19 และหลังจากที่ประชาชนได้รับวัคซีนแล้ว แม้ว่า 10% ของผู้ที่สำรวจวางแผนที่จะใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลน้อยลงหลังจากได้รับวัคซีน แต่ผู้บริโภค 47% มองว่าจะใช้ยานพาหนะส่วนบุคคลมากขึ้น

การสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าการเดินทางรูปแบบอื่นๆ อาจเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หรืออาจมีความต้องการลดลงเมื่อประชาชนได้รับวัคซีนมากขึ้น อุตสาหกรรมเรือสำราญอาจประสบกับการตกต่ำอย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด โดย 26% ของผู้สำรวจระบุว่าพวกเขาจะใช้เรือสำราญน้อยลง ขณะที่มีเพียง 17% ที่ระบุว่าจะใช้มากขึ้น

ผลสำรวจกลุ่มเจนซี (ผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี) มีความแตกต่างออกไป

แนวโน้มหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความแตกต่างกันออกไปในผู้บริโภคที่ได้รับการสำรวจแต่ละกลุ่มอายุ แต่กลุ่มเจนซีที่สำรวจ โดยเฉพาะกลุ่มที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการระบาดของโควิด-19 กลับแสดงแนวโน้มที่แตกต่างออกไปในหลายๆ ด้าน

กลุ่มเจนซีที่สำรวจส่วนใหญ่ต้องการใช้เวลาร่วมกับคนที่ไม่ได้อยู่ในครอบครัวหลังได้รับวัคซีนแล้ว โดย 27% ของกลุ่มเจนซีที่สำรวจระบุว่าจะมีปฏิสัมพันธ์นอกบ้านมากขึ้น เทียบกับเพียง 19% ในกลุ่มเจนเอ็กซ์ และเพียง 16% ของกลุ่มที่อายุเกิน 55 ที่สำรวจ โดยกลุ่มเจนซีสนใจที่จะกลับไปยังสถานที่ที่มีคนจำนวนมากอย่างการแข่งขันกีฬา สถานบันเทิงหรือสวนสนุก พิพิธภัณฑ์และอาร์ตแกลลอรี รวมถึงกิจกรรมการแสดงสด และโรงภาพยนตร์ น้อยกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ ที่สำรวจ ยกเว้นการไปร้านอาหารและสถานที่ที่ให้บริการฟรีอย่างชายหาดและสวนสาธารณะ

โดยเฉลี่ยแล้ว 60% ของกลุ่มเจนซีที่สำรวจมีแผนที่จะไปสถานที่อย่างร้านอาหารและบาร์ ร้านเสริมสวยและร้านตัดผม เมื่อได้รับวัคซีนแล้ว เทียบกับ 71% ของกลุ่มมิลเลนเนียล และ 69% ของกลุ่มเจนเอ็กซ์ที่สำรวจ และดูเหมือนพฤติกรรมนี้จะเป็นเทรนด์ต่อเนื่อง เพราะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 กลุ่มเจนซีที่สำรวจก็ระบุว่าออกไปยังสถานที่ต่างๆ น้อยกว่ากลุ่มอายุอื่นเช่นกัน

 

ระเบียบวิธีการศึกษา

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็มหรือ IBV ได้สำรวจความคิดเห็นของผู้ใหญ่มากกว่า 15,000 คน ในสหรัฐอเมริกา อินเดีย สหราชอาณาจักร แคนาดา เยอรมัน เม็กซิโก สเปน บราซิล และจีน ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพื่อทำความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับมุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อวัคซีนโควิด-19 สิ่งที่ผู้บริโภควางแผนทำเมื่อได้รับวัคซีนแล้ว และผลที่มีต่อมุมมองของผู้บริโภคในประเด็นต่างๆ เช่น การจับจ่ายซื้อสินค้า การเดินทาง การร่วมงานอีเวนท์ขนาดใหญ่ในอนาคต รวมถึงการกลับไปทำงาน สามารถดูข้อมูลผลสำรวจฉบับเต็มได้ที่ https://ibm.co/vaccine-consumer-behavior

IBV ได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนเมษายน 2563 เกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อทัศนคติและความชอบของพวกผู้บริโภค

เกี่ยวกับสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจ

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ให้ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่เชื่อถือได้ภายใต้จุดยืนในการผสานรวมเทคโนโลยีและธุรกิจเข้าด้วยกัน โดยรวบรวมความเชี่ยวชาญจากบรรดานักคิดในอุตสาหกรรมต่างๆ นักวิชาการแถวหน้า และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ พร้อมด้วยข้อมูลจากการวิจัยและผลการปฏิบัติงานทั่วโลก thought leadership ของ IBV ครอบคลุมถึงข้อมูลเจาะลึกจากการวิจัย การเปรียบเทียบมาตรฐานและผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการสร้างแผนภาพข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคต่างๆ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ ติดตาม @IBMIBV บน Twitter และรับข้อมูลเชิงลึกล่าสุดได้ทางอีเมล โดยไปที่ http://www.ibm.com/ibv

from:https://www.techtalkthai.com/guest-post-ibm-post-vaccine-covid-19/

[Guest Post] ผลวิจัยไอบีเอ็มชี้ ผู้บริโภคทั่วโลกส่วนใหญ่หันพึ่งอีคอมเมิร์ซ และมองถึงเรื่องความยั่งยืนมากขึ้น สำหรับการใช้จ่ายช่วงเทศกาลสิ้นปี ท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

ความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก ทำผู้บริโภคส่วนใหญ่เริ่มปรับแนวทางการช็อปปิ้ง รวมถึงแผนการเดินทางและท่องเที่ยวช่วงเทศกาล

นายเฮซุส แมนทัส Senior Managing Partner ของไอบีเอ็ม เซอร์วิสเซส

 

ผลการวิจัยของสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะทำให้รูปแบบการช็อปปิ้งในช่วงเทศกาลมีรูปแบบที่หลากหลายออกไป แต่สิ่งที่ผู้บริโภคทั่วโลกยังให้ความสำคัญสูงสุดคือการคำนึงถึงประเด็นการสร้างความยั่งยืน

ผู้บริโภคทั่วโลกร้อยละ 54 จากทั้งหมดที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาเต็มใจที่จะเปลี่ยนอุปนิสัยการซื้อสินค้าในช่วงวันหยุดยาวเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวคิดดังกล่าวมีความเด่นชัดเป็นพิเศษในบางประเทศ เช่น ในอินเดีย (ร้อยละ 74) เม็กซิโก (ร้อยละ 74) และบราซิล (ร้อยละ 66) ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากตัวเลขร้อยละ 57 จากผลการวิจัยโดย IBM และ NRF ที่จัดทำขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2563 ที่สำรวจผู้บริโภคจำนวนเกือบ 19,000 คน

แม้ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในแง่ของงบประมาณและการจ้างงานของผู้บริโภคจำนวนมาก อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 แต่สิ่งที่บรรดานักช็อปมองหากลับไม่ใช่เพียงแค่สินค้าลดราคา ปีนี้ผู้บริโภคร้อยละ 44 จากทั้งหมดที่ตอบแบบสำรวจหันมาพิจารณาเรื่องความยั่งยืนมากขึ้นเวลาที่เลือกซื้อสินค้าหรือตัดสินใจเลือกยี่ห้อที่จะซื้อ

งานวิจัย “Home for the Holidays” ที่ได้รวมข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริโภคจำนวนมากกว่า 12,500 คนทั่วโลกในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้เปิดเผยถึงแนวโน้มและการซื้อสินค้าของผู้บริโภคทั่วโลก รวมถึงแผนการเดินทางและท่องเที่ยวพักผ่อนที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19

“งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคจำนวนมากขึ้น เริ่มช็อปปิ้งสำหรับช่วงเทศกาลสิ้นปีเร็วขึ้นกว่าในปีก่อนๆ และหลายคนวางแผนที่จะซื้อสินค้าออนไลน์แทนที่จะไปซื้อที่ร้านเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น ในปีที่แล้วร้อยละ 60 ของการช็อปปิ้งเป็นการช็อปปิ้งในร้านค้า และเกือบร้อยละ 30 เป็นการช็อปออนไลน์ แต่ในปีนี้ตัวเลขเหล่านั้นแทบจะสลับกัน” นายเฮซุส แมนทัส Senior Managing Partner ของไอบีเอ็ม เซอร์วิสเซส กล่าว “ธุรกิจต่างๆ ควรเตรียมพร้อมที่จะจัดหาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สามารถปรับเข้ากับความต้องการเฉพาะบุคคลเพื่อครองใจลูกค้า และใช้เทคโนโลยีต่างๆ อย่างคลาวด์และปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยให้สามารถจัดการกับระดับอุปสงค์ที่ผันผวน บริหารซัพพลายเชนได้รวดเร็วแบบเกือบเรียลไทม์ รวมถึงมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ”

 

การช็อปออนไลน์จะยังคงมีบทบาทสำคัญ

ไอบีเอ็มคาดการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับช่วงเทศกาลวันหยุดสิ้นปีว่า ยอดขายของธุรกิจค้าปลีกในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคมปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับปี 2562 ผลการสำรวจของ IBV ชี้ว่า ปี 2563 จะเป็นช่วงวันหยุดสิ้นปีที่ผู้คนเน้นการช็อปปิ้งออนไลน์เป็นอันดับแรก

ทั้งนี้ ผู้บริโภคทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 60 ที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาวางแผนจะซื้อสินค้าออนไลน์ โดยให้มีการจัดส่งสินค้าไปที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆ หรือซื้อสินค้าออนไลน์และไปรับที่ร้านหรือจุดรับสินค้า โดยการให้จัดส่งสินค้าไปที่บ้านหรือสถานที่อื่นๆ นั้นมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดโดยเฉพาะในกลุ่มเบบี้บูม (อายุ 55-70 ปีขึ้นไป) — หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 116 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว รายงานยังระบุว่าในปีที่แล้ว มีผู้บริโภคที่ตอบแบบสำรวจร้อยละ 62 ที่บอกว่าได้ซื้อสินค้าที่ร้านค้าสำหรับช่วงเทศกาลสิ้นปี แต่ในปีนี้ มีเพียงแค่ร้อยละ 28 เท่านั้นที่วางแผนว่าจะไปซื้อของที่ร้าน

 

 

ในการเลือกของขวัญ ผู้บริโภคที่ตอบแบบสำรวจระบุว่ามีแนวโน้มที่พวกเขาจะเน้นที่ตัวผลิตภัณฑ์มากกว่าประสบการณ์ของผู้รับ ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่กล่าวว่า พวกเขาจะใช้เงินมากขึ้นไปกับความบันเทิงระบบดิจิทัล/การสตรีม (เพิ่มขึ้นร้อยละ 39 เทียบกับในปีที่แล้ว) เฟอร์นิเจอร์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เทียบกับในปีที่แล้ว) สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เทียบกับในปีแล้ว) รวมถึงของเล่นและเกมส์ต่างๆ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เทียบกับในปีที่แล้ว)

 

ผู้บริโภคกังวลว่าสถานการณ์โควิด-19 จะส่งผลกระทบต่อแผนการเดินทางและการท่องเที่ยววันหยุด

การวิจัยพบว่า ความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของโควิด-19 นั้นยังคงมีอยู่สูง โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่ระบุว่าได้เปลี่ยนแผนการเดินทางและการท่องเที่ยววันหยุดสำหรับเทศกาลวันหยุดสิ้นปีนี้

  • ผู้บริโภคที่ตอบแบบสำรวจจำนวนมากกว่าครึ่ง ซึ่งมักจะเดินทางในช่วงเทศกาลวันหยุด ระบุว่าพวกเขาวางแผนจะเดินทางน้อยลงในช่วงวันหยุดสิ้นปีนี้ และมีจำนวนร้อยละ 22 บอกว่ายังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการท่องเที่ยว
  • ในบรรดาผู้บริโภคที่ตอบว่าจะเดินทางนั้น มีร้อยละ 67 ที่ระบุว่าพวกเขาจะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนตัวหรือรถเช่าเป็นหลัก 
  • พนักงานบริษัทที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาขอลาหยุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปีนี้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และระบุว่าโควิด-19 เป็นสาเหตุหลักของการลาหยุดในปีนี้ รวมไปถึงการที่ต้องดูแลตนเองและครอบครัว
  • หนึ่งในสามของพนักงานบริษัททั่วโลกที่ตอบแบบสำรวจระบุว่า พวกเขาต้องเผชิญกับข้อจำกัดในที่ทำงาน ที่จำกัดไม่ให้พวกเขาใช้วันหยุดที่เหลืออยู่ในปีนี้ (ซึ่งอาจเป็นเพราะงานยุ่งเกินไปหรือข้อจำกัดเรื่องตารางเวลาในการทำงาน)

IBV ได้ทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องในการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคทั่วโลกจำนวนมากกว่า 80,000 คนมาตั้งแต่เดือนเมษายน เพื่อให้ทราบว่าสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการมองอนาคตและความต้องการของผู้บริโภคอย่างไร

 

เกี่ยวกับสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม 

สถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ให้ข้อมูลเชิงลึกทางธุรกิจที่เชื่อถือได้ภายใต้จุดยืนในการผสานรวมเทคโนโลยีและธุรกิจเข้าด้วยกัน โดยรวบรวมความเชี่ยวชาญจากบรรดานักคิดในอุตสาหกรรมต่างๆ นักวิชาการแถวหน้า และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ พร้อมด้วยข้อมูลจากการวิจัยและผลการปฏิบัติงานทั่วโลก thought leadership ของ IBV ครอบคลุมถึงข้อมูลเจาะลึกจากการวิจัย การเปรียบเทียบมาตรฐานและผลการปฏิบัติงาน รวมถึงการสร้างแผนภาพข้อมูลที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจทางธุรกิจทั่วทั้งภูมิภาคต่างๆ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ ติดตาม @IBMIBV บน Twitter และรับข้อมูลเชิงลึกล่าสุดได้ทางอีเมล โดยไปที่ http://www.ibm.com/ibv

 

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-ibv-consumer-study-holiday-season/

[Guest Post] ไอบีเอ็ม เผยผลการศึกษา องค์กรไทยเล็งทุ่มงบคลาวด์ครึ่งหนึ่งสำหรับไฮบริดคลาวด์ ตลอดช่วงเวลา 3 ปีต่อจากนี้

ไอบีเอ็มเผยผลสำรวจผู้บริหารในประเทศไทยที่กำลังลงทุนในระบบไฮบริดมัลติคลาวด์เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงธุรกิจ

  • คุณค่าที่ธุรกิจได้รับจากการนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มไฮบริดมัลติคลาวด์และโมเดลปฏิบัติการมาใช้ในวงกว้าง มากกว่าคุณค่าที่ได้จากแพลตฟอร์มเดียวบนระบบคลาวด์เดียว ถึง 5 เท่า
  • องค์กรไทยจะลดงบการใช้จ่ายสำหรับพับลิคคลาวด์ลง จากร้อยละ 42 ในปัจจุบันเหลือเพียงร้อยละ 39 ภายในปี 2566
  • คาดว่าภายในปี 2566 องค์กรไทยจะใช้งานคลาวด์เฉลี่ย 8 แห่ง โดยจะมีองค์กรเพียงร้อยละ 31 เท่านั้นที่มีกลยุทธ์การจัดการระบบมัลติคลาวด์แบบองค์รวมเพื่อรองรับ  

การสำรวจของสถาบันการศึกษาคุณค่าทางธุรกิจของไอบีเอ็ม (IBV) ชี้ผู้บริหารระดับสูงของไทยกำลังวางแผนที่จะลงทุนในแพลตฟอร์มไฮบริดมัลติคลาวด์ (hybrid multi-cloud platform) เพื่อขับเคลื่อนทรานส์ฟอร์เมชันและปลดล็อกคุณค่าทางธุรกิจ โดย IBV ได้สำรวจผู้บริหารทั่วโลกกว่า 6,000 รายในอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งรวมถึงผู้บริหารไทย 100 ท่าน เพื่อทำความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับการใช้งานระบบไฮบริดมัลติคลาวด์ในปัจจุบัน รวมถึงแนวทางในการจัดการระบบมัลติคลาวด์ เพื่อจัดทำเป็นรายงาน ‘ข้อได้เปรียบของแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์: ดาวที่ส่องนำทางองค์กรไทยไปสู่ทรานส์ฟอร์เมชัน

ร้อยละ 20 ของผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทย เปิดเผยว่าได้จัดสรรค่าใช้จ่ายด้านไอทีของตนไว้สำหรับระบบคลาวด์ โดยมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้จ่ายเกี่ยวกับไฮบริดคลาวด์จากร้อยละ 44 ในปัจจุบันเป็นร้อยละ 49 ภายในปี 2566 ทั้งนี้ งบประมาณด้านคลาวด์ส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรให้กับแพลตฟอร์มไฮบริดคลาวด์ และมีการตั้งเป้าที่จะลดค่าใช้จ่ายในด้านพับลิคคลาวด์ (public cloud) ลงจากร้อยละ 42 ในปัจจุบันให้เหลือเพียงร้อยละ 39 ภายในปี 2566 ทั้งนี้ คาดว่าจะเห็นการเติบโตของคลาวด์ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ทั่วโลก แต่จะเป็นการเติบโตในแง่จำนวนคลาวด์ที่ใช้ ซึ่งอาจเพิ่มไปถึง 11 แห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการประกันภัย โทรคมนาคม ค้าปลีก ธนาคาร และสินค้าอุปโภคบริโภคต่างๆ เนื่องจากอุตสาหกรรมเหล่านี้จะขยายการใช้งานระบบมัลติคลาวด์อย่างต่อเนื่องในอีกสามปีข้างหน้า

นอกจากนี้ การศึกษายังยืนยันถึงผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ของการใช้แพลตฟอร์ม โดยผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า คุณค่าที่ได้รับจากการนำเทคโนโลยีแพลตฟอร์มไฮบริดมัลติคลาวด์และโมเดลปฏิบัติการมาใช้ในวงกว้าง มากกว่าคุณค่าที่ได้จากแพลตฟอร์มเดียวบนระบบคลาวด์เดียว ถึง 2.5 เท่า โดยรูปแบบการใช้งานแบบแพลตฟอร์มถูกมองว่าจะเป็นตัวเร่งการสร้างคุณค่าในวงกว้าง

 

นายกิตติพงษ์ อัศวพิชยนต์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจคลาวด์และโซลูชันค็อกนิทิฟ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลเชิงลึกจากการสำรวจว่า “การนำระบบคลาวด์มาใช้คือหัวใจสำคัญในการพัฒนาโมเดลธุรกิจแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบดิจิทัล สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ระบบไฮบริดมัลติคลาวด์จะเป็นตัวช่วยพื้นฐานที่สำคัญของโมเดลปฏิบัติการขององค์กรต่างๆ ช่วยให้องค์กรเริ่มต้นการเดินทางสู่การเป็นองค์กรแบบค็อกนิทิฟในอนาคต นอกจากนี้ ระบบไฮบริดคลาวด์ยังช่วยเสริมการดำเนินงานทางธุรกิจและเพิ่ม ROI ให้สูงยิ่งขึ้น เหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว ดังตัวอย่างของธุรกิจชั้นนำต่างๆ ที่สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้สำเร็จด้วยการใช้แพลตฟอร์มการจัดการแบบไฮบริดคลาวด์ รวมถึงแพลตฟอร์มการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ”

ในประเทศไทย ธุรกิจชั้นนำประสบความสำเร็จในการทรานส์ฟอร์มธุรกิจโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีแพลตฟอร์มไฮบริดมัลติคลาวด์ที่พร้อมมากับเอไอ ไอบีเอ็มทุ่มเทอย่างมากกับการสร้างระบบไฮบริดคลาวด์ที่มีความปลอดภัย ทำงานเชื่อมโยงกันได้ เปิดกว้าง และเป็นอิสระจากพันธนาการในเรื่อง vendor lock-inนายกิตติพงษ์เสริม

เกี่ยวกับไอบีเอ็ม ประเทศไทย

สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับไอบีเอ็ม ประเทศไทย ได้ที่ https://www.ibm.com/th-en

 

 

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-ibv-hybrid-cloud/