คลังเก็บป้ายกำกับ: HKSTRATEGIES

[PR] ผลสำรวจโดยไมโครซอฟท์และฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนชี้
ภัยคุกคามทางไซเบอร์สามารถสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ
ให้องค์กรไทยถึง 2.86 แสนล้านบาท

ผลสำรวจของไมโครซอฟท์และฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน เผยบทสรุปสำคัญดังนี้

  • องค์กรขนาดใหญ่แต่ละแห่งในประเทศไทยอาจเผชิญความเสียหายทางเศรษฐกิจถึง 408 ล้านบาท จากการจู่โจมเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าความเสียหายขององค์กรธุรกิจขนาดกลางถึง 450 เท่า
  • ในปีที่ผ่านมา กว่า 3 ใน 5 ขององค์กร (หรือ 60 เปอร์เซ็นต์) จำเป็นต้องทำการปลดพนักงานเนื่องจากภัยคุกคามทางไซเบอร์
  • ความกังวลในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้แผนการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลดำเนินการช้าลง
  • องค์กรนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้มากขึ้น เพื่อปรับปรุงกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ดีขึ้น

กรุงเทพฯ 18 มิถุนายน 2561รายงานวิจัยของ ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน ภายใต้ความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ เผยว่าความเสียหายทางเศรษฐกิจในประเทศไทยที่เป็นผลกระทบมาจากความปลอดภัยทางไซเบอร์สามารถส่งผลถึง 2.86 แสนล้านบาท หรือเท่ากับ 2.2 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 14,360 ล้านล้านบาท 

รายงานวิจัยภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเอเชีย แปซิฟิก: การปกป้ององค์กรในโลกยุคดิจิทัลมีจุดประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกกับผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านธุรกิจและไอทีขององค์กร เกี่ยวกับมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั่วภูมิภาค และชี้ให้เห็นช่องโหว่ในกลยุทธ์เชิงความปลอดภัยด้านไซเบอร์ขององค์กร โดยทำการสำรวจกับผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านธุรกิจและไอทีในองค์กรจำนวน 1,300 คน จากองค์กรธุรกิจขนาดกลาง (พนักงาน 250 – 499 คน) และองค์กรขนาดใหญ่ (พนักงาน 500 คนขึ้นไป)

รายงานวิจัยพบว่า 3 ใน 5 ขององค์กรในประเทศไทยเคยได้รับผลกระทบจากการโจมตีทางไซเบอร์ (15 เปอร์เซ็นต์) หรือไม่แน่ใจว่าเคยถูกโจมตีหรือไม่ เพราะยังขาดกระบวนการตรวจสอบหรือวิเคราะห์การคุกคามระบบอย่างเหมาะสม (47 เปอร์เซ็นต์)

ในยุคที่คลาวด์และโมบายล์คอมพิวติ้งมีบทบาทในการทำหน้าที่เชื่อมต่อธุรกิจกับลูกค้า และช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงาน ทุกองค์กรจึงต้องเผชิญกับความเสี่ยงใหม่ๆ ไปพร้อมกันนายโอม ศิวะดิตถ์ ผู้บริหารด้านนโยบายภาครัฐ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเมื่อขอบเขตของระบบไอทีแบบดั้งเดิมหายไป ผู้ประสงค์ร้ายก็มีช่องทางและเป้าหมายใหม่ๆ สำหรับการจู่โจมมากขึ้น ส่วนองค์กรที่ตกเป็นเป้าก็อาจประสบความเสียหายทางการเงินเป็นมูลค่ามหาศาล และยังสูญเสียความพึงพอใจของลูกค้าและความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ ดังจะเห็นได้จากกรณีการรั่วไหลของข้อมูลของบางองค์กรที่อาจเป็นข่าวผ่านตาใครหลายคนไปในระยะหลัง” 

ความเสียหายที่แท้จริงจากภัยอันตรายบนโลกไซเบอร์ ครอบคลุมทั้งเชิงเศรษฐกิจ โอกาสทางธุรกิจ และการตกงาน

รายงานวิจัยพบว่า

  • องค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยอาจประสบความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูงถึง 408 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าความเสียหายขององค์กรธุรกิจขนาดกลางถึง 450 เท่า (ราว 900,000 บาท)
  • ใน 12 เดือนที่ผ่านมา ราว 3 ใน 5 ขององค์กรทั้งหมด (60 เปอร์เซ็นต์) ต้องมีการปลดพนักงานออกในหลายตำแหน่งเนื่องจากผลกระทบของภัยคุกคามทางไซเบอร์

ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวนได้สร้างแบบจำลองขึ้นเพื่อประเมินมูลค่าความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากอาชญากรรมไซเบอร์ โดยนำปัจจัยเชิงเศรษฐกิจองค์รวมและข้อมูลเชิงลึกจากผู้เข้าร่วมการสำรวจมาพิจารณา แบบจำลองดังกล่าวนี้แบ่งผลกระทบที่สามารถเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ออกเป็น 3 แบบ ได้แก่

  • ผลกระทบทางตรง: ความเสียหายทางด้านการเงินที่เกิดขึ้นโดยตรงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง ระยะเวลาในการฟื้นฟู และค่าเสียหายที่ต้องชดใช้
  • ผลกระทบทางอ้อม: การสูญเสียโอกาสทางธุรกิจ เช่น การสูญเสียลูกค้าเพราะขาดความเชื่อมั่น
  • ผลกระทบวงกว้าง: ผลกระทบมวลรวมเชิงเศรษฐกิจ เช่น สภาพคล่องทางการใช้จ่ายขององค์กรและผู้บริโภคลดลง

ผลกระทบของภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้น เปรียบได้กับภูเขาน้ำแข็ง โดยผลกระทบทางตรงจะเป็นส่วนที่เห็นได้ชัดมากที่สุด แต่ส่วนนี้กลับเปรียบเสมือนยอดเล็กๆ ของภูเขา ที่ยังมีส่วนที่มองไม่เห็นยังจมอยู่ใต้น้ำอีกมากนายณัฐชัย จารุศิลาวงศ์ Consultant, Mobility Practice บริษัท ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวการจู่โจมทางไซเบอร์สามารถก่อความเสียหายอีกมากมายที่อาจมองไม่เห็นในทันที ทั้งในทางอ้อมและในวงกว้าง จึงทำให้โดยทั่วไปแล้ว มูลค่าความเสียหายที่แท้จริงของภัยร้ายเหล่านี้มักถูกประเมินไว้ต่ำกว่าความเป็นจริงอยู่เสมอ

นอกจากความสูญเสียด้านการเงินแล้ว ภัยคุกคามทางไซเบอร์ยังทำลายความสามารถขององค์กรไทยในการคว้าโอกาสทางธุรกิจในยุคแห่งเศรษฐกิจดิจิทัล โดยผลสำรวจเผยว่ากว่า 73 เปอร์เซ็นต์ของผู้เข้าร่วมการสำรวจพบว่าองค์กรของตนได้หยุดแผนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปฏิรูปธุรกิจ เนื่องจากความกังวลด้านภัยคุกคามทางไซเบอร์

ภัยร้ายที่ต้องจับตาและช่องโหว่ที่ต้องจัดการ ในกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยขององค์กรไทย

ถึงแม้ว่าการจู่โจมจากอาชญากรไซเบอร์ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จะเป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความสนใจในหมู่องค์กรต่างๆ ได้ไม่น้อย แต่ผลวิจัยระบุว่าสำหรับองค์กรในประเทศไทยแล้ว ภัยร้ายในโลกไซเบอร์ที่มีผลกระทบสูงสุด และใช้เวลาในการแก้ไขฟื้นฟูนานที่สุด คือการเลียนแบบตัวตนของแบรนด์ในโลกออนไลน์ การขโมยข้อมูล และการทำลายข้อมูล

นอกจากความเสี่ยงจากภายนอกองค์กรแล้ว รายงานวิจัยฉบับนี้ยังชี้ให้เห็นถึงช่องว่างเชิงกลยุทธ์ขององค์กรต่างๆ ในการปกป้องระบบและข้อมูลให้ปลอดภัย

  • อย่าให้ความปลอดภัยเป็นแค่เรื่องทีหลัง: ถึงแม้ว่าองค์กรจำนวนมากจะผ่านการถูกจู่โจมมาแล้ว แต่กลับมีองค์กรเพียง 26% เท่านั้นที่นำประเด็นด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์มาพิจารณาก่อนที่จะเริ่มดำเนินงานในโครงการดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ขณะที่องค์กรที่ยังไม่เคยถูกจู่โจมนั้น มีอัตราส่วนการนำปัจจัยด้านความปลอดภัยมาพิจารณาก่อนเริ่มดำเนินงานคิดเป็น 37% ส่วนองค์กรที่เหลือนั้น จะเริ่มพิจารณาเรื่องความปลอดภัยหลังจากที่เริ่มดำเนินงานไปแล้ว หรืออาจไม่พิจารณาถึงเลยก็เป็นได้ ซึ่งองค์กรในกลุ่มหลังนี้จะไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือโซลูชั่นที่มีรากฐานอยู่บนความปลอดภัยอย่างแท้จริง (“secure-by-design”) ขึ้นมาได้ จึงอาจทำให้ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขาดความปลอดภัยหลุดออกไปสู่ตลาดได้
  • การมีระบบซับซ้อน ไม่ได้แปลว่าปลอดภัย: โดยทั่วไปแล้ว เป็นที่เชื่อกันว่าการนำโซลูชั่นด้านความปลอดภัยจำนวนมากมาใช้งานร่วมกันจะช่วยให้ระบบในภาพรวมมีความปลอดภัยสูงขึ้น แต่ผลวิจัยในครั้งนี้กลับเผยให้เห็นว่าในกลุ่มองค์กรที่ใช้โซลูชั่นด้านความปลอดภัยรวม 26-50 โซลูชั่น มีเพียง 15% เท่านั้นที่สามารถแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูจากผลกระทบของการจู่โจมได้ภายในเวลาหนึ่งชั่วโมง ขณะที่องค์กรที่ใช้โซลูชั่นด้านดังกล่าวน้อยกว่า 10 โซลูชั่น มีอัตราส่วนการแก้ไขปัญหาภายในหนึ่งชั่วโมงสูงกว่าที่ 22%
  • ยังขาดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์: องค์กรจำนวนมากเริ่มหันมาปฏิรูปธุรกิจด้วยนวัตกรรมดิจิทัลกันแล้ว เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่งานวิจัยครั้งนี้ก็ยังชี้ให้เห็นว่าองค์กรถึง 33% ยังมองความปลอดภัยเป็นเพียงแค่ปัจจัยในการปกป้ององค์กรจากผู้ประสงค์ร้าย โดยมีเพียง 28% ที่เล็งเห็นว่ากลยุทธ์ด้านความปลอดภัยขององค์กรเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน

ภัยร้ายในโลกออนไลน์ยังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง แต่การผสมผสานทั้งเทคโนโลยี กลยุทธ์ภาคปฏิบัติ และความรู้ความเข้าใจเข้าด้วยกันอย่างลงตัวจะช่วยให้องค์กรสามารถรับมือกับความเสี่ยงต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพคุณโอมกล่าวเสริมไมโครซอฟท์ยังคงเดินหน้าเสริมศักยภาพให้ภาคธุรกิจในประเทศไทยสามารถคว้าโอกาสจากกระบวนการดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม สนับสนุนด้วยแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์และบริการที่มีความปลอดภัยสูง ผสมผสานกับความรู้ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในภัยร้ายและปัจจัยเสี่ยง และเครือข่ายความร่วมมือกับหลากหลายภาคส่วน

AI พร้อมเป็นแนวหน้าในการปกป้ององค์กรจากผู้ประสงค์ร้าย

เมื่อโลกดิจิทัลเป็นเสมือนสนามรบที่อาวุธของผู้จู่โจมพัฒนาและเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง ขณะที่ช่องทางการโจมตียังคงเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว AI จึงเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการยับยั้งการโจมตีด้วยศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจจับและหยุดยั้งการจู่โจมได้ โดยจากการสำรวจพบว่า 4 ใน 5 ขององค์กรในประเทศไทย (84%) ได้นำ AI มาใช้เสริมความแข็งแกร่งของระบบด้านความปลอดภัยแล้ว หรือมีแผนที่จะนำมาใช้งานในอนาคตอันใกล้

สถาปัตยกรรมด้านความปลอดภัยที่มี AI เป็นองค์ประกอบหลักจะสามารถทำงานได้อย่างชาญฉลาด และอาจมองเห็นถึงจุดอ่อนหรือช่องโหว่ในระบบรักษาความปลอดภัยขององค์กรได้ก่อนที่จะเกิดปัญหาขึ้นจริง นอกจากนี้ องค์กรที่ใช้งาน AI ในการปกป้องระบบของตนยังสามารถทำงานได้รวดเร็วและคล่องตัวกว่าองค์กรที่พึ่งพาความสามารถของมนุษย์เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็นการระบุชนิดและช่องทางการจู่โจม การกำจัดภัยร้ายที่เข้าจู่โจมอย่างต่อเนื่อง และการแก้ไขปัญหาในระบบ จึงทำให้ AI มีบทบาทที่สำคัญยิ่งในกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยเชิงดิจิทัลของทุกองค์กร

ข้อแนะนำในการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์กรยุคใหม่ในโลกดิจิทัล

AI เป็นแค่องค์ประกอบหนึ่งที่องค์กรต่างๆ จำเป็นต้องนำมาผสมผสานหรือผนึกรวมเป็นแกนหลักของแนวทางการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างจริงจัง โดยการปกป้องให้ระบบขององค์กรปลอดภัยอย่างแท้จริงนั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น บุคลากร กระบวนการ และเทคโนโลยี รวมถึงบทบาทและผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้ที่มีต่อความปลอดภัยโดยรวมขององค์กรด้วย

เพื่อที่จะช่วยให้องค์กรสามารถต้านทานและตอบโต้กับการโจมตีทางไซเบอร์และมัลแวร์ได้ดียิ่งขึ้น องค์กรต่างๆ สามารถนำ 5 หลักปฏิบัตินี้มาปรับใช้ เพื่อช่วยยกระดับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์มีให้ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  • ความปลอดภัยทางไซเบอร์คือส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล: ความไม่เชื่อมโยงกันระหว่างกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับแนวทางการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลอาจสร้างความสับสนวุ่นวายให้พนักงานในองค์กรอย่างมาก ทั้งนี้ ความปลอดภัยทางไซเบอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล โดยมีบทบาทในการกำหนดแนวทางและรักษาความปลอดภัยขององค์กร ขณะเดียวกัน การปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลก็ยังเปิดโอกาสให้องค์กรสามารถพลิกรูปแบบและแนวทางการรับมือกับความเสี่ยงทางไซเบอร์รูปแบบต่างๆ ในปัจจุบัน
  • ลงทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างรากฐานด้านความปลอดภัยให้แข็งแกร่ง: ร้อยละ 90 ของการโจมตีทางไซเบอร์สามารถป้องกันได้ โดยนำวิธีปฏิบัติที่ได้มาตรฐานเข้ามาปรับใช้อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก ใช้การยืนยันตัวตนหลากหลายรูปแบบในสถานการณ์ที่น่าสงสัย รวมถึงคอยอัปเดตระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ ซอฟต์แวร์และโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ต่างๆ ให้ทันสมัย และเลือกใช้ของแท้เพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที การเตรียมความพร้อมไม่ได้ครอบคลุมเพียงแค่อุปกรณ์หรือระบบเท่านั้น แต่ยังต้องรวมถึงการฝึกอบรมและกำหนดนโยบายเพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งด้านความปลอดภัยด้วย 
  • ยกระดับทักษะและเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือต่างๆ โดยการใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่มีให้คุ้มค่า: เครื่องมือที่ดีก็อาจไร้ประโยชน์เมื่ออยู่ในมือของผู้ที่ขาดทักษะ หากลดจำนวนโซลูชั่นและความซับซ้อนในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยลง ก็จะสามารถช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยเครื่องมือที่มีอยู่ ส่วนการจัดลำดับความสำคัญของโซลูชั่นที่ใช้งานอยู่นั้น เป็นวิธีที่ดีที่เข้ามาช่วยเพิ่มการป้องกันความเสี่ยงได้มากขึ้น โดยไม่ต้องนำเครื่องมือจำนวนมากมาใช้ และไม่ทำให้เกิดความซับซ้อนเพิ่มขึ้นด้วย โดยเฉพาะเมื่อโซลูชั่นที่เลือกใช้ได้รวบรวมเครื่องมือต่างๆ มาไว้ด้วยกันอย่างเหมาะสมและเอื้อประโยชน์ซึ่งกัน
  • ประเมิน ตรวจสอบ และปฏิบัติตามกรอบข้อบังคับอย่างต่อเนื่อง: การยอมรับและปฏิบัติตามข้อบังคับหรือมาตรฐานต่างๆ ควรเป็นหน้าที่ประการหนึ่งขององค์กร ขณะเดียวกัน ตัวองค์กรเองก็ควรให้มีการประเมินและตรวจสอบเป็นประจำ เพื่อป้องกันช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้สามารถอุดช่องโหว่เหล่านั้นได้ ในขณะที่องค์กรกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้บริหารขององค์กรเองก็ควรดูแลให้องค์กรดำเนินงานตามมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ พร้อมนำแนวทางการรักษาความปลอดภัยที่ดีมาปรับใช้อยู่เสมอ
  • ใช้ประโยชน์จาก AI และระบบอัตโนมัติ (automation) เพื่อเพิ่มสมรรถนะและประสิทธิภาพ: เมื่อองค์กรขาดความสามารถในการรักษาความปลอดภัย ระบบอัตโนมัติและ AI ควรถูกนำมาพิจารณาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความก้าวหน้าของ AI ในปัจจุบันถือเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงศักยภาพอันมหาศาลของเทคโนโลยีนี้ในอนาคต โดยนอกจากการตรวจหาภัยคุกคามที่อาจถูกมองข้ามไปแล้ว นวัตกรรมเหล่านี้ยังสามารถช่วยวิเคราะห์และตีความมาเป็นสัญญาณเตือนภัยก่อนเกิดการโจมตี และแนะนำแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อตัดไฟแต่ต้นลมได้ ระบบในลักษณะนี้ได้พิสูจน์แล้วถึงประสิทธิภาพในการทำงาน โดยเฉพาะในกรณีของระบบคลาวด์ที่ประมวลผลข้อมูลในปริมาณมหาศาล ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติและ AI ยังช่วยให้บุคลากรผู้มีความสามารถด้านการดูแลรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ได้มุ่งให้ความสำคัญกับเนื้องานในระดับสูงได้อย่างเต็มที่

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลวิจัยได้ที่

https://news.microsoft.com/apac/features/cybersecurity-in-asia/

สำหรับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก สามารถอ่านรายละเอียดได้จากรายงาน Microsoft Security Intelligence Report Volume 23 ที่

https://info.microsoft.com/ww-landing-Security-Intelligence-Report-Vol-23-Landing-Page-eBook.html

###

เกี่ยวกับรายงานวิจัยหัวข้อภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ในเอเชีย แปซิฟิก: การปกป้ององค์กรในโลกยุคดิจิทัล

รายงานฉบับนี้ครอบคลุมผู้เข้าร่วมการสำรวจ 1,300 รายจาก 13 ประเทศ ได้แก่ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน และไทย

ผู้เข้าร่วมการสำรวจทุกท่านล้วนเป็นผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจทางธุรกิจและไอที และมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางกลยุทธ์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร โดย 44% เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงธุรกิจ เช่นผู้บริหารระดับ CEO, COO หรือกรรมการบริหาร ขณะที่ 56% มีอำนาจตัดสินใจเชิงไอที เช่นผู้บริหารระดับ CIO, CISO หรือกรรมการบริหารฝ่ายไอที ทั้งนี้ 29% ของผู้เข้าร่วมการสำรวจมาจากองค์กรขนาดกลาง (พนักงาน 250-499 คน) ส่วนอีก 71% มาจากองค์กรขนาดใหญ่ (พนักงาน 500 คนขึ้นไป)

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @microsoft) เป็นผู้ขับเคลื่อนการปฎิรูปด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ในโลกแห่งอัจฉริยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ที่ทุกอย่างล้วนเชื่อมโยงถึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วทุกมุมโลกได้บรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งกว่า

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536 มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์   ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่านการใช้เทคโนยี  เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร  ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ  มีความสะดวกทันสมัย  และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย   

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมหรือติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทย (http://news.microsoft.com/th-th/) และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-frost-sullivan-cybersecurity-economics-cost/

[PR] ไมโครซอฟท์หนุนแนวคิดการพัฒนาตนเองผ่านโปรแกรมเมนเทอร์ในองค์กร กุญแจสำคัญแห่งความสำเร็จของกลุ่มผู้หญิงทำงานยุคใหม่

ในภาพ (ซ้ายสุด) นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ (ที่สองจากซ้าย) นางสาวณัฐทยา คูสุวรรณ นักวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท ทอมสัน รอยเตอร์ สิงคโปร์ และ Chapter Leader ของ LeanIn ในประเทศไทย พร้อมทีมทำงาน LeanIn ในประเทศไทย

กรุงเทพฯ – 21 พฤษภาคม 2561ไมโครซอฟท์ย้ำความสำคัญการสร้างความหลากหลายและเท่าเทียมกันในองค์กร ด้วยการเตรียมความพร้อมผู้หญิงยุคใหม่ ส่งเสริมความสำคัญของการมีเมนเทอร์ซึ่งสามารถเป็นผู้ให้คำปรึกษาทั้งในเรื่องชีวิตการทำงานและเรื่องส่วนตัวรอบด้านและเฉพาะตัว เพื่อช่วยแนะนำและกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ๆ ผ่านประสบการณ์อันเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับตัวบุคคล พร้อมเปิดโอกาสสนับสนุนพนักงานหญิงสู่การเป็นเมนเทอร์เพื่อให้คำปรึกษาเสริมสร้างกำลังใจไปพร้อมกับเพิ่มศักยภาพในการทำงาน บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าโปรแกรมเมนเทอร์ (ระบบที่ปรึกษา) จะช่วยปรับทั้งทัศนคติประกอบกับช่วยจัดการความท้าทายให้พนักงานได้ดียิ่งขึ้น และยังสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเพื่อนร่วมงานและองค์กร ที่สามารถส่งผลมายังความสุขในชีวิตส่วนตัว โดยหนึ่งในการสนับสนุนโปรแกรมนี้ให้แพร่หลายไปสู่สังคมภายนอก คือ การร่วมมือกับ LeanIn องค์กรระดับโลกที่มุ่งเสริมสร้างให้ผู้หญิงเดินตามความฝันของตัวเอง โดยครั้งนี้ เป็นการจัดสัมมนาเชิงแลกเปลี่ยนและแนะแนวทางสู่การเป็นเมนเทอร์มืออาชีพพร้อมโอกาสในการพบปะเมนเทอร์ที่ให้คำปรึกษาได้อย่างแท้จริง

ผลสำรวจของ LeanIn และบริษัทแมคคินซี่ แอนด์ คอมพานี พบว่าพนักงานชายกล่าวว่าหัวหน้างานผู้อาวุโสกว่าที่ช่วยให้คำปรึกษาและทำให้พวกเขาก้าวหน้าในที่ทำงานจำนวนกว่าสองในสามเป็นผู้ชายเหมือนกัน และมีเพืยงหนึ่งในสามเท่านั้นที่เป็นผู้หญิง จากผลสำรวจนี้นับเป็นเรื่องสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่าเมนเทอร์มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่เมนเทอร์ผู้หญิงที่จะเข้ามาช่วยสร้างแรงบันดาลใจและให้คำปรึกษายังมีจำนวนไม่มากนัก   

สำหรับไมโครซอฟท์ การเปิดโอกาสให้พนักงานได้รับคำปรึกษาผ่านโปรแกรมเมนเทอร์เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยสนับสนุนทั้งการพัฒนาบุคลากรให้ได้รับคำปรึกษาจากเมนเทอร์ รวมไปถึงเปิดโอกาสพัฒนาให้พนักงานที่มีความรู้ประสบการณ์และความสนใจในการช่วยพัฒนาผู้อื่นเข้ามาเป็นเมนเทอร์ และเพื่อให้โปรมแกรมเมนเทอร์สามารถตอบโจทย์ให้ได้ตรงตามเป้าหมายของพนักงานแต่ละกลุ่ม บริษัทฯ มีการจัดโปรแกรมที่มีความหลากหลายอันประกอบด้วย 

  1. พนักงานทั่วไป โปรแกรมจัดหาเมนเทอร์ให้กับพนักงานใหม่ เพื่อให้พนักงานได้รับคำปรึกษาที่เฉพาะเจาะจงกับเป้าหมายในการทำงานหรือการพัฒนาสายอาชีพของแต่ละบุคคล
  2. MACH (Microsoft Academy of College Hires) หรือ โครงการพัฒนาผู้บริหารรุ่นใหม่ โครงการสร้างผู้บริหารรุ่นใหม่ให้พร้อมร่วมงานกับไมโครซอฟท์อย่างมีศักยภาพและพัฒนาอย่างก้าวกระโดดด้วยคำปรึกษาจากเมนเทอร์ 
  3. ผู้บริหารหญิงโครงการ ‘APAC Female Leadership Development’ จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนเส้นทางสู่การเป็นผู้นำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจัดให้ผู้บริหารหญิง 50 คน จากไมโครซอฟท์ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เข้าร่วมเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการเป็นเมนเทอร์มืออาชีพ อย่างเข้มข้นเป็นระยะเวลาต่อเนื่องถึง 6 เดือน

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัดผมเป็นคนหนึ่งที่เติบโตมาท่ามกลางผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จถึงสองท่าน คือคุณแม่และพี่สาว ซึ่งเป็นทั้งที่ปรึกษาและแรงบันดาลใจที่สำคัญในการตัดสินใจเรื่องการทำงานของผม เพราะผมเชื่อว่าผู้หญิงจะมีมุมมองและประสบการณ์อันละเอียดอ่อนในการมองเห็นโอกาสหลายอย่างที่เรามองข้ามไป เพราะฉะนั้น ไมโครซอฟท์จึงให้การสนับสนุน LeanIn ในการส่งเสริมผู้หญิงเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม ให้พร้อมสู่การเป็นเมนเทอร์แบบมืออาชีพ และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีเมนเทอร์หญิงเป็นพี่เลี้ยงที่จะช่วยดึงศักยภาพของผู้หญิงยุคใหม่ออกมาได้ดีกว่า และเป็นแรงผลักดันสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานได้ เช่นเดียวกับผม ผมคงไม่ก้าวมาถึงวันนี้ได้หากขาดเมนเทอร์ที่ดีอย่างผู้หญิงที่ผมเคารพทั้งสองท่าน

ปัจจุบัน ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยมีสัดส่วนของพนักงานหญิงถึงกว่าร้อยละ 50 โดยมีผู้บริหารระดับผู้จัดการอาวุโสที่เป็นผู้หญิงทั้งหมด เพราะเราเชื่อว่าความสำเร็จและความก้าวหน้าของทุกองค์กรมาจากความหลากหลายของทีมงานที่มาพร้อมความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ และพื้นฐานที่แตกต่างกัน ที่พนักงานสามารถนำมาปรับใช้เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้ และสำหรับพนักงานหญิงโดยเฉพาะ ไมโครซอฟท์ยังให้สวัสดิการวันลากับคุณแม่ที่ลาคลอดบุตรถึง 20 สัปดาห์พร้อมจ่ายเงินเดือนเต็มจำนวน และ 6 สัปดาห์สำหรับคุณพ่อมือใหม่หรือผู้ปกครองที่อุปการะบุตรบุญธรรมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และ 4 สัปดาห์สำหรับพนักงานที่ต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวที่มีอาการป่วยรุนแรง เพื่อพนักงานสามารถใช้เวลาอยู่กับบุคคลอันเป็นที่รักอย่างหมดกังวล

นางสาวชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าพันธกิจหลักของไมโครซอฟท์ คือ การเป็นกำลังสำคัญให้กับทุกคนและทุกองค์กรบนโลกใบนี้ให้บรรลุผลสำเร็จได้มากกว่า ซึ่งการทำให้พันธกิจนี้บรรลุผลสำเร็จจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่เริ่มต้นจากการดูแลพนักงานของเราให้ก้าวสู่หนทางแห่งความสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหนึ่งในนั้นคือการจัดให้มีโปรแกรมเมนเทอร์ เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมีความรู้ความสามารถและมีความมั่นใจในการทำหน้าที่เมนเทอร์ให้แก่ผู้หญิงคนอื่น ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้หญิงทุกคนสามารถเป็นในสิ่งที่ฝันได้มากที่สุด เราจึงจะยังคงมุ่งมั่นสร้างความหลากหลายในองค์กรอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นหนึ่งในองค์กรไอทีชั้นนำที่ให้โอกาสในการทำงานและพัฒนาตนเองกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาและเพิ่มโอกาสให้ผู้หญิงก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในวงการเทคโนโลยีได้เท่าเทียมกับอุตสาหกรรมอื่นๆ” 

ทั้งนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ไมโครซอฟท์ได้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการกับ LeanIn.Org กับงานอบรมในหัวข้อ “Mentorship Matters” หรือเมนเทอร์กับความก้าวหน้าของผู้หญิง เพื่อเน้นย้ำความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์ในที่ให้ความสำคัญกับความก้าวหน้าในที่ทำงานของพนักงานทุกคน ซึ่งมีผู้หญิงรับบทบาทเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญสู่ความสำเร็จ ซึ่งในงานมีผู้เข้าร่วมงานเป็นผู้หญิงรุ่นใหม่มากกว่า 50 คน จากหลายบริษัทชั้นนำในประเทศไทย มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความสำคัญของการมีเมนเทอร์เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา และสร้างแรงบันดาลใจให้กล้าออกไปเป็นเมนเทอร์แก่ผู้หญิงคนอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหนของชีวิตการทำงานก็ตาม ซึ่งผู้มาร่วมงานได้รับเกียรติแลกเปลี่ยนและรับฟังข้อมูลจากผู้บริหารระดับสูงหลายท่านจากไมโครซอฟท์ ประเทศไทย คือ คุณธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ คุณชุติมา สีบำรุงสาสน์ ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล คุณธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารลูกค้า คุณศิริพร พัชรวัฒน์ ผู้อำนวยการผ่ายพันธมิตรการศึกษา และคุณณฤดี คริสธานินทร์ กรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการฝ่ายการสร้างแรงบันดาลใจ จาก บริษัท ยูเรก้า อินเตอร์เนชันแนล

นางสาวณัฐทยา คูสุวรรณ นักวิเคราะห์ข้อมูล บริษัท ทอมสัน รอยเตอร์ สิงคโปร์ และ Chapter Leader ของ LeanIn ในประเทศไทย กล่าวว่าในภาพรวมของประเทศไทย มีผู้หญิงเพียง 31% เท่านั้นที่เป็นผู้บริหารระดับสูง การพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงไทยจึงเป็นเรื่องที่จำเป็น ด้วยความตั้งใจหลักของ LeanIn ในการเป็นชุมชนเพื่อให้ผู้หญิงได้มาพบกันเพื่อแบ่งปันเรื่องราวที่จะช่วยสร้างสมดุลทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง หนึ่งในบทเรียนสำคัญของชีวิตที่จะช่วยสร้างความสำเร็จอย่างก้าวกระโดดให้กับผู้หญิง คือการส่งเสริมความสำคัญของการมีเมนเทอร์รวมทั้งพัฒนาทุกคนสู่การเป็นเมนเทอร์โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นหญิงหรือชาย เพราะทั้งหมดนี้จะช่วยเป็นที่ปรึกษาทางอาชีพให้กับผู้หญิงได้เป็นอย่างดีทั้งสิ้น การสนับสนุนจากไมโครซอฟท์ในครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในการสร้างโอกาสครั้งสำคัญที่ทำให้ผู้หญิงจากหลากหลายวงการได้มาพบกัน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พวกเขามองเห็นเส้นทางสู่ความสำเร็จจากการรับฟังคำปรึกษาของเมนเทอร์สู่การเป็นเมนเทอร์ด้วยตัวเอง เพื่อส่งต่อความสำเร็จสู่ผู้อื่นได้ต่อไป

นางสาวไปรยา อุรานุกูล ที่ปรึกษาด้านความยั่งยืนองค์กร บริษัท อีอาร์เอ็มสยาม จำกัด (ที่ปรึกษาของ บริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท. และ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)) กล่าวส่งท้ายว่าจุดเริ่มต้นที่ทำให้ฉันหันมาสนใจ LeanIn มาจากการที่ฉันได้เริ่มศึกษาประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศตอนที่กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย และได้อ่านหนังสือเรื่อง Lean In โดย เชอริล แซนด์เบิร์ก ซึ่งส่วนตัวดิฉันแล้วเชื่อว่าความล้มเหลวเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่หากว่าเราล้มเหลวหรือผิดพลาดเร็ว เราก็จะมีโอกาสได้เรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเองเร็วยิ่งขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ฉันเชื่อว่าการมีเมนเทอร์จะช่วยให้ฉันได้รับคำแนะนำที่ตรงจุด จากผู้ที่มีความสนใจคล้ายกันและมีประสบการณ์ในเรื่องที่ฉันต้องการคำแนะนำจริงๆ ซึ่งมักเป็นประโยชน์มากกว่าการที่ต้องลองผิดลองถูกหรือค้นหาข้อมูลด้วยตนเอง กิจกรรมในวันนี้จึงช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับฉันเป็นอย่างมาก เพราะผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคนล้วนแต่เป็นคนที่เชื่อมั่นในตัวเองว่าพวกเขาสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นได้” 

###

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @microsoft) เป็นผู้ขับเคลื่อนกระบวนการ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชัน ในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยศักยภาพอัจฉริยะของเทคโนโลยีคลาวด์และหลากหลายอุปกรณ์ที่ล้วนเชื่อมโยงถึงกัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536  มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์   ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่านการใช้เทคโนยี  เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร  ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ  มีความสะดวกทันสมัย  และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย   

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเข้าไปเยี่ยมชมหรือติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทย (http://news.microsoft.com/th-th/) และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-supports-self-development-through-mentor-program/

[PR] ไมโครซอฟท์ ขยายตลาด Surface ในประเทศไทย พร้อมเปิดตัว Surface Book 2 และ Surface Laptop อุปกรณ์สำหรับทุกคน

(ในภาพจากซ้ายไปขวา) นางชนิกานต์ โปรณานันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด, นางสาวเจน ดอร์ หัวหน้ากลุ่มผลิตภัณฑ์เซอร์เฟส เอเชีย แปซิฟิก ไมโครซอฟท์, พร้อมด้วยลูกค้าคนสำคัญ นายวุฒิชัย เจริญผล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร – ไอที “เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย (จำกัด) มหาชน และคุณวิสสุต เมธีสุวกุล หัวหน้ากลุ่มธุรกิจอาวุโส บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

กรุงเทพฯ – 14 มีนาคม 2561ไมโครซอฟท์ประกาศขยายตลาดอุปกรณ์ Surface ในประเทศไทย เพื่อให้ผู้ใช้มีศักยภาพในการทำงานมากขึ้นด้วยสุดยอดอุปกรณ์บนแพลตฟอร์ม Windows

เพิ่มดีไวซ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็น Surface Book 2 และ Surface Laptop รวมถึง Surface Pro มีจำหน่ายแล้วที่บานาน่า ไอที ไอทีซิตี้ พาวเวอร์บาย พาวเวอร์ มอลล์ และ เจไอบี ออนไลน์ โดย มาพร้อมคุณสมบัติอันโดดเด่นในอุปกรณ์ของไมโครซอฟท์ ที่จะทำให้ผู้ใช้งานได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ผ่านฟีเจอร์ต่างๆ บน Windows 10 เวอร์ชั่นอัปเดทล่าสุด ซึ่งก็คือ Fall Creators Update และยังจะช่วยเป็นแรงสำคัญให้ทุกคนในการสร้างสรรค์งานอย่างมีประสิทธิภาพ

ตั้งแต่เปิดตัว Surface Pro ในประเทศไทย เราก็ได้รับเสียงตอบรับจากผู้บริโภคว่าพวกเขามองหาอุปกรณ์ Windows ในรูปแบบอื่นๆ ที่ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลายของเขา และวันนี้ เราตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้ขยายตลาดผลิตภัณฑ์ Surface อีกหลายรุ่นเข้ามาในประเทศไทย เพื่อมอบสุดยอดประสบการณ์ในการใช้งานอันทรงพลังและสะดวกสบายในการพกพา ซึ่งจะช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนและทุกองค์กรสร้างสรรค์ผลงานที่เหนือกว่าไปอีกระดับนางชนิกานต์ โปรณานันท์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ในยุคที่ดิจิทัลเริ่มมีบทบาทในการขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น เรามองเห็นโอกาสในการเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในองค์กร ซึ่งการที่จะพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจและผลิตภัณฑ์ดิจิทัลนั้น เราจำเป็นต้องสนับสนุนทีมงานให้คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีก่อน เราจึงสนับสนุนการทำงานแบบ BYOD (Bring Your Own Device) ให้พนักงานสามารถนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาทำงานได้ โดยบริษัทเป็นผู้ช่วยเลือกอุปกรณ์ที่ตอบโจทย์การทำงานได้มากที่สุด ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์และประสิทธิภาพ ปัจจุบันพนักงานของเราใช้ Surface แล้วมากกว่า 70 เครื่อง ซึ่งเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกการทำงานแบบโมบิลิตี้ได้เป็นอย่างดี ด้วยฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลายและมีสไตล์ Surface ไม่เพียงแต่ใช้งานง่าย พกพาสะดวก แต่ยังช่วยเสริมบุคลิกของพนักงานเราให้ดูสมาร์ทขึ้นยามพกพา และไม่จำเป็นต้องพกอุปกรณ์หลายอย่างอีกต่อไปนายวุฒิชัย เจริญผล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารไอทีเคทีซีหรือ บริษัท บัตรกรุงไทย (จำกัด) มหาชน

Surface สำหรับทุกคน

Surface Book 2: อุปกรณ์ Surface ที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด

ลดความต่างระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและแล็ปท็อปด้วย Surface Book 2 ที่โดดเด่นด้วยซีพียูรุ่นล่าสุด Intel® Core™ เจเนอเรชั่นที่ 8 และหน่วยประมวลผลกราฟฟิก NVIDIA GeForce GPUs ทำให้ Surface Book 2 ทรงพลังมากกว่ารุ่นเดิมถึง 5 เท่า

สำหรับผู้ที่ต้องการความคล่องตัวในการใช้งานอุปกรณ์ ด้วย Surface Book 2 นั้นรองรับการใช้งานถึง 4 โหมด คือ Studio Mode, Laptop Mode, View Mode หรือแม้แต่ Tablet Mode ที่ใช้งานง่ายๆ เพียงถอดหน้าจอออก

Surface Book 2 มีวางจำหน่าย 2 รุ่น คือ 13.5 นิ้ว และ 15 นิ้ว ที่ให้พลังงานแบตเตอรี่ยาวนานถึง 17 ชั่วโมง เพื่อการสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การเปิดใช้งานซอฟต์แวร์ เช่น Adobe Creative Cloud และ Autodesk ไปจนถึงการเล่นเกม อย่าง Forza Motorsport 7 หรือ Gears of War ที่ความละเอียด 1080p และการแสดงผล 60fps ที่สลับใช้งานได้ทั้งการทำงานและเล่นเกมได้อย่างไม่สะดุด

Surface laptop: ประสิทธิภาพพร้อมการออกแบบอย่างมีสไตล์

Surface Laptop ยกระดับความสามารถและการออกแบบ มาในอุปกรณ์ฝาพับที่ดูหรูหราทันสมัย ได้รับการพัฒนามาให้ใช้งานได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่เปิดเครื่อง เหนือชั้นกว่าแล็ปท็อปทั่วไป ด้วยซีพียู Intel® Core™ เจนเนอเรชันที่ 7 พร้อมแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้นาน 14.5 ชั่วโมง ยาวนานตลอดทั้งวัน ด้วยน้ำหนักเพียง 1.25 กิโลกรัม และบางเพียง 14.5 มิลลิเมตร ทำให้ Surface Laptop เข้ากับกระเป๋าใบโปรดของคุณและพกพาสะดวกได้อย่างลงตัว

นอกจากนี้ Surface Laptop ยังเปี่ยมด้วยเอกลักษณ์เฉพาะตัวจากวัสดุสุดหรูอย่าง Alcantara® พร้อมปุ่มที่ตอบสนองรวดเร็วและเงียบ แทร็กแพดขนาดใหญ่ที่มีความแม่นยำสูง และที่พักข้อมือเพื่อความนุ่มสบายขณะพิมพ์

Surface Laptop มาพร้อมกับ Windows 10 S ประสบการณ์ใหม่บนแพลตฟอร์ม Windows ที่ผสมผสานความปลอดภัยและประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ช่วยให้ตัวเครื่องพร้อมใช้งานหลังเปิดเครื่องในไม่กี่วินาทีด้วยเทคโนโลยี InstantOn และตอบสนองเร็วขึ้นด้วยแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานอย่างต่อเนื่องแบบเต็มสมรรถนะ

###

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-surface-availability/

[PR] ผลสำรวจไมโครซอฟท์-ไอดีซี ชี้“ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น” พร้อมขับเคลื่อน 
GDP ไทยให้เติบโตสูงขึ้นกว่า 2.82 แสนล้านบาทในปี 2564

  • รายงานวิจัยที่ไอดีซีจัดทำขึ้นร่วมกับไมโครซอฟท์ คาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์และบริการเชิงดิจิทัลจะสร้างมูลค่าคิดเป็นร้อยละ 40 ของ GDP ของประเทศไทยในปี 2564 พร้อมเสริมให้อัตราการเติบโตปีของ GDP ไทยสูงขึ้นด้วยค่าเฉลี่ยราว 0.4% ต่อปี
  • การปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) ส่งผลให้องค์กรมีผลกำไรที่ดีขึ้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสร้างรายได้เพิ่มเติมได้จากทั้งผลิตภัณฑ์และบริการทั้งที่มีอยู่เดิม และที่คิดค้นขึ้นใหม่ด้วยเทคโนโลยี โดยภายใน 3 ปีข้างหน้านี้ องค์กรจะได้รับผลประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 40%
  • องค์กรที่เป็นผู้นำในการปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลจะได้รับผลประโยชน์มากกว่ากลุ่มผู้ตามถึงหนึ่งเท่าตัว
  • การปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลจะช่วยให้คนไทยมีรายได้มากขึ้น ผ่านทางงานอิสระและงานเชิงดิจิทัล พร้อมด้วยตำแหน่งงานใหม่ๆ ที่มีระดับรายได้สูงกว่าในปัจจุบัน

กรุงเทพฯ  20 กุมภาพันธ์ 2561รายงานวิจัย ปลดล็อคโลกเศรษฐกิจในยุคแห่งการปฏิรูปด้วยดิจิทัล ที่จัดทำขึ้นโดยไมโครซอฟท์และไอดีซี เอเชียแปซิฟิก เผยว่าการปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2.82 แสนล้านบาท ภายในปี 2564 และขับเคลื่อนให้อัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยราว 0.4% ต่อปี

นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้ยังคาดการณ์ว่ากระบวนการการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วขึ้นมากในอนาคต จากที่ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์และบริการที่ต่อยอดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในด้านอุปกรณ์พกพา คลาวด์ IoT (Internet of Things) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถสร้างมูลค่า GDP ให้กับประเทศไทย คิดเป็นอัตราส่วนราว 4% เท่านั้น

ประเทศไทยกำลังเร่งเครื่องเพื่อเดินหน้าต่อไปบนเส้นทาง ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น อย่างรวดเร็ว โดยภายในช่วง 4 ปีข้างหน้า เราคาดว่ามูลค่า GDP จากผลิตภัณฑ์และบริการเชิงดิจิทัลจะพุ่งสูงขึ้นเป็นราว 40%” นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวในขณะเดียวกัน องค์กรทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างก็นำเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง AI มาใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การปฏิรูปธุรกิจ ซึ่งจะมีผลให้การเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลยิ่งรวดเร็วขึ้นไปอีก

รายงานวิจัยของไมโครซอฟท์และไอดีซี ได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้บริหารในองค์กรขนาดกลางและใหญ่จำนวน 1,560 ท่าน ใน 15 ประเทศและเขตการปกครองทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเผยถึงผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล

สำหรับในประเทศไทย ผู้บริหารรวม 100 ท่าน ได้ระบุถึงประโยชน์หลัก 5 ประการที่องค์กรได้รับจากการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล ดังต่อไปนี้

ทั้งนี้ ผู้บริหารที่เข้าร่วมการสำรวจมองว่าองค์กรของตนจะได้รับผลประโยชน์ในด้านต่างๆ เหล่านี้มากขึ้นอีกกว่า 40% ภายในปี 2563 โดยเฉพาะในด้านการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่

ผู้นำโลกดิจิทัลทั่วเอเชียแปซิฟิก พร้อมชิงชัยคว้าโอกาสเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

รายงานวิจัยฉบับนี้พบว่ากว่า 82% ขององค์กรในประเทศไทยได้เริ่มเดินหน้าบนเส้นทาง ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น แล้ว แต่หากถอยมามองในภาพรวมระดับภูมิภาค กลับมีองค์กรเพียงแค่ 7% เท่านั้น ที่มีศักยภาพและกลยุทธ์เชิงดิจิทัลอยู่ในระดับผู้นำ ทั้งนี้ องค์กรที่เป็นผู้นำด้านดิจิทัลจะต้องมีกลยุทธ์สำหรับการปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ และมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการเชิงดิจิทัลไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสาม โดยขณะนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้องค์กรในกลุ่มผู้นำนี้สามารถยกระดับประสิทธิภาพและผลงานขององค์กรได้ราว 20-30% ในแต่ละด้าน

เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรในกลุ่มผู้ตามแล้ว ผู้นำเชิงดิจิทัลจะได้รับประโยชน์จากการปฏิรูปธุรกิจมากกว่าองค์กรในกลุ่มผู้ตามราวหนึ่งเท่าตัว และช่องว่างนี้จะยิ่งเพิ่มขึ้นอีกในปี 2563 ปัจจุบัน ราวครึ่งหนึ่งขององค์กรในกลุ่มผู้นำมีกลยุทธ์ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่นเต็มรูปแบบไว้ขับเคลื่อนการทำงานขององค์กรแล้ว

การปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลเป็นกระแสความเคลื่อนไหวที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วขึ้นเรื่อยๆ โดยไอดีซีคาดว่าในปี 2564 กว่า 48% ของ GDP ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีที่มาจากผลิตภัณฑ์และบริการเชิงดิจิทัล ในขณะที่ประเทศไทยมีอัตราส่วนนี้อยู่ที่ 40% ซึ่งถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับชาติอื่นๆ ในภูมิภาค ขณะที่การเติบโตและพัฒนาของทุกภาคอุตสาหกรรมจะขับเคลื่อนด้วยผลิตภัณฑ์ บริการ ระบบงาน และความร่วมมือที่ล้วนผ่านการยกระดับด้วยนวัตกรรมดิจิทัล ส่วนองค์กรในกลุ่มผู้นำจะสามารถสร้างผลประโยชน์ทางธุรกิจได้ดีกว่ากลุ่มผู้ตามถึงหนึ่งเท่าตัว ไม่ว่าจะเป็นในด้านประสิทธิผลการทำงาน การลดค่าใช้จ่าย หรือเสียงสนับสนุนจากฐานลูกค้า องค์กรที่ต้องการจะแข่งขันในตลาดได้อย่างทัดเทียม จะต้องเปลี่ยนระบบการประเมินผลงานขององค์กร ปรับโครงสร้างการทำงาน และออกแบบแพลตฟอร์มเทคโนโลยีที่ใช้งานอยู่ขึ้นมาใหม่ให้เหมาะสมนายไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ กล่าว

รายงานวิจัยของไมโครซอฟท์และไอดีซี เผยให้เห็นถึงข้อแตกต่างหลักๆ ระหว่างองค์กรในระดับผู้นำและผู้ตามเชิงดิจิทัลไว้ดังนี้

  • องค์กรกลุ่มผู้นำจะให้ความสนใจกับคู่แข่งและเทคโนโลยีใหม่ๆ มากกว่า เนื่องจากระบบเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลได้เปิดทางให้กับคู่แข่งทางธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีใหม่เช่น AI ที่เข้ามาพลิกโฉมรูปแบบการทำธุรกิจในหลายมิติ
  • ความคล่องตัวในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับองค์กรในระดับผู้นำ ขณะที่กลุ่มผู้ตามมักมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและศักยภาพในการทำกำไร
  • องค์กรหลายรายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้เริ่มหันมาวัดผลการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลด้วยเกณฑ์วัดผล (KPI) ในรูปแบบใหม่ๆ เช่นประสิทธิภาพของระบบงาน การใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์กับผลประกอบการ และการเสริมสร้างความผูกพันของลูกค้ากับองค์กร ซึ่งวัดได้ด้วยระบบคะแนน Net Promoter Score (NPS) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว องค์กรในระดับผู้นำมีความสนใจในด้านการใช้ข้อมูลเพื่อเพิ่มรายได้ เสริมประสิทธิภาพการทำงาน และพลิกรูปแบบการทำธุรกิจ มากกว่าองค์กรในกลุ่มผู้ตามเป็นอย่างมาก
  • องค์กรในกลุ่มผู้นำเล็งเห็นถึงและเข้าใจในอุปสรรคบนเส้นทางการปฏิรูปธุรกิจมากกว่ากลุ่มผู้ตาม โดยนอกจากประเด็นปัญหาด้านการขาดทักษะและความปลอดภัยเชิงไซเบอร์แล้ว องค์กรระดับผู้นำยังตระหนักดีถึงความจำเป็นในการเสริมศักยภาพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อเปิดมุมมองใหม่ในการแข่งขันในตลาด
  • องค์กรระดับผู้นำต่างสนใจที่จะลงทุนในเทคโนโลยี AI และ IoT ในปี 2561 นี้ และยังมีความมุ่งมั่นที่จะลงทุนในด้านศักยภาพการวิเคราะห์ข้อมูลสูงกว่าองค์กรในกลุ่มผู้ตามอีกด้วย

องค์กรในกลุ่มผู้นำแตกต่างจากองค์กรอื่นๆ อย่างชัดเจน ด้วยความสามารถในการคว้าโอกาสจากการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล ด้วยคุณลักษณะเฉพาะตัวเชิงวัฒนธรรมขององค์กรดังต่อไปนี้

องค์กรในยุคนี้ควรปรับแนวคิดให้เป็นไปตามแนวทางของกลุ่มผู้นำในโลกดิจิทัล เพื่อพัฒนาระบบนิเวศเชิงดิจิทัลในองค์กร ทั้งสำหรับพนักงาน ลูกค้า และพันธมิตร และเพิ่มมูลค่าให้กับระบบงานขององค์กรในภาพรวมนายอัลเบอร์โต้ กรานาดอส รองประธานฝ่ายขาย การตลาด และบริการ ไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก กล่าวไมโครซอฟท์เองมีศักยภาพที่แตกต่างและโดดเด่นกว่าใครในการสนับสนุนให้องค์กรต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคนี้ได้ก้าวสู่ความสำเร็จบนเส้นทาง ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เราสามารถพูดเช่นนี้ได้อย่างมั่นใจ เพราะว่าองค์กรของเราเองก็ได้ผ่านกระบวนการปฏิรูปนี้มาแล้วเช่นกัน เราจึงเข้าใจดีว่าการบรรลุผลสำเร็จในโลกดิจิทัลนั้น จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยใดบ้าง

ผลประโยชน์จาก ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น ครอบคลุมถึงหลากหลายภาคส่วนในสังคม

ผู้บริหารองค์กรที่เข้าร่วมการสำรวจในครั้งนี้เชื่อว่าการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลจะก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคม 3 ประการใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้

  1. โอกาสในการสร้างรายได้ส่วนบุคคล ผ่านทางงานอิสระและงานเชิงดิจิทัล
  2. การเปิดตำแหน่งงานใหม่ที่มีรายได้สูงขึ้น
  3. สังคมเมืองที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปลอดภัยขึ้น รองรับวิถีชีวิตที่ชาญฉลาดยิ่งขึ้น

ผู้บริหารในประเทศไทยเชื่อว่าตำแหน่งงานกว่า 95% จะมีเนื้องานหรือขอบเขตการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้ ด้วยผลกระทบจากปรากฏการณ์ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยตำแหน่งงานถึง 65% จะมีมูลค่าและความต้องการด้านทักษะเพิ่มสูงขึ้น หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบไปในทิศทางใหม่ เพื่อให้ตอบรับความต้องการของสังคมยุคดิจิทัล

การปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลในแถบเอเชียแปซิฟิกจะมีผลกระทบกับตลาดแรงงาน โดยตำแหน่งงานหลายประเภทอาจจะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนารูปแบบไปในทิศทางใหม่ๆ อย่างไรก็ดี กว่า 79% ของผู้บริหารที่เข้าร่วมการสำรวจมองว่าบุคลากรรุ่นใหม่ในองค์กรของตน มีทักษะแห่งอนาคตมากเพียงพอให้พวกเขาสามารถขยับขยายไปรับมือกับตำแหน่งงานใหม่ได้นายธนวัฒน์เผย

แนวทางการคว้าโอกาสในยุคแห่งการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล

องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกต่างต้องเร่งเครื่องเดินหน้าบนเส้นทาง ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น เพื่อคว้าโอกาสใหม่ๆ ให้ได้คุ้มค่าที่สุด และปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จากการเริ่มประยุกต์ใช้งาน AI อย่างแพร่หลาย ยิ่งไปกว่านั้น ทุกองค์กรยังต้องหันมาให้ความสนใจกับการแปรรูปทรัพยากรข้อมูลในมือให้กลายเป็นมุมมองใหม่ๆ ในตลาด โอกาสในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการเชิงดิจิทัลรูปแบบใหม่ หรือแม้แต่ช่องทางการสร้างรายได้จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคู่ค้าอย่างปลอดภัย

คุณปริยา จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ดิจิทัลและการตลาดรายได้เสริมองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เผยว่าการบินไทยได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ภายในองค์กร ไม่ใช่แค่เพียงเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตต่อไปเท่านั้น แต่เรายังต้องการพลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้ การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งในตัวลูกค้าเอง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในทุกภารกิจของเรา

เมื่อเร็วๆ นี้ การบินไทยได้ยกระดับประสบการณ์การบริการลูกค้าด้วยการเปิดตัวน้องฟ้าแชทบอทที่นำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้ในการตอบคำถามและข้อสงสัยของลูกค้า โดยสามารถสนทนากับลูกค้าได้ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษน้องฟ้าพัฒนาขึ้นโดยใช้ชุดเครื่องมือการพัฒนาบอทของไมโครซอฟท์ (Microsoft Bot Framework) และบริการบอทสำหรับแพลตฟอร์มคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ (Azure Bot Service) จึงทำให้สามารถตอบสนองทุกข้อซักถามได้อย่างทันท่วงทีตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นในด้านข้อเสนอพิเศษ การเช็กอินออนไลน์ ตารางเที่ยวบิน สินค้า และบริการเสริมมากมาย และหากคำถามใดที่บอทน้องฟ้าไม่สามารถให้คำตอบได้ ลูกค้าสามารถเลือกติดต่อเจ้าหน้าที่ต่อไปได้

นอกจากนี้ การบินไทยยังมีแผนที่จะพัฒนาเว็บไซต์รูปแบบใหม่ที่นำข้อมูลของลูกค้ามาใช้เป็นพื้นฐานในการปรับเปลี่ยนข้อมูลและเนื้อหาที่แสดงบนหน้าเว็บให้ตรงกับความสนใจของผู้เยี่ยมชมแต่ละคน ขณะที่แอปพลิเคชันสำหรับสมาร์ทโฟน ของการบินไทยก็จะได้รับการพัฒนาต่อยอดให้มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

ยุคนี้เป็นยุคของการพลิกธุรกิจด้วยคลาวด์ จึงทำให้เราสามารถเสริมศักยภาพของพนักงานให้ได้เข้าถึงระบบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้าให้ลึกซึ้งกว่าเดิม และนำความเข้าใจนี้ไปยกระดับบริการของเราให้ตรงกับความต้องการของพวกเขามากยิ่งขึ้น เรามุ่งหวังให้พนักงานของเราสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ในระบบงาน ที่ทบรวมกันจนเกิดเป็นความประทับใจที่เหนือกว่าสำหรับลูกค้าคุณปริยาเสริม

ไมโครซอฟท์แนะนำให้องค์กรต่างๆ เดินหน้าสู่สถานะความเป็นผู้นำบนเส้นทางการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล ภายใต้กลยุทธ์ดังนี้

  1. วางรากฐานวัฒนธรรมเชิงดิจิทัลองค์กรในปัจจุบันต้องพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในอย่างแน่นแฟ้น ควบคู่ไปกับความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าและคู่ค้าหลากหลายราย โดยองค์กรสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ในหลายด้าน จนทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของทั้งลูกค้าและคู่ค้าได้ดียิ่งขึ้น
  2. พัฒนาระบบนิเวศเชิงข้อมูลในโลกยุคดิจิทัล องค์กรทุกแห่งต่างมีกระแสข้อมูลไหลเข้ามามากมาย ทั้งจากแหล่งภายในและภายนอกองค์กร กุญแจสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นผู้นำในยุคดิจิทัลได้ คือการแปรรูปข้อมูลเหล่านี้ให้กลายเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า และการแบ่งปันแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร ในรูปแบบที่ทั้งเปิดกว้างและปลอดภัยควบคู่กันไป นอกจากนี้ การวางกลยุทธ์ด้านข้อมูลให้เหมาะสมกับแนวทางการปฏิบัติงานจะช่วยให้องค์กรสามารถเริ่มต้นพัฒนาระบบ AI ของตนเองได้ เพื่อเสริมศักยภาพในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล ค้นหามุมมองและแนวทางใหม่ๆ ในการทำธุรกิจต่อไป
  3. เปลี่ยนแปลงจากเรื่องเล็ก ทบผลไปสู่เรื่องใหญ่โดยส่วนใหญ่แล้ว การปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลไม่ได้เริ่มต้นด้วยการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งองค์กร แต่กลับออกเดินก้าวแรกด้วยการเปลี่ยนแปลงจุดเล็กๆ จำนวนมาก ผ่านทางโครงการขนาดย่อมที่ใช้เวลาไม่นาน ทำประโยชน์ให้กับธุรกิจได้อย่างเห็นผล และสามารถต่อยอดหรือขยายตัวไปสู่การดำเนินนโยบายเชิงดิจิทัลในรูปแบบที่กว้างขวางและแปลกใหม่ยิ่งขึ้นต่อไป
  4. ปลูกฝังทักษะแห่งอนาคต ทั้งในระดับบุคคลและองค์กรองค์กรในปัจจุบันต้องหันมาพิจารณาแนวทางการพัฒนาบุคลากรและการปรับพื้นฐานทักษะของพนักงาน เพื่อให้บุคลากรมีความสามารถพร้อมรับมือกับความท้าทายในอนาคต เช่นการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การคิดวิเคราะห์ หรือความคิดสร้างสรรค์เชิงเศรษฐกิจดิจิทัล นอกจากนี้ องค์กรยังต้องปรับสมดุลเชิงบุคลากรเพื่อให้สามารถดึงดูดและรักษาพนักงานที่มีความถนัดในเชิงดิจิทัลได้ ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นของกลุ่มคนทำงานอิสระสำหรับความต้องการเฉพาะทางในบางโอกาส สำหรับทักษะที่จำเป็นในยุคดิจิทัลนั้น ทาง LinkedIn ได้สรุปผลงานวิจัยเอาไว้ว่าบุคลากรที่จะประสบความสำเร็จในอนาคตนั้น ต้องอาศัย 3 ทักษะ “ABC” ซึ่งได้แก่ AI, Big Data และ Cloud Computing

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซลูชั่นเพื่อการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลของไมโครซอฟท์ สำหรับองค์กรขนาดกลางและใหญ่ได้ที่ https://enterprise.microsoft.com/en-apac/

###

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @Microsoft) ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการที่มุ่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ เพื่อขับเคลื่อนทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536  มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์   ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่านการใช้เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร  ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ  มีความสะดวกทันสมัย  และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทยhttp://news.microsoft.com/th-th/ และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-idc-digital-transformation-gdp/

[PR] Facebook เปิดให้องค์กรและธุรกิจโพสต์ใน Community Help ได้แล้ว

ฟีเจอร์ใหม่นี้ช่วยให้องค์กรและธุรกิจต่างๆ สามารถแบ่งปันข้อมูลสำคัญและให้บริการที่จำเป็นแก่ผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือในภาวะวิกฤตง่ายยิ่งขึ้น

ในภาวะวิกฤต ผู้คนมักจะเข้ามาใช้งาน Crisis Response บน Facebook เพื่อแจ้งให้เพื่อนและครอบครัวทราบว่าพวกเขาปลอดภัยดี อีกทั้งยังแบ่งปันเรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและวิธีการที่จะช่วยให้ชุมชนฟื้นตัวหลังจากเหตุการณ์นั้นๆ เมื่อหนึ่งปีที่แล้ว Facebook ได้เปิดตัว Community Help เพื่อช่วยให้การส่งคำขอและการมอบความช่วยเหลือในภาวะวิกฤตเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น แต่ว่าการที่คนเราช่วยเหลือกันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีแก้ปัญหาเท่านั้น เนื่องจากองค์กรและธุรกิจต่างๆ ก็มีบทบาทสำคัญในการให้ความช่วยเหลือต่อการรับมือกับภาวะวิกฤตและการฟื้นฟูสภาพของชุมชนเช่นกัน

ขณะนี้ Facebook ได้เปิดให้องค์กรและธุรกิจสามารถโพสต์ข้อความลงใน Community Help เพื่อให้พวกเขาสามารถแบ่งปันข้อมูลสำคัญและให้บริการที่จำเป็นสำหรับผู้คนที่ต้องการความช่วยเหลือในภาวะวิกฤตได้ ตัวอย่างเช่น พวกเขาอาจโพสต์เกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้คนในการค้นหาสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ไปจนถึงการหาเสบียงอาหาร และการเชื่อมต่ออาสาสมัครเข้ากับองค์กรที่ต้องการความช่วยเหลือ เป็นต้น

ฟีเจอร์ดังกล่าวได้เริ่มต้นให้บริการในหลากหลายเพจองค์กรและธุรกิจ เช่น ไดเร็คท์ รีลีฟ ลิฟท์ (Direct Relief Lyft) อินเตอร์เนชันแนล เมดิคัล คอร์ปส์ (International Medical Corps) เดอะ แคลิฟอร์เนีย ดีพาร์ทเมนต์ ออฟ ฟอเรสทรี แอนด์ ไฟร์ (The California Department of Forestry and Fire) และ เซฟ เดอะ ชิลเดรน (Save the Children) และจะเพิ่มการบริการไปยังเพจอื่นๆ มากขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

อาช่า ชาร์มา หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสังคม Facebook กล่าวว่า “สิ่งที่สำคัญที่สุดของ Facebook คือการสร้างเครื่องมือที่ช่วยดูแลให้ทุกคนปลอดภัยและให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการที่จะนำมาซึ่งความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการ เพื่อฟื้นคืนสู่สภาพปกติและฟื้นฟูชุมชนหลังจากภาวะวิกฤต เราหวังว่าการอัพเดทครั้งนี้จะช่วยให้ผู้คนได้รับความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการอย่างง่ายดายยิ่งขึ้นและทันท่วงทีในภาวะวิกฤต และยังช่วยให้ธุรกิจและองค์กรต่างๆ มีโอกาสในการสร้างชุมชนรอบๆ ตัวที่แข็งแกร่งยิ่งขึ้นอีกด้วย”

หนึ่งปีของ Community Help

ในหนึ่งปีที่ผ่านมา ผู้คนได้หันมาใช้งาน Community Help ในภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นกว่า 500 ครั้ง โดยส่วนหนึ่งของภาวะวิกฤตที่ผู้คนได้ใช้งาน Community Help มากที่สุดในปี 2560 ได้แก่ เหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศบราซิล (เดือนพฤษภาคม) เฮอริเคนฮาร์วีย์ในสหรัฐฯ (เดือนสิงหาคม) การก่อการร้ายในบาร์เซโลนา (เดือนสิงหาคม) เหตุการณ์น้ำท่วมในมุมไบ (เดือนสิงหาคม) และเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเม็กซิโกกลาง (เดือนกันยายน)

นอกจากนี้ ผู้คนได้มีส่วนร่วมใน Community Help กว่า 750,000 ครั้ง ผ่านโพสต์ การแสดงความคิดเห็น และข้อความ และส่วนที่พวกเขาใช้งานบ่อยที่สุดคือ โอกาสสำหรับอาสาสมัคร ที่หลบภัย การบริจาคอาหารและเสื้อผ้า

“นี่คือเครื่องมือใหม่ที่มีความสำคัญในการช่วยเหลือผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติฉุกเฉิน เพราะพวกเขาจะสามารถเชื่อมต่อกับข้อมูลและสิ่งจำเป็นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น เราเรียนรู้จากประสบการณ์ของเราว่าความรวดเร็วและข้อมูลคือสิ่งที่สามารถช่วยชีวิตคนเอาไว้ได้ การเปิดทางเพื่อให้เข้าถึงต่อสิ่งจำเป็นและวิธีที่นำไปสู่การได้รับความช่วยเหลือ ช่วยลดความวิตกกังวลขอผู้รอดชีวิตจากภัยพิบัติ เราเล็งเห็นพลังอันยิ่งใหญ่ของเครือข่ายในการระดมทุน และเรารู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งที่จะได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเข้าถึงนั้น ซึ่งช่วยให้เราได้รับข้อมูลและบริการเชิงการแพทย์ที่สำคัญ ในช่วงเวลาและสถานที่ที่ผู้คนต้องการมากที่สุดระหว่างสถานการณ์ภัยพิบัติ” รีเบ็คก้า มิลเนอร์ รองประธานฝ่ายความก้าวหน้าขององค์กร อินเตอร์เนชันแนล เมดิคัล คอร์ปส์ กล่าว

ดาวน์โหลดอินโฟกราฟฟิค Community Help ได้ที่นี่ https://fbnewsroomus.files.wordpress.com/2018/02/communityhelp_infographic1.pdf

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม https://newsroom.fb.com/news/2018/02/making-it-easier-for-organizations-and-businesses-to-help-people-during-a-crisis/

###

from:https://www.techtalkthai.com/facebook-business-account-community-help/

[PR] ดิจิทัล เวนเจอร์ส สร้างประสบการณ์ค้าปลีกแบบดิจิทัลด้วยแอป “จตุจักร ไกด์” 
เสริมพลังจากไมโครซอฟท์ คลาวด์ให้ตลาดนัดสุดสัปดาห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ มอบความคล่องตัว พร้อมรองรับการใช้งานปริมาณมหาศาล เพื่อผสมผสานความรวดเร็วและแม่นยำแบบดิจิทัล เข้ากับประสบการณ์การช้อปที่เปี่ยมเอกลักษณ์

นักช้อปจำนวนมากต่างเพลิดเพลินไปกับการเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้านับพันรายในตลาดนัดจตุจักร ที่รองรับผู้มาเยือนมากกว่า 200,000 คนต่อวัน

กรุงเทพฯ  25 มกราคม 2561บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด ผู้พัฒนานวัตกรรมทางการเงินในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ พลิกวิสัยทัศน์ธุรกิจค้าปลีกยุคดิจิทัลให้เป็นจริงด้วยศักยภาพของเทคโนโลยีคลาวด์ พร้อมผสมผสานความสะดวกสบายของการช้อปแบบออนไลน์เข้ากับบรรยากาศและเสน่ห์ที่ไม่เสื่อมคลายของร้านค้าแบบดั้งเดิมที่ตลาดจตุจักร ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดสุดสัปดาห์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยยอดผู้มาเยือนกว่า 200,000 คนต่อวัน

แอปพลิเคชัน จตุจักร ไกด์ นำพลังของแพลตฟอร์มคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ มาสร้างประสบการณ์ใหม่ให้นัก
ช้อปได้เฟ้นหา เลือกสรร และนำทางไปยังสุดยอดร้านค้าที่เป็นไฮไลท์ของตลาดนัดจตุจักรได้อย่างสะดวกสบาย โดยผู้ใช้แอปจะสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลระบบคลาวด์ที่ครอบคลุมร้านค้านับพัน ค้นหาร้านค้าตามชื่อและหมวดหมู่ พร้อมชมสินค้าที่น่าสนใจ และนำทางไปถึงหน้าร้านได้ด้วยเทคโนโลยี geomagnetic โดยไม่ต้องกังวลไปกับทางเดินที่ซับซ้อนภายในตัวตลาด ทั้งยังเขียนรีวิวให้กับร้านโปรดได้อีกด้วย

แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซได้เข้ามาพลิกโฉมวงการค้าปลีกในรูปแบบดั้งเดิม ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ทั่วโลกนายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัดความเปลี่ยนแปลงจากนวัตกรรมดิจิทัลนี้ได้สร้างโอกาสใหม่ มากมายให้กับกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก แต่ขณะเดียวกัน กลับพบว่ามีธุรกิจเอสเอ็มอีจำนวนมากที่ยังไม่สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด จึงได้ร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มที่จะช่วยให้ร้านค้าในตลาดนัดจตุจักรมีหน้าร้านออนไลน์ เพื่อให้ธุรกิจก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและเติบโตร่วมกันไปได้อย่างยั่งยืน โดยพัฒนาแพลทฟอร์มในรูปแบบของแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า จตุจักร ไกด์ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติสามารถค้นพบสินค้าของพวกเขาได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดอยู่แค่เพียงวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น

ระบบคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ มีบทบาทสำคัญในขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชันของดิจิทัล เวนเจอร์ส ด้วยความคล่องตัว ยืดหยุ่น และความสามารถในการรองรับการขยายระบบอย่างรวดเร็ว ซึ่งล้วนช่วยให้ทีมพัฒนาสามารถเริ่มต้นทำงานได้เร็ว บนโครงสร้างพื้นฐานที่ตอบโจทย์การใช้งานในกรณีของตลาดนัดจตุจักร ซึ่งจำเป็นต้องรองรับการใช้งานในปริมาณมากเฉพาะในช่วงสุดสัปดาห์เท่านั้น

ดาวน์โหลดแอพ “จตุจักร ไกด์”ได้ที่นี่

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเสริมว่าจตุจักร ไกด์ เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมชั้นยอดที่เราต้องการสนับสนุนและส่งเสริมให้กลายเป็นจริงด้วยอาซัวร์ ด้วยคุณสมบัติการใช้งานที่ชาญฉลาด เข้าใจง่าย และใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มคลาวด์อัจฉริยะในรูปแบบใหม่สำหรับทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภคไปพร้อมกัน เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้ทุกองค์กรสามารถเพิ่มทั้งผลตอบแทนจากการลงทุนและประสิทธิผลในการทำงานไปพร้อม กัน ทั้งยังเปิดประตูไปสู่โอกาสมากมายในการสร้างประสบการณ์ใหม่ที่โดดเด่นและแตกต่าง

เราสามารถพัฒนาแอปได้ภายในเวลา 2-3 เดือนนายอรพงศ์เผยความคล่องตัวนี้เป็นเหตุผลที่เราเลือกใช้คลาวด์เป็นรากฐานของโครงการนี้ตั้งแต่แรกเริ่ม ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ เป็นแพลตฟอร์มที่พร้อมให้เราต่อยอดความสำเร็จของ จตุจักร ไกด์ ในก้าวต่อไป เช่น การเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ร่วมโครงการ เพิ่มคุณสมบัติใหม่ ให้กับแอปพลิเคชัน และขยายแนวคิดธุรกิจแบบดิจิทัลนี้ให้กว้างไกลกว่าตลาดนัดจตุจักร

นอกเหนือจากความสะดวกสบายในการเลือกช้อปสินค้าในตลาดจตุจักรแล้ว แอปพลิเคชัน จตุจักร ไกด์ ยังเป็นช่องทางมอบข้อเสนอพิเศษหลากหลายรูปแบบให้กับนักช้อป เช่นการแจกคูปองในรูปแบบของ QR code เป็นต้น

องค์กรที่สนใจในคุณสมบัติอัจฉริยะของแพลตฟอร์มคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมและรับข้อเสนอทดลองใช้ที่เหนือกว่าของทุกแพลตฟอร์มได้ที่ https://azure.microsoft.com/ และติดตามข่าวสารล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ประเทศไทยได้ที่ https://news.microsoft.com/th-th/

###

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ (Nasdaq “MSFT” @Microsoft) ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการที่มุ่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ เพื่อขับเคลื่อนทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า

บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นในปี 2536  มีความมุ่งมั่นในการช่วยให้คุณภาพชีวิตคนไทย 70 ล้านคน ดีขึ้นด้วยเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์   ไมโครซอฟท์ ส่งเสริมให้คนไทยและภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงศักยภาพที่มีอย่างเต็มเปี่ยมผ่านการใช้เทคโนโลยีที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลง ในการทำงาน การใช้ชีวิต และการสื่อสาร  ไมโครซอฟท์ให้บริการซอฟต์แวร์ บริการ และดีไวซ์ ที่สามารถก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ  มีความสะดวกทันสมัย  และช่วยให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  ไมโครซอฟท์ ไม่หยุดนิ่งในการทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ พันธมิตร อย่างต่อเนื่องในการนำพลังของเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทย http://news.microsoft.com/th-th/ และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

from:https://www.techtalkthai.com/digital-venture-jatujak-guide-app/

[PR] ไมโครซอฟท์ประกาศกลยุทธ์ใหม่เพื่อพลิกโฉมเสริมศักยภาพ และขยายตลาดให้พันธมิตรบรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งขึ้น

พร้อมมอบรางวัลพันธมิตรไทยในงาน FY18 Microsoft Thailand Inspire 

C

กรุงเทพฯ 24 พฤศจิกายน 2560 บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) ฉลองความสำเร็จพันธมิตรธุรกิจ ในงาน FY18 Microsoft Thailand Inspire  ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่โรงแรมพาร์ค ไฮแอท กรุงเทพฯ พร้อมมอบรางวัล Microsoft Thailand Partner Award 2017 จำนวน 5 สาขา ให้แก่คู่ค้าที่ประสบความสำเร็จในการนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างโดดเด่นในยุคดิจิทัล ภายใต้แนวคิด “One Commercial Partner” เพื่อช่วยขับเคลื่อนและส่งเสริมพันธมิตรให้เติบโตอย่างก้าวกระโดดและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดในการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล

ปัจจุบันโลกกำลังอยู่ในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทและสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันให้กับธุรกิจทั่วโลก ซึ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาล ด้วยการเปลี่ยนแปลงนี้ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จึงให้ความสำคัญกับการปฏิรูปกระบวนการทางธุรกิจด้วยดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับ 4 มิติหลัก คือ การเสริมศักยภาพให้กับพนักงาน การยกระดับการเข้าถึงและให้บริการลูกค้า การยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรและการใช้เทคโนโลยีเข้ามาพลิกโฉมผลิตภัณฑ์และบริการ

นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าในขณะที่องค์กรต่างๆ กำลังปรับตัวในยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทและสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในรอบยี่สิบปี การขับเคลื่อนธุรกิจของลูกค้าในยุคการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลทำให้เกิดโอกาสทางการตลาดทั่วโลกมูลค่าสูงถึง 4.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยโอกาสที่มากมายขนาดนี้ พันธมิตรของเราได้เริ่มมีการปรับตัว ปรับองค์กรเพื่อเพิ่มความสามารถและโอกาสที่จะขยายตลาดได้มากที่สุด ในปีนี้ไมโครซอฟท์จึงให้ความสำคัญกับการเป็นผู้ช่วยสำคัญในการพัฒนาความสามารถของพันธมิตรไม่ว่าจะเป็นด้านความเชี่ยวชาญทางการตลาด ความเชี่ยวชาญทางเทคนิค และด้านอื่น ที่พันธมิตรต้องการ นอกจากนั้นเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการตอบสนองลูกค้า ทั้งกลุ่มองค์กรและกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไมโครซอฟท์มีการลงทุนจัดตั้งหน่วยงานใหม่ชื่อว่า “Worldwide Inside Sales” ใน 4 เมืองหลักทั่วโลก โดยหน่วยงานนี้ประกอบด้วยทีมงานในด้านต่าง ที่จะให้คำปรึกษาแก่ลูกค้าของไมโครซอฟท์ ตั้งแต่สร้างความรู้จักสินค้าและโซลูชั่นใหม่ ผ่านทางช่องทางออนไลน์ สร้างความเข้าใจในธุรกิจและนำเสนอโซลูชั่นที่เหมาะสมโดยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และเราจะทำงานร่วมกันกับพันธมิตรเพื่อสร้างความพอใจในการนำเอาเทคโนโลยีของไมโครซอฟท์ไปปรับใช้ในธุรกิจ และพันธมิตรสามารถสร้างการโอกาสทางการตลาดอื่นๆ กับลูกค้านั้น ได้

ไมโครซอฟท์มีความภูมิใจที่เราได้มีการนำพันธมิตรให้เป็นจุดศูนย์กลางในการขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้แนวคิด “One Commercial Partner” ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ด้านหลัก คือ 1) การร่วมพัฒนาศักยภาพของพันธมิตรทั้งเชิงเทคนิคและการตลาด สนับสนุนการสร้างทรัพย์สินทางปัญญา เสริมโอกาสในการแข่งขันทางธุรกิจ 2) การทำการตลาดแนวใหม่โดยเน้นที่ลูกค้าเป็นหลัก ด้วยการช่วยวิเคราะห์หากลุ่มลูกค้าที่เหมาะสมและเทคนิคที่จะใช้เพื่อเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนั้น และ 3) การร่วมขายกับทีมผู้เชี่ยวชาญในความต้องการของลูกค้านั้นๆ ทั้งหมดนี้ไมโครซอฟท์จะเข้ามาช่วยกระตุ้นการมีส่วนร่วมและความร่วมมือ พร้อมสานวัฒนธรรมการทำงานที่คำนึงถึงพันธมิตรเป็นสำคัญ เพื่อทำให้พันธมิตรบรรลุผลสำเร็จในการขับเคลื่อนลูกค้าให้พร้อมรับการปฏิรูปธุรกิจในยุคดิจิทัลได้อย่างสมบูรณ์แบบ

นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ไมโครซอฟท์ให้ความสำคัญกับพันธมิตรเป็นอันดับหนึ่ง พันธกิจของเรา คือ การเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและองค์กรบนโลกประสบความสำเร็จได้มากกว่า และพันธมิตรก็เป็นส่วนที่ทำให้เราบรรลุพันธกิจดังกล่าว สะท้อนให้เห็นได้จากการที่เราดำเนินธุรกิจกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ผ่านการขยายเครือข่ายพันธมิตรที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง ไมโครซอฟท์จึงคำนึงถึงความสำคัญในการทำงานร่วมกับพันธมิตรอย่างต่อเนื่อง ผ่านการเน้นย้ำการสร้างวัฒนธรรมการทำงานในองค์กรที่แข็งแกร่งซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้เทคโนโลยี ทั้งการสร้างความแตกต่างในการทำงาน สนับสนุนการริเริ่มสร้างสรรค์ พร้อมรับความเสี่ยงมาพัฒนาเป็นโอกาสทางธุรกิจ ซึ่งเป็นพื้นฐานอันมั่นคงในการทำงานร่วมกันกับพันธมิตร เพื่อสร้างทรัพย์สินและองค์ความรู้ร่วมกันพร้อมตอบโจทย์ลูกค้า และเป็นแรงสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไทยไปด้วยกัน ทั้งยังช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจได้อย่างไม่สิ้นสุด

สำหรับในปี 2560 นี้ ไมโครซอฟท์มอบรางวัลใน 5 สาขา แก่พันธมิตรจำนวน 4 องค์กร โดยใช้เกณฑ์หลายด้านประกอบกันในการตัดสิน อาทิ ความเชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของไมโครซอฟท์ การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและโซลูชั่นไปสู่คลาวด์ การผสมผสานเทคโนโลยีคลาวด์ในการให้บริการลูกค้า การให้บริการคลาวด์ที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ยอดจำหน่ายสินค้า ความพึงพอใจของลูกค้าที่อยู่ในเกณฑ์สูงและมีความต่อเนื่อง  เป็นต้น

บริษัทที่ได้รับรางวัล Microsoft Thailand Partner Award 2017 ทั้ง 5 สาขา ได้แก่

  1. รางวัล Microsoft Enterprise Business Solution of the year 2017 ได้แก่ บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด ในเครือของกลุ่มบริษัท G-ABLE
  2. รางวัล Microsoft SMB Business Solution of The Year 2017 ได้แก่ บริษัท ภัทร โปรเกรส จำกัด
  3. รางวัล Microsoft Distribution Partner of The Year 2017 ได้แก่ บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
  4. รางวัล Microsoft Cloud Solution Partner of The Year 2017 ได้แก่ บริษัท ไรป์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด
  5. รางวัล Microsoft Value Added Reseller Partner of The Year 2017 ได้แก่ บริษัท ภัทร โปรเกรส จำกัด

###

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการที่มุ่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทยhttp://news.microsoft.com/th-th/ และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-partner-award/

[PR] โรงไฟฟ้าจะนะ ยกระดับความปลอดภัยทั่วพื้นที่กว่า 800 ไร่
ด้วยกล้องวงจรปิดระบบเครือข่ายจากแอ็กซิส

เสริมสร้างขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน พร้อมเพิ่มศักยภาพเชิงปฏิบัติการ
ด้วยนวัตกรรมวิดีโอระดับโลก

กรุงเทพฯ 15 พฤศจิกายน 2560 – โรงไฟฟ้าจะนะ โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยกระดับการดูแลพื้นที่รอบบริเวณโรงไฟฟ้าด้วยกล้องวิดีโอแบบเครือข่ายจากแอ็กซิส คอมมูนิเคชั่นส์ พร้อมเผยแผนงานด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยของพนักงานในอนาคต เพื่อความอุ่นใจของชาวจังหวัดสงขลาและประชาชนในภาคใต้

โรงไฟฟ้าจะนะ ประกอบไปด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจำนวน 2 ชุด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 800 ไร่ โดยนำก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย มาใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้กว่า 1,571.8 เมกะวัตต์ เพื่อรองรับความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าของประชาชนในภาคใต้ โดยเฉพาะในตัวจังหวัดสงขลาเอง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าในระดับสูง

“พื้นที่โรงไฟฟ้าจะนะแห่งนี้ต้องเผชิญกับความเสี่ยงและเหตุการณ์ไม่คาดคิดในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการโจรกรรม การชุมนุม หรือแม้แต่ผู้ประสงค์ร้ายที่เข้ามาก่อกวน” นายศักดิ์ชัย วงศ์วิชัย หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงไฟฟ้าจะนะ กล่าว “ด้วยเหตุนี้เอง เราจึงจำเป็นต้องมีโซลูชั่นสำหรับการป้องกันและตรวจตราเหตุร้ายต่างๆ โดยมีระบบกล้องวงจรปิดเป็นหัวใจหลัก แต่จากประสบการณ์การใช้งานจริงที่ผ่านมา เรากลับพบว่ากล้องในระบบอะนาล็อกไม่สามารถตอบสนองความต้องการของเราได้อย่างเหมาะสม”

จากอะนาล็อกสู่ดิจิทัล ยกระดับทั้งการใช้งานและบำรุงรักษา

กล้องวงจรปิดแบบอะนาล็อกในระบบดั้งเดิมของโรงไฟฟ้าจะนะ มีปัญหาทั้งในด้านความเปราะบางของวัสดุและเสถียรภาพของระบบ ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าต้องเสียเวลาเดินทางออกไปแก้ไขปัญหา ณ จุดติดตั้ง และยังทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถตรวจสอบเหตุผิดปกติได้ทันท่วงที ส่วนพนักงานของโรงไฟฟ้ารวมกว่า 180 ชีวิต ก็ได้รับผลกระทบในด้านขวัญกำลังใจ เนื่องจากขาดความมั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยของโรงไฟฟ้า

ด้วยเหตุนี้เอง ผู้บริหารของโรงไฟฟ้าจึงตัดสินใจปรับเปลี่ยนระบบกล้องวงจรปิดใหม่ โดยพิจารณาจากคุณสมบัติที่จำเป็นในการใช้งานจริง นับตั้งแต่ความทนทานของอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมรอบโรงไฟฟ้า ความคมชัดของภาพ ประสิทธิภาพในการซูมระยะไกล พร้อมด้วยระบบเครือข่ายและซอฟต์แวร์ที่มีเสถียรภาพสูง ทำงานได้รวดเร็วและคล่องตัว

ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าจะนะได้เลือกไว้วางใจในโซลูชั่นระบบวิดีโอเครือข่ายจากแอ็กซิส ด้วยอุปกรณ์กล้องวงจรปิดดิจิทัลระบบเครือข่ายกว่า 87 ตัวจากหลากหลายรุ่นผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น AXIS Q6045 PTZ Dome กล้องวงจรปิดแบบโดมในเคสกันน้ำ กันฝุ่น พร้อมคุณสมบัติการประมวลผลวิดีโอแบบอัจฉริยะเพื่อตรวจจับและติดตามสิ่งแปลกปลอม AXIS M3007-PV กล้องทรงโดมขนาดเล็กสำหรับการถ่ายภาพมุมกว้างสูงสุดถึง 360 องศา หรือ AXIS Q6115-E PTZ กล้องทรงโดมสำหรับการใช้งานในพื้นที่กว้าง ซูมภาพได้สูงสุดถึง 30 เท่าตัว ทนทานได้ทั้งน้ำ ฝุ่น และแรงกระแทก พร้อมคุณสมบัติการวิเคราะห์ภาพวิดีโออัจฉริยะในตัว

กล้องวงจรปิดทั้ง 87 ตัว เชื่อมต่อกับระบบควบคุมผ่านเครือข่าย จึงทำให้เจ้าหน้าที่ของโรงไฟฟ้าสามารถตรวจตราหาผู้บุกรุกหรือเหตุผิดปกติเช่นเปลวไฟหรือการรั่วไหลของก๊าซได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ลักษณะเด่นของกล้องแต่ละรุ่นที่ทางโรงไฟฟ้าเลือกใช้ ช่วยให้ระบบสามารถดูแลทุกพื้นที่ได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึงในทุกสภาวะการใช้งานและสภาพอากาศ

สำหรับการติดตั้งระบบกล้องวงจรปิดครั้งนี้ ทางโรงไฟฟ้าจะนะได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทางบริษัท แอดวานซ์ คอร์ปอเรชั่น กรุ๊ป จำกัด และ บริษัท ดิจิตอลคอม จำกัด ที่จัดเตรียมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและเข้าใจในเทคโนโลยีด้านกล้องวงจรปิดอย่างแท้จริงมาช่วยในการติดตั้งและดำเนินการช่วยเหลือทั้งหมด

เตรียมเดินหน้าต่อยอดงานปฏิบัติการ

ในอนาคต โรงไฟฟ้าจะนะมีแผนที่จะขยายการใช้งานระบบกล้องของแอ็กซิสให้ครอบคลุมมากกว่าความต้องการด้านความปลอดภัยพื้นฐาน เช่นในกรณีของพื้นที่อันตรายในโรงไฟฟ้าที่อาจมีความร้อนสูงหรือไวต่อประกายไฟ อาจเลือกใช้กล้องวงจรปิดรุ่นพิเศษที่ทนทานต่อสภาพความร้อนได้ดี และได้รับการได้รับการรับรองว่าจะไม่ก่อให้เกิดประกายไฟหรือเกิดการระเบิดจากตัวกล้อง แทนที่จะใช้เจ้าหน้าที่เข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในพื้นที่ดังกล่าว

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าจะนะจะเริ่มดำเนินการติดตั้งกล้องที่มีคุณสมบัติดังกล่าวจากแอ็กซิสในช่วงปี 2561 นี้

###

เกี่ยวกับ แอ็กซิส คอมมูนิเคชั่นส์

แอ็กซิส นำเสนอโซลูชั่นด้านระบบรักษาความปลอดภัยอัจฉริยะที่ช่วยให้โลกปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ในฐานะผู้นำตลาดด้านระบบรักษาความปลอดภัยแบบวิดีโอระบบเครือข่าย แอ็กซิสขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้วยการคิดค้นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเครือข่ายภายใต้การทำงานแบบโอเพ่นแพลทฟอร์มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าผ่านเครือข่ายพันธมิตรจากทั่วโลกได้อย่างมาก แอ็กซิส สานความสัมพันธ์กับพันธมิตรอย่างยาวนาน และส่งต่อความรู้ความเข้าใจแก่พันธมิตร รวมถึงการคิดค้นผลิตภัณฑ์เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพอย่างไม่มีใครเหมือนให้กับพันธมิตรทั้งตลาดที่มีอยู่ในปัจจุบันและในตลาดใหม่

เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าจะนะ

โรงไฟฟ้าจะนะเป็นโครงการหนึ่งที่บรรจุอยู่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ.2547-2558 เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้าในภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่างซึ่งมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องและมีการลงทุนค่อนข้างสูง  โดยปัจจุบันโรงไฟฟ้าจะนะตั้งอยู่บนพื้นที่ตำบลป่าชิงและตำบลคลองเปียะ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 800 ไร่ ซึ่งประกอบด้วยโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน 2 ชุด ใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเชีย (JDA-A18) ในอ่าวไทยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิต มีกำลังการผลิตสุทธิรวม 1,571.8 เมกะวัตต์

from:https://www.techtalkthai.com/axis-surveillance-cameras-at-chana-power-plant/

[PR] โรงพยาบาลพระรามเก้ามุ่งเสริมความเชื่อมั่นด้วยการปฎิรูปโดยใช้เทคโนโลยี ตั้งเป้าเป็นโรงพยาบาลดิจิทัลเต็มตัว

ไมโครซอฟท์เผยผลสำรวจจากผู้นำภาคธุรกิจการแพทย์ในเอเชีย โดยร้อยละ 77 เห็นด้วยว่าทุกองค์กรจำเป็นต้องปรับธุรกิจสู่ดิจิทัลเพื่อความสำเร็จในอนาคต

กรุงเทพฯ – 14 พฤศจิกายน 2560ผลการสำรวจผู้นำภาคธุรกิจในอุตสาหกรรมการแพทย์ในเอเชียซึ่งรวมถึงประเทศไทยของไมโครซอฟท์ เอเชีย ว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปด้วยดิจิทัล เผยว่าองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบและแนวทางการทำธุรกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้ โดยร้อยละ 77 เชื่อว่าต้องการเปลี่ยนแปลงสู่ธุรกิจแบบดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่มีเพียงแค่ร้อยละ 25 ที่มีแผนกลยุทธ์ธุรกิจเรียบร้อยแล้ว และร้อยละ 45 อยู่ในขั้นตอนเพื่อพิจารณาหน่วยงานในการนำร่องการปฏิรูปด้วยดิจิทัล ขณะที่ร้อยละ 30 ยังขาดความพร้อมในเชิงกลยุทธ์

ผลสำรวจของไมโครซอฟท์ว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปด้วยดิจิทัลในเอเชีย ทำการสำรวจผู้นำภาคธุรกิจจำนวน 1,494 คนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก ที่ทำงานในองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 250 คน จาก 13 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวันและไทย โดยผู้ทำแบบสำรวจเป็นส่วนหนึ่งในทีมที่ช่วยพัฒนากลยุทธ์ดิจิทัลให้องค์กร ซึ่งรวมถึงธุรกิจการแพทย์จำนวน 247 แห่ง   

นางสาว ทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าจากผลสำรวจของไมโครซอฟท์ว่าด้วยเรื่องการปฏิรูปด้วยดิจิทัลในเอเชีย พบว่าอุตสาหกรรมการแพทย์ในเอเชีย แปซิฟิก เริ่มมีความตื่นตัวและมองเห็นความจำเป็นในการปฏิรูปธุรกิจในยุคดิจิทัล เพื่อเตรียมตัวรับความท้าทายและโอกาสในการเติบโตทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ข้อมูลหรือ data เข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในการช่วยปรับเปลี่ยนระบบการดำเนินงานทางการแพทย์จากแบบเดิมสู่แบบใหม่ ด้วยการบริหารจัดการสุขภาพของบุคคลและสาธารณสุขโดยรวมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยค่าใช้จ่ายที่น้อยลง เราจึงอยากผลักดันให้ผู้นำภาคธุรกิจก้าวสู่การปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล ท่ามกลางกระแสความเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างน่าเชื่อถือ

โรงพยาบาลพระรามเก้า มุ่งยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานด้วยดิจิทัล

ในประเทศไทย ไมโครซอฟท์ทำงานร่วมกับองค์กรในทุกอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิด เพื่อช่วยเป็นกำลังผลักดันการปฏิรูปธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล อุตสาหกรรมการแพทย์ถือเป็นอีกกลุ่มธุรกิจที่ไมโครซอฟท์เข้ามามีบทบาทในการช่วยส่งเสริมการยกระดับการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับองค์กร พนักงาน ตลอดจนคนไข้หรือลูกค้าของโรงพยาบาล

แพทย์หญิง ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กำกับดูแลฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่าโรงพยาบาลพระรามเก้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่มีสาขา มีพนักงานกว่า 1,200 คน และมีผู้ป่วยนอกมารับบริการเฉลี่ย 1,100 คนต่อวัน ดังนั้นโรงพยาบาลจึงจำเป็นต้องขยายอาคารและปรับปรุงระบบเพื่อรองรับปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ตอบรับการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลของโรงพยาบาล ดังนั้น เมื่อโรงพยาบาลเติบโตขึ้นเราจึงต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงและหาวิธีดูแลและวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น ทางโรงพยาบาลจึงเห็นว่าต้องนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อช่วยยกระดับประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร และเสริมสร้างความเชื่อมั่นตามพันธกิจของเรา โดยเริ่มต้นจากระบบสำรองข้อมูลในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน หรือ Disaster Recovery ด้วยการจัดเก็บข้อมูลการทำงานของโรงพยาบาลรวมไปถึงข้อมูลคนไข้บนคลาวด์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าโรงพยาบาลจะสามารถดำเนินงานต่อได้อย่างแม่นยำแม้จะมีเหตุการณ์ที่เราควบคุมไม่ได้เกิดขึ้น นอกจากนั้น วิสัยทัศน์ของโรงพยาบาลพระรามเก้า คือ การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยในการบริหารจัดการรวมไปถึงวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมจัดสรรวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพได้สะดวกและรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็ยังช่วยบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในการดูแลข้อมูลผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันพนักงานกว่า 600 คนจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลตามแต่ละหน้าที่รับผิดชอบ คลาวด์จึงเป็นทางเลือกที่ดีมากในการเข้ามาช่วยบริหารจัดการเพื่อยกระดับการทำงานให้โรงพยาบาลสามารถทำงานได้มั่นใจและยังช่วยลดต้นทุนในการทำงานอีกด้วย

เป้าหมายของโรงพยาบาล คือการตั้งเป้าสู่การเป็นโรงพยาบาลดิจิทัล ด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาขับเคลื่อนเพื่อสร้างความเชื่อมั่น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ธุรกิจจะต้องดำเนินไปได้อย่างมั่นคงและสามารถควบคุมความเสี่ยงได้ ในด้านการดูแลรักษาคนไข้ สร้างความเชื่อมั่นโดยการบริหารจัดการข้อมูลคนไข้ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและแม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลรักษาคนไข้ให้ได้รับการรักษาที่ดีและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และการวิเคราะห์ข้อมูลคนไข้ ตรวจสอบพฤติกรรมเชิงลึก ซึ่งระบบจะเข้ามาช่วยป้องกันความผิดพลาดพร้อมแนะนำการบริการได้ ซึ่งโซลูชัน Business Intelligence จากไมโครซอฟท์ ที่ประกอบด้วย SQL Server Enterprise Edition และ Mobile BI ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS) ได้เป็นอย่างดี เข้ามาตอบโจทย์การวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากในโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถนำข้อมูลต่างๆ ในระบบมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งยังสร้างความมั่นใจและลดความเสี่ยงในการดูแลและปกป้องข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลได้อีกด้วย

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ปูทางไปสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งมีนวัตกรรมอย่างปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เครือข่าย IoT (Internet of Things) การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Data Analytics) และการผสมผสานโลกดิจิทัลเข้ากับโลกแห่งความจริง (Mixed Reality) ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของเทคโนโลยีคลาวด์ จะเปิดประตูไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อย่างไร้ขีดจำกัดนางสาว ทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวผลสำรวจครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้นำภาคธุรกิจการแพทย์มีความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ยุคดิจิทัลกันมากขึ้น ไมโครซอฟท์เชื่อว่า การปฏิรูปทางธุรกิจนี้จะมีความเกี่ยวข้องใน 4 มิติหลัก ได้แก่ การเสริมศักยภาพให้กับทีมแพทย์ การเข้าถึงคนไข้ การบริหารการรักษาอย่างเหมาะสมและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือการใช้งานข้อมูลและคลาวด์ ที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการแพทย์ให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็ว” 

แพทย์หญิง ปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กำกับดูแลฝ่ายสารสนเทศ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวเสริมถึงอนาคตของโรงพยาบาลพระรามเก้าว่าเรามีการวางแผนระยะยาว 3 ปี ในการบริหารจัดการข้อมูลของโรงพยาบาลให้มีความน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำดาต้าไมน์นิ่งและวิเคราะห์ข้อมูลการแพทย์ (Analytics) เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลพื้นฐานของโรงพยาบาล โดยสามารถเข้าถึงตามหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละสายงาน รวมทั้งการบริหารจัดการสินทรัพย์ เช่น การตรวจสอบประวัติการใช้งานของอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อความปลอดภัยต่อการใช้งานครั้งถัดไปกับคนไข้อื่น ทั้งหมดนี้ เรามีจุดมุ่งหมายที่อยากให้ทุกคนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้จะช่วยให้ทุกคนทำงานง่ายขึ้นและอำนวยความสะดวกลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์แบบ ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลหาวิธีรักษาคนไข้ได้อย่างตรงจุด ทั้งยังช่วยต่อยอดพัฒนาโรงพยาบาลในทิศทางที่ดีโดยไม่ก้าวล่วงจริยธรรมทางการแพทย์ โดยในตอนนี้เรากำลังพยายามเร่งปรับเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานของบุคลากร เพื่อนำดิจิทัลเข้ามาช่วยปฏิรูปองค์กรให้มีความมั่นคงและปลอดภัยอย่างยั่งยืน

นางสาว ทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่าการใช้ประโยชน์จากข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล คือขุมทรัพย์ทางธุรกิจรูปแบบใหม่ของผู้ให้บริการด้านการแพทย์ โดยร้อยละ 76 ของผู้นำทางธุรกิจเห็นด้วยว่าข้อมูลเชิงลึกจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ผู้ให้บริการด้านการแพทย์ได้มากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ให้บริการด้านการแพทย์จึงควรนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษาอย่างต่อเนื่องและช่วยพัฒนาการให้บริการด้านการแพทย์กับผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีเกิดใหม่ โดยเฉพาะคลาวด์ การวิเคราะห์ (analytics) และนวัตกรรมใหม่ๆ อย่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ IoT (Internet of Things) จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้อุตสาหกรรมการแพทย์ในการปฏิรูปธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปธุรกิจที่แท้จริงจะเกิดขึ้นได้ต้องมาพร้อมด้วยแรงสนับสนุนของบุคลากร โดยต้องมาจากการจัดหาเครื่องมือให้พนักงานเพื่อตอบสนองการทำงานให้ตรงจุด การขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลและการเน้นลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการปฏิรูปธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลทั้งหมด

องค์กรและคนทั่วไปจะไม่ใช้เทคโนโลยีที่ไม่น่าไว้วางใจ เพราะเราอยู่ในโลกที่โมบายล์และคลาวด์มีบทบาทสำคัญมากในการดำรงชีวิต การสร้างความมั่นใจทั้งในด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ คือปัจจัยสำคัญในการให้บริการด้านการแพทย์อย่างน่าเชื่อถือในยุคแห่งการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล การปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจำเป็นต้องใช้วิธีการใหม่และมีความผสมผสาน ซึ่งนับเป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องให้ความสำคัญในการลงทุนนางสาวทาเทียน่า กล่าวเสริม

ภารกิจของไมโครซอฟท์ คือ การเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกนี้บรรลุผลสำเร็จที่ดียิ่งขึ้น ผ่านการพัฒนาเทคโนโลยีที่ดี ซึ่งจะช่วยส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์ ริเริ่มเทคโนโลยีของตนเองและพัฒนาโซลูชันเพื่อทำให้เกิดขึ้นจริง ไมโครซอฟท์มีเอกลักษณ์ในด้านการเพิ่มขีดความสามารถให้ธุรกิจทุกขนาดปรับเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจดิจิทัล ด้วยโซลูชันเทคโนโลยีที่ยืดหยุ่น การบริการที่ผสมผสานและการลงทุนเพื่อเทคโนโลยีที่น่าไว้วางใจ ทั้งด้านความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว การควบคุม การปฏิบัติตามกฎระเบียบและมีความโปร่งใส

ผู้สนใจสามารถค้นหาข้อมูลและติดตามความเคลื่อนไหวของไมโครซอฟท์ในการพลิกโฉมธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลได้ที่ https://blogs.microsoft.com/transform/ 

###

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการที่มุ่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทยhttp://news.microsoft.com/th-th/ และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

from:https://www.techtalkthai.com/rama9-digital-hospital/

[PR] ไมโครซอฟท์จัดงาน “Azure Summit” เผยนวัตกรรมคลาวด์ล่าสุด และวิสัยทัศน์สู่การปฏิรูปธุรกิจยุคดิจิทัล

คุณสมบัติและบริการใหม่ครบครัน พร้อมต่อยอดความสำเร็จทั่วโลก หลังยอดประมาณการรายได้คลาวด์ประจำปีพุ่งทะลุหลัก 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ตลาดคลาวด์ไทยยังเติบโตต่อเนื่อง

คริส เวเบอร์ รองประธานฝ่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น และทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ในงาน Azure Summit

กรุงเทพฯ – 7 พฤศจิกายน 2560ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย เผยนวัตกรรมล่าสุดบนแพลตฟอร์มคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ พร้อมเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของคลาวด์ในการขับเคลื่อนการปฎิรูปธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล ในงานสัมมนา “Azure Summit” ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกที่โรงแรม คอนราด กรุงเทพฯ โดยมีพันธมิตร 13 รายและตัวแทนจากลูกค้าในภาคธุรกิจอีกกว่า 300 รายเข้าร่วมงาน เพื่อค้นพบถึงศักยภาพของอาซัวร์ในการยกระดับธุรกิจ ทั้งในเชิงกลยุทธ์และเชิงปฏิบัติ

งานสัมมนา Azure Summit ครั้งแรกนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวบนเส้นทางความสำเร็จด้านคลาวด์ของไมโครซอฟท์ หลังจากที่บริษัทสามารถทำยอดประมาณการรายได้จากบริการคลาวด์ประจำปีให้สูงถึงเป้าหมายที่ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 6.62 แสนล้านบาท) ได้ก่อนกำหนด จากเดิมที่คาดว่าจะทำได้สำเร็จในปี 2561 องค์กรธุรกิจจากทุกภาคอุตสาหกรรมทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นภาคการเงินการธนาคาร พลังงาน ค้าปลีก หรือแม้แต่กีฬา ต่างเลือกไว้วางใจให้ไมโครซอฟท์เป็นที่ปรึกษาในการพลิกประสบการณ์ของลูกค้า เสริมศักยภาพของพนักงาน เพิ่มประสิทธิภาพของระบบงาน และสรรสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ โดยปัจจุบัน กว่า 96% ของบริษัทระดับฟอร์จูน 500 เลือกใช้งานบริการคลาวด์ของไมโครซอฟท์ และกว่า 90% ใช้งานอยู่ไม่น้อยกว่า 2 บริการ

นอกจากวิสัยทัศน์ด้านคลาวด์ของไมโครซอฟท์เองแล้ว ผู้เข้าร่วมงานยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้บริหารระดับสูงจากองค์กรชั้นนำของประเทศไทย พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญจากเครือข่ายพันธมิตรคลาวด์ของไมโครซอฟท์ ในการออกแบบและติดตั้งระบบคลาวด์ที่ครบครันทั้งสมรรถนะและความยืดหยุ่น เหมาะสมสำหรับการใช้งานในหลากหลายสถานการณ์

สิ่งที่ทำให้วิสัยทัศน์ด้านคลาวด์ของไมโครซอฟท์มีความโดดเด่นและแตกต่าง คือการที่เราพิจารณาถึงองค์ประกอบอื่นๆ ที่อยู่นอกขอบเขตของคลาวด์ด้วย การมอบประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมให้กับลูกค้านั้น ต้องอาศัยเทคโนโลยีที่ชาญฉลาดในทุกระดับ นับตั้งแต่แพลตฟอร์มคลาวด์อัจฉริยะอย่างอาซัวร์ ไปจนถึงระบบปลายทางที่เราเรียกว่า ‘Intelligent Edge’” คริส เวเบอร์ รองประธานฝ่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก ไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวเป้าหมายสูงสุดของเราในการพัฒนาอาซัวร์ คือการเปิดประตูสู่ความสำเร็จของลูกค้าด้วยเทคโนโลยีที่เสริมศักยภาพขององค์กร ทั้งในด้านระบบงานไอที การพัฒนาแอพพลิเคชัน การสร้างประสบการณ์ไฮบริด คลาวด์ที่ใช้งานง่ายและมีความยืดหยุ่นสูง การสร้างสรรค์โซลูชั่นจาก AI และการเสริมสร้างความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ลูกค้าจากทั่วโลก อาทิคาร์ลสเบิร์ก กับธุรกิจในแนวคิด ‘beer as a service’ ไปจนถึงทีมงานฝ่ายขายและบริการลูกค้าของไมโครซอฟท์เอง ต่างนำความโดดเด่นและศักยภาพใหม่ๆ ของอาซัวร์ไปใช้งานให้เกิดประโยชน์อย่างทั่วถึง

เผยวิสัยทัศน์คลาวด์ในธุรกิจไทยเพื่อการปฏิรูปดิจิทัลให้ก้าวไกลและปลอดภัย

ตลาดบริการคลาวด์แบบสาธารณะในประเทศไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยอาจมีมูลค่าตลาดรวมสูงถึง 7,700 ล้านบาทในปี 2560 นี้ ขณะที่ธุรกิจไทยต่างก็เข้าใจดีถึงบทบาทสำคัญของคลาวด์ในการเปลี่ยนแปลงการทำงานขององค์กร เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ เอเชีย ได้เผยถึงผลสำรวจที่ระบุว่ากว่า 82% ของผู้นำในภาคธุรกิจไทย ยกให้คลาวด์เป็นปัจจัยสำคัญที่จะขับเคลื่อนกลยุทธ์ดิจิทัลของพวกเขาไปสู่ความสำเร็จ 

ในโอกาสนี้ ผู้บริหารจากองค์กรชั้นนำของไทยอย่างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) พร้อมด้วยบริษัทที่ปรึกษา ฟรอนทิส หนึ่งในเครือข่ายพันธมิตรของไมโครซอฟท์ จึงได้มาร่วมแบ่งปันเรื่องราวและวิสัยทัศน์ในการปฏิรูปธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลด้วยนวัตกรรมคลาวด์ด้วยเช่นกัน โดยผู้บริหารจากทั้ง 3 บริษัท ได้เผยถึงเส้นทางการยกระดับองค์กรสู่คลาวด์ด้วยไมโครซอฟท์ อาซัวร์ในแนวทางที่แตกต่างกันไปของแต่ละองค์กร นับตั้งแต่การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ไปจนถึงบริการดิจิทัลไลฟ์สไตล์ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้นับล้านทั่วประเทศ

นางสาวทาเทียน่า มารัชเชฟสกาย่า ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด เผยว่าอาซัวร์ ไม่ได้เป็นเพียงแพลตฟอร์มคลาวด์อัจฉริยะที่มอบความยืดหยุ่นสูงสุดให้กับผู้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้มากที่สุดอีกด้วย โดยอาซัวร์เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์รายแรกของโลกที่รองรับมาตรฐานด้านการปกป้องข้อมูล General Data Protection Regulation (GDPR) ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะนำมาบังคับใช้อย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม 2561 จึงเท่ากับว่าอาซัวร์เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์ที่รองรับมาตรฐานและกรอบข้อบังคับต่างๆ ทั่วโลกอย่างทั่วถึงที่สุด และยังเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรที่ต้องการใช้งานคลาวด์บนเวทีธุรกิจระดับนานาชาติ

ยกระดับไฮบริด คลาวด์ ด้วย อาซัวร์ สแตค พร้อมชุดทดลองเพื่อนักพัฒนา

ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ เป็นแพลตฟอร์มคลาวด์เพียงหนึ่งเดียวที่พัฒนาขึ้นให้มอบประสบการณ์การใช้งานเหมือนกันในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบตัวตนผู้ใช้ บริหารจัดการข้อมูล ระบบ หรือความปลอดภัย ภายใต้แนวคิดที่ว่าระบบคลาวด์แบบผสมผสาน หรือไฮบริด คลาวด์ คือโครงสร้างคลาวด์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กรธุรกิจ โดยระบบไฮบริด คลาวด์ที่สมบูรณ์แบบจะต้องครอบคลุมการทำงานทุกส่วนขององค์กร และไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีเท่านั้น

องค์กรธุรกิจที่ต้องการพัฒนาแอพพลิเคชันสำหรับใช้งานทั้งบนคลาวด์และในระบบเดิมขององค์กรไปควบคู่กัน สามารถเลือกใช้โซลูชั่น อาซัวร์ สแตค (Azure Stack) จากไมโครซอฟท์ ผ่านพันธมิตรผู้เชี่ยวชาญอย่าง เดลล์ อีเอ็มซี, ฮิวเล็ตต์แพ็คการ์ด เอนเตอร์ไพรส์ หรือไดเมนชั่น ดาต้าได้แล้ววันนี้ โดยอาซัวร์ สแตค ช่วยให้องค์กรสามารถสร้างและใช้งานแอพพลิเคชันได้ทั้งบนคลาวด์และในระบบขององค์กรได้โดยใช้ API เครื่องมือ และประสบการณ์การใช้งานที่เหมือนกันทั้งหมด จึงเป็นการเปิดโอกาสให้สามารถนำคลาวด์ไปใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์มากขึ้น โดยที่ยังคงรักษาการรับรองมาตรฐานทางอุตสาหกรรมและกฎหมายไว้อย่างครบถ้วน

ความต่อเนื่องและสม่ำเสมอในการพัฒนาแอพพลิเคชันบนอาซัวร์ สแตคจะช่วยลดความซับซ้อนของการใช้งานระบบไฮบริด คลาวด์ ซึ่งเท่ากับว่าธุรกิจของคุณจะสามารถลงทุนทั้งในระบบคลาวด์และระบบภายในองค์กรได้อย่างมั่นใจ เนื่องจากทั้งสองระบบต่างรองรับเครื่องมือและแนวทางการพัฒนาที่เหมือนๆ กัน นักพัฒนาแอพพลิเคชันจึงสามารถทำงานได้รวดเร็วยิ่งกว่าที่เคย หรืออาจคิดค้นโซลูชั่นใหม่ที่ช่วยปิดช่องว่างในด้านการเชื่อมต่อเครือข่าย หรือมาตรฐานและกรอบข้อบังคับต่างๆ จนทำให้สามารถนำคลาวด์ไปใช้ในสถานการณ์หรือสถานที่ใหม่ๆ ได้นายเวเบอร์กล่าวเสริม

นอกจากจะมีให้ใช้งานในรูปของชุดเซิร์ฟเวอร์เต็มรูปแบบและบริการที่ติดตั้งและดูแลโดยพันธมิตรของไมโครซอฟท์แล้ว อาซัวร์ สแตค ยังมีให้เลือกทดลองใช้งานบนเซิร์ฟเวอร์เครื่องเดียวผ่านทางชุดเครื่องมือ Azure Stack Development Kit (ASDK) เพื่อให้นักพัฒนาได้ทดลองขึ้นโครงร่างแอพพลิเคชันก่อนลงมือพัฒนาจริง

เสริมทัพบริการใหม่ เพิ่มทางเลือกให้ระบบคลาวด์สำหรับองค์กรที่ชาญฉลาด

ธุรกิจที่สนใจทดลองใช้ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ สามารถเลือกใช้บัญชีอาซัวร์แบบฟรีที่คุ้มค่าเหนือใคร ด้วยสิทธิการเข้าถึงระบบคลาวด์สำหรับงานคิดคำนวณ เก็บข้อมูล ฐานข้อมูล และเครือข่ายแบบไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ถึง 12 เดือนเต็ม พร้อมด้วยบริการอื่นๆ อีก 25 รายการที่ใช้งานได้ฟรีตลอดไป โดยผู้สมัครใช้บัญชีอาซัวร์แบบฟรีจะได้รับเครดิตมูลค่า 200 เหรียญสหรัฐสำหรับทดลองใช้ผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมบนแพลตฟอร์มอาซัวร์เป็นเวลา 30 วัน

ส่วนลูกค้าที่ตัดสินใจย้ายระบบสู่คลาวด์กับอาซัวร์ ก็สามารถเดินหน้าได้อย่างสะดวกสบายด้วยบริการ Azure Database Migration และ SQL DB Managed Instance ซึ่งช่วยให้การย้ายระบบสู่คลาวด์สามารถทำได้โดยไม่จำเป็นต้องปิดระบบนาน ทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายไปพร้อมๆ กัน

ลูกค้ายังสามารถเสริมความคุ้มค่าจากการลงทุนในระบบคลาวด์ได้ด้วย Azure Cost Management โซลูชั่นใช้งานฟรีที่ช่วยให้องค์กรสามารถวางแผนการใช้จ่ายบนอาซัวร์และแพลตฟอร์มคลาวด์อื่นๆ ได้เต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ส่วน Reserved Virtual Machine Instances อีกหนึ่งบริการที่จะเปิดตัวในช่วงสิ้นปีนี้ จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถสั่งจองใช้งาน virtual machine ล่วงหน้าเป็นเวลา 1-3 ปี เพื่อลดค่าใช้จ่ายลงสูงสุดถึง 72% ขณะที่เครื่องมือแสดงสถานะคลาวด์ Azure Monitor ก็ปรับปรุงใหม่ให้แสดงข้อมูลที่ครอบคลุมทั้งระบบในหน้าเดียว นับตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงแอพพลิเคชัน

ส่วนโซลูชั่น Azure Functions ที่สามารถทำงานประมวลผลแบบไม่ใช้เซิร์ฟเวอร์ ปลดล็อกทุกข้อจำกัดด้านโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนักพัฒนา ได้รับการพัฒนาให้รองรับระบบฐานข้อมูล Azure Cosmos DB ที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับแอพพลิเคชันที่ใช้งานพร้อมกันทั่วโลก จึงสามารถรับมือกับข้อมูลปริมาณมหาศาลได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว โดยไม่ต้องพึ่งเซิร์ฟเวอร์แม้แต่เครื่องเดียว

นอกจากนี้ วิสัยทัศน์ของแพลตฟอร์มอาซัวร์ในการสร้างสรรค์ระบบคลาวด์อัจฉริยะยังคงรุดหน้าต่อไปด้วยคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเติมมาในบริการ Azure Machine Learning ซึ่งทำให้บริการดังกล่าวรองรับการใช้งาน AI กับข้อมูลรูปแบบใดก็ได้ ในปริมาณมากน้อยเพียงใดก็ได้ และบนคลาวด์หรือระบบภายในองค์กรก็ได้ อย่างไม่มีข้อจำกัด

ผู้สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเกี่ยวกับโซลูชั่นสำหรับธุรกิจของไมโครซอฟท์ได้ที่ https://enterprise.microsoft.com/en-apac/ หรือติดตามข่าวสารล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ประเทศไทยได้ที่ https://news.microsoft.com/th-th/

###

ข้อมูลเกี่ยวกับไมโครซอฟท์

บริษัท ไมโครซอฟท์ ผู้นำระดับโลกในด้านการพัฒนาแพลตฟอร์มและบริการที่มุ่งเสริมประสิทธิภาพการสร้างสรรค์ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ เพื่อเป็นกำลังสำคัญให้ทุกคนและทุกองค์กรทั่วโลกให้บรรลุผลสำเร็จทีดียิ่งกว่า

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามความเคลื่อนไหวล่าสุดได้ทางศูนย์ข่าวสารประเทศไทยhttp://news.microsoft.com/th-th/ และทวิตเตอร์ @MicrosoftTH

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-azure-summit/