คลังเก็บป้ายกำกับ: GENDER_EQUALITY

ความเสมอภาคและเท่าเทียมทางเพศ หนึ่งในไฮไลท์ที่ต้องจับตามองของเวที APEC 2022

  • ปี 2564 สัดส่วนจำนวนผู้หญิงที่เป็นระดับ CEO ทั่วโลก แม้ว่าจะมีเพียง 5.3% ของจำนวน CEO ทั้งหมด แต่ก็เป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 สะท้อนถึงบทบาทของผู้หญิงในองค์กรที่มากขึ้น
  • ขณะที่ไทย ผู้หญิงที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริษัท แม้จะมีจำนวนที่เพิ่มขึ้น และสัดส่วนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม APEC แต่สัดส่วนก็ขยับเพียงเล็กน้อยหรืออยู่ที่ 19% ของคณะกรรมการบริษัททั้งหมดในปี 2564 และยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ราว 23% 
  • ปัจจุบันทั่วโลก รวมถึงไทย ตระหนักและให้ความสำคัญมากขึ้นต่อบทบาทของผู้หญิงทั้งในมิติเชิงเศรษฐกิจและในมิติเชิงสังคม อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่ายังมีโจทย์ที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันดูแลต่อเนื่อง โดยเฉพาะเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤตที่เกิดขึ้น ความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต การตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงต่างๆ เป็นต้น  
  • นับจากนี้ ไม่เฉพาะบทบาทผู้หญิงเท่านั้น การให้ความสำคัญด้านความหลากหลายและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ เชื้อชาติ รวมถึงทักษะความรู้ และประสบการณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ ควรเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่ามกลางการดำเนินธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงและซับซ้อน
Hiring attractive woman applicant back sitting in front two HR businessmen. Candidate for work interview in office. Young female job seeker presenting herself to managers in suit.

การประชุม APEC 2022 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพนั้น หนึ่งในการประชุมที่เกี่ยวข้องคือ การประชุมเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ (APEC Women and the Economy Forum: WEF) ซึ่งจะพูดถึงประเด็นด้านความเสมอภาคและเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) รวมถึงบทบาทและพลังทางเศรษฐกิจของผู้หญิงในยุคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 สะท้อนให้เห็นว่า ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวมากขึ้น โดยเฉพาะบทบาทของผู้หญิงในบริบทต่างๆ ทั้งในมิติทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

ความเสมอภาคและเท่าเทียม (Gender Equality)  … เพิ่มบทบาทของผู้หญิงทั่วโลก โดยเฉพาะในมิติทางด้านเศรษฐกิจให้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 

ปัจจุบัน ผู้หญิงมีบทบาทเป็นผู้นำในระดับโลก หรือได้รับการยอมรับมากขึ้น สะท้อนได้จาก ข้อมูลปี 2564 มีประเทศที่มีผู้หญิงเป็น Head of stage หรือว่า Head of government ถึง 28 ประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ ไอซ์แลนด์ เดนมาร์ก บังกลาเทศ และล่าสุดคือ อิตาลี ทั้งนี้ ในปี 2564 สัดส่วนจำนวนผู้หญิงที่เป็นระดับ CEO ทั่วโลก แม้ว่าจะมีเพียง 5.3% ของจำนวน CEO ทั้งหมด แต่ก็เป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 สะท้อนถึงความมีบทบาทที่เพิ่มขึ้นของผู้หญิง

ขณะที่ไทย หากพิจารณาบทบาทของผู้หญิงในตำแหน่งงานระดับสูง (คณะกรรมการบริษัท) พบว่า มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น สะท้อนได้จาก จำนวนผู้หญิงที่เป็นคณะกรรมการบริษัท (ที่จดทะเบียนในตลาด SET และ mai) เพิ่มขึ้นจาก 1,429 คนในปี 2563 มาอยู่ที่ 1,614 คนในปี 2565 หรือหากพิจารณาจำนวนบริษัท พบว่า กว่า 88% ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีผู้หญิงเป็นคณะกรรมการอย่างน้อย 1 คน หรือกว่า 26% ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีผู้หญิงเป็นคณะกรรมการของแต่ละบริษัทอย่างน้อย 30% ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจบริการ เช่น พาณิชย์ ขนส่งและโลจิสติกส์ การแพทย์ สื่อและสิ่งพิมพ์ เป็นต้น

k research

มองไปข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า บทบาทของผู้หญิงในธุรกิจไทย น่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก โดยสะท้อนได้จาก จำนวนแรงงานผู้หญิงที่มีการศึกษาสูง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งในยุคที่ผู้หญิงแต่งงานช้าลง หรือมีลูกน้อยลง ก็น่าจะทำให้แรงงานผู้หญิงกลุ่มนี้ มีโอกาสที่จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นในองค์กร 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบทบาทของผู้หญิงในตำแหน่งงานระดับสูงของไทยจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หรืออยู่ที่ราว 19% ในปี 2564 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่ม APEC (ไม่รวมบรูไนและเวียดนาม) แต่ยังถือเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่ราว 23% และถ้าเรากลับมามองสถานภาพแรงงานของผู้หญิงในภาพรวม จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ (NSO) เกี่ยวกับการประสบปัญหาจากการทำงานของผู้หญิงในรูปแบบต่างๆ ในปี 2564 พบว่า กว่า 50% ของผู้ตอบแบบสำรวจ เป็นเรื่องของค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนไม่เหมาะสม ได้ค่าตอบแทนล่าช้า ได้ค่าตอบแทนไม่เต็มจำนวนที่ตกลงไว้ นอกจากนี้ ยังประสบปัญหาอื่นๆ เช่น งานขาดความต่อเนื่อง (21%) งานหนัก (13%) ไม่มีสวัสดิการ (10%) เป็นต้น 

นอกจากนี้ หากพิจารณาถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด-19 จะเห็นว่า อัตราการว่างงานของผู้หญิงในช่วง โควิด-19 สูงกว่าผู้ชาย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะธุรกิจที่ได้รับผลกระทบโดยตรงอย่างธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (เช่น ค้าส่งค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร) มีสัดส่วนแรงงานที่เป็นผู้หญิงมากกว่าหรือราว 55% ของจำนวนแรงงานทั้งหมดในอุตสาหกรรมดังกล่าว จึงทำให้อัตราการว่างงานในช่วงเวลาดังกล่าวสูงกว่า ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูล Global Entrepreneurship Monitor (GEM) ที่พบว่า ในช่วงโควิด-19 ผู้ประกอบการหญิงมีแนวโน้มปิดกิจการของตัวเองมากกว่าผู้ชายราว 20% นำมาซึ่งโจทย์ที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ หรือบรรดาธุรกิจภาคเอกชน ควรตระหนักและให้ความสำคัญในการร่วมมือกันแก้ปัญหาดังกล่าว

ความเท่าเทียมและเสมอภาคในการทำงานคือ การให้ความสำคัญกับแรงงานทุกคนโดยไม่แบ่งแยก ซึ่งอาจจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

k research

เพื่อให้บทบาทของผู้หญิงไทยเป็นที่ยอมรับหรือได้รับการสนับสนุนมากขึ้น ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรตระหนักและเร่งสร้างแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงและสร้างความเท่าเทียมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มองค์ความรู้หรือทักษะต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการขององค์กร รวมถึงส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่จะเติบโตในสายอาชีพที่ทำ การได้รับค่าตอบแทนรวมถึงสวัสดิการต่างๆ ที่เหมาะสมและเท่าเทียม ยกตัวอย่างในบางประเทศ เช่น นอร์เวย์ สวีเดน มีการกำหนดนโยบายให้สิทธิ์ทั้งผู้หญิงและผู้ชายสามารถลาคลอดได้เท่าๆ กัน (Parental leave) เป็นต้น

 นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีการสร้างงานหรือผลักดันอุตสาหกรรม S-Curve ที่เหมาะสมกับแรงงานผู้หญิง เพื่อส่งเสริมให้เกิดโอกาสในการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น เช่น ธุรกิจ Wellness tourism อย่างธุรกิจนวดและสปา หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุ อย่างธุรกิจ Nursing home ซึ่งผู้หญิงอาจจะมีทักษะหรือจุดแข็งต่างๆ ในการทำอาชีพดังกล่าว เป็นต้น หรืออาจจะส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการจ้างงานแรงงานผู้หญิงเพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนผู้หญิงทำงานน้อยเพื่อยกระดับความเท่าเทียมกันในที่ทำงาน ยกตัวย่างเช่น สำนักงานตำรวจในแอฟริกาใต้ที่มีนโยบายส่งเสริมให้ผู้หญิงก้าวเข้าสู่อาชีพตำรวจซึ่งรวมทั้งการส่งเสริมความก้าวหน้าในอาชีพด้วย เป็นต้น

และไม่เพียงแต่ ความเสมอภาคและเท่าเทียมทางเพศในมิติเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ทุกฝ่ายควรช่วยกันดูแลประเด็นของผู้หญิงในเชิงสังคมด้วย เนื่องจากปัจจุบันผู้หญิงยังเผชิญกับความเสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต การตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงต่างๆ ยิ่งในภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวไม่ชัดเจนจากผลกระทบของวิกฤตซ้อนวิกฤต ความเสี่ยงที่ผู้หญิงอาจจะตกเป็นเหยื่อจากความไม่ปลอดภัยต่างๆ อาจมีมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาทั่วโลกรวมถึงไทยต่างให้ความสำคัญและตระหนักถึงประเด็นนี้กันมากขึ้น สะท้อนผ่านความพยายามในการออกแบบบริการที่คำนึงถึงประเด็นนี้ ยกตัวอย่าง ญี่ปุ่น มีการออกมาตรการสร้างระบบขนส่งสาธารณะสำหรับผู้หญิงเท่านั้น เช่น การจัดตู้ขบวนรถไฟโดยสารและช่องชานชาลาสถานีรถไฟเฉพาะผู้หญิงเท่านั้น รวมไปถึงรถบัสโดยสารประจำทางที่มีเฉพาะผู้หญิง เพื่อป้องกันการถูกลวนลามบนรถโดยสารสาธารณะ เป็นต้น ขณะที่ ในไทย ก็มีการจัดตู้ขบวนรถไฟโดยสารหรือบางอาคารมีชั้นจอดรถสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะบ้างเช่นกัน 

เมื่อมองไปข้างหน้า ไม่เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น ทุกฝ่ายควรร่วมกันขับเคลื่อนการให้ความสำคัญด้านความหลากหลายและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพศ อายุ เชื้อชาติ รวมถึงทักษะและประสบการณ์ต่างๆ ที่จำเป็นต่อธุรกิจ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้หรือความคิดเห็น ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ท่ามกลางการดำเนินธุรกิจที่แข่งขันรุนแรงและซับซ้อนขึ้น โดยปัจจุบัน มีธุรกิจภาคเอกชนรายใหญ่ของไทย เช่น สถาบันการเงิน ธุรกิจพลังงาน ที่ให้ความสำคัญและกำหนดเป็นนโยบายเกี่ยวกับประเด็นด้านความหลากหลายของพนักงานผ่านการจ้างงาน และมีการวางแผนผลักดันให้พนักงานมีความก้าวหน้าในอาชีพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ภายใต้การปฏิบัติที่ชัดเจนและโปร่งใส เป็นต้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ความเสมอภาคและเท่าเทียมทางเพศ หนึ่งในไฮไลท์ที่ต้องจับตามองของเวที APEC 2022 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/apec-2022-gender-equality/

วิกฤตความเสมอภาคทางเพศในญี่ปุ่น: ผู้บริหารหญิงในองค์กรน้อย ยิ่งนานวันยิ่งไม่เท่าเทียม

ผลสำรวจจาก Reuters เผยว่าบริษัทในญี่ปุ่นขาดแคลนพนักงานระดับผู้จัดการและผู้บริหารที่เป็นผู้หญิงอย่างมาก โดย 80% ของผู้ตอบแบบสำรวจให้ข้อมูลว่าผู้หญิงที่อยู่ในตำแหน่งระดับสูงมีแค่ 10% หรือน้อยกว่านั้น

Photo by Bohdan Maylove on Unsplash

บริษัทส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่าจะทำตามเป้าหมายของรัฐที่ต้องการให้มีผู้บริหารผู้หญิงอย่างน้อย 30% ภายในปี 2030 ได้ ถึงแม้เดดไลน์จากถูกเลื่อนออกไปถึง 10 ปี จากปี 2020 แล้วก็ตาม

วัฒนธรรมที่ฝังรากลึก

ผู้ตอบแบบสอบถามบางส่วนก็ให้ความเห็นว่า ก่อนที่จะเพิ่มผู้หญิงในองค์กรได้ ญี่ปุ่นจะต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่มีแต่ผู้ชายก่อน รวมถึงต้องแก้ปัญหาเรื่องสวัสดิการต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการดูแลลูกด้วย

“เป้าหมายนี้จะเป็นไปไม่ได้ถ้าสังคมไม่ยอมเปลี่ยนความคิด เราต้องสนับสนุนให้ผู้หญิงดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ได้” ผู้จัดการบริษัทผู้ให้บริการรายหนึ่งตอบ

การผลักดันจากภาครัฐและเอกชน

อดียนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ เคยผลักดันนโยบายต่างๆ ในการสนับสนุนผู้หญิงในสังคม รวมถึงการรณรงค์ให้ผู้หญิงทำงานมากขึ้น เพิ่มเงินอุดหนุนด้านการดูแลลูก  รวมถึงเสนอให้ทั้งพ่อแม่ลาคลอดได้ เรียกรวมๆ ว่า “Womenomics” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น องค์กรทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

ความล้มเหลวของนโยบาย แก้ปัญหาไม่ตรงจุด

ถึงแม้ว่านโยบายต่างๆ ของอดีตนายกอาเบะจะถูกปล่อยออกมาตลอด แต่สถานการณ์จริงของผู้หญิงก็ดูจะไม่ได้ดีขึ้นมากนัก อัตราความยากจนในคุณแม่เลี้ยงเดี่ยวเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับปี 2012 ก่อนที่นายกอาเบะจะขึ้นดำรงตำแหน่ง

work form home
An aerial view of a mother working on a laptop in her office at home with her young daughter string on her lap.

ปัญหาหลักของผู้หญิงที่ทำงานแล้วแต่มีลูกก็คือ ศูนย์ดูแลเด็กเล็กที่ไม่เพียงพอ ถึงแม้นายกอาเบะจะสัญญาว่ารายชื่อรอการให้บริการของศูนย์ดูแลเด็กจะหมดไปภายในปี 2020 แต่ท้ายที่สุดก็ทำไม่ได้

การจัดอันดับของ World Economic Forum เผยว่าในปี 2021 ประเทศญี่ปุ่นอยู่ในอันดับที่ 120 จาก 153 ประเทศในด้านของความเสมอภาคทางเพศ (gender parity) ซึ่งถือว่าแย่ลงจากปี 2012 ที่อยู่ในอันดับที่ 101

ด้านประชาชนบางส่วนก็อยากให้มีนักการเมืองหญิงในคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติมากขึ้น เพื่อที่จะทำให้เสียงของประชาชนเพศหญิงมีพื้นที่มากกว่านี้

สรุป

ปัญหาด้านอัตราการเกิดที่น้อยลงทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้หญิงญี่ปุ่นต้องเลือกระหว่างงานและการมีลูก เป็นความล้มเหลวหนึ่งของรัฐบาลที่แก้ไขไม่ได้ รวมถึงแนวคิดในสังคมที่ยังเปลี่ยนแปลงได้ไม่เร็วพอ ยังไม่สนับสนุนให้ผู้หญิงมีที่ยืนอย่างชัดเจน

ที่มา – Reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post วิกฤตความเสมอภาคทางเพศในญี่ปุ่น: ผู้บริหารหญิงในองค์กรน้อย ยิ่งนานวันยิ่งไม่เท่าเทียม first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/gender-equality-crisis-in-japan/

รัฐมนตรีเกย์คนแรกของสหรัฐฯ Biden เลือก Pete Buttigieg นั่งในครม. ดูแลกระทรวงคมนาคม

pete-buttigieg
ภาพจาก Pete for America

Pete Buttigieg ว่าที่รัฐมนตรีคนแรกที่เป็นเกย์(แบบเปิดเผย)

Joe Biden ประธานาธิบดีคนต่อไปอย่างเป็นทางการของสหรัฐอเมริกา เสนอชื่อให้ “Pete Buttigieg” วัย 38 ปี นั่งในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

นับว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งในการสร้างคณะรัฐมนตรีที่สะท้อนภาพสังคมสหรัฐฯ “ที่แท้จริง” และทำให้คณะรัฐมนตรีของ Biden เป็นคณะรัฐมนตรีที่มีความหลากหลายที่สุดตั้งแต่เคยมีมาในประวัติศาสตร์สหรัฐฯ

Pete Buttigeig เป็นตัวแทนของคนวัยหนุ่มสาวที่อายุไม่มาก นอกจากนี้เขาจะกลายเป็นรัฐมนตรีคนแรกที่เปิดเผยตนเองว่าเป็นเกย์อีกด้วย

ภูมิหลังด้านอาชีพ เขาเป็นทหารผ่านศึกในอัฟกานิสถาน เคยดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมือง South Bend ในมลรัฐ Indiana โดยที่ล่าสุด เขาได้ลงรับสมัครเป็นแคนดิเดตประธานาธิบดีของพรรคเดโมแครตและถูกมองว่าเป็นม้ามืดที่มีโอกาสได้เป็นตัวแทนพรรคอีกด้วย

ลบภาพชายเป็นใหญ่ในครม. สะท้อนภาพอเมริกาที่หลากหลาย

เพื่อสะท้อนภาพสังคมที่ความอยุติธรรมเกิดอย่างเลือกปฏิบัติต่อชนหลากหลายกลุ่มในสังคมอเมริกัน Joe Biden พยายามตอกย้ำภาพความหลากหลายของสังคมอเมริกัน เน้นย้ำว่าคนอเมริกันไม่ได้มีแค่กลุ่มเดียว ด้วยการตั้งคนที่มีภูมิหลังที่หลากหลายเข้ามาทำงานเคียงข้างตนในตำแหน่งระดับสูง ไม่ว่าจะเป็น แอฟริกัน-อเมริกัน ลาตินอเมริกัน ผู้อพยพจากประเทศอื่นๆ ผู้หญิง และคนหนุ่มสาว จากเดิมที่คณะรัฐมนตรีสหรัฐมักจะเต็มไปด้วยชายผิวขาว

ที่มา – NYTimes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/pete-buttigieg-first-gay-in-cabinet/

ทิม คุก: “ผมภูมิใจที่ผมเป็นเกย์”

ทิม คุก ซีอีโอของแอปเปิลได้เขียนบทความบนเว็บ Bloomberg เปิดเผยตัวตนอย่างเป็นทางการว่าเขาเป็นคนรักร่วมเพศ และถึงแม้ว่าหลายคนจะทราบถึงรสนิยมทางเพศของเขามาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่นี่เป็นครั้งแรกที่เขาได้ออกมายืนยันด้วยตัวเอง

ผมภูมิใจที่ผมเป็นเกย์ และผมถือว่าการเป็นเกย์เป็นของขวัญที่เยี่ยมที่สุดที่พระเจ้าได้มอบไว้ให้กับผม

ในบทความ คุกไม่ได้เน้นเรื่องปัญหาส่วนตัวเท่าใดนัก แต่ได้เน้นเรื่องความเท่าเทียมกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ สัญชาติ เพศ และรสนิยมทางเพศที่หลากหลาย โดยเขายืนยันว่าตัวเขาเอง และแอปเปิลมีจุดยืนที่จะสู้เพื่อความเท่าเทียมเหล่านี้ต่อไป

ทิมยังกล่าวอีกว่าถึงแม้ทุกคนจะทราบว่าเขาเป็นเกย์ แต่การออกมาประกาศอย่างเป็นทางการไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะว่าเขาให้ความสำคัญกับชีวิตส่วนตัวอย่างมาก

ใครสนใจอ่านบทความที่ทิม คุก เขียนไว้ฉบับเต็ม เชิญเข้าไปอ่านได้ที่เว็บ Bloomberg BusinessWeek ครับ

ที่มา – 9to5Mac

Tim Cook, Apple, Gay, Gender Equality, LGBT,

from:http://www.blognone.com/node/62204

Nadella ออกมาขอโทษการให้สัมภาษณ์ว่าด้วยเรื่องสิทธิสตรีในอุตสาหกรรมไอที

ที่งานประชุม Grace Hopper Celebration of Women in Computing ซึ่งเป็นงานประชุมด้านสตรีในแวดวงอุตสาหกรรมไอทีในปีนี้ Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ขึ้นให้สัมภาษณ์ โดยมี Maria Klawe อธิการบดีของ Harvey Mudd College และหนึ่งในคณะกรรมการบริษัทของไมโครซอฟท์ เป็นผู้สัมภาษณ์

ช่วงหนึ่งของการสนทนานั้น Klawe ถามความเห็นและคำแนะนำของ Nadella เรื่องที่ผู้หญิงในอุตสาหกรรมไอทีจำนวนหนึ่งไม่กล้าขอขึ้นเงินเดือนตัวเอง ปรากฏว่า Nadella กลับตอบว่า “มันไม่เกี่ยวกับการขอขึ้นเงินเดือน แต่เกี่ยวกับว่าเชื่อและศรัทธาในระบบที่จะขึ้นเงินเดือนอย่างเหมาะสม นั่นเพราะเป็นกรรมดี มันจะกลับมาหาเพราะจะมีคนบางคนเชื่อว่า คนๆ นี้ คือคนที่เขา/เธอ เชื่อถือได้” (ประโยคต้นฉบับอยู่ในที่มา)

หลังจากที่ให้สัมภาษณ์ไป Klawe ก็แย้งขึ้นบนเวทีโดยทันทีว่าเธอไม่เห็นด้วย และแนะนำให้ผู้หญิงขอขึ้นเงินเดือนกับงานที่เหมาะสม แต่กระแสความไม่พอใจไม่ได้หยุดแค่นั้น กลับลามไปถึงทวิตเตอร์ด้วย จนในที่สุด Nadella ต้องออกมาขอโทษในภายหลัง ผ่านอีเมลที่ส่งถึงพนักงานบริษัท โดยระบุว่า เขาตอบคำถามดังกล่าว “ผิดพลาดมหันต์” (completely wrong) และสนับสนุนอย่างเต็มที่สำหรับโครงการที่จะลดช่องว่างเรื่องเงินเดือนของพนักงาน

ที่มา – BBC, Yahoo! Tech

หมายเหตุ แนวคิดเรื่องของกรรม (Karma) เป็นแนวคิดของศาสนาที่กำเนิดในแถบประเทศอินเดีย เช่น ฮินดู พุทธ หรือเชน โดยแต่ละศาสนามีการตีความแตกต่างกันไป ไม่ได้มีอยู่แต่ในศาสนาพุทธเพียงอย่างเดียว (ข้อมูลเพิ่มเติม)

Satya Nadella, Gender Equality, Microsoft

from:http://www.blognone.com/node/61468