คลังเก็บป้ายกำกับ: อู่ฮั่น

จีนปฏิเสธคำขอองค์การอนามัยโลก ไม่ให้สืบสาวที่มาโควิดระบาดรอบสอง

หลังจากที่ WHO หรือองค์การอนามัยโลกเคยลงพื้นที่ตรวจที่มาของการระบาดของโควิด-19 ในอู่ฮั่น จีนมาแล้วในช่วงมกราคม ปี 2021 ที่ผ่านมา (โควิดระบาดตั้งแต่ปลายปี 2019 ในอู่ฮั่น จีน หลังโควิดระบาดไปแล้วปีเศษ WHO เพิ่งจะได้ลงพื้นที่) ล่าสุด WHO ขอลงพื้นที่จีนอีกรอบ โดยระบุว่าเป็นไปตามแผนสำรวจที่มาของโควิดระบาดระยะสอง

แน่นอนว่าครั้งนี้ จีนไม่ยินยอมให้ลงพื้นที่เช่นเดิม ก่อนหน้านี้กว่าจะลงพื้นที่ได้ WHO ต้องยื่นเรื่องหลายต่อหลายครั้ง มีอุปสรรคอย่างมากกว่าจะได้ลงพื้นที่ ครั้งนี้ก็เช่นเดิม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ที่ผ่านมาทางการจีนออกมาปฏิเสธ WHO หลังยื่นแผนการศึกษาเพื่อสอบสวนแหล่งที่มาของโควิดระบาดเฟส 2 ซึ่งทฤษฎีที่ว่าไวรัสหลุดออกมาจากห้องแล็บอู่ฮั่นนั้น จีนระบุว่านี่เป็นความอคติทางการเมือง จีนยืนกรานว่าได้ให้ความร่วมมือกับ WHO อย่างเต็มที่แล้ว หลังจากที่มีกระแสข่าวแล็บอู่ฮั่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมาและยังมีรายงานร่วมกันที่เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งก็ยังไม่พบว่าไวรัสมาจากสัตว์ชนิดใดและแพร่พันธุ์สู่คนได้อย่างไร

ถึงที่สุดแล้วเมื่อ WHO ยื่นเรื่องตรวจสอบแหล่งที่มาโควิดระบาดเฟสสอง จีนก็ไม่ยอมรับเรื่องและยังมองว่าเรื่องนี้ถูกครอบงำด้วยการเมืองและไม่เคารพต่อข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เรื่องนี้ Zeng Yixin รองหัวหน้าคณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติจีน ระบุว่า เราหวังว่า WHO จะพิจารณาคำแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์จีนอย่างใส่ใจ เกี่ยวกับประเด็นที่มาของโควิด-19 ที่ต้องเป็นคำถามที่อิสระจากการแทรกแซงทางการเมือง

รายงานร่วมของทั้งสองฝ่ายผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกตั้งข้อสงสัยว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ไวรัสจะถูกปล่อยออกจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ซึ่งก็เป็นสถานที่พัฒนาวัคซีนด้านไวรัสด้วย ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดี Biden ก็ออกมาเปิดเผยว่าจะตรวจสอบแหล่งที่มาของโควิด-19 ที่สหรัฐฯ เองก็มองว่ามีความเป็นไปได้ทั้งสองทาง คือไวรัสอาจแพร่จากสัตว์สู่คน หรือไม่ก็อาจจะออกมาจากห้องแล็บโดยไม่ตั้งใจ สาเหตุที่ Biden มองเช่นนี้เพราะข้อมูลและหลักฐานที่ได้ ไม่มากพอที่จะทำให้ฟันธงได้ว่าไวรัสมาจากทางใดทางหนึ่ง

สี จิ้นผิง Xi Jinping ประธานาธิบดีจีน
(Photo by Greg Bowker – Pool/Getty Images)

ด้านทำเนียบขาวก็ออกมาแสดงความผิดหวังอย่างสุดซึ้งถึงการตัดสินใจปฏิเสธของจีนที่ไม่ให้ WHO เข้าไปตรวจสอบแหล่งที่มาของโควิดระบาดเฟส 2 ตามแผนที่ WHO กำหนดไว้ ซึ่ง WHO ก็ต้องการตรวจทั้งที่มาที่ว่าไวรัสระบาดจากห้องแล็บหรืออาจเป็นตลาดสดในเมืองอู่ฮั่น สุดท้ายแล้วก็ทำได้เพียงขอความโปร่งใสจากทางการจีนให้สามารถตรวจสอบได้

ที่มา – Nikkei Asia (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post จีนปฏิเสธคำขอองค์การอนามัยโลก ไม่ให้สืบสาวที่มาโควิดระบาดรอบสอง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-refuse-who-second-phase-plan-origin-investigation-covid-19/

บทสรุปจากทีม WHO หลังลงพื้นที่อู่ฮั่น: ไวรัสไม่ได้มาจากห้องแล็บ, ค้างคาวคือพาหะหลัก

หลังจากที่โควิด-19 ระบาดทั่วโลกแล้ว 1 ปี ทีมเจ้าหน้าที่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้ลงพื้นที่อู่ฮั่น จีน ที่มาของโรคระบาดโควิดที่ปัจจุบันคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 2.3 ล้านคน 

สี จิ้นผิง Xi Jinping ประธานาธิบดีจีน
(Photo by Greg Bowker – Pool/Getty Images)

ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า กอปรกับมิติทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งการระงับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาภายใต้การปกครองยุคทรัมป์ ตลอดจนอิทธิพลของจีนภายใต้สี จิ้นผิงที่ทำให้บรรยากาศโรคระบาดดูคลุมเครือ ล่าสุดทีม WHO ก็ได้ออกจากจีนแล้วเรียบร้อยและนี่คือสิ่งที่ WHO สรุปผล 

เรื่องแรก ค้างคาว

ภารกิจที่ทีม WHO ลงพื้นที่อู่ฮั่นพบว่า ทฤษฏีที่ว่าค้างคาวคือตัวแพร่โรคระบาดหลักๆ แพร่ไปยังสัตว์ชนิดอื่นก่อนจะแพร่สู่คนอีกทีนั้น แนวคิดนี้ยังคงเดิม แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ด้านอื่นๆ เพิ่ม อาทิ ค้างคาวสามารถแพร่เชื้อต่อคนได้โดยตรง แต่การแพร่เชื้อจากค้างคาวไปยังสัตว์อื่นสู่คนก็ยังมีความเป็นไปได้หลัก คำถามที่ยังคงอยู่ก็คือ สัตว์ชนิดใด? สถานที่ใดที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อ?

Horseshoe bat ค้างคาวเกือกม้า
ค้างคาวเกือกม้า ภาพจาก Wikimedia

เรื่องที่สอง ตลาด

ตลาดอาหารทะเลหัวหนานถือเป็นจุดเริ่มต้นของโรคระบาด ก็ยังมีคำถามค้างคาที่ว่าสถานที่แห่งนี้ยังเป็นที่แรกที่มีคนมาติดเชื้อเป็นที่แรกหรือไม่ สำหรับเคสแรกๆ อาจจะไม่ใช่และยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่า สถานที่แรกที่มีการติดเชื้อ แพร่เชื้อนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ตลาดนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเลที่แช่แข็งแล้ว แต่ก็ยังมีการขายสัตว์ป่าด้วย ซึ่งก็มีทั้งกระต่าย หนูอ้น (bamboo rats) หมาหริ่ง (ferret badger) สัตว์ฟันแทะที่ยังต้องสงสัยอยู่ว่า เป็นแหล่งแพร่ไวรัสด้วยหรือไม่ 

ทั้งนี้ หนึ่งในทีมสมาชิก WHO ระบุว่า สัตว์เหล่านี้บางส่วนได้ถูกติดตามไปยังฟาร์มหรือผู้ค้าสัตว์ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีค้างคาวที่เป็นพาหะของไวรัส ขณะที่เจ้าหน้าที่จีนระบุว่าการติดเชื้อเกิดขึ้นทุกที่ทั่วอู่ฮั่น ในช่วงเวลาเดียวกันที่มีกลุ่มผู้ติดเชื้อในตลาด ดังนั้นไวรัสสามารถแพร่จากสัตว์สู่คนจากที่ใดก็ได้

เรื่องที่สาม ห้องแล็บ

บทสรุปจากผู้เชี่ยวชาญชาวจีนและนานาประเทศที่เคยมองว่าไวรัสหลุดออกมาจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น จีนนั้น ทีม WHO ระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวไม่มีหลักฐานที่ระบุว่ามีไวรัสออกจากห้องแล็บจริง หรือทฤษฎีที่ว่าไวรัสจะหลุดออกจากห้องแล็บที่อื่นในโลก ก็ไม่มีหลักฐานที่ระบุว่าเป็นเช่นนั้นจริง 

เรื่องที่สี่ The Cold Chain 

มีความคิดที่ระบุว่าเป็นไปได้ว่าไวรัสอาจจะแพร่สู่คนผ่านอาหารแช่แข็ง เรื่องนี้เคยมีเจ้าหน้าที่จีนระบุว่าพบเชื้อไวรัสจากอาหารแช่แข็งที่นำเข้ามา จึงเป็นไปได้ว่าไวรัสอาจจะนำเข้าจากจีนสู่ต่างประเทศ?

เรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ WHO ระบุว่า ยังไม่มีคำตอบสำหรับคำถามนี้ เรื่องการแพร่ไวรัสจาก Cold Chain หรือการจัดระบบโซ่ความเย็น กล่าวคือการขนส่งอาหารผ่านการแช่แข็ง ผ่านการควบคุมอุณหภูมินี้ ทีม WHO ระบุว่าเป็นไปไม่ได้ ไวรัสอาจมาจากที่ใดที่หนึ่งแต่ไม่สามารถมาจากวิธีผ่านการควบคุมอุณหภูมิผ่านห่วงโซ่ความเย็นเช่นนี้ 

Coronavirus Covid-19
Microscopic illustration of the spreading 2019 corona virus that was discovered in Wuhan, China.

เรื่องที่ห้า ข้อมูล 

ภารกิจที่ทีม WHO ลงพื้นที่อู่ฮั่นนี้ถูกตั้งคำถามอย่างมากถึงเสรีภาพในการสำรวจพื้นที่ของทีม WHO ขณะลงพื้นที่และการพูดคุยกับผู้คนที่ทีมต้องการ ด้านทีม WHO ระบุว่า พอใจสำหรับการจัดการทั้งหมด

ที่มา – CNA 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post บทสรุปจากทีม WHO หลังลงพื้นที่อู่ฮั่น: ไวรัสไม่ได้มาจากห้องแล็บ, ค้างคาวคือพาหะหลัก  first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/who-team-leaves-wuhan-china-after-inspection-origin-of-covid-19/

ครบกำหนด 14 วัน หมดเวลากักกันโรค ทีม WHO พร้อมลงอู่ฮั่นตรวจสอบที่มาโควิด-19

หลังจากที่ยื้อๆ ยุดๆ กันร่วมปี สำหรับการพยายามลงพื้นที่ตรวจสอบอู่ฮั่น จีน ล่าสุด ครบวาระ 14 วันแล้วที่ทีม WHO ไม่ต้องกักกันโรคอีกต่อไป เตรียมลงพื้นที่ตรวจสอบที่มาโควิด-19

Chinese People COVID-19 Check point
ภาพจาก Shutterstock

ทีม WHO เตรียมตรวจสอบตลาดอาหารทะเลที่มีการยืนยันจากสถาบันไวรัสวิทยาแห่งอู่ฮั่น เป็นสถานที่แรกที่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ นักวิจัยยังเตรียมแผนสัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ที่พยายามสืบหาที่มาว่าไวรัสเริ่มระบาดมาจากที่ไหนก่อนจะแพร่เชื้อสู่คนได้

1 ปีผ่านไปแล้ว โควิดเริ่มแพร่ระบาด เจ้าหน้าที่ WHO บางรายก็เกิดความข้องใจว่าการตรวจสอบดังกล่าวจะช่วยทำให้ระบุที่มาของไวรัสระบาดได้จริงหรือ ตอนนี้จึงเป็นการมุ่งเข้าไปที่จีนมากกว่าจีนจะยอมรับ ข้อเรียกร้องจากทีม WHO ในการจัดเตรียมข้อมูลให้ได้มากน้อยแค่ไหน 

ทั้งนี้ Zhao Lijian โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนก็ได้แสดงความคิดเห็นว่าทีมงานควรจะมุ่งเป้าตรวจสอบเพื่อระบุว่าไวรัสมีที่มาจากไหนได้ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ นี่คือภารกิจที่สำคัญที่สุดที่ควรจะเป็นไปเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เพื่อปกป้องชีวิตมนุษย์ให้ปลอดภัยมากขึ้น เขาย้ำว่า ที่มาของไวรัสยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบ เป็นไปได้ว่า ไวรัสอาจมีที่มาจากหลายแห่ง เขาเน้นว่าการพยายามตีความบนสมมติฐานทางการเมืองหรือมีการคาดการณ์ในแง่ลบเป็นสิ่งไม่เหมาะสม

China COVID-19 Face Masks
ภาพจาก Shutterstock

ที่มา – NHK

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ครบกำหนด 14 วัน หมดเวลากักกันโรค ทีม WHO พร้อมลงอู่ฮั่นตรวจสอบที่มาโควิด-19 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/who-team-ready-to-inspect-in-wuhan-china/

WHO ลงพื้นที่อู่ฮั่น จีนแล้ว พบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 คนแรกในรอบ 8 เดือน

หลังจากที่เจรจายืดเยื้อเรื้อรังนานร่วมปี ในที่สุดเจ้าหน้าที่จากองค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้ลงพื้นที่จีน สำรวจแหล่งที่มาของโรคระบาดโควิด-19 เสียที (covid-19) แต่ก็พบว่า มีคนเสียชีวิตจากโควิด-19 คนแรกในรอบ 8 เดือนเสียด้วย 

Coronavirus COVID-19 โควิด-19
KIRKLAND, WASHINGTON – MARCH 11: A cleaning crew exits the Life Care Center on March 11, 2020 in Kirkland, Washington. Most of the coronavirus deaths in Washington State have been linked to the nursing home. (Photo by John Moore/Getty Images)

เจ้าหน้าที่จาก WHO มีสองรายที่พบว่าติดเชื้อ ส่วนที่เหลือถูกกักกันโรคก่อนลงพื้นที่เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะเริ่มทำหน้าที่ตรวจสอบที่มาของโควิด-19 หลังจากที่เตรียมจะลงพื้นที่ยาวนานนับปี พร้อมๆ กับจีนที่พยายามสร้างเรื่องเล่าเกี่ยวกับโควิด-19 ในรูปแบบใหม่ว่าโควิดไม่ได้เกิดขึ้นที่จีน แต่มาจากที่อื่น เป็นต้น

อย่างไรก็ดี มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ราว 4,635 คน แต่ยังไม่มีรายละอียดแน่ชัด ยกเว้นรายล่าสุดที่ป่วยจากโควิด-19 อาศัยอยู่ในเหอเป่ยที่มีการระบาดอย่างหนักทำให้จีนสั่ง lockdown เมืองซึ่งมีผู้คนอาศัยราว 10 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตรายแรกที่ป่วยมาตั้งแต่พฤษภาคม ทางคณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติจีนรายงานว่ามีผู้ติดเชื้อใหม่ 138 คน มี 78 คนที่ติดเชื้อแต่ไม่มีอาการ ถือเป็นยอดติดเชื้อรายวันที่สูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา 

ใครก็ตามที่ต้องเดินทางเข้าปักกิ่ง จีน เพื่อทำงานบริเวณรอบๆ เมืองเหอเป่ยจะต้องมีเอกสารยืนยันว่ามีการทำงาน จ้างงานอยู่จริงพร้อมทั้งผลตรวจโควิด-19 ที่เป็นลบ ขณะที่เซี่ยงไฮ้ก็ต้องมีการกักกันโรคเป็นเวลา 14 วันและตรวจโรคด้วยก่อนจะเข้าเมืองได้ คำสั่งนี้จะมีผลสิ้นสุดลงช่วงปลายเดือนมีนาคมปีนี้ ด้านผู้อำนวยการฝ่ายโรคระบาด โรงพยาบาลในเซี่ยงไฮ้ระบุว่า อาจจะต้องใช้เวลาในการควบคุมโรคราว 1 เดือน ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งเร้ากับทางการให้จัดการเรื่องวัคซีนให้เร็วขึ้น 

Wuhan China COVID-19 Coronavirus โควิด-19
ภาพจาก Shutterstock

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสมีทั้งจากสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น อังกฤษ รัสเซีย  เนเธอร์แลนด์ กาตาร์ และเวียดนาม สมาชิกทีมจะต้องตรวจ PCR หลายครั้ง และต้องมีผลตรวจเป็นลบ มีภูมิต้านทาน และเป็นการตรวจจากประเทศต้นทางก่อนจะออกเดินทาง พวกเขาได้รับการตรวจ PCR ที่สิงคโปร์อีกครั้ง พบว่ามีสองคนที่มีผลเป็นบวก ต้องได้รับการดูแลต่อไป ส่วนสมาชิกที่เหลือจะเริ่มหารือกับจีนทันทีทางวิดีโอหลังจากที่พวกเขาผ่านการกักกันโรคแล้ว

โฆษกรัฐบาลจีนระบุว่า สัปดาห์นี้ทางทีม WHO ต้องแลกเปลี่ยนมุมมองระหว่างกันซึ่งทางทีม WHO ก็มองว่าต้องขึ้นอยู่กับจีนด้วยว่าจะยินดีแลกเปลี่ยนข้อมูลมากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ ทีม WHO ไม่ได้ลงพื้นที่เต็มทีม เนื่องจากมีบางส่วนที่ไม่ได้รับอนุมัติวีซ่า โดยทางการจีนระบุว่าน่าจะมีความเข้าใจผิดเกิดขึ้น จึงเป็นเหตุให้วีซ่าไม่ได้รับอนุมัติ

ที่มา – The Guardian

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post WHO ลงพื้นที่อู่ฮั่น จีนแล้ว พบผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 คนแรกในรอบ 8 เดือน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/who-team-investigate-covid-19-in-wuhan-china/

ข่าวร้ายไม่มีให้อ่าน ข่าวดีเท่านั้นที่นำเสนอ จีนเซ็นเซอร์ข่าวโควิดยังไงให้ไม่เหลือข่าวลบ

The New York Times ตีแผ่ข้อมูลให้โลกรู้
รัฐบาลจีนเซ็นเซอร์ข่าวโควิด-19 ระบาดในประเทศอย่างไรให้มีแต่เนื้อหาข่าวดีๆ 

โรคระบาดโควิด-19 ที่เกิดจากโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 นั้น ปฏิเสธไม่ได้ว่า มีข่าวแพร่สะพัดการติดเชื้อแห่งแรกที่อู่ฮั่น จีน ช่วงแรกๆ ข่าวแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั่วโลกอินเทอร์เน็ตจนจีนรู้สึกสั่นคลอน เพราะไม่สามารถควบคุมโทนและเนื้อหาข่าวที่กำลังกระพือไปทั่วได้

สี จิ้นผิง Xi Jinping
AUCKLAND, NEW ZEALAND – NOVEMBER 21: Chinese President Xi Jinping addresses the audience at a luncheon at SkyCity Grand Hotel on November 21, 2014 in Auckland, New Zealand. President Xi Jinping is on a two day trip to New Zealand to have talks with New Zealand Government and business leaders in Auckland and Wellington. (Photo by Greg Bowker – Pool/Getty Images)

ช่วงแรกๆ ที่นายแพทย์หลี่ เหวินเหลียงเริ่มออกมาเตือนภัยจากโรคระบาด เขาทั้งถูกตำรวจขู่ กล่าวหาว่าเขาเผยแพร่ข่าวลือจนในที่สุดเขาก็เสียชีวิตจากการติดโควิด ชาวจีนจำนวนมากเสียใจและสาปแช่งรัฐบาล สิ่งนี้คือต้นทุนที่จีนต้องจ่ายหลังพยายามกดปราบไม่ให้ความจริงแพร่กระจายออกไป

การเสียชีวิตของหมอหลี่ผู้แฉข่าวโควิด-19 ยิ่งสร้างความเกลียดชังจากประชาชนถึงรัฐบาลจีน

ช่วงแรกๆ ที่หมอหลี่เสียชีวิต ทำให้รัฐบาลยิ่งพยายามเซ็นเซอร์ข่าวหนักขึ้น ด้วยการสั่งให้เว็บไซต์ข่าวไม่แจ้งให้ผู้อ่านรับรู้ถึงการเสียชีวิตของหมอหลี่ รัฐบาลจีนให้โซเชียลแพลตฟอร์มค่อยๆ เอาข่าวของหมอหลี่ออกจากพาดหัวข่าวที่กำลังเป็นกระแส ให้คนมาแทรกแซงการวิพากษ์วิจารณ์ให้เนื้อหาไขว้เขว ไม่ให้มีการโพสต์แสดงความคิดเห็น ไม่ทำให้คนรู้สึกสงสัยจนอยากหาความจริง พยายามควบคุมการสนทนาในแพลตฟอร์มออนไลน์ ไม่สร้าง # แฮชแท็กต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และค่อยๆ เอาประเด็นนี้ออกไปจากความสนใจของผู้คน 

ทีมดูแลไซเบอร์ต้องใส่ใจต่อการแสดงความคิดเห็นบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ต้องควบคุมความคิดเห็นที่จะส่งผลเสียต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลที่พวกเขาเชื่อว่าจะนำไปสู่การโจมตีระบบทางการเมือง

จีน China
Photo by Ling Tang on Unsplash

ข้อมูลดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคำสั่งการที่มีอีกเป็นจำนวนมาก เป็นคำสั่งการโดยรัฐบาลจีนในทางลับสำนักข่าว The New York Times และ ProPublica ได้รับข้อมูลชุดนี้มาและนำมาเปิดเผยให้โลกรับรู้โดยทั่วกันว่า รัฐบาลจีนพยายามควบคุมการแสดงความคิดเห็นบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างไร 

สื่อดิจิทัลแบ่งสังคมเป็นโลกตะวันตกที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและจีนที่มีการควบคุมการแสดงความคิดเห็นออนไลน์ซึ่งผ่านฉันทามติพรรคคอมมิวนิสต์จีนแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2020 คือการพยายามจัดการกับการนำเสนอเนื้อหา การควบคุมโทนข่าว 

การพยายามควบคุมเนื้อหาของจีนในแพลตฟอร์มออนไลน์ดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามจากทุกภาคส่วนของจีน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ กองทัพ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี เหล่านี้ล้วนมีการมอนิเตอร์ข้อมูลข่าวสารและแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอยู่ตลอดเวลาและมีแนวโน้มใช้งบประมาณมหาศาลสำหรับความทุ่มเทนี้ด้วย 

สหรัฐฯ และหลายประเทศต่างมองว่าจีนพยายามปิดข่าว หากจีนกระจายข้อมูลได้ชัดเจนตั้งแต่แรกก็อาจทำให้ป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ขณะที่ฝั่งจีนนั้นก็มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าเจ้าหน้าที่พยายามป้องกันไม่ให้เกิดความตระหนกเกิดขึ้นและพยายามทำให้เห็นว่าไวรัสไม่ใช่เรื่องร้ายแรงขนาดนั้น รัฐบาลจีนจัดการได้ ซึ่งเอกสารจำนวนมากแสดงให้เห็นชัดเจนว่ารัฐบาลพยายามมอนิเตอร์การถกเถียงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ และรัฐพยายามเข้าไปจัดการการแสดงความคิดเห็นดังกล่าว

Wuhan China Staff Cleaning COVID-19 Coronavirus
ภาพจาก Shutterstock

อาวุธอานุภาพร้ายแรงของจีน ไม่ใช่แค่เซ็นเซอร์ข่าว แต่สร้างการเล่าเรื่องแบบใหม่ให้ไม่ส่งผลลบ

ด้าน Xiao Qiang นักวิทยาศาสตร์วิจัยจาก Berkeley ผู้ก่อตั้ง China Digital Times เล่าว่า จีนมีอาวุธทางการเมืองชนิดหนึ่ง นั่นคือการเซ็นเซอร์ มันสามารถกลั่นกรอง จัดการ ร่วมมือ และส่งเสริมเครื่องมือรัฐได้ มันไม่ใช่แค่การลบข้อมูลบางอย่าง แต่มันยังเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างเรื่องเล่าที่มีเป้าหมายเพื่อเป้าหมายใดๆ ก็ตามที่ส่งผลในระดับมหึมา มันเป็นเรื่องใหญ่มาก ไม่มีประเทศไหนทำแบบนี้ 

การควบคุมเรื่องเล่านี้ Xi Jinping ผู้นำระดับสูงเป็นคนก่อตั้งทีมบริหารไซเบอร์ขึ้นมาในจีนตั้งแต่ปี 2014 มีการจัดการแบบรวมศูนย์ เซ็นเซอร์ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และโฆษณาชวนเชื่อ ทุกวันนี้คณะกรรมาธิการกลางของพรรคคอมมิวนิสต์จีนเรืองอำนาจมาก นี่ก็เป็นสัญญาณที่สะท้อนให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของผู้นำด้วย

ช่วงที่มีข่าวลือเกี่ยวกับไวรัสระบาดในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม ก็มีคำสั่งให้เว็บไซต์ข่าวใช้เนื้อหาจากทางรัฐบาลเผยแพร่เท่านั้น จากนั้นเดือนกุมภาพันธ์เริ่มมีการประชุมในกลุ่มผู้นำระดับสูงให้จัดการกับสื่อดิจิทัลอย่างเข้มข้น การพาดหัวข่าวจะต้องไม่ทำให้คนตระหนกตกใจกับการอ่านข่าวนั้น หลีกเลี่ยงการใช้คำประเภท เมื่อเป็นโรคนี้แล้วรักษาไม่หาย อาจทำให้ถึงตายได้ ไม่ให้ใช้คำ lockdown แต่ให้ใช้คำว่าจำกัดการเคลื่อนไหวหรือการเดินทาง เป็นการพยายามควบคุมทิศทางไม่ให้มีข่าวติดลบ

นี่ไม่ใช่แค่การสร้างเรื่องเล่าอย่างเป็นระบบและการเซ็นเซอร์แทบทุกมิติจนทำให้ไม่มีเรื่องลบเท่านั้น แต่ยังจำกัดเนื้อหาที่จะสะท้อนให้เห็นความจริงเบื้องหลังด้วย อาทิ การไม่ให้นำเสนอข่าวการบริจาคหรือมีการสั่งซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์จากต่างประเทศ

WUHAN, CHINA – FEBRUARY 04: (CHINA OUT)The view of the Wuhan International Conference and Exhibition Center on February 4th.2020 in Wuhan.Hubei Province,China.Wuhan epidemic prevention headquarters started converting three existing venues, including a gymnasium and an exhibition center, into hospitals to receive patients infected with the novel coronavirus (2019-nCoV), the headquarters for the epidemic control said late Monday. (Photo by Getty Images)

แรงงานนับแสนควบคุมทั้งความคิดเห็น แทรกแซงคอมเมนท์ให้ไขว้เขว แลกกับความมั่นคงของจีน

การเสียชีวิตของหมอหลี่ เหวินเหลียง ปลุกความโกรธแค้นของผู้คน ทำให้ทางการจีนต้องพยายามเซ็นเซอร์หนักขึ้น โพสต์ที่แสดงความคิดเห็นรำลึกถึงหมอหลี่จำนวนมากค่อยๆ ถูกลบออกจากแพลตฟอร์ม มีเจ้าหน้าที่ระบุว่า แรงงานต้องอ่านข้อความออนไลน์กว่า 40,000 คอมเมนท์และต้องพยายามกำจัดข้อความที่สร้างความตื่นตระหนกกับคนอ่าน มีคนที่ถูกสอบสวน 16 คน ถูกตักเตือน 14 คน และถูกจับกุม 2 คน ในเขตหนึ่งระบุว่ามีทหารไซเบอร์อยู่จำนวน 1,500 คนมีหน้าที่คอยมอนิเตอร์กรุปแชทอย่างใกล้ชิดใน WeChat  

นักวิจัยประเมินว่ามีแรงงานพาร์ทไทม์ในจีนนับ 100,000 ราย ทำงานในลักษณะแสดงความคิดเห็นและแชร์ข้อมูลที่ส่งเสริมอุดมการณ์ของรัฐบาลจีน หลายคนเป็นพนักงานระดับล่าง ซึ่งก็มีทั้งที่อยู่ในรัฐบาลและพรรคคอมมิวนิสต์จีน นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังมีซอฟต์แวร์ Urun ที่ช่วยกำหนดทิศทางในการแสดงความคิดเห็นและยังใช้งานง่าย ทำให้คนงานของรัฐบาลสามารถกดไลค์ในข้อความที่โพสต์ได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถติดตามได้ว่าภารกิจที่สั่งการไปนั้นทำสำเร็จหรือไม่ จากนั้นก็จะคำนวณเงินที่ต้องจ่ายให้กับแรงงาน

WUHAN, CHINA – FEBRUARY 12 (Photo by Stringer/Getty Images)

จากข้อมูลระบุว่า ข้อความ 400 ตัวอักษรจะได้รับค่าแรงอยู่ที่ 25 เหรียญสหรัฐหรือประมาณ 750 บาท การลบข้อความเชิงลบจได้เงิน 40 เซ็นต์หรือประมาณ 12 บาท แต่ถ้านำข้อความมาโพสต์ซ้ำจะได้เงินชิ้นละ 1 เซ็นต์ หรือประมาณ 3 บาท นอกจากนี้ ยังมีการเทรนแรงงานให้ฝึกคอมเมนท์ผ่านวิดีโอเกมที่ออกแบบมาเหมือนซอฟต์แวร์ และ Urun ก็สามารถมอนิเตอร์ข้อมูลด้านลบ 

การจัดการฝ่ายที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของจีนไม่ใช่เรื่องใหม่ จีนมักจะทำจนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว แต่การจัดการข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลจีนแบบที่มีข้อมูลภายในหลุดมาแฉหรือเปิดโปงเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องจะได้พบเห็นกันบ่อยนัก

ล่าสุด เมื่อวันที่ 28 ธันวาคมที่ผ่านมา จีนก็เพิ่งตัดสินโทษจำคุกนักข่าวจีนเป็นเวลา 4 ปี เธอชื่อ Zhang Zhan รายงานเรื่องการระบาดของโควิด ก่อนหน้านี้เธอเคยเขียนบทความเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวประท้วงของฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยในฮ่องกงก็ทำให้เธอถูกคุมขังในปี 2019 และถูกปล่อยตัว 2 เดือนถัดมา 

ที่มา – The New York Times, Taiwan News

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ข่าวร้ายไม่มีให้อ่าน ข่าวดีเท่านั้นที่นำเสนอ จีนเซ็นเซอร์ข่าวโควิดยังไงให้ไม่เหลือข่าวลบ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/how-china-censor-covid-19-news/

อย่าหยุดหวัง ชาวอู่ฮั่นรำลึก 1 ปีแห่งความเจ็บปวดจากการ Lockdown และความหวังใหม่ปี 2021

อู่ฮั่น จีน ถือเป็นแหล่งระบาดโควิด-19 แห่งแรกของโลก ปัจจุบันชาวอู่ฮั่นเริ่มกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติแล้ว แต่ความทรงจำสำหรับช่วงที่เกิดโควิดระบาดช่วงแรกๆ ยังคงอยู่ 

WUHAN, CHINA – FEBRUARY 04: (CHINA OUT)The view of the Wuhan International Conference and Exhibition Center on February 4th.2020 in Wuhan.Hubei Province,China.Wuhan epidemic prevention headquarters started converting three existing venues, including a gymnasium and an exhibition center, into hospitals to receive patients infected with the novel coronavirus (2019-nCoV), the headquarters for the epidemic control said late Monday. (Photo by Getty Images)

ราว 7 เดือนที่โควิดแพร่ระบาด เมืองถูกสั่ง lockdown อย่างเข้มข้นและผู้คนเกือบ 11 ล้านคนต้องได้รับการตรวจโรค เทียบกับปัจจุบัน ร้านอาหาร ถนนที่มีห้างร้าน บาร์ เนืองแน่นไปด้วยผู้คน แต่ผลกระทบทางจิตใจจากการ lockdown ยังคงอยู่ สำนักข่าวรอยเตอร์สได้สอบถามผู้คนทั่วอู่ฮั่นและให้แชร์ภาพและวิดีโอในช่วงที่เกิดโรคระบาด พร้อมให้บอกความหวังในช่วงปี 2021 

พบว่า พวกเขายังมีความหวังและยังมองโลกในแง่ดีอยู่ แม้ว่าปี 2020 นี้จะเป็นปีที่ยากลำบากและหนักหนาสาหัสสำหรับพวกเขามากก็ตาม

An Junming อาสาสมัครในอู่ฮั่น เล่าว่า เขาทำงานเป็นอาสาสมัครในช่วงที่มีการ Lockdown 76 วัน ด้วยการส่งอาหารให้ผู้คนที่ติดอยู่ในบ้าน ออกมาไม่ได้ เขาบอกว่าเขากินอาหารแค่วันละมื้อเดียว เพราะมีงานหลายอย่างที่ต้องรับผิดชอบ ขณะเดียวกันก็มีคนจำนวนน้อยมากที่ทำงานนี้ เขารู้สึกกังวลมาก เขาหวังว่าปี 2021 จะเป็นปีที่สดใส เขาบอกว่าปี 2020 มันมีช่วงที่ท้องถนนไม่มีผู้คนเดินอยู่เลยทั้งอู่ฮั่น มีแต่สัตว์ที่เดินไปมาตามท้องถนนได้ 

Zhang Xinghao นักร้องนำวง Mad Rat ในอู่ฮั่น เล่าว่า เขาแทบไม่ทำอะไรเลยเมื่อต้องอยู่บ้าน มันน่าเบื่อมาก เขาคิดว่าเขาต้องแต่งเพลงและร้องเพลงเพื่อให้มีความสนุกมากขึ้น

เขาบอกว่ามันเป็นครั้งแรกที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาผ่านประสบการณ์หายนะ เราต้องไม่เมินเฉยต่อโรคระบาด เราเห็นข่าว เห็นต่างประเทศมีคนติดเชื้อจำนวนมาก เราต้องไม่เมินเฉยต่อมัน เราไม่ควรคิดว่าเรามีพลังมากมาย ขณะเดียวกัน เขาก็คิดว่ามนุษย์นั้นเปราะบางเหลือเกิน

Wuhan China Staff Cleaning COVID-19 Coronavirus
ภาพจาก Shutterstock

Duan Ling วัย 36 ปี นักธุรกิจหญิง เธอบอกว่าสามีของเธอทำงานเป็นศัลยแพทย์และติดโควิด-19 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ เธอบอกว่าวันเกิดของเธอ สามีของเธอต้องอยู่โรงพยาบาลเพราะโรคระบาด แต่เขาก็ใช้เวลาทั้งวันเพื่อตัดต่อคลิปวิดีโอส่งให้เธอดูในวันนั้น เธอบอกว่าปี 2020 ผ่านเรื่องราวมามากมาย ปี 2021 เธอก็อยากจะมีลูก

Lai Yun วัย 38 ปี เป็นเจ้าของร้านอาหาร เธอบอกว่าตอนนี้ทุกคนต่างก็รู้สึกว่าเวลาผ่านไปเร็วมาก เหมือนเพิ่งปิดเมืองไปเมื่อวานนี้เอง เธอคิดว่า โควิด-19 ทำให้สร้างแรงบันดาลใจที่ดีว่า การมีสุขภาพที่ดีสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด

Wu Mengjing วัย 22 ปี นักศึกษาด้านการออกแบบ เขาบอกว่า โรคระบาดส่งผลกระทบต่อผู้คนมากมาย หลายบริษัทล้มละลายและคนตกงานจำนวนมาก สิ่งเหล่านี้กระทบต่อการพัฒนาทั้งหมดในอู่ฮั่น เขากังวลมากว่าจะมีโควิด-19 ระบาดระลอกสองในอู่ฮั่น เพราะเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ

WUHAN, CHINA – FEBRUARY 11: A women wears a protective mask as she rides a bicycle on February 11.2020 in Wuhan. Hubei province,China. Flights, trains and public transport including buses, subway and ferry services have been closed for the twentieth days. The number of those who have died from the Wuhan coronavirus, known as 2019-nCoV, in China climbed to 1017. (Photo by Getty Images)

Jiang Honghua วัย 34 ปี พ่อค้าร้านอาหารริมทาง เขาบอกว่าช่วงโควิด-19 ระบาด เป็นช่วงที่ครอบครัวได้อยู่ด้วยกัน เขารู้สึกมีความสุขมาก เขาคิดว่าปี 2020 เป็นปีที่ดีสำหรับเขา รู้สึกโชคดีที่ยังได้มีชีวิตอยู่ทั้งครอบครัว ปี 2021 เขาก็หวังว่าเขาจะทำธุรกิจได้ดี

Liu Runlian วัย 58 ปี Street Dancer เธอบอกว่าปี 2021 ที่จะมาถึงนี้ เธอไม่ได้คาดหวังอะไรมากมายเกี่ยวกับตัวเธอเอง แต่เธอก็อยากจะใช้ชีวิตที่สงบสุขและหวังว่าทุกคนจะปลอดภัย

ปี 2021 ที่ผ่านมา ถือเป็นปีที่หนักหนาสาหัสสำหรับอู่ฮั่น จีน อย่างแท้จริง สำหรับเมืองแรกที่มีการสั่ง Lockdown แห่งแรก ทั้งที่ยังไม่มีการเตรียมการรับมือได้อย่างดีพร้อม ไม่มีการเตรียมตัว เตรียมใจ

ทั้งหมดผ่านโควิด-19 มาได้แล้วพร้อมกับความทรงจำที่ยังตราตรึงอยู่ แต่ก็ไม่ได้ทำให้พวกเขาหยุดที่จะคาดหวังถึงปีที่สดใสที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ข้อความที่เขาเขียนทำให้เราได้เรียนรู้ว่ามนุษย์ไม่ได้แข็งแกร่ง อย่าใช้ชีวิตอย่างประมาท และระมัดระวังต่อไปเพื่อไม่ให้เกิดโควิดระบาดระลอกสอง ขณะเดียวกันก็ต้องมีความหวังที่จะใช้ชีวิตด้วย

ที่มา – Reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/wuhan-after-covid-19-outbreak-and-new-hope-in-2021/

ทีมองค์การอนามัยโลกเตรียมลงพื้นที่อู่ฮั่น จีน ตรวจสอบที่มาโควิด-19 มกราคม 2564 นี้

โควิด-19 ระบาดกว่า 1 ปีแล้ว องค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมทีมลงพื้นที่อู่ฮั่น จีน มกราคมปีหน้านี้ เพื่อตรวจสอบต้นตอที่มาของโควิด-19 ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ วิพากษ์วิจารณ์จีนและองค์การอนามัยโลกในการจัดการโควิด-19 ระบาดอย่างหนักหน่วงจนโดนัลด์ ทรัมป์ถอนตัวและระงับทุนสนับสนุน WHO ไปแล้ว

Coronavirus
BEIJING, CHINA – JANUARY 25 (Photo by Kevin Frayer/Getty Images)

กว่า 1 ปีแล้วที่ค้นพบโควิด-19 ครั้งแรกที่อู่ฮั่น จีน นักวิจัยจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เตรียมลงพื้นที่ตลาดสดซึ่งเป็นจุดแรกที่มีการระบาดของโควิด-19 โดย Peter Ben Embarek ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคในสัตว์จาก WHO ระบุว่า ทีมนักวิจัยต้องการสัมภาษณ์ผู้ที่ติดโควิด-19 ในช่วงแรกๆ ซ้ำอีกครั้ง และคาดว่าอาจจะได้ข้อมูลสำคัญเพิ่มเติม เขามองว่า ไม่มีตัวชี้วัดใดที่บ่งบอกได้เลยว่าไวรัสนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น 

เขาบอกว่า ช่วงก่อนเดือนธันวาคม 2019 เราไม่รู้เลยว่าจริงๆ แล้วอะไรเกิดขึ้นกันแน่ เราไม่รู้ว่าไวรัสที่ส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในหมู่สัตว์ประเภทค้างคาวมาแพร่เชื้อสู่คนได้อย่างไร เราจำเป็นต้องรื้อประวัติศาสตร์ใหม่ 

อย่างไรก็ดี โควิด-19 นี้ บ้างก็ว่ามาจากค้างคาวเกือกม้า (horseshoe bats) บ้างก็ว่าต้องมีตัวกลางที่ทำให้ไวรัสแพร่เชื้อจากค้างคาวสู่คนได้ บางข้อมูลก็ระบุว่าไวรัสมาจากนอกประเทศจีนบ้าง ไวรัสเป็นสิ่งที่คนทำขึ้น หลุดออกมาจากห้องแล็บบ้าง แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ยังมีความไม่ชัดเจน คลุมเครือ

WUHAN, CHINA – FEBRUARY 12: (CHINA OUT) Residents wear protective masks as they line up in the supermarket
on February 12, 2020 in Wuhan, Hubei province, China. Flights, trains and public transport including buses, subway and ferry services have been closed for 21 days. The number of those who have died from the Wuhan coronavirus, known as 2019-nCoV, in China climbed to 1117. (Photo by Stringer/Getty Images)

ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็อยู่ในขั้นตกต่ำถึงขีดสุด แย่ที่สุดนับตั้งแต่สานสัมพันธ์กันมา สหรัฐฯ​ มองว่าจีนล้มเหลวที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดของไวรัสได้ อีกทั้งยังปกปิดข้อมูลนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการระบาด 

Fabian Leendertz นักชีววิทยาจากสถาบัน Robert Koch แห่งเยอรมนี ระบุว่า จริงๆ แล้วนี่ไม่ใช่การค้นหาว่าเป็นความผิดของใคร ประเทศไหนผิด แต่เป็นการพยายามทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งสมมติฐานแรกที่ว่าคือการหาความเชื่อมโยงกับ ‘patient zero’ หรือ ผู้ป่วยคนแรกที่ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกในตลาดอู่ฮั่นที่มีการค้าขายสัตว์ป่า แต่ตอนนี้มีการพิจารณากันว่าไม่น่าเป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะผู้ป่วยช่วงแรกๆ หลายคนไม่ได้มีจุดเชื่อมโยงกับพื้นที่ดังกล่าว 

Horseshoe Bat ภาพจาก Wikimedia

ทั้งนี้ ที่ประชุม WHO ได้ตกลงกันว่าจะให้ทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติเดินทางไปจีนเพื่อทำการวิจัยหาต้นตอที่มาของไวรัสในเดือนพฤษภาคม แต่มีความล้มเหลวที่จะเดินทางไป เนื่องจากเงื่อนไขในการลงพื้นที่ตรวจสอบถูกควบคุมโดยจีน

ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ ก็มองว่ามีความไม่โปร่งใส ทั้งสหรัฐฯ และผู้แทนจากสหภาพยุโรปบางส่วนมองว่า เป็นการค้นหาที่ค่อนข้างช้าไปมาก ขณะที่ทีม WHO มองว่ายังไม่สายเกินไปที่จะลงมือทำ เป็นการทำงานระหว่างทีมจากนานาชาติและหุ้นส่วนที่มาจากจีน เพื่อลงพื้นที่ในอู่ฮั่น สัมภาษณ์เชิงลึกซ้ำ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกที่แท้จริงมากขึ้น

Rufous Horseshoe Bat ภาพจาก Wikimedia

ที่มา – Financial Times, Reuters 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/who-team-will-investigate-covid-19-in-wuhan-china-next-year/

ชีวิต ชีวา แบรนด์บิงซูไทยจากเชียงใหม่ กับภารกิจใหม่เจาะตลาดจีน

“ชีวิต ชีวา” (Cheevit Cheeva) ร้านขนมหวาน-บิงซูแบรนด์ไทยจากเชียงใหม่ที่กำลังมาแรงในช่วงหลัง หลังจากเริ่มขยายมาเปิดร้านสาขาในกรุงเทพ จนมีสาขามากถึง 16 สาขาแล้ว และยังบุกออกต่างประเทศไปยังไต้หวันเป็นประเทศแรก ก็ได้เวลาขยับขยายไปยังตลาดที่ใหญ่กว่านั่นคือ ประเทศจีน

บิงซูบัวลอย และบิงซูชาไทย เมนู signature ของร้านชีวิตชีวา – ภาพจาก Facebook Cheevit Cheeva

ในยามปกติ การขยายตลาดไปยังต่างประเทศไม่ใช่เรื่องง่ายอยู่แล้ว เพราะมีความแตกต่างเรื่องวัฒนธรรม-ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคอย่างมาก และยิ่งในสภาวะไม่ปกติ ที่การเดินทางไปต่างประเทศทำได้ยาก ก็ยิ่งเป็นเรื่องยากเข้าไปอีกหลายระดับ

ชีวิต ชีวา จึงใช้วิธีพาร์ทเนอร์กับบริษัทไทยที่เชี่ยวชาญตลาดประเทศจีน และเข้าใจ “อินไซท์” ของคนจีนว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร โดยเลือกบริษัท จอยเอ็นโค จำกัด (Joy N Co) ที่มีประสบการณ์นำสินค้าไทยหลายแบรนด์ เช่น ของเล่นเด็ก Plantoys, ผลไม้อบแห้ง A-fruit, เครื่องหอม Boone, ไวน์ Granmonte เข้าไปทำตลาดในจีนมาก่อน เป็นผู้ได้สิทธิารขยายสาขาของชีวิต ชีวา ในประเทศจีน

สาขาแรกของชีวิต ขีวา ในจีนจะอยู่ที่ห้างสรรพสินค้า K11 ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย โดยจะอยู่ในโครงการ Thai Food Hall ซึ่งจำลองบรรยากาศตลาดน้ำจากเมืองไทย มีร้านอาหารไทย ร้านขนมไทย ร้านชาไทย พื้นที่ขายสินค้าไทย ไปตั้งไว้ในพื้นที่ขนาด 660 ตารางเมตร ใช้ชื่อภาษาจีนว่า Feitaican หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า Thaifeteria Nitinagin

ภาพแบบร้านชีวิตชีวา สาขาแรกในจีนที่อู่ฮั่น

นายณัฐวุฒิ ชื่นมะนา กรรมการผู้จัดการ จอยเอ็นโค บอกว่าตอนนี้กระแสขนมและอาหารไทยกำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศแถบเอเชีย อาหารไทยยอดนิยมในสายตาคนจีนคือ ต้มยำกุ้ง และข้าวผัดสัปปะรด แต่ฝั่งของขนมไทยยังไม่ได้เจาะตลาดจีนมากนัก

การเลือกบิงซูของ “ชีวิต ชีวา” เป็นเพราะมีความโดดเด่นเรื่องความเป็นไทย การใช้วัสดุจากขนมไทยแบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับบิงซูยุคใหม่ เช่น บิงซูบัวลอยไข่เค็ม บิงซูลอดช่อง ถือเป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้คนต่างชาติสนใจ เพราะหาไม่ได้จากร้านขนมประเภทอื่น และแตกต่างจากบิงซูเกาหลีอย่างชัดเจน

บิงซูข้าวเหนียวทุเรียน-ข้าวเหนียวมะม่วง ที่ผสมผสานขนมไทยที่คนจีนชอบเข้ากับบิงซู – ภาพจาก Facebook Cheevit Cheeva

คนจีนเองก็มีความคุ้นเคยกับการมาเที่ยวเชียงใหม่อยู่แล้ว และหาไปดูร้านอาหารแนะนำระดับ Top 10 เมืองเชียงใหม่บนเว็บไซต์ Dianping ที่เป็นรีวิวร้านอาหารของประเทศจีน ส่วนใหญ่เป็นร้านขนมหรือร้านกาแฟ ซึ่ง “ชีวิต ชีวา” ก็ติดอยู่ในชาร์ทนี้ด้วยเช่นกัน การนำแบรนด์ชีวิต ชีวา ที่คนจีนรู้จักกันในระดับหนึ่งอยู่แล้ว บวกกับรูปแบบของขนมที่เป็นเอกลักษณ์ และความเป็น “เชียงใหม่” เมืองในฝันของคนจีน (มากกว่ากรุงเทพ) ย่อมมีโอกาสเจาะตลาดคนจีนได้ไม่ยาก

คุณปาริย์สา สมศักดิ์ หุ้นส่วนของร้านชีวิต ชีวา (มารดาของคุณกันติชา สมศักดิ์ ผู้ก่อตั้งร้าน) กล่าวว่า ก่อนช่วง COVID มีนักท่องเที่ยวชาวจีนมาที่ร้านชีวิตชีวา สาขาเชียงใหม่เยอะมาก หลายคนสอบถามว่ามีสาขาที่จีนบ้างไหม เราจึงสนใจจะเข้าไปในตลาดจีน แต่หากจังหวะเวลาและโอกาศไม่ได้สักที เมื่อทางทีมจอยเอ็นโคติดต่อมา เราจึงเริ่มวางแผนงานกันจนบรรลุข้อตกลงได้ ทั้งนี้จอยเอ็นโคมีแผนงานการขยายสาขาของชีวิตชีวาในต่างประเทศที่ชัดเจน เราจึงเลือกให้จอยเอ็นโคนำชีวิตชีวาเข้าตลาดจีน

ภาพบรรยากาศ Thai Food Hall ที่อู่ฮั่น

ส่วนเหตุผลที่เลือกไปอู่ฮั่นเป็นเมืองแรก แทนที่จะเป็นเมืองใหญ่อย่างปักกิ่ง หรือเซี่ยงไฮ้ คุณณัฐวุฒิระบุว่าตั้งใจเปิดตลาดหัวเมืองระดับ Tier 2 หรือ Tier 3 ก่อน เพราะการแข่งขันต่ำกว่า มีร้านอาหารไทยน้อย ตามแผนธุรกิจจึงต้องการไปเมืองอย่างอู่ฮั่น ฉางชา หนิงโป หางโจว ซัวเถา ก่อน

แต่คำว่าเมือง Tier 2 ของจีนก็ต้องบอกว่าใหญ่กว่าเมืองไทยมากแล้ว เพราะอู่ฮั่นเองมีประชากรถึง 12 ล้านคน อยู่ตรงใจกลางของประเทศจีนพอดี จึงกลายเป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศภายในประเทศ (เทียบได้กับชิคาโกของสหรัฐอเมริกา) เป็นศูนย์กลางของรถไฟความเร็วสูง เพราะรถไฟแทบทุกสายต้องผ่านอู่ฮั่นด้วย

โครงการ Thailand Food Hall ที่อู่ฮั่นเปิดตัวแบบซอฟต์ลอนช์ในวันที่ 12 ธันวาคม 2563 นี้ ส่วนร้านชีวิตชีวาสาขาอู่ฮั่น จะเปิดบริการในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เพราะต้องรอทีมงานจากประเทศไทยพร้อมบินไปเตรียมการ

ทางบริษัท จอยเอ็นโค บอกว่ายังมีแผนจะขยายร้านชีวิต ชีวา สาขาที่สองในจีนแล้วที่ห้าง Joycity เมืองฉางซา มณฑลหูหนาน และเตรียมไปบุกมาเลเซีย ที่ห้าง Mitsui Lalaport ที่กัวลาลัมเปอร์ ช่วงกลางปี 2564 ด้วย

ภาพบรรยากาศ Thai Food Hall ที่อู่ฮั่น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/cheevit-cheeva-china/

ไวรัสโคโรน่าทำอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศจีนทรุดหนัก หลังค่ายผู้ผลิตรถยนต์แห่ปิดโรงงานกันเพียบ

ก่อนหน้านี้ตลาดรถยนต์ในจีนเติบโตสุดๆ แต่ปัจจุบันตลาดเริ่มชะลอตัว ยิ่งล่าสุดเจอไวรัสโคโรน่าเข้าไปอีกก็ทำให้ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ทั้งของท้องถิ่น และต่างชาติสาหัสไปตามๆ กัน เพราะถึงตอนนี้ยังไม่มีใครกล้าเปิดไลน์ผลิตเลย

mercedes benz
การผลิตรถยนต์ในประเทศจีนของ Mercedes-Benz

ตลาดรถยนต์จีนที่เติบโตยาก

หากย้อนไปเมื่อ 30 ปีก่อน ตลาดรถยนต์ในประเทศจีนนั้นแทบจะไม่มีอะไรเลย แต่พอเข้าสู่ปี 2552 ยอดขายรถยนต์ในประเทศจีนกลับชนะสหรัฐอเมริกา และขึ้นเป็นตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยปี 2561 มียอดขายรวมราว 28.08 ล้านคัน น้อยกว่าปี 2560 เล็กน้อย เพราะตลาดเริ่มตัน และเป็นครั้งแรกในรอบเกือบสิบปีที่ตลาดนี้หดตัว

จากจุดนี้เองค่ายผู้ผลิตรถยนต์ท้องถิ่น และแบรนด์ต่างประเทศก็ต้องดิ้นสู้เพื่อรักษาการเติบโตของธุรกิจ หนึ่งในนั้นในคือการเร่งทำตลาดรถยนต์ไฟฟ้า แต่ด้วยตัวพื้นที่สร้างโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่อย่าง “อู่ฮั่น” นั้นเกิดไวรัสโคโรน่าระบาด ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์จากนี้กำลังดิ้นสู้ ก็กลายเป็นไม่สามารถเดินต่อไปได้

toyota
รถยนต์ไฟฟ้าล้วนของ Toyota ที่ทำตลาดในประเทศจีน

สำหรับการผลิตรถยนต์ในอู่ฮั่นนั้นคาดการณ์กันว่าสามารถทำได้ถึง 1.6 ล้านคันในปี 2563 คิดเป็น 6% ของกำลังการผลิตรถยนต์ทั้งประเทศจีน แม้จะดูไม่มาก แต่การที่ 6% นี้ต้องหยุดอยู่นิ่งๆ อย่างน้อยก็ 2-3 เดือน ก็ทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศจีน และแบรนด์ผู้ผลิตต่างๆ มีปัญหาแน่นอน

เทียบไม่ได้กับ SARS เพราะจีนยังไม่ใหญ่ขนาดนี้

หลายคนอาจนำเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าระบาดไปเทียบกับ SARS เมื่อปี 2456 ในแง่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ แต่ถ้ามองอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศจีนนั้นอาจยังเทียบไม่ได้นัก เพราะเมื่อปี 2546 อุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศยังไม่ได้ใหญ่ขนาดนี้

Honda Accord 2019
ด้านหลัง Honda Accord 2019

และจากเหตุการณ์นี้เองค่ายผู้ผลิตรถยนต์ในจีนก็ออกมาตรการต่างๆ ออกมา เริ่มที่ฝั่งผู้ผลิตท้องถิ่นก่อน โดยกลุ่ม Dongfeng ผู้ผลิตรถยนต์อันดับต้นๆ ของจีนก็ได้ให้พนักงานทำงานที่บ้าน และยังไม่ได้เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ในอู่ฮั่น หลังจากปิดมาตั้งแต่ช่วงตรุษจีน และเบื้องต้นโรงงานที่ร่วมผลิตกับ Reneault จะเปิดในวันที่ 10 ก.พ.

ด้าน Honda ที่มีโรงงานในอู่ฮั่นถึง 3 แห่งเพื่อผลิต CR-V, Civic และรุ่นอื่นๆ เพื่อขายในประเทศจีน ผ่านกำลังผลิต 6 แสนคัน/ปี หรือครึ่งหนึ่งของกำลังผลิต Honda ในประเทศจีน ก็ยังปิดโรงงานอยู่ และมีแผนกลับมาเปิดโรงงานผลิตอีกครั้งในวันที่ 14 ก.พ. ส่วน Toyota ที่มีโรงงานที่นั่นด้วยก็จะปิดโรงงานไปถึงวันที่ 9 ก.พ.

BMW
Chrome Iconic Glow Kidney Grille ของ BMW

แบรนด์เยอรมนี-สหรัฐอเมริกาก็อาการหนัก

ด้านแบรนด์จากสหรัฐอเมริกาอย่างกลุ่ม GM ที่มีโรงงานในอู่ฮั่น และโรงงานนั้นก็มีกำลังผลิตถึง 19% ของกลุ่ม GM ในประเทศจีน ก็ยังไม่มีแผนเปิดโรงงานที่ชัดเจน หลังปิดมาตั้งแต่ช่วงตรุษจีน ส่วนกลุ่ม Ford บอกว่าจะกลับมาเปิดโรงงานอีกครั้งในวันที่ 10 ก.พ. เพราะต้องการรอดูสถานการณ์ก่อน

ฟากแบรนด์หรูจากเยอรมนีอย่าง Daimler เจ้าของ Mercedes-Benz, BMW และ Audi ที่มี Volkswagen เป็นเจ้าของ ก็ยังไม่ได้ออกแถลงการณ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ แม้มันค่อนข้างชัดเจนว่ามีผลกระทบกับภาพธุรกิจแน่นอน แต่ทาง Volkswagen ก็ให้พนักงานทำงานที่บ้านมาตั้งแต่หยุดตรุษจีนแล้ว

audi
Audi e-tron GT concept

ในทางกลับกันบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากเยอรมนี Webasto ก็ได้แถลงการณ์ว่ามีพนักงาน 4 คนที่ติดเชื้อไวรัสโคโรน่าจากประเทศจีน และกลับมายังสำนักงานใหญ่ที่เยอรมนี เพราะหนึ่งในโรงงานของ Webasto อยู่ที่อู่ฮั่น เรียกว่างานนี้ไวรัสโคโรน่าจะสร้างผลกระทบกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศจีนยาวๆ แน่นอน

สรุป

เมื่อตลาดรถยนต์ในประเทศจีนใหญ่ที่สุดในโลก ก็ไม่แปลกที่ค่ายผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต้องไปตั้งโรงงานผลิตที่นั่น เพื่อตอบโจทย์ตลาดให้ได้มากที่สุด แต่เมื่อเกิดวิกฤตินี้ขึ้นมา มันก็เป็นการยากในแง่ธุรกิจ และก็คงต้องช่วยกันลุ้นให้ผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ นี้ไปให้ได้

อ้างอิง // WSJ, Reuters 1 2, Nippon

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/car-manufacturer-in-china-coronavirus/

Google ประกาศหยุดยาวในจีน ฮ่องกง และไต้หวัน

 

 

กลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกจับตามองกับไวรัสโคโรน่า ล่าสุดทางโฆษกของ Google ได้ออกมาเปิดเผยกับสำนักข่าว The Verge ว่าในตอนนี้ทาง Google เองก็ได้วางแผนที่จะปิดออฟฟิศต่อไปหลังจากช่วงวันหยุดเทศกาล โดยแนะนำให้พนักงานทำงานอยู่ที่บ้านอย่างน้อย 14 วัน ทั้งพนักงานที่อยู่ในจีนและที่มีครอบครัวเดินทางกลับประเทศจีนในช่วงเทศกาลนับตั้งแต่วันที่เดินทาง สถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าในตอนนี้ถือว่าค่อนข้างรุนแรง เพราะแพทย์ได้ออกมายืนยันแล้วว่าในอู๋ฮั่นมีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 132 คน และผู้ติดเชื้อที่ได้รับการยืนยันแล้วอีกกว่า 6000 คน การทยอยปิดสำนักงานของบริษัทเทคโนโลยีนั้นจึงถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่จะลดความเสี่ยงไม่ให้พนักงานติดเชื้อและส่งผลไปถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกด้วย และถึงแม้ว่า Google นั้นจะมีข้อพิพาทกับทางรัฐบาลจีนแต่ก็มีสาขาอยู่ในจีนกว่า 4 ขาสาขาด้วยกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นทาง Google ก็ยังไม่ได้มีประกาศออกมาอย่างเป็นทางการเรื่องการดำเนินการครั้งนี้

 

ทางด้าน  Apple และ Facebook ก็ได้จำกัดการเดินทางของพนักงานในจีนเช่นกัน โดย ทิม คุก CEO ของ Apple ได้มีประกาศออกมาว่าทาง Apple ได้ทำการปิดสาขาหนึ่งในจีนทั้งยังมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของพนักงานเป็นประจำ และได้ทำความสะอาดสำนักงานกันอย่างจริงจัง

 

บริษัทอื่น ๆ อีกมากมายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ธุรกิจบันเทิง, การผลิตรถยนต์ และอุตสาหกรรมการขนส่งก็เริ่มจำกัดการเดินทางของพนักงานและหยุดทำงาน รวมไปถึงสตูดิโอภาพยนตร์และแม้แต่สวนสนุกของดิสนีย์  อีกทั้ง United Airlines และ American Airlines ก็ได้เริ่มยกเลิกเที่ยวบินที่จะเดินทางจากสหรัฐฯ ไปยังประเทศจีน British Airways และ Lufthansa ก็ได้ระงับเที่ยวบินทั้งหมดที่จะไปยังประเทศจีนด้วยเช่นกัน

 

ที่มา: The Verge

from:https://notebookspec.com/coronavirus-google-shut-down-offices/508537/