คลังเก็บป้ายกำกับ: ผลสำรวจ

สำนักงานสถิติแห่งชาติเผย คนไทยส่วนใหญ่พอใจ เข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้ ไม่มีปัญหา

ผลสำรวจออกมาดีตามคาด! หลังสำนักงานสถิติแห่งชาติทำผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสวัสดิการของรัฐ ในปี พ.ศ. 2565 คนส่วนใหญ่พึงพอใจ ไม่ประสบปัญหาในการเข้าถึงสวัสดิการของรัฐ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ผ่านมา น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้รับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสวัสดิการของรัฐ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ 

การสำรวจนี้ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ซึ่งสำรวจประชาชนอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นใน ทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 6,970 คน ระหว่างวันที่ 17-31 ต.ค. 65

ผลการสำรวจความคิดเห็นสรุปได้โดยสาระสำคัญดังนี้

  1. การใช้บริการสวัสดิการของรัฐด้านคุณภาพชีวิต เช่น เบี้ยยังชีพเด็กแรกเกิด บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และเบี้ยยังชีพคนพิการ พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 97.0 ระบุว่าไม่มีปัญหาการใช้บริการ และพบว่าน้อยกว่าร้อยละ 3.0 มีปัญหา เช่น เงินไม่เพียงพอ ลำบากในการต้องไปถอนเงิน และเงินเข้าช้า 
  2. สวัสดิการของรัฐด้านการศึกษาขั้นพื้นฐาน “เรียนฟรีถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3” สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือน พบว่า ประชาชน (ร้อยละ 80.6) ระบุว่าสามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก-มากที่สุด       และ (ร้อยละ 3.2) ช่วยลดค่าใช้จ่ายได้น้อย-น้อยที่สุด/ไม่ช่วยเลย
  3. การใช้บริการของรัฐด้านการรักษาพยาบาล ได้แก่ สิทธิข้าราชการ สิทธิประกันสังคม     และสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 97.0 ระบุว่าไม่มีปัญหาในการใช้บริการ    และน้อยกว่า ร้อยละ 2.0 มีปัญหา เช่น การบริการล่าช้ารอคิวนาน และต้องใช้บริการเฉพาะโรงพยาบาลตามสิทธิเท่านั้น
  4. ความพึงพอใจในการใช้บริการด้านการรักษาพยาบาล ดังนี้
  • ประเภทสถานพยาบาล พบว่า ประชาชนที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลเอกชน  ร้อยละ 76.8 มีความพึงพอใจมาก-มากที่สุด และร้อยละ 1.0 มีความพึงพอใจน้อย-น้อยที่สุด ส่วนประชาชนที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐร้อยละ 70.4 มีความพึงพอใจมาก-มากที่สุด และร้อยละ 3.6 มีความพึงพอใจน้อย-น้อยที่สุด
  • สิทธิการรักษาพยาบาล พบว่า ประชาชนที่ใช้สิทธิประกันสุขภาพ/ประกันชีวิตร้อยละ 86.5 มีความพึงพอใจมาก-มากที่สุด รองลงมา คือ สิทธิสวัสดิการข้าราชการ จ่ายเงินเอง สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสิทธิกองทุนประกันสังคมตามลำดับ

5. สวัสดิการที่ประชาชนต้องการให้รัฐจัดเพิ่มเติม เช่น การสนับสนุนค่าใช้จ่ายให้กับครัวเรือนที่เลี้ยงดูบิดา/มารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป (ประชาชนร้อยละ 93.5) จัดสวัสดิการศูนย์เด็กเล็ก/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในหน่วยงาน/ใกล้สถานที่ทำงาน (ประชาชนร้อยละ 87.6) และจัดสวัสดิการขนส่งสาธารณะฟรีให้กับเด็ก/เยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี (ประชาชนร้อยละ 85.9)

6. การจัดเก็บภาษีผู้ที่มีรายได้เพื่อนำมาจัดสวัสดิการให้ครอบคลุมทุกช่วงวัย พบว่า ประชาชนร้อยละ 44.6 ยินยอมให้จัดเก็บได้ โดยให้เหตุผลว่า (1) เพื่อให้ได้สวัสดิการที่ครอบคลุมและทั่วถึง            (2) ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และ (3) ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเท่าเทียมในสังคม และประชาชนร้อยละ 37.5 ไม่ยินยอมให้จัดเก็บโดยให้เหตุผลว่า (1) ไม่มีเงินเพียงพอที่จะเสียภาษี (2) กลัวจัดสวัสดิการให้ประชาชนได้ไม่ทั่วถึง และ (3) ไม่มีหลักเกณฑ์/กฎหมายที่แน่นอนที่จะรับประกันการจัดสวัสดิการให้

7. การลงทะเบียนโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 พบว่า ประชาชนที่ลงทะเบียนโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐร้อยละ 84.2 ไม่ประสบปัญหาในการลงทะเบียน ขณะที่ประชาชนร้อยละ 15.8            ประสบปัญหาในการลงทะเบียน ได้แก่ รอคิวลงทะเบียนกับหน่วยงานนาน เว็บไซต์ขัดข้อง/ล่ม และเดินทางไปหน่วยงานที่รับลงทะเบียนไม่สะดวก/อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

ในการสำรวจยังสรุปเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 5 เรื่อง ดังนี้

  1. ควรจัดศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อรองรับผู้สูงอายุที่มากขึ้น และลดการถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง พร้อมทั้งจัดให้มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตต่างๆ

2. ส่งเสริม/สนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาขึ้น ให้สามารถเข้าถึงการบริการช่องทางต่างๆ ของทุกหน่วยงานอย่างสะดวก รวมถึงการทำให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยออนไลน์

  1. สร้างความเชื่อมั่นในการรักษาพยาบาลให้กับประชาชนในการใช้สิทธิการรักษาพยาบาลทุกประเภทให้มีความเท่าเทียม ทั่วถึง และครอบคลุมในทุกพื้นที่ เช่น คุณภาพยา บริการและความสะดวกรวดเร็ว

4. สนับสนุนให้มีสวัสดิการเรียนฟรีในทุกระดับ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือน และทุกคนสามารถเข้าถึงระบบการศึกษาได้อย่างเท่าเทียม

5. ส่งเสริม/สนับสนุนสวัสดิการในเรื่องคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนเพิ่มเติม เช่น ค่าใช้จ่ายให้กับครัวเรือนที่เลี้ยงดูบิดา/มารดา ที่มีอายุ 60 ปีขึ้น ไปจัดศูนย์เด็กเล็ก/พัฒนาเด็กเล็กใกล้สถานที่ทำงาน และจัดบริการขนส่งสาธารณะฟรีให้เด็ก/เยาวชน

ที่มา – รัฐบาล

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สำนักงานสถิติแห่งชาติเผย คนไทยส่วนใหญ่พอใจ เข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้ ไม่มีปัญหา first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/most-people-are-satisfied-with-thai-state-welfare/

รู้จัก “Ghost Jobs” หรือตำแหน่งผี: ประกาศรับสมัครงานไว้ แต่ไม่ได้รับเข้าทำงานจริงๆ

ในยุคของแพง เศรษฐกิจแย่ ภาวะเงินเฟ้อท่วมท้นระดับนี้ จะหาบริษัทที่รับพนักงานเข้าทำงานนั้น จริงๆ ก็พอมีบ้าง แต่ก็มีหลายบริษัทที่ประกาศเปิดรับสมัครให้คนเข้าไปทำงานต่อเนื่อง แต่เอาเข้าจริง ก็เป็นแค่คำประกาศ แต่ไม่ได้รับคนเข้าทำงานจริงๆ ตามที่ประกาศไว้ บทความจาก Business Insider ยกตัวอย่าง Will ที่พูดถึงประเด็น Ghost Jobs ไว้ว่า เขาได้สมัครงานกว่า 300 ตำแหน่งในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา

 

Ghost-Jobs

เขาเสียเวลาประมาณ 6-10 ชั่วโมงต่อวันในแพลตฟอร์ม LinkedIn สำหรับสมัครงาน เขาจบปริญญาโทด้าน MBA จากมหา’ลัยระดับท็อป แต่กลับไร้โชคที่จะได้รับการติดต่อเพื่อสัมภาษณ์งาน เขาตั้งใจจะทำงานด้านการเป็นที่ปรึกษา Will บอกว่า เขาเห็นมามากละ คนที่มีคุณสมบัติเพียบพร้อมแต่ไม่ได้รับการสัมภาษณ์งาน หรือหางานไม่ได้เหมือนที่เขาเป็น จริงๆ แล้วมันอยู่ที่ระบบ ระบบต่างหากที่ผิด

ระบบที่ว่า ก็คือระบบ Ghost หรือระบบผีนี่แหละ

ก็คือบริษัทประกาศรับสมัครงาน แต่ไม่ได้ต้องการจ้างใครเข้าไปทำงานจริงจัง เคยมีผลสำรวจจาก Clarify Capital ที่สำรวจจากผู้จัดการจำนวน 1,045 คน ระหว่าง 31 สิงหาคม – 1 กันยายน 2022 มีประเด็นที่น่าสนใจหลายเรื่อง ดังนี้

เรื่องแรก ระยะเวลาในการเปิดรับสมัครงาน

  • จากผลสำรวจพบว่า 68% ประกาศรับสมัครงานและคงประกาศไว้เช่นนั้นเป็นเวลายาวนานกว่า 30 วัน
  • ผู้จัดการจำนวน 1 ใน 10 โพสต์ประกาศรับสมัครงานยาวนานกว่า 6 เดือน
  • ผู้จัดการจำนวน 1 ใน 5 ไม่ได้วางแผนที่จะรับคนเข้าทำงานจนกว่าจะปี 2023
  • ผู้จัดการราว 50% ที่เปิดตำแหน่งให้สมัครงานไว้เช่นนั้น เพราะต้องการเปิดรับคนหน้าใหม่เข้ามาเสมอ

ที่ปรึกษาด้านอาชีพเชื่อว่า ตำแหน่งไหนที่เปิดรับสมัครงานยาวนานกว่าตำแหน่งอื่น มีโอกาสสูงที่จะเป็น ‘ghost job’

เรื่องที่สอง ให้สังเกตและระวังตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครนานแล้ว

สำหรับใครก็ตามที่กังวลว่าตนเองจะไปสมัครงานตำแหน่งผีหรือ ghost job นี้ Joe Mercurio ผู้จัดการโครงการที่ Clarify Capital เชื่อว่า ใครก็ตามที่กำลังหลีกเลี่ยงที่จะสมัครงานตำแหน่งดังกล่าวอยู่ จำเป็นต้องให้ความใส่ใจสำหรับการประกาศรับสมัครงานตั้งแต่รอบแรก

แม้ว่า 96% ของนายจ้างจะอ้างว่าพวกเขาพยายามจะหาคนเพื่อบรรจุในตำแหน่งตามที่ประกาศไว้โดยเร็วก็ตาม แต่ก็มีราว 40% ที่ไม่ได้คาดหวังว่าจะหาคนมาทำงานตามที่ประกาศไว้ราว 2-3 เดือน อีกทั้ง 1 ใน 10 ของผู้จัดการก็เปิดตำแหน่งให้คนมาสมัครงานยาวนานถึง 6 เดือน ซึ่งก็มีเหตุความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดขึ้นกับผู้สมัครรายใดก็ได้ ดังนั้น เขาจึงให้สังเกตงานที่เปิดรับสมัครใหม่อย่างน้อย 48 ชั่วโมงขึ้นไปก้ดูมีความเป็นไปได้กว่าตำแหน่งงานที่เปิดให้สมัครตั้งแต่ 3 เดือนที่แล้ว

เรื่องที่สาม ทำไม? นายจ้างต้องมีการประกาศรับสมัคร Ghost Jobs หรือตำแหน่งงานผี

จากผลสำรวจพบว่า บริษัทประกาศรับสมัครงานที่เป็น Ghost Jobs นี้ก็มีหลายเหตุผลด้วยกัน ราวครึ่งหนึ่งบริษัทต้องการเปิดตำแหน่งงานนี้ไว้เพื่อที่จะเปิดรับคนใหม่ๆ ให้เข้ามาเสมอ แต่ 43% ไม่ได้พยายามจะหาคนมาบรรจุในตำแหน่งดังกล่าวจริง เพราะพวกเขาต้องการแรงจูงใจของพนักงานหรือทำให้พนักงานประทับใจในองค์กรที่กำลังเติบโต แต่ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม มีบริษัทหลายแห่งมากที่ยังไม่ต้องการเพิ่มพนักงานในตอนนี้ เรามาดูสัดส่วนเหตุผลที่บริษัทให้ไว้กัน

  • 50% บริษัทต้องการเปิดรับคนใหม่ๆ เข้ามาเสมอ
  • 43% ต้องการสร้างความประทับใจว่าบริษัทกำลังเติบโต
  • 43% ต้องการรักษาแรงจูงใจของพนักงานไว้
  • 39% มีคนมาบรรจุในตำแหน่งงานที่ประกาศรับสมัครแล้ว
  • 37% ต้องการให้มีอัตราสำรองไว้ ในกรณีที่อาจมีการลาออกเพื่อเปลี่ยนงาน
  • 35% กรณีที่อาจจะได้พบกับผู้สมัครที่น่าสนใจมากๆ จนไม่สามารถเพิกเฉยได้
  • 34% เพื่อปลอบประโลมพนักงานที่ทำงานหนักเกินไป (ให้รู้ว่า กำลังเปิดรับสมัครงานอยู่นะ อดทนไว้)
  • 27% ลืมลบประกาศรับสมัครงาน
  • 33% ไม่มีเหตุผลพิเศษ

รู้อย่างนี้แล้ว .. เวลาจะไปสมัครงานที่ไหน อย่าลืมดูวันเวลาที่ประกาศให้ดีนะ

ที่มา – Business Insider, Clarify Capital 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post รู้จัก “Ghost Jobs” หรือตำแหน่งผี: ประกาศรับสมัครงานไว้ แต่ไม่ได้รับเข้าทำงานจริงๆ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/get-to-know-ghost-jobs/

นิวยอร์ก โตเกียว ซานฟรานซิสโก: 3 เมืองที่มหาเศรษฐีอยู่อาศัยมากที่สุดในโลก

รายงานจาก Henley & Partners Group บริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านที่อยู่อาศัยเผย นิวยอร์ก โตเกียว ซานฟรานซิสโกคือ Top 3 เมืองที่มหาเศรษฐีอยู่อาศัยมากที่สุด โดย 10 อันดับแรก ประกอบด้วย นิวยอร์ก โตเกียว ซานฟรานซิสโก ลอนดอน สิงคโปร์ ลอสแอนเจลิสและมาลิบู ชิคาโก ฮิวสตัน ปักกิ่ง และเซี่ยงไฮ้ จากจำนวนครึ่งหนึ่งของทั้ง 10 เมืองนี้เศรษฐีมักอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกามากที่สุด

Top-3-wealthiest-cities

นิวยอร์กแม้จะเป็นเมืองที่เศรษฐีเข้ามาอาศัยมากที่สุดอันดับ 1 แต่ก็มีจำนวนลดลง 12% ในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 ขณะที่ซานฟรานซิสโกนั้นมีคนรวยอาศัยเพิ่มขึ้น 4% ลอนดอนตกไปอยู่อันดับ 4 มีคนรวยอยู่อาศัยลดลง 9% ถ้าดูทั้ง 10 เมืองสรุปได้ดังนี้

  • นิวยอร์ก คนรวยอยู่อาศัยลดลง 12%
  • โตเกียว คนรวยอยู่อาศัยลดลง 8%
  • ซานฟรานซิสโก คนรวยอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 4%
  • ลอนดอน คนรวยอยู่อาศัยลดลง 9%
  • สิงคโปร์ คนรวยอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 1%
  • ลอสแอนเจลิสและมาลิบู คนรวยอยู่อาศัยลดลง 6%
  • ชิคาโก คนรวยอยู่อาศัยลดลง 4%
  • ฮิวสตัน คนรวยอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 6%
  • ปักกิ่ง คนรวยอยู่อาศัยลดลง 6%
  • เซี่ยงไฮ้ คนรวยอยู่อาศัยลดลง 5%

จากข้อมูลโดยบริษัท New World Wealth พบว่า เมืองริยาด (Riyadh) ซาอุดิอาระเบียและเมืองชาร์จาห์ (Sharjah) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) คือเมืองที่กำลังเป็นที่นิยมอันดับ 3 และมีมหาเศรษฐีมีอยู่อาศัยมากที่สุดในปีนี้ ส่วนอาบูดาบีและดูไบก็เป็นเมืองที่มีมหาเศรษฐีมาอาศัยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นกัน ถือเป็นเมืองที่ดึงดูดมหาเศรษฐีระดับ ultra-rich ค่อนข้างมากเพราะมีโครงการที่พักใหม่ๆ และยังมีระบบเรียกเก็บภาษีต่ำ หลังรัสเซียบุกยูเครนจนมหาเศรษฐีสัญชาติรัสเซียหลายรายถูกชาติตะวันตกพากันคว่ำบาตร คนร่ำรวยทั้งหลายจึงพากันไหลทะลักสู่ UAE

ไม่ใช่คนรวยสัญชาติรัสเซียกลุ่มเดียวที่มีการย้ายออกไปยัง UAE จำนวนมาก แต่ยังมีคนรวยจีนด้วยที่คาดว่าจะกลายเป็นกลุ่มคนร่ำรวยมั่งคั่งกลุ่มที่สองรองจากรัสเซียที่จะพากันไหลออกนอกประเทศตามหลังรัสเซียในปีนี้

ข้อมูลการอยู่อาศัยในเมืองต่างๆ ของกลุ่มมหาเศรษฐีนี้ เป็นการจับมือกันระหว่างบริษัท Henley & Partners กับบริษัท New World Wealth ในการสำรวจกลุ่มคนร่ำรวยของปี 2022 จากข้อมูลพบว่าระดับ Top 20 ยังมีสหรัฐอเมริกาเป็นแกนหลักที่คนร่ำรวยอาศัยอยู่ 6 เมือง ตามด้วยเอเชียแปซิฟิก 8 เมือง แต่หลังจากนี้ อนาคตของเมืองที่คนรวยจะเข้าอยู่อาศัยมากขึ้น คือดูไบ มุบไบ และเซินเจิ้น

ส่วนเมืองที่มีการขยายตัวของเหล่าเศรษฐีอย่างรวดเร็วในช่วงครึ่งแรกของปี 2022 นั้นคือเมืองที่พรั่งพร้อมไปด้วย อุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ ซึ่งก็มีทั้ง ริยาด ดูไบ ลูอันดา (ประเทศแองโกลา) อาบูดาบี และโดฮา ส่วนเมืองในสหรัฐฯ ที่ยังทำได้ดีอยู่ก็คือเท็กซัส ฟลอริดา ส่วนเมืองที่โดดเด่นของสหรัฐอเมริกาและมีการย้ายสำนักงานใหญ่เข้าไปอยู่เพิ่มขึ้นก็คือเมืองออสตินและฮิวสตันของรัฐเท็กซัส เมืองเวสต์ปาล์มบีชและไมอามีของรัฐฟลอริดา

สำหรับการเก็บข้อมูลประชากรซึ่งเป็นเศรษฐีผู้ร่ำรวยกลุ่มนี้คือ HNWI (High Net Worth Individual: ผู้ที่มีความมั่งคั่ง มีเงินและสินทรัพย์ในครอบครองมูลค่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 36 ล้านบาทขึ้นไป) เก็บข้อมูลครอบคลุม 150 เมือง 5 ทวีป แอฟริกา อเมริกา เอเชียแปซิฟิก ยุโรป และตะวันออกกลาง

แบ่งความร่ำรวย มั่งคั่งได้ ดังนี้

  • กลุ่มคน HNWI มีสินทรัพย์ในครอบครอง 1 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 36 ล้านบาทขึ้นไป
  • กลุ่ม Multi-millionaires รวยระดับ 10 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 360 ล้านบาทขึ้นไป
  • กลุ่ม Centi-millionaires ระดับ 100 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 3,600 ล้านบาทขึ้นไป
  • กลุ่ม Billionaires ระดับ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 36,000 ล้านบาทขึ้นไป

มหาเศรษฐีอาศัยในปักกิ่ง-จีน มากที่สุดในโลก แซงหน้านิวยอร์ก อเมริกาแล้ว
คนรวยในจีนแซงหน้าอเมริกาแล้ว: ผลสำรวจชี้เศรษฐีเซินเจิ้นมีมากกว่านิวยอร์ก

ที่มา – Bloomberg, Henley Global, New World Wealth

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post นิวยอร์ก โตเกียว ซานฟรานซิสโก: 3 เมืองที่มหาเศรษฐีอยู่อาศัยมากที่สุดในโลก first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/world-top-10-wealthiest-cities-in-2022/

เปิดตัวดัชนีชี้วัดคุณธรรมครั้งแรกในไทย: วัยทำงานน่าห่วง วัยเด็กมีทุนชีวิตอ่อนแอ

ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) เปิดตัวดัชนีชี้วัดสถานการณ์คุณธรรมครั้งแรกในไทย พบว่า คุณธรรมด้านมีวินัยรับผิดชอบ สุจริตในวัยทำงานมีประเด็นน่าห่วงใย ขณะที่ทุนชีวิตสะท้อนพลังบวกของเด็กและเยาวชนอ่อนแอลงทุกปี โดยเฉพาะพลังชุมชน หรือจิตสำนึกสาธารณะอ่อนแอมากถึงขั้นไม่ผ่านเกณฑ์

moral

วานนี้ ศูนย์คุณธรรมแถลงข่าว “สถานการณ์คุณธรรมสังคมไทย ประจำปี 2564” โดย รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ระบุว่า ศูนย์คุณธรรมได้พัฒนาเครื่องมือและสำรวจสถานการณ์คุณธรรมด้วยตัวชี้วัดคุณธรมของคนไทยวัยทำงาน ช่วงอายุ 25-40 ปี ใน 5 ด้าน คือด้านพอพียง วินัย สุจริต จิตอาสา และกตัญญู กับกลุ่มเป้าหมาย 6 สาขา คือเกษตร รับราชการ/พนักงานราชการ เอกชน รัฐวิสาหกิจ รับจ้างทั่วไป และธุรกิจส่วนตัวอิสระ

ปี 2564 มีการสำรวจสถานการณ์ต้นทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยช่วงอายุ 12-18 ปี โดยแบบสำรวจต้นทุนชีวิตประกอบด้วย 5 พลัง คือพลังตัวตน พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน กลุ่มเป้าหมายจากทั้งหมด 6 ภูมิภาค ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตก ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้

รศ.นพ.สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ระบุว่า เรื่องของทุนชีวิตเป็นการวัดระบบนิเวศน์ของพลังบวก หมายถึง ระบบนิเวศน์หรือสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กมีพลังบวกที่ทำให้เป็นคนเก่งและแกร่ง รวมทั้งเป็นการฟังเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนกับสภาวะแวดล้อมที่เอื้อให้เด็กเกิดพลังบวก ผลการสำรวจต้นทุนชีวิต/ทุนชีวิตของเด็กและเยาวชนไทยช่วงอายุ 12-18 ปี จากกลุ่มตัวอย่างกว่า 10,000 คนพบว่า “พลังชุมชน” หรือเรื่องของจิตสำนึกสาธารณะ เป็นอีกด้านของไทยที่น่าห่วงมาก ปี 2552 อยู่ที่ 64.04% ปี 2562 อยู่ที่ 53.84% และปี 2564 อยู่ที่ 47.76% อ่อนแอถึงขั้นไม่ผ่านเกณฑ์

คุณธรรม

ด้านพลังครอบครัว ก็น่าห่วงใย เนื่องจากมีคะแนนแนวโน้มลดลงทุกปี จากเดิม 10 ปีที่แล้วอยู่ในระดับดี ปี 2552 อยู่ที่ 76.50% ปี 2562 อยู่ที่ 73.64% แต่ปี 2564 อยู่ที่ 68.91% คือระดับพอใช้ จากผลสำรวจพลังด้านอื่นๆ โดยภาพรวมก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง สะท้อนให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมและเสียงสะท้อนของเด็กและเยาวชนบนสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดพลังบวกกำลังเป็นประเด็นที่จะต้องได้รับการมุ่งเน้น พัฒนาอย่างจริงจัง

การสำรวจดังกล่าวสำหรับคนไทยวัยทำงานอยู่ที่ช่วงอายุ 25-40 ปีด้วยเครื่องมือที่ศูนย์คุณธรรมพัฒนาเป็นเครื่องมือแรกในไทย สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างราว 8,000 คน 6 ภูมิภาค 6 สาขาอาชีพ ผลสำรวจใช้ได้ อยู่ในระดับที่ดี ค่าเฉลี่ยคุณธรรมจากกลุ่มตัวอย่าง (ค่าเฉลี่ยเต็ม 6.00) พบว่า ด้านความมีวินัยรับผิดชอบ เป็นค่าเฉลี่ยที่ต่ำที่สุดคือ 4.18 ด้านสุจริต ค่าเฉลี่ย 4.49 ด้านความพอเพียง ค่าเฉลี่ย 4.61 ด้านจิตสาธารณะ ค่าเฉลี่ย 4.77 ตามลำดับ

moral index

moral index

เมื่อพิจารณาบ่งชี้ พบค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดของคุณธรรมแต่ละด้าน พบว่า ความกตัญญู เรื่องการเคารพความดี ค่าเฉลี่ยที่ 4.94 ด้านจิตสาธารณะ เรื่องมีจิตอาสา ค่าเฉลี่ยที่ 4.44 ด้านความพอเพียง เรื่องความมีเหตุผล ค่าเฉลี่ยที่ 4.54 ด้านสุจคริต เรื่องการยืนหยัดในความถูกต้อง ค่าเฉลี่ยที่ 4.19 ส่วนด้านมีวินัยรับผิดชอบเรื่อง การควบคุมตนเอง ค่าเฉลี่ยที่ 4.00

รศ.นพ. สุริยเดว ระบุว่า ทั้งต้นทุนชวิตและดัชนีชี้วัดคุณธรมนสถานการณ์คุณธรรมที่ปรากฏอยู่ สะท้อนให้เห็นเรื่องกระบวนการพัฒนาวิถีชีวิตแห่งคุณธรรม โดยไม่อยากให้ใช้คำว่าปลูกฝังคุณธรรมเพราะเป็นการเน้นเฉพาะตัวเด็ก ขณะที่เสียงของเด็กสะท้อนให้เห็นชัดว่าระบบนิเวศน์นั้นเอง ก็มีปัญหาหนัก ไม่สามารถเป็นต้นแบบที่ดีได้ ศูนย์คุณธรรมให้ใช้คำว่า วิถีชีวิตแห่งคุณธรรม แทน ปลูกฝังคุณธรรม ความหมายคือระบบนิเวศน์จะต้องทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่ไปกับเรื่องของการพัฒนาคุณธรม ทั้งในผู้ใหญ่และเด็กควบคู่กันไป

moral index

ที่มา – ศูนย์คุณธรรม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เปิดตัวดัชนีชี้วัดคุณธรรมครั้งแรกในไทย: วัยทำงานน่าห่วง วัยเด็กมีทุนชีวิตอ่อนแอ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/first-time-of-moral-index-result-in-thailand/

Bloomberg คาดการณ์ปี 2022: เศรษฐกิจไทยโตช้าสุดในเอเชีย มาเลฯ-อินเดียโตเร็วสุด

Bloomberg เผยผลสำรวจที่คาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้า ปี 2022 ที่กำลังจะถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ พบว่า แม้มาเลเซียและอินเดียจะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 หนักหน่วงที่สุด แต่เศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วที่สุด เร็วกว่าที่คาด

การเติบโตของมาเลเซียนั้นถือว่ายกระดับมากที่สุดในภูมิภาคหรือเพิ่มราว 85 BPS หรือขยายราว 5.65% ในปีหน้า ตามด้วยอินเดียที่คาดว่าเศรษฐกิจจะโตราว 6.7% ถือว่าเร็วกว่าที่คาด 80 BPS

เรื่องนี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าประเทศในเอเชียส่วนใหญ่จะมีเศรษฐกิจเติบโต ยกเว้นไทยกับนิวซีแลนด์ ที่คาดว่า จะถดถอยลงไปอย่างน้อย 20 BPS ขณะที่ภาพรวมของอินโดนีเซียนั้นเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ส่วนมาเลเซีย ถือว่าเป้นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการติดเชื้อใหม่รายวันสูงที่สุดในโลก จนมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำคนใหม่ขึ้น จากนั้นก็มีการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจมากขึ้น ซึ่งก็ได้แรงหนุนจากความต้องการภายในประเทศดีขึ้น การส่งออกดีต่อเนื่อง ทำให้ GDP ในไตรมาส 2 โต 16.1%

ขณะที่อินเดียเอง เศรษฐกิจก็กลับมาเติบโตเร็วที่สุดในโลกจนถึงเดือนมีนาคมที่มีการติดเชื้อลดต่ำลงที่สุดในรอบกว่า 6 เดือน นอกจากนี้ ผลสำรวจแนวโน้มดัชนีราคาผู้บริโภคสะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมของนิวซีแลนด์มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดอยู่ที่ 0.90 BPS ถึง 2.3% ในปีหน้า ส่วนสิงคโปร์และออสเตรเลียตามมาอยู่ที่ 0.42 BPS และ 0.40 BPS ตามลำดับ

*หมายเหตุ* ประเทศที่นำมาสำรวจนี้ ไม่นับรวมประเทศที่มี GDP ในปี 2019 ต่ำกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา – Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Bloomberg คาดการณ์ปี 2022: เศรษฐกิจไทยโตช้าสุดในเอเชีย มาเลฯ-อินเดียโตเร็วสุด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/bloomberg-surveys-in-2022-most-asian-countries-growth-except-thailand/

แต่งงานแล้วทุกข์สาหัส สาวจีนไม่มีความสุขกับชีวิตแต่งงานเพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบ 10 ปี

1 ใน 5 ของผู้หญิงที่แต่งงานแล้วในจีนระบุว่า ปีที่ผ่านมาไม่มีความสุขกับชีวิตแต่งงาน ความรุนแรงในครอบครัวก็เพิ่มขึ้น ความรับผิดชอบในครัวเรือนก็ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายและไม่มีความสุขในชีวิตคู่ 

China married

Liu Fang หญิงสาวชาวจีนวัย 38 ปี พิมพ์ข้อความบน Weibo ว่า สิ่งที่ทำให้เธอเสียใจมากที่สุดในชีวิตก็คือการแต่งงานและการมีลูก สิ่งที่ Liu พิมพ์ไว้ตรงใจผู้หญิงที่แต่งงานและใช้ชีวิตในจีนอีกเป็นจำนวนมาก Liu บอกว่า เธอแต่งงานมาเป็นเวลา 7 ปีแล้ว มีลูกชาย 1 คน อายุ 6 ขวบ เธอเคยคิดว่าถ้าเธอแต่งงานความสุขจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า แต่เปล่าเลยความสุขไม่ได้มากขนาดนั้น 

นอกจากนี้ เธอคิดว่าเธอมีภาระเพิ่มขึ้น 3 เท่า มีทั้งงานออฟฟิศที่ต้องแบกรับและยังมีงานบ้านและงานเลี้ยงเด็กที่ต้องรับผิดชอบด้วย เธอคิดแต่จะหย่าตลอดเวลา เธอต้องคอยดูแลลูก ดูแลงานบ้าน และยังต้องพยายามทำงานให้สำเร็จ แถมยังมีการใช้ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้นด้วย 

ผลสำรวจนี้จัดทำขึ้นโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ, ไปรษณีย์จีน และ National School of Development มหาวิทยาลัยปักกิ่ง สำรวจทั่วจีนราว 100,000 ครัวเรือน จีนมีการหย่าร้างเพิ่มขึ้นและมีการแต่งงานลดลงมากกว่าทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการหย่าร้างในช่วงปี 2009 มีมากกว่า 20% แต่ในปี 2019 มีการหย่าร้างมากถึง 50% ขณะที่ปี 2020 มีการหย่าร้างที่ลดลงหลังโควิดระบาด แต่ก็ยังเป็นอัตราที่สูงอยู่ดีเพราะมีมากกว่า 45%

แต่งงาน marry
ภาพจาก Shutterstock

ส่วนมากผู้หญิงจะเป็นฝ่ายเริ่มที่จะเลิกราก่อน ข้อมูลจากศาลประชาชนสูงสุดพบว่า กว่า 73% มีคดีหย่าเกิดขึ้นในศาลทั่วจีนในปี 2017 นอกจากนี้ อัตราการหย่าร้างก็เพิ่มขึ้น เมื่อช่วงปีใหม่ 1 มกราคม 2021 ที่ผ่านมา กว่าที่คนจะหย่าร้างกันได้ ยังต้องมีกระบวนการ “cooling off period” หรือการทำให้บรรยากาศความขัดแย้งลดลงก่อน หมายความว่าจะก่อนจะหย่าต้องรอให้เวลาผ่านไปราว 30 วัน ถึงจะสามารถแยกทางกันได้ (มีกระบวนการนี้ขึ้นมาก็เผื่อจะทำให้การหย่ายากขึ้น คนปรับความเข้าใจและตัดสินใจไม่หย่ากันในที่สุด) ช่วงปลายปี 2020 กฎหมายฉบับนี้ยังไม่บังคับใช้ ส่งผลให้คนเร่งหย่าร้างเร็วมากขึ้น เพราะผู้คนหลีกเลี่ยงที่จะต้องติดกับผ่านกฎหมายฉบับนี้ที่ทำให้ต้องรอไปอีก 1 เดือน 

ขณะเดียวกัน ผลสำรวจจาก CCTV เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่า ผู้ชายชาวจีนกล่าวว่าพวกเขาก็รับผิดชอบงานบ้านก่อนที่จะแต่งงานเกือบ 47% เปรียบเทียบกับผู้หญิงอยู่ที่ 46% แต่หลังจากแต่งงานพบว่า ผู้ชายรับผิดชอบงานบ้านราวกว่า 46% ขณะที่ผู้หญิงกว่า 48% เรียกได้ว่ามีอัตราที่ห่างกันนิดเดียวเท่านั้น เรื่องนี้ Zhu Nan นักวิจัยหลังปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยมาเก๊า สาขาจิตวิทยา ระบุว่า เหตุผลที่ทำให้เป็นช่องว่างระหว่างสามีและภรรยาอาจจะเป็นเรื่องที่ผู้ชายผู้เป็นสามีแบ่งงานกันทำในบ้านกับภรรยาแบบไม่เป็นธรรม นี่เป็นประเด็นใหญ่ เป็นประเด็นระดับโลก

จากการศึกษาวิจัยสังคมส่วนใหญ่ มันเป็นเรื่องของการแบ่งงานการทำภาระในครัวเรือนที่ไม่ได้สัดส่วน ไม่เป็นธรรม ไม่เท่าเทียมและโดยมากมักจะเกิดกับผู้ชาย ด้วยเหตุนี้ มันจึงทำให้เกิดความไม่พอใจในสถานะสมรสระหว่างที่ครองคู่กันอยู่ ผลสำรวจจาก CCTV อาจมีระเบียบวิจัยที่ไม่เข้มข้นมากพอเมื่อเทียบกับงานศึกษาทางวิชาการและอาจจะไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง

mother and child
Photo by Rui Xu on Unsplash

ผลการศึกษาจาก Pew Research พบว่า ในสหรัฐอเมริกา ผู้ชายที่แต่งงานแล้วในอัตรา 51% ระบุว่า พวกเขาพอใจวิถีการแบ่งงานกันทำในครอบครัวของพวกเขาเอง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วมีเพียง 40% เท่านั้นที่พอใจ

ผู้ชายที่แต่งงานแล้วและมีสถานะเป็นพ่อ 56% ระบุว่า พวกเขาพอใจมากในวิถีการเลี้ยงดูลูกของคู่รักของเขา เปรียบเทียบกับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและมีสถานะแม่ พอใจแค่เพียง 42% เท่านั้น 

Huang Yuqin อาจารย์ด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยตะวันออกจีน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบุว่า ผู้หญิงที่มีสถานะเป็นภรรยาในจีนมีภาระงานที่หนักมาก ต้องดูแลทั้งงานในบ้านและดูแลการศึกษาให้ลูกด้วย ผู้หญิงชาวจีนที่เป็นแรงงานมีอัตราที่สูงมากกว่า 60% ถือว่าอยู่ในอันดับที่สูงที่สุดในเอเชียแปซิฟิก คนที่อยู่ในสถานะแม่หลายคนต้องทำงานไปด้วย ภรรยาชาวจีนเหล่านี้ต้องทุ่มเทเวลาให้กับครอบครัวมากกว่าที่สามีทำ เมื่อความรับผิดชอบไม่เท่ากัน ความไม่พอใจย่อมเกิดขึ้น

ผลสำรวจจาก CCTV พบว่า ผู้หญิงช่วงวัย 36-45 ปีไม่มีความสุขมากที่สุดในการใช้ชีวิตคู่ Huang ระบุว่า มันอาจจะเป็นช่วงเวลาที่ชีวิตเหนื่อยที่สุด สื่อรายงานถึงการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงและหลายกรณีมีเหตุฆาตกรรมที่สามีกระทำต่อภรรยา

ในช่วงเดือนมีนาคม ปี 2016 ถึงปี 2019 จีนบังคับใช้กฎหมายต่อต้านการใช้ความรุนแรงในครอบครัว สื่อรายงานว่า มีอย่างน้อย 942 คนเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว 

การใช้ความรุนแรงในครอบครัว 525 กรณี มีการศึกษาพบว่า 85% ของเหยื่อที่ถูกกระทำคือผู้หญิง ส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่ 18-60 ปี หมายความว่า ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วส่นใหญ่ได้รับผลกระทบหนักจากการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ข้อมูลจาก NGOs ระบุว่า หลายกรณีที่มีการใช้ความรุนแรงในครอบครัว แต่ไม่ได้ถูกนับรวมไว้กับตัวเลขของทางการ เพราะเกิดขึ้นในพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ด้อยพัฒนา

clean housekeeper
Photo by CDC on Unsplash

Hou Hongbin นักเขียนแนวเฟมินิสต์กล่าวว่า รัฐสั่งห้ามรับของขวัญจากครอบครัวฝั่งเจ้าบ่าว แต่ฝั่งเจ้าสาวยังต้องให้ของขวัญฝั่งเจ้าบ่าวอยู่ เวลาเกิดความรุนแรงในครอบครัว บ่อยครั้งที่เจ้าหน้าที่รัฐก็มักจะให้อภัยพฤติกรรมฝ่ายชายเสมอ ผู้หญิงต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันมากขึ้น หลังจากที่รัฐยกเลิกนโยบายลูกคนเดียวในปี 2015 และให้แต่ละครอบครัวมีลูกสองคนได้เพราะกังวลเรื่องประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้หญิงก็อาจจะหลีกเลี่ยงการแต่งงานถ้าเธอไม่อยากมีลูก 

ด้าน Zhu นักวิจัยทางจิตวิทยา กล่าวว่า ความจริงก็คือ ภรรยามีความสุขน้อยกว่า ควรจะมีการประเมินแนวคิดทางวัฒนธรรมเกี่ยวกับการให้คุณค่าเรื่องการแต่งงานใหม่ ทั้งผู้ชายและผู้หญิงควรจะแบ่งความรับผิดชอบงานบ้านกันอย่างละครึ่ง ผู้คนเริ่มคิดว่าไม่จำเป็นต้องแต่งงานก็ได้

นอกจากนี้ Liu Fang ผู้ที่อยู่ทั้งในสถานะภรรยาและแม่กำลังไม่มีความสุขในชีวิตครอบครัว เธอบอกว่า เพื่อนเธอหลายคนยังโสดอยู่และก็ดูจะมีชีวิตชีวาที่ดีกว่าเธอเสียอีก เธอบอกว่า เธออิจฉาพวกเพื่อนของเธอมาก พวกเธอมีชีวิตเป็นของตัวเอง มีเวลาพักผ่อนของตัวเอง มีการพัฒนาเส้นทางอาชีพของตัวเองได้ด้วย บางทีเธอก็คิดว่า เมื่อลูกชายของเธอโตมากขึ้นกว่านี้ เธอก็อาจจะเลือกที่จะเป็นโสดอย่างเพื่อนของเธอบ้าง

ที่มา – SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post แต่งงานแล้วทุกข์สาหัส สาวจีนไม่มีความสุขกับชีวิตแต่งงานเพิ่มขึ้น 2 เท่าในรอบ 10 ปี first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/survey-says-wives-in-china-suffer-from-married/

ประเด็นอุยกูร์พ่นพิษ ผลสำรวจพบ แคนาดาอยากคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว จีน

กว่าครึ่งหนึ่งของชาวแคนาดาที่ร่วมทำผลสำรวจ พบว่า ไม่เห็นด้วยที่ควรจะมีส่วนร่วมใน Winter Olympic Games (โอลิมปิกฤดูหนาว) ที่กำลังจะจัดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ปี 2022 นี้

Canada China Winter Olympic

ผลสำรวจจากบริษัทวิจัยพบว่า คนแคนาดาที่ร่วมทำผลสำรวจนั้น มีทัศนคติลบต่อจีน จากกรณีที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผลสำรวจออนไลน์จากชาวแคนาดา 1,000 คน มีอัตรา 54% มองว่าควรบอยคอตต์โอลิมปิกฤดูหนาวครั้งนี้ ขณะที่ 24% ระบุว่าไม่ควร ส่วนอีกราว 21% ระบุว่าไม่แน่ใจ

นอกจากนี้ ในผลสำรวจยังมีคำถามถึงประเด็นที่มีการเรียกร้องให้นักกีฬาและคณะกรรมาธิการโอลิมปิกทั่วโลกร่วมบอยคอตต์โอลิมปิก ปี 2022 จากกรณีที่จีนมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยตั้งคำถามว่า จากสิ่งที่เห็น สิ่งที่ได้อ่านและได้ยินมา คุณคิดว่า แคนาดาควรบอยคอตต์โอลิมปิกฤดูหนาว ปี 2022 หรือไม่

ผลสำรวจพบว่า ชาวแคนาดาที่รวมสนับสนุนให้เกิดการบอยคอตต์มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปอยู่ที่อัตรา 61% ส่วนใหญ่เพศที่สนับสนุนให้บอยคอตต์คือเพศชาย 57% เพศหญิง 51% ขณะที่คนแคนาดาที่มีเชื้อสายเอเชียตะวันออกก็ร่วมสนับสนุนให้บอยคอตต์ 49% ขณะที่ 29% ไม่เห็นด้วยที่จะมีการบอยคอตต์ และมีอีก 22% ที่ไม่ตัดสินใจ

Justin Trudeau Canada
ภาพจาก Facebook Justin Trudeau

สำหรับแคนาดา ความสามารถและศักยภาพนักกีฬาถือว่าโดดเด่นพอจะเข้าชิงรางวัลได้อย่างต่อเนื่อง ปี 2018 ที่ผ่านมาที่มีโอลิมปิกฤดูหนาว จัดขึ้นที่เมืองพย็องชัง เกาหลีใต้ ประเทศแคนาดาก็ได้รางวัลเหรียญทองมากเป็นอันดับ 3 รองจากนอร์เวย์และเยอรมนี ขณะที่โอลิมปิกฤดูหนาวช่วงก่อนหน้าในปี 2014 แคนาดาก็ครองเหรียญทองเป็นอันดับ 2 รองจากนอร์เวย์ ตามด้วยสหรัฐอเมริกา

อย่างไรก็ดี ผลสำรวจจาก Angus Reid Institute ปีที่ผ่านมา มีความคิดเห็นเชิงบวกต่อจีน 14% ถือว่าความคิดเห็นเชิงบวกที่มีต่อจีนลดลงจาก 29% ซึ่งเป็นผลที่สำรวจเพียง 6 เดือนก่อนหน้าเท่านั้น

เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา การที่แคนาดาจับกุมตัวเหมิง หวันโจว CFO ของ Huawei ที่ทำธุรกรรมอำพรางขายสินค้าโทรคมนาคมให้กับอิหร่าน ก็ทำให้ถูกจีนโต้กลับด้วยการจับกุมอดีตทูตแคนาดาและนักธุรกิจในข้อหาจารกรรมแต่ไม่ชี้แจงข้อเท็จจริงใดๆ

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สภาสามัญชนแห่งแคนาดาหรือสภาสามัญเพิ่งจะผ่านข้อตกลงที่ไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมายที่ประกาศว่า จีนได้กระทำการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ ด้วยมติ 266 ต่อ 0 แม้ว่านายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด จะละเว้นการลงคะแนนเสียง แต่อาทิตย์ถัดมาหลังจากนั้น คณะรัฐบาลของทรูโดก็ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อังกฤษ ประกาศคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่จีนที่มีความเกี่ยวพันกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนกลุ่มน้อยอุยกูร์ ซินเจียง

Xi Jinping สี จิ้นผิง ประธานาธิบดี จีน
Xi Jinping ภาพจาก Shutterstock

สรุป

ขณะที่มีผลสำรวจคว่ำบาตร ให้แบนกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่กำลังจะเกิดขึ้นที่จีนในปี 2022 นี้ ชาวแคนาดาทั้งในแง่ประชาชนที่ร่วมให้สำรวจความคิดเห็นที่มีต่อจีนกับกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่วนใหญ่ล้วนไม่เห็นด้วยต่อจีนและสนับสนุนการคว่ำบาตร

ในระดับประเทศ ในสภาก็ร่วมประกาศไม่เห็นด้วยในมติ 266 ต่อ 0 แบบไม่มีเสียงเห็นค้านที่จะประกาศว่าจีนกำลังพยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์่ชาวอุยกูร์ ตลอดจนในระดับระหว่างประเทศ แคนาดาก็ร่วมเห็นชอบที่จะคว่ำบาตรเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนอุยกูร์ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอังกฤษ อาจกล่าวได้ว่ามีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันเสียเป็นส่วนใหญ่

ขณะเดียวกัน จีนก็ได้เตรียมการสำหรับการแข่งขันกีฬาที่ใกล้เวลาเข้ามาเต็มที่ สำหรับกีฬาโอลิมปิกที่ใกล้เข้ามาเต็มที่ ส่วนประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวอุยกูร์ จีนก็ประกาศไม่เห็นด้วยต่อแถลงการณ์คว่ำบาตรทั้งหลายที่เกิดขึ้นและยืนยันว่าไม่พบการบังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์

ที่มา – SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ประเด็นอุยกูร์พ่นพิษ ผลสำรวจพบ แคนาดาอยากคว่ำบาตรโอลิมปิกฤดูหนาว จีน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/canada-survey-boycott-winter-olympic-2022-in-china/

สำนักงานสถิติฯ เผยผลสำรวจความเชื่อมั่นรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาประเทศมาก-มากที่สุด 29.8%

สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลักๆ ของรัฐบาล รายงานคณะรัฐมนตรีทราบ เป็นผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2563 (ครบ 1 ปี) โดย สสช. สอบถามประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ จำนวน 6,970 คน ระหว่างวันที่ 1-15 สิงหาคม 2563 สรุปสาระสำคัญดังนี้

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ภาพจาก ทำเนียบรัฐบาล

ผลการสำรวจความคิดเห็นประชาชน ประเด็นการติดตามข้อมูลข่าวสารรัฐบาล พบว่า

  • 78.6% ติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล
  • 93.7% ช่องทางที่ติดตามมากที่สุดคือโทรทัศน์
  • 50.1% ติดตามผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต เช่น เว็บไซต์ เฟสบุค ไลน์
  • 21.4% ไม่ได้ติดตามข้อมูลข่าวสาร เหตุผลคือ ไม่สนใจ, ไม่มีเวลา, ไม่ว่าง, ไม่ชอบ

ความพึงพอใจในภาพรวมการดำเนินของรัฐบาล

  • 33.4% ประชาชนพอใจมาก-มากที่สุด
  • 48.0% ปานกลาง

นโยบายที่ประชาชนพอใจในระดับมาก-มากที่สุด 5 อันดับแรก

  • โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
  • การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดโควิด-19
  • โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี
  • นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน วิกฤตมีสิทธิทุกที่ (UCEP)
  • มาตรการช่วยเหลือเกษตรการที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

เรื่องที่ชุมชน หมู่บ้านได้รับความเดือดร้อน 

  • 29.9% คนในชุมชนว่างงาน /ไม่มีอาชีพที่มั่นคง
  • 18.7% สินค้าอุปโภคบริโภคราคาแพง/ ค่าครองชีพสูง
  • 18.0% สินค้าเกษตรกรราคาตกต่ำ/ ต้นทุนการผลิตสูง
  • 16.7% ภัยธรรมชาติ
  • 7.3% ปัญหายาเสพติด

ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาล พบว่า

  • 29.8% ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประเทศระดับมาก-มากที่สุด
  • 48.7% เชื่อมั่นปานกลาง
  • 18.4% เชื่อมั่นน้อยและน้อยที่สุด
  • 3.1% ไม่เชื่อมั่นเลย

ที่มา – ทำเนียบรัฐบาล

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/poll-servey-on-thai-government-1-year-under-gen-prayuth-chan-o-cha/

ผลสำรวจ Pew Research พบ กว่า 10 ประเทศทั่วโลกไม่ปลื้มจีนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์

เรื่องประเทศอื่นๆ ไม่ชอบจีน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ผลสำรวจจาก Pew Research ที่พบว่า หลายประเทศไม่ชอบจีนมากขึ้นสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ อาจทำให้จีนทบทวนบทบาทตัวเองมากยิ่งขึ้น 

ล่าสุด Pew Research ทำผลสำรวจจาก 14 ประเทศ ดังนี้ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ อังกฤษ สวีดเดน แคนาดา ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สเปน ญี่ปุ่น เบลเยียม และเดนมาร์ก พบว่ามีความไม่พอใจและทัศนคติลบต่อจีนมากยิ่งขึ้น 

ความไม่พอใจจีน ทัศนคติเชิงลบที่มีต่อจีนนี้ เป็นข้อมูลที่สำรวจมาตั้งแต่ปี 2002 ถึงปี 2020 พบว่า 

ความไม่ชอบ ไม่พอใจจีน ทัศนคติเชิงลบ 

  • สำหรับออสเตรเลียความไม่ชอบจีนจากเดิมตั้งแต่ปี 2002 อยู่ที่ 40% พุ่งขึ้นถึง 81% 
  • อังกฤษ จากเดิมอยู่ที่ 16% พุ่งสูงถึง 74%
  • เยอรมนี จากเดิมอยู่ที่ 37% พุ่งไปที่ 71%
  • เนเธอร์แลนด์ จากเดิมอยู่ที่ 34% พุ่งไปที่ 73%
  • สวีเดน จากเดิมอยู่ที่ 40% พุ่งไปที่ 85%
  • สหรัฐอเมริกา จากเดิมอยู่ที่ 35% พุ่งไปที่ 73%
  • เกาหลีใต้ จากเดิมอยู่ที่ 31% พุ่งไปที่ 75%
  • สเปน จากเดิมอยู่ที่ 21% พุ่งไปที่ 63%
  • ฝรั่งเศส จากเดิมอยู่ที่ 42% พุ่งไปที่ 70%
  • แคนาดา จากเดิมอยู่ที่ 27% พุ่งไปที่ 73%
  • อิตาลี จากเดิมอยู่ที่ 61% พุ่งไปที่ 62% (เพิ่มมา 1%)
  • ญี่ปุ่น จากเดิมอยู่ที่ 42% พุ่งไปที่ 86%

ความนิยมชมชอบที่มีต่อจีน

  • ออสเตรเลีย จากเดิมปี 2002 อยู่ที่ 52% ลดลงมาที่ 15% 
  • อังกฤษ จากเดิมอยู่ที่ 65% ลดลงมาที่ 22%
  • เยอรมนี จากเดิมอยู่ที่ 46% ลดลงมาที่ 25%
  • เนเธอร์แลนด์ จากเดิมอยู่ที่ 56% ลดลงมาที่ 25%
  • สวีเดน จากเดิมอยู่ที่ 40% ลดลงมาที่ 14%
  • สหรัฐฯ จากเดิมอยู่ที่ 43% ลดลงมาที่ 22%
  • เกาหลีใต้ จากเดิมอยู่ที่ 66% ลดลงมาที่ 24%
  • สเปน จากเดิมอยู่ที่ 57% ลดลงมาที่ 36%
  • ฝรั่งเศส จากเดิมอยู่ที่ 58% ลดลงมาที่ 26%
  • แคนาดา จากเดิมอยู่ที่ 58% ลดลงมาที่ 23%
  • อิตาลี จากเดิมอยู่ที่ 27% ลดลงมาที่ 38% (สำหรับอิตาลี กลับนิยมจีนเพิ่มขึ้น 11%)
  • ญี่ปุ่น จากเดิมอยู่ที่ 55% ลดลงมาที่ 9%

ความไม่ชอบจีน ไม่พอใจจีนนั้นสัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการโรคระบาดโควิด-19 โดยหลายประเทศมองว่าประเทศตัวเองจัดการโควิดค่อนข้างดีอยู่ที่ 73% WHO จัดการดีอยู่ที่ 63% EU จัดการโควิดได้ดีอยู่ที่ 60% จีนจัดการได้แย่อยู่ที่ 61% แต่สหรัฐฯ จัดการแย่กว่าอยู่ที่ 84%

นอกจากนี้ หลายประเทศยังสูญเสียความเชื่อมั่นที่มีต่อประธานาธิบดี Xi Jinping ขาดความมั่นใจต่อสิ่งที่ประธานาธิบดีจีนทำนั้นจะถูกต้องเหมาะสมต่อโลกหรือไม่ สหรัฐฯ ขาดความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 27% ออสเตรเลีย เพิ่มขึ้น 25% อิตาลีเพิ่มขึ้น 21%

เยอรมนีขาดความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้น 17% เนเธอร์แลนด์เพิ่มขึ้น 17% อังกฤษเพิ่มขึ้น 16% สวีเดนเพิ่มขึ้น 15% แคนาดาเพิ่มขึ้น 14% ฝรั่งเศสเพิ่มขึ้น 11% เกาหลีใต้เพิ่มขึ้น 9% สเปนเพิ่มขึ้น 9% และญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 3% 

Pew Research ระบุว่า แม้จะกังวลต่อความยิ่งใหญ่ของ Xi Jinping แต่หลายประเทศกลับกังวลและขาดความเชื่อมั่นในประธานาธิบดีทรัมป์มากกว่า ตัวอย่างเช่น เยอรมนีอาจจะไม่มั่นใจในตัว Xi Jinping 78% แต่ไม่มั่นใจในโดนัลด์ ทรัมป์มากถึง 89% ภาพของ Xi Jinping ในเวทีโลกยังดีกว่าภาพของ Donald Trump 

การสำรวจนี้ทำขึ้นตั้งแต่ 10 มิถุนายนถึง 3 สิงหาคมที่ผ่านมา จากกลุ่มตัวอย่ง 14,276 คน จาก 14 ประเทศ 

นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบช่วงวัยแล้ว พบว่า คนที่สูงอายุกว่าจะมีมุมมองต่อจีนในด้านลบมากกว่าคนหนุ่มสาว ตัวอย่าง ออสเตรเลียอายุต่ำกว่า 30 ปี ไม่ชอบจีนอยู่ที่ 68% ขณะที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ไม่ชอบจีนอยู่ที่ 86% 

ขณะที่สหรัฐฯ อายุต่ำกว่า 30 ปี ไม่ชอบจีนอยู่ที่ 56% อายุระหว่าง 30-49 ปีไม่ชอบจีนอยู่ที่ 71% อายุ 50 ปีขึ้นไปไม่ชอบจีนอยู่ที่ 81% 

แตกต่างกับเอเชียโดยเฉพาะในญี่ปุ่น ไม่ชอบจีนในสัดส่วนที่ไล่เลี่ยกันมาก กล่าวคือ อายุต่ำกว่า 30 ปี ไม่ชอบจีนอยู่ที่ 83% อายุ 30-49 ไม่ชอบจีนอยู่ที่ 84% อายุ 50 ปีขึ้นไปไม่ชอบจีนอยู่ที่ 89% ขณะที่เกาหลีใต้ อายุต่ำก่า 30 ปีไม่ชอบจีน 68% อายุ 30-49 ปี ไม่ชอบจีน 80% และอายุ 50 ปีขึ้นไป ไม่ชอบจีนอยู่ที่ 82%

นอกจากนี้ การจัดการโควิด-19 นั้น พบว่า ส่วนใหญ่มองจีนจัดการโควิดได้ค่อนข้างแย่ ค่าเฉลี่ยกลางของการจัดการแย่อยู่ที่ 61% จัดการดีอยู่ที่ 37%

ในยุโรป มองว่าจีนมีบทบาททางเศรษฐกิจมากกว่าสหรัฐ ค่าเฉลี่ยกลางมองว่าจีนมีบทบาทนำด้านเศรษฐกิจอยู่ที่ 48% สหรัฐฯ อยู่ที่ 35% ญี่ปุ่น 5% และสหภาพยุโรปอยู่ที่ 7%

ความมั่นใจที่ว่า Xi Jinping จะทำสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมต่อประชาคมโลก พบว่า สหรัฐฯ ไม่มีความมั่นใจเลยอยู่ที่ 55% แคนาดา 47% เดนมาร์ก 51% สวีเดน 56% ฝรั่งเศส 56% เยอรมนี 46% อังกฤษ 47% อิตาลี 33% สเปน 40% เบลเยียม 44% เนเธอร์แลนด์ 41% 

ค่าเฉลี่ยกลางพบว่า ไม่มั่นใจเลยและไม่มั่นใจมากนักอยู่ที่ 76% ส่วนมั่นใจบ้างและมั่นใจมากว่า Xi Jinping จะทำสิ่งที่ดี ถูกต้องเหมาะสมให้แก่โลกอยู่ที่ 21% 

ขณะที่ญี่ปุ่นไม่มั่นใจเลย อยู่ที่ 53% เกาหลีใต้ 41% ออสเตรเลีย 52% ค่าเฉลี่ยกลางรวม 14 ประเทศอยู่ที่ 78% และมั่นใจบ้างและมั่นใจมากรวมอยู่ที่ 19%

ที่มา – Pew Research

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/pew-research-unfavorable-views-of-china-historic-highs/

ตะลึง! ซิสโก้เผย เกือบ 45% ขององค์กรต่างๆ ได้รับแจ้งเตือนภัยกว่า 50,000 ครั้งต่อวัน

ผลการศึกษาดังกล่าวชี้ว่า 29 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจในไทยประสบปัญหาระบบหยุดทำงานนาน 24 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น หลังการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่รุนแรงที่สุดในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และค่าเฉลี่ยสำหรับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ที่ 23 เปอร์เซ็นต์ ตัวเลขของไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปี 2561 ซึ่งในตอนนั้นมีองค์กรธุรกิจในไทยเพียงแค่ 11 เปอร์เซ็นต์ที่ประสบปัญหาระบบหยุดทำงานนาน 24 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น

ผลการศึกษานี้อ้างอิงการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยเกือบ 2,000 คนทั่วภูมิภาค ซึ่งชี้ให้เห็นว่าบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัยในไทยมีภาระด้านการรักษาความปลอดภัยสูงกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก โดยผลการศึกษาระบุว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานว่าองค์กรของตนได้รับการแจ้งเตือนเกี่ยวกับภัยคุกคามมากกว่า 50,000 ครั้งต่อวัน ขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกซึ่งอยู่ที่ 23 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น

ปัจจุบันจำนวนภัยคุกคามทางไซเบอร์เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นความท้าทายที่สำคัญจึงอยู่ที่การดำเนินการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ได้รับการแจ้งเตือน เช่น มีการแจ้งเตือนกี่รายการที่ได้รับการตรวจสอบ และมีการแจ้งเตือนกี่รายที่พบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และได้รับการแก้ไขในท้ายที่สุด

นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการประจำประเทศไทย และอินโดจีนของซิสโก้ กล่าวว่า “ปัจจุบันมีการพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างกว้างขวางมากขึ้นในประเทศไทย มีผู้ใช้และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ซึ่งช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจให้กับองค์กรต่างๆ แต่ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีช่องทางการโจมตีเครือข่ายเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน และทำให้องค์กรธุรกิจได้รับผลกระทบจากภัยคุกคามและความเสี่ยงทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ระบบรักษาความปลอดภัยจึงไม่ใช่ส่วนประกอบเพิ่มเติมที่ติดตั้งในภายหลังอีกต่อไป แต่ต้องเป็น “รากฐาน” ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการดำเนินงานผ่านดิจิทัล”

ผลการศึกษายังเน้นย้ำว่าการใช้เทคโนโลยีจากผู้ขายหลายรายจะก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นต่อบุคลากรฝ่ายรักษาความปลอดภัย โดยผลการศึกษาพบว่า 54 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจในไทยใช้เทคโนโลยีจากผู้ขายมากกว่า 10 ราย เปรียบเทียบกับ 39 เปอร์เซ็นต์จากทั่วโลก ตัวเลขดังกล่าวของไทยเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ซึ่งในตอนนั้นมีบริษัทเพียง 51 เปอร์เซ็นต์ที่ใช้เทคโนโลยีจากผู้ขายมากกว่า 10 ราย

from:https://www.enterpriseitpro.net/cisco-cybersecurity-report/