คลังเก็บป้ายกำกับ: TQPR

[PR] ซอฟท์แวร์ของคอมม์วอลท์ช่วยเสริมการทำงานให้กับ ฮาดูป กรีนพลัม และระบบการจัดการไฟล์ข้อมูลขนาดมหาศาลขั้นสูงอย่าง GPFS มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ประเทศไทย23 มีนาคม 2559คอมม์วอลท์ ( Commvault ) ( NASDAQ: CVLT ) ผู้นำในการปกป้องข้อมูลและการจัดการบริหารข้อมูลระดับองค์กร ได้ประกาศการยกระดับเทคโนโลยีให้ดีขึ้นเพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้นำในตลาด โดยคอมม์วอลท์เปิดตัวผลิตภัณฑ์กลุ่มโซลูชั่นแบบครบวงจรที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถรองรับและจัดการกับ “ข้อมูลปริมาณมหาศาล ( Big Data ) ” ให้ดียิ่งขึ้น การเปิดตัวซอฟท์แวร์ตัวที่ 11 ถือเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมคลื่นลูกใหม่ที่มีในซอฟท์แวร์ของคอมม์วอลท์ โดยเทคโนโลยีใหม่ของคอมม์วอลท์จะช่วยให้เกิดการนำเอานโยบายและการจัดการข้อมูลมาใช้ในโครงการที่ต้องใช้ประโยชน์จากสภาพแวดล้อมที่มีข้อมูลขนาดมหาศาล ( Big data environment ) อาทิเช่น เทคโนโลยี ฮาดูป ( Hadoop ) กรีนพลัม ( Greenplum ) และระบบการจัดการไฟล์ข้อมูลขนาดมหาศาลขั้นสูง ( Global Partition File Systems หรือ GPFS )

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

จาก ผลการสำรวจของการ์ทเนอร์ ในช่วงปลายปี 2558 พบว่ากว่า 3 ใน 4 ของบริษัทได้ลงทุนหรือมีแผนที่จะลงทุนในการจัดการข้อมูลปริมาณมหาศาลในช่วงสองปีถัดจากนี้ เนื่องจากความจำเป็นในการเข้าสู่ชุดข้อมูลและระบบไฟล์นั้นต้องสามารถจัดการได้เชิงลึกอย่างชาญฉลาด องค์กรจำเป็นต้องเพิ่มระดับและขนาดการจัดเก็บข้อมูลในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ข้อมูลปริมาณมหาศาลที่ยกระดับการเข้าถึงและเทคโนโลยีการจัดเก็บ จัดเรียง และวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ ในขณะเดียวกันก็เกิดความต้องการที่จะลดขนาดการจัดเก็บให้น้อยลงและการประมวลผลให้ได้ผลลัพธ์เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม บริษัทที่ได้ริเริ่มแนวทางเหล่านี้แล้วมักจะมองข้ามการดำเนินการป้องกันข้อมูลและการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติอย่างเป็นประจำที่อาจเกิดขึ้นกับชุดข้อมูลขนาดใหญ่เหล่านี้ เนื่องจากอยู่นอกเหนือระบบดั้งเดิมและระบบพื้นฐาน เนื่องจากความซับซ้อน ประสิทธิภาพการทำงานและปัญหาด้านค่าใช้จ่าย

นวัตกรรมใหม่ที่มีในซอฟท์แวร์ของคอมม์วอลท์ และคอมม์วอลท์ ดาต้า แพลตฟอร์ม สามารถรับมือต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงใหม่ของลูกค้าโดยตรงในเรื่องการจัดการสภาพแวดล้อมที่มีข้อมูลขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการเพิ่มระดับของความชัดเจนในการเป็นผู้นำด้านเครื่องมือในการจัดการกับข้อมูลขนาดมหาศาล ซึ่งรวมไปถึง ฮาดูป กรีนพลัม และระบบระบบการจัดการไฟล์ข้อมูลขนาดมหาศาลขั้นสูง GPFS ได้ช่วยให้ลูกค้าวางแผนการใช้และออกแบบข้อมูลปริมาณมหาศาล อันจะทำให้เกิดแนวคิดเชิงลึกในการป้องกันและกู้ข้อมูลทั้งหมดหรือโหนดที่ถูกเลือก ส่วนประกอบ และ/หรือชุดข้อมูล การใช้ประโยชน์จากซอฟท์แวร์ของคอมม์วอลท์ในการจัดการข้อมูลเหล่าในสภาพแวดล้อมที่เป็นเช่นนี้นั้น ผู้ใช้สามารถเข้าใจถึงแผนภาพของข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นเพื่อเร่งประสิทธิภาพการทำงาน ลดความยุ่งยากซับซ้อน และช่วยจัดการค่าใช้จ่ายได้ดียิ่งขึ้น

ซอฟท์แวร์ของคอมม์วอลท์ได้ให้แนวทางอันชาญฉลาดแก่บริษัทในการป้องกันระบบพื้นฐานอันซับซ้อนของข้อมูลปริมาณมหาศาลด้วยความสามารถในการกู้คืนระบบเมื่อเกิดภัยพิบัติในระบบแบบหลายโหนดได้แบบอัตโนมัติ และคอมม์วอลท์ ดาต้า แพลตฟอร์ม ยังได้สร้างการเพิ่มคุณค่าของข้อมูลปริมาณมหาศาลด้วยการขยายการส่งผ่านข้อมูลไปยังและจากที่หนึ่งได้อย่างไร้รอยต่อไปซึ่งครอบคลุมตัวเลือกของระบบพื้นฐานของอุตสาหกรรมที่มีมากมาย ( บนระบบคลาวด์ ระบบดาต้าเซ็นเตอร์ที่ใช้ภายในองค์กร ระบบแบบเสมือน ระบบแบบดั้งเดิม และระบบที่มีการรวมเอาระบบโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นระบบเดียวกัน )

“บริษัททุกขนาดในทุกอุตสาหกรรมได้วิ่งเข้าสู่ “ข้อมูลปริมาณมหาศาล” อย่างรวดเร็ว มีการลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อที่จะเข้าใจธุรกิจในเชิงลึกจากการเพิ่มขึ้นของขนาดข้อมูลเป็นจำนวนมาก แต่บริษัทเหล่านั้นยังกระทำการต่อไปโดยไม่มีการนำเครื่องมือใด ๆ ที่เหมาะสมเข้ามาจัดการข้อมูล และกฎระเบียบของการกู้ข้อมูลจากภัยพิบัติภัยสำหรับโครงการเชิงกลยุทธ์ดังกล่าว” มร. ดอน ฟอสเตอร์ ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการบริหารจัดการโซลูชั่น บริษัท คอมม์วอลท์ กล่าว “หลายกรณีที่การเติบโตแบบทวีคูณของระบบพื้นฐานของข้อมูลปริมาณมหาศาลเหล่านี้ได้แซงหน้าความสามารถของโซลูชั่นในการจัดการและเยียวยาได้ด้วยตัวเองตามที่ได้ออกแบบไว้ นับว่าเป็นครั้งแรกในปัจจุบันที่ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่จากการทำงานของซอฟท์แวร์ของคอมม์วอลท์ในการดำเนินการที่ดีที่สุดในการจัดการข้อมูลให้กับ ฮาดูป กรีนพลัม และระบบการจัดการไฟล์ข้อมูลขนาดมหาศาลขั้นสูง GPFS ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้ยังได้ให้คุณประโยชน์ที่สำคัญอื่น ๆ แก่ลูกค้าของคอมม์วอล์ท รวมถึงได้เปิดโอกาสครั้งสำคัญให้กับคอมม์วอลท์ในฐานะตลาดข้อมูลปริมาณมหาศาลที่กำลังเติบโต”

“ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เฝ้าดูการเติบโตของข้อมูลปริมาณมหาศาลและได้เห็นว่าองค์กรมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาปรับใช้อย่างไรเพื่อที่จะจัดการกับการถาโถมของข้อมูล” กล่าวโดย มร. ฟิล กู๊ดวิน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของไอดีซี “ดาต้า แพลตฟอร์มตัวใหม่ล่าสุดของคอมม์วอลท์ได้เปิดตัวขึ้นนั้นได้ยกระดับความสามารถในการจัดการข้อมูลจากประวัติของบริษัท เพื่อช่วยเหลือลูกค้าด้านข้อมูลที่เป็นความลับและเชิงลึกที่ได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้บนระบบคลาวด์ได้อย่างไร้รอยต่อและคุ้มค่าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

ทั้งนี้ นวัตกรรมล่าสุดที่มีในผลิตภัณฑ์กลุ่มโซลูชั่นแบบครบวงจรของคอมม์วอลท์เหล่านี้มีวางจำหน่ายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

เกี่ยวกับดาต้าแพลตฟอร์มของคอมม์วอลท์และซอฟท์แวร์ของคอมม์วอลท์

พอร์ทโฟลิโอโซลูชั่นของคอมม์วอลท์ เวอร์ชั่นที่ 11 มีเอกลักษณ์ในการกำหนดให้ช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่จัดเก็บไว้ เพื่อปลดล็อคความรู้ดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในธุรกิจ รวมถึงการสร้างมูลค่าใหม่ ๆ จากการลงทุนด้านเทคโนโลยีของบริษัทลูกค้า โดยการเปลี่ยนจากการบริหารจัดการข้อมูลแบบเดิมไปสู่การรับมือกับการจัดการข้อมูลแบบใหม่อย่างรวดเร็ว โซลูชั่นพอร์ทโฟลิโอของคอมม์วอลท์นั้นประกอบด้วยบริการผลิตภัณฑ์ชั้นนำในอุตสาหกรรม สำหรับการให้บริการด้านการปกป้องข้อมูล การกู้ข้อมูลที่สูญหาย ( recovery ) ระบบคลาวด์ ( cloud ) ระบบเสมือน ( virtualization ) การอาร์ไคล์ฟ ( archive ) การปรับข้อมูลให้ตรงกัน ( Sync ) และการแชร์ข้อมูล ( share ) ที่ได้พัฒนาให้ตอบรับกับความต้องการของแนวโน้มตลาดที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงการทำงานที่กำลังเติบโตและตรงกับความต้องการในการใช้งานของลูกค้า แพลตฟอร์มดาต้าของคอมม์วอลท์เป็นระบบเปิดตามมาตรฐานที่เข้ามาช่วยให้ลูกค้าสามารถจัดเก็บข้อมูลใด้ดีขึ้น ยกระดับการปฏิบัติงานด้านไอที และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมของหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

เกี่ยวกับคอมม์วอลท์

commvault-logo

คอมม์วอลท์เป็นผู้ให้บริการชั้นนำในด้านการปกป้องข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและโซลูชั่นการบริหารจัดการข้อมูลโดยทั่วไป ซึ่งช่วยให้บริษัทมากมายทั่วโลกเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ข้อมูลของพวกเขาให้ได้คุณค่ามากกว่าเดิมรวมทั้งสร้างวิสัยทัศน์ทางด้านธุรกิจ และปรับตัวสู่นิเวศน์ด้านข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในสมัยปัจจุบัน ด้วยโซลูชั่นและบริการที่คอมม์วอลท์มอบให้แก่ลูกค้าไม่ว่าจะจากบริษัทโดยตรงหรือผ่านเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ โชลูชั่นของคอมม์วอลท์นั้นประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ชั้นนำในอุตสาหกรรมการปกป้องข้อมูล และการกู้ข้อมูลที่สูญหาย ( recovery ) ระบบคลาวด์ ( cloud ) ระบบเสมือน ( virtualization ) การอาร์ไคล์ฟ ( archive ) การปรับข้อมูลให้ตรงกัน ( Sync ) และการแชร์ข้อมูล ( share ) คอมม์วอลท์ได้รับคำชื่นชมกับลูกค้าและบรรดาองค์กรที่เคยร่วมงานกันมากมายในด้านวิสัยทัศน์และการรังสรรค์นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีรวมทั้งการปฏิบัติงานในฐานะผู้เชี่ยวชาญอิสระที่น่าเชื่อถือ คอมม์วอลท์มีปณิธานแน่วแน่ในด้านฮาร์ดแวร์หรือธุรกิจด้านอื่น ทำให้บริษัทมุ่งเน้นแต่ด้านการบริหารจัดการข้อมูล ซึ่งทำให้โซลูชั่นของบริษัทได้รับการยอมรับจากบริษัทที่มีขนาดแตกต่างกันทุกขนาด รวมทั้งอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทำให้มีการนำเอาโซลูชั่นของคอมม์วอลท์ไปใช้ในบริษัทของตนเองผ่านแพลตฟอร์มเคลื่อนที่หลากประเภท หรือนำข้อมูลไปไว้หรือเอาออกมาจากคลาวด์และบริการข้อมูลเป็นครั้งคราว คอมม์วอลท์นั้นได้ว่าจ้างบุคคลซึ่งมีความเชี่ยวชาญราว 2, 000 คนจากสาขาต่าง ๆ ทั่วโลก และเป็นบริษัทที่จดทะเบียนเพื่อขายหุ้นในตลาดหุ้นนาสแดก ( CVLT ) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ทินตันฟอลส์ ในรัฐนิวเจอร์ซี่ย์ สหรัฐอเมริกา หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมของคอมม์วอลท์ รวมทั้งบริษัทจะสามารถช่วยเหลือคุณในด้านการจัดการบริหารข้อมูลได้อย่างไร ข้อมูลเพิ่มเตืมสามารถเยี่ยมชมได้ที่ commvault.com

from:https://www.techtalkthai.com/commvault-big-data-hadoop-greenplum-gpfs/

[PR] ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการข้อมูล จากผลงานวิจัยของไอดีซีพบว่าองค์กรจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ข้อมูลที่บริหารโดยส่วนกลางมากขึ้น

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10 กันยายน 2558 – คอมม์วอลท์ (NASDAQ: CVLT) ผู้นำในการปกป้องข้อมูลขององค์กรและการจัดการบริหารข้อมูล ประกาศในวันนี้ถึงผลการวิจัยจากการสำรวจและไวท์เปเปอร์ใหม่ของไอดีซีที่มุ่งความสนใจไปถึงวิธีที่ไซโลข้อมูลภายในองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกนั้น จำกัดความสามารถในการตัดสินใจโดยการใช้ข้อมูลเชิงลึก ส่งผลถึงค่าใช้จ่ายไอทีที่เพิ่มขึ้น

คอมม์วอลท์ให้การสนับสนุนการวิจัยของไอดีซี เพื่อสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและอินเดียจำนวนถึง 600 คน เพื่อให้เข้าใจถึงความสามารถในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลในฐานะสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร ในขณะเดียวกันกับการลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องไปพร้อม ๆ กัน แม้ว่าการวิจัยจะมุ่งเน้นไปภูมิภาคเฉพาะเจาะจง ผลการสำรวจก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาการจัดการข้อมูลที่องค์กรทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

ผลการวิจัยสะท้อนถึงความกังวลเหนือสิ่งอื่นใดของซีไอโอทั่วโลก โดยเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวกับวิธีที่แตกต่างกันในการจัดการข้อมูลซึ่งนำไปสู่ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ซีไอโอจึงอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญในการป้องกันปัญหาดังกล่าว โดยการนำโซลูชั่นที่จำเป็นมาใช้ในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการวิจัยที่สำคัญของการสำรวจของไอดีซีรวมถึงใจความดังต่อไปนี้

  • สองความท้าทายที่สำคัญที่สุดสำหรับองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในด้านการบริหารจัดการข้อมูล รวมไปถึงความต้องการในการดึงข้อมูลที่ง่ายและเร็วขึ้น และการมีจำนวนข้อมูลที่เติบโตขยายขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ตามองค์กรในประเทศไทยได้พิจารณาให้แรงกดดันด้านงบประมาณขึ้นเป็นความท้าทายหลักที่สำคัญ (ร้อยละ 52) ซึ่งได้รับการจัดอันดับโดยรวมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดอันดับที่ 4
    • องค์กรในสิงคโปร์ให้ความสามารถการดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น (ร้อยละ 86) เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
    • องค์กรในมาเลเซียเห็นด้วยกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่ระบุว่าความท้าทายสำคัญสูงสุดสำหรับการจัดการข้อมูลคือจำนวนและความซับซ้อนของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมไปถึงความต้องการในการดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้น
    • องค์กรในอินโดนีเซียจัดให้ความต้องการในการดึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและง่ายขึ้นเป็นความท้าทายอันดับแรก (ร้อยละ 92) ตามด้วยแรงกดดันด้านงบประมาณ (ร้อยละ 88)
  • คนที่มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถึงร้อยละ 40 รายงานว่า การสำรองข้อมูล การกู้ข้อมูล การป้องกันข้อมูล รวมถึงกลยุทธ์ด้านการวิเคราะห์ต่าง ๆ ยังคงได้รับการบริหารจัดการอยู่ในระดับแผนกอยู่
  • กว่า 1 ใน 3 (หรือร้อยละ 34) ของธุรกิจในประเทศไทยมีทิศทางตามแนวโน้มในการรักษาการจัดการข้อมูลและกลยุทธ์การวิเคราะห์ในระดับแผนกในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดเป็นการเก็บข้อมูลใส่ไซโลเหล่านี้
  • ผู้นำทางด้านไอทีในประเทศไทยเห็นพ้องกับของกลุ่มประเทศที่เหลือในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าไซโลข้อมูลแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่สำคัญ แต่พวกเขายังพิจารณาว่าไซโลกีดขวางความสามารถในการบังคับใช้นโยบายการเข้าถึงข้อมูล รวมทั้งยังเพิ่มภาระให้กับทีมไอทีอีกด้วย

commvault-smuth-tanadsarng

สมุจจ์ ถนัดสร้าง ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้กล่าวว่ารายงานผลการวิจัยยืนยันให้เห็นถึงความจำเป็นทางด้านความเร็วและขนาดในการจัดการข้อมูลทางธุรกิจที่สำคัญ

commvault-smuth-tanadsarng2

“ปัญหาที่ซีไอโอ (CIO) ทั่วโลกเจอบ่อย ๆ คือการจัดการข้อมูลในไซโลทำให้เกิดปัญหาคอขวดซึ่งทำให้เกิดการพลาดโอกาสและการขัดขวางองค์กรจากการได้รับถึงประโยชน์ของข้อมูลของพวกเขาอย่างได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในฐานะเป็นสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพสูง” สมุจจ์ ถนัดสร้าง กล่าว “พวกเขาสามารถที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่และการเปิดกว้างมากขึ้นอย่างเช่น ระบบคลาวด์ได้ง่ายขึ้น โดยการบูรณาการการจัดการข้อมูลทั้งระบบมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ก็ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลมากยิ่งขึ้น”

ปัญหาของไซโลข้อมูลถูกตอกย้ำด้วยการเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ไอดีซีเรียกว่า “แพลทฟอร์มที่ 3” ที่ซึ่งธุรกิจต่าง ๆ ให้ความสนใจเรื่องของมุมมองแบบองค์รวมของข้อมูลเพิ่มมากขึ้นเพื่อที่จะทำให้การตัดสินใจทางธุรกิจมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยแพลตฟอร์มที่ 3 แสดงให้เห็นถึงโอกาสที่สำคัญสำหรับธุรกิจในการผลักดันการเติบโตและนวัตกรรมในอนาคต รวมถึงการตอกย้ำความเสี่ยงในแนวทางในระดับแผนกของการจัดการข้อมูล

มร.แดเนียล-โซอี้ ฮิเมเนซ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายโปรแกรม บิ๊กดาต้า การวิเคราะห์ การจัดการข้อมูลและแอพพลิเคชั่นในระดับองค์กรและโซเชียล กล่าวว่า “ในยุคของแพลตฟอร์มที่ 3 การเป็นองค์กรที่นำข้อมูลไอทีมาใช้ไม่ใช่เพียงทางเลือกแต่เป็นสิ่งจำเป็น การตัดสินใจต่าง ๆ ที่มีพื้นฐานมาจากแนวทางที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลไม่เพียงแต่เพิ่มความถูกต้องของผลลัพธ์เท่านั้น แต่ยังให้ความสอดคล้องเมื่อผลลัพธ์ถูกตีความและป้อนกลับเข้าสู่ธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงวิธีการในการจัดเก็บ การจัดการ และการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความจำเป็นในครั้งนี้ ทำให้องค์กรจ้องเปลี่ยนจากการใช้แนวทางในระดับแผนก (หรือจัดเก็บในไซโล) ในการจัดการสินทรัพย์ข้อมูลไปสู่วัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลแบบบูรณาการ”

การสำรวจและไวท์เปเปอร์เรื่องเกี่ยวกับ “The Data-Driven Organisation: Unlocking Greater Value from Data and Minimising its Associated Costs and Risks,” ครอบคลุมทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ จีน ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย อินโดนีเซีย และ อินเดีย

สามารถดาวน์โหลดการสำรวจและไวท์เปเปอร์ได้ที่ http://connectus.Commvault.com/LP=1613

 

เกี่ยวกับคอมม์วอลท์

commvault-logo

วิสัยทัศน์อันเป็นหนึ่งเดียว คือ ความเชื่อมั่นในในการตอบสนองการจัดการข้อมูลด้วยวิธีที่ดีกว่าทั้งในปัจจุบันและอนาคต นำพาคอมม์วอลท์ให้พัฒนาการจัดการข้อมูลอันเป็นหนึ่งเดียว (Singular Information Management®) เพื่อหาวิธีปกป้องข้อมูลอย่างเต็มความสามารถ ด้วยความพร้อมระดับสากลและความเรียบง่ายในการจัดเก็บข้อมูลในเครือข่ายที่ซับซ้อนด้วยแพลตฟอร์มเดี่ยวของคอมม์วอลท์ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษทำให้หลายบริษัทสามารถบริหารจัดการข้อมูล ควบคุมค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้ คอมม์วอลท์ ช่วยให้ธุรกิจและหน่วยงานสาธารณะ รวมถึงผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีสามารถปกป้อง จัดเก็บ จัดการและเข้าถึงข้อมูลทั้งองค์กรด้วยโมดูลซิมพานา (Simpana) ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการปกป้องข้อมูล (Data Protection) การจัดเก็บคลังอาร์ไคฟ์ (Archive) การทำสำเนา (Replication) การค้นหา (Search) และการจัดการแหล่งที่มา (Resource Management) ทุกวันนี้หลายบริษัทที่ได้เข้าร่วมค้นหาและสัมผัสกับประสิทธิภาพ ความสามารถ ความน่าเชื่อถือ การควบคุม ที่หาตัวจับยากซึ่งมีอยู่ในการบริการของคอมม์วอลท์เท่านั้น สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคอมม์วอลท์ได้ที่ http://www.Commvault.com คอมม์วอลท์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่โอเชี่ยนพอร์ต รัฐนิวเจอร์ซี ในประเทศสหรัฐอเมริกา

 

ข้อกำหนดการคุ้มครองการให้ข้อมูล

ผลการดำเนินการของลูกค้าอาจแตกต่างจากที่ระบุไว้ในรายงานฉบับนี้ ซึ่งไม่ได้เป็นการรับประกันว่าลูกค้าทุกคนของคอมม์วอลท์จะบรรลุผลประโยชน์ที่คล้ายคลึงกับที่ระบุไว้ข้างต้น ข้อความในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้อาจประกอบด้วยข้อความการคาดการณ์ล่วงหน้า รวมถึงรายงานที่เกี่ยวกับการประมาณการทางการเงินที่มีความเสี่ยงและความไม่แน่นอน อาทิเช่น ปัจจัยการแข่งขัน อุปสรรคและความล่าช้าที่เกิดเป็นปกติในระหว่างขั้นตอนและกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านการพัฒนา การผลิต การตลาด และการขายผลิตภัณฑ์ซอฟท์แวร์ รวมถึงบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั่วไป รวมทั้งสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ และอื่น ๆ ส่วนข้อความแถลงการณ์ที่เกี่ยวกับความเชื่อ แผนการการดำเนินงาน การคาดการณ์ หรือความตั้งใจในอนาคตของคอมม์วอลท์เป็นข้อความการคาดการณ์ล่วงหน้าตามที่มีการจำกัดความในข้อกำหนดมาตรา 27A ของกฎหมายหลักทรัพย์ปี 2476 (Securities Act of 1933) ซึ่งได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม และข้อกำหนดมาตรา 21E ของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ปี 2477 (Securities Exchange Act of 1934) ซึ่งได้รับการแก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ข้อความการคาดการณ์ล่วงหน้าดังกล่าวทั้งหมดได้มีการจัดทำขึ้นตามที่มีการจำกัดความไว้ในกฎหมายปฏิรูปการฟ้องร้องคดีหลักทรัพย์ส่วนบุคคลปี 2538 (Private Securities Litigation Reform Act of 1995) ผลลัพธ์ที่แท้จริงอาจออกมาแตกต่างอย่างมากจากที่คาดการณ์ไว้ คอมม์วอลท์ถือว่าไม่มีภาระผูกพันในการปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลคาดการณ์ล่วงหน้าใด ๆ ที่มีอยู่ในข่าวประชาสัมพันธ์ฉบับนี้หรือที่เกี่ยวกับการพัฒนาและระยะเวลาของการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใด ๆ เช่นเดียวกับคุณสมบัติหรือการทำงานใด ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ที่ดุลพินิจของคอมม์วอลท์

© 1999-2014 คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ (Commvault Systems, Inc) สงวนลิขสิทธิ์ คอมม์วอลท์, คอมม์วอลท์ และโลโก้ (โลโก้ ซีวีหรือ “CV”), คอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ (Commvault Systems), โซลฟ์วิ่ง ฟอร์เวิร์ด (Solving Forward), เอสไอเอ็ม (SIM), ซิงกูล่าร์ อินฟอร์เมชั่น แมเนจเมนท์ *Singular Information Managemen)t, ซิมพานา (Simpana), ซิมพานา วันพาส (Simpana OnePass), คอมม์วอลท์ กาแล็กซี (Commvault Galaxy), ยูนิไฟด์ ดาต้า แมเนจเมนท์ (Unified Data Management), คิเนติกส์ (QiNetix), ควิก รีคัพเวอรี่ (Quick Recovery), คิวอาร์ (QR), คอมม์เน็ต (CommNe)t, กริดสตอร์ (GridStor), วอลท์ แทรกเกอร์ (Vault Tracker), อินเนอร์วอลท์ ( InnerVault), ควิก สแน็ป (Quick Snap), คิวสแน็ป (QSnap), อินเทลลิสแน็ป (IntelliSnap), รีคัพเวอรี่ ไดเร็คเตอร์ (Recovery Director), คอมม์เซิร์ฟ (CommServe), คอมม์เซลล์ (CommCell), อาร์โอเอ็มเอส (ROMS), คอมม์วอลท์ เอ็ดจ์ (Commvault Edge) และคอมม์แวลู (CommValue) ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของคอมม์วอลท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ ส่วนแบรนด์ ผลิตภัณฑ์ ชื่อที่ใช้ในการบริการ เครื่องหมายการค้า หรือเครื่องหมายบริการที่ลงทะเบียนของบุคคลที่สามอื่น ๆ ถือเป็นทรัพย์สินของและใช้เพื่อระบุผลิตภัณฑ์หรือบริการของเจ้าของกรรมสิมธิ์ที่เกี่ยวข้อง ข้อกำหนดอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

from:https://www.techtalkthai.com/commvault-data-management-research/