คลังเก็บป้ายกำกับ: THAI

20 ปี ซานตาเฟ่ ร้านสเต๊กสัญชาติไทย กับการสยายปีกไปต่างประเทศ พร้อมเป้ายอดขาย 1,800 ล้านบาท

หากนึกถึงร้านสเต๊กในประเทศไทย ซานตาเฟ่ ย่อมเป็นหนึ่งในชื่อที่ถูกพูดถึง เพราะด้วยจำนวนสาขา และกับเมนูที่มีราคาเข้าถึงได้ทุกระดับ ทำให้ ซานตาเฟ่ เป็นหนึ่งในกลุ่มร้านอาหารตะวันตกในประเทศไทยที่แข็งแกร่ง

ปีนี้ ซานตาเฟ่ มีอายุครบ 20 ปี ถ้าเปรียบเป็นคนก็น่าจะอยู่ในช่วงวัยที่ผ่านความสนุกสนาน และสีสันในช่วงวัยรุ่น และเตรียมจริงจังกับหน้าที่การงานในอนาคต

20 ปีที่ผ่านมา ซานตาเฟ่ สู้ศึกธุรกิจร้านอาหารอย่างไร เจอวิกฤติใดบ้าง และจากนี้วางแผนธุรกิจแบบไหน ลองมาฟังจากปาก สมบัติ หงส์ไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด เจ้าของร้าน ซานตาเฟ่ กัน

Santa Fe'
ภาพจาก Facebook Santa Fe’

ซานตาเฟ่ กับ 20 ปี ที่มีทั้งวิกฤติ และโอกาส

สมบัติ หงส์ไพฑูรย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เคที เรสทัวรองท์ จำกัด เจ้าของร้าน ซานตาเฟ่ เล่าให้ฟังว่า ซานตาเฟ่ ก่อตั้งเมื่อปี 2546 เพราะในช่วงนั้นมีช่องว่างของตลาดร้านอาหารตะวันตก โดยเฉพาะกลุ่มที่มีเมนูสเต๊กเป็นตัวดึงดูดลูกค้า จึงเริ่มพัฒนาเมนู และรูปแบบร้านที่แตกต่างจากที่มีอยู่ในตลาด จนเป็นที่จดจำของผู้บริโภคเวลานั้น

“เราเริ่มต้นจากการนำชื่อ ซานตาเฟ่ ที่มาจากเมืองหนึ่งในสหรัฐอเมริกา มีเลี้ยงวัวซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของเมนูสเต๊ก มีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรถไฟ ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการออกแบบร้าน และโลโก้เหมือนกับรถไฟ ซึ่งสาขาแรกเราเปิดที่แฟชั่นไอส์แลนด์ และประสบความสำเร็จจนขยายสาขาไปกว่า 120 แห่งในไทย และต่างประเทศอีก 4 แห่ง”

แม้จะมีแบรนด์ที่แข็งแกร่ง แต่ ซานตาเฟ่ มีการเผชิญวิกฤติ และโอกาสทางธุรกิจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการประสบภาวะขาดทุน, วัตถุดิบไม่เพียงพอ หรือเมื่อปี 2562 ที่มี ฟู้ด แฟคเตอร์ ธุรกิจร้านอาหารในเครือบุญรอดฯ หรือกลุ่มสิงห์ เข้ามาลงทุน 1,800 ล้านบาท เพื่อถือหุ้นบริษัทในสัดส่วน 88%

เดินหน้าเติบโตในรูปแบบแฟรนไชส์

การทำธุรกิจของ ซานตาเฟ่ ในเวลานี้จะเน้นการขยายสาขาในรูปแบบแฟรนไชส์ โดยมีการควบคุมคุณภาพของแต่ละเมนู และเพิ่มประสิทธิภาพในการขยายสาขา ซึ่งหลังจากนี้มีแผนจะเดินหน้าโมเดลดังกล่าวเพื่อเปิดสาขาในภูมิภาคอินโดจีนเพิ่มเติม จากเดิมที่มีในกัมพูชา เป็นต้น

“เราถือเป็นแบรนด์สเต๊กคนไทยที่ Go Inter ซึ่งหลังจากนี้เราจะยังเดินแผนดังกล่าวต่อไป ควบคู่ไปกับการขยายสาขาในประเทศไทย เพราะภาพรวมตลาดร้านอาหารที่เคยสูงที่สุดในปี 2019 ราว 4.5 แสนล้านบาท เวลานี้มันเริ่มฟื้นตัว และกำลังจะไต่ขึ้นไปให้ถึงจุดนั้นเหมือนกัน คาดว่าปีนี้น่าจะเติบโต 3-5%”

หากแบ่งภาพรวมตลาดร้านอาหารในปี 2565 จะพบว่า ซานตาเฟ่ จะอยู่ในกลุ่มร้านอาหารตะวันตกที่มีมูลค่าตลาดราว 9,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับตลาดเบอร์เกอร์ และมากกว่าตลาดพิซซ่าที่มีมูลค่า 8,000 ล้านบาท โดยตลาดร้านอาหารตะวันตกยังแข่งขันกันในเรื่องคุณภาพ และความคุ้มค่าเช่นเดิม

ปั้นรายได้แตะ 1,800 ล้านบาท

เมื่อครบรอบ 20 ปี ซานตาเฟ่ เตรียมส่งแคมเปญการตลาดต่าง ๆ เช่น การเปิดตัวเมนูใหม่ตลอดทั้งปี เริ่มต้นในเดือน ก.พ. 2566 ที่ทำสเต๊กซอสช็อกโกแลต รวมถึงการทำแคมเปญ Happiness Trip ที่ขายบัตรเพื่อพาผู้สนใจนั่งรถไฟไปยังจังหวัดต่าง ๆ พร้อมรับประทานอาหาร และสนุกไปกับศิลปินชั้นนำ

“Santa Fe’ Happiness Trip เราร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และพาร์ตเนอร์วัตถุดิบต่าง ๆ รวมถึงเชฟชั้นนำระดับประเทศ เพื่อพาลูกค้าที่สนใจไปร่วมฉลองการครบรอบ 20 ปี ของ ซานตาเฟ่ ซึ่งตัวรถไฟนั้นก็มีโลโก้ และการออกแบบหน้าร้านของเราด้วย”

ในปี 2565 ซานตาเฟ่ มียอดขายราว 1,400 ล้านบาท และจากแคมเปญต่าง ๆ รวมถึงการขยายสาขา บริษัทคาดว่าจะเติบโตจนมีรายได้ 1,700-1,800 ล้านบาท และแข่งขันในตลาดอาหารตะวันตกได้สูสี โดย ซานตาเฟ่ เป็นหนึ่งในธุรกิจร้านอาหารของกลุ่มสิงห์ที่มีร้าน Est. 33 และ Farm Design เป็นต้น

อ้างอิง // Food Factors, Santa Fe’

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post 20 ปี ซานตาเฟ่ ร้านสเต๊กสัญชาติไทย กับการสยายปีกไปต่างประเทศ พร้อมเป้ายอดขาย 1,800 ล้านบาท first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/santafe-20-yrs-business-plan/

วีเอฟเอส โกลบอล เผย ปี 2565 ประเทศไทยยื่นคำร้องขอวีซ่าเพิ่มขึ้น 576% เมื่อเทียบกับปี 2564

วีเอฟเอส โกลบอล ระบุว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีการยื่นคำร้องขอวีซ่าเพิ่มขึ้น 586% เมื่อเทียบกับปี 2564 จุดหมายที่นิยมคือ ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, เยอรมนี, สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

Thailand Tourist Bangkok นักท่องเที่ยว
ภาพจาก Shutterstock

คนในประเทศไทยแห่ขอวีซ่าไปท่องเที่ยว

วีเอฟเอส โกลบอล ผู้ให้บริการเอาต์ซอร์ส และเทคโนโลยีสำหรับรัฐบาล กับคณะผู้แทนทางการทูต ระบุว่า คนในประเทศไทยยื่นคำร้องขอวีซ่าทุกประเภทในปี 2565 เติบโตราว 576% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564 เหตุผลหลักมาจากความต้องการท่องเที่ยวที่เพิ่มสูงขึ้นโดยไม่คาดคิดจากการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศ

นอกจากนี้การที่สายการบินระหว่างประเทศกลับมาให้บริการตามปกติในหลายเส้นทาง แต่จำนวนดังกล่าวยังต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดโรคระบาด โดยบริการยื่นคำร้องขอวีซ่านอกสถานที่ (Visa at Your Doorstep – VAYD) เติบโตขึ้น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2562 และเพิ่มขึ้น 27% เมื่อเทียบกับปี 2564

“ปริมาณการยื่นคำร้องขอวีซ่าที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศไทยบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นของนักเดินทางที่ฟื้นกลับมาเร็วกว่าที่คาดการณ์ ฤดูท่องเที่ยวต่างประเทศช่วงที่ได้รับความนิยมสูงสุดน่าจะเริ่มขึ้นในเดือน มี.ค. 2023 และเราเชื่อว่าแนวโน้มดังกล่าวจะเติบโตต่อเนื่อง” เกาซิค กอช หัวหน้าภูมิภาคออสเตราเลเซีย วีเอฟเอส โกลบอล กล่าว

ทั้งนี้ วีเอฟเอส โกลบอล รับหน้าที่ให้บริการยื่นคำร้องวีซ่าแก่รัฐบาล 23 ประเทศจากในประเทศไทย ประกอบด้วย ออสเตรเลีย ออสเตรีย แคนาดา สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฟินแลนด์ อินเดีย อิตาลี เยอรมนี ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ สิงคโปร์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร

สรุป

การขอวีซ่าที่เพิ่มขึ้นกว่า 500% แสดงให้เห็นถึงความอัดอั้นในการอยากไปท่องเที่ยวของคนในประเทศไทย แม้ตัวเลขดังกล่าวจะยังไม่เทียบเท่ากับช่วงก่อนโรคโควิด-19 ระบาด ตามที่ วีเอฟเอส โกลบอล ระบุไว้ แต่เชื่อว่าหลังจากนี้ตัวเลขดังกล่าวจะค่อย ๆ กลับมาเติบโตจนเทียบเท่า และแซงหน้าจำนวนก่อนโรคโควิด-19 ระบาดได้

อ้างอิง // VFS Global

อ่านเพิ่มเติม

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post วีเอฟเอส โกลบอล เผย ปี 2565 ประเทศไทยยื่นคำร้องขอวีซ่าเพิ่มขึ้น 576% เมื่อเทียบกับปี 2564 first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/vfs-global-thailand-visa/

ไทยไหวไหม? ขาดดุลการค้า-บริการ ครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ดึงค่าเงินบาททรุดหนักสุดในเอเชีย

ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 3.43 แสนล้านบาท กระทบสถานการณ์ค่าเงินบาท ทรุดตัว 10.2% หนักสุดในเอเชีย

thai current account deficit hits economy and currency

ไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ 2556

ไทยกำลังจะขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2556 คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 3.43 แสนล้านบาท หรือประมาณ 2% ของ GDP จากการประมาณการของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)

พูดให้เข้าใจง่ายๆ ไทยจมีรายได้จากการค้าและบริการกับต่างประเทศน้อยกว่ารายจ่าย เม็ดเงินมหาศาลจำนวนกว่า 3 แสนล้านบาทกำลังไหลออกนอกประเทศ 

ที่สำคัญ นี่ไม่ใช่เรื่องเดียวที่น่ากังวลเพราะในอีกด้านหนึ่ง ไทยกำลังเผชิญกับการขาดดุลงบประมาณคิดเป็น 10% ของ GDP ในช่วงเวลา 1 ปี ไปจนถึงเดือนกันยายนที่จะถึง

สถานการณ์โควิดย่ำแย่ นักท่องเที่ยวหดหาย กระทบรายได้ภาคการท่องเที่ยว

ประเทศไทยต้องเจอกับการขาดดุลการค้าและบริการอย่างหนัก เพราะรายได้จากต่างชาติที่มาจากภาคการท่องเที่ยวหดหายไป ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวเพียง 34,000 คน ไม่ถึง 1% เทียบกับปี 2562 ก่อนโควิดระบาดที่มีนักท่องเที่ยวมากกว่า 39 ล้านคน

เมื่อรายได้จากการท่องเที่ยวซึ่งแต่เดิมเคยเป็นรายได้ถึง 1 ใน 10 ของประเทศ หายไปมหาศาลทำให้ไทยต้องเผชิญกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด แถมส่วนหนึ่งยังกระทบค่าเงินบาทเพราะความต้องการแลกเงินบาทลดลงอีกด้วย

2 ขาดดุล หนุนค่าเงินบาททรุดตัวหนักสุดในเอเชีย

การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและการขาดดุลงบประมาณซ้ำเติมค่าเงินบาทที่กำลังย่ำแย่ จนกลายเป็นค่าเงินที่ร่วงลงหนักสุดในเอเชีย

สถานการณ์ของค่าเงินบาทเรียกได้ว่าไม่ค่อยสู้ดีนัก เพราะในปีนี้มูลค่าร่วงลงมากว่า 10.2% ทรุดตัวหนักสุดในเอเชีย แถมยังเป็นการร่วงที่แรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2543 จนตอนนี้เงินบาทถูกซื้อขายกันอยู่ในจุดต่ำสุดในรอบ 3 ปี จากการรวบรวมข้อมูลของ Bloomberg

ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุเองว่าอาจมีการทรุดตัวหรือผันผวนของค่าเงินบาทเพิ่มเติมจากปัจจัยภายในประเทศ

ที่มา – The Straits Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ไทยไหวไหม? ขาดดุลการค้า-บริการ ครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี ดึงค่าเงินบาททรุดหนักสุดในเอเชีย first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/current-account-deficit-worsen-thai-baht-situation/

ปี 64 ธุรกิจธนาคารยังระส่ำ หลังเจอปิดปี 63 ที่ 1.44 แสนล้าน ต่ำสุดในรอบ 9 ปี

ถือว่าเป็นอีกหนึ่งข่าวร้ายช่วงสิ้นปีของปี 2563 ที่ธุรกิจทุกระดับต่างก็เจอความเสี่ยงของโควิด-19 ที่ไม่ใช่เรื่องผลกระทบเรื่องสุขภาพแต่ลากยาวถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ผลการดำเนินงานของธุรกิจพาณิชย์ในหลายด้านด้วย

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ภาพรวมกำไรสุทธิของระบบธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (ระบบธพ. จดทะเบียนในไทย) จะปิดปี 2563 ที่ระดับ 1.44 แสนล้านบาท ซึ่งนับเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 9 ปี ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา

ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนยังกดดันรายได้จากธุรกิจหลัก

แม้เศรษฐกิจไทยน่าจะผ่านพ้นช่วงวิกฤตที่สุดมาแล้ว แต่เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งยังคงต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ อาจส่งผลทำให้ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ยังต้องเผชิญกับโจทย์ท้าทายความสามารถในการประคองรายได้จากธุรกิจหลัก ทั้งรายได้ดอกเบี้ย และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย

สินเชื่อเติบโตในกรอบจำกัดตามภาวะเศรษฐกิจ โดยเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่และยังมีความเสี่ยงจากโควิด-19 รอบใหม่แฝงอยู่ อาจส่งผลทำให้ภาคธุรกิจชะลอการตัดสินใจลงทุนในโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการระยะยาวออกไปก่อน ดังนั้นความต้องการสินเชื่อจากฝั่งผู้ประกอบการในระยะแรก คงจะเน้นไปที่สินเชื่อสำหรับเสริมสภาพคล่องหรือเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับธุรกิจที่ดำเนินอยู่ มากกว่าลักษณะของการขอสินเชื่อใหม่เพื่อขยายการลงทุน

ขณะที่สินเชื่อรายย่อยอาจขยายตัวไม่มาก ด้วยข้อจำกัดของภาระหนี้เดิมที่มีอยู่ กอปรกับทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น จากปัจจัยดังกล่าวทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า สินเชื่อของระบบธ.พ. ไทยในปี 2564 อาจเติบโตในกรอบประมาณ 3.0-4.5% ชะลอลงจากที่คาดว่า จะปิดปี 2563 ที่ระดับสูงกว่า 4.5%

อย่างไรก็ตาม ธนาคารส่วนใหญ่จะยังชะลอการออกแคมเปญ ไม่เร่งระดมเงินฝาก เพื่อพยายามบริหารจัดการต้นทุนด้านเงินฝาก เพื่อประคองทิศทาง NIM ให้ทรงตัว หรือให้ชะลอลงในกรอบจำกัด โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า NIM ในปี 2564 อาจชะลอลงมาที่ 2.65-2.75% จากตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2563 ที่ 2.75%

ทางด้านของภาพรวมรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการยังไม่ฟื้นตัวกลับมาด้วยข้อจำกัดของบรรยากาศทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องใช้เวลากว่าจะกลับสู่ภาวะปกติ ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ระหว่างหาแนวทางเพิ่มรายได้จากแหล่งอื่น ขึ้นมาทดแทนรายได้ที่หายไปจากการยกเลิกค่าธรรมเนียมการโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรรมไปทำธุรกรรมบนแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile Application) ซึ่งมีผลกระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรและค่าธรรมเนียมรายปีของบัตร ATM และบัตรเดบิต

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า รายได้จากค่าธรรมเนียมและบริการอาจหดตัวเล็กน้อยในปี 2564 (กรอบคาดการณ์ที่ -3.0% ถึง +1.0%) ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต้องฝากความหวังการเติบโตมาที่กลุ่มรายได้ค่าธรรมเนียมซึ่งอาจจะได้รับอานิสงส์จากโอกาสที่เศรษฐกิจฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2564 โดยเฉพาะหากสามารถควบคุมการระบาดของโควิดรอบใหม่ได้ อาทิ ค่าธรรมเนียมจัดการ บริการที่ปรึกษา และค่าธรรมเนียมนายหน้า เป็นต้น

นโยบายการดูแลคุณภาพหนี้…ยังเป็นแบบระมัดระวัง

ในปี 2564 น่าจะเป็นอีกหนึ่งปีที่ธนาคารพาณิชย์ไทยต้องรับมือกับโจทย์สำคัญด้านคุณภาพหนี้ ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจที่มีสัญญาณอ่อนแอและฟื้นตัวช้า โดยนอกจากภารกิจในการติดตามดูแลความสามารถในการชำระหนี้ (กลุ่มที่ออกจากโครงการช่วยเหลือในปี 2563) และให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องกับลูกหนี้กลุ่มเปราะบางแล้ว

คาดว่า ธนาคารพาณิชย์จะยังให้น้ำหนักกับการตั้งสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น (ตั้งสำรองฯ) เพื่อรองรับสถานการณ์หนี้เสียที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไข

ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ปี 2564 จะยังคงสูงกว่าระดับก่อนวิกฤตโควิด-19 แม้ว่าจะชะลอลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่เร่งตั้งสำรองฯ ล่วงหน้าไปมากแล้ว โดยสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองฯ ต่อสินเชื่อ (Credit Cost) ในปี 2564 จะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.55% (กรอบ 1.45-1.75%) ชะลอลงจากตัวเลขคาดการณ์สำหรับปี 2563 ที่ 1.75% แต่ยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 1.31% ในปี 2560-2562

เนื่องจากคาดว่าสถานการณ์หนี้ด้อยคุณภาพ หรือ NPLs ในภาพรวมจะยังไม่นิ่งท่ามกลางสถานการณ์การฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังเป็นไปอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นข้อจำกัดด้านรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้หลายกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี

ทางด้านของภาพรวมหนี้ด้อยคุณภาพอาจขยับขึ้นต่อเนื่อง ตอกย้ำสถานะของ NPLs ซึ่งเป็นเครื่องชี้ตามหลังเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า NPLs ของระบบธนาคารพาณิชย์อาจขยับขึ้นต่อเนื่องไปที่ 3.53% ณ สิ้นปี 2564 จากระดับประมาณการสิ้นปี 2563 ที่ 3.35% ของสินเชื่อรวม โดยในปี 2564 คาดว่าจะเห็นธนาคารพาณิชย์เร่งบริหารจัดการคุณภาพสินทรัพย์ในพอร์ต ควบคู่ไปกับการทยอยประเมินจังหวะของการตัดหนี้สูญและขายสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ

ต้องยอมรับว่า สัญญาณเศรษฐกิจไทยในปี 2564 เริ่มมีความไม่แน่นอน และแนวโน้มยังขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงและความสามารถในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องมีมาตรการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ที่มีความเปราะบางและมีสถานะทางการเงินที่อ่อนไหวตามสภาวะเศรษฐกิจ

รวมไปถึงคงต้องประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มลูกหนี้ธุรกิจและรายย่อยที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้วอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากข้อมูลของธปท. ลูกหนี้กลุ่มนี้มีอยู่ราว 1 ล้านล้านบาท

นอกจากนี้ยังต้องติดตามสถานการณ์การชำระหนี้ของลูกค้าทุกกลุ่มอย่างอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงต้นปี 2564 เพราะแม้หลังสิ้นสุดการพักชำระหนี้ ลูกหนี้ส่วนใหญ่ที่เข้ามาตรการฯ จะไม่ได้ขอรับความช่วยเหลือต่อและสามารถกลับมาชำระหนี้ได้ตามปกติ แต่นั่นก็เป็นช่วงก่อนเกิดการระบาดโควิดระลอกใหม่

โดยสรุป ภายใต้สมมติฐานที่เศรษฐกิจไทยในปี 2564 สามารถประคองอัตราการขยายตัวไว้ได้ที่ระดับ 2.6% ตามประมาณการของศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยอาจบันทึกกำไรสุทธิในปี 2564 ที่ระดับ 1.48-1.54 แสนล้านบาท ขยับขึ้น 3.0-7.0% เมื่อเทียบกับฐานระดับกำไรสุทธิที่ต่ำของปี 2563 ซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

ประกอบกับมีแรงหนุนจากการชะลอลงของค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหลังจากที่ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเร่งกันสำรองฯ ไปมากในปี 2563

นอกจากนี้ในปี 2564 ยังเป็นช่วงที่ธนาคารพาณิชย์ยังได้รับอานิสงส์จากการผ่อนคลายเกณฑ์การจัดชั้นหนี้ของธปท.ในกรณีที่สถาบันการเงินเร่งปรับโครงสร้างให้ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด และยังไม่ต้องกันสำรองสำหรับวงเงินที่ยังไม่ได้เบิกใช้ด้วยเช่นกัน

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนจากความผันแปรของสถานการณ์โควิดระลอกใหม่น่าจะมีผลทำให้โจทย์ความสามารถในการประคองรายได้จากธุรกิจหลัก ควบคู่ไปกับการดูแลปัญหาคุณภาพหนี้ของธนาคารพาณิชย์ในปี 2564 มีความท้าทายไม่น้อยไปกว่าปี 2563

แต่อย่างไรก็ตาม สถานะทางการเงินของระบบธนาคารพาณิชย์จะยังมีความแข็งแกร่ง สะท้อนจากอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูงกว่าเกณฑ์ และมีอัตราส่วนเงินสำรองที่มีอยู่ต่อหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL Coverage Ratio) ในระดับสูงประมาณ 1.4-1.5 เท่า

from:https://www.thumbsup.in.th/business-low-income?utm_source=rss&utm_medium=rss&utm_campaign=business-low-income

การบินไทยปี 2562 ขาดทุน 12,017 ล้านบาท ชี้สาเหตุหลักจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว

การบินไทยได้รายงานงบประจำปี 2562 โดยขาดทุนจากการดำเนินงาน 12,017 ล้านบาท ชี้สาเหตุหลักจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ผู้โดยสารของสายการบินลดลง

Thai Airways การบินไทย
ภาพจาก Shutterstock

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ได้รายงานงบการเงินของปี 2562 โดยขาดทุนสุทธิ 12,017 ล้านบาท ขณะที่รายได้รวมอยู่ที่ 184,046 ล้านบาท ลดลงจากปี 2561 ถึง 7.7%  ขณะที่รายได้จากค่าโดยสารลดลง 7% โดยสาเหตุสำคัญที่สายการบินได้รายงานคือเรื่องของสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจากสงครามการค้า การปิดน่านฟ้าปากีสถาน การชุมนุมที่ฮ่องกง ค่าเงินบาทที่แข็งค่า เป็นต้น

ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ 196,470 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 5.8% จากนโยบายการควบคุมค่าใช้จ่ายของสายการบิน ราคาน้ำมันเครื่องบินที่ลดลง และยังรวมไปถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากขึ้นในปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้บริษัทยังได้กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องต่างๆ เช่น

  1. โครงการ MRO การบินไทยในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการได้จัดส่งเอกสารการคัดเลือกให้แก่เอกชนผู้ประสงค์ร่วมทุนเรียบร้อยแล้วในเดือนธันวาคม 2562 โดยกำหนดการยื่นข้อเสนอของเอกชนผู้ประสงค์ร่วมทุนภายในวันที่ 6 มีนาคม 2563 และจะเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบเอกสารและประเมินข้อเสนอของคณะกรรมการคัดเลือกต่อไป
  2. การบูรณาการการบริหารจัดการการบินไทยและไทยสมายล์ โดยการบินไทยจะเป็นผู้กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ในการขายที่นั่งบนเที่ยวบินของสายการบินไทยสมายล์ทุกเส้นทางบินเริ่มตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2562 ภายใต้วิธีการ Block Space Concept ส่งผลให้ผลการดำเนินงานโดยรวม เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นเมื่อเทียบงวดเดียวกันของปีก่อน
  3. การบริหารจัดการด้านรายได้ การขายและการตลาด โดยดำเนินกลยุทธ์เจาะกลุ่มลูกค้าแบบ Personalized มุ่งเน้นการสร้างรายได้เสริม เช่น รายได้จากการขาย Preferred Seat และการเพิ่มรายได้ในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับการบิน เช่น การเพิ่มรายได้ของฝ่ายครัวการบิน รวมทั้งการขายสินค้าออนไลน์โดยร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้าที่อยู่ในระบบตลาดสินค้าออนไลน์ให้มากขึ้น
  4. การดำเนินการขายเครื่องบินที่ปลดระวางแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2562 มีการโอนกรรมสิทธิ์เครื่องบินให้แก่ผู้ซื้อรวม 6 ลำ ได้แก่ เครื่องบินแบบแอร์บัส A330-300 จำนวน 5 ลำ และเครื่องบินแบบโบอิ้ง B747-400 จำนวน 1 ลำ
  5. ทำการเปิดเส้นทางบินใหม่ โดยเปิดเส้นทางบินสู่เซนได ประเทศญี่ปุ่น โดยทำการบิน 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-airways-financial-report-fy-2019/

ประเทศไทยขึ้นนำ 3 ประเทศในอาเซียน หันมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกฏหมายในการดำเนินธุรกิจ นำหน้าฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย

บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ) รายงานว่าประเทศไทยขึ้นเป็นผู้นำของภูมิภาคสำหรับผลการดำเนินงานอันยอดเยี่ยมในแคมเปญรณรงค์ที่บีเอสเอจัดทำขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อแก้ไขปัญหาการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายในระดับองค์กรให้หมดไป ตั้งแต่เริ่มต้นแคมเปญจนถึงตอนนี้ ปรากฎว่าประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายสูงสุด เมื่อเทียบกับฟิลิปปินส์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย ต้องขอบคุณการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้นำองค์กรของไทย

นอกจากนี้ บีเอสเอยังรายงานว่าเกือบ 400 องค์กรใน 11 จังหวัดให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย จังหวัดที่มีการเปลี่ยนมาให้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายมากที่สุด ประกอบไปด้วย กรุงเทพมหานคร สมุทปราการ นนทบุรี และชลบุรี ทั้งนี้แคมเปญดังกล่าวจะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ และบีเอสเอจะแจ้งผลการดำเนินงานสำหรับประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่เข้าร่วมแคมเปญให้ทราบ ซึ่งองค์กรส่วนใหญ่ที่ทำการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายคือ โรงงานผลิต บริษัทด้านวิศวกรรม และบริษัทด้านการออกแบบอุตสาหกรรม

“แคมเปญนี้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดีในประเทศไทย เพราะองค์กรธุรกิจตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย และเป็นการดีกว่าหากองค์กรธุรกิจมีการดำเนินการเชิงรุกในวันนี้ ดีกว่ารอให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และปัญหาทางกฎหมาย” นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ I พันธมิตรซอฟต์แวร์ ประจำภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กล่าว “เจ้าหน้าที่ตำรวจของไทยมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการทำให้องค์กรธุรกิจเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมาย นอกจากนี้ เรายังเชื่อว่าซีอีโอในประเทศไทยตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเป็นอย่างดี และยังมีการดำเนินการในเชิงรุกที่ดีกว่าในบางประเทศ”

ทั้งนี้ โครงการ Legalize and Protect ซึ่งเป็นโครงการนำร่องของบีเอสเอที่ได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้แก่ซีอีโอทั้งหลายเกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางโลกไซเบอร์ ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา บีเอสเอได้เปิดตัวแคมเปญ Clean Up to the Countdown เพื่อชักชวนและกระตุ้นให้เหล่าซีอีโอตรวจสอบและทำให้แน่ใจว่าองค์กรของตนเองใช้แต่ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเท่านั้นก่อนจะถึงปี 2563 โครงการดังกล่าวมีการเปิดตัวในสี่ประเทศหลักของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบไปด้วย อินโดนีเซีย ฟิลิปินส์ ประเทศไทย และเวียดนาม

จนถึงตอนนี้ องค์กรธุรกิจมากกว่า 1,000 แห่งได้ทำการจัดซื้อซอฟต์แวร์โดยมีเป้าหมายเพื่อต้องการทำให้สินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่ใช้นั้นถูกต้องตามกฎหมายและลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเผชิญ

บรรดาซีอีโอในอาเซียนได้อนุมัติการจัดซื้อซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ประมาณ 6,000 เครื่อง ตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา

นอกจากนี้ บีเอสเอยังระบุว่า องค์กรธุรกิจในเวียดนามและอินโดนีเซียยังคงตามหลังประเทศอื่นๆ ในการปรับเปลี่ยนมาใช้สินทรัพย์ซอฟต์แวร์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม ที่อินโดนีเซียได้มีองค์กรธรุกิจแห่งหนึ่งทำการปรับเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายจำนวนหลายพันเครื่อง ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของแคมเปญนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานต่อแคมเปญขององค์กรธุรกิจในอินโดนีเซียยังถือว่าไม่ดีพอและยังคงเสี่ยงต่อการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย

บีเอสเอคาดว่าระดับการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอย่างแน่นอน

เพื่อเป็นการปกป้องตนเองจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ในอนาคต องค์กรธุรกิจสามารถนำแนวทางการปฎิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์ (SAM) มาใช้เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยี การใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายอย่างครบถ้วนยังช่วยองค์กรธุรกิจป้องกันความเสียหายจากการถูกโจมตีด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดการหยุดทำงานของเครื่อง รวมการจัดการสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (License) ไว้ที่จุดเดียว แม้กระทั่งช่วยลดค่าใช้จ่ายเพราะปัจจุบันนี้มีการใช้งานในรูปแบบการสมัครสมาชิกที่มีสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

นายดรุณให้คำมั่นว่าจะเดินหน้าทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในภูมิภาคอาเซียน เพื่อบังคับใช้กฎหมายกับองค์กรธุรกิจทุกแห่งที่ยังคงละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

ทั้งนี้ นายดรุณยังกล่าวอีกว่า บีเอสเอได้พยายามให้ความรู้แก่ซีอีโอและผู้นำธุรกิจระดับสูงเกี่ยวกับความเสี่ยงของการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและวิธีที่ทำให้ธุรกิจของพวกเขานั้นขาวสะอาดและถูกต้องตามกฎหมายอีกด้วย

“เราพอใจกับความคืบหน้าของการดำเนินงานในปีนี้ แต่ยังมีซีอีโอบางรายจะปรับเปลี่ยนการใช้งานซอฟต์แวร์ในองค์กรของตนให้ถูกต้องตามกฎหมายก็ต่อเมื่อพวกเขาเผชิญหน้ากับแรงกดดันอย่างจริงจังจากเจ้าหน้าตำรวจ ดังนั้นเราจะทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เป็นหน่วยงานรัฐอย่างจริงจัง เพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับซีอีโอของบริษัทที่ไม่ยอมปฎิบัติตามกฎหมายต่อไป” นายดรุณกล่าวเพิ่มเติม

from:https://www.flashfly.net/wp/277003

ขายออกแล้วจ้า! การบินไทยขายเครื่องบิน Airbus A340 จำนวน 8 ลำ มูลค่า 4 พันล้านบาท

การบินไทยได้รายงานว่าสามารถหาผู้ซื้อเครื่องบินแอร์บัสรุ่น A340 จำนวน 8 ลำได้แล้ว และเตรียมบันทึกรายได้ในไตรมาส 2 ด้วยมูลค่าถึง 4 พันล้านบาท

แอร์บัส A340-600 เครื่องบินของการบินไทยที่กำลังจะกลายเป็นอดีต – ภาพจาก Shutterstock

หนังสือพิมพ์ข่าวสดได้รายงานว่า สุเมธ ดำรงชัยธรรม กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. การบินไทย ได้กล่าวภายในสัปดาห์นี้การบินไทยจะลงนามในสัญญาขายเครื่องบินแอร์บัส รุ่น A340 จำนวน 8 ลำ มูลค่า 4,000 ล้านบาท พร้อมค่าจ้างรับซ่อมเครื่องบิน คาดว่าการบินไทยจะรับรู้รายได้ในส่วนนี้ภายในไตรมาสที่ 2

สำหรับเครื่องบินแอร์บัส A340 นั้นการบินไทยเคยสั่งซื้อจำนวนทั้งสิ้น 11 ลำในช่วงปี 2546 ถึง 2547 โดยมีรุ่นย่อยไม่ว่าจะเป็น A340-500 และ A340-600 โดยนำมาใช้การบินในระยะทางไกลๆ เช่น กรุงเทพ-นิวยอร์ก ฯลฯ แต่เนื่องด้วยเครื่องบิน 2 รุ่นข้างต้นนี้มีอัตราบริโภคเชื้อเพลิงที่สิ้นเปลืองมากๆ ทำให้ท้ายที่สุดแล้วการบินไทยต้องปลดระวางเครื่องบินเหล่านี้

นอกจากนี้การบินไทยได้พยายามที่จะขายเครื่องบินเหล่านี้ในราคาที่ดีที่สุด โดยเว็บไซต์ Forbes Thailand ได้รายงานว่าเมื่อปี 2556 มีผู้สนใจซื้อเครื่องบินรุ่นนี้ เช่น AvCon Worldwide ฯลฯ แต่ท้ายที่สุดแล้วการบินไทยก็ยังไม่สามารถขายเครื่องบินเหล่านี้ออก และต้องบันทึกค่าเสื่อมราคาของเครื่องบินเหล่านี้จนกว่าจะสามารถขายเครื่องบินเหล่านี้ได้

อย่างไรก็ดีปัจจุบันยังมีการใช้เครื่องบินแอร์บัส A340-500 และ A340-600 ให้บริการการบินอยู่ เช่น สายการบิน Lufthansa เที่ยวบินระหว่างนครแฟรงก์เฟิร์ตกับฮ่องกง หรือแม้แต่สายการบิน Iberia ในเที่ยวบินระหว่างกรุงมาดริดกับโบโกตา

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด, มติชนสุดสัปดาห์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-airways-annouce-to-selling-8-airbus-a340-worth-4-billion-thb/

การบินไทย งบปี 2018 ยังขาดทุน 11,000 ล้านบาท แถม Cabin Factor ต่ำกว่าปีที่แล้ว

บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI ได้รายงานงบการเงินของปี 2561 โดยประเด็นสำคัญคือแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นถึง ซึ่งกดดันทำให้ไตรมาสนี้บริษัทขาดทุน

ภาพจาก Shutterstock

งบปี 2018 ของ THAI รายได้รวมของบริษัทอยู่ที่ 199,500 ล้านบาท มากกว่าปีที่แล้ว 3.9% ส่วนปีนี้นั้นการบินไทยขาดทุนสุทธิ 11,569 ล้านบาท ขาดทุนมากกว่าเดิมถึง 4 เท่า เมื่อเทียบกับงบของปีที่แล้ว

ผู้โดยสารของ THAI ปี 2018 อยู่ที่ 23.4 ล้านคน ลดลงเล็กน้อยจากปีที่แล้ว อัตราขนส่งผู้โดยสารหรือ Cabin Factor อยู่ที่ 77.6% ลดลงเมื่อเทียบกับงบปีที่แล้ว รายได้จากผู้โดยสารเฉลี่ยต่อหน่วยอยู่ที่ 2.19 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว อัตราใช้เครื่องบินต่อลำอยู่ที่ 12 ชั่วโมง

โดยบริษัทได้กล่าวว่าปัญหาส่วนหนึ่งมาจากเรื่องของเครื่องยนต์รุ่น Trent 1000 ของ Rolls-Royce ประสบปัญหาใบพัดแตก ซึ่งเป็นปัญหาทั่วโลก ทำให้สายการบินได้ดำเนินการทยอยซ่อมแซม ทำให้การใช้ประสิทธิภาพของฝูงบินลดลงโดยเฉพาะในไตรมาส 4 ที่ผ่านมา

ขณะที่ค่าใช้จ่ายของการบินไทยปีนี้อยู่ที่ 208,558 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับงบปีที่แล้ว สาเหตุหลักมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เพิ่มมากถึง 19% ในปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มขึ้น 7.3% ขณะเดียวกันการบินไทยได้กำไรจากค่าเงิน 911 ล้านบาท และรวมไปถึงบริษัทได้ตั้งด้อยค่าครั้งเดียวของสินทรัพย์และเครื่องบินอีกประมาณ 3,459 ล้านบาท

นอกจากนี้การบินไทยยังได้ขายกิจการที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักออกไป เช่น ขายสินทรัพย์ในต่างประเทศ เช่น เดนมาร์ก ออสเตรเลีย ฯลฯ รวมไปถึงจังหวัดแม่งฮ่องสอน และการขายโรงแรมรอยัลออคิด (ประเทศไทย)

ที่มาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-financial-report-fy-2018/

โซเชียลไทยคึกคัก รับศึกพิซซ่าแป้งดำ

เพจดังแชร์ภาพโฆษณาพิซซ่าแป้งสีดำที่หลายแบรนด์พร้อมใจสร้างสรรค์ออกมาแย่งลูกค้าที่อยากลองของใหม่ ทำให้วงการโซเชียลไทยเฮฮาอารมณ์ดีกับข้อความที่เกทับบลัฟแหลกกันจนเป็นสีสันที่เรียกยอดไลค์ได้สุดคึกคัก กลายเป็นอีกศึกล่าสุดของวงการการตลาดออนไลน์ในอุตสาหกรรมพิซซ่าที่น่าจับตา

โฆษณาแรกที่โซเชียลไทยหยิบมาพูดถึงเป็นของ Pizza Hut ที่ใช้ข้อความว่า “แปลกไปหรือแปลกใหม่?” พร้อมกับอธิบายว่า The BLACK นี้ทำมาจาก Black Cocoa ธรมชาติ 100%

คู่แข่งอย่าง The Pizza ไม่ยอมแพ้ ส่งโปสเตอร์พร้อมข้อความว่า ”พิซซ่า แบล็ก โวลเคโน่ เดือดกว่า ดาร์กกว่า” อธิบายให้เห็นภาพอีกว่าเข้มด้วยแป้งโกโก้ ปะทุลาวาชีส

ทีเด็ดอยู่ที่รายสุดท้ายคือ Domino Pizza ที่ใช้พื้นหลังสีดำ แต่โชว์พิซซ่าแป้งขาวพร้อมชีสไหลเยิ้มล่างข้อความว่า — จงอย่าเข้า “สู่ด้านมืด”

สถิติตั้งแต่ 14 กันยายนที่ผ่านมา โพสต์แซวแคมเปญนี้บนเพจ “สับหนัง ฝังซีรีย์” ถูกแสดงความรู้สึก 13,000 ครั้ง ความเห็นมากกว่า 4,600 รายการหลั่งไหลมาไม่ขาดสาย การแชร์ระเบิดไปหลัก 19,000 ครั้ง ล่าสุด เพจดังกล่าวระบุว่าทาง “Pizza Hut” ได้ติดต่อและส่งพิซซ่า 4 ถาดมาให้เพจลองชิม เพจจัดการติดป้ายคำ #ขอขอบคุณพิซซ่าฮัทครับ และ #PizzaHut ให้ตามธรรมเนียม แม้โพสต์รีวิวพิซซ่าแป้งดำจะได้รับความสนใจไม่มาก แต่ทั้งหมดนี้ก็ถือเป็นอีกกรณีศึกษาน่าสนใจในแวดวงโซเชียลไทย

https://web.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fweb.facebook.com%2Fsubnang%2Fposts%2F2733209790038194&width=500

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/09/pizza-cocoa-social-thai/

โซเชียลไทยเสียงแตก กรณี “ไทยสไมล์” ซื้อตั๋วให้พนักงาน After You ขึ้นเครื่องมาทำ Shibuya Honey Toast บนฟ้า

8 กรกฎาคม ผู้ใช้ Facebook ชื่อ Eym Singhara โพสต์ภาพพนักงานร้าน After You ยิ้มอยู่บนเครื่องบินสายการบิน “ไทยสไมล์” โดยบรรยายภาพด้วยความทึ่งว่าสายการบินดาวรุ่งลงทุนซื้อตั๋วให้พนักงานร้านขนมหวานชื่อดังเพิ่มอีก 1 คนเพื่อมาทำเมนูขนมปังปิ้งสดใหม่สำหรับเสิร์ฟให้กับผู้โดยสารชั้นสไมล์พลัส (ชั้นธุรกิจ) ท่ามกลางความคิดเห็น 477 รายการในเวลา 5 วัน เราพบว่าชาวโซเชียลไทยมีความเห็นแตกต่างหลากหลาย น่าสนใจมากในการเป็นกรณีศึกษาสำหรับการทำแคมเปญการตลาดยุคใหม่

ความเห็นชาวเน็ต

ชาว FB บางรายยอมรับว่าแคมเปญนี้ของไทยสไมล์โดนใจมากเพราะสามารถรับประทานขนมปังปิ้งเนยหรือโทสต์บนเครื่องได้แบบฟินๆ หลายคนบ่นอยากรับประทาน ขณะที่อีกหลายคนติดแท็กเรียกเพื่อนให้มาชมโพสต์นี้ด้วยความตื่นเต้น

https://www.facebook.com/plugins/comment_embed.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Feympe%2Fposts%2F10157352483354918%3Fcomment_id%3D10157355577719918&include_parent=false

https://www.facebook.com/plugins/comment_embed.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Feympe%2Fposts%2F10157352483354918%3Fcomment_id%3D10157355579434918%26reply_comment_id%3D10157355581569918&include_parent=false

แน่นอนว่าแคมเปญนี้ถูกมองว่าไทยสไมล์นั้น เร่งเครื่องแรงแบบที่ไม่เคยทำมาก่อน แถมยังเลือกดึงแบรนด์ดังราคาไม่ธรรมดาไปเพิ่มความ “ไฮโซ” แต่กลยุทธ์นี้มีจุดอ่อน เพราะชาวโซเชียลมองว่าการเพิ่มเงินซื้อตั๋วชั้นธุรกิจเพื่อให้ได้รับโทสต์ลอยฟ้านั้นไม่สมเหตุสมผล ขณะเดียวกันบางคนยังหวั่นใจว่า อาจต้องทำโยคะร้อนเพื่อลดความอ้วนที่อาจตามมา

https://www.facebook.com/plugins/comment_embed.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Feympe%2Fposts%2F10157352483354918%3Fcomment_id%3D10157355611934918%26reply_comment_id%3D10157355833184918&include_parent=false

https://www.facebook.com/plugins/comment_embed.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Feympe%2Fposts%2F10157352483354918%3Fcomment_id%3D10157355745999918%26reply_comment_id%3D10157355751314918&include_parent=false

สิ่งที่เราสามารถสรุปได้จากเสียงตอบรับเหล่านี้ สะท้อนว่าการทำแคมเปญด้วยแบรนด์ที่มีชื่อเสียงนั้นไม่ได้ส่งผลบวกเสมอไป บางครั้งแคมเปญสามารถถูกนำไปเปรียบเทียบ (การได้รับประทานโทสต์บนฟ้ากับที่ร้าน) หรือแม้แต่เสียงที่มองว่า “แอร์เอเชีย X” สายการบินคู่แข่งก็มีเมนูนี้ ก็เป็นเสียงตอบรับที่ไม่อาจมองข้าม

อย่างไรก็ตาม ต้องถือว่าไทยสไมล์นั้นพยายามสร้างจุดต่างจากคู่แข่งอย่างแท้จริง เพราะไม่เพียงเมนูฮิตของ After You ลูกค้าบางรายของไทยสไมล์โชว์ว่าของว่างที่เสิร์ฟบนเครื่องมีขนมอื่นของ After You คู่กับเครื่องดื่ม Starbucks ด้วย

https://www.facebook.com/plugins/comment_embed.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Feympe%2Fposts%2F10157352483354918%3Fcomment_id%3D10157357434469918%26reply_comment_id%3D10157357437429918&include_parent=false

ไม่แน่ อนาคต สายการบินอาจต้องพยายามแข่งขันสร้างจุดต่าง เราอาจได้เห็นบางสายการบิน ดึงเชฟขึ้นเครื่องไปแล่ปลาดิบเสิร์ฟก็ได้ เมื่อถึงวันนั้น โลกโซเชียลอาจจะตื่นเต้นกว่านี้อีกก็ได้ใครจะรู้.

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/07/thai-smile-after-you/