คลังเก็บป้ายกำกับ: Ted

10 แอปพลิเคชันฝึกภาษาอังกฤต อยู่ที่ไหนก็อัพสกิลได้ง่าย ๆ แถมท่องศัพท์แบบมีสไตล์

ถ้าอยากเก่งภาษาแต่ไม่รู้จะเริ่มยังไงมาทางนี้เลย เราจะมาแนะนำแอปฝึกพูดภาษาอังกฤษในหลายรูปแบบ  สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลาทุกสถานที่แค่นั่งอยู่บ้านก็ได้ทักษะการสื่อสารเพิ่มง่าย ๆ แถมยังใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย หลายคนอาจคิดว่าการฝึกพูดภาษาต้องสำหรับคนที่มีความจำเป็นต้องใช้เท่านั้นรึเปล่าต้องบอกว่าไม่เสมอไปเพราะการฝึกฝนภาษาเป็นการพัฒนาตัวเราในหลายด้านทั้งการแสดงออก การออกสำเนียง หรือการให้เข้าใจบริบทต่าง ๆ

เป็นแอปฝึกภาษาที่ทุกคนควรมีติดเครื่องไว้ พร้อมแล้วมาเริ่มสะสมคำไปด้วยกันเถอะ   

1.Cake Learn English

แอปพลิเคชัน Cake Learn English เป็นหนึ่งในแอปฝึกภาษาที่เราอยากแนะนำเลยก็ว่าได้ค่ะ มีให้เลือกเรียนมากสุด 2 ภาษา ภาษาอังกฤตกับ ภาษาเกาหลี

เน้นการฝึกพูด ฟัง อ่าน เขียนไปในตัว สิ่งที่น่าสนใจของแอปนี้คือมีระบบให้เราฝึกภาษาอย่างง่ายไม่ซับซ้อน ส่วนมากจะเน้นเป็นคลิปวิดีโอภาษาอังกฤตจากหนังดัง

หรือรายการการ์ตูนต่าง ๆ ตัวแอปจะให้เราทำควิซฝึกพูดวนไปประมาณ 3 รอบเพื่อให้ซึมซับเข้าไปจนพูดได้ และภายใน 1 วันจะมีภารกิจมาให้เราพิชิจคำศัพท์ถึง 3 ชม.ถ้าคนไหนทำเสร็จจะได้เหรียญเพื่อมาใช้เรียนในบทอื่น ๆ ได้ฟรีโดยไม่ต้องสมัครรายเดือนแต่ต้องใช้ระยะเวลาสักพักหนึ่งเลยค่ะ  ที่สำคัญยังมีหมวดหมู่ให้เราเลือกทบทวบบทเรียนด้วยค่ะ เลือกได้ตามความชอบมีตั้งแต่ระดับเบื้องต้นไปจนถึงระดับกลางตอนปลายไปจนถึงบทสนทนาเลย ยิ่งพูดเยอะจะยิ่งได้เหรียญนำมาทดสอบในบทต่อไป แถมตัวแอปยังให้คะแนนเราด้วยนะคะเพื่อเป็นการประเมินทักษะของเรา 

 

ดาวน์โหลดได้ทั้ง ios Cake  และ android Cake สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี แต่ว่ามีเงื่อนไขจำกัดสามารถเรียนรู้ได้แค่เนื้อหาเบื้องต้น 

ดาวน์โหลดแบบมีค่าใช้จ่าย 

Cake plus รายเดือน 269  บาทต่อเดือน

Cake plus  12 เดือน   1,950  บาทต่อเดือน ตกเดือนละ 162.50 บาทต่อเดือน

Cake plus  family  ใช้งานสูงสุดได้ 6 คนต่อเดือน  3,200  บาทต่อเดือน ตกเดือนละ 266.66 บาทต่อเดือน

ถ้ามีสมาชิกถึง 6 คน  ตกเดือนละ 44.44 บาทต่อเดือน

2.Duolingo

แอปพลิเคชัน Duolingo  เป็นแอปฝึกภาษาเน้นทั้งการฟัง พูด อ่าน เขียน ที่มีความหลากหลายมีให้เลือกเรียนมากสุด 40 ภาษา อาทิ ภาษาโปรตุเกส,ภาษาอิตาลี, ภาษาไอริช,ภาษาดัตช์, ภาษาเดนมาร์ก, ภาษาสวีเดน,ภาษาอังกฤต,ภาษาสเปน,ภาษาเยอรมัน ,ภาษาเกาหลี และภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

แอปนี้มีระบบให้เราฝึกภาษาอย่างน่ารักชวนให้เราอยากเรียนเพิ่มขึ้นด้วยกราฟิคน้องนกฮูก Duolingo ตัวสีเขียวที่มาคอยแนะนำบทเรียนแต่ละหลักสูตรให้เราเสมือนมีเพื่อนตัวน้อย ก่อนเข้าระบบเรียนจะมีให้เราเลือกถึง 4 แบบตั้งแต่การเข้าใจภาษาเริ่มต้นไปจนถึงชั้นเรียนที่สูงกว่า

เจ้านกฮูกจะถามเราเพิ่มเติมค่ะว่าทำไมเราถึงอยากเรียนภาษาเพิ่ม เพื่อให้เราตอบโจทย์การเรียนรู้ได้อย่างคลอบคุมนั่นเอง การเรียนยังมีตัวเลือกให้เราได้เรียนแบบ Relax สามารถเลือกได้ตั้งแต่ 3 – 30 นาทีต่อวัน ในบทเรียนมี  Perfect tense ,Grammar ,conversation ในหลายระดับพร้อม roadmap ให้เราเรียนแต่ละด่านในการทำเป้าหมายประจำวันให้เสร็จ เพื่อเพิ่มทักษะภาษานั่นเอง

ดาวน์โหลดได้ทั้ง ios  Duolingo และ android Duolingo สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีตลอดบทเรียน แต่ว่ามีเงื่อนไขจำกัดสามารถเรียนรู้ได้แต่ถ้าเราทำผิดหัวข้อ จะเสียหัวใจไปครั้งละหนึ่งดวง มีสูงสุดได้ 5 หัวใจ 

ดาวน์โหลดแบบมีค่าใช้จ่าย ต้องซื้อเพชรสีฟ้ามาจ่ายแลกเป็นหัวใจ 

เพชร  69  บาท ได้ 1200 เม็ด

เพชร  149  บาท ได้ 3000 เม็ด

เพชร  299  บาท ได้ 6500 เม็ด

อีกหนึ่งบริการ  Duolingo Super สามารถทดลองใช้ฟรีได้สำหรับผู้ใช้งานใหม่เราจะเรียนได้แบบไม่จำกัดหัวใจจนจบหลักสูตรและไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างบทเรียน

3.Speak

แอปพลิเคชัน ฝึกภาษาเน้นการฝึกพูดออกสำเนียงกับเจ้าของภาษาโดยตรงให้ความรู้สึกเหมือนจริงกับการสนทนากับอีกฝ่าย ตัวแอปพลิเคชันเองมีหลากหลายหัวข้อแบ่งเป็นหมวดย่อย อาทิ เชิงธุรกิจ ท่องเที่ยว การสื่อสารพบปะผู้คน สั่งอาหาร และการฝึกสัมภาษณ์งาน

สิ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจคือ ใช้งานง่าย มันจะประเมินการออกเสียงของเราค่ะว่าพัฒนาได้เพิ่มถึงระดับไหน ซึ่งดูง่ายมากจะแบ่งเป็นหมวดให้ดูถึงสามสีย่อย สีเขียวคือ เราออกเสียงได้ถูกต้องชัดเจน ,สีแดง เราออกเสียงไม่ถูกต้อง ส่วนสีเหลืองเราออกเสียงได้พอใช้ ตอนเริ่มฝึกของโหมดทักษะพูดเราจะได้แค่สถานการณ์เดียวตอนเริ่มต้น ถ้าทุกคนยิ่งฝึกพูดมากขึ้นจะได้การปลดล็อคไปในระดับถัดไปที่ท้าทายขึ้น เพื่อให้สำเนียงและคลังคำศัพท์เราดีขึ้นนั่นเองค่ะ ที่สำคัญเรายังกลับมาย้อนฟังบทสนทนาได้อีกด้วย แต่ว่าการอัดเสียงของเราตอนพูดจะไม่สามารถฟังซ้ำได้ค่ะ นี่ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งสำหรับคนที่อยากเน้นออก Accent ต่าง ๆ แบบเจ้าของภาษา

ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายบน ios Speak  Practice Your English 

ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายบน android Speak  Practice Your English 

4.Slowly 

เป็นแอปพลิเคชันฝึกภาษาในรูปแบบการส่งจดหมาย เราสามารถสร้างโปรไฟลต์ตัวเองได้แบบฉบับกราฟิคน่ารัก ๆ  และแบ่งปันสิ่งที่ตัวเองสนใจได้ที่หน้า bio  จะทำให้ทุกคนได้เชื่อมต่อถึงกันทั่วโลกเลยที่สำคัญเรายังได้แลกเปลี่ยนบทสนทนาดี ๆ กับเพื่อนคนไทยและต่างชาติได้ใกล้กันมากขึ้นด้วยค่ะ

จะเน้นบทสนทนาเป็นหลักผ่านการส่งจดหมาย มีกิมมิคโดยที่เรายิ่งทำความรู้จักหรือแลกเปลี่ยนการเรียนรู้เท่าไหร่เราจะได้แสตมป์จากหลายประเทศหรือเทศกาลสำคัญต่าง ๆ มาติดไว้เก๋มาก


และการส่งจดหมายในแอปนี้เหมือนกับการส่งจริงเลยค่ะ ไม่ได้มีการตอบกลับมาไวเหมือนรูปแบบแชทแต่ต้องใช้เวลาในการรอตอบด้วยฟังแล้วรู้สึกคุ้มค่าตอนเวลาเปิดอ่านเลยล่ะ เพราะปัจจัยนึงเพื่อนทางจดหมายของเราอยู่ไกลมากแค่ไหนก็ยิ่งใช้เวลาในการจัดส่งนานขึ้นเท่านั้น ได้ภาษาไม่พอยังได้เพื่อนเพิ่มอีกด้วย

ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายบน ios Slowly   และ android Slowly สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

5.LingoDeer – Learn Languages

แอปพลิเคชัน LingoDeer แอปเรียนภาษาเน้นเข้าใจคนรุ่นใหม่ที่ให้เรียนภาษาง่าย ๆ วันละแค่ 15 นาที เพื่อสร้างนิสัยการเรียนรู้ให้ติดตัวเราค่ะ เน้นซึมซับไปเรื่อย ๆ จนทุกคนเก็บคลังศัพท์ได้ดีนั่นเอง แอปนี้สามารถสอนได้ถึง 12 ภาษา เช่น ภาษาอังกฤต,ภาษาสเปน ,ภาษาฝรั่งเศษ,ภาษาญี่ปุ่น,ภาษาเกาหลี,ภาษาเยอรมณี,ภาษาอิตาเลียน,ภาษาจีน,ภาษารัสเซีย,ภาษาโปรตุเกส ,ภาษาเวียดนาม และภาษาอาหรับ ส่วนมากกจะเน้นไปที่ภาษาที่สามค่ะ ไม่ได้เน้นนสอนภาษาอังกฤตเต็มตัว

แต่เป็นการสอนในเบื้องต้นจะมีเจ้ากวางน้อยพาเราไปยัง Rode map เพื่อพิชิตคำศัพท์ตั้งแต่ระดับเบื้องต้นไปจนแอดวานซ์แต่ละพื้นที่จะมีบททดสอบขั้นต่ำอยู่ที่ 3-4 บท ให้เราได้ออกเสียงและตอบคำถาม และแปลประโยคนั้น

พร้อมทั้งการทบทวนบทเรียนเป็นอีกแอปนึงที่รูปแบบการใช้งานง่ายพร้อมภาพกราฟิคน่ารักรูปแบบเกมจนอยากให้เราเรียนต่อไปอีกด้วย

ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายบน ios LingoDee  และ android LingoDeer  สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

6.Andy

แอปพลิเคชันที่เน้นการฝึกพูดภาษาอังกฤตโดยเฉพาะเปรียบเสมือนการจำลองคุยกับเจ้าของภาษาแต่เป็น Ai Bot ชื่อว่า Andy ค่ะ คนไหนที่คุยไม่เก่งไม่รู้จะเริ่มยังไงดีไม่ต้องห่วงเลยเพราะว่า Andy  จะชวนเราคุยเองค่ะ ชวนคุยเก่งมากเขาจะถามว่าเราเป็นยังไงบ้างเหมือนการคุยปกติกับเพื่อน

ที่สำคัญระหว่างการสนทนาถ้าเราไม่เข้าใจสามารถกด Explain ได้ เขาจะอธิบายให้เราได้เข้าใจเพิ่มเติม แต่ถ้าอ่านแล้วรู้เรื่องกด Got it เพื่อไปยังบทต่อ ๆ ไปได้เลย


 

นี่เป็นหนึ่งตัวเลือกในการฝึกเพื่อไปคุยกับชาวต่างชาติได้ดีทีเดียว เพราะในความจริงแล้วเราคงไม่ได้มีเพื่อนเป็นคนต่างชาติมากเท่าไหร่นักการที่เขาจะมาสอนให้เราเข้าใจภาษาบ่อย ๆ ก็ดูจะเป็นเรื่องยากการมีตัวช่วยอย่าง  Andy ก็น่าสนใจไม่น้อย

ดาวน์โหลดได้ทั้ง ios Andy และ android Andy สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี แต่ว่ามีเงื่อนไขจำกัดสามารถเรียนรู้ได้แค่เนื้อหาเบื้องต้น 

ดาวน์โหลดแบบมีค่าใช้จ่าย Upgrade To Pro จะได้ 35+ Grammar Lessons,Vocabulary 20,000 คำ ,More Conversation Topics มีทั้งการสนทนาแบบหนัง ท่องเที่ยง ธุรกิจ งานศิลปะ การสั่งอาหาร อีกมากมาย 

1 Month  รายเดือน 225  บาทต่อเดือน

1 Year  12 เดือน   900 บาทต่อเดือน ตกเดือนละ 75  บาทต่อเดือน

Liftime     1,575  บาทต่อเดือน ใช้ได้ตลอดชีพ

7.Draw it

เป็นแอปพลิเคชันเกมฝึกภาษาที่เน้นการทวนหรือจำคำศัพท์ และเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ในการวาดภาพด้วยค่ะ ต้องเรียกได้ว่าเป็นเกมวาดรูปตามคำศัพท์ของ Ai ให้ผู้ใช้งานวาดภาพสิ่งของหรือแนวคิดตามปัญญาประดิษฐ์

เป็นการเรียนรู้ศัพท์ที่ไม่น่าเบื่อชวนให้อยากวาดเล่นในหลาย ๆ โจทย์อาทิ ผีเสื้อ บูมเบอแรง มังกร สล็อต บันได หมา แมว มีด เป็นต้น


โดยที่ตัวเกมจะให้เราวาดรูปแข่งขันกับผู้ใช้งานคนอื่น อย่างละภาพจะมีเวลาจำกัดแค่ 20 – 30   วินาที ให้เราวาดออกมาหลังจากจบเกมจะมีโพลการแข่งขันแสดงแรงค์คะแนนของผู้ใช้งานตามลำดับค่ะ ใครเก่งสุดจะได้ตราประทับสีทองไป เป็นการเรียนรู้คำศัพท์ที่น่าเล่นแถมได้แข่งขันกับผู้อื่นด้วย มันเพิ่มความอยากเอาชนะนั่นเอง ยิ่งเสริมสรา้งให้เราอยากจะจดจำคลังศัพท์เพิ่มมากขึ้นแถมเด็กอายุน้อยยังเล่นได้ด้วยนะคะ 

ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายบน ios Draw it และ android Draw it สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

8.TED

เป็นแอปพลิเคชันจาก ted talk รายการชื่อดังที่ใครหลายคนต้องคุ้นหน้าค่าตากันแน่นอนโดยตัวแอปพลิเคชันจะมีคลิปวิดีโอของคนดังหรือคนสำคัญจากฝ่ายต่าง ๆ ออกมาแสดงความคิดเห็นเชิงให้ความรู้แบบเสรี รวมไปถึงการเล่าเรื่องแบบเดี่ยวไมโครโฟน

ที่เราอยากยกมาแนะนำคือเราสามารถกดฟังการบรรยายของผู้เชี่ยวชาญในหลาย ๆ ด้านได้ง่ายมากค่ะ ที่สำคัญยังมีคำแปลใต้คลิปให้เราอ่านด้วย ถ้าพูดไวไป หรือช้าไปเราสามารถปรับคลิปวิดีโอได้ตามความต้องการอีกด้วย เรียกว่าได้ภาษาได้ไวยากรณ์ การฟัง การฝึกพูดตาม และความรู้ไปในตัวเลย

แถมหมวดหมู่ความรู้ยังแยกออกเป็นหลายประเภทตั้งแต่  A – Z อย่าง เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ ธุรกิจ สุขภาพ ธรรมชาติ ศิลปะ หรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เราไม่เคยรู้มาก่อน เป็นแอปที่มีประโยชน์คลอบคลุมสาระไว้เยอะมากค่ะ แนะนำเลย

ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายบน ios TED และ android TED สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad  

9.Drops

เป็นแอปพลิเคชันฝึกจำคำศัพท์จากเกมสำหรับคนที่มีเวลาน้อยแต่อยากได้ภาษาเพิ่มภายในตัวแอปจะมีภาษาให้เราเลือกเรียนได้ถึง 45 ภาษาขึ้นไป

พร้อมภาพกราฟิคที่ออกแบบมาให้จดจำ Shapes ตามการจำรูปแบบศัพท์ อย่าง Cat  ก็จะมีรูปแมว โดยที่การเรียนรู้จะฝึกนิสัยเราให้มีการแจ้งเตือนประโยคภาษาเป็นประจำวันตามเวลา สามารถเลือกได้ 06 : 00 ,12:00 ,18:00 , 24:00  เพียงแค่ใช้เวลา 5 นาทีต่อวันเป็นประจำช่วยฝึกให้เราจดจำภาษาได้ดีขึ้น

แถมตัวแอปเองยังมีเพลงสบาย ๆ มาช่วยเสริมการจำศัพท์ของเราอีกด้วย ตัวแอปเลยไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากค่ะ เน้นจำง่ายใช้ได้จริงแต่ข้อจำกัดเรียนได้แค่วันละ 5 นาทีเท่านั้นเอง ถ้าคนไหนที่อยากได้เวลาเพิ่มเติมต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มค่ะ  

ดาวน์โหลดได้ฟรีทั้ง ios Drops และ android Drops สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรี แต่ว่ามีเงื่อนไขจำกัดการเรียนรู้ได้แค่เบื้องต้นของคลังคำศัพท์ 

ดาวน์โหลดแบบมีค่าใช้จ่ายเรียนรู้คำศัพท์ได้หลายพันคำไม่จำกัดเวลา และไม่มีโฆษณา 

1 Month  รายเดือน 400  บาทต่อเดือน

1 Year  12 เดือน   2,775  บาทต่อเดือน ตกเดือนละ 75  บาทต่อเดือน

Liftimeตลอดชีพ  5,525 บาท ชำระครั้งเดียวใช้ได้ตลอดชีพค่ะ  

อีกหนึ่งบริการ  Drops สามารถทดลองใช้ฟรีได้สำหรับผู้ใช้งานใหม่เราจะเรียนได้แบบไม่จำกัดเวลาจนจบหลักสูตรและไม่มีโฆษณาคั่นระหว่างบทเรียน ทดลองใช้ฟรีได้ 7 วัน 

10.LyricsTraining

เป็นแอปพลิเคชันที่ให้เราเรียนรู้ไวยากรณ์หรือคลังคำศัพท์ผ่านการฟังเพลงที่เราชอบค่ะ น่าสนใจมากได้ความรู้แถมได้ผ่อนคลายไปในตัวด้วย แอปมีการรองรับภาษาให้เรียนถึง 14 ภาษาค่ะ ทั้ง  ภาษาโปรตุเกส,ภาษาอิตาลี, ภาษาไอริช,ภาษาดัตช์, ภาษาเดนมาร์ก, ภาษาสวีเดน,ภาษาอังกฤต,ภาษาสเปน,ภาษาเยอรมัน ,ภาษาเกาหลี และภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น

ในการเรียนรู้เราต้องฟังเพลงไปพร้อมกดคำตอบ ที่เว้นไว้ตรงเนื้อเพลงให้ถูกต้องสิ่งที่ท้าทายขึ้นเรื่อย ๆ คือมันจะมีตั้งแต่ระดับ beginner ,intermediate , Advanced ไปจนถึง Expert เลยค่ะ สนุกไปอีกแบบเป็นการชาเลนจ์ตัวเอง เพื่อเพิ่มทักษะสกิล 

ดาวน์โหลดได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายบน ios LyricsTraining และ android LyricsTraining  สำหรับทั้งแท็บเล็ต มือถือ ipad 

 

เป็นแอปฝึกภาษาที่เรารวบรวมมาให้ลองใช้งานกันค่ะ เพราะทางเราได้ใช้งานจริงแล้วทั้ง 10 แอปรู้สึกประทับใจเลยอยากมาแบ่งปันเพื่อน ๆ เราเข้าใจว่าบางทีการท่องจำภาษาเยอะ ๆ เป็นเวลานานทำให้ความรู้สึกน่าเบื่อขึ้นมา แถมบางทีไม่อยากจะท่องต่อแล้ว แต่ในปัจจุบันมีแอปมากมายที่มาตอบรับความต้องการเรามากขึ้นไม่ซ้ำจำเจชวนให้อยากฝึกอีกด้วย  ภาพกราฟิกก็น่ารักส่งผลดีต่อการจำ ทางเราหวังว่าทุกคนจะลองหยิบมาใช้งานแล้วสนุกไปกับการเรียนภาษานะคะ

from:https://droidsans.com/10-best-language-learning-apps-2022/

TED Talks ประกาศจับมือกับ Clubhouse จัดรายการทอล์กแบบสดๆ คุยกับผู้ฟังได้ทางบ้านได้

องค์กรไม่แสวงกำไร TED ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของ TED Talks และ TEDx ประกาศเริ่มจัดรายการบนแพลตฟอร์ม Clubhouse โดยนำนักพูดจาก Ted Talks มาคุยกันสดๆ บนแอป Clubhouse

ทอล์กโชว์ที่มีแต่เสียง

รายการแรกคือ Thank Your Ass Off  มาพร้อมกับ A.J. Jacobs นักเขียนและนักพูดจาก TED ผู้ที่เคยพูดเรื่อง “ทำไมการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพเกือบฆ่าผม” และ Mir Harris อดีตผู้บริหารวงการดนตรีและนักพูดบน Clubhouse โดยทางรายการจะมีแขกรับเชิญมาคุยเรื่อง “ฮีโร่ที่ไม่เคยพูดถึง” ในชีวิตของพวกเขา รวมถึงสนทนากับผู้ฟังด้วย

ซื้อตัวผู้บริหารจาก TED

หลายคนอาจจะเดาว่า TED และ Clubhouse จะจับมือกันตั้งแต่ Kelly Stoetzel อดีตหัวหน้าฝ่ายการจัดงานและการเลือกนักพูด (Head of Conferences and Speaker Curator) ของ TED ที่มีประสบการณ์กว่า 17 ปี ได้ย้ายไปทำงานที่ Clubhouse ด้วยตำแหน่งการจัดการผู้นำทางความคิด (Thought Leadership Program) ตั้งแต่เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา

โดย Clubhouse ได้ทำการเพิ่มผู้บริหารที่มีประสบการณ์ในบริษัทระดับโลกหลายตำแหน่งเช่น Maya Watson อดีตผู้บริหาร Netflix หรือจะเป็น Justin Uberti ผู้เคยทำงานที่ Google มา 15 ปีก็ตาม

Carla Zanoni ผู้บริหารฝ่ายการพัฒนาผู้ชมของ TED กล่าวว่า “ภารกิจของ TED คือการเผยแพร่ไอเดียและสนับสนุนการถกเถียงหารือในหัวข้อนั้นๆ มาเสมอ เวลาที่คนได้มารวมตัวกันเพื่อถกเถียงไอเดียต่างๆ นั่นคือเวลาที่สร้างผลกระทบมากที่สุดแล้ว”

การแข่งขันในวงการสูง

การจับมือครั้งนี้ของ Clubhouse กับ TED จะช่วย Clubhouse ได้ หลังจากดีลก่อนหน้านี้ของ Clubhouse กับ NFL ต้องถูกแบ่งสัดส่วนตลาดกับ Twitter Spaces ซึ่งเป็นบริการใหม่จาก Twitter ที่เป็น Social Audio เช่นเดียวกัน อีกทั้งยังต้องแข่งขันกับโซเชี่ยลมีเดียรายอื่นๆ เช่น Facebook และ Spotify อีกด้วย

มีการประเมินมูลค่าบริษัทของ Clubhouse ในการระดมทุนครั้งล่าสุดอยู่ที่ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1.3 แสนล้านบาท โดยในขณะนี้ Clubhouse สามารถใช้ได้ทุกแพลตฟอร์มแล้ว ไม่ได้จำกัดแค่ iOS อีกต่อไป

สรุป

วงการ Social Audio กำลังมาแรง โซเชี่ยลมีเดียรายใหญ่หลายรายเริ่มเข้ามาแข่งขันกันในตลาดแล้ว Clubhouse ผู้ที่นับเสมือนเป็นผู้ริเริ่มหมวดหมู่นี้ต้องหาทางอยู่รอดให้ได้ด้วยตัวเอง ไม่ให้ความนิยมตกไป

ที่มา – Variety, Hollywood Reporter, Mashable, Engadget 1 2

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post TED Talks ประกาศจับมือกับ Clubhouse จัดรายการทอล์กแบบสดๆ คุยกับผู้ฟังได้ทางบ้านได้ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/ted-talks-collabs-with-clubhouse/

TED Talks งานพูดสร้างแรงบันดาลใจทำอีเว้นท์พูดลง Clubhouse ดำเนินรายการทุกสัปดาห์

TED หรืองานพูดสร้างแรงบันดาลใจ ประกาศร่วมมือกับ Clubhouse นำเนื้อหารายการมาลง Clubhouse โดยเนื้อหาตอนแรกคือ Thank Your Ass Off จะเริ่มในวันที่ 12 กรกฎาคมและดำเนินการทุกสัปดาห์ และจะมีรายการใหม่หรือห้องใหม่ๆ เกิดขึ้นด้วยในอนาคต

ภายใต้ความร่วมมือนี้ TED สามารถขายหรือประชาสัมพันธ์โฆษณาได้ โดย Clubhouse จะไม่หักส่วนแบ่ง และเปิดโอกาสให้ TED มีส่วนร่วมกับคนฟังในการตอบคำถามบน Clubhouse

TED ประสบความสำเร็จในแง่ความนิยม จากการเปิดตัว TED Audio Collective หรือเนื้อหาในรูปแบบพอดแคสต์ TED บอกว่ามีคนดาวน์โหลดฟังวันละ 1.65 ล้านครั้ง Spotify บอกด้วยว่าเนื้อหาของ TED ได้รับความนิยมอันดับสองในปี 2020 การร่วมมือกับ Clubhouse ช่วยดึงดูดผู้ใช้ให้อยู่บนแพลตฟอร์ม สู้กับรายใหญ่อื่นที่เริ่มทำห้องคุยเสียงมาแข่งกับตนเองอย่าง Spaces ของทวิตเตอร์เป็นต้น

No Description

ที่มา – The Verge

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/123658

เรียนหนังสืออย่างไรให้สนุกและมีประสิทธิภาพพร้อมแอปแนะนำที่ไม่ควรพลาดในการเรียน

Cover How To Have Fun Studyingหากเบื่อการเรียนแบบเดิมๆ จะทำอย่างไรให้รู้สึกว่าการเรียนเป็นเรื่องน่าสนุก เรามาดูมีวิธีการเรียนที่จะให้ความสนุกเพลิดเพลินมาพร้อมกับประสิทธิภาพที่จะทำให้คะแนนสอบเราติดท๊อปๆ ในห้องเรียนได้ และแนะนำแอปการเรียนสำหรับใช้งานบน iPad ช่วยให้การเรียนของเพื่อนๆ เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นไปอีก ซึ่งทั้งหมดนี้แนะนำโดย Apple ไปชมกันเลยค่ะ เรียนหนังสืออย่างไรให้สนุกและมีประสิทธิภาพพร้อมแอปแนะนำที่ไม่ควรพลาดในการเรียน เรียนหนังสืออย่างไรให้สนุก มีประสิทธิภาพ และลดการใช้กระดาษ ในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนในห้องเรียน และนอกห้องเรียนเปลี่ยนแปลงไปมากตามยุคสมัยและเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ามากขึ้น จากที่เราเคยเห็นนักเรียนถือกระเป๋า หรือสะพายเป้แสนหนักที่เต็มไปด้วยตำราเรียน วันนี้นักเรียน และนักศึกษาหลายคนหันมาพกพา iPad ที่มีน้ำหนักเบา สะดวกในการจดโน้ต บันทึกบทเรียน ตำราเรียน ค้นหาข้อมูล และทำรายงาน ช่วยให้นักเรียนทำการบ้าน หรือรายงานได้สวยงาม มีความน่าสนใจมากกว่าที่เคย และหากใครที่ชื่นขอบการใช้งานโซเชียลมีเดีย จะสังเกตได้ว่ามีแอคเคาน์ใหม่ๆ บน Instagram ที่ให้คำจำกัดความว่าเป็น “Studygram” เพิ่มจำนวนขึ้นทุกวัน Studygram คืออะไร? Studygram เปรียบเสมือนไดอารี่ด้านการเรียนของเหล่าเด็กนักเรียน ที่มีไว้เพื่อแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเทคนิคการเรียน การอ่านหนังสือ และวิธีจดโน้ตที่สวยงาม หลายคนใช้งาน iPad ที่เมื่อจับคู่กับ Apple Pencil แล้วทำให้การเรียนหนังสือสนุกขึ้น เพราะเปิดโอกาสให้ทำอะไรใหม่ๆ ได้มากมาย เมื่อใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไป สามารถสอดแทรกความสนใจ และความชอบส่วนตัวเข้ากับการเรียน […]

from:https://www.iphonemod.net/how-to-have-fun-studying.html

รู้จัก Netflix ให้ดีขึ้น ผ่านมุมมองของหัวหน้าทีมคอนเทนท์ผู้ที่มีเงินเดือนเทียบเท่ากับ CEO

 

Ted Sarandos เป็นข่าวดังหลายครั้งในยุคที่ Netflix ร้อนแรงเช่นนี้ ตั้งแต่ต้นปี Sarandos ถูกรายงานว่าจะได้รับค่าเหนื่อย 31.5 ล้านเหรียญสหรัฐหรือ 999 ล้านบาทในปีนี้ ซึ่งเป็นระดับเท่ากับค่าเหนื่อยของ CEO อย่าง Reed Hastings ไม่นาน Sarandos แถลงเปิดสำนักงานใหม่ที่ Mexico City พร้อมกับประกาศว่ามี 50 โปรเจ็กต์ยักษ์ที่จะเกิดขึ้นใน Mexico ล่าสุดคือ Sarandos ปฏิเสธว่า Netflix ไม่ใช่ “นัก disrupt” และไม่เคยคิดจะเขี่ย Hollywood ให้พ้นทาง

Ted Sarandos เกิดที่เมืองฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา Sarandos มีเชื้อสายกรีกจากปู่และญาติฝ่ายพ่อ จุดนี้ Sarandos เล่าว่าคุณปู่ (Alex Kiriazakis) นั้นเกิดที่เกาะ Samos ก่อนจะย้ายรกรากมาที่อเมริกาในช่วงวัยรุ่นและเปลี่ยนนามสกุลเป็น Sarandos ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมมากบนเกาะ

Sarandos บอกว่าตั้งแต่จำความได้ เขาก็จำได้ว่าต้องการเป็นนักข่าว แต่ทุกอย่างไม่ได้เป็นไปตามใจฝัน และเมื่อไปโรงเรียน Sarandos ก็เลือกทำงานในสโมสรวิดีโอ ซึ่งเป็นงานที่ชอบและทำได้ดีมาก ดังนั้นงานแรกที่ Sarandos ทำเต็มตัวจึงเป็นงานในเครือข่ายวิดีโอขนาดใหญ่ ซึ่ง Sarandos ยอมรับว่ากำไรจากการงานที่ถูกใจเช่นนี้ คือความบันเทิงที่ทำให้เขามีความสุขเสมอ

ความลับสู่ความสำเร็จสำหรับ Sarandos คือการได้อยู่ท่ามกลางผู้คนที่ฉลาดกว่า จุดนี้ Sarandos บอกว่าอย่ากลัวที่จะให้อำนาจแก่คนกลุ่มนี้ รวมทั้งการฟังสิ่งที่คนกลุ่มนี้จะบอกด้วย

ไม่ได้เกลียด Hollywood

Ted Sarandos นั้นมีดีกรีเป็น Chief Content Officer ของ Netflix ที่ผ่านมา Netflix ถูกมองว่าเป็น disruptor ที่แทรกแซงจนทำให้ทีวีและอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล แต่ Sarandos ยืนยันว่าไม่ใช่ พร้อมกับบอกว่า Netflix กำลังพยายามรักษาและขยายอุตสาหกรรมการเล่าเรื่องให้เติบโตได้ต่างหาก

Sarandos ย้ำว่าไม่เคยคิดจะกำจัด Hollywood โดยกล่าวบนเวทีงาน Series Mania ในฝรั่งเศสร่วมกับผู้สร้าง Black Mirror อย่าง Annabel Jones และ Charlie Brooker ว่าไม่เคยปลื้มคำว่า disruptor ที่สื่อมอบให้เนื่องจากมีความหมายเชิงลบ Sarandos บอกว่าคำนี้ติดอยู่ในหัวตลอดเวลาและทำให้รู้สึกว่ากำลังเผาไหม้สิ่งต่างๆมากขึ้น

Sarandos บอกว่านั่นไม่ใช่สิ่งที่เขากำลังทำอยู่ เพราะสิ่งที่เขาและ Netflix กำลังพยายามทำคือรักษาและปรับปรุงรูปแบบการเล่าเรื่องอย่างเป็นรูปธรรม ตรงกันข้ามกับคำว่า disruption ซึ่ง Netflix ไม่เคยต้องการให้ใครหยุดชะงักแบบนั้น

ผู้บริหารคนเก่งจึงย้ำว่า เป้าหมายของ Netflix คือการค้นหาเรื่องราวที่ยอดเยี่ยมจากทุกที่ในโลกและนำไปบอกเล่ากับส่วนอื่นของโลก ที่สำคัญคือ Netflix จะให้โอกาสกับผู้สร้างหน้าใหม่ที่ต้องการบอกเล่าเรื่องราวคุณภาพ เป็นที่มาของการเทเงินทุน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในการผลิตคอนเทนต์ท้องถิ่นทั่วยุโรป รวมถึงซีรีย์ 15 เรื่องที่จะมีโปรดักชันหลายเฟสในฝรั่งเศส

ภาพยนตร์ VS ซีรีส์

ไม่รู้ว่าเป็นเพราะพื้นฐานความชอบชมภาพยนตร์และซีรีส์ของ Sarandos หรือเปล่า แต่วันนี้ Netflix ถูกมองว่าเป็นแบรนด์ที่ทำให้ซีรีส์สไตล์ภาพยนตร์แจ้งเกิดแพร่หลาย ประเด็นนี้ Sarandos คิดว่าทั้งละครซีรีส์และภาพยนตร์ล้วนมีรูปแบบศิลปะที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ทั้งคู่กำลังถูกบริโภคในรูปแบบที่คล้ายกันมากขึ้น ซึ่งเอาจริงๆแล้ว คอภาพยนตร์ก็ไม่ได้แยกความแตกต่าง และอาจมองซีรีย์บางเรื่องที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ ว่าเป็นภาพยนตร์ความยาว 13 ชั่วโมงก็ได้

ประเด็นนี้แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ของทีม Netflix ภายใต้การนำของ Sarandos เพราะไอเดียนี้ทำให้ปลดล็อคความคิดและเพิ่มสีสันทวีคูณจนทำให้โรงภาพยนตร์ถูกหลอมรวมเข้ากับโทรทัศน์ในแบบที่โลกไม่เคยเห็นมาก่อน จุดนี้ Sarandos มองว่าเป็นเรื่องดีที่ผู้บริโภคไม่ต้องเลือกระหว่างโรงภาพยนตร์หรือโทรทัศน์ และในฐานะที่เป็นคนซึ่งชื่นชอบทั้ง 2 ฟอร์แมต Sarandos จึงมั่นใจว่าหนทางของ Netflix เป็นทางที่ถูกต้อง

ท่ามกลางการแข่งขันที่จะดุเด็ดเผ็ดกว่าเดิม Sarandos ยอมรับว่า Netflix มีความเสี่ยงรออยู่ ซึ่งแม้จะรู้ดีว่าเสี่ยง แต่บริษัทก็จำเป็นต้องเต็มใจที่จะก้าวเข้าไปในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน เพราะผลลัพท์ที่ได้อาจจะเป็นได้ทั้งเวทมนต์วิเศษ หรืออาจจะเป็นแค่ความเสี่ยงเรื่องเงินๆทองๆ ที่เจ้าของทุนต้องวางเดิมพันกับนักเล่าเรื่องรายใหม่.

ที่มา: : HollywoodReporter

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2019/04/netflix-ted-sarandos/

Ted Baker โชว์คอลเลกชันใหม่ด้วย chatbot พลัง AI

แบรนด์แฟชั่นอย่าง Ted Baker จัดทัพโชว์ผลงานแฟชั่นฤดูใบไม้ร่วงประจำปีนี้ด้วย chatbot ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI อย่างน่าทึ่ง เพราะสามารถปฏิวัติภาพโชว์ที่เน้นเฉพาะความสวยงาม ให้มีมิติเรื่องการตอบข้อซักถามที่ทำได้แบบเรียลไทม์

แบรนด์ดังที่หลายคนชื่นชอบอย่าง Ted Baker ร่วมมือกับเอเจนซี่ดิจิตอลชื่อ Puzzle สร้างสรรค์ chatbot หรือโปรแกรมตอบอัตโนมัติบนบริการ Facebook Messenger เพื่อทำหน้าที่ตอบคำถามเกี่ยวกับแฟชั่นใหม่ฤดูใบไม้ร่วงที่ Ted Baker จะเริ่มทำตลาดช่วงก่อนปลายปีนี้ โดยผู้ใช้จะสามารถเรียกดูภาพคอลเล็กชันเสื้อผ้าทั้งหมดเพื่อเป็นแรงบันดาลใจสำหรับซื้อสินค้าภายในแอป Messenger ด้วย

ผู้ช่วยอัจฉริยะ

Ted Baker ตั้งชื่อผู้ช่วยของบริษัทว่า “Seemore” ผู้ช่วยอัจฉริยะนี้จะสามารถตอบคำถามมาตรฐานทั่วไป และช่วยให้ลูกค้าติดตามใบสั่งซื้อ ซึ่งจะถูกผูกพ่วงเข้ากับระบบข้อมูลบริการลูกค้าแบบไร้รอยต่อ

ตัวระบบ Seemore นี้เองที่ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อให้สามารถตอบคำถามได้ถูกต้อง และเป็นคำตอบที่เข้ากับลูกค้าแต่ละคนมากขึ้น

เบื้องต้น Ted Baker จำกัดให้ระบบผู้ช่วยนี้ รองรับชุมชนผู้ใช้ Facebook ในอังกฤษเท่านั้น จุดนี้ Craig Smith ผู้อำนวยการฝ่ายการพาณิชย์ดิจิทัลของ Ted Baker กล่าวในการแถลงการณ์ว่า chatbot จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของบริษัท โดยการตอบคำถามที่ทีมบริการลูกค้าอยู่อาศัยมักจะได้รับอยู่เสมอ

ระบบผู้ช่วยอัตโนมัติของ Ted Baker อย่าง Seemore ถือเป็นระบบล่าสุดในตลาด chatbot ทั่วโลกซึ่งคาดว่าจะเติบโตได้เกือบ 25% ในช่วง 4 ปีข้างหน้า ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นในการบริการลูกค้าอาจช่วยให้แบรนด์ลดค่าใช้จ่ายสำหรับการสอบถามข้อมูลทั่วไปและการติดตามคำสั่งซื้อ คาดว่าภายในปี 2023 ระบบ chatbot จะช่วยให้ธุรกิจค้าปลีก ธนาคาร และบริการดูแลสุขภาพ สามารถประหยัดงบประมาณส่วนนี้ได้มากกว่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ตามการประเมินของ Juniper Research)

ที่มา: : MobileMarketing

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/09/ted-baker-chatbot-ai/

แบบนี้โลกชอบ “Small Thing Big Idea by TED”

Small Thing Big Idea เป็นรายการซีรียส์วิดีโอของ TED ที่เรียกยอดชมและยอดแชร์บน Facebook ได้ถล่มทลาย วิดีโอล่าสุดที่นำดีไซน์เนอร์มาเล่าเรื่อง “กระดุม“ นั้นเรียกยอดชมได้มากกว่า 2 ล้านครั้งในเวลาไม่ถึง 2 วัน ถือเป็นอีกกรณีศึกษาที่ผู้สร้างเนื้อหาวิดีโอควรศึกษา ในฐานะวิดีโอที่โลกอยากชม

เพจ Small Thing Big Idea ได้เพิ่มตอนใหม่เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา วิดีโอใหม่มีคำบรรยายว่า “How the simple button changed the world, according to fashion designer Isaac Mizrahi:” โดยดีไซเนอร์ Isaac Mizrahi มาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของ “กระดุม” ที่เปลี่ยนโลกได้อย่างเหลือเชื่อ

เกล็ดความรู้ดูง่ายนี้มีความเป็นสากลมาก ยอดรับชมเกิน 2 ล้าน ครั้งในเวลารวดเร็ว จำนวนผู้แสดงความรู้สึกเกิน 2 พันครั้ง ยอดแชร์ขณะนี้ 8,408 ครั้ง ยังไม่นับรวมกับความเห็นมากกว่า 200 ครั้ง ที่ใช้วิธีแท็กชื่อเพื่อนให้เข้ามาร่วมชม

ก่อนหน้านี้ เพจ Small Thing Big Idea ของ TED เสนอเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวอย่างบันได ดินสอ ที่กระโดดเชือก รวมถึงความอัจฉริยะของแผนที่สถานีรถไฟลอนดอน โดยเพียงช่วง 1 เดือนที่เริ่มเผยแพร่ 6 วิดีโอความยาวไม่เกิน 4 นาทีนี้ มีผู้ติดตามเพจแล้ว 89,719 คน

https://www.facebook.com/plugins/video.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FSmallThingBigIdea%2Fvideos%2F1344073369072021%2F&show_text=0&width=560

สิ่งที่น่าสนใจจากเพจ Small Thing Big Idea คือวิดีโอของ TED ดูง่าย ฟังเพลิน และที่สำคัญคือมีความรู้ที่เข้าถึงทุกคนทั่วโลก ความสากลของเนื้อหาใน Small Thing Big Idea เป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้เนื้อหาในเพจเหมาะกับผู้ชมทุกประเทศ ทุกภาษา แถมยังชมได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้หลายคนหลงรักและยกเป็นอีกเพจในดวงใจซึ่งแบรนด์ควรศึกษาและทำความเข้าใจหากต้องการเข้าถึงมวลชนระดับโลก

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2018/02/small-thing-big-idea-by-ted/

Hans Rosling ศาสตราจารย์ผู้โด่งดังจาก TED Talk เสียชีวิตด้วยวัย 68 ปี

Hans Rosling ศาสตราจารย์ด้านระบบสุขภาพ ผู้ก่อตั้ง Gapminder องค์กรเพื่อการเผยแพร่ข้อเท็จจริงให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย และโด่งดังในระดับโลกจากการพูดในงาน TED Talk เมื่อปี 2006 (วิดีโอเผยแพร่ปี 2007) ได้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งด้วยวัย 68 ปี

เขาชอบเรียกตัวเองว่าผู้ให้การศึกษาแบบบันเทิง (edutainer) การนำเสนอของเขาทำให้คนเข้าใจข้อมูลที่ซับซ้อนได้ง่ายยิ่งขึ้นจากการนำเสนอข้อมูลหลายมิติให้กลายเป็นภาพเคลื่อนไหวพร้อมกับการจัดเรียงข้อมูลที่เห็นภาพได้ง่าย

ทาง Gapminder ระบุว่าจะประกาศแผนพิธีไว้อาลัยหลังจากนี้

ที่มา – BBC, Gapminder

https://www.youtube-nocookie.com/embed/hVimVzgtD6w

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/89906

อีกด้านของ TEDxBangkok กับสิ่งเล็กๆ ที่ทำให้ความน่าสนใจของงานลดลงได้โดยไม่รู้ตัว

เมื่อวันเสาร์ที่ 20 สิงหาคม ที่ผ่านมา ณ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ สยามสแควร์วัน มีงาน TEDxBangkok ถูกจัดขึ้น งานนี้ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างล้นหลาม เราเห็นกระแสในสื่อสังคมออนไลน์แรงมาก ส่วนใหญ่บอกไปในทางเดียวกันว่า “ปีหน้าต้องไปดูสดให้ได้”

ถึงกระนั้น ผู้เขียนขอนำเสนอเรื่องราวอีกด้านของงานที่ประสบด้วยตนเอง และบางส่วนเป็นคำบอกเล่าจากคุณพ่อของผมที่ไปร่วมงานมา

งาน TEDxBangkok เป็นงานสัมมนาที่ได้รับลิขสิทธิ์มาจาก TED Conferences, LLC ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งสถานะของงาน TED Conference โดยปกติถือเป็นงานสำหรับ “ไฮโซ” หรือที่บางคนอาจจะเรียกว่า “elite” (อีลีท) นั่นเอง เพราะค่าเข้าแพงมาก

สำหรับงาน TED 2017 – The Future You ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 24-28 เมษายนปีหน้า เปิดจำหน่ายบัตรปกติราคา 8,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.94 แสนบาท (จำหน่ายหมดแล้ว) โดยเป็นงานต่อเนื่อง 5 วัน จัดที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ตลอดงานนอกจากการพูดยาว 18 นาทีในแต่ละเซสชัน จะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เช่นการจัดแสดงเทคโนโลยีต่างๆ, อาหารเครื่องดื่ม, งานปาร์ตี้ หรือแม้กระทั่งกิจกรรมโยคะตอนเช้า

นอกจากนี้ยังมีบัตรแบบ Donor ราคา 17,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.87 แสนบาท) ที่จะได้รับสิทธิพิเศษมากขึ้น เช่นได้เลือกที่นั่งก่อน, มีบริการจองที่นั่ง หรือบริการจองห้องโรงแรม และบัตรแบบแพงสุดชื่อ Patron ราคา 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 5.18 ล้านบาท) อันนี้จะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมงาน TED ยาว 5 ปี และได้รับสิทธิพิเศษเต็มที่

คำว่า TED ย่อมาจาก Technology, Entertainment, Design ซึ่งเป็นหัวข้อหรือธีมหลักของงานในยุคแรกตั้งแต่ปี 1990 แต่หลังจากนั้นก็ขยายมาครอบคลุมหัวข้ออื่นด้วย เช่นวิทยาศาสตร์, การศึกษา และวัฒนธรรม ซึ่งในอดีตมีผู้พูด หรือที่เรียกว่า speaker ชื่อดังมากมาย เช่น Bill Clinton นักการเมืองสหรัฐฯ, Bill Gates ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์, Jimmy Wales ผู้ร่วมก่อตั้ง Wikipedia หรือแม้กระทั่ง Larry Page และ Sergey Brin ผู้ก่อตั้งกูเกิล ก็เคยผ่านเวที TED มาแล้วทั้งสิ้น

อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ Bill Clinton บนเวที TED เมื่อปี 2007 || ภาพโดย advencap

แม้ค่าเข้าร่วมงานจะแพงมาก แต่การพูดกว่า 2,200 เซสชัน หรือที่เรียกว่า TED Talks ก็ถูกอัดวิดีโอไว้และเปิดให้คนทั่วไปเข้ารับชมย้อนหลังได้ฟรีทั้งหมด

เมื่อชื่อเสียงของงาน TED เริ่มแพร่กระจายออกไป ก็มีผู้ชื่นชอบทั่วโลกอยากจัดงานแนวนี้บ้าง จึงเป็นที่มาของ TEDx ในลักษณะการขอลิขสิทธิ์มาเพื่อจัดงานเองในเมืองต่างๆ ทั่วโลก เช่น TEDxMünchen ที่เยอรมนี หรือ TEDxHyderabad ที่อินเดีย ซึ่งในประเทศไทยเคยจัด TEDx ขึ้นหลายครั้งแล้ว โดยครั้งใหญ่เคยมีที่จังหวัดเชียงใหม่ แต่งานใหญ่ครั้งแรกที่จัดในกรุงเทพมหานครชื่อ TEDxBangkok เกิดขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน 2558 โดยอาสาสมัครหลายท่าน

พิเชษฐ กลั่นชื่น หนึ่งในผู้พูดจากงาน TEDxBangkok ปี 2558

บัตรเข้าร่วมงาน TEDxBangkok มี 2 ประเภท คือ บัตรราคา 1,500 บาทสำหรับบัตรปกติ และราคา 3,000 บาทสำหรับบัตร Angel Ticket ที่จะนำสิทธิ์เข้าชม 1 สิทธิ์ไปมอบให้กับบุคคลที่ทำกิจกรรมเพื่อสังคม

ทีมงานอาสาสมัครเบื้องหลัง TEDxBangkok มีประสบการณ์การจัดงานมาแล้วถึง 2 ครั้ง ผู้เขียนพบว่าก็ยังมีการทำอะไรแปลกๆ ที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น จะเขียนแยกเป็นข้อๆ

ไม่เปิดเผยรายชื่อผู้พูดก่อนขายบัตร

ข้อนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นไอเดียที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง โดยผู้จัดงานบอกว่าไม่ต้องการให้ผู้ฟังยึดติดกับตัวผู้พูด, อาชีพ และสถานะทางสังคมของผู้พูด เนื่องจากต้องการโน้มน้าวให้ผู้ฟังเชื่อว่าความรู้และไอเดียที่ดีสามารถมาจากใครก็ได้ ตามสโลแกนของ TED ที่ว่า Ideas Worth Spreading

ผู้เขียนคิดว่าสโลแกนนี้ไม่ได้มีจุดประสงค์อย่างนั้น เพราะ TEDxBangkok ไม่เปิดเผยแม้กระทั่งรายชื่อหัวข้อที่จะพูดในงาน หากแต่ชูเพียงคอนเซ็ปต์ LEARN, UNLEARN, RELEARN ซึ่งไม่ได้ช่วยในการตัดสินใจจ่ายเงินค่าบัตรแม้แต่น้อย ลองคิดดูว่าหากงานนี้ไม่มีชื่อ TED จะสามารถทำแบบนี้ได้หรือ

การไม่เปิดเผยรายชื่อผู้พูด จึงเป็นเหมือนการโฆษณาชวนเชื่อว่าผู้ฟังจะได้รับ “สิ่งที่เป็นประโยชน์” โดยที่ผู้ฟังไม่ทราบรายละเอียดใดๆ เลย และต้องเสี่ยงนำเงิน 1,500 หรือ 3,000 บาทไปพนันไว้กับทีมเตรียมเนื้อหา หรือ curator ว่าพวกเขาจะทำหน้าที่ได้ดี และนำเนื้อหาที่ถูกใจเรามานำเสนอได้หรือไม่

การกระทำเช่นนี้เปรียบเหมือนกับการสั่งสินค้าล่วงหน้า หรือ “พรีออเดอร์” ที่คนขายชักชวนให้สั่งรองเท้าสักคู่ พร้อมโฆษณาว่าเป็นรองเท้าที่ใส่สบาย และดีไซน์สวยงาม แต่คนซื้อไม่มีโอกาสได้เห็นสินค้าก่อนเลย

อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนอยากให้เปิดเผยรายชื่อผู้พูดในงานครั้งต่อไป พร้อมทั้งรายการหัวข้อที่จะพูด เพื่อที่จะได้เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่อยากไปจริงๆ ได้เข้าร่วมงาน ส่วนคนที่ “เฉยๆ” กับหัวข้อและ/หรือผู้พูด ก็สามารถรับชมการถ่ายทอดสดอยู่ที่บ้านได้ ทั้งสองทางสามารถรับเนื้อหาได้อย่างเท่าเทียมกัน และยังคงคอนเซ็ปต์ Ideas Worth Spreading ไว้ได้ครบถ้วน

หากเข้าไปดูเว็บไซต์ TEDx ของที่อื่น เช่น TEDxStuttgart และ TEDxBerlin ทั้งสองที่ได้ประกาศรายชื่อผู้พูดไว้อย่างชัดเจน และไม่เห็นจะเป็นผลร้ายแต่อย่างใด

ถึงแม้งาน TED หลัก อย่าง TED 2017 – The Future You จะไม่เปิดเผยรายชื่อผู้พูด แต่บนเว็บไซต์ก็มีคำโปรยให้ผู้คนได้รับรู้ว่าจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์, จิตวิทยา, การแพทย์, สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ฯลฯ แต่ TEDxBangkok กลับไม่เปิดเผยอะไรเลย นอกจากวันเวลา และสถานที่

คำถามคัดคนเข้าร่วมงาน ที่ดูเผินๆ เหมือนจะดี แต่อาจทำให้ผู้สมัครหมดความสนใจไปเลย

เนื่องจากงานนี้เป็นที่สนใจจากผู้คนหลากหลาย ทำให้ไม่สามารถขายบัตรให้ทุกคนได้ และไม่ต้องการใช้วิธีมาก่อนได้ก่อน หรือ first-come, first-served ทาง TED เลยมีวิธีการ “คัดคน” เข้าร่วมงานโดยการให้ตอบคำถามชุดหนึ่ง ส่วนใหญ่ก็เป็นการขอให้เล่าเกี่ยวกับตัวผู้สมัครว่าเป็นใคร ทำอาชีพอะไร มีอะไรอยากบอกทีมงาน ฯลฯ ทีมงานจะอ่านคำตอบจากผู้สมัครทุกคน และตัดสินว่าใครมีสิทธิ์ซื้อบัตรเข้างาน

ระหว่างที่ผู้เขียนกำลังอ่านแบบฟอร์มผ่านๆ อยู่นั้นก็ได้สะดุดกับคำถามหนึ่งข้อ ผมจำคำถามเป๊ะๆ ไม่ได้ แต่ถามประมาณว่า “คุณได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรไปแล้วบ้าง?” เนื่องจากผู้เขียนเป็นเพียงคนธรรมดาๆ ที่เพิ่งเรียนจบ ไม่เคยได้รับรางวัลอะไร ชีวิตไม่ได้มีกิจกรรมอะไรที่แปลกแตกต่างจากคนอื่น เพียงแต่สนใจเข้าร่วมงานเท่านั้น เลยลองคิดดูว่า “อืม เราเคยสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างเนี่ย” และพบว่าคิดไม่ออก

คำถามนี้สร้างความรู้สึกแปลกๆ ขึ้นในใจ ว่าการที่เราไม่เคยสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไร ทำให้เราไม่สามารถเข้าร่วมงานได้เชียวหรือ ผมมองว่ามันเป็นการสร้าง “กำแพง” ขึ้นระหว่างผู้สมัครและผู้จัดงาน ด้วยคำถามที่ดูดี แต่กลับกลายเป็นการขับไสผู้สนใจไปเสียอย่างนั้น ผมจึงเลื่อนเมาส์ไปกดปิดหน้าเว็บ TEDxBangkok และไม่คิดจะกลับไปสมัครอีก อันนี้เป็นอีกข้อที่ผู้จัดงานควรระมัดระวังและใส่ใจกับการตั้งคำถามมากกว่านี้

ขู่ให้จ่ายเงินให้เสร็จภายใน 15 นาที

เมื่อคุณพ่อผมตอบคำถามได้ และได้รับเลือกให้เข้าร่วมงาน ก็ได้รับอีเมลหนึ่งฉบับเป็นลิงค์ให้เข้าไปจ่ายเงินที่เว็บไซต์ Eventpop เมื่อเข้ามาถึงหน้าจ่ายเงิน ก็พบกับกล่องสีชมพูแสบตาดึงความสนใจของผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี ในกล่องเป็นนาฬิกานับถอยหลัง 15 นาที พร้อมกับข้อความ “ขู่” ว่าให้จ่ายเงินให้เรียบร้อยก่อนหมดเวลา มิฉะนั้นจะปล่อยตั๋วให้คนอื่น

การกระทำแบบนี้ไม่ควรเกิดขึ้น นี่คืองานสัมมนาธรรมดาๆ ไม่ใช่การแย่งซื้อตั๋วเครื่องบินราคาถูก ไม่ว่าไอเดียการใส่นาฬิกานับถอยหลังแบบนี้จะเป็นของใคร (ทีมงาน TEDxBangkok หรือ Eventpop) ผู้ใช้ไม่สนใจหรอกครับเพราะคุณเป็นพาร์ทเนอร์กัน สิ่งที่ผู้ใช้สนใจคือ “ทำไมฉันต้องโดนขู่แบบนี้ด้วย” คุณพ่อผมรู้สึกไม่พอใจ และตัดสินใจไม่จ่ายเงิน

อย่างไรก็ตาม พวกเราพบว่านาฬิกานับถอยหลังนั้นเป็นแค่การ “หลอก” ผู้ใช้ให้รีบจ่ายเงิน เพราะมาลองเข้าลิงค์จ่ายเงินดังกล่าวในภายหลังก็ยังจ่ายได้เหมือนเดิม ไม่ได้ปล่อยบัตรให้คนอื่นตามที่บอกไว้แต่อย่างใด สุดท้ายคุณพ่อผมก็ตัดสินใจจ่ายเงิน เพราะอยากไปร่วมงาน และชอบ TED ของฝรั่งมานานแล้ว

คิดค่าบริการหยุมหยิม

ความน่าผิดหวังกับระบบชำระเงินยังไม่หมดเพียงแค่นั้น แต่เรายังเจอการเก็บค่าบริการหยุมหยิมแบบไม่น่าจะมีหากคุณอยากทำตัวให้เป็นมืออาชีพ นอกจากค่าบัตรราคา 1,500 บาทแล้ว เรายังถูกเก็บเงิน “ค่าบริการ” ที่บนเว็บเขียนว่า “Service Fee” เป็นจำนวน 26.75 บาท และ “ค่าดำเนินการ” (Processing Fee) เป็นจำนวน 50.53 บาท รวมแล้วต้องจ่ายทั้งหมด 1,577.28 บาท

แน่นอนว่าเงินเกือบ 80 บาทที่เกินมาเราสามารถจ่ายได้ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือเรารู้สึกว่า “ทีมงานไม่แสดงความเป็นมืออาชีพ” และเลือกที่จะทำธุรกิจแบบสายการบินต้นทุนต่ำบางราย (ทั้งๆ ที่อยากจัดงานตามรอย TED ของฝรั่ง) ก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ซื้อ สู้คุณคิดค่าบัตรเข้าชมงานเป็นจำนวนเงิน 1,600 บาทไปเลยยังดีกว่า

นี่เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ความสนใจเข้าร่วมงานของเราลดลงไปพอสมควร

ให้ผู้เข้าร่วมงานนั่งรับประทานอาหารกับพื้น

เมื่อถึงวันงานกลับมีอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ผู้จัดงานน่าจะทำได้ดีกว่านี้ นั่นคือการให้ผู้เข้าร่วมงานนั่งรับประทานอาหารกับพื้น อย่าลืมว่ากว่าจะเข้าร่วมงานได้ต้องตอบคำถามแข่งกันก่อน ผู้สมัครมาจากหลากหลายอาชีพ บวกกับเก็บค่าเข้าร่วมงานสูงถึง 1,500 บาท จึงเป็นเรื่องของกาลเทศะที่ผู้จัดงานควรจัดหาสถานที่รับประทานอาหารให้เหมาะสมกว่านี้

ครั้งสุดท้ายที่ผู้เขียนนั่งกินข้าวกับพื้นน่าจะเป็นสมัยเข้าค่ายหรือไปทัศนศึกษาตอนมัธยมนะครับ หากสถานที่จัดงานไม่เอื้ออำนวยก็น่าจะหาสถานที่อื่นได้ไม่ยากนัก

โดยรวมแล้ว คุณพ่อผมชมผู้จัดว่าจัดงานได้ดี (ดีกว่าปีที่แล้วด้วย) ทีมงาน curator สรรหาผู้พูดมาได้น่าสนใจ ไม่ไหลไปกับกระแสสังคมที่มีคนจำนวนไม่น้อยเชิดชูคนเขียนคำคมที่เราก็รู้ว่าใคร และเชิญเขามาพูดในงาน รวมถึงก็ได้ข้อคิดและความรู้เพิ่มขึ้น (คนอื่นในงานจะสนใจเหมือนกันหรือไม่ก็ไม่ทราบ เพราะทุกคนก็ซื้อบัตรมาโดยไม่รู้อะไรเลย) ทำให้เหตุการณ์ที่กล่าวมาข้างต้นกลายเป็นเพียง “เรื่องน่ารำคาญ” ไปแทน และไม่ใช่สิ่งที่จะนำมากล่าวโจมตีว่างานนี้จะแย่ไปเสียทุกอย่าง ซึ่งเรื่องน่ารำคาญเหล่านี้สามารถถูกปรับปรุงได้ในอนาคต (ทำไม่ยากด้วย) หากผู้จัดงานน้อมรับที่จะนำไปปฏิบัติ

สุดท้ายผู้เขียนขอชื่นชนอาสาสมัครทีมงาน TEDxBangkok ทุกคนที่ตั้งใจจัดงาน และขอให้นำปัญหาข้างต้นไปพิจารณาแก้ไขต่อไปครับ

อ้างอิง

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/84867

ไมโครซอฟท์ต้องการให้คอนเทนท์บน HoloLens พร้อมกว่านี้ ก่อนออกสู่ตลาดผู้ใช้ทั่วไป

Alex Kipman จากไมโครซอฟท์ เผยในงานสัมมนา TED ที่เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา ว่าบริษัทต้องการให้คอนเทนท์บน HoloLens พร้อมกว่านี้ก่อนปล่อยผลิตภัณฑ์สู่ตลาดผู้ใช้ทั่วไป ซึ่งอาจต้องใช้เวลาพอสมควร

เขาเชื่อว่าถ้าหากขาย HoloLens ให้กลุ่มลูกค้าทั่วไปในเวลานี้ จะสามารถใช้งานความสามารถได้ไม่กี่อย่างเท่านั้น และจะถูกวางจนฝุ่นจับแน่ๆ ซึ่งเหมือนกับ Kinect ที่ทำยอดขายได้ดี แต่สุดท้ายกลับไม่ค่อยมีเกมที่สามารถใช้ความสามารถของมันได้เต็มประสิทธิภาพ

ที่มา – Re/code

HoloLens, Microsoft, TED, Kinect

from:https://www.blognone.com/node/78118