คลังเก็บป้ายกำกับ: ROCKET_INTERNET

Alibaba เข้าซื้อกิจการ Daraz อีคอมเมิร์ซจากปากีสถาน เน้นตลาดเอเชียใต้

Rocket Internet บริษัทโฮลดิ้งที่เป็นเจ้าของสตาร์ทอัพหลายแห่ง ประกาศว่ากลุ่ม Alibaba จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ Daraz อีคอมเมิร์ซในเครือจากปากีสถาน ที่เน้นทำตลาดอยู่ในเอเชียใต้ ด้วยมูลค่าที่ไม่มีการเปิดเผย

Daraz ก่อตั้งในปี 2012 และเป็นอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมในปากีสถาน ต่อมาได้ขยายตลาดสู่ บังกลาเทศ, เมียนมาร์, ศรีลังกา และเนปาล ซึ่งตลาดทั้งหมดที่ Daraz อยู่นั้นมีประชากรรวมกัน 460 ล้านคน จึงถือเป็นโอกาสเติบโตเช่นกัน ซึ่งหลังจากดีลนี้ Daraz จะยังดำเนินงานภายใต้แบรนด์เดิม

ก่อนหน้านี้ Alibaba เคยซื้อกิจการอีคอมเมิร์ซที่มาจาก Rocket Internet ซึ่งก็คือ Lazada นั่นเอง

ที่มา: TechCrunch และ Rocket Internet

alt="Daraz"

from:https://www.blognone.com/node/102098

สตาร์ตอัพส่งอาหาร Delivery Hero เตรียมขายหุ้น IPO แล้ว

Delivery Hero สตาร์ตอัพส่งอาหารถึงบ้าน ในสังกัด Rocket Internet ของเยอรมนี เตรียมเข้าขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ตราวเดือนกรกฎาคมนี้ คาดว่าจะระดมทุน 1 พันล้านยูโร ส่งผลให้บริษัทอาจมีมูลค่าถึง 4 พันล้านยูโร หรือ 4.5 พันล้านดอลลาร์

ข่าวการขายหุ้นของ Delivery Hero ยังไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการ แต่สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าววงใน และซีอีโอของ Delivery Hero ก็ไม่ปฏิเสธข่าวนี้ บอกแค่ว่าพร้อมสำหรับ IPO แล้ว แต่ยังไม่ระบุช่วงเวลาหรือปริมาณเงินที่ต้องการระดมทุน

ข่าวการระดมทุนของ Delivery Hero ถือเป็นความหวังของ Rocket Internet ต้นสังกัดผู้สร้างชื่อจากการปั้นสตาร์ตอัพจำนวนมาก เพราะช่วงหลังกิจการในเครือ Rocket ไม่ค่อยดีนัก และบริษัทในเครือรายสุดท้ายที่เข้าขายหุ้น IPO สำเร็จคือร้านขายแฟชั่นออนไลน์ Zalando ที่ขายหุ้นในปี 2014 หลังจากนั้นบริษัทต้องพับแผนการนำ HelloFresh บริการซื้อสินค้าสดจากซูเปอร์มาร์เก็ตเข้าตลาดหลักทรัพย์ไป

Delivery Hero ก่อตั้งในปี 2011 ที่เบอร์ลิน มีฐานที่มั่นหลักอยู่ในยุโรป แต่ก็มีธุรกิจในอเมริกาใต้และเอเชียหลายประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย (ภายใต้ชื่อ Foodpanda ที่ซื้อกิจการมาเมื่อปลายปี 2016)  บริษัทมีรายได้ในไตรมาสล่าสุด 121 ล้านยูโร แต่ไม่เปิดเผยว่าธุรกิจมีกำไรหรือไม่

ที่มา – Reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/delivery-hero-to-ipo/

Rocket Internet ทิ้งหุ้น Zalora ในฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

Zalora อีคอมเมิร์ซขายเสื้อผ้าแฟชั่นในเครือ Rocket Internet ประสบปัญหาในหลายประเทศ ก่อนหน้านี้ Rocket Internet ขายกิจการ Zalora ในไทยและเวียดนามให้กลุ่มเซ็นทรัลไปแล้ว ล่าสุด Zalora ประกาศถอนตัวออกจากตลาดฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียแล้ว

Rocket ขายหุ้นที่ถืออยู่ 49% ใน Zalora Philippines ให้กับ Ayala ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของฟิลิปปินส์ ส่วนในอินโดนีเซียก็เจรจาขายหุ้นแบบเดียวกันให้ MAP ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ เจ้าของห้างจำนวนมากในประเทศอินโดนีเซีย

เหตุผลสำคัญที่ Zalora ต้องถอนตัวก็คงหนีไม่พ้นภาวะตลาดที่แข่งขันรุนแรง มีธุรกิจอีคอมเมิร์ซหลายรายเข้าไปชิงตลาดเหล่านี้ (โดยเฉพาะในอินโดนีเซีย)

ปัจจุบัน Zalora เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม GFG (Global Fashion Group) ที่ Rocket Internet ถือหุ้นอยู่ ประเทศที่ Zalora เข้าไปทำธุรกิจได้แก่ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน

รายละเอียดเพิ่มเติมของ Rocket Internet ในช่วงหลัง

ที่มา – TechCrunch

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/zalora-philippines-indonesia/

Foodpanda ขายกิจการให้สตาร์ทอัพคู่แข่ง Delivery Hero ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย

Delivery Hero สตาร์ทอัพให้บริการส่งอาหารจากเยอรมนี ประกาศเข้าซื้อสตาร์ทอัพคู่แข่งที่ให้บริการเหมือนกันคือ Foodpanda ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย ซึ่ง Foodpanda เองก็เป็นสตาร์ทอัพจากเยอรมนีเช่นกัน ที่สำคัญดีลนี้มีความน่าสนใจเนื่องจากทั้ง 2 สตาร์ทอัพ ต่างให้บริการเหมือนกัน และมีผู้ลงทุนหลักคือ Rocket Internet ทั้งคู่

Delivery Hero มีมูลค่ากิจการจากการเพิ่มทุนครั้งล่าสุด 3.1 พันล้านดอลลาร์ ให้บริการใน 33 ประเทศ และมีคำสั่งซื้อราว 18 ล้านคำสั่งต่อเดือน ขณะที่ Foodpanda ให้บริการใน 22 ประเทศรวมทั้งไทย โดยมีคำสั่งซื้อราว 2 ล้านคำสั่งต่อเดือน การซื้อกิจการนี้จะทำให้ Delivery Hero ขยายตลาดเพิ่มอีกในหลายประเทศ

เว็บไซต์ Tech In Asia ตั้งข้อสังเกตว่าดีลนี้เป็นทางออกที่จำเป็นสำหรับ Foodpanda ซึ่งช่วงที่ผ่านมามีทั้งการขายธุรกิจในรัสเซีย, พยายามขายธุรกิจในอินโดนีเซีย รวมถึงเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นในเอเชีย

ที่มา: Reuters

Foodpanda

from:https://www.blognone.com/node/88131

เกิดอะไรขึ้นเมื่อนักโคลน Startup อย่าง Rocket Internet ประกาศขาดทุน 682 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

Brand Inside เคยนำเสนอเรื่องราวของ Rocket Internet ไปก่อนหน้านี้แล้ว (อ่านได้ที่นี่) นี่คือบริษัทจากเยอรมันนักปั้นและโคลน Startup จากประเทศพัฒนาแล้ว (เช่น สหรัฐอเมริกา) แล้วมาให้บริการในประเทศกำลังพัฒนา ถ้าบอกชื่อ Lazada ทุกคนน่าจะร้องอ๋อ ถือเป็นหนึ่งใน Startup ที่ Rocket Internet สร้างขึ้น และขายให้กับ Alibaba

วันนี้ทาง Techniasia ได้รายงานว่า Rocket Internet ประกาศว่า บริษัทขาดทุน 682 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการดำเนินการ 9 เดือนแรกที่ผ่านมา!!

rocket-internet-logo

การขาดทุนดังกล่าวมีสัญญาณเตือนมาโดยตลอด ซึ่งปัจจัยหลักยังคงเป็นเรื่องเดิม เช่น การลดมูลค่าของบริษัทที่ลงทุน เช่น The Global Fashion Group หรือ GFG ที่มูลค่าหายไปกว่า 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงการลงทุนใน Startup หลายตัวที่มีผลประกอบการขาดทุน

ทั้งนี้ Rocket Internet ได้ออกมาประกาศว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะบริษัทยังมีเงินสดในธนาคารกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่รวมอีกว่า 1,160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าใน Startup ที่ลงทุนไป

อย่างไรก็ตาม ยังต้องดูกันต่อไปอีกยาวๆ ว่าสถานะทางการเงินของ Rocket internet จะเป็นอย่างไร เพราะยังมี Startup ในเครือข่ายอีกเป็นร้อยบริษัท

rocket-1

ตัวอย่างผลประกอบการ Startup ในเครือของ Rocket Internet เช่น Foodpanda บริการส่งอาหาร มีรายได้ 34.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน 9 เดือนแรก เติบโต 102.3% เทียบกับปีที่แล้ว แต่ในภาพรวมยังขาดทุนอยู่ 43 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

หรือ Jumia เป็น e-Commerce ในแอฟริกา รายได้ 57.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปีก่อน 52.4% สรุปขาดทุน 81.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และในกลุ่ม GFG (ที่มีเว็บที่คนไทยรู้จักดี อย่าง Zalora) เพิ่งประกาศผลประกอบการขาดทุน 106 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

rocket-2

ปัจจุบันราคาในตลาดหุ้นของ Rocket Internet ปิดที่ 19.10 ดอลลาร์สหรัฐ (วันพุธ) ลดลงกว่า 50% จากราคา IPO ที่ 39.31 ดอลลาร์สหรัฐ

** ตัวเลขในข่าวเป็นดอลลาร์สหรัฐ แต่ตัวเลขในรูปเป็นยูโร เนื่องจาก Rocket Internet เป็นบริษัทในเยอรมัน

ที่มา: https://www.techinasia.com/rocket-internet-results-q3-2016

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/rocket-internert-announce-lost/

ขายอีก Rocket Internet ขายบริษัทส่งอาหารในรัสเซีย ให้ Mail.ru 100 ล้านดอลลาร์

Rocket Internet บริษัทปั้นสตาร์ทอัพผู้อยู่เบื้องหลังสตาร์ทอัพส่งอาหารสด Foodpanda ประกาศว่าได้ขายกิจการส่งอาหารสาขารัสเซีย หรือ Russian Delivery Club ให้กับ Mail.Ru Group (บริษัทอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่อันดับต้นๆ ในรัสเซีย) ในราคา 100 ล้านดอลลาร์ ด้าน Foodpanda ระบุว่า การขายนี้ช่วยให้เราโฟกัสที่ภูมิภาคที่เราตั้งอยู่มากขึ้น

ถือเป็นช่วงเวลาสั้นๆ สำหรับการมีอยู่ของ Foodpanda ในรัสเซีย โดย Foodpanda เข้ามาในรัสเซียปี 2012 ขยายใหญ่ขึ้นในปี 2014 และ 2016 ก็ขายไป

ส่วน Rocket Internet ที่ถือหุ้น Foodpanda 49% ก็ยังคงมีข่าวคราวขายสตาร์ทอัพที่ตัวเองปั้นมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งใน สเปน อิตาลี บราซิล เม็กซิโก และอินโดนีเซีย

ที่มา – Techcrunch

from:https://www.blognone.com/node/86937

ขาลงของ Rocket Internet สตาร์ตอัพผู้ปั้นและโคลนสตาร์ตอัพ?

เมื่อพูดถึงชื่อ Rocket Internet คนที่ไม่ได้ติดตามวงการสตาร์ตอัพต่างประเทศอาจไม่คุ้นเคยกับชื่อนี้มากนัก แต่ถ้าบอกว่า Rocket Internet คือบริษัทที่ปั้นสตาร์ตอัพอย่าง Lazada, Foodpanda หรือบริการหน้าใหม่ที่เริ่มเข้ามาบุกตลาดบ้านเราอย่าง Traveloka, HelloFresh และ Delivery Hero (รวมถึง Easy Taxi ที่เคยเข้ามาบ้านเราช่วงสั้นๆ) เชื่อว่าทุกคนคงต้องร้องอ๋อ

rocket-internet-logo

รู้จักประวัติของ Rocket Internet สตาร์ตอัพผู้ปั้นสตาร์ตอัพ

Rocket Internet เป็นบริษัทจากเยอรมนี (สำนักงานใหญ่อยู่ที่เบอร์ลิน) ภารกิจของบริษัทคือ “ปั้นสตาร์ตอัพ” ในประเทศกำลังพัฒนา โดยอาศัยวิธี “ลอก” โมเดลของสตาร์ตอัพในโลกตะวันตก (โดยเฉพาะในสหรัฐ) แล้วโคลนโมเดลของสตาร์ตอัพเหล่านั้น กระจายไปยังประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป เอเชีย แอฟริกา หรืออเมริกาใต้

Rocket Internet ก่อตั้งเมื่อปี 2007 โดยสามพี่น้องตระกูล Samwer ซึ่งเคยประสบความสำเร็จกับการสร้างบริษัทยุคดอทคอมบูม และเคยขายบริษัทอีคอมเมิร์ซให้ eBay มาแล้ว

เป้าหมายของ Rocket คือทุกที่ในโลก ยกเว้นสหรัฐและจีน
เป้าหมายของ Rocket คือทุกที่ในโลก ยกเว้นสหรัฐและจีน

แนวคิดของ Rocket Internet ไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นบริษัทลงทุน Venture Capital (VC) แต่เป็นบริษัทที่ลงมาทำเรื่องการดำเนินงาน (operation) ด้วย เมื่อ Rocket พบโมเดลบริษัทที่น่าสนใจ ก็จะใช้พนักงานของตัวเองลองเข้าไป “โคลน” โมเดลของบริษัทนั้นในประเทศอื่นๆ และเซ็ตธุรกิจช่วงแรกจนเริ่มเดินหน้าได้ จากนั้น Rocket ก็จะหา “ผู้ก่อตั้ง” (founder) ซึ่งมักเป็นนักธุรกิจหน้าใหม่หรือเด็กจบใหม่ไฟแรง มารันธุรกิจต่อ แล้วดึงผู้บริหารของตัวเองออกมาเพื่อไปปั้นธุรกิจอื่นต่อไป

Rocket อ้างว่าจุดเด่นของตัวเองคือการใช้ know-how ที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งๆ (เช่น ทำบริษัทส่งอาหาร เจอปัญหา เรียนรู้วิธีแก้ปัญหา) แล้วสามารถนำมาถ่ายทอดบทเรียนให้กับบริษัทคล้ายๆ กันในประเทศอื่นได้ ช่วยเร่งความเร็วการเติบโตของสตาร์ตอัพได้มากขึ้น

ตัวอย่างบริษัท (เพียงส่วนหนึ่ง) ในเครือ Rocket
ตัวอย่างบริษัท (เพียงส่วนหนึ่ง) ในเครือ Rocket

Rocket Internet ประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงแรก บริษัททำกำไรได้จากการขายสตาร์ตอัพให้ธุรกิจอื่นๆ (ตัวอย่างที่ชัดเจนคือขาย Lazada ให้ Alibaba นอกจากนี้ก็เคยขาย CityDeal ให้ Groupon) รวมถึงเงินปันผลจากกำไรที่ได้ในสตาร์ตอัพของตัวเอง หลังเปิดบริษัทมา 7 ปี บริษัทก็ใหญ่ถึงระดับเข้าขายหุ้น IPO ในตลาดหลักทรัพย์แฟรงค์เฟิร์ตได้สำเร็จ ถือเป็นการทำ IPO ครั้งใหญ่ของวงการไอทีในเยอรมนีเสียด้วย

ปัจจุบัน Rocket มีพนักงานมากถึง 30,000 ราย (นับจากสตาร์ตอัพในเครือทั้งหมด) ใน 120 ประเทศ ซึ่งน่าจะมากเป็นอันดับต้นๆ ของวงการสตาร์ตอัพสายไอที

วิดีโอแนะนำธุรกิจของ Rocket Internet

มนต์ขลังเริ่มเสื่อมคลาย

แต่ช่วงหลัง ผลประกอบการของ Rocket Internet กลับถดถอยลง บริษัทเพิ่งประกาศว่าขาดทุนในครึ่งแรกของปีนี้ถึง 617 ล้านยูโร และราคาหุ้นของ Rocket ตกลงมาถึง 53% (ปัจจุบันราคาหุ้นประมาณ 17 ยูโร เทียบกับช่วงสูงสุดที่ 57 ยูโรต่อหุ้น)

นักวิเคราะห์เริ่มวิจารณ์ผลประกอบการทางการเงินของบริษัท และนักลงทุนที่มาร่วมลงทุนกับ Rocket เริ่มถอนตัวออกไป

ปัญหาของ Rocket เกิดจากสตาร์ตอัพในสังกัดของ Rocket ไม่ประสบความสำเร็จในช่วงหลัง หลายรายขาดทุนจนต้องปิดตัว หรือต้องลดมูลค่าของบริษัท (valuation) ลงจากเดิม

ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ HelloFresh สตาร์ตอัพส่งของสดถึงบ้าน ถือเป็นการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดของ Rocket ด้วย กลับประสบปัญหาขาดทุนจนต้องปิดสาขาในบางประเทศแล้ว ส่วน Home24 บริษัทส่งเฟอร์นิเจอร์ก็เจอปัญหาบั๊กซอฟต์แวร์ทำให้ส่งของผิดพลาดจำนวนมาก จนลูกค้าถอยหนี

นอกจากนี้ กองทุน Kinnevik ของสวีเดิน ที่ร่วมลงทุนกับ Rocket มาตลอด ก็ไม่ร่วมงานกันต่อหลังหมดสัญญาระยะเวลา 5 ปี ด้วยเหตุผลที่ว่ากันว่า Rocket หันมาทำธุรกิจลงทุนในสตาร์ตอัพที่เติบโตแล้วแข่งกับ Kinnevik และ Rocket มีวิธีประเมินมูลค่าสตาร์ตอัพเกินจริงไปมาก

Oliver Samwer ผู้นำของ Rocket Internet ให้สัมภาษณ์กับ Bloomberg ตอบโต้เสียงวิจารณ์ว่าตอนนี้ Rocket ไม่ได้สนใจการนำบริษัทในเครือไปขายหุ้น IPO หรือขายให้บริษัทอื่นอีกต่อไป แต่เป้าหมายของ Rocket คือสร้างบริษัทและดำเนินธุรกิจต่อไปแบบยาวๆ

คณะผู้บริหารของ Rocket พี่น้องตระกูล Samwer ในวันขายหุ้น IPO
คณะผู้บริหารของ Rocket พี่น้องตระกูล Samwer ในวันขายหุ้น IPO

อะไรคือปัญหาของ Rocket Internet?

Bloomberg วิเคราะห์ว่าปัญหาของ Rocket เกิดจากปัจจัยหลายอย่างผสมกัน ทั้งระบบผลตอบแทนพนักงานที่ไม่ดีพอ (ต่อให้เป็น “ผู้ก่อตั้ง” ก็ได้หุ้นในบริษัทนั้นน้อยมาก เฉลี่ยแล้วเพียงแค่ 3% จากหุ้นทั้งหมด และเงินเดือนก็ไม่ได้เยอะอะไรนัก) และการเลือกปฏิบัติของ Samwer ต่อพนักงานบางกลุ่ม ทำให้พนักงานระดับสูงหลายๆ คนทยอยลาออกไปหมดแล้ว

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยภายนอก ทั้งการแข่งขันจากสตาร์ตอัพหน้าใหม่ๆ ที่สนับสนุนโดย VC ในยุโรปและในสหรัฐ รวมถึงโมเดลการโคลนสตาร์ตอัพของ Rocket ที่อาจเริ่มใช้ไม่ได้ผลอีกแล้ว เพราะเดิมที Rocket นำโมเดลเดิมจากประเทศพัฒนาแล้วมาใช้ในประเทศกำลังพัฒนา แต่ตอนนี้สตาร์ตอัพในประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย กลับเป็นผู้บุกเบิกโมเดลธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ แทน

ข้อมูลจาก Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/rocket-internet-sruggle/

Rocket Internet ปิดบริการ Kaymu ตลาดอีคอมเมิร์ซใน 2 ประเทศอาเซียน

kaymu-cambodia-750x373

Kaymu เป็นบริการตลาดออนไลน์ในเครือ Rocket Internet ล่าสุดเจ้าพ่อแดนเมืองเบียร์ประกาศปิดบริการ Kaymu ในประเทศฟิลิปปินส์และกัมพูชา ถือเป็นสัญญาณสะท้อนทิศทางการแข่งขันในตลาดที่ไม่คึกคักเท่าที่ควร

การปิดตัวของ Kaymu สาขากัมพูชานั้นถูกประกาศอย่างเป็นทางการบนเว็บไซต์แล้วตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยบนเพจให้ข้อมูลว่า Kaymu จะยังคงให้บริการในบังกลาเทศ ปากีสถาน ศรีลังกา เนปาล และซาอุดิอาระเบียต่อไป

Niroshan Balasubramaniam ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการของ Kaymu เคยให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Tech in Asia เมื่อกันยายน 2015 ปีที่แล้วว่าเป้าหมายของบริษัทคือตลาดประเทศที่มีโอกาสเติบโตสูงในธุรกิจค้าปลีก แต่ยังไม่มีการจัดตั้งห้างสรรพสินค้าหรือผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในประเทศ ซึ่งภาวะเช่นนี้จะทำให้คนชั้นกลางมีภาวะอั้นซื้อ และ “hungry for consumption” หรือกระหายที่จะซื้อหามาบริโภคในที่สุด

ก่อนหน้านี้ Kaymu Cambodia มีพนักงานราว 36 คนบนสินค้า 12,000 ชิ้น โดยตัวเลขของสำนักงานสาขาฟิลิปปินส์ไม่ปรากฏข้อมูล

การปิดบริการใน 2 ประเทศของ Kaymu ตอกย้ำว่า Rocket Internet กำลังพยายามจัดโครงสร้างธุรกิจของตัวเองด้วยการรวมศูนย์เพื่อให้เกิดความคล่องตัว โดยมิถุนายนที่ผ่านมา Rocket ระบุว่าจะผนวกรวมเว็บอีคอมเมิร์ซอีกแห่งอย่าง Daraz เข้ากับบริการของ Kaymu ในเอเชีย เพื่อรวมศูนย์บริหารงานเข้ากับสำนักงานในปากีสถาน

ที่มา : TechinAsia

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2016/10/rocket-internet-shuts-three-markets-asia/

ลงทุนไม่เข้าเป้า บริษัทจอมปั้นสตาร์ตอัพ Rocket Internet ขาดทุนปีนี้เกือบ 700 ล้านดอลลาร์

Rocket Internet เจ้าของบริษัทสตาร์ทอัพและธุรกิจออนไลน์อีกหลายเจ้า และยังเป็นเจ้าของเดิมของ Lazada ออกมาประกาศผลประกอบการบริษัทว่าขาดทุนถึง 691 ล้านดอลลาร์ แต่ยังคงคาดหวังว่าจะกลับมาทำกำไรภายในสิ้นปี 2017 ส่วนสาเหตุการขาดทุนทางบริษัทระบุว่าเป็นปัญหาในกลุ่ม Global Fashion Group หน่วยธุรกิจที่เป็นเจ้าของ Zalora

เมื่อมาดูตัวเลขย้อนหลังจะพบว่ากิจการสินค้าแฟชั่น-อีคอมเมิร์ซในเครือ Rocket Internet มีมูลค่าลดลงอย่างเห็นได้ชัด จากในปี 2015 ที่มีมูลค่าถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์ ลงมาเหลือเพียง 1.1 พันล้านดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม 2016

ส่วนตัวเลขมูลค่าบริษัทในกลุ่ม Global Fashion Group ช่วงครึ่งปีแรกปีนี้ มีเพียง 32.5 ล้านดอลลาร์ จากที่ปี 2015 มี 79.5 ล้านดอลลาร์

นอกเหนือจากกลุ่มแฟชั่นหรือ Global Fashion Group แล้ว Rocket Internet ยังเป็นเจ้าของกิจการอื่นอีกมาก เช่น ท่องเที่ยว (Traveloka) ส่งอาหาร (FoodPanda, Delivery Hero) เป็นต้น

ที่มา – Tech in Asia

from:https://www.blognone.com/node/85216

Easy Taxi ถอนตัวจากตลาดเอเชีย กลับไปโฟกัสตลาดละตินอเมริกา

Easy Taxi บริการเรียกแท็กซี่จากบราซิล ที่เคยมาทำตลาดในบ้านเราแข่งกับ GrabTaxi/Uber และเงียบไปในช่วงหลัง ประกาศถอนตัวจากการทำธุรกิจในเอเชียอย่างเป็นทางการแล้ว

ในทางกลับกัน Easy Taxi จะหันไปทุ่มเทให้กับตลาดละตินอเมริกาที่ตัวเองแข็งแกร่งมาก มีธุรกิจใน 16 ประเทศ และมีเมืองที่ให้บริการแท็กซี่เยอะกว่า Uber ด้วยซ้ำ ก่อนหน้านี้ Easy Taxi เพิ่งควบรวมกับ Tappsi สตาร์ตอัพเรียกแท็กซี่จากโคลอมเบีย เพื่อขยายฐานในภูมิภาคละตินอเมริกาให้กว้างกว่าเดิม

Easy Taxi เป็นบริษัทสตาร์ตอัพในสังกัด Rocket Internet กลุ่มทุนใหญ่จากเยอรมนีที่ลงทุนในสตาร์ตอัพจำนวนมาก (รวมถึง Lazada ในบ้านเราด้วย)

ที่มา – TechCrunch

Easy Taxi, Rocket Internet, Sharing Economy, Taxi, Transportation

from:https://www.blognone.com/node/76567