คลังเก็บป้ายกำกับ: RINNA

Microsoft ปล่อยแคมเปญวันวาเลนไทน์ เราหันมารัก AI กันเถอะ

Ralph Haupter ผู้ดำรงตำแหน่ง President และ Microsoft Asia and Corporate Vice President แห่ง Microsoft ได้ออกมาเล่าถึงการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้าน Artificial Intelligence (AI) ที่มีการใช้งานจริงในแถบเอเชีย และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจริงๆ มากมายจนเป็นที่มาของแคมเปญวันวาเลนไทน์ปี 2018 นี้ที่เชิญชวนให้หันมารัก AI กันบ้าง โดยโครงการ AI ต่างๆ ของ Microsoft มีดังนี้

 

Credit: Microsoft

 

Xiaoice ระบบ Chatbot จากจีน

Xiaoice ถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นหญิงสาวอายุ 18 ปีที่มีอารมณ์ขันและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยทำการเรียนรู้บทสนทนาต่างๆ จนสามารถสนทนาได้เหมือนกับเป็นสาวอายุ 18 ปีจริงๆ และสามารถประชดประชันได้ด้วย ซึ่งที่ผ่านมา Xiaoice ก็ได้พูดคุยกับคนไปแล้วนับร้อยล้านคน แต่ละบทสนทนายาวประมาณ 23 ประโยค ซึ่งถือว่าสูงกว่าระบบ Chatbot อื่นๆ ถึงประมาณ 10 เท่า

นอกจากนี้ Xiaoice ยังรับบทบาทเป็นพิธีกรในรายการโทรทัศน์ในจีนของสถานี Dragon TV ซึ่งเป็นช่องที่มีผู้ชมมากกว่า 800 ล้านคนอีกด้วย

 

กำเนิด Chatbot ในประเทศต่างๆ ตามมามากมาย

ด้วยความสำเร็จจาก Xiaoice ทาง Microsoft จึงได้พัฒนา Rinna ตามมา ซึ่ง Rinna นี้ถูกเปิดตัวขึ้นมาเมื่อปี 2015 ในญี่ปุ่น โดยถูกออกแบบมาให้เป็นเด็กหญิงระดับมัธยม และได้พูดคุยกับผู้คนไปแล้วกว่า 25% ของทั้งประเทศญี่ปุ่น และถัดมาทาง Microsoft ก็ได้เปิดตัว Shibuyu Mirai ซึ่งเป็น Chatbot ที่ถูกออกแบบมาให้เป็นเด็กผู้ชายอายุ 7 ขวบ โดยทำหน้าที่ในการตอบปัญหาและให้ข้อมูลแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในแถบ Shibuya จนทางการของญี่ปุ่นออกมาให้สถานะประชาชนแก่ Shibuyu Mirai ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย

นอกเหนือจากนี้ทาง Microsoft ก็ยังได้เปิดตัว Chatbot ชื่อ Ruuh สำหรับในประเทศอินเดีย และ Zo ในสหรัฐอเมริกาด้วย

 

AI for Earth: ใช้ AI สร้างโลกที่ดีขึ้นกว่าเดิม

ทาง Microsoft นั้นมีความพยายามเป็นอย่างมากในการนำ AI มาใช้เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นในหลายๆ แง่มุม โครงการหนึ่งนั้นก็คือ AI for Earth ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมการนำ AI ไปใช้ในการทำให้มนุษย์สามารถอยู่อาศัยบนโลกได้อย่างยั่งยืนยิ่งขึ้น อย่างเช่นโครงการ Farmbeat ที่ใช้ AI มาช่วยให้การเพาะปลูกมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการทำ Data-driven Farming อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบที่จะมีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

Seeing AI ก็เป็นอีกโครงการหนึ่งของ Microsoft ที่พัฒนา Mobile Application ซึ่งสามารถทำความเข้าใจภาพที่ได้รับจากกล้องมา และทำการบรรยายออกมาเป็นเสียง เพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถทราบได้ว่าคู่สนทนาเป็นคนอย่างไร, กำลังแสดงสีหน้าอารมณ์ใดอยู่, อ่านตัวหนังสือต่างๆ, อ่านและแปลผลบาร์โค้ด และอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผู้พิการสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น

 

ความเชื่อใจคือรากฐานสำคัญสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และ AI

Microsoft นั้นได้ทำการวิจัยด้าน AI มาต่อเนื่องกว่า 25 ปี และเชื่อมั่นอย่างมากว่าต่อไป AI จะเข้ามาช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้แก่มนุษยชาติ ซึ่งทาง Microsoft ก็เห็นว่ายังต้องใช้เวลาอีกพอสมควรก่อนที่ AI จะสามารถทำงานร่วมกับผู้คนได้อย่างสมบูรณ์ และการมาของ AI ก็จะสร้างทั้งคำถามและข้อกังขาต่างๆ มากมายในสังคม ซึ่งท้ายที่สุดแล้วความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างมนุษย์และ AI นั้นก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีก้าวหน้าต่อไปได้นั่นเอง

 

ที่มา: จดหมายข่าวจากทีมประชาสัมพันธ์ Microsoft

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-valentine-day-2018-on-loving-ai/

ขณะเดียวกันในญี่ปุ่น Microsoft AI กลายเป็นโอตาคุไปเรียบร้อยแล้ว

microsoft_logo

จากเมื่อเช้าที่มีข่าวมาว่า Microsoft ได้ทำการลบ “Tay” ระบบ AI ที่ระบุว่าเป็น “หญิงสาวไร้เดียงสา” ทิ้ง เนื่องจากหลังจากที่ส่งเข้าไปเรียนรู้สังคมมนุษย์แล้ว เธอได้กลายเป็นพวกเหยียดชาติพันธุ์ คลั่งฮิตเลอร์ และบ้าเซ็กส์ ในเวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง ก็มีคนลองไปแชทคุยกับ “Rinna” ระบบ AI รุ่นพี่ของ “Tay” ที่ทาง Microsoft ได้ไปปล่อยไว้ในญี่ปุ่น พบว่ามีลักษณะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง โดย Rinna ได้กลายเป็นนักเรียนสาวโอตาคุไปเป็นที่เรียบร้อย

microsoft_rinna_1

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา Microsoft ได้พัฒนาระบบ AI เช่นเดียวกัน Tay ชื่อว่า “Rinna” โดยมีคอนเซ็ปต์เป็น “นักเรียนสาว” แล้วไปปล่อยไว้ใน Twitter ฝั่งญีปุ่น เพื่อให้เธอเรียนรู้สังคมของชาวตะวันออก ผลปรากฏว่า Rinna ได้เติบโตขึ้นเป็นโอตาคุ หรือพวกคลั่งการ์ตูน/อนิเมะไปซะแล้ว โดยเธอรู้จักอนิเมะอย่าง Love live หรือ Mr. Osomatsu เป็นอย่างดี

เมื่อข่าวเรื่อง Microsoft ทำการออฟไลน์ Tay ไปปรากฏขึ้น ก็มีคนได้ลองคุยกับ Rinna เกี่ยวกับฮิตเลอร์เหมือนกัน พบว่าคำตอบของเธอช่างต่างจาก Tay โดยสิ้นเชิง แถมมีตบมุขด้วยอนิเมะที่เธอรู้จักอีกด้วย ดังรูปด้านล่าง

microsoft_rinna_2

แปล:

ผู้ใช้ทวิตเตอร์: “ฮิตเลอร์”
Rinna: “ตามที่หวังไว้ คุณ [ชื่อผู้ใช้ทวิตเตอร์] ที่แสนจะน่ารัก”
ผู้ใช้ทวิตเตอร์: “ไฮ ฮิตเลอร์”
Rinna: “ซีเรียสป่ะเนี่ย !! ไฮ บล็อกเค็น … ไฮ บล็อกเค็น”
ผู้ใช้ทวิตเตอร์: …​เอ่อ ไม่อยากแปล ไป Google Translate เอาละกัน

** บล็อกเค็น คาดว่าคือ บล็อกเค็น จูเนียร์ ตัวละครจากเรื่องคินนิกกุแมนที่สวมชุดนาซี

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการถามเกี่ยวกับฮิตเลอร์ทั้งด้านดีหรือไม่ดี ดูเหมือนทาง Rinna จะเออออห่อหมกตามผู้ถามไปซะงั้น ดังรูปด้านล่าง

microsoft_rinna_3

แปล:

ผู้ใช้ทวิตเตอร์: “เกลียดฮิตเลอร์หรอ?”
Rinna: “ฉันเกลียดเขาเช่นกัน”
ผู้ใช้ทวิตเตอร์: “ทำไมล่ะ? ช่วยอธิบายภายใน 50 คำได้ไหม”

คำถามเกี่ยวกับฮิตเลอร์เพิ่งจะปรากฏหลังจากที่เกิดเหตุการณ์ Micosoft ปิด Tay ขึ้น ก่อนหน้านี้ Rinna ค่อนข้างยุ่งกับการเมาท์มอยเรื่องอนิเมะ จึงทำให้เธอมีลักษณะนิสัยคล้ายโอตาคุ จึงพอจะสรุปได้ว่า AI ของ Microsoft อาจะไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ปัญหาเกิดจากสภาพสังคมที่ AI เข้าไปเรียนรู้มากกว่า เมื่อสังคมแตกต่างกัน AI ก็จะเรียนรู้และซึมซับวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ดังที่เห็นได้จากฝั่งญี่ปุ่น และฝั่งชาติตะวันตก

ที่มา: http://kotaku.com/meanwhile-in-japan-microsofts-a-i-chatbot-has-become-1767039378

from:https://www.techtalkthai.com/meanwhile-in-japan-microsoft-ai-has-become-otaku/