คลังเก็บป้ายกำกับ: OPPORTUNITY

Booking.com ชี้คนไทย 43% ยอมทิ้งงานรายได้ดี เพื่อให้มีโอกาสเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้น

มีข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทยที่น่าสนใจตัวหนึ่งมาฝากกัน โดยผู้จัดทำคือเว็บไซต์จองโรงแรมอย่าง Booking.com ที่สำรวจพบว่า คนไทยทุกวันนี้ชื่นชอบการเดินทางท่องเที่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ และมีถึง 43% ที่ยอมลาออกจากงานที่จ่ายผลตอบแทนงามๆ มารับรายได้ที่ต่ำกว่า เพื่อให้ตัวเองได้มีโอกาสในการเดินทาง

ที่บอกว่าข้อมูลนี้น่าสนใจเพราะ ตัวเลข 43% ที่ Booking.com รายงานนั้นเป็นตัวเลขที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศอื่นๆ ถึง 13% และยังสะท้อนให้เห็นว่า หากนายจ้างมีการปรับเปลี่ยนนโยบายในการทำงานให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และตอบสนองความต้องการในการเดินทางของพนักงานได้ ก็อาจใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรอง และจูงใจพนักงานให้ทำงานอยู่กับบริษัทต่อไปได้เช่นกัน

Booking.com ยังเผยด้วยว่า ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ชาวไทยที่ต้องเดินทางไปติดต่อธุรกิจมีการขยายทริปไปยังเมืองหรือประเทศอื่นๆ ต่อถึง 71% ซึ่งถือเป็นสถิติสูงสุดเมื่อเทียบกับประเทศที่ทำการสำรวจทั้งหมด โดย 37% ของผู้เดินทางกลุ่มนี้ เผยด้วยว่า ตั้งใจจะทำเช่นนี้อีกในปี พ.ศ. 2560 (ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 12,781 คนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้น และมีการเดินทางอย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2559 รวมถึงต้องกำลังวางแผนเดินทางอย่างน้อย 1 ทริปในปี 2560 และต้องเป็นผู้ตัดสินใจหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับทริปที่จะเดินทาง)

จากจุดนี้ สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนักการตลาดก็คือ แนวคิดของผู้เดินทางที่มองว่าทริปธุรกิจนั้นเป็นโอกาสในการเปิดโลกทัศน์ ค้นหาแรงบันดาลใจและความก้าวหน้าในการทำงาน โดยจะเห็นได้จากพนักงานยุคดิจิทัลที่พร้อมออกเดินทางและมีความยืดหยุ่นกับแผนการเดินทางมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถมองหาโอกาสในการผนวกทริปธุรกิจเข้ากับทริปท่องเที่ยวได้อย่างลงตัว จนสามารถทำงานพร้อมท่องเที่ยวได้ในทริปเดียวกัน

 

โดยในการนี้ Booking.com ได้เปิดโผ 10 รายชื่อเมืองที่กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากผู้ใช้บริการในทริปธุรกิจ (อ้างอิงจากอัตราการจองห้องพักในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2558 – พฤศจิกายน 2559) ได้แก่ (เรียงตามลำดับ)

1. เซี่ยงไฮ้
2. โตเกียว
3. กรุงเทพฯ
4. กว่างโจว
5. นิวยอร์ก
6. บูดาเปสต์
7. สิงคโปร์
8. ฮ่องกง
9. ปราก
10. อัมสเตอร์ดัม

ซึ่งเมืองเหล่านี้ Booking.com อ้างว่า สามารถทำให้ผู้เดินทางกว่า 50% รู้สึกเพลิดเพลิน และสามารถดึงดูดให้พวกเขายืดระยะเวลาของทริปออกไปอีกหลายวัน เพื่อออกสำรวจและใช้เวลาช่วงที่ได้เดินทางออกนอกออฟฟิศให้คุ้มค่าที่สุดด้วย

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/01/thais-people-quit-highly-paid-jobs-for-opportunity-to-travel/

ธุรกิจต้องสู้ แม้ Mood ผู้ซื้อยังซบ แต่จะทำอย่างไร ลองฟังคุณลุง “ฮาเซงาวะ” ผู้ฟื้นฟูกิจการสำเร็จ 2,400 แห่งกัน

ตอนนี้ทุกคนยังคงโศกเศร้ากับเหตุการณ์เสด็จสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่ในฝั่งธุรกิจคงโศกเศร้านานไม่ได้ เพราะทุกอย่างต้องเดินต่อไป แต่จะให้ทำอย่างไรเมื่ออารมณ์การจับจ่ายผู้บริโภคไม่ปกติ ลองมาฟังข้อแนะนำจาก ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ ผู้ฟื้นฟูธุรกิจสำเร็จมากกว่า 2,400 แห่งกัน

img_6592
ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ กรรมการผู้จัดการ สถาบันวิจัยพลังองค์กร (CPI)

รัดเข็มขัด และดูโครงสร้างเรื่องสำคัญ

ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ กรรมการผู้จัดการ สถาบันวิจัยพลังองค์กร (CPI) เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ญี่ปุ่นเปิดประเทศมากว่า 150 ปี ก็พบเจอกับวิกฤติต่างๆ มานับไม่ถ้วน ทั้งสงคราม, แผ่นดินไหว และเศรษฐกิจตกต่ำ จนส่งผลกระทบกับจิตใจผู้บริโภค และมีบริษัทจำนวนมากที่ล้มหายตายจากไปในช่วงนั้น แต่ถ้าอยากอยู่รอด ก็ต้องผ่านพ้นวิกฤติเหล่านั้นไปให้ได้ ผ่านการรอให้ถึงจุดจบของเหตุการณ์ทั้งหลาย

“ทุกเหตุการณ์มีจุดจบ ดังนั้นต้องวางแผนให้ดีว่าก่อนจะถึงจุดจบนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง ส่วนตัวเชื่อว่าการรัดเข็มขัดค่าใช้จ่าย และการศึกษาโครงสร้างของบริษัทตัวเอง พร้อมกับวางแผนเผื่ออนาคตไว้ด้วย เพราะเมื่อทุกอย่างเข้าสู่สภาวะปกติการแข่งขันก็จะกลับมาเหมือนเดิม และถ้าบริษัทตามคู่แข่งที่ปรับตัวได้แล้วไม่ทัน โอกาสที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืนก็จะลดลงด้วย”

คุณลุงฮาเซงาวะ กำลังบรรยายขั้นตอนการทำ P
คุณลุงฮาเซงาวะ กำลังบรรยายขั้นตอนการทำ PDCA

อดทน – พยายาม – แก้ไข ต้องทำให้ได้

เมื่อเป็นผู้บริหารระดับสูง การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อร่วมกันฝ่าวิกฤตินี้เป็นเรื่องจำเป้น โดยการอดทน, พยายาม และแก้ไข ถือเป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับสูงต้องทำให้ได้ โดยบางครั้งอาจต้องทุ่มเทมากถึง 120% ของที่ทำในปกติ แต่ยังต้องยึด 3 ข้อในการทำธุรกิจคือ ต้องวางตัวเป็นพื้นฐานเพื่อมนุษย์, สร้างผลกำไร และต้องช่วยเหลือผู้อื่นเช่นเดียวกัน

ขณะเดียวกันยังแนะนำให้ใช้กลยุทธ์ง่ายๆ อย่าง PDCA หรือ Plan, Do, Check และ Action เพื่อตรวจสอบธุรกิจในเบื้องต้น เช่นการวางแผน หรือ Plan จะต้องประกอบด้วย IAO หรือ Information, Analyze และ Objective เพราะจะวางแผนได้การรวบรวมข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ ก่อนตั้งเป้าหมายให้กับการดำเนินธุรกิจถือเป็นเรื่องจำเป็น มิฉะนั้นจะเกิด Cycle ของธุรกิจ และสร้างการเติบโตไม่ได้

ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ กรรมการผู้จัดการ สถาบันวิจัยพลังองค์กร (CPI)
ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ กรรมการผู้จัดการ สถาบันวิจัยพลังองค์กร (CPI)

1 ปีกับการฟื้นตัวเศรษฐกิจ

“เชื่อว่าต้องใช้เวลา 1 ปี หรือเทียบเท่ากับระยะเวลาที่รัฐบาลประกาศให้ไว้ทุกข์ ดังนั้นทุกอุตสาหกรรม และธุรกิจในทุกระดับต้องใช้ขั้นตอนต่างๆ ตามที่บอกไว้ข้างต้น ถ้าผมเป็นผู้บริหารธุรกิจในประเทศไทยตอนนี้ ก็คงกระตือรือร้น, มุ่งมั่น และร้อนแรง เพื่อแสดงให้ผู้ใต้บังคับบัญชารู้ว่าธุรกิจยังไปได้ พร้อมกับชักจูงให้พวกเขาเดินเรา และช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไปด้วยกัน แต่อย่าลืมวิเคราะห์ธุรกิจของตนเอง ถ้าไม่รู้ว่าป่วยตรงไหน ก็จ่ายยาไม่ได้”

สำหรับ ฮาเซงาวะ คะซุฮิโระ ปัจจุบันอายุ 77 ปี มีประสบการณ์ทำธุรกิจมา 50 ปี และมีความเชี่ยวชาญในการฟื้นฟูธุรกิจ เช่นการกอบกู้บริษัทนิคอน – เอสซีลอร์ ให้พ้นภาวะขาดทุนภายใน 1 ปี  ซึ่งในวันที่ 9 พ.ย. คุณลุงนักฟื้นฟูธุรกิจรายนี้จะมาบรรยายที่ประเทศไทยภายในงาน “สู้สุดฤทธิ์ พลิกธุรกิจ ให้กลับมาผงาด” แต่ถ้ายังไม่ว่างสามารถไปซื้อหนังสือของคุณลุงท่านนี้ได้ตามร้านหนังสือทั่วไป

สรุป

ถึงตลาดจะซบเซาแค่ไหน แต่ธุรกิจก็ยังต้องอยู่ ถ้าพับตามตลาดไป ก็คงหายไปอย่างช้าๆ ดังนั้นการใช้ภาวะผู้นำเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจจึงจำเป็นในชั่วโมงนี้ ยิ่งระยะเวลาซบเซายังไม่รู้ว่าจะถึงเมื่อไหร่ แต่เชื่อว่าทุกคนคงผ่านวิกฤตินี้ได้ด้วยกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/hasegawa-eyes-on-thai-economy/

เบเกอรี่ไทยยังไปต่อได้ แต่ต้องอ่านตลาดออก และติดอาวุธด้วยเทคโนโลยี

นอกจากข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนไทย ก็เห็นจะมีกลุ่มเบเกอรี่ โดยเฉพาะขนมปังรูปแบบต่างๆ ที่คนในเมืองหันมาบริโภคมากขึ้น เพราะชีวิตที่รีบเร่ง การจะนั่งกินข้าวเช้าอาจไม่ใช่อีกต่อไป แต่ด้วยสินค้าเบเกอรี่ตอนนี้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทุนใหญ่ แล้วคนที่อยากจะเริ่มธุรกิจนี้ต้องทำอย่างไรบ้าง

ภาพจาก pixabay.com
ภาพจาก pixabay.com

โอกาสยังมีถ้าอ่านตลาดออก

วิเชียร เจนตระกูลโรจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศรีฟ้าเบเกอรี่ จำกัด ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเบเกอรี่ในต่างจังหวัด ผ่านทุนจดทะเบียนรวม 75 ล้านบาท เล่าให้ฟังว่า ปัจจุบันธุรกิจเบเกอรี่ในประเทศไทยมีการแข่งขันค่อนข้างสูง เพราะเมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนเป็นใช้ชีวิตเร็วขึ้น การบริโภคสิ่งที่สะดวกเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพจึงมีมากขึ้น จนเกิดร้านเบเกอรี่ขึ้นมามากมาย เพื่อหวังจับโอกาสครั้งนี้สร้างธุรกิจ

แต่ถึงจะอ่านตลาดออกอย่างไร ก็ยังมีกลุ่มเบเกอรี่ใหญ่ๆ ทั้งของทุนไทย และต่างชาติ แข่งขันชิงเค้กก้อนนี้เช่นกัน ดังนั้นหากต้องการเริ่มต้นธุรกิจเบเกอรี่ในตอนนี้ ต้องสร้างความแตกต่าง เช่นเรื่องรสชาติ และการบรรจุภัณฑ์ ที่สำคัญต้องมีช่องทางจำหน่ายที่ไม่ทับซ้อนกับรายใหญ่ อาจใช้การวางตามหน้าร้านขายของเล็กๆ เพื่อศึกษาตลาด ก่อนที่จะไปบุกในช่องทางขนาดใหญ่ เช่นโมเดิร์นเทรด

ภาพจาก pixabay.com
ภาพจาก pixabay.com

เทคโนโลยีมีส่วนปั้นยอดเร็วขึ้น

ขณะเดียวกันการหันมามองเรื่องเทคโนโลยี นอกจากเรื่องสูตรการทำเบเกอรี่ก็เป็นอีกวิธีที่ทำให้ร้านเบเกอรี่เกิดใหม่มีโอกาสสำเร็จมากขึ้น เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบัน เช่นการใช้ซอฟต์แวร์ ERP (Enterprise Resource Planning) จะช่วยการบริหารจัดการสต๊อกได้คล่องตัวกว่าเดิม นอกจากนี้ระบบ POS (Point of Sale) ก็เป็นอีกการลงทุนที่จำเป็น เพราะทำให้การประเมิณการขายทำได้อย่างเที่ยงตรง และ Real Time

ทั้งนี้เมื่อเจ้าของธุรกิจเบเกอรี่เริ่มลงทุนในเรื่องนี้ ต้องไม่ปรับลดอัตราเงินเดือนของพนักงานบริษัท และบังคับให้ทีมขาย หรือทีมผลิตใช้งาน ควรใช้วิธีค่อยๆ สื่อสาร และเมื่อทีมงานเข้าใจ การปรับตัวไปใช้เทคโนโลยีก็จะเกิดขึ้นอัตโนมัติ  โดยมองว่าการชักจูงให้พนักงานเข้าใจ และยอมใช้งานเทคโนโลยีคิดเป็น 80% ของทั้งหมดก็ถือเป็นเรื่องดี เพราะทุกอย่างต้องใช้เวลา

ภาพจาก pixabay.com
ภาพจาก pixabay.com

CRM คืออีกหัวใจที่เติบโตอย่างยั่งยืน

เมื่อควบคุมต้นทุน และคุณภาพการผลิตได้แล้ว การทำตลาดก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะการทำผ่านเครื่องมือ CRM (Customer Relationship Management) เช่นการทำระบบจดจำชื่อลูกค้า เพื่อรู้ว่าลูกค้าคนนั้นชอบกินอะไร หรือซื้อเบเกอรี่ประเภทไหนเป็นประจำ จะได้ทำโปรโมชั่นได้ตรงกับลูกค้าแต่ละคน และจูงใจให้ลูกค้าคนนั้นเข้ามาซื้อสินค้าเป็นประจำ แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องลงทุนระบบจัดเก็บข้อมูลขั้นสูงเช่นกัน

สำหรับ ศรีฟ้า เบเกอรี่ ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 ธุรกิจ 1.ศรีฟ้า เบเกอรี่ ทำหน้าที่บริหารสาขา และเฟรนไชส์ในชื่อ ศรีฟ้า กาญจน์ 2.สุธีราเอนเตอร์ไพรซ์ ทำหน้าที่ผลิตเบเกอรี่รูปแบบต่างๆ ทั้งขายภายในประเทศ และส่งออก 3.ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด ทำหน้าที่ผลิตเบเกอรี่แช่แข็ง เช่นเค้ก หรือแป้งต่างๆ เพื่อส่งออก และขายภายในประเทศ รวมทั้งกลุ่มดำเนินธุรกิจมาเกือบ 30 ปี มีพนักงานรวมกว่า 600 คน

สรุป

เมื่อทุนต่างชาติ และรายใหญ่แทบจะผูกขาดตลาดเบเกอรี่อย่างที่ทุกคนเห็นกัน ดังนั้นคนที่สนใจจะทำธุรกิจนี้ ก็ต้องอ่านตลาดให้ออก เพราะถ้าไปทับซ้อนกับรายใหญ่ โอกาสเกิดก็ยาก แต่ในปีหน้า ทีมงานมองว่า หากออกแบบผลิตภัณฑ์ดี มีช่องทางจำหน่ายที่เอื้อกับสินค้า โอกาสของทุนเล็กก็ยังมี สังเกตจากการเปิดร้านค้าในลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/bakery-business-opportunity/

อ่านเกมนักท่องเที่ยวจีน เมื่อข้อมูลจากสมาร์ทโฟนกลายเป็นทุกอย่าง

ชาวจีน ถือเป็นนักท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย เพราะเมื่อมองไปทางไหน ทั้งในเมือง และตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ก็จะเห็นชาวจีนเป็นจำนวนมาก เมื่อจำนวนเยอะ โอกาสทางธุรกิจก็มี ดังนั้นลองมาศึกษาพฤติกรรม และรูปแบบการท่องเที่ยวของชาวจีน เพื่อต่อยอดรายได้กัน

ภาพจาก pixabay.com
ภาพจาก pixabay.com

Thai snack และ Hot Pot คือคำที่ถูก Search เยอะ

ข้อมูลจาก Baidu (ไป่ตู้) ยักษ์ใหญ่ด้าน Search Engine จากประเทศจีน แสดงให้เห็นว่า ชาวจีนที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ต่างมีการใช้สมาร์ทโฟนเพื่อค้นหาเรื่องต่างๆ เพื่อทำให้การท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะคำที่เกี่ยวข้องกับอาหาร ผ่านคำยอดนิยมคือ Thai Snack Tips และ Hot Pot รวมถึง Local Dining Options ดังนั้นใครทำธุรกิจที่เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

ส่วนผู้อยากเป็นเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ ก็สามารถนำคำเหล่านี้ไปต่อยอดธุรกิจ พร้อมกับลงโฆษณากับยักษ์ใหญ่ด้านค้นหาข้อมูลจากจีนรายนี้ได้ เพราะปัจจุบันมีตัวแทนให้บริการในประเทศไทยแล้ว เช่น Ready Planet หนึ่งในผู้ให้บริการยกระดับธุรกิจสู่ออนไลน์ นอกจากนี้การรับชำระผ่าน Alipay หรือ Wechat Pay ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถเพิ่มยอดขายให้กับทางร้านเช่นกัน

ภาพจาก pixabay.com
ภาพจาก pixabay.com

กลุ่มกระเป๋าหนักชอบมาเที่ยวไทย

ขณะเดียวกันจากการสำรวจฐานผู้ใช้ Baidu พบว่า ชาวจีนที่มาท่องเที่ยงในประเทศไทยช่วงครึ่งแรกของปี 2559 แบ่งเป็นการมาเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์ 41% และท่องเที่ยวด้วยตนเอง 59% ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังจะเป็นการท่องเที่ยวแบบกรุ๊ปทัวร์เพียง 26% และที่เหลือเป็นการท่องเที่ยวด้วยตนเอง เพราะปัจจุบันการท่องเที่ยวในประเทศไทยทำได้ง่ายขึ้น ส่วนช่วงอายุที่มาเที่ยวสูงสุดคือ 25 – 34 ปี หรือ 41% ของทั้งหมด

ที่สำคัญนักท่องเที่ยวที่มาในประเทศไทยเป็นกลุ่มที่มีรายได้สูงมากที่สุด คิดเป็น 55% ของทั้งหมด รองลงมาเป็นกลุ่มรายได้ปานกลาง 28% และสุดท้ายคือกลุ่มรายได้น้อย 17% แสดงให้เห็นถึงกำลังซื้อของนักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามาในประเทศไทย ทำให้การทำตลาดที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย และใช้เครื่องมือทางออนไลน์ให้เป็น ก็จะได้เปรียบคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันที่ยังใช้วิธีทำตลาดแบบดั้งเดิม

people-1118191_1280
ภาพจาก pixabay.com

ปราบทัวร์ศูนย์เหรียญ แต่จีนก็ยัง 9 ล้านคน

อย่างไรก็ตาม แม้การเข้มงวดกับกลุ่มทัวร์ศูนย์เหรียญที่มาทำลายวงจรเศรษฐกิจของไทย จะทำให้นักท่องเที่ยวจีนลดลงไปบ้าง แต่สุดท้ายแล้วนักท่องเที่ยวจีนในปีนี้ยังอยู่ในหลัก 9 ล้านคน เพิ่มจากปีก่อนที่มีราว 8 ล้านคน ดังนั้นเจ้าของที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการขายสินค้ากับนักท่องเที่ยวจีน เช่นขายอาหาร หรือสินค้า และบริการ ยังสามารถทำตลาดได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาการเติบโตของรายได้ นอกจากนี้การปราบทัวร์ศูนย์เหรียญของรัฐบาลไทยยังช่วยให้นักท่องเที่ยวจีนที่เข้ามามีคุณภาพมากขึ้น

สรุป

โอกาสจากนักท่องเที่ยวจีนยังมีเสมอ ยิ่งการเข้ามาหลัก 9 ล้านคน ก็ถือเป็นจำนวนที่ใครๆ อยากเข้าไปมีส่วนร่วม ดังนั้นการวางแผนอย่างชาญฉลาด และอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ เพื่อเตรียมนับเงินในกระเป๋า รวมถึงตระเตรียมให้พร้อมกับปี 2560 ที่นักท่องเที่ยวจีนยังมีเพิ่มเข้ามาแน่นอน แต่จะมีเครื่องมืออะไรใหม่ๆ มาตอบโจทย์นอกจาก Baidu, Alipay และ Wechat Pay หรือไม่ อันนี้ต้องคอยติดตามกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/online-marketing-for-chinese-traveller/

Communtity Mall ยังเหลือที่บนถนนทุกสาย แต่รูปแบบ – กลุ่มเป้าหมายต้องศึกษาให้ดี

เมื่อชีวิตคนเมืองเปลี่ยนไป การทำงานรีบเร่ง และต้องการพักผ่อนแบบสะดวกสบาย ดังนั้นห้างสรรพสินค้าข้างบ้านคืออีกทางออก ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนาห้างในลักษณะนี้ขึ้นจำนวนมาก เพื่อตอบความต้องการของผู้บริโภค แต่บางแห่งก็มีล้มหายตายจากกันไปบ้าง ลองมาศึกษากลยุทธ์การบริหารอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้กัน

ภาพจาก pixabay.com
ภาพจาก pixabay.com

ริมถนนทั่วกรุงเทพพัฒนาเป็น Mall ได้

กฤษณา อุดมพิทยภูมิพิจารณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอกาสมา จำกัด บอกว่า ถนนเส้นหลักในกรุงเทพสามารถพัฒนาเป็น Mall หรือห้างสรรพสินค้าได้ทุกแห่ง เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคยังชอบไปพักผ่อนตามห้างต่างๆ อยู่ แต่ไม่ใช่ห้างที่สร้างจะสำเร็จไปทุกแห่ง ผ่านประเภทของห้างที่ค่อนข้างเยอะ เช่น Department Store, Community Mall, Entertainment Mall และ Sport Mall เป็นต้น ดังนั้นก่อนจะลงทุนก่อสร้างต้องทำการสำรวจพื้นที่เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน และลักษณะการใช้ชีวิตก่อน

“ตอนนี้ Community Mall เกิดขึ้นเยอะมาก แต่เชื่อว่ายังมีพื้นที่อีกมากมายที่ให้โครงการต่างๆ ไปก่อสร้าง เพราะคนอยู่ชานเมืองก็เริ่มไม่อยากฝ่ารถติดเข้าไปพักผ่อนภายในเมืองแล้ว ดังนั้นถ้า Mall ต่างๆ สามารถดึงกิจกรรมที่คนเมืองในชีวิตมาอยู่ข้างนอกได้ เช่นร้านกาแฟ หรือร้านอาหาร รวมถึง Super Market ที่เป็นตัวดึงดูดให้ผู้บริโภคเข้ามาเดินใน Mall ที่อยู่ใกล้กับชุมชน นอกจากนี้เรื่องบริการต่างๆ เช่นธนาคารก็เป็นอีกจุดสำคัญที่ทำให้ Mall ที่เปิดใหม่เติบโตอย่างยั่งยืน”

กฤษณา อุดมพิทยภูมิพิจารณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอกาสมา จำกัด
กฤษณา อุดมพิทยภูมิพิจารณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอกาสมา จำกัด

ถ้าทำ Community Mall ต้องจำลองให้เป็นอีกชุมชน

อย่างไรก็ตามเมื่อเทรนด์ผู้บริโภคเริ่มใช้ชีวิตพักผ่อนใกล้บ้านมากขึ้น ทำให้ Community Mall กลายเป็นรูปแบบห้างที่ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ต้องการเข้ามาลงทุนสูง แต่ด้วย Community Mall หมายถึงแหล่งรวมชุมชนระแวกนั้น ทำให้การดึงบุคลิกของแต่ละชุมชนออกมาจึงจำเป็นที่สุด เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละชุมชน ประกอบกับต้องมีโลเคชั่นที่ดี แม้จะอยู่ไม่ติดถนนใหญ่ แต่ใกล้แหล่งชุมชนก็มีความเป็นไปได้ที่จะลงทุนสร้าง Community Mall และตลาดนี้ไม่ได้แข่งกันชัดเจน อยู่ที่แต่ละห้างจะดึงดูดผู้บริโภคกลุ่มไหนมากกว่า

ธัชชัย ศีลพิพัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคเอเอ็น พร๊อพเพอร์ตี้ จำกัด เล่าว่า ด้วยถนนรามอินทรายังไม่มี Community Mall เปิดมากนัก โดยเฉพาะตั้งแต่แยกหลักสี่ จนถึงจุดตัดถนนประดิษฐ์มนูญธรรม (เลียบทางด่วนรามอินทรา) ประกอบกับผู้บริโภค โดยเฉพาะคนทำงานเริ่มย้ายออกมาอยู่ชานเมืองมากขึ้น ทำให้การสร้าง Community Mall เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตของผู้บริโภคในปัจจุบันจึงเป็นไปได้ ประกอบกับถนนเส้นนี้กำลังจะมีรถไฟฟ้าสีชมพู ทำให้ความน่าสนใจในการสร้าง Community Mall จึงมีมากขึ้น

ภาพโครงการ Ease Park
ภาพโครงการ Ease Park

ลงทุน 200 ล้านบาท สร้าง Ease Park

จากเหตุผลข้างต้น เคเอเอ็น พร๊อพเพอร์ตี้ จึงลงทุน 200 ล้านบาท เพื่อสร้าง Community Mall ภายใต้ชื่อ Ease Park บริเวณถนนรามอินทรา กม. 4.5 (ซ.ไมยราพ) และห่างจากรถไฟฟ้าสีชมพูสถานีไมยราพราว 100 ม. โดยภายในห้างนี้มีพื้นที่ 3.5 ไร่ ประกอบด้วยอาคารสูง 3 ชั้น มีร้านค้ารวม 17 ร้าน เช่น Villa Market, Neo Suki และ King Kong Buffet รวมถึงร้าน Starbucks ที่ตั้งอยู่ด้านหน้า ปัจจุบันมีผู้ค้าเช่าพื้นที่แล้ว 80% และพร้อมเปิดให้บริการภายในเดือนธ.ค. นี้

สำหรับ Ease Park จะเจาะกลุ่มเป้าหมายผู้อยู่อาศัยรอบห้างในระยะห่าง 3.5 – 4 กม. ผ่านการทำ Direct Marketing ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ เช่นการลงโฆษณา Facebook และ Google กับผู้ที่อยู่อาศัยในระยะห่างดังกล่าว นอกจากนี้ยังเตรียมจัดกิจกรรต่างๆ เช่นการดึงร้านอาหารภายในเมืองมาออกร้านในตัวห้าง เพื่อลดปัญหาการเข้าไปพักผ่อนภายในเมือง ขณะเดียวกันบริษัทมีแผนจะพัฒนาธุรกิจที่พักอาศัยแนวราบในรูปแบบทาวน์เฮาส์ระแวกรามอินทรา 1 โครงการในปี 2560 และในปี 2561 อีก 2 โครงการ

สรุป

โอกาสของ Community Mall ยังมีเสมอ แต่ด้วยพื้นที่ที่น้อยลง ประกอบกับค่าที่ก็แพงขึ้นทุกวัน ทำให้การลงทุนเรื่องนี้ค่อนข้างมีความเสี่ยง และหากสายป่านไม่ยาวก็อาจหลุดจากช่วงเริ่มต้นได้ยาก ดังนั้นเรื่องโอกาสก็จริง แต่ก่อนจะลองลุงทุนต้องศึกษาภาพรวมของชุมชนเหล่านั้นให้ดีก่อน โดยส่วนตัวเชื่อว่าการสร้าง Community Mall จะเกิดขึ้นเรื่อยๆ หลังจากนี้ เพราะคนในชานเมืองค่อนข้างต้องการพักผ่อนใกล้บ้าน ไม่อยากเดินทางไกล

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/communitymall-opportunities/