คลังเก็บป้ายกำกับ: OPENSHIFT

IBM ย้ายซอฟต์แวร์เก่ากว่า 100 ตัวขึ้น Red Hat OpenShift รันบนคลาวด์ยี่ห้อไหนก็ได้

เหตุผลสำคัญที่ IBM ต้องทุ่มเงินมหาศาลซื้อ Red Hat เป็นเพราะยุทธศาสตร์คลาวด์ก่อนหน้านี้ของ IBM ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และบริการ IBM Cloud ในฐานะ public cloud ก็มีส่วนแบ่งตลาดตามหลังผู้นำตลาดอยู่ไกล

การซื้อ Red Hat เพื่อครองซอฟต์แวร์โครงสร้างพื้นฐานชิ้นสำคัญๆ ทั้งระบบปฏิบัติการ RHEL และดิสโทร OpenShift (ที่ข้างในเป็น Kubernetes) จึงเป็นก้าวสำคัญของการปรับยุทธศาสตร์มาเป็น hybrid cloud (อ่านบทวิเคราะห์ที่นี้)

ไม่นานหลัง IBM ซื้อ Red Hat เสร็จสมบูรณ์ วันนี้ IBM ก็ประกาศข่าวสำคัญคือ บริษัทปรับปรุงซอฟต์แวร์ของตัวเองกว่า 100 ตัวให้รันบน Red Hat OpenShift ได้เป็นอย่างดี และลูกค้าองค์กรสามารถนำซอฟต์แวร์เหล่านี้ไปรันบนคลาวด์ยี่ห้อใดก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ IBM Cloud (ที่ระบุชื่อคือ AWS, Azure, Google, Alibaba รวมถึง private cloud ในองค์กร)

การปรับเปลี่ยนซอฟต์แวร์ธุรกิจดั้งเดิมให้เป็น cloud-native (ความหมายจริงๆ คือรันในคอนเทนเนอร์) คงไม่ใช่เรื่องแปลกนักในยุคนี้ ความแตกต่างคือ IBM จับมันรันบน Red Hat OpenShift และ RHEL โดยมัดเป็นชุดให้เสร็จสรรพพร้อมใช้งาน ใช้ชื่อว่า IBM Cloud Paks ซึ่งเบื้องต้นมีให้เลือก 5 ชุดสำหรับงาน 5 ด้านคือ

  • Cloud Pak for Data
  • Cloud Pak for Applications
  • Cloud Pak for Integration
  • Cloud Pak for Automation
  • Cloud Pak for Multicloud Management

IBM ระบุว่าจะออก Cloud Pak เพิ่มเติมอีกมากในอนาคต และบริษัทยังประกาศซัพพอร์ต OpenShift บนคลาวด์ของตัวเอง IBM Cloud แบบคลิกเดียวเปิดใช้งานได้เลย กับเซิร์ฟเวอร์กลุ่ม IBM Z / LinuxONE ของตัวเองด้วย (เซิร์ฟเวอร์กลุ่ม Power ซัพพอร์ตอยู่ก่อนแล้ว)

No Description

ประกาศนี้ถือเป็นก้าวที่ชัดเจนของ IBM ว่าปรับยุทธศาสตร์ของคลาวด์ จากการเป็นผู้ให้บริการคลาวด์พื้นฐาน (IBM Cloud ในฐานะ public cloud) มาเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ครบวงจร ที่รันบนคลาวด์ยี่ห้อใดก็ได้แทน (IBM Cloud เป็นเพียงผู้ให้บริการคลาวด์อีกรายหนึ่งภายใต้ยุทธศาสตร์ใหม่นี้)

ที่มา – IBM (PDF), IBM Blog, IBM

from:https://www.blognone.com/node/111169

Red Hat เปิดตัว OpenShift 4 เตรียมเข้าสู่การพัฒนาแบบ serverless, ระบุลูกค้าองค์กรเกิน 1,000 รายแล้ว

Red Hat เปิดตัว OpenShift 4 แพลตฟอร์ม Kubernetes สำหรับองค์กรรุ่นต่อไป พร้อมกับระบุว่าตอนนี้มีลูกค้าระดับองค์กรแล้วกว่า 1,000 ราย ประมาณ 50 รายเป็นองค์กรใน Fortune 100

ฟีเจอร์ของ OpenShift 4 เพิ่มมาหลายอย่างเช่น

  • รองรับ Kubernetes Operators ทำให้ติดตั้งแอปใหม่, สำรองข้อมูล, อัพเดต, และเพิ่มเซิร์ฟเวอร์ ได้อัตโนมัติ โดยใน OpenShift 4 จะมี Operators ที่ได้รับรองว่าทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มได้ เช่น MongoDB, PostgreSQL, AMQ รวม 22 รายการ
  • มีชุดบริการ Service Mesh ที่รวมเอาทั้ง Istio, Jaeger, และ Kiali เอาไว้ในชุด
  • รองรับการพัฒนาแบบ serverless ทั้ง Knative และ KEDA ที่ Red Hat ร่วมพัฒนากับไมโครซอฟท์ แต่เป็นฟีเจอร์ระดับ Developer Preview เท่านั้น

Red Hat OpenShift 4 จะเริ่มวางตลาดจริงเดือนหน้า

ที่มา – Red Hat

from:https://www.blognone.com/node/109670

อะไรก็เป็นไปได้ ไมโครซอฟท์ขาย Azure Red Hat OpenShift, นำ SQL Server 2019 ไปจูนประสิทธิภาพบน RHEL8

ไมโครซอฟท์และเรตแฮตประกาศความร่วมมือ ให้บริการ Azure Red Hat OpenShift ให้บริการ Kubernetes ระดับองค์กร โดยทั้งสองบริษัทจะเป็นผู้ดูแลคลัสเตอร์และแพตช์ช่องโหว่ต่างๆ ให้เอง และบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ จะออกผ่าน Azure รายเดียว

บริการเริ่มให้บริการแล้ววันนี้ ราคาเริ่มต้นสำหรับเครื่อง 4 ซีพียู แรม 16GB อยู่ที่ 0.761 ดอลลาร์ต่อชั่วโมงต่อเครื่อง หรือประมาณเดือนละ 17,500 บาท (รวมค่าเซิร์ฟเวอร์ 0.953 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง)

ทั้งสองบริษัทยังมีความร่วมมือกันอีกหลายอย่าง เช่นนำ RHEL8, Ansible 2.8, และโมดูล Ansible ไปให้บริการบน Azure ที่สำคัญคือกำลังอยู่ระหว่างการปรับแต่งประสิทธิภาพ SQL Server 2019 ให้ทำงานบน RHEL8 ได้ดีขึ้น

ที่มา – Red Hat

No Description

from:https://www.blognone.com/node/109663

Red Hat เปิดตัว CodeReady Workspaces, IDE เพื่อ Kubernetes เต็มรูปแบบ

Red Hat เปิดตัว CodeReady Workspaces 1.0.0 เข้าสู่สถานะ GA สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยวางตัวเป็น IDE สำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บน Kubernetes โดยเฉพาะ (Kubernetes-native)

ตัว IDE ทำงานบนเว็บทั้งหมด และตัวเซิร์ฟเวอร์เองก็รันอยู่บน Kubernetes เอง ทำให้ลดระยะเวลาการเซ็ตอัพสภาพแวดล้อมสำหรับนักพัฒนาเมื่อมีคนใหม่เข้ามาร่วมทีมงาน และทำให้สะดวกในการควบคุมไม่ให้ทีมงานนำโค้ดออกไปภายนอก

โครงการพัฒนามาจาก Eclipse Che เพิ่มชุด stack ที่ Red Hat เตรียมไว้ให้สำหรับการพัฒนาโครงการด้วยภาษาต่างๆ

ขายพร้อม OpenShift ลูกค้าที่ซื้อ OpenShift จาก Red Hat ไปแล้วสามารถติดตั้งเพิ่มได้ทันที

ที่มา – BusinessWire

No Description

from:https://www.blognone.com/node/107966

สัมภาษณ์คุณสุพรรณี อํานาจมงคล จาก Red Hat ประเทศไทย ถึงการใช้ Contrainer Orchrestration ในองค์กร

ความสำคัญของการพัฒนาบนแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์และระบบ orchrestration เช่น kubernetes เริ่มแสดงความสำคัญขึ้นอย่างมากในช่วงหลังที่องค์กรต้องการรูปแบบการพัฒนาที่รวดเร็ว แม้ว่า kubernetes จะเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ทุกคนสามารถดาวน์โหลดไปใช้งานได้ฟรี แต่ก็อาจจะขาดส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับโลกองค์กรหลายประการ โดยเฉพาะการรับประกันในระยะเวลาที่ยาวนาน และฟีเจอร์สำหรับองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง

โอกาสนี้ Blognone ได้พูดคุยกับคุณสุพรรณี อํานาจมงคล Senior Solutions Architect ที่ทำงานกับองค์กรใหญ่ๆ ทั่วภูมิภาคอาเซียนมานานกว่าสิบปี ถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งนี้

No Description

กระแสคอนเทนเนอร์เกิดในโครงการรุ่นใหม่ๆ แต่สำหรับโลกองค์กรที่มีซอฟต์แวร์ดั้งเดิม (legacy system) มากมาย อะไรเป็นความท้าทายที่สุดในการปรับตัว

ความท้าทายหลังคงมีด้วยกัน 3 ด้าน ได้แก่ บุคคลากร (People), วิธีการพัฒนาระบบงาน (Methodology) และ เทคโนโลยี (Technology)

ความท้าทายแรกเรื่องบุคคลากร องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคคลากรไอทีที่มีอยู่ สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้าหาเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ๆ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนวิธีคิดให้ตามธุรกิจที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน นอกจากนี้การสร้างบุคคลกรรุ่นใหม่ๆขึ้นมาเพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจก็เป้นสิ่งที่ท้าทายด้านบุคคลกรอีกอย่างหนึ่ง

สำหรับความท้าทายที่สองคือวิธีการพัฒนาระบบงาน องค์กรต้องปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาระบบงานจากรูปแบบ waterfall model ซึ่งพัฒนาระบบงานเป็นขั้นตอนตามลำดับที่ตายตัว ซึ่งมีปัญหาไม่สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนความต้องการทางธุรกิจที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว องค์กรจะทำอย่างไรเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการพัฒนาระบบงานสู่รูปแบบ agile methodology

พร้อมๆ กันต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรสู่ DevOps หรือ DevSecOps ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายองค์กรเริ่มมองหาและพยายามนำมาประยุกต์ใช้งาน การสร้างวัฒนธรรมเหล่านี้เป็นสิ่งที่ยากและต้องการการสนับสนุนการขับเคลื่อนจากผู้บริหารขององค์กรอย่างจริงจัง

ความท้าทายสุดท้ายคือเทคโนโลยีที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในเรื่องของการสร้างโครงสร้างพื้นฐานไอทีรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ ซึ่งในอนาคตก็จะมีการปรับเปลี่ยนเป็นแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์แบบ next-gen อีกครั้ง

ทำไมการปรับโครงการพื้นฐานไอทีในองค์กรจึงต้องเป็นการใช้คอนเทนเนอร์

เพราะคอนเทนเนอร์เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของแนวคิดเรื่องการแพ็กเกจ (package) และการดีพลอย (deploy) แอปพลิเคชั่นต่างๆ

เดิมกระบวนการเหล่านี้จะมองในรูปแบบ virtualization ทำให้ต้องมองระบบเต็มรูปแบบ คือระบบปฎิบัติการ, มิดเดิลแวร์, ไลบรารี, และตัวโค้ดแอปพลิเคชั่นเอง การมองรูปแบบนี้ทำให้แพ็กเกจทั้งก้อนมีขนาดใหญ่ การขยายระบบ (scale) เพื่อรองรับโหลดที่เปลี่ยนไปทำได้ยาก และต่อให้ทำได้ก็ไม่สามารถทำได้ในเวลาอันสั้น

No Description

การแพ็กเกจแอปพลิเคชั่นเป็นคอนเทนเนอร์ จะรวมเอาส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแอปพลิเคชั่นโดยตรงไว้ในแพ็กเกจโดยไม่มีระบบปฎิบัติการ ขนาดของคอนเทนเนอร์มีขนาดเล็ก เหมาะกับการขยายระบบในเวลาอันสั้น ขณะเดียวกันการแพ็กเกจที่สมบูรณ์ในตัวของคอนเทนเนอร์ก็ยังให้อิสระกับนักพัฒนา ให้สามารถเลือกภาษาโปรแกรมหรือเฟรมเวิร์คที่ต้องการได้

การแบ่งความรับผิดชอบในรูปแบบนี้ทำให้ตัวผู้ดูแลระบบ (operator) ไม่ต้องเข้าใจภาษาโปรแกรมที่ทีมพัฒนาเลือกใช้งาน แต่มุ่งไปที่การวางระบบให้มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อโหลดที่เข้ามาได้

คอนเทนเนอร์โดยรวมจึงตอบโจทย์ในยุคที่โหลดของระบบมีความเปลี่ยนแปลงสูง ทำให้นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบเห็นภาพร่วมกันและทำงานร่วมกันได้พอดี

คิดว่าทำไม kubernetes จึงกลายเป็นมาตรฐานจนกระทั่ง OpenShift ต้องเปลี่ยนมาใช้งาน

ในโลกองค์กรการเปลี่ยนมาใช้คอนเทนเนอร์นั้นมีความซับซ้อนสูง อาจจะถึงระดับนับร้อยหรือนับพันคอนเทนเนอร์ ผู้ดูแลลระบบเริ่มมีความลำบากในการจัดการคอนเทนเนอร์จำนวนมากเหล่านี้ ตลอดจนคอนเทนเนอร์ที่เราบอกสามารถขยายระบบได้ง่ายนั้น ต้องมีการดูแลเพื่อให้ระบบขยายได้ตามโหลดจริง

kubernetes มีความได้เปรียบจากการพิสูจน์ตัวด้วยการจัดการโหลดภายในขององค์กรขนาดใหญ่อย่างกูเกิล ทำให้แน่ว่ารองรับความซับซ้อนได้ ลูกค้าของ Red Hat มีความต้องการตรงกัน คือมักเป็นระบบระดับองค์กรที่ซับซ้อนสูง ทาง Red Hat จึงเลือกปรับมาใช้ kubernetes ตั้งแต่ OpenShift 3.0 ในปี 2015

ช่วงแรกหลายองค์กรมองว่า kubernetes นั้นซับซ้อนเกินไป แต่เวลาเพียงไม่กี่ปีมันก็พิสูจน์ตัวว่าสามารถตอบโจทย์แพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์สำหรับองค์กรได้เป็นอย่างดี

No Description

ทางด้าน Red Hat เองหลังจากเลือก kubernetes แล้วก็เข้าไปร่วมพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้บริษัทเป็นผู้ส่งโค้ดเข้าชุมชนอันดับสองรองจากกูเกิลเท่านั้น ทีมพัฒนาที่แข็งแกร่งใน Red Hat ทำให้บริษัทสามารถนำโค้ดจาก kubernetes มาพัฒนาต่อตามแนวทางของ Red Hat เอง ตั้งแต่การเพิ่มความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัย (hardening), แก้บั๊กต่างๆ, และทดสอบเพิ่มเติมกับส่วนประกอบอื่น ทั้งหมดนี้ใช้เวลาเพียง 1-3 เดือนก็จะออกเป็น OpenShift เวอร์ชั่นใหม่ได้

แนวทางเช่นนี้ทำให้ลูกค้าที่ใช้ OpenShift ไม่ต้องตามหลังเทคโนโลยีในโลกโอเพนซอร์สนาน แต่ยังได้รับความมั่นใจจากการทดสอบต่างๆ ตามความต้องการของตลาดองค์กร

OpenShift เองมีฟีเจอร์เพิ่มจาก kubernetes จำนวนมาก คิดว่าฟีเจอร์อะไรสำคัญที่สุด

ชิ้นส่วนที่ Red Hat เพิ่มเติมเข้าไปใน OpenShift มีส่วนสำคัญหลายส่วน ได้แก่ การรองรับผู้ใช้หลายส่วน (multi-tenancy), การจัดการล็อก, ระบบมอนิเตอร์ระบบ, การจัดการคอนฟิกของระบบ และยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีก เช่น การทำงานร่วมกับเครื่องมือระดับองค์กรตัวอื่นๆ ที่องค์กรอาจมีใช้งานอยู่แล้ว เพื่อให้เป็นโซลูชั่นสำหรับองค์กรที่พร้อมใช้

No Description

นอกจากนี้ยังเพิ่ม Application Lifecycle Management ที่เป็นชุดของฟีเจอร์สำหรับการพัฒนาไปจนถึงการดีพลอยในชั้นเดียว

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ที่เสถียรและน่าเชื่อถือมายาวนาน การใช้ OpenShift เป็นการนำ RHEL เข้ามาอยู่ในคอนเทนเนอร์แพลตฟอร์มทำให้มั่นใจได้ว่าแพลตฟอร์มไม่มีรูรั่ว

เท่าที่สัมผัสลูกค้ามาตอนนี้ลูกค้าเลือกใช้แพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ OpenShift อย่างไร และทำไมจึงเลือกแบบนั้น

ตอนนี้ลูกค้ามักใช้ OpenShift เป็นแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์สำหรับการดีพลอยในองค์กร (on-premise) เป็นหลัก เนื่องจากนโยบายองค์กรยังจำกัดการใช้คลาวด์อยู่บ้าง และงานที่ใช้ตอนนี้ก็มักเป็นงานที่ใช้เป็นการภายในเอง

แต่เราเริ่มเห็นองค์กรจำนวนมากเพิ่มพิจารณาย้ายโหลดงานไปอยู่บนคลาวด์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะงานที่ไม่ได้รันตลอดเวลา เพราะงานประเภทนี้เมื่อใช้คลาวด์จะลดค่าใช้จ่ายได้มาก

การใช้ OpenShift ทำให้ลูกค้ามีอิสระในการเลือกว่าจะรันงานที่ใดเพราะรองรับทั้งแบบ on-premise และการรันบนคลาวด์สาธารณะ การย้ายงานขึ้นมาบน OpenShift จึงกลายเป็นการลงทุนเพื่อเตรียมความพร้อมไปในตัว

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/106577

ลองใช้ OpenShift ก้าวแรกสู่การพัฒนาบนแอปคลาวด์

ซอฟต์แวร์ประสานงานคอนเทนเนอร์ หรือ orchrestration นั้นได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลังเพราะมันช่วยให้องค์กรจัดการกระบวนการพัฒนาและการดีพลอยแอปอย่างเป็นระบบมากขึ้น ฝั่ง Red Hat เองก็มี OpenShift เป็นแพลตฟอร์มที่ทำให้เราสามารถดึงโค้ดมาสู่การวางระบบทั้งชุดได้ในขั้นตอนเดียว

บทความนี้เราจะทดลองใช้งาน OpenShift Online บริการคลาวด์ของ Red Hat ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถทำแอปขึ้นคลาวด์ได้โดยไม่ต้องยุ่งกับการเซ็ตอัพระบบปฎิบัติการมากนัก โดยตัว OpenShift Online นั้นเป็นบริการสำเร็จรูป หลังจากนั้นเราจะแนะนำชุดซอฟต์แวร์ Red Hat Container Development Kit (CDK) ชุดพัฒนาที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถติดตั้ง OpenShift ขนาดเล็ก เพื่อพัฒนาในเครื่องของตัวเองได้ โดยไม่ต้องอาศัยเซิร์ฟเวอร์

No Description

เริ่มจาก OpenShift Online

No Description

ตัว OpenShift Online สามารถสมัครใช้งานได้ฟรี โดยมีแพ็กเกจ 2 แบบ

  • Starter ฟรีทุกอย่าง แต่จำกัดที่การใช้งานได้โปรเจคเดียว และทรัพยากรทั้งหมดจะถูกดึงกลับเมื่อไม่ได้ใช้งานเกิน 30 นาที (บังคับหยุดใช้งาน 18 ชั่วโมง ทุกๆ 72 ชั่วโมง) และต้องใช้แรมไม่เกิน 1GB
  • Pro ใช้แรมได้ถึง 2GB และไม่มีข้อจำกัดเรื่องการหยุดใช้งาน สามารถวางแอปเล็กๆ ใช้งานไปได้เรื่อยๆ หรืออยากซื้อทรัพยากรเพิ่มก็ได้

ช่วงนี้ผู้ใช้ Starter ค่อนข้างมาก เมื่อสมัครแล้วอาจจะต้องรอทรัพยากรว่างอยู่ 1-2 วันจึงจะใช้งานได้ ดังนั้นหากยังคิดโปรเจคไม่ออกก็อาจจะสมัครไว้ก่อนเลยได้

No Description

เมื่อสมัครแล้วต้องรอทรัพยากรช่วงหนึ่ง เมื่อได้รับแล้วจะมีปุ่ม “Open Web Console” ให้เข้าไปใช้งาน

No Description

หน้าจอแรกหลังเข้าคอนโซล ทาง Red Hat เตรียม template สำหรับการพัฒนามาให้แล้วชุดหนึ่ง ในกรณีนี้ผมเลือกโครงการ Django + PostgreSQL

No Description

หน้าจอคอนฟิกนั้นเตรียมให้ครบทุกอย่างแล้ว โดยแบ่งแรมเป็นของ Django ไว้ 512MB และของ PostgreSQL อีก 512MB พอดีโควต้าแรมสำหรับ Starter พอดี โดยโค้ดตัวอย่างนั้นอยู่ที่ https://github.com/sclorg/django-ex.git หากต้องการทดลองแก้ไขอาจจะ fork ไปไว้ที่อื่นก่อนได้

No Description

สร้างโครงการใหม่สำเร็จแล้ว

เมื่อเข้าไปดูในโครงการ จะเห็นคอนเทนเนอร์รันอยู่สองชุด (เรียกว่า pod) เป็นฐานข้อมูลและตัวแอป พร้อมกับได้ URL สำหรับเข้าเว็บ แม้แอปจะรันอยู่แล้ว แต่ URL อาจจะต้องรอสักระยะหนึ่ง (2-5 นาที) เพื่อให้แอป ตัว Route คอนฟิกเรียบร้อยพร้อมใช้งาน

No Description

เว็บ django ตัวอย่าง

เมื่อมีความเปลี่ยนแปลงตัวโค้ด หรือย้ายตำแหน่งโค้ด สามารถเข้าไปยังเมนู Build > เลือกชื่อแอป (ในกรณีนี้คือ django-psql-persistent) และสั่ง Edit เพื่อแก้ Git Repository ได้ หรือหากไม่ได้ย้ายโค้ด แต่มีการอัพเดตโค้ด ก็สามารถสั่ง Start Build ได้เลย

No Description

หลังสั่ง Start Build แล้ว OpenShift จะดึงโค้ดใหม่มารันเอง

ในกรณีที่ต้องการให้ OpenShift ดึงโค้ดมาโดยอัตโนมัติ สามารถนำค่า GitHub Webhook จากเมนู Build > django-psql-persistent > Configuration > GitHub Webhook URL แล้วนำ URL ไปวางใน Settings ของ Repository ใน GitHub ตั้ง Content type เป็น application/json หลังจากนั้นทุกๆ push ตัว OpenShift ก็จะดึงโค้ดขึ้นไปรันจนเป็นเว็บให้เอง

พัฒนาแอปอย่างจริงจังด้วย CDK

Container Development Kit หรือ CDK เป็นซอฟต์แวร์ minishift รุ่นที่จำลองการใช้งาน OpenShift รุ่นที่ Red Hat ซัพพอร์ตจริง โดยสามารถใช้สร้างอิมเมจจาก RHEL ทำให้นักพัฒนาที่กำลังพัฒนาแอปสำหรับองค์กรที่ใช้ OpenShift สามารถพัฒนาแอปได้บนเครื่องตัวเอง ข้อดีสำคัญคือข้อจำกัดเรื่องทรัพยากรบน OpenShift Online จะหมดไป หากเรามีเครื่องพัฒนาขนาดใหญ่สักหน่อยก็สามารถพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่มีความซับซ้อนสูงได้

โดยทั่วไปแล้ว CDK ซัพพอร์ตการติดตั้งบน RHEL เป็นหลัก อย่างไรก็ตามเราสามารถติดตั้งบน Fedora 28 ได้ด้วย ไม่ซัพพอร์ตการติดตั้งบน Ubuntu แต่สามารถติดตั้งผ่าน VM บน Windows, และ Mac

หน้าเว็บ CDK เปิดให้ดาวน์โหลดได้ฟรี แต่ต้องการรหัสผ่านของ OpenShift Online

เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้ว สั่ง minishift start โปรแกรมก็จะสร้างเซิร์ฟเวอร์ขึ้นมา

No Description

ตัวเว็บคอนโซลสามารถเข้าใช้งานได้จากเบราว์เซอร์ โดยในกรณีตัวยอย่างนี้คือเว็บ https://192.168.42.60:8443 เว็บเป็น HTTPS แต่ใช้ใบรับรอง self-signed เราต้องกดข้ามคำเตือนของเบราว์เซอร์ด้วยตัวเอง และล็อกอินโดยใช้ username เป็น developer ส่วนรหัสผ่านใส่ค่าอะไรก็ได้

No Description

จะพบว่าหน้าจอคอนโซลเหมือน OpenShift Online อย่างมาก จากตรงนี้เราสามารถทดลองนำแอปมารันแบบเดียวกับ OpenShift Online ในช่วงต้นบทความ และสามารถสำรวจคอนฟิกอื่นๆ เช่นการทำ load balance เพิ่มจำนวน pod ให้แต่ละส่วนของแอปพลิเคชั่น

ส่งท้าย

ตัวอย่างในบทความนี้เป็นการสร้างเว็บตัวอย่างด้วย OpenShift แต่ตัวแพลตฟอร์มยังเปิดสำหรับการใช้งานอื่นๆ อีกมาก แพ็กเกจ Starter ของ OpenShift Online นี้ให้ทรัพยากรจำกัดสำหรับการเรียนรู้พื้นฐาน ทำให้การทดลองใช้งานฟีเจอร์สำคัญเช่น การ scale ระบบอัตโนมัติยังไม่สามารถทดลองได้เต็มที่ แต่ก็นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับการทดลองว่า OpenShift สามารถใช้งานอะไรได้บ้าง หลังจากนั้นเราได้ทดลองติดตั้ง CDK ที่เปิดให้เรานำ OpenShift มารันบนเครื่องของเราเอง สำหรับการพัฒนาแอปเพื่อเตรียมนำขึ้นเซิร์ฟเวอร์ OpenShift จริงขององค์กร

หากต้องการให้ทีมงาน Red Hat ติดต่อเพื่อสาธิตประสิทธิภาพและฟีเจอร์ของ OpenShift เพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ +66-2624-0601

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/106432

Red Hat ออก OpenShift Container Platform 3.11 เริ่มผนวกเทคโนโลยีจาก CoreOS

Red Hat ออก OpenShift Container Platform เวอร์ชันใหม่ 3.11 ที่เริ่มผนวกเทคโนโลยีจากบริษัท CoreOS ที่ซื้อกิจการมาตอนต้นปี

OpenShift Container Platform คือดิสโทร Kubernetes Enterprise เวอร์ชันของ Red Hat สำหรับจัดการแอพพลิเคชันองค์กรบนสถาปัตยกรรมยุคคลาวด์ (เทียบได้กับ RHEL คือดิสโทรลินุกซ์เวอร์ชันองค์กร)

ของใหม่ในเวอร์ชัน 3.11 ได้แก่ Kubernetes 1.11 เวอร์ชันเกือบล่าสุด (ล่าสุดคือ 1.12 ที่เพิ่งออกเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน), ระบบมอนิเตอร์คลัสเตอร์ Prometheus เข้าสถานะ GA, แดชบอร์ด Grafana, พ่วงด้วยฟีเจอร์จาก CoreOS ที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่

  • เพิ่มหน้าจอคอนโซลจาก CoreOS Tectonic ที่เน้นฟีเจอร์สำหรับแอดมินในการบริหารโหนดคลัสเตอร์
  • นำไอเดียเรื่อง Operators จาก CoreOS มาให้ใช้งานแบบพรีวิว เบื้องต้นรองรับการจัดการแอพชื่อดังบางตัวอย่าง Couchbase, MongoDB, Prometheus

Red Hat ระบุว่าจะเดินหน้าควบรวมฟีเจอร์อื่นจาก CoreOS เข้ามายัง OpenShift ต่อไปในซอฟต์แวร์เวอร์ชันถัดๆ ไป

No Description

นอกจากนี้ Red Hat ยังเปิดตัว Red Hat OpenShift Container Engine ซึ่งเป็นเวอร์ชันตัดทอนความสามารถของ OpenShift Container Platform ลงบางส่วน โดยเฉพาะด้านการจัดการ เครือข่าย ล็อกกิ้ง และ CI/CD ในระดับสูง เพื่อจับตลาดองค์กรที่มีระบบเหล่านี้อยู่แล้ว และต้องการใช้ร่วมกับระบบคลัสเตอร์ของ OpenShift แทนการใช้ทุกอย่างของ Red Hat ทั้งหมด

No Description

ที่มา – Red Hat, eWeek, Red Hat

from:https://www.blognone.com/node/105852

[PR] ครั้งแรกที่เร้ดแฮทจับมือไมโครซอฟท์ร่วมพัฒนา Red Hat OpenShift เพื่อให้บริการพับลิคคลาวด์

ไมโครซอฟท์ และเร้ดแฮทขยายความร่วมมือด้านไฮบริดคลาวด์ด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์การบริหารจัดการระบบคอนเทนเนอร์และมอบความสามารถให้นักพัฒนาสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 24 พฤษภาคม 2561 – บริษัทไมโครซอฟท์ คอร์ป (Nasdaq “MSFT”) ร่วมมือกับเร้ดแฮท (NYSE: RHT) เพิ่มขีดความสามารถให้กับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กรสามารถบริหารจัดการแอปพลิเคชั่นที่รันโดยระบบคอนเทนเนอร์บน Microsoft Azure และบนระบบปิด (on-premises) ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว ทั้งสองบริษัทจะแนะนำการทำงานร่วมกันเป็นครั้งแรกของ OpenShift บนพับลิคคลาวด์ รวบรวมความสามารถของ OpenShift จากเร้ดแฮท ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์ม Kubernetes ระดับองค์กรที่ทำงานได้อย่างครอบคลุม เข้ากับ Azure ระบบพับลิคคลาวด์จากไมโครซอฟท์

นายพอล คอร์เมีย ประธารฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี เร้ดแฮท กล่าวว่า “ความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในครั้งนี้ ทำให้เราสร้างแพลตฟอร์ม Kubernetes บนพับลิคคลาวด์ที่มีความครอบคลุมมากที่สุดให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมบนไฮบริดคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางการผลิต”

รายงานจากการ์ทเนอร์ระบุว่า ภายในปี 2563 กว่า 50% ขององค์กรทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะหันมาใช้งานแอปพลิเคชั่น เพื่อขับเคลื่อนการผลิต ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันถึง 20%

การที่องค์กรทั้งหลายต่างหันมาใช้งานแอปพลิเคชั่นคอนเทนเนอร์และแพลตฟอร์ม Kubernetes เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่โลกดิจิทัล ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า สร้างความได้เปรียบทางการค้า และความต้องการของตลาด องค์กรทั้งหลายจำเป็นต้องวางแผนและเตรียมการบริหารจัดการแอปพลิเคชั่นทั้งในระบบพับลิคคลาวด์และระบบเฉพาะขององค์กร (on-premises) OpenShift บนแพลตฟอร์ม Azure ของเร้ดแฮท ออกแบบกลไกการทำงานร่วมกัน เพื่อลดความยุ่งยากซับซ้อนของการบริหารจัดการคอนเทนเนอร์ให้แก่ลูกค้า เนื่องจากบริษัทหลายแห่งให้ความสนใจในข้อเสนอเกี่ยวกับการทำงานของระบบคอนเทนเนอร์ไฮบริด เร้ดแฮทและไมโครซอฟท์จะร่วมมือกันบริหารจัดการโซลูชั่นให้กับลูกค้าผู้ใช้บริการอย่างเต็มประสิทธิภาพ

นอกเหนือจากบริการทางด้านบริหารจัดการแบบครบวงจร OpenShift บนแพลตฟอร์ม Azure ของเร้ดแฮท ยังมอบความสามารถต่างๆ เหล่านี้ ให้แก่นักพัฒนาอีกด้วย

  • ความยืดหยุ่น: สามารถเคลื่อนย้ายแอปพลิชั่นไปมาระหว่างระบบปิด (on-premises) และ Azure ได้อย่างอิสระ ด้วย OpenShift ที่มอบแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ที่พร้อมใช้งานบนไฮบริดคลาวด์
  • ความรวดเร็ว: เพิ่มความรวดเร็วในการเชื่อมต่อ ปรับปรุงระบบความปลอดภัยบน Azure และการบริหารจัดการภายในองค์กร (on-premises) บริการ OpenShift รวมการทำงานบนเครือข่ายไฮบริดเข้าไว้ด้วยกัน
  • ประสิทธิภาพในการทำงาน: บริการของ Azure อย่าง Azure Cosmos DB, Azure Machine Learning, และ Azure SQL DB ช่วยให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อใช้ OpenShift บนแพลตฟอร์ม Azure ของเร้ดแฮท ลูกค้าจะได้รับบริการทางด้านการจัดการที่ผ่านการรับรองโดยองค์กร และฝ่ายบริการความช่วยเหลือจากทั้งสองบริษัท ทั้งในเรื่องของแอปพลิเคชั่นที่รันบนระบบคอนเทนเนอร์ ระบบปฏิบัติการ (OS) โครงสร้างพื้นฐานและ Orchestrator  

ยิ่งไปกว่านั้น หน่วยงานฝ่ายขายของเร้ดแฮทและไมโครซอฟท์ยังร่วมมือกันสร้างแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของบริษัทที่ครอบคลุม พร้อมสร้างแอปพลิเคชั่น cloud-native และพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่มีอยู่ให้ทันสมัยขึ้น

ผู้ใช้บริการสามารถเคลื่อนย้ายแอปพลิชั่นไปมาระหว่างระบบปิด (on-premises) และ Microsoft Azure ได้อย่างสะดวกง่ายดาย เนื่องจากระบบมีแพลตฟอร์มคอนเทนเนอร์ที่ทำงานสอดคล้องกันใน OpenShift บน footprint ของระบบไฮบริดคลาวด์

  

ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์กับเร้ดแฮดในครั้งนี้ ประกอบไปด้วย

  • สร้างความพร้อมให้ระบบไฮบริดคลาวด์ ด้วยการสนับสนุนจาก Red Hat OpenShift Container Platform บนสภาพแวดล้อมที่เป็นระบบปิด (on-premises) และบน Microsoft Azure Stack สร้างรากฐานให้ระบบ on-premises และ off-premises เพื่อต่อยอดการพัฒนา สามารถนำไปใช้งาน และบริหารจัดการแอปพลิเคชั่น cloud-native บนโครงสร้างพื้นฐานไมโครซอฟท์ได้
  • การบริหารจัดการ Multi-architecture container ที่ช่วยปรับขยายวินโดว์เซิร์ฟเวอร์และระบบคอนเทนเนอร์ Red Hat Enterprise Linux ซึ่ง OpenShift บนแพลตฟอร์ม Azure ของเร้ดแฮท จะรองรับระบบคอนเทนเนอร์บนวินโดว์และระบบคอนเทนเนอร์บน Red Hat Enterprise Linux มอบแพลตฟอร์มที่สอดคล้องกัน เพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มระดับองค์กรชั้นนำ
  • เพิ่มทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้วยระบบ Microsoft SQL Server แบบครบวงจร ผ่านการทำงานบนภูมิทัศน์ Red Hat OpenShift ซึ่งจะมีการเพิ่มระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (SQL Server) ลงไปในคอนเทนเนอร์ที่ได้รับการรับรองจากเร้ดแฮท เพื่อให้สามารถนำไปใช้กับ Red Hat OpenShift on Azure และ Red Hat OpenShift Container Platform บนไฮบริดคลาวด์ รวมถึง Azure Stack ได้
  • นักพัฒนาจะมีทางเลือกในการใช้เครื่องมือของไมโครซอฟท์ร่วมกับเร้ดแฮทได้มากขึ้น เนื่องจากผู้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ Visual Studio Enterprise และ Visual Studio Professional จะได้รับเครดิตจาก Red Hat Enterprise Linux และเป็นครั้งแรกที่นักพัฒนาสามารถทำงานกับ .NET, Java หรือโครงสร้างโอเพนซอร์สบนแพลตฟอร์มเดียวที่ได้รับการสนับสนุนนี้

ความพร้อมในการใช้งาน

มีการคาดการณ์ว่า Red Hat OpenShift on Azure จะเปิดให้พรีวิวในอีกสองสามเดือนข้างหน้า ซึ่ง Red Hat OpenShift Container Platform, Red Hat Enterprise Linux on Azure และ Azure Stack มีการเปิดให้ใช้งานแล้วในปัจจุบัน

คำกล่าวสนับสนุน

พอล คอร์เมีย ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยี เร้ดแฮท

“มีองค์กรส่วนน้อยที่ใช้ระบบไอทีแบบระบบปิด (on-premises) หรือระบบคลาวด์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง องค์กรส่วนมากจะใช้การบริหารจัดการแบบผสานรวมสภาพแวดล้อมเหล่านี้เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งถือเป็นหนทางที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลอย่างแท้จริง ความร่วมมือกับไมโครซอฟท์ในครั้งนี้ ทำให้เราสร้างแพลตฟอร์ม Kubernetes บนพับลิคคลาวด์ที่มีความครอบคลุมมากที่สุดให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมบนไฮบริดคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ส่งผลเสียต่อเสถียรภาพทางการผลิต”

สก็อตต์ กัทรี รองกรรมการผู้จัดการบริหารฝ่ายคลาวด์และกลุ่มองค์กร ไมโครซอฟท์

“ไมโครซอฟท์และเร้ดแฮทมีวิสัยทัศน์ร่วมกันในเรื่องของการอำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาสามารถสร้างสรรค์แอปพลิเคชั่น cloud-native ได้อย่างเรียบง่าย มีตัวเลือกที่หลากหลายและมีความยืดหยุ่น ซึ่งในปัจจุบัน เรากำลังรวมรวบความสามารถทางด้านผู้นำขององค์กรในเรื่องของ Kubernetes, Hybrid Cloud และระบบการปฏิบัติงานระดับองค์กร โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำให้กระบวนการบริหารจัดการคอนเทนเนอร์ที่ซับซ้อนง่ายดายยิ่งขึ้น ด้วยโซลูชั่นสำหรับอุตสาหกรรมครั้งแรกบน Azure”

###

เกี่ยวกับเร้ดแฮท อิงค์

เร้ดแฮทคือผู้ให้บริการซอฟต์แวร์โซลูชั่นโอเพนซอร์สชั้นนำของโลก ที่ใช้วิธีการขับเคลื่อนจากชุมชน เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีคลาวด์ ลินุกซ์ มิดเดิลแวร์ สตอเรจ และเวอร์ชวลไลเซชั่นที่เชื่อถือได้และมีประสิทธิภาพสูง และให้บริการการสนับสนุน การฝึกอบรม และให้คำปรึกษาที่ได้รับการยอมรับ เร้ดแฮทเป็นศูนย์กลางการเชื่อมต่อของเครือข่ายทั่วโลกให้กับผู้ประกอบการ พันธมิตร และชุมชนโอเพนซอร์ส เร้ดแฮทจึงสามารถสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการ และเป็นระบบเปิดใช้งานได้อย่างอิสระเพื่อสร้างการเติบโตและเป็นการเตรียมลูกค้า

ให้พร้อมตอบรับกับไอทีในอนาคต ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.redhat.com

from:https://www.techtalkthai.com/redhat-microsoft-develops-openshift/