คลังเก็บป้ายกำกับ: NVME-OF

NetApp จับมือ VMware ขยายความสามารถทางด้าน Multi-Cloud

NetApp จับมือ VMware ขยายความสามารถทางด้าน Multi-Cloud ช่วยให้ลูกค้าลดรายจ่าย, ความเสี่ยง และความซับซ้อนในการย้าย Workload ไปทำงานบน Multi-cloud

Credit: ShutterStock.com

ในงาน VMware Explore Conference ที่กำลังจัดขึ้นนั้น NetApp และ VMware ได้ประกาศการขยายความร่วมมือผลิตภัณฑ์สำหรับ Multi-Cloud เพื่อเป็นการเสริมความสามารถบนโซลูชันของทั้งสองบริษัทให้ทำงานร่วมกันได้ดีขึ้น โดยความร่วมมือแรกคือการรองรับและ Certified ระบบ VMware Cloud และ NetApp Cloud Services บนผู้ให้บริการ Cloud รายใหญ่ทั้งสามราย ได้แก่ Amazon Web Services, Microsoft Azure และ Google Cloud ทำให้ลูกค้าสามารถใช้งานแอพพลิเคชันบน VMware ที่ทำงานอยู่บน NetApp Storage Environment ได้ จุดเด่นคือสามารถเลือกขนาดของ Storage และ Cloud Compute ที่เหมาะสมกับขนาดของงานได้ง่ายขึ้นและช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

ความร่วมมือที่สองคือการรองรับการใช้งาน NetApp ONTAP-based Storage Array กับ VMware Cloud Foundation with Tanzu ซึ่งเป็นระบบบริหารจัดการ Virtual Machine และ Software Container แล้ว ช่วยให้ลูกค้าสามารถบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล, VM Workload และ Contrainer ได้ง่ายขึ้น และสุดท้าย NetApp กำลังร่วมมือกับ VMware ในการเพิ่มการรองรับ vSphere และ Virtual Volumes บน Block Storage Platform รุ่นล่าสุดเพื่อให้ระบบสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น การรองรับ vVols กับ NVMe-oF เพื่อเป็นการใช้งาน Block Storage บน Flash Storage, เพิ่มช่องทางการบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล, รองรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายในรูปแบบใหม่, และรองรับการใช้งาน Virtualization บน NFS 4.1 Environment

ที่มา: https://siliconangle.com/2022/08/29/netapp-vmware-extend-reach-cloud-help-reduce-application-complexity-running-costs/

from:https://www.techtalkthai.com/netapp-expands-partnership-with-vmware-to-support-multi-cloud-environment/

NVIDIA เผยผลทดสอบ NVIDIA BlueField ทุบสถิติความเร็วในการส่งข้อมูล

NVIDIA เผยผลทดสอบ NVIDIA BlueField ทุบสถิติความเร็วในการส่งข้อมูล สูงสุด 41.5 ล้าน IOPS

NVIDIA ได้เผยผลการทดสอบการใช้งาน BlueField-2 DPU ด้วยการใช้งานโปรโตคอล Network มาตรฐานร่วมกับซอฟต์แวร์ Open-source ที่ใช้ในงาน AI, Big Data และ HPC ทั่วไป มีความเร็วในการส่งข้อมูล 5 ล้าน IOPS สำหรับ block ขนาด 4KB และ 7-20 ล้าน IOPS สำหรับ block ขนาด 512B โดย BlueField-2 รองรับการส่งข้อมูลผ่าน NVMe over Fabrics (NVMe-oF), InfiniBand และ RDMA over Converged Ethernet (RoCE)

โดยการทดสอบใช้งาน Server HPE Proliant DL380 Gen 10 Plus จำนวน 2 เครื่อง เชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อเป็น Initiator และ Storage Target ซึ่ง Server แต่ละตัวติดตั้งหน่วยประมวลผล Intel “Ice Lake” Xeon Platinum 8380 พร้อมหน่วยความจำ 512GB และติดตั้ง NVIDIA BlueField-2 P-Series DPU จำนวน 2 ใบ เชื่อมต่อกันผ่าน 100Gb Ethernet จำนวน 4 port ทำให้ได้ Bandwidth รวม 400 Gb/s และมีการทดสอบการส่งข้อมูลหลายวิธี ได้แก่ SPDK, FIO plugin และการส่งข้อมูลผ่าน Upstream Linux Kernel

จากผลการทดสอบสามารถทำความเร็วได้สูงถึง 41.5 ล้าน IOPS ซึ่งสูงกว่า Optane SSD กว่า 4 เท่า ส่งผลให้ BlueField กลายเป็น Storage Solution ที่มี IOPS สูงที่สุดในโลก

ที่มา: https://www.servethehome.com/new-nvidia-bluefield-2-dpu-nvme-of-performance-faster-than-optane-ssds/, https://blogs.nvidia.com/blog/2021/12/21/bluefield-dpu-world-record-performance/

from:https://www.techtalkthai.com/nvidia-benchmark-bluefield-world-record-performance/

Western Digital ออก NVMe-over-Fabric และ SSD ใหม่

เพื่อเป็นการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านจาก Traditional Storage สู่ All-flash ห้ตอบโจทย์ HPC หรือแอปพลิเคชันที่ต้องการ Latency ต่ำ ทาง Western Digital จึงมีการประกาศโซลูชันใหม่ 3 ตัวคือ SSD, Controller และ Storage Platform

เรื่องใหม่ทั้ง 3 มีดังนี้

  • Ultrastar DC SN840 NVMe SSD – จุดเด่นคือเป็น Dual Port SSD ให้สามารถเชื่อมต่อกับ Host 2 ตัวได้ Throughput มากขึ้น โดยเป็นรุ่นที่ 3 ต่อหลักจาก DC SN860 และ SN340 ที่วัตถุประสงค์การใช้งานต่างกันเพื่อตอบโจทย์ได้อย่างครอบคลุมนั่นเอง ส่วนสเป็คคร่าวๆ คือใช้เทคโนโลยี 96-layer 3D TLC NAND มีความจุให้เลือกตั้งแต่ 1.6 – 15.36 TB
  • OpenFlex Data24 – NVMe-oF Storage ขนาด 2U ที่สามารถใส่ SSD ได้ 24 ลูก (368 TB) ทำให้เกิดการแชร์ SSD ระหว่างหลายโฮสต์ได้ผ่าน Ethernet Fabric
  • RapidFlex Controller – เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการเข้าซื้อกิจการ Kazan Networks ที่ช่วยให้สามารถเชื่อมต่อ NVMe/NVMe-oF ได้แบบไร้รอยต่อ โดยมี Latency แค่ 500 ns และประสิทธิภาพถึง 13,000,000 IOPs ซึ่งตัว Controller สามารถเชื่อมต่อกับ 100 Gb Ethernet ได้โดยไม่ต้องผ่านสวิตซ์

การพัฒนาของ SSD ระดับองค์กรนั้นมี 3 ลำดับดังนี้ 

1.) การใช้ PCI Express Card กับเซิร์ฟเวอร์ แต่ไดร์ฟจะเข้าถึงได้จากเซิร์ฟเวอร์ตัวนั้นเท่านั้น

2.) NVMe อนุญาตให้เซิร์ฟเวอร์อื่นเข้าถึง SSD ได้โดยไม่ต้อง Hardwired เข้ามา

3.) NVMe-over-Fabric (NVMe-oF) ทำให้เซิร์ฟเวอร์ใดๆ เข้าถึง SSD ได้ใดก็ได้ โดยไม่ต้องจอง Connection ซึ่งในส่วนของ Western Digital เพียงแค่เสียบ OpenFlex Data24 เข้ากับสวิสซ์ของฝูงเซิร์ฟเวอร์

โดย RapidFlex Controller พร้อมให้บริการแล้ว SN840 ออกเดือนหน้า และ OpenFlex Data24 จะทยอยส่งได้ปลายปีนี้ 

ที่มา :  https://www.westerndigital.com/company/newsroom/press-releases/2020/2020-06-24-western-digitals-new-nvme-ssds-and-nvme-of-solutions-provide-the-foundation-for-next-generation และ  https://www.networkworld.com/article/3564607/western-digital-rolls-out-nvme-over-fabric-ssds-for-legacy-storage-migration.html

from:https://www.techtalkthai.com/wester-digital-launches-nvme-of-storage-and-rapidflex-controller-and-sn840-ssd/

ฮิตาชิ แวนทารา พลิกวงการระบบจัดเก็บข้อมูลองค์กรด้วย Hitachi Virtual Storage Platform 5000 Series และซอฟต์แวร์บริหารจัดการ Hitachi Ops Center ขุมพลังแห่งระบบ AI

  • ลบล้างสถิติเก่าด้วย Hitachi Accelerated Fabric เทคโนโลยีใหม่ปั่นความเร็วได้ถึง 21 ล้าน IOPS พร้อมรองรับการขยายสูงถึง 69 เพตะไบต์ ยืนหนึ่งเหนือคู่แข่งทุกราย
  • ด้วยรากฐานระบบจัดเก็บข้อมูล NVMe Flash Array ที่เร็วที่สุดในโลก องค์กรจะพร้อมรับมือกับงานในทุกรูปแบบและปริมาณ
  • และด้วยศักยภาพอันเป็นตำนานของฮิตาชิ เราได้พัฒนาระบบ AI ที่ใหม่และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับช่วยในการทำงานอย่างอัจฉริยะให้กับลูกค้า

ฮิตาชิ แวนทารา (Hitachi Vantara) ในเครือบริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) ประกาศเปิดตัวโซลูชันเก็บข้อมูลยุคใหม่พร้อมโครงสร้างพื้นฐานอันทรงพลัง ด้วยสถาปัตยกรรมใหม่ที่สามารถปรับขยายและยกระดับให้รองรับปริมาณงานทุกสเกล โซลูชันดังกล่าวประกอบด้วยแพลตฟอร์ม Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) 5000 Series ซึ่งเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลระดับองค์กรใหม่ล่าสุดและเร็วที่สุดในโลก [1] พร้อมด้วยซอฟต์แวร์บริหารจัดการใหม่ล่าสุด Hitachi Ops Center และระบบปฏิบัติการอัปเดตใหม่ Hitachi Storage Virtualization Operating System เมื่อผนวกรวมกันแล้ว เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาเร่งการทำงานในศูนย์ข้อมูลและส่งมอบระบบ IT ที่รองรับอนาคต ด้วยสถาปัตยกรรมใหม่สุดล้ำที่เป็นรากฐานในการยกระดับสภาพแวดล้อมด้านศูนย์ข้อมูล ระบบคลาวด์ และ DataOps ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น

แพลตฟอร์ม Hitachi Virtual Storage Platform 5000 Series เป็นรากฐานสำหรับลูกค้าในการคว้าข้อได้เปรียบทางดิจิทัลเหนือคู่แข่งและบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจที่ดีขึ้น คุณ Pratyush Khare ผู้ดำรงตำแหน่ง Vice President, Pre-Sales and Chief Technology Officer ประจำเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา กล่าวฮิตาชิ แวนทารา กำลังวางรากฐานสำหรับนวัตกรรมโครงสร้างพื้นฐานระดับองค์กรที่มีความทันสมัยและตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ด้วยโซลูชันใหม่ ที่ได้รับการออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีที่รองรับอนาคต เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านศูนย์ข้อมูลในวันข้างหน้า

รากฐานของโครงสร้างพื้นฐานองค์กรที่ทันสมัย

Hitachi VSP 5000 Series มาพร้อมโครงสร้างพื้นฐานการเก็บข้อมูลสำหรับการดำเนินธุรกิจดิจิทัลทุกรูปแบบด้วยความเร็วและความยืดหยุ่นที่เป็นเลิศ เพื่อขับเคลื่อนปริมาณงานที่มีอยู่เดิม รวมถึงปริมาณงานใหม่ จำนวนมหาศาลที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมแบบมัลติคลาวด์และระบบที่มีการใช้งาน AI โซลูชันนี้รองรับการจัดเก็บข้อมูลแบบบล็อกและไฟล์ ทั้งยังรองรับปริมาณงานหลากหลายประเภท ตั้งแต่การใช้งานทางธุรกิจที่มีความสำคัญ ไปจนถึงคอนเทนเนอร์และเมนเฟรม Hitachi VSP 5000 Series รองรับปริมาณงานทั้งหมดซึ่งทำให้ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นถึงขีดสุด

สถาปัตยกรรมใหม่ยกเครื่อง

VSP 5000 เป็น Flash Array ระดับ Enterprise ใหม่เอี่ยมที่พัฒนาขึ้นเพื่อมอบประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นสูงสุด ด้วยสถาปัตยกรรมที่รองรับเทคโนโลยีการเชื่อมต่ออันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น SAS, NVMe และ Storage Class Memory (SCM) พร้อมขับเคลื่อนด้วยขุมพลังจาก Hitachi Accelerator Fabric ส่งผลให้เป็น NVMe Flash Array ที่เร็วที่สุดในโลก ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลเชิงลึกและผลลัพธ์ทางธุรกิจเร็วขึ้น ด้วย IOPS สูงถึง 21 ล้าน นอกจากนี้ เจ้าของแอปพลิเคชันที่ใช้ทรัพยากรเยอะยังได้เห็นพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดด้วยเวลาตอบสนองที่รวดเร็วเพียง 70 ไมโครวินาที

VSP 5000 มาพร้อมกลไกลดพื้นที่การเก็บข้อมูลแบบใหม่ โดยใช้อัลกอริทึมแมชชีนเลิร์นนิง (ML) ขั้นสูงในการลดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลขณะเขียนแบบ On-The-Fly โดยประเมินจากขนาดของบล็อกและคุณลักษณะอื่น และอาศัยการกำจัดข้อมูลซ้ำซ้อนแบบ In-line และ Post-process เพื่อลดปริมาณการจัดเก็บข้อมูลให้มากที่สุด และส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานน้อยที่สุด ด้วยอัตราส่วนสูงสุดถึง 7:1 ในการจัดเก็บข้อมูลจริง

VSP 5000 สร้างขึ้นเพื่อรองรับธุรกิจดิจิทัลที่มีการทำงานตลอดเวลา ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Self-protecting พร้อมโครงสร้างทวีความแข็งแกร่ง ระบบจึงสามารถส่งต่อระดับการบริการได้แบบ 99.999999% Availability

พลิกโฉมการทำงานของศูนย์ข้อมูล

VSP 5000 ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาวิธียกระดับศูนย์ข้อมูลให้ทันสมัย เพื่อตอบสนองความต้องการด้านการให้บริการอันเข้มงวด ครอบคลุมปริมาณงานหลากหลายประเภทและโมเดลการใช้งานแบบ Edge-to-core-to-multicloud

ส่วนซอฟต์แวร์ Hitachi Ops Center นำเทคโนโลยี AI มาใช้ในการดำเนินการและบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อยกระดับการตัดสินใจและทำให้การส่งมอบทรัพยากรมีความทันสมัยยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุนให้ได้สูงสุด โดย Ops Center ช่วยให้ลูกค้าสามารถเร่งพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่ชาญฉลาด ด้วยการช่วยทำงานอัตโนมัติสูงสุดถึง 70% ทั้งยังสามารถแสดงข้อมูลเชิงลึกอย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อใช้วินิจฉัยสภาพของระบบและดูแลการดำเนินงานด้านข้อมูลให้ทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ

อีกทั้งลูกค้ายังสามารถนำระบบจัดเก็บที่มีอยู่เดิมมาเพิ่มความสามารถให้เทียบเท่ากับ VSP 5000 ด้วยการทำ Storage Virtualization โดย VSP 5000 ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการเปลี่ยนระบบจัดเก็บที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นได้ถึง 20%

มากไปกว่านั้น VSP Cloud Connect Pack เป็นการเพิ่มเกทเวย์ HNAS 4000 สำหรับการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างศูนย์ข้อมูลและคลาวด์สาธารณะ เพิ่มความยืดหยุ่น แต่คงไว้ซึ่งความสามารถในการค้นหา ผ่านกลไก metadata enrichment

ความยืดหยุ่นในการรองรับปริมาณงานสูงสุด

Hitachi Storage Virtualization Operating System (SVOS) คือขุมพลังของ VSP 5000 และได้รับการปรับให้เหมาะสมกับสถาปัตยกรรมแบบ Scale-out พร้อมรองรับเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ไม่ว่าจะเป็น NVMe และ SCM นอกจากนั้นยังมี AI อัจฉริยะที่สามารถปรับให้เข้ากับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อรองรับปริมาณงานทุกรูปแบบด้วยประสิทธิภาพสูงสุด ลดต้นทุนการจัดเก็บข้อมูล และคาดการณ์ข้อบกพร่องที่อาจกระทบต่อการทำงาน

VSP 5000 เป็นระบบจัดเก็บข้อมูลเพียงหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมที่มีความยืดหยุ่น สามารถใช้งานเทคโนโลยี NVMe กับ SAS Flash Media ภายใต้ระบบเดียวกัน เพื่อให้คุ้มทุนและมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนั้นยังมีการทำ tiering แบบอัจฉริยะด้วย AI และ ML เพื่อจัดสรรการใช้งานของระบบจัดเก็บอย่างชาญฉลาด เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน

VSP 5000 ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเริ่มต้นจากขนาดเล็ก และเติบโตไปสู่ขนาดใหญ่ได้ตามต้องการ พร้อมกับให้บริการในแบบที่สามารถคาดการณ์ได้ นอกจากนั้นยังออกแบบมาเพื่อเร่งความเร็วและรวมปริมาณงานหลายประเภทเข้าด้วยกัน ทั้งระบบการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิม การจัดเก็บที่ทันสมัย การวิเคราะห์ หรือแม้แต่เมนเฟรม โดยสามารถรวมการทำงานได้มากกว่าที่เคยเพื่อประหยัดต้นทุนและลดพื้นที่ของศูนย์ข้อมูล

สถาปัตยกรรมที่อัพเกรดได้ พร้อมที่จะเชื่อมต่อเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลที่มั่นคงอยู่แล้วกับเทคโนโลยีใหม่ เช่น SCM และ NVMe over Fabrics (NVMe-oF) โดยไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม

ประโยชน์เพิ่มเติมของ Hitachi VSP 5000 Series, Hitachi Ops Center และ SVOS ประกอบด้วย

  • Hitachi VSP 5100 เป็นโมเดลเริ่มต้นในตระกูล VSP 5000 Series มาพร้อมซอฟต์แวร์เสริมมากมายที่ช่วยบริหารข้อมูลครบวงจร วิเคราะห์ระบบอย่างทรงพลัง และบริหารจัดการข้อมูลดั้งเดิม
  • รับประกันข้อมูลไม่สูญหาย 100% สำหรับ VSP ทุกรุ่น รวมถึงรุ่นใหม่อย่าง VSP 5000
  • สำหรับลูกค้าที่ต้องการทำงานได้อย่างต่อเนื่องแม้เกิดภาวะฉุกเฉิน ฮิตาชิขอนำเสนอโซลูชัน Global-Active Device (GAD) ในการทำ active-active datacenter cluster 
  • Hitachi Ops Center Administrator ใช้งานง่าย ทำให้การบริหารจัดการและการทำงานด้าน IT คล่องตัวและง่ายขึ้น
  • Hitachi Ops Center ช่วยให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนการบริหารจัดการให้เป็นระบบอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานด้าน IT และช่วยให้ลูกค้าสามารถแบ่งเวลาไปโฟกัสกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ อันเป็นประโยชน์ในการต่อยอดธุรกิจ

ความคิดเห็นจากลูกค้าและนักวิเคราะห์

ฮิตาชิ แวนทารา เป็นพันธมิตรที่ไว้วางใจได้ โดยช่วยให้ Conagra Brands สามารถปรับปรุงการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลให้ทันสมัยมากขึ้น Matt Bouges สถาปนิกด้าน IT ของ Conagra Brands กล่าว “Hitachi Virtual Storage Platform ใหม่ล่าสุด รวมถึง Hitachi Ops Center และระบบการปฏิบัติใหม่ล่าสุด มอบสมรรถภาพและประสิทธิภาพที่เราต้องการ โดยช่วยลดเวลาและต้นทุนที่เราต้องใช้ในการดำเนินงานด้าน IT พร้อมกับเร่งความเร็วในการสร้างมูลค่า และช่วยให้ธุรกิจของเราเติบโต

แพลตฟอร์มสถาปัตยกรรม NVMe ช่วยให้ลูกค้าประหยัดต้นทุนในการรวมปริมาณงานมากมายเข้ากับระบบ Eric Burgener รองประธานฝ่ายวิจัยกลุ่มธุรกิจระบบโครงสร้างพื้นฐาน แพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีของ IDC กล่าวสำหรับผู้นำด้าน IT ที่กำลังต้องการรวมระบบ ปัญหาด้านประสิทธิภาพ ความพร้อมใช้งาน และการปรับขนาดมีความสำคัญมาก ซึ่ง VSP 5000 สามารถตอบสนองความต้องการทั้งหมดนี้ โดยส่งมอบข้อมูลที่มีเวลาแฝงต่ำไม่ถึง 100 ไมโครวินาที พร้อมรับประกันข้อมูลไม่สูญหาย 100%”

ความคิดเห็นจากพาร์ทเนอร์

ลูกค้าจำนวนมากต่างมองหาแพลตฟอร์มที่มีความเร็วและความยืดหยุ่นโดยปราศจากความเสี่ยงเรื่องระบบขัดข้อง ซึ่งแพลตฟอร์ม Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) 5000 ที่มีสถาปัตยกรรม NVMe ประสิทธิภาพสูงและรองรับการขยายขนาด สามารถมอบความเร็วและความยืดหยุ่นที่สร้างหลักประกันว่าลูกค้าจะพร้อมสำหรับโอกาสทางธุรกิจเสมอ Jack Kim รองประธานฝ่ายธุรกิจบริการของ HIS กล่าวแพลตฟอร์มดังกล่าวยังช่วยประหยัดต้นทุน ขจัดความเสี่ยงในการเกิดระบบขัดข้อง และรักษาความปลอดภัยข้อมูลอย่างเหนือชั้น สำหรับลูกค้าของเรา Hitachi VSP 5000 ถือเป็นข้อเสนอที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง

ลูกค้าของเราสมควรได้รับโซลูชันสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยและดีที่สุด ซึ่งฮิตาชิ แวนทารา ก็เดินหน้าส่งมอบข้อเสนอที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้ Suk-Hee Lee ผู้อำนวยการของ LGH กล่าวด้วย Virtual Storage Platform (VSP) 5000 ฮิตาชิไม่เพียงแค่มอบสถาปัตยกรรม NVMe ที่มีประสิทธิภาพและรองรับการขยายขนาดเท่านั้น แต่ยังได้มอบโอกาสในการเข้าถึง NVMe-oF หากลูกค้าต้องการด้วย

[1] อ้างอิงจากการทดสอบภายในองค์กรโดยใช้เกณฑ์ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เทียบกับผลิตภัณฑ์คู่แข่งในท้องตลาด

การวางตลาด

Hitachi Virtual Storage Platform (VSP) 5000, Hitachi Ops Center และ Storage Virtualization Operating System พร้อมจำหน่ายแล้ววันนี้

ติดตาม ฮิตาชิ แวนทารา ได้ที่

เกี่ยวกับ ฮิตาชิ แวนทารา

ฮิตาชิ แวนทารา ในเครืองของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด ช่วยให้ผู้นำองค์กรค้นพบและสามารถนำข้อมูลมาใช้สร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างชาญฉลาด และบรรลุผลสำเร็จที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและสังคม ซึ่งเราเรียกว่ากำไรสองเท่า ฮิตาชิ แวนทารา ผสานประสบการณ์กว่า 100 ปีในด้านเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ (OT) กับประสบการณ์กว่า 60 ปีในด้าน IT เพื่อปลดล็อกพลังของข้อมูลจากธุรกิจ บุคลากร และเครื่องจักรของลูกค้า นอกจากนี้ เรายังช่วยเหลือองค์กรต่าง ในการจัดเก็บ ยกระดับ ใช้งาน และสร้างรายได้จากข้อมูล เพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า เพิ่มช่องทางใหม่ในการสร้างรายได้ และลดต้นทุนการดำเนินธุรกิจ โดยองค์กรที่ติดทำเนียบ Fortune 100 กว่า 80% ต่างไว้วางใจใช้งานโซลูชันข้อมูลของฮิตาชิ แวนทารา สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.hitachivantara.com

เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ จำกัด

บริษัท ฮิตาชิ จำกัด (TSE: 6501) มีสำนักงานใหญ่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น บริษัทมุ่งเน้นธุรกิจนวัตกรรมเพื่อสังคมซึ่งผสานเทคโนโลยีเชิงปฏิบัติการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และผลิตภัณฑ์เข้าด้วยกัน บริษัทมีรายได้รวมในปีงบการเงิน 2561 (สิ้นสุด วันที่ 31 มีนาคม 2562) ที่ระดับ 9.4806 ล้านล้านเยน (8.54 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีพนักงานราว 296,000 คนทั่วโลก ฮิตาชิส่งมอบโซลูชันดิจิทัลผ่านศูนย์ลูมาด้า (Lumada) ใน 5 อุตสาหกรรม ได้แก่ Mobility, Smart Life, Industry, Energy และ IT เพื่อเพิ่มคุณค่าทางสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจให้แก่ลูกค้า สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.hitachi.com

HITACHI เป็นเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด ส่วนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ และชื่อบริษัทอื่น เป็นทรัพย์สินของผู้เป็นเจ้าของ

from:https://www.techtalkthai.com/transform-your-data-storage-with-hitachi-virtual-storage-platform-5000-series/

เปิดตัว NetApp AFF A320 NVMe All Flash Storage รุ่นล่าสุดสำหรับองค์กร

NVMe-over-Fabric หรือ NVMe-oF นั้นได้เริ่มกลายเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อ All Flash Storage กันแล้ว และ NetApp ก็ได้ประกาศเปิดตัว NetApp AFF A320 ระบบ NVMe All Flash Storage รุ่นล่าสุด เพื่อตอบโจทย์ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางที่ต้องการใช้งานเทคโนโลยีล่าสุดนี้แล้ว

Credit: NetApp

NetApp AFF A320 นี้รองรับการ Scale-Out ได้สูงสุด 24 Node, สามารถรองรับ SSD ได้สูงสุด 576 ชุด, มีพื้นที่ใช้งานสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 35PB โดยมีขนาดเริ่มต้นเพียงแค่ 2U เท่านั้น

จุดเด่นของ NetApp AFF A320 นี้ นอกจากการรองรับความสามารถทั้งหมดของ NetApp ONTAP แล้ว ตัวอุปกรณ์นี้ก็ยังถูกออกแบบมาให้รองรับ NVMe ทั้งหมด โดยรองรับการใช้ NVMe/FC ในการเชื่อมต่อไปยัง Host และใช้ NVMe/RoCE เพื่อเชื่อมต่อไปยัง NVMe Drive Shelf ได้ด้วย ทำให้ประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดนั้นจะสูงมากกว่าการใช้ Protocol แบบเดิมๆ

ในขณะเดียวกัน NetApp ก็ได้เล่าถึงวิสัยทัศน์ของตนเองสำหรับ SAN สมัยใหม่ ที่จะต้องมีการใช้ Persistent Memory เพื่อเสริมความเร็วบน Host และมีการใช้ Storage Class Memory (SCM) ในฐานะ Cache เพื่อเสริมความเร็วให้กับ Storage ด้วย โดยการเชื่อมต่อทั้งหมดนั้นจะใช้ NVMe เป็น Protocol หลัก

Credit: NetApp

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ NetApp AFF A320 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.netapp.com/us/products/storage-systems/all-flash-array/aff-a-series.aspx

ที่มา: http://blog.netapp.com/aff-a320-nvme-for-the-masses/

from:https://www.techtalkthai.com/netapp-aff-a320-nvme-all-flash-storage-is-announced/

DirectFlash Fabric: Pure Storage นำ NVMe over Fabrics มาสู่องค์กรผ่าน RoCEv2 ตอบโจทย์ Application ประสิทธิภาพสูงโดยเฉพาะ

เมื่อต้นปี 2019 ที่ผ่านมานี้ หนึ่งในประกาศใหญ่ของ Pure Storage ที่กระทบต่อวงการ Enterprise Storage ทั่วโลกนั้นก็คือการประกาศรองรับ NVMe over Fabrics บน RDMA over Converged Ethernet หรือ RoCEv2 เพื่อการรับส่งข้อมูลประสิทธิภาพสูงสุดได้แล้ว และทำให้ All Flash Storage ของ Pure Storage นี้รองรับความสามารถนี้ได้ด้วยการอัปเกรด Firmware และติดตั้ง NIC ที่รองรับ RoCEv2 เท่านั้น

Credit: Pure Storage

ทำไม NVMe over Fabrics จึงสำคัญต่อองค์กร?

ท่ามกลางการทำ Digital Transformation ของธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันนี้ หลายธุรกิจได้เริ่มมีการพัฒนา Digital Product ขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อพฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน และ Digital Product นั้นเองก็ต้องรองรับการเข้าถึงโดยลูกค้าผู้ใช้งานปริมาณมหาศาล หรือต้องรองรับการเพิ่มหรือลดความสามารถใหม่ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการพัฒนาระบบ AI ที่ต้องประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาลอย่างไม่เคยมีมาก่อนก็ได้เกิดขึ้นในธุรกิจระดับองค์กร การใช้สถาปัตยกรรมแบบ Microservices และการพัฒนาระบบขนาดใหญ่ระดับ Hyperscale เพื่อใช้งานภายในธุรกิจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นขึ้นมา

Credit: Pure Storage

อย่างไรก็ดี ในยุคแรกเริ่มนั้นระบบขนาดใหญ่ระดับ Web Scale หรือ Hyperscale นั้นก็ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Hyper-Converged Infrastructure หรือ HCI ที่รวมเอา SSD, HDD ใน Server จำนวนมากเข้าด้วยกัน และใช้ CPU ร่วมกับ RAM ประมวลผลของงานต่างๆ ซึ่งถึงแม้สถาปัตยกรรมนี้จะง่าย แต่การใช้งานทรัพยากรต่างๆ นั้นก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่าอย่างสูงสุด เนื่องจากระบบ HCI นี้ไม่ตอบโจทย์ต่อการเพิ่มทรัพยากรเฉพาะส่วนอย่างเช่นการเพิ่มเฉพาะ CPU อย่างเดียว, เพิ่ม RAM อย่างเดียว หรือเพิ่ม SSD/HDD อย่างเดียวเท่านั้น

ด้วยเหตุนี้ สถาปัตยกรรมถัดมาคือการทำ Rack Scale Disaggregation จึงถือกำเนิดขึ้นมาด้วยการใช้ Just a Bunch of Flash หรือ JBOF มาติดตั้งประจำในแต่ละตู้ Rack แบบ Top-of-Rack และเชื่อมต่อ Flash Storage ภายใน JBOF นี้ไปยัง Server จำนวนมากภายในตู้ Rack เดียวกัน ทำให้การเพิ่มขยายหรือลดทรัพยากรในแต่ละส่วนเกิดขึ้นได้อย่างอิสระ มีความคุ้มค่าในการใช้งานทรัพยากรแต่ละส่วนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

แต่ Rack Scale Disaggregation เองนี้ก็ยังไม่ตอบโจทย์ด้านการเพิ่มขยายและความคุ้มค่าได้ดีมากนัก เพราะข้อจำกัดของการใช้ JBOF ประจำแต่ละตู้ Rack นี้เองที่ทำให้การเพิ่มขยายทรัพยากรของระบบจำกัดอยู่ในระดับของตู้ Rack เท่านั้น ความยืดหยุ่นในการนำทรัพยากรต่างๆ โยกย้ายไปใช้งานตามต้องการยังคงเป็นสิ่งที่ขาดไป ทำให้แนวคิดของสถาปัตยกรรมถัดมาอย่าง Complete Disaggregation นั้นเกิดขึ้นมา

แนวคิดของ Complete Disaggregation นี้จะมุ่งเน้นที่การแยก Storage และ Compute ออกจากกันเป็นคนละ Rack และมี Protocol ในการเชื่อมต่อเข้าถึงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยประสิทธิภาพในการเข้าใช้งาน Storage นั้นจะเทียบเท่ากับการใช้ Direct Attached Storage หรือ DAS ด้วย Latency ในระดับต่ำกว่า 300 Microsecond ซึ่ง Ethernet หรือ Fibre Channel ที่เคยใช้งานกันนั้นไม่สามารถตอบโจทย์ได้ ในขณะที่การบริหารจัดการและใช้งานทรัพยากรแต่ละส่วนนั้นจะเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า Rack Scale Disaggregation

ด้วยเหตุนี้ Complete Disaggregation จึงได้กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าจับตามองสำหรับระบบ Application ขนาดใหญ่ที่ต้องการทั้งประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และความคุ้มค่าในระดับสูงสุด และการที่เหล่าองค์กรจะสร้างสถาปัตยกรรม Complete Disaggregation ได้นั้น NVMe over Fabrics ก็ถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะช่วยให้การเชื่อมต่อระหว่าง Storage และ Server ข้าม Rack นั้น เกิดขึ้นได้ด้วย Latency ระดับต่ำเสมือนยังคงใช้งาน DAS อยู่นั่นเอง

เปิดตัว Pure Storage DirectFlash Fabric รองรับ NVMe-oF บน RoCEv2 เจาะตลาด Linux ก่อน

Credit: Pure Storage

เพื่อให้การนำสถาปัตยกรรม Complete Disaggregation มาใช้ในระดับองค์กรเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายที่สุด Pure Storage จึงได้ทำการเปิดตัว DirectFlash Fabric ซึ่งเป็นโซลูชัน NVMe-oF ให้ผู้ใช้งาน Pure Storage ทั่วโลกสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดายด้วยการอัปเกรด Firmware ของ Pure Storage FlashArray เป็นรุ่นล่าสุด และติดตั้งการ์ด NIC ที่สนับสนุน RDMA เท่านั้น ระบบก็จะเริ่มใช้งาน NVMe-oF บน RoCEv2 ได้แล้ว

Credit: Pure Storage

การใช้งาน NVMe-oF บน RoCEv2 จะช่วยให้ Latency ของ All Flash Storage ลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับ iSCSI และลดลงกว่า 20% เมื่อเทียบกับ Fibre Channel อีกทั้งความสามารถในการทำ RDMA Offload ของการ์ดบน Server เองก็จะช่วยลดการทำงานของ CPU ลงไปได้กว่า 25% และทำให้ Server เหลือพลังประมวลผลสำหรับนำไปใช้ทำอย่างอื่นได้มากขึ้นไปด้วย

สาเหตุที่โซลูชัน DirectFlash Fabric นี้เริ่มต้นรองรับการทำ NVMe-oF บน RoCEv2 ก่อนนั้น ก็เป็นเพราะว่าระบบปฏิบัติการ Linux นั้นมี Driver ที่พร้อมแล้วสำหรับ NVMe-oF อีกทั้ง Application ที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุดและมีระบบขนาดใหญ่ส่วนใหญ่นั้นก็อยู่บน Linux ไม่ว่าจะเป็น MongoDB, Cassandra, MariaDB, Hadoop หรือแม้แต่ Splunk ก็ตาม โดยจากการทดสอบของ Pure Storage นั้นพบว่า NVMe-oF สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ Application ต่างๆ ได้ดังนี้

Credit: Pure Storage
  • MongoDB มี Operation per Second มากขึ้นถึง 50%
  • Cassandra มี Latency ต่ำลง 30% และมี Operation per Second มากขึ้นถึง 30%
  • MariaDB มี Transaction สูงสุดเพิ่มขึ้นถึง 33%

วิสัยทัศน์ของ Pure Storage DirectFlash Fabric: จาก NVMe บน RoCEv2 สู่ Fibre Channel ในปลายปี 2019 และ TCP ในปี 2020

การเปิดตัว NVMe-oF บน RoCEv2 นี้ถือเป็นก้าวแรกของ Pure Storage เท่านั้น โดยหลังจากนี้ทาง Pure Storage เองก็มีแผนที่จะพัฒนาและเปิดตัวโซลูชัน NVMe-oF บน Fibre Channel ภายในช่วงปลายปี 2019 นี้ และเปิดตัว NVMe-oF บน TCP หรือ Ethernet ภายในปี 2020 เพื่อให้การใช้งาน NVMe-oF นั้นเป็นไปได้อย่างง่ายดายสำหรับธุรกิจองค์กร ไม่ต้องลงทุนเปลี่ยน Hardware มากนัก รวมถึงรอให้ Driver จากผู้พัฒนารายต่างๆ มีความพร้อมเสียก่อน และรองรับ Application หลากหลายที่ใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้วได้มากขึ้นในอนาคต

Credit: Pure Storage

ความเป็นไปได้ใหม่ของ DirectFlash Fabric: Scale-Out ระบบด้วยการประยุกต์ใช้ Snapshot

นอกจากความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงขึ้นโดยยังคงความสามารถในการบริหารจัดการและปกป้องข้อมูลในระดับสูงที่ NVMe-oF สามารถทำได้แล้ว Pure Storage เองก็ยังได้ระบุถึงความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วยการประยุกต์ใช้ Snapshot ในการทำ Auto-scaling ให้กับระบบต่างๆ ที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับรองรับ Load ที่เพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

แนวคิดที่ Pure Storage นำเสนอนี้ก็คือการทำ Automation ร่วมกับระบบ Application Monitoring ที่หากพบว่ามีการเข้าใช้งานระบบใดๆ เป็นปริมาณสูงกว่าที่กำหนดไว้ ก็ทำให้ Pure Storage ทำ Snapshot ระบบนั้นๆ ขึ้นมาในเวลาสั้นๆ และไม่กินพื้นที่เพิ่มเติมเนื่องจากมีการทำ Deduplication และ Compression ให้ในตัว ก่อนที่จะนำ Snapshot นั้นๆ มาเปิดใช้งานเป็น Node ใหม่เพื่อให้บริการผู้ใช้งานที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นได้อย่างทันท่วงที โดยระบบดังกล่าวยังคงมีประสิทธิภาพที่สูงจากการเชื่อมต่อด้วย NVMe-oF อยู่

ไม่เพียงแต่การนำ Snapshot มาใช้ในระบบ Production เท่านั้น การทำ Snapshot เพื่อนำระบบและข้อมูลไปใช้ในการ Test เองก็เป็นอีกกรณีการใช้งานหนึ่งที่จะเกิดขึ้นในระบบ Storage ที่ใช้ NVMe-oF ด้วย

ตอบทุกโจทย์ความต้องการของธุรกิจด้วย Pure Storage

Credit: Pure Storage

สำหรับธุรกิจที่อยากเริ่มต้นใช้งาน NVMe-oF กันแบบง่ายๆ และทันท่วงทีนั้น Pure Storage ก็มีระบบ Converged Infrastructure (CI) อย่าง FlashStack ที่ผสานเทคโนโลยีร่วมกันระหว่าง Cisco และ Pure Storage ที่เชื่อมต่อกันด้วย NVMe-oF บน RoCEv2 ซึ่งมีความเร็วต่อพอร์ตสูงสุดถึง 50Gbps ให้พร้อมใช้งานได้ทันที

อย่างไรก็ดี สำหรับธุรกิจโดยทั่วไปแล้ว NVMe All Flash Storage นั้นก็ได้กลายเป็นเทคโนโลยีหลักในการนำมาใช้งานกันแล้วไม่ว่าจะใช้ NVMe-oF หรือไม่ก็ตาม และ Pure Storage เองก็สามารถช่วยให้ Application หลากหลายมีความเร็วสูงขึ้นได้ด้วยโซลูชัน NVMe All Flash Storage ที่มีอยู่หลากหลายของ Pure Storage นั่นเอง

Credit: Pure Storage

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DirectFlash Fabric และ NVMe-oF บน RoCEv2

สำหรับผู้ที่สนใจข้อมูลเกี่ยวกับ DirectFlash Fabric และ NVMe-oF บน RoCEv2 สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Whitepaper ของ Pure Storage โดยสามารถ Download ได้ฟรีๆ ทันทีที่ http://info.purestorage.com/Direct-Flash-Fabric-Thai.html

สนใจติดต่อทีมงาน Pure Storage ในประเทศไทยได้โดยตรง

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี All Flash Storage และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมหรืออยากพิจารณาใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงานของ Pure Storage ประเทศไทยโดยตรงได้ทันทีที่ jkunasinkjja@purestorage.com

from:https://www.techtalkthai.com/purestorage-directflash-fabric-for-nvme-of-over-rocev2/

รู้จัก Pure Storage FlashArray//X ระบบ Shared Accelerated Storage ความเร็วสูงด้วย 100% NVMe All Flash

เทคโนโลยี All Flash Storage นั้นก้าวหน้าขึ้นทุกวัน ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Shared Accelerated Storage ซึ่งถือเป็นระบบ Storage ถัดไปจากยุคของ SAN Storage และ NAS Storage รวมถึงจะแนะนำให้ทุกท่านรู้จักกับ Pure Storage FlashArray//X ซึ่งเป็น Shared Accelerated Storage ที่ใช้เทคโนโลยี NVMe อย่างเต็มที่แบบ 100% ไปด้วยกันครับ

 

เทคโนโลยี Flash พัฒนามากขึ้น SAN Storage และ SSD ก็เริ่มเกิดปัญหาคอขวด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้เรามักจะเห็นการเปลี่ยนจากการใช้ SAN Storage ทั้งแบบที่เป็น HDD ล้วนๆ และแบบ Hybrid ซึ่งใช้ SSD ร่วมกับ HDD ไปสู่การใช้งาน All Flash Storage ที่ใช้ SSD หรือ Flash มาจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดแทน เพื่อให้ระบบมีความเร็วสูงสุด, ประหยัดพลังงาน อีกทั้งยังมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลที่สูงไม่แพ้กับ HDD ด้วยเทคโนโลยี Data Reduction และการพัฒนา Flash ที่ก้าวหน้าขึ้นทุกวัน

อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี SSD หรือ All Flash Storage จำนวนมากนั้นยังคงใช้สถาปัตยกรรมเดิมและเทคโนโลยีเดิมกับที่เคยใช้ใน SAN Storage และ NAS Storage ยุคก่อนๆ เป็นหลัก ทำให้ถึงแม้ตัว SSD จะมีความเร็วสูงกว่า HDD มากเพียงใด แต่เมื่อใช้งานไปถึงจุดหนึ่งแล้วก็จะพบกับคอขวดในระดับของสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีแบบเก่า ที่ถูกออกแบบมาตั้งแต่สมัยยุคของ HDD เป็นหลักอยู่ดี

การออกแบบระบบ Storage ขึ้นมาใหม่ตั้งแต่พื้นฐานของสถาปัตยกรรมภายในและการเลือกใช้ Protocol หรือมาตรฐานต่างๆ ภายในใหม่ทั้งหมดให้รองรับต่อศักยภาพของ Flash ได้อย่างเต็มที่จึงกลายเป็นคลื่นลูกใหม่ของวงการ Storage และนี่เองก็ทำให้เกิดการพัฒนา Storage ในยุคใหม่ขึ้นมา

 

Shared Accelerated Storage: อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลกลุ่มใหม่ ต่อยอดจาก SAN Storage และ SSD ทั่วไปด้วย NVMe

Shared Accelerated Storage หรือ SAS นี้เป็น Storage กลุ่มใหม่ที่ถูกให้นิยามโดย Gartner ที่ได้ผสานเอาความง่ายดายในการติดตั้งใช้งานของระบบ Direct Attached Storage (DAS) เข้ากับความสามารถในการเพิ่มขยายได้และบริหารจัดการได้ง่ายของ SAN และ NAS Storage เข้าไว้ด้วยกัน โดยใช้เทคโนโลยี NVMe เป็นหลักในการสื่อสารข้อมูลกับอุปกรณ์ Flash ที่ทำหน้าที่จัดเก็บข้อมูลเพื่อดึงศักยภาพของเทคโนโลยีออกมาใช้งานให้ได้อย่างเต็มที่ และรองรับการทำ NVMe over Fabric (NVMe-oF) เพื่อช่วยให้ Server สามารถเข้าถึงข้อมูลบน Shared Accelerated Storage ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงและใช้พลังประมวลผลน้อยลงไปด้วย

Shared Accelerated Storage ที่ได้กำจัดปัญหาคอขวดที่เคยเกิดขึ้นใน Storage รุ่นก่อนหน้าถึงระดับของสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีพื้นฐานแล้ว ก็ได้กลายเป็นเทคโนโลยีระบบ Storage ที่สามารถรองรับ Workload ได้ทุกรูปแบบในหนึ่งเดียว ทำให้ง่ายต่อการนำไปใช้งานภายในระบบ IT เพื่อรองรับ Application หลากหลายรูปแบบได้ทันที

(หมายเหตุ: Shared Accelerated Storage ที่ย่อว่า SAS นี้เป็นคนละคำกับ Serial Attached SCSI ซึ่งมีตัวย่อว่า SAS เช่นเดียวกัน)

 

Pure Storage FlashArray//X: ระบบ Shared Accelerated Storage ประสิทธิภาพสูง

 

Credit: Pure Storage

 

Pure Storage ที่เป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีด้าน All Flash Storage มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ก็ได้เปิดรับต่อแนวโน้มของ Shared Accelerated Storage นี้อย่างรวดเร็วด้วยการเปิดตัว Pure Storage FlashArray//X ซึ่งเป็น 100% NVMe All Flash Array ต่อยอดจากเทคโนโลยีเดิมที่เคยมีอยู่ด้วยการเสริม NVMe เข้าไปอย่างเต็มตัว และออกแบบสถาปัตยกรรมระบบภายในใหม่เพื่อให้การเข้าถึงข้อมูลบน NVMe Flash ทั้งหมดในระบบนั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

 

Credit: Pure Storage

 

Pure Storage FlashArray//X นี้มีประสิทธิภาพสูงกว่า Flash Storage ในสถาปัตยกรรมก่อนหน้าถึง 2 เท่า อีกทั้งยังมี Latency ที่ต่ำมากเพียงแค่ 250 Microsecond เท่านั้น อีกทั้งยังมีความทนทานถึงระดับจ 99.9999% จึงสามารถรองรับ Workload แบบ Mission Critical ได้เป็นอย่างดี

อีกหนึ่งนวัตกรรมน่าสนใจที่ถูกเสริมเข้าไปใน Pure Storage FlashArray//X นี้ก็คือ DirectFlash ซึ่งถือเป็นการพลิกโฉมการบริหารจัดการอุปกรณ์ Flash ภายใน All Flash Array เลยก็ว่าได้

 

Credit: Pure Storage

 

เดิมทีนั้นการออกแบบ SSD มักจะต้องมีชิปที่ทำหน้าที่เป็น Controller เพื่อจัดการการเขียนอ่านข้อมูลภายใน Flash ซึ่งอยู่ใน SSD แต่ละชุด และภายในระบบ All Flash Storage ซึ่งมีการติดตั้ง SSD จำนวนมากนั้น ก็ต้องมีชั้นของ Software ที่หลากหลายเพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกับชิปเหล่านี้และทำการบริหารจัดการหรือเขียนอ่านข้อมูลลงไปยัง SSD เหล่านั้นได้ ซึ่งความซับซ้อนที่เกิดขึ้นตรงนี้เองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาคอขวดในระบบ All Flash Storage แบบเดิมๆ

 

Credit: Pure Storage

 

Pure Storage DirectFlash ได้ทำการกำจัดชั้นของ Software ที่ซับซ้อนและชิปสำหรับควบคุม Flash ออกไป เปิดให้ Storage Controller ทำการสื่อสารกับ Flash ทั้งหมดได้โดยตรงผ่าน NVMe ทำให้การเข้าถึงข้อมูลใดๆ นั้นไม่เกิดปัญหาคอขวดอีกต่อไป อีกทั้งการทำงานอย่างเช่นการทำ Data Reduction หรือการเพิ่มความทนทานของข้อมูลนั้นสามารถเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ไม่เกิด Overhead ที่ต้องสูญเสียไปจากการบริหารจัดการ Flash แยกกันใน SSD แต่ละชุดอีกต่อไป

 

Credit: Pure Storage

 

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Pure Storage FlashArray//X ได้ทันทีที่ https://www.purestorage.com/products/flasharray-x.html ครับ

 

รองรับการใช้งานได้ยาวนานอีกนับ 10 ปี อัปเกรดจาก Pure Storage FlashArray//M สู่ Pure Storage FlashArray//X ได้ทันที ไม่มี Downtime เกิดขึ้นในระบบ

หนึ่งในการออกแบบสำคัญที่ทำให้เทคโนโลยีของ Pure Storage โดดเด่นมากนั้นก็คือการออกแบบให้ Hardware และ Software ทั้งหมดสามารถอัปเกรดและ Maintenance ได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่เกิด Downtime ใดๆ เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กๆ อย่างเช่นการเปลี่ยน SSD/Flash, การอัปเกรด Firmware ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ อย่างเช่นการเปลี่ยน Controller ที่ชำรุดเสียหาย หรือการอัปเกรด Hardware โครงสร้างภายในจาก Pure Storage FlashArray//M ที่ใช้เทคโนโลยี SSD แบบเดิมๆ ไปเป็น Pure Storage FlashArray//X ที่เป็น NVMe แบบ 100% ก็ตาม และความสามารถดังกล่าวนี้ยังรองรับถึงการอัปเกรดเพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคตที่จะถูกเพิ่มเติมเข้ามาได้อีกด้วย

จุดเด่นสำคัญหนึ่งของการออกแบบนี้ก็คือการที่ในระหว่างการอัปเกรดหรือ Maintenance ใดๆ ก็ตาม ระบบจะยังคงทำงานด้วยประสิทธิภาพในระดับเดิมเสมอ ทำให้ในระดับของ Application นั้นไม่เกิดผลกระทบทางด้านประสิทธิภาพและไม่เกิด Downtime ใดๆ เลย

ด้วยการออกแบบดังกล่าว ก็ทำให้ Pure Storage เปิดโครงการ Evergreen Storage ขึ้นมาเพื่อให้องค์กรต่างๆ สามารถทำการอัปเกรด Pure Storage ที่มีการใช้งานอยู่เป็นเทคโนโลยีล่าสุดอยู่เสมอต่อไปได้อีกนับ 10 ปีโดยไม่มี Downtime ทำให้การดูแลรักษาระบบ Storage ง่ายดายยิ่งกว่าแต่ก่อนเป็นอย่างมาก ไม่ต้องมีการซื้ออุปกรณ์ใหม่มาและทำการ Migrate ระบบอีกต่อไป แต่อาศัยการอัปเกรดและขยายระบบเดิมที่มีอยู่ต่อไปเรื่อยๆ แทน

 

Credit: Pure Storage

 

สนใจติดต่อทีมงาน Pure Storage ในประเทศไทยได้โดยตรง

สำหรับผู้ที่สนใจเทคโนโลยี All Flash Storage และต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติมหรืออยากพิจารณาใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงานของ Pure Storage ประเทศไทยโดยตรงได้ทันทีที่ jkunasinkjja@purestorage.com

from:https://www.techtalkthai.com/pure-storage-flasharray-x-shared-accelerated-storage-with-all-nvme/

Toshiba เปิดตัว SSD ความจุ 30TB ในขนาด 2.5 นิ้ว, รองรับ NVMe over Fabric

Toshiba ได้ออกมาประกาศเปิดตัว SSD รุ่นใหม่ โดยหนึ่งในนั้นคือ SAS SSD ขนาด 2.5 นิ้วที่มีความจุสูงถึง 30.72TB

Credit: The Register

 

Toshiba PM5 Series ที่เปิดตัวมาครั้งนี้เป็น 12Gbps 2.5″ SAS SSD ที่มี 4-port Multilink ทำให้มีความเร็วใกล้เคียงกับ PCIe และมีความจุเริ่มต้นที่ 400GB ถึง 30.72TB ภายในลูกเดียว โดยมีประสิทธิภาพ 400,000 Random Read IOPS และ 3.35/2.723GBps Sequential Read/Write พร้อมรองรับการทำ Multi-stream Write อีกทั้งยังเลือกได้ว่าจะมีความทนทานที่ระดับ 1/3/5/10 Drive Write per Day และยังสามารถทำ Secure Instant Erase ได้อีกด้วย

ถัดมาที่เปิดตัวคือ Toshiba CM5 ที่รองรับ Multi-stream Write เช่นกัน แต่รุ่นนี้รองรับ NVMe over Fabric พร้อม Scatter-gather List และ Controller Memory Buffer (CMB) ได้ด้วยการอาศัย DRAM ภายในตัวเองให้ทำงานช่วยกับ DRAM ของ Host ได้ ทำให้มีความเร็วสูงและกิน DRAM ของระบบน้อยลง โดยมีความจุตั้งแต่ 800GB – 15.36TB และเลือกความทนทานที่ระดับ 1/3/5 Drive Write per Day ได้ด้วยประสิทธิภพาที่ 800,000 Random Read IOPS และ 220,000 – 240,000 Random Write IOPS โดย Toshiba CM5 นี้ถูกออกแบบมาสำหรับการรองรับการทำงานร่วมกับระบบ Persistent Memory Region (PMR) โดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถเพิ่ม DRAM ของ Host ได้ด้วย DRAM บน SSD

สุดท้ายคือ Toshiba SG6 ซึ่งเป็น 6Gbps SATA SSD ที่ใช้ 64-Layer TLC ทำให้มีความจุ 256GB – 1TB และมีประสิทธิภาพที่ 85,000 – 100,000 IOPS และ 550/535MBps Sequential Read/Write

นอกจากนี้ Toshiba ยังได้เปิดตัว NVMe over Fabric (NVME-oF) Software สำหรับให้ Storage Server ได้นำไปทำ SSD Abstraction พร้อมความสามารถในการบริหารจัดการและการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทำให้การทำ NVME-oF เป็นจริงขึ้นมาได้

SSD ทุกรุ่นนี้คาดว่าจะเปิดตัวภายในปีนี้

 

ที่มา: https://www.theregister.co.uk/2017/08/08/tosh_trifecta_of_new_ssds_plus_nvme_fabric_software/

from:https://www.techtalkthai.com/toshiba-announces-30tb-2-5-inch-ssd/