คลังเก็บป้ายกำกับ: MICROSOFT_WINDOWS_SERVER_2016_DATACENTER

แนะนำ Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct ระบบ HCI สำหรับองค์กรที่ใช้ Microsoft เป็นหลัก

Hyper-Converged Infrastructure หรือ HCI นั้นได้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่เหล่าองค์กรเลือกใช้งานภายใน Datacenter กันไปแล้ว ด้วยประเด็นทางด้านความง่ายดายในการติดตั้งใช้งานและการดูแลรักษา ไปจนถึงการเพิ่มขยายในอนาคตที่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ทาง Dell EMC และ Microsoft จึงได้จับมือกันนำเสนอโซลูชัน HCI สำหรับเหล่าองค์กรที่ใช้เทคโนโลยีของ Microsoft เป็นหลักอยู่แล้ว เพื่อให้องค์กรไม่ต้องลงทุนเทคโนโลยีต่างๆ ซ้ำซ้อนมากมาย ประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการดูแลรักษา ดังนี้

 

Microsoft Storage Spaces Direct: เทคโนโลยี Software-Defined Storage ของ Windows Server 2016

Microsoft Storage Spaces Direct หรือ S2D นี้เป็นความสามารถหนึ่งที่ถูกรวมเข้ามากับลิขสิทธิ์การใช้งาน Windows Server 2016 รุ่น Datacenter อยู่แล้ว โดยความสามารถนี้คือการเปลี่ยนให้ Windows Server สามารถทำหน้าที่ให้บริการ Software-Defined Storage และทำงานเป็น Scale-Out Storage เพื่อทดแทนระบบ SAN Storage หรือ NAS Storage ที่เดิมเคยต้องใช้งานร่วมกับระบบ Virtualization ได้ โดยยังคงมีความสามารถทางด้าน High Availability และ Failover อยู่นั่นเอง

Microsoft S2D นี้นอกจากจะช่วยให้องค์กรสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนระบบ SAN หรือ NAS Storage ไปได้แล้ว หากเทียบกับระบบ HCI อื่นๆ นั้น Microsoft S2D ก็ยังถือว่าช่วยให้องค์กรที่มีการใช้งานเทคโนโลยีของ Microsoft เป็นหลักอยู่แล้วในการทำงานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายทางด้านลิขสิทธิ์ Software ลงไปได้ไม่น้อย เพราะใน Windows Server 2016 รุ่น Datacenter นั้น มาพร้อมกับทั้ง Microsoft S2D และ Microsoft Hyper-V ทำให้สามารถรองรับทั้งการทำ Virtualization และ Software-Defined Storage ได้ทันทีในตัว ต่างจากกรณีของ HCI อื่นๆ ที่ต้องลงทุนทั้ง Virtualization, Software-Defined Storage/Appliance และ Windows Server 2016 แยกจากกันทั้งหมด

 

 

ในแง่ของการนำไปใช้งานจริง Microsoft S2D นี้รองรับทั้งการนำไปใช้งานในแบบ Converged Infrastructure คือการแยก Hardware ของ Hyper-V Host ออกจาก S2D Nodes หรือจะใช้งานแบบ Hyper-Converged ที่รวมเอา Hyper-V และ S2D ไว้ในเครื่องเดียวกันก็ได้ หรือจะใช้งานทั้ง 2 แบบร่วมกันไปเลยก็ได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถทำการให้บริการ SMBv3 ไปยังเหล่าผู้ใช้งานเพื่อทำหน้าที่กลายเป็นระบบ File Sharing ประสิทธิภาพสูงสำหรับผู้ใช้งานทั้งองค์กรได้ด้วยในตัว

 

 

Microsoft S2D นี้สามารถเริ่มต้นใช้งานต่อ Cluster ได้ที่ 2 Node และเพิ่มขยายสูงสุดได้ 16 Node ซึ่งด้วยจำนวนเท่านี้ก็ถือว่าเพียงพอต่อองค์กรขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางจำนวนมากในตลาดแล้ว และสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ก็สามารถใช้งานหลายๆ Cluster ได้อีกด้วย โดยเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารจัดการระบบทั้งหมดนี้ก็คือเครื่องมือมาตรฐานของ Microsoft ทั้งสิ้น ได้แก่ Windows Admin Center, Windows PowerShell, System Center, Failover Cluster Manager หรือ Server Manager เป็นต้น

ระบบของ Microsoft S2D นี้สามารถออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงเพื่อรองรับ Workload ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรองรับ Virtualization, Database, File Sharing หรือแม้แต่ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ก็ตาม

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://docs.microsoft.com/en-us/windows-server/storage/storage-spaces/storage-spaces-direct-overview

 

Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes: ระบบ Server ประสิทธิภาพสูง รองรับทุกความสามารถของ Microsoft Storage Spaces Direct

 

 

เพื่อตอบโจทย์ของเหล่าองค์กรที่ใช้งานเทคโนโลยีของ Microsoft เป็นหลักและต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายด้วย Microsoft Storage Spaces Direct ทาง Dell EMC จึงได้ทำการออกแบบระบบ Hardware ขึ้นมารองรับ Microsoft Storage Spaces Direct โดยเฉพาะภายใต้ชื่อระบบ Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes ซึ่งได้ผ่านการทดสอบและรับรองการทำงานโดย Microsoft มาแล้ว

Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes นี้ใช้ Dell EMC PowerEdge R740xd และ R640 เป็นหลัก โดยมีทั้งรุ่น All-NVMe, All-Flash และ Hybrid ให้เลือกใช้งานได้ในขนาด 1U – 2U โดยใช้หน่วยยประมวลผล Intel Xeon Scalable Processor ร่วมกับหน่วยความจำขนาดตั้งแต่ 125GB – 1.5TB และติดตั้ง Disk ภายในได้ตั้งแต่ 10 – 24 ชุด พร้อม Network Interface ที่ระดับความเร็ว 1/10/25GbE เรียกได้ว่าสามารถออกแบบระบบให้รองรับความต้องการได้อย่างหลากหลายเลยทีเดียว

จุดเด่นๆ ของ Dell EMC Microsoft Storage Spaces Direct Ready Nodes นี้คือการออกแบบ Hardware มาให้สามารถรองรับความต้องการของ Microsoft Storage Spaces Direct ได้ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Caching, Storage Tiering, Erasure Coding ไปจนถึงการรองรับ RDMA และ NVMe เพื่อประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลในระดับสูงสุด

อีกจุดเด่นหนึ่งที่น่าสนใจมากคือการที่ Dell EMC นั้นจะกลายเป็น Single Contact Point ให้กับเหล่าลูกค้าองค์กรสำหรับทุกๆ กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบนี้ ไม่ว่าต้นเหตุจะเกิดจาก Hardware ของ Dell EMC หรือ Software ของ Microsoft ก็ตาม ทำให้ผู้ดูแลระบบไม่ต้องปวดหัวกับการระบุต้นตอของปัญหาด้วยตนเองก่อนจะเรียกใช้บริการ Support แต่อย่างใด และมีทีมงานของ Dell EMC เข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาให้ได้ทันที

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dell.com/is/business/p/microsoft-storage-ready-nodes/pd

 

ติดต่อ Dell EMC เพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้โดยตรง

สำหรับผู้ที่สนใจและต้องการให้มีการนำเสนอโซลูชันหรือต้องการใบเสนอราคา สามารถติดต่อทีมงาน Dell EMC ได้โดยตรงที่ ABC หรือ DEF

from:https://www.techtalkthai.com/dell-emc-microsoft-storage-spaces-direct-hci-introduction/

Microsoft จับมือ Intel พัฒนา Hyperconverged ขนาดพกพาได้ในกระเป๋า ราคาเริ่มต้นไม่ถึงแสน

เปิดตัวโครงการ Project Kepler-47 ระบบ Hyperconverged Infrastructure ที่พกพาได้ในกระเป๋าเดินทาง พร้อมความจุระดับ 20TB

microsoft_intel_project_kepler-47_both-servers-in-one-carry-on-bag_thumb

Microsoft ได้ออกมาจับมือกับ Intel เปิดตัว Prototype ของโครงการ Project Kepler-47 ระบบ Hyperconverged Infrastructure ขนาดเล็กที่สามารถพกพาไปได้ง่ายๆ ในกระเป๋าเดินทาง สำหรับตอบโจทย์สาขาขององค์กรและธุรกิจขนาดเล็กให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี Hyperconverged Infrastructure ได้โดยไม่ต้องมีห้อง Data Center ด้วยซ้ำ

microsoft_intel_project-kepler-47-at-ignite-2016_thumb

ภายในโครงการนี้จะประกอบไปด้วย Hardware สองชุด โดยแต่ละชุดนั้นคือ Server ขนาดเล็กที่รองรับการติดตั้งหน่วยความจำได้เกินกว่า 50GB และมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเกินกว่า 20TB โดยสามารถทำงานร่วมกันแบบ Failover Cluster ได้ผ่านทาง Thunderbolt 3 บน USB Type-C เพื่อให้มีความเร็วในการเชื่อมต่อโดยตรงที่สูง 20Gbps – 40Gbps โดยไม่ต้องอาศัย Switch ความเร็วสูงแต่อย่างใด ทำให้กลายเป็น Data Center ขนาดย่อมๆ ได้ในตัวที่สามารถใช้งานได้ภายในออฟฟิศโดยไม่ต้องมีตู้ Rack หรือระบบระบายอากาศเป็นพิเศษ ในขณะที่ขนาดของ Project Kepler-47 นี้เล็กว่า 2U Rack Server อยู่ถึง 45% ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้งใช้งาน

microsoft_intel_project_kepler-47-vs-2u-rack-server_thumb

ในแง่มุมของ Software ระบบ Hardware ทั้งสองเครื่องนี้จะใช้ Microsoft Windows Server 2016 Datacenter ในการทำงาน โดยจะใช้ระบบ Software Defined Storage อย่าง Microsoft Storage Spaces เพื่อเชื่อมการจัดเก็บข้อมูลของ Server ทั้งสองเครื่องให้กลายเป็น Pool เดียวกันและทำ Redundant ระหว่างกันได้ และใช้ Microsoft Hyper-V เพื่อให้บริการ Virtualization ได้ในตัว

สำหรับราคานั้น Hardware แต่ละชุดจะมีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ราวๆ 1,101 เหรียญหรือราวๆ 38,500 บาทเท่านั้น โดยระบบนี้จะต้องใช้ Hardware ด้วยกัน 2 ชุด ราคานี้ยังไม่รวมค่าลิขสิทธิ์ Microsoft Windows Server 2016 Datacenter เพื่อทำ Failover Cluster, Hyper-V และ Storage Spaces Direct และยังไม่รวม HDD หรือ SSD ในตัว

สำหรับรายละเอียดเต็มๆ ว่าใช้ Hardware อะไรบ้างลองเข้าไปดูได้ที่ https://blogs.technet.microsoft.com/windowsserver/2016/10/24/microsoft-and-intel-squeezed-hyper-convergence-into-the-overhead-bin/ เลยนะครับ มีระบุราคาอยู่ทุกชิ้น

from:https://www.techtalkthai.com/microsoft-and-intel-unveil-project-kepler-47-hyper-converged-infrastructure-for-sme-and-branch/