คลังเก็บป้ายกำกับ: IBM_WATSON_HEALTH

[PR] คณะแพทย์เปิดเผยผลการศึกษาชิ้นใหม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ “ไอบีเอ็ม วัตสัน” และการรักษามะเร็ง

ผลการศึกษาชี้คำแนะนำการรักษาของวัตสันสอดคล้องกับของคณะแพทย์ผู้กำหนดแนวทางการรักษามะเร็งถึง 96% จากเคสทั้งหมด และช่วยร่นเวลาในการตรวจคัดกรองทางคลินิคลงได้ถึง 78%

ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็ง (Watson for Oncology) ใปใช้แล้วใน 55 องค์กรทั่วโลก รวมถึงโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ในประเทศไทย

กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 1 มิถุนายน 2560: ไอบีเอ็ม วัตสัน เฮลท์ (NYSE: IBM) และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้เปิดเผยถึงข้อมูลที่จะมีการนำเสนอในที่ประชุม ASCO 2017 ซึ่งเป็นการประชุมด้านมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกี่ยวกับการนำ เทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็ง (Watson for Oncology) ที่ได้รับการพัฒนาฝึกฝนโดยศูนย์มะเร็งเม็มโมเรียลสโลนเคทเทอริ่ง (MSK) และ Watson for Clinical Trial Matching (CTM) ไปใช้ทางคลินิค นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังประกาศถึงการขยายการใช้เทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งในโรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสุขภาพต่างๆ หลายสิบแห่งในออสเตรเลีย บังกลาเทศ บราซิล จีน อินเดีย เกาหลี เม็กซิโก สโลวาเกีย สเปน ไต้หวัน ไทย และสหรัฐอเมริกา รวมถึงการเปิดตัวการนำเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งไปใช้สนับสนุนการรักษามะเร็งต่อมลูกหมาก

ผลการศึกษาของ ASCO เกี่ยวกับเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งที่ได้รับการเปิดเผยในวันนี้ อาทิ

  • การใช้เทคโนโลยี Watson for Clinical Trials Matching สามารถช่วยลดเวลาที่ใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยทางคลินิคลงได้ถึง 78% ซึ่งผลลัพธ์นี้เป็นผลจากการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยีร่วมกับไฮแลนด์ส ออนโคโลจี กรุ๊ป และโนวาร์ตีส โดยในการทดลองนำร่องเป็นเวลา 16 สัปดาห์ ได้มีการนำข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดและมะเร็งทรวงอกจำนวน 2,620 ราย มาประมวลผลโดยระบบ CTM การใช้ขีดความสามารถการประมวลผลภาษาธรรมชาติ ทำให้ระบบ CTM สามารถอ่านขั้นตอนการวิจัยทางคลินิกจากโนวาร์ตีส และประมวลข้อมูลจากระเบียนผู้ป่วยและบันทึกของแพทย์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การคัดผู้ป่วยเข้า หรือตัดผู้ป่วยที่ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ออกโดยอัตโนมัติ ซึ่งนับเป็น 94% ของผู้ป่วยทั้งหมด วิธีนี้ช่วยลดเวลาในการคัดกรองการวิจัยทางคลินิกลงได้จาก 1 ชั่วโมง 50 นาที เหลือเพียง 24 นาที
  • เทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งสามารถแนะนำแนวทางการรักษามะเร็งที่สอดคล้องกับคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (BIH) ถึง 83% สำหรับโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
  • เทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งสามารถแนะนำแนวทางการรักษามะเร็งที่สอดคล้องกับคำแนะนำของคณะกรรมการผู้กำหนดแผนการรักษามะเร็งแบบสหสาขาวิชาชีพของศูนย์มะเร็งมานิพัลคอมพรีเฮนซีฟในเมืองบังกาลอร์ ประเทศอินเดีย ถึง 96% สำหรับมะเร็งปอด 81% สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่ 93% สำหรับมะเร็งทวารหนัก
  • เทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งสามารถแนะนำแนวทางการรักษามะเร็งที่สอดคล้องกับคำแนะนำของคณะกรรมการผู้กำหนดแผนการรักษามะเร็งของศูนย์การแพทย์จิลแห่งมหาวิทยาลัยกาช็อน ในเมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ ถึง 73% สำหรับกรณีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง
  • ในการวิจัยเชิงคุณภาพ บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาในเม็กซิโกยอมรับว่าเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งมีประโยชน์ในการช่วยให้พวกเขาสามารถบ่งชี้ทางเลือกการรักษาที่เป็นไปได้สำหรับผู้ป่วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคลินิคที่ขาดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขา ทั้งยังเป็นประโยชน์ต่อการฝึกสอนนักเรียนแพทย์และแพทย์ที่เข้ามาศึกษาต่อเพื่อเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาใดสาขาหนึ่ง

“เทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งเป็นหนึ่งในตัวอย่างของเทคโนโลยีสำคัญที่จะช่วยให้แพทย์สามารถใช้ประโยชน์จากปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้น สอดคล้องกับแนวทางการรักษาที่เริ่มมีความเฉพาะบุคคลและตอบโจทย์ผู้ป่วยแต่ละรายมากขึ้น” นายแนน เฉิน ผู้อำนวยการอาวุโสด้านการวิจัยพัฒนาและข้อมูลคลินิก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว

“โรงพยาบาลของเราให้การดูแลผู้ป่วยกว่าครึ่งล้านคนจากกว่า 190 ประเทศในแต่ละปี เทคโนโลยีเหล่านี้จึงมีส่วนสำคัญต่อการมอบคุณภาพการรักษาในแบบที่ผู้ป่วยคาดหวัง หนึ่งในตัวอย่างคือกรณีของโรงพยาบาลมองโกเลียน ยูบี ซองดู ในเครือบำรุงราษฎร์ ที่แพทย์ทั่วไปสามารถให้การรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้แม้ไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งอยู่เลย โดยอาศัยเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็ง ที่ให้คำแนะนำได้อย่างสอดคล้องกับแนวทางการวินิจฉัยของแพทย์ ในการกำหนดแผนการรักษา” นายแนนเสริม

“ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าวัตสันสามารถช่วยแพทย์ในการตัดสินใจวางแผนการรักษาชีวิตผู้ป่วยได้มากมายด้วยการย่นระยะเวลาสำหรับแพทย์ในการระบุสาเหตุความเป็นไปได้รวมถึงเสนอทางเลือกเพื่อการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนจากความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ในจำนวนมหาศาล และภายในเวลาที่รวดเร็ว” นางพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าว “ไอบีเอ็มภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาไปอีกขั้นของทั้งโรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล รวมถึงสถาบันทางการแพทย์ทั่วโลก ในการต่อยอดความรู้ด้านมะเร็งที่มีเพิ่มขึ้นใหม่มากมายทุกๆ วันไปสู่มือของแพทย์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการรักษาผู้ป่วย ผ่านนวัตกรรมทันสมัยที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ”

ในวันนี้ ไอบีเอ็มยังได้ประกาศว่าเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งจะสามารถช่วยสนับสนุนการดูแลรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพในผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก ทั้งนี้ ในการพัฒนาฝึกฝนเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งที่กำลังดำเนินการอยู่โดยศูนย์มะเร็งเม็มโมเรียลสโลนเคทเทอริ่งในนิวยอร์คนั้น ทางศูนย์มะเร็งได้ฝึกฝนวัตสันจนปัจจุบันสามารถนำไปใช้ในการสนับสนุนการรักษามะเร็งทรวงอก ปอด ลำไส้ใหญ่ ปากมดลูก รังไข่ กระเพาะอาหาร และต่อมลูกหมาก และภายในปีนี้ จะสามารถสนับสนุนแพทย์ในการรักษามะเร็งรวม 12 ประเภท ซึ่งถือเป็น 80% ของประเภทมะเร็งที่เกิดขึ้นทั่วโลก

“เราภูมิใจในบทบาทของเราในการพัฒนาฝึกฝนวัตสัน รวมถึงการมอบเครื่องมือสนับสนุนการตัดสินใจให้แก่แพทย์ทั่วโลก โดยเป็นเครื่องมือที่อิงตามหลักฐานเชิงประจักษ์และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีค็อกนิทิฟ” นายมาร์ค คริส กรรมการผู้จัดการของวิลเลียมและจอย รัวเอน แชร์ ซึ่งเป็นสาขาด้านมะเร็งวิทยาบริเวณทรวงอกของศูนย์มะเร็งเม็มโมเรียลสโลนเคทเทอริ่ง กล่าว “การผสานกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของวัตสัน เข้ากับองค์ความรู้ของแพทย์ MSK ที่ได้รับการสั่งสมจากประสบการณ์การรักษามะเร็งมายาวนานหลายทศวรรษ ทำให้เราสามารถดำเนินการเพื่อช่วยให้แพทย์มีความเข้าใจและสามารถลงลึกในรายละเอียดเกี่ยวกับความสลับซับซ้อนของโรคภัยไข้เจ็บในผู้ป่วยแต่ละคน เข้าใจข้อมูลด้านมะเร็งที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ได้ดีขึ้น และช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจในการรักษาได้โดยมีหลักฐานอ้างอิงที่ชัดเจน”

ศักยภาพที่เพิ่มขึ้นของวัตสัน

ข้อมูลเกี่ยวกับวัตสันที่ได้รับการนำเสนอที่การประชุม ASCO ปีนี้ เป็นผลจากการศึกษาก่อนหน้านี้ถึงวิวัฒนาการของเทคโนโลยี อันเป็นเครื่องยืนยันถึงศักยภาพในการใช้วัตสันช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการกำหนดแนวทางการรักษา รวมถึงในงานค้นคว้าวิจัยต่างๆ อาทิ

  • ในปี 2559 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งสามารถแนะนำแนวทางการรักษามะเร็งที่สอดคล้องกับคำแนะนำของคณะกรรมการผู้กำหนดแผนการรักษามะเร็งแบบสหสาขาวิชาชีพของศูนย์มะเร็งมานิพัล ถึง 90% สำหรับโรคมะเร็งทรวงอก
  • ในปี 2559 การศึกษาของ ASCO ได้ตรวจสอบถึงความสามารถในการวิเคราะห์ภาษาธรรมชาติของวัตสันที่ศูนย์มะเร็งครบวงจรวิคตอเรียในประเทศออสเตรเลีย
  • ในปี 2558 การศึกษาของ ASCO ทำการตรวจสอบถึงความสามารถของเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็ง ในการให้คำแนะนำสำหรับเคสผู้ป่วยในอดีตที่ MSK
  • ในปี 2557 การศึกษาของ ASCO แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งแสดงข้อมูลได้ตรงกับข้อมูลที่ได้รับการฝึกฝนโดย MSK ถึง 100%
  • ในปี 2557 การศึกษาของวิทยาลัยการแพทย์เบย์เลอร์พบว่า Watson for Drug Discovery สามารถช่วยระบุโปรตีน 6 ชนิดที่ควรมุ่งเน้นในการวิจัยยีน p53 ซึ่งเกี่ยวข้องกับมะเร็งได้ ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์
  • ในปี 2558 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า Watson for Genomics สามารถช่วยแพทย์วิเคราะห์การหาลำดับเบสทั้งหมดของจีโนม นำไปสู่การค้นพบมุมมองเชิงลึกใหม่ๆ ในเวลาเพียงไม่กี่นาที

การใช้วัตสันเพื่อสนับสนุนการรักษามะเร็ง

วันนี้ ไอบีเอ็มได้ประกาศถึงรายชื่อองค์กรที่จะเริ่มนำเทคโนโลยีของวัตสันในด้านวิทยามะเร็งไปใช้เพิ่มเติมจำนวน 9 ราย ปัจจุบันเทคโนโลยีดังกล่าวได้รับการนำไปใช้ที่โรงพยาบาลและองค์กรด้านสุขภาพแล้วมากกว่า 55 แห่งทั่วโลก โดยแพทย์ในประเทศต่างๆ อาทิ อินเดีย จีน ไทย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น บังกลาเทศ สเปน สโลวาเกีย โปแลนด์ เม็กซิโก บราซิล ออสเตรเลีย แคนาดา และสหรัฐอเมริกา กำลังใช้หรือเริ่มดำเนินการเพื่อใช้ระบบนี้ เพื่อที่จะได้รับข้อมูลสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจ เรื่องราวต่างๆ จากองค์กรที่ได้เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้ไปก่อนแล้ว ชี้ให้เห็นว่าวัตสันสามารถมอบความหวังและเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม

หน่วยงานล่าสุดที่เริ่มนำเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งไปใช้ ได้แก่ ไอคอนกรุ๊ปในออสเตรเลีย กรุ๊ปโปแองเคเลส เซรบิซิออส เด ซาลุดในเม็กซิโก แม เด เดอุสในบราซิล มหาวิทยาลัยการแพทย์ไทเปในไต้หวัน ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแดกูคาธอลิกในเกาหลีใต้ ศูนย์การแพทย์ตงซานของมหาวิทยาลัยเคมย็องในเกาหลีใต้ โรงพยาบาลแห่งชาติปูซานในเกาหลีใต้ และสเว็ตซีเดรเวียในสโลวาเกียและโปแลนด์ นอกจากนี้ ไอบีเอ็มยังได้ลงนามการเป็นพันธมิตรช่องทางจัดจำหน่ายใหม่กับไรท์ส โซลูชั่นส์ เพื่อนำเทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งไปใช้ในโรงพยาบาลต่างๆ ในบังกลาเทศ เนปาล ภูฎาน และอินเดียตะวันออก

เทคโนโลยีวัตสันเพื่อการพัฒนาการรักษามะเร็งได้รับการพัฒนาฝึกฝนโดยบรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยาของศูนย์มะเร็งเม็มโมเรียลสโลนเคทเทอริ่งในนิวยอร์ค โดยเป็นระบบค็อกนิทีฟคอมพิวติ้งที่ใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ เพื่อย่อยข้อมูลผู้ป่วยทั้งที่อยู่ในรูปแบบมีโครงสร้างและไร้โครงสร้าง ระบบนี้จะนำเสนอทางเลือกในการรักษาเพื่อให้แพทย์ใช้พิจารณาในการรักษาผู้ป่วย โดยเป็นคำแนะนำที่อ้างอิงไกด์ไลน์ต่างๆ ที่ผ่านการรับรอง เอกสารทางการแพทย์ รวมถึงการฝึกฝนจากเคสผู้ป่วยต่างๆ

“ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เริ่มเข้ามาสู่วงการแพทย์ในปัจจุบัน เนื่องด้วยเพราะบริษัทด้านเทคโนโลยีอย่างไอบีเอ็ม ที่ได้ผลักดันการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้อย่างกว้างขวาง” ซินเธีย เบิร์กฮาร์ด ผู้อำนวยการด้านการวิจัยของไอดีซี เฮลท์ อินไซท์ส กล่าว “การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ จะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญในวงการแพทย์และการดูแลสุขภาพ และผลักดันวงการนี้ให้ก้าวไปข้างหน้าเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของการดูแลสุขภาพที่เน้นคุณค่าต่อไป”

ไอบีเอ็มเฮลท์คอร์ปสร่วมแก้ปัญหาซัพพลายเชนของตัวยาที่ใช้ในการทำคีโม

ความเชี่ยวชาญด้านมะเร็งของไอบีเอ็มยังได้รับการนำไปใช้เพื่อร่วมแก้ปัญหาการขาดแคลนตัวยาสำหรับการทำคีโมในกลุ่มประเทศทางตอนใต้ของทะเลทรายแอฟริกา ผ่านโครงการไอบีเอ็มเฮลท์คอร์ปส อันจะเป็นการช่วยเจ้าหน้าที่ด้านการดูแลสุขภาพให้สามารถเข้าถึงยาที่ได้มาตรฐานในราคาที่ต่ำกว่า โดยทีมงานได้ออกแบบซอฟต์แวร์คีโมแควนท์ (ChemoQuant) ที่จะช่วยให้เจ้าหน้าที่วางแผนและจัดซื้อของกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพสามารถพยากรณ์ปริมาณการทำคีโม ตรวจสอบปริมาณยาคงเหลือ แสดงรายการซัพพลายเออร์ที่มี ประเมินราคา พร้อมสั่งยาในปริมาณที่มากพอที่จะได้รับส่วนลด

###

เกี่ยวกับไอบีเอ็ม วัตสัน เฮลท์ (IBM Watson Health)

วัตสันคือระบบค็อกนิทีฟ คอมพิวติ้ง ที่ถูกนำมาใช้ในเชิงพาณิชย์เป็นรายแรก เป็นระบบที่แสดงถึงการเปิดศักราชใหม่ของเทคโนโลยีคอมพิวติ้ง ระบบดังกล่าวให้บริการผ่านคลาวด์ และสามารถวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาล ทำความเข้าใจคำถามที่ซับซ้อนที่ถูกตั้งขึ้นในภาษาธรรมชาติ รวมถึงนำเสนอคำตอบโดยอิงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ วัตสันสามารถเรียนรู้และเพิ่มเติมองค์ความรู้ได้อย่างต่อเนื่องจากการปฏิสัมพันธ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในเดือนเมษายน 2558 บริษัทได้เปิดตัวแพลตฟอร์ม ไอบีเอ็ม วัตสัน เฮลท์ และวัตสัน เฮลท์ คอร์ คลาวด์ (ปัจจุบันรวมเรียกว่าวัตสัน แพลตฟอร์ม ฟอร์ เฮลท์) ที่ช่วยยกระดับขีดความสามารถของแพทย์ นักวิจัย และบริษัทประกัน ในการสร้างนวัตกรรมโดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากข้อมูลสุขภาพส่วนบุคคลที่มีปริมาณมหาศาล ที่ได้จัดทำขึ้นและมีการใช้งานร่วมกันในแต่ละวัน  วัตสัน แพลตฟอร์ม ฟอร์ เฮลท์ สามารถปกปิดข้อมูลที่ระบุตัวตนของผู้ป่วย และเปิดโอกาสให้มีการแบ่งปันและรวมข้อมูลนี้เข้ากับมุมมองในภาพรวมของข้อมูลทางคลินิก ข้อมูลการวิจัย และข้อมูลเชิงสังคมในด้านสุขภาพ อันเป็นข้อมูลที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา 

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอบีเอ็ม วัตสัน ได้ที่ ibm.com/watson หรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอบีเอ็ม วัตสัน เฮลท์ ที่ ibm.com/watsonhealth

from:https://www.techtalkthai.com/clinicians-present-new-evidence-about-watson-cognitive-technology-and-cancer-care/

IBM จับมือ American Cancer Society สร้างบริการแนะนำผู้ป่วยมะเร็งด้วย IBM Watson

IBM ประกาศความร่วมมือกับ American Cancer Society เพื่อนำเทคโนโลยี Cognitive Computing Platform ของ IBM Watson เข้าไปช่วยแนะนำผู้ป่วยโรคมะเร็งในการรักษาและการรับมือกับอาการต่างๆ ของโรค รวมถึงเข้าไปช่วยทำการวิจัยเรื่องโรคมะเร็งด้วย

ibm_watson_with_merge_healthcare

ความร่วมมือครั้งนี้ถูกประกาศในงาน World Health Care Congress ครั้งที่ 13 และมีเป้าหมายที่จะทำให้การรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นได้รับการรักษาที่ดีที่สุด โดยการนำ IBM Watson มาให้คำแนะนำต่างๆ สำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแลเป็นรายบุคคล เพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การนำ IBM Watson เข้ามาช่วยในทางการแพทย์นี้จริงๆ แล้วในไทยเองก็มีการใช้งานอยู่เช่นกัน โดย IBM Watson for Oncology ที่เป็นระบบผู้ช่วยแนะนำแพทย์เกี่ยวกับข้อมูลเนื้องอกและมะเร็งซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยการร่วมมือกับ Memorial Sloan Kettering Cancer Center นั้นได้ถูกใช้งานอยู่ ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งภายในประเทศไทย

ต่อไปเทคโนโลยีทางด้าน AI กับวงการการแพทย์ก็คงจะแน่นแฟ้นกันยิ่งขึ้นไปอีก และในอนาคตก็อาจกลายเป็นแนวทางหลักทางหนึ่งในการช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคต่างๆ รวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยก็เป็นได้

ที่มา: http://fortune.com/2016/04/12/ibm-americancancersociety-partnership/#prclt-h9BAa81X

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-with-american-cancer-society-to-help-cancer-patients-with-cognitive-computing/

IBM เตรียมศึกษาโรคมะเร็งจาก DNA และ RNA ด้วย IBM Watson

IBM ได้ประกาศความร่วมมือกับ New York Genome Center เพื่อสร้างศูนย์จัดเก็บข้อมูลทางด้านยีนของผู้ป่วยโรคมะเร็ง เพื่อทำการศึกษาและวิจัยโดยใช้เทคโนโลยี Cognitive Computing เพื่อวิเคราะห์ DNA และ RNA จากเนื้องอกของผู้ป่วย เพื่อให้วงการการแพทย์มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคมะเร็งมากขึ้น และช่วยให้การรักษาผู้ป่วยแต่ละคนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Watson, powered by IBM POWER7, is a work-load optimized system that can answer questions posed in natural language over a nearly unlimited range of knowledge.
Watson, powered by IBM POWER7, is a work-load optimized system that can answer questions posed in natural language over a nearly unlimited range of knowledge.

ถัดจากนี้ไป IBM และ New York Genome Center จะร่วมกันสอน IBM Watson ให้เรียนรู้การวิเคราะห์ยีน เพื่อช่วยวิเคราะห์ข้อมูล DNA และ RNA ให้กับเหล่าเจ้าหน้าที่และนักวิจัย โดยเริ่มต้นจากข้อมูลยีนของผู้ป่วยมะเร็ง 200 รายเพื่อทำการค้นหาความแตกต่างของยีนที่ส่งผลต่อวิธีการรักษามะเร็ง และทำการประสานงานกับคลินิคที่รักษาผู้ป่วยเหล่านี้เพื่อให้ทำการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่รักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปด้วยพร้อมๆ กัน

ทั้งนี้การศึกษาจีโนมนี้อาจเป็นหนึ่งในหนทางการวิจัยและการรักษามะเร็งที่มีความสำคัญมากที่สุดทางหนึ่ง การร่วมมือกันครั้งนี้ทั้งในแง่ของการรวบรวมข้อมูลจีโนมสำหรับนักวิจัยและเผยแพร่เป็นข้อมูลเปิด รวมถึงการเรียนรู้และวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ด้วยเทคโนโลยี Cognitive Computing นั้นต่างก็เป็นสิ่งที่จะช่วยผลักดันให้การรักษามะเร็งมีความเป็นไปได้ใหม่ๆ ขึ้นมาทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Precision Medicine Initiative โดยประธานาธิบดี Obama แห่งสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

ที่มา: http://www-03.ibm.com/press/us/en/pressrelease/49232.wss

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-to-research-cancer-in-dna-and-rna-with-ibm-watson/

IBM เตรียมเข้าซื้อกิจการ Truven Health Analytics มูลค่า 2,600 ล้านเหรียญ เสริมทีม Watson Health

IBM Watson Health ได้เผยแผนการเข้าซื้อกิจการของ Truven Health Analytics ผู้ให้บริการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับกลุ่ม Healthcare แบบ Cloud ด้วยมูลค่า 2,600 ล้านเหรียญ หรือราวๆ 91,000 ล้านบาท เสริมฐานลูกค้ากลุ่มสาธารณสุขให้กับ IBM Watson Health เพิ่มขึ้นอีก 8,500 ราย พร้อมฐานลูกค้าผู้ป่วยอีกราวๆ 215 ล้านราย รวมๆ แล้ว IBM ได้ลงทุนกับ Watson Health ไปแล้วมากกว่า 4,000 ล้านเหรียญนับแต่เปิดบริษัทเมื่อเมษายน 2015

ibm_truven_banner

หลังจากเข้าซื้อกิจการเสร็จ IBM Watson Health จะกลายเป็นธุรกิจที่มีฐานข้อมูลทางด้านสุขภาพใหญ่ที่สุดในโลกรายหนึ่ง ซึ่งจะมีข้อมูลผู้ป่วยรวมกันราวๆ 300 ล้านรายจากการเข้าซื้อกิจการด้วยกัน 3 บริษัท และ IBM ก็เตรียมที่จะทำการผสานข้อมูลจาก Cloud ของ Truven เข้ากับฐานข้อมูลที่มีอยู่เดิมด้วย ทำให้บริการ IBM Watson Health Cloud นี้มีข้อมูล Unstructured Data จำนวนมหาศาลสำหรับให้บริการองค์กรสาธารณสุขสำหรับประกอบการตัดสินใจทางด้านสุขภาพ

IBM Watson Health ได้นำแนวคิดแบบ Value-based Care ที่จะทำให้บริการสาธารณสุขต่างๆ สามารถคิดค่าใช้จ่ายได้ตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริงจากการรักษา ทำให้ผู้ป่วยได้ลงทุนทางด้านสุขภาพได้อย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น พร้อมมีข้อมูลเชิงตัวเลขครบถ้วนสำหรับการชี้วัดสุขภาพของตน ซึ่งแตกต่างจากบริการสาธารณสุขเดิมที่ราคาขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในการรักษา

การที่ IBM นำเทคโนโลยี Data Analytics และ Cognitive มาเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ ทีละ Vertical นี้ถือเป็นก้าวที่น่าสนใจมากของ IBM ในปีนี้

ที่มา: http://www-03.ibm.com/press/us/en/pressrelease/49132.wss 

from:https://www.techtalkthai.com/ibm-plans-to-acquire-truven-health-analytics-at-2600-million-usd/