คลังเก็บป้ายกำกับ: FUJITSU_ACTIVENOW_2021

Fujitsu ตั้งเป้า สร้างโลกที่ยั่งยืน มุ่งแก้ปัญหาสังคม ในฐานะ DX Partner

การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจและเป้าหมายของหลายประเทศเริ่มเปลี่ยนไป เห็นได้ชัดจากนโยบายต่อสิ่งแวดล้อมจากประเทศต่างๆ เพราะตระหนักดีแล้วว่าปรากฏการณ์ภัยธรรมชาติ และโรคระบาดเริ่มปรากฏชัดเจนบ่อยครั้งมากขึ้น ด้วยเหตุนี้เองระยะหลังมานี้ประเทศต่างๆจึงได้ตั้งเป้าใหม่เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อโลกแทนที่จะเป็นเป้าจากตัวเลขทางเศรษฐกิจเหมือนในอดีต

เช่นกัน Fujitsu ในฐานะผู้ให้บริการทางเทคโนโลยีและเป็นส่วนหนึ่งในโลกใบใหญ่นี้ ที่งาน FujitsuActiveNow 2021 ที่เพิ่งจบลง บริษัทจึงได้ประกาศเป้าหมายเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน ด้วยการมุ่งแก้ปัญหาสังคมในภูมิภาคเอเชียเพราะถือเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของเศรษฐกิจโลกและรากฐานของ Fujitsu

โควิด19 ทำให้โลกของเราเปลี่ยนไปมากนัก เพราะเมื่อการแพร่ระบาดเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน องค์กรจึงโดนบังคับให้เร่งทำ Digital Transformation (DX) อย่างเร็วที่สุด ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบ New Normal โดยสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ช่องทางการสื่อสารจากเดิมที่เจอหน้ากันกลายเป็นออนไลน์ผ่านหน้าจอ การทำธุรกิจจากช่องทางแบบเห็นหน้าลงสู่โลกออนไลน์ นอกจากเรื่องโรคระบาดแล้ว ปัญหาที่เรื้อรังอย่างความไม่เท่าเทียมก็เริ่มรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจน

คุณโคจิ มาสุดะ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของฟูจิตสึ

ที่งานสัมมนา Fujitsu ActiveNow2021 ซึ่งเป็นงานสัมมนาใหญ่ประจำปี คุณโคจิ มาสุดะ รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียของฟูจิตสึ  จึงได้นำเสนอแนวทางและวิสัยทัศน์การเป็น DX Partner นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางสังคม  ซึ่งคุณโคจิได้หยิบยกเอาผลคาดการณ์ของลักษณะธุรกิจในยุค New Normal มานำเสนอดังนี้

1.) Sustainability – องค์กรหลายแห่งมีแผนที่จะสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม หลังเผชิญปัญหาโรคระบาด เช่น โรคร้อน สังคมสูงอายุ ความไม่เท่าเทียม การขาดแคลนอาหาร และขยะ ไปจนถึงปัญหาขยะพลาสติกในทะเล โดยองค์กรเหล่านี้ต่างตระหนักว่าตนอยู่ในส่วนหนึ่งของภาพปัญหาที่จะต้องถูกแก้

2.) ฺBorderless – ภาพการทำงานขององค์กรได้ถูกปฏิวัติไปอย่างสิ้นเชิง ในรูปแบบที่เราเรียกว่า Work From Home ก่อนหน้ามีพนักงานราว 1 ใน 4 เท่านั้นที่ปฏิบัติในลักษณะนี้ได้ แต่พอโควิด มาถึงพนักงานอย่างน้อย 2 ใน 3 ต้องทำงานจากที่บ้านทันที และเมื่อโลกคุ้นชินแล้วคาดว่าในอีก 3-4 ปีข้างหน้าจะยิ่งมีการเพิ่มขึ้นของพนักงานในรูปแบบนี้

3.) Business is Ecosystem – ในอดีตธุรกิจมุ่งแต่การผลิตสินค้าและบริการตามมาตรฐานเป็นหลัก แต่เทรนด์ในสมัยปัจจุบันธุรกิจต้องมองความต้องการจากผู้คน เพื่อนำมาสร้างนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์

4.) Resilience – ความยืดหยุ่นคือปัจจัยที่ทำให้องค์กรสามารถรับมือกับโควิด19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยผลสำรวจพบว่าองค์กรที่รับมือกับการแพร่ระบาดได้ดีกว่า 49% นั้นก็เพราะความสามารถในการปรับตัว รองลงมา 44% มาคือได้มีการเตรียมตัวทำ DX มาบ้างแล้วหรือเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงได้เร็วพอ และสุดท้าย 40% มองเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานเป็นเรื่องหลัก

5.) Trust Automation – จากความคิดเห็นของผู้บริหารราว 83% เชื่อในการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนทิศทางการตัดสินใจขององค์กร โดย 82% วางแผนที่จะทำเรื่อง Automation และเกือบครึ่งหนึ่งหรือ 44% เชื่อว่าภายในปี 2025 กระบวนการทางธุรกิจกว่าครึ่งจะทำงานได้อย่างอัตโนมัติ นั่นแสดงให้เห็นถึงว่าธุรกิจมีความเชื่อมั่นในพลังแห่ง Automation

มุมมองของปัญหาทางสังคมและโอกาสทางธุรกิจในภูมิภาคอาเซียน

ทุกภูมิภาคย่อมมีปัญหาที่สะท้อนบริบททางสังคมในแถบนั้น อย่างไรก็ดีปัญหาทางสังคมยังมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเทศด้วย เช่น บางประเทศก็มีปัญหาขยะล้น รถติด น้ำท่วม คุณภาพอากาศ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีความท้าทายอยู่ในทุกมุมมอง

ถึงกระนั้นเองภูมิภาคเอเซียก็ยังมีนัยสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของโลก โดยจากข้อมูลพบว่าแม้ช่วงหลายปีหลังมานี้ อัตราการการเติบโตของตัวเลข GDP ในเอเชียจะหดตัวลง ยิ่งในปีก่อนถ้านับแค่ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตัวเลขถือได้ว่าติดลบถึง 4% สอดคล้องกับเอเชียตะวันออกหดตัวเหลือแค่ 1.8% แต่เมื่อย้อนกลับมาดูตัวเลข GDP ที่เอเชียมีต่อเศรษฐกิจโลกนั้นกลับยังสูงขึ้น ที่ดูเหมือนจะไม่กี่ % ก็ตาม แต่คาดการณ์ว่าเมื่อโรคระบาดหายไป ภูมิภาคเอเซียนี้จะมีโอกาสเติบโตกลับมาเพิ่มสูง อย่างน้อยก็ถึงปี 2026 หรืออีก 5 ปีข้างหน้า

นั่นสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคที่ Fujitsu เองเล็งเห็นถึงโอกาสนี้ อย่างไรก็ดีเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมนี้ Fujitsu ที่มองตัวเองเป็น DX Partner ให้กับลูกค้า จึงได้ทุ่มเทบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีจากพันธมิตร สอดแทรกเข้าไปเป็นรากฐานทางธุรกิจที่สามารถใช้แก้ปัญหาทางสังคม

บทบาทของ Fujitsu กับการแก้ปัญหาทางสังคม

Fujitsu ได้แบ่งโจทย์ในการแก้ปัญหาทางสังคมออกเป็น 7 ด้านคือ

1.) Sustainability Manufacturing

มุ่งหน้าสร้าง Ecosystem ของภาคการผลิตอย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่น ในหลายอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ ซึ่งด้วยความเชี่ยวชาญของ Fujitsu ทั้งด้าน AI และ HPC เชื่อแน่ว่าจะช่วยสร้างระบบ Supply Chain และเศรษฐศาสตร์แบบหมุนเวียน ที่สามารถลดการปล่อยคาร์บอนได้

2.) Consumer Experience

ผู้บริโภคแต่ละคนย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ด้วยเหตุนี้เองการใช้งานข้อมูลเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ถูกทางจึงเป็นเรื่องจำเป็น โดย Fujitsu เองเชื่อว่าโอกาสเป็นของกลุ่มอุตสาหกรรมค้าปลีก ซึ่งต้องมีการปรับปรุงระบบ Supply Chain และวิธีการสร้าง Consumer Experience ที่สามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนได้ ทั้งนี้ได้นำเสนอโซลูชัน Retail-as-a-Service เพื่อตอบสนองประสบการณ์ในการซื้อขายใหม่ๆ

3.) Healthy Living

สร้าง Infrastructure และนวัตกรรมที่สามารถเชื่อมโยงให้มนุษย์สามารถเข้าถึงบริการทางสุขภาพในชีวิตประจำวัน โดยเทคโนโลยีคือฐานที่รวบรวมบริการของ การให้บริการทางสุขภาพ บริษัท รัฐบาล และผู้คนให้เชื่อมต่อกัน ทั้งหมดนี้เพื่อสร้างสังคมที่ยึดเอาผู้คนเป็นศูนย์กลางอย่างเท่าเทียมโดยไม่มีความแตกต่าง

4.) Trusted Society

ผู้คนในส้งคมต้องสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้ เช่น ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ซึ่งก็ต้องมีมาตรการอย่างยืดหยุ่นมากพอ โดยต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งรัฐ ประชาชนและพันธมิตรของ Fujitsu เพื่อแก้ปัญหาทางสังคม โดย Fujitsu เองคำนึงถึงเรื่องสภาพแวดล้อมเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อให้ผู้คนได้อยู่ที่โลกที่สันติและรุ่งเรืองสืบไป

5.) Digital Shifts

ผู้คนคือผู้สร้างคุณค่าให้แก่องค์กร แต่การที่จะนำข้อมูลและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเกิดประโยชน์ได้นั้น องค์กรจำต้องมีกระบวนการที่รวดเร็วและยืดหยุ่น ซึ่ง Fujitsu ได้นำเสนอโซลูชัน Digital Shifts ที่จะเป็นรากฐานให้องค์กรได้มาซึ่งปัจจัยนั้น ต่อยอดไปเป็นความสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างสูงสุด

6.) Business Application

โลกปัจจุบันบริการและการปฏิบัติงานขององค์กรต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างต่อเนื่อง รวดเร็ว และต้องทำอย่างชาญฉลาด ถึงจะสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนได้ Fujitsu ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเอาทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญร่วมกับพาร์ทเนอร์ เข้ามาช่วยเหลือลูกค้าในการทำ Digitization ตั้งแต่การ Migrate, Modernizing, Developing, Deploy และการรันแอปบนคลาวด์หรือ Hybrid

7.) Hybrid IT

Fujitsu เล็งเห็นว่า Digital Touch Point คือจุดที่เชื่อมโยงบริการและข้อมูลทุกสิ่งในระบบเอาไว้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่ตนจะต้องสร้าง Infrastructure ที่น่าเชื่อถือและมั่นคงปลอดภัยให้ลูกค้ามีความมั่นใจได้ว่า ผู้คน สินค้า และทรัพย์สินดิจิทัลของท่านอยู่ในสถานะที่ปลอดภัย

credit : Fujitsu

นอกจากนี้ Fujitsu ยังได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ที่ตนได้ปฏิวัติองค์กรภายในเพื่อตอบโจทย์ใน DX 4 ด้านคือ การยุบรวมแอปทางธุรกิจ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงออฟฟิศ ใส่ใจกับการใช้ชีวิตและงานได้อย่างลงตัว และการจัดอีเวนต์ออนไลน์ ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นแนวทางให้องค์กรที่สนใจสามารถนำกลับไปประยุกต์ใช้กับตัวเองได้

และสุดท้ายคุณโคจิจึงได้กล่าวถึงการจัดตั้งแบรนด์ธุรกิจใหม่ที่ชื่อ Fujitsu Uvance เพื่อตอบสนองเป้าหมายที่ Fujitsu วางไว้ข้างต้นอย่างจริงจังนับแต่นี้ โดยวางตัวเองเป็น DX Partner ที่มาพร้อมกับ Ecosystem ทางเทคโนโลยี พร้อมนำส่งนวัตกรรมความก้าวหน้าใหม่ๆ เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาทางสังคม และนำรอยยิ้มมาสู่เอเชียของเรา

from:https://www.techtalkthai.com/sustainable-future-plans-by-fujitsu-in-activenow2021/

[Guest Post] ฟูจิตสึเปิดตัวแบรนด์ธุรกิจใหม่ Fujitsu Uvance มุ่งแก้ปัญหาสังคม ด้วยนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน

โตเกียว, –  ฟูจิตสึได้เปิดตัวแบรนด์ธุรกิจระดับโลกใหม่ล่าสุด Fujitsu Uvance ซึ่งจะนำเสนอโซลูชั่นด้านทรานส์ฟอร์เมชั่นเพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืน  Fujitsu Uvance จะใช้ประโยชน์จากความสามารถด้านเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านการแก้ไขปัญหาของฟูจิตสึใน 7 ด้านที่สำคัญ เพื่อมอบคุณประโยชน์ที่เหนือกว่าให้แก่ลูกค้า ควบคู่ไปกับการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด นั่นคือ “การทำให้โลกมีความยั่งยืนมากขึ้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคมโดยอาศัยนวัตกรรม”

นายโทชิโร มิอุระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟูจิตสึ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวย้ำว่า “เป้าหมายสำคัญของฟูจิตสึคือการตอกย้ำวิสัยทัศน์ที่มุ่งไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน ด้วยความสามารถในการนำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมาทำงานสอดประสานกัน เพื่อช่วยสนับสนุนความสำเร็จของลูกค้า มีส่วนร่วมในการสร้างโลกที่ยั่งยืน ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีและบริการที่หลากหลายของฟูจิตสึเข้ากับเครือข่ายพาร์ทเนอร์ระดับสากลที่เติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ส่งผลให้ฟูจิตสึสามารถนำเสนอโซลูชันที่ตอบทุกโจทย์ความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมที่หลากหลายได้อย่างลงตัว”

คำว่า “Uvance” สื่อถึงแนวคิดของการทำให้ทุกสิ่ง (Universal) ก้าวไปข้างหน้า (Advance) ในทิศทางที่ยั่งยืน ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของฟูจิตสึใน “เป็นการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ด้วยการเชื่อมโยงผู้คน เทคโนโลยี และแนวคิดต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อสร้างโลกที่ยั่งยืนและเปิดโอกาสให้ทุกคนก้าวตามความฝันได้มากขึ้น”

Fujitsu Uvance จะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตให้กับธุรกิจหลักของฟูจิตสึ ซึ่งครอบคลุมโฟกัส 7 ด้านที่สำคัญ โดย 4 ด้านนั้นเกี่ยวข้องกับธุรกิจสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างโลกที่น่าอยู่และแก้ไขปัญหาสังคมที่ต้องเผชิญทั้งในปัจจุบันและอนาคต โฟกัส 4 ด้านที่ว่านี้ได้แก่ การผลิตที่ยั่งยืน (Sustainable Manufacturing), ประสบการณ์สำหรับผู้บริโภค (Consumer Experience), การใช้ชีวิตที่มีสุขภาพดี (Healthy Living) และสังคมที่เชื่อถือได้ (Trusted Society) ส่วนอีก 3 ด้านเพื่อที่เข้ามารองรับการดำเนินงานข้างต้นและทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล การผสานรวมแอพพลิเคชั่น และการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล (Digital Shifts), แอพพลิเคชั่นทางธุรกิจ (Business Applications) และระบบไอทีแบบไฮบริด (Hybrid IT)

ฟูจิตสึจะนำเสนอแนวทางการดำเนินงานของ Fujitsu Uvance ซึ่งมุ่งเน้นการขับเคลื่อนนวัตกรรมภายใต้วิสัยทัศน์ระดับโลกสำหรับการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน

ภายในงาน “Fujitsu ActivateNow 2021” ซึ่งเป็นกิจกรรมระดับโลกที่จัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ในวันอังคารที่ 12 ตุลาคม นั้น จะมีสาส์นจากผู้บริหารของฟูจิตสึ วิทยากรรับเชิญ และลูกค้า เพื่อส่งมอบแนวคิดให้กับผู้เข้าร่วมรับฟัง

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความท้าทายที่เพิ่มขึ้นและทิศทางที่เปลี่ยนไปของประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ก่อให้เกิดโอกาสที่มากมาย รวมถึงปัญหาท้าทายที่ซับซ้อน จนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนำไปสู่ภัยธรรมชาติที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ในช่วงปีที่ผ่านมาเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วทุกมุมโลก ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวเผยให้เห็นถึงปัญหาความแตกแยกและความไม่เท่าเทียมกันที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ทั่วโลก จนนำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับค่านิยมและรูปแบบการใช้ชีวิตของประชาชน รวมไปถึงปัญหาท้าทายใหม่ๆ ที่เราไม่คาดคิดมาก่อน ซึ่งนับเป็นภัยคุกคามต่ออนาคตของมนุษยชาติและโลก การแก้ไขปัญหาเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ขณะที่ผู้บริหารจำเป็นที่จะต้องฉีกกฎเกณฑ์เดิมๆ และกล้าที่จะก้าวเดินไปในทิศทางใหม่เพื่อมุ่งไปสู่อนาคตที่สดใส โดยใช้นวัตกรรมเป็นแสงนำทาง

ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของช่วงเวลาที่เป็นจุดเปลี่ยนนี้ ฟูจิตสึจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ขึ้นใหม่ในปี 2563 โดยปรับใช้แนวทางใหม่ในการพลิกโฉมองค์กรไปสู่ธุรกิจที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อทำให้โลกของน่าอยู่มากขึ้น ตลอดจนเพื่อรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2573 ฟูจิตสึ ได้ระบุโฟกัส

หลัก 7 ด้านที่เป็นพื้นฐานสำหรับ Fujitsu Uvance  อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโฟกัสหลัก 7 ด้านของ Fujitsu Uvance  ตามภาพด้านล่างนี้  หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ Fujitsu Uvance Global

แผนการสำหรับอนาคต

เพื่อฉลองการเปิดตัวในครั้งนี้ ฟูจิตสึได้เปลี่ยนชื่ออาคาร “Fujitsu Kawasaki Tower” ในประเทศญี่ปุ่นเป็น “Fujitsu Uvance Kawasaki Tower” และใช้เป็นห้องปฏิบัติการที่จัดแสดงศักยภาพการใช้งานจริงของเทคโนโลยีต่างๆ เช่น ไบโอเมตริก การวิเคราะห์ภาพ ฯลฯ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้จะมีบทบาทต่อฟูจิตสึในธุรกิจที่สำคัญ 7 ด้าน

นอกจากนี้ ฟูจิตสึเตรียมเปิดตัวโลโก้รูปโฉมใหม่ พร้อมกับการเริ่มต้นดำเนินงานของ Fujitsu Uvance ตรงกับลูกค้า โดยโลโก้ใหม่นี้สื่อถึงการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมทำให้โลกมีความ

ยั่งยืนมากขึ้น โดยมีการจัดวางโลโก้เครื่องหมายอินฟินิตี้ (Infinity Mark) ไว้ที่ด้านหน้า พร้อมด้วยลายเส้นโค้งมนที่ลื่นไหลในรูปแบบไดนามิก แสดงถึงความมุ่งมั่นของฟูจิตสึในการเสริมสร้างพลังเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและยังสื่อความหมายถึงวงจรการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ลูกค้า สังคม และโลกของเรา

ฟูจิตสึมุ่งมั่นดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 

สหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals – SDGs) เมื่อปี 2558 โดยตั้งเป้าที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าวทั่วโลกภายในปี 2570 ขณะที่ฟูจิตสึมีจุดมุ่งหมายที่จะ “ทำให้โลกมีความยั่งยืนมากขึ้นด้วยการสร้างความเชื่อมั่นต่อสังคมโดยอาศัยนวัตกรรม” และนั่นคือคำมั่นสัญญาสำหรับการสร้างอนาคตที่ดีกว่าตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ

เกี่ยวกับฟูจิตสึ

ฟูจิตสึเป็นบริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ชั้นนำของญี่ปุ่นที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ โซลูชัน และบริการด้านเทคโนโลยีอย่างเต็มรูปแบบ พนักงานฟูจิตสึมีจำนวนประมาณ 126,000 คน สนับสนุนลูกค้าในกว่า 100 ประเทศ เราใช้ประสบการณ์และพลังของ ICT เพื่อกำหนดอนาคตของสังคมร่วมกับลูกค้าของเรา Fujitsu Limited (TSE:6702) รายงานรายรับรวม 3.6 ล้านล้านเยน (34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) สำหรับปีงบการเงินสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม, กรุณาเยี่ยมชมที่ http://www.fujitsu.com/th

 

from:https://www.techtalkthai.com/fujitsu-announces-new-brand-focus-on-sustainable-future-uvance/

ทำไม Business Solution ถึงสำคัญกับองค์กร เรามีคำตอบ ในงานดิจิทัลประจำปีระดับโลก “Fujitsu ActivateNow 2021” [12 ตุลาคม 2021]

บริษัท ฟูจิตสึ ประเทศไทย ขอนำทุกท่านเข้าสู่งานดิจิทัลประจำปีระดับโลก “Fujitsu ActivateNow 2021”  เรียนรู้และสัมผัส  Fujitsu Business Solution ที่จะมาตอบโจทย์ ช่วยสนับสนุน ในทุกอุตสาหกรรม ทุกเรื่อง ในวันที่ 12 ตุลาคม 2021

เนื้อหาของงานสัมมนาครั้งนี้ครอบคลุมเรื่อง

(1) การผลิตที่ยั่งยืน (Sustainable Manufacturing)

(2) ประสบการณ์ผู้บริโภค (Consumer Experience)

(3) ชีวิตที่มีสุขภาพดี (Healthy Living)

(4) สังคมที่ไว้วางใจได้ (Trusted Society)

(5) การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Shifts)

(6) แอปพลิเคชันทางธุรกิจ (Business Applications)

(7) ไฮบริดไอที (Hybrid IT)

ภายในงาน  Fujitsu ActivateNow 2021 พบกับเทคโนโลยีที่พร้อมเปลี่ยนแปลงองค์กรของท่าน เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลได้ ในอนาคตทีกำลังจะเกิดขึ้นต่อจากนี้ ในทุกรูปแบบ โดยนำเสนอข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงและผู้นำทางความคิดระดับโลกด้านต่าง ๆ เช่น รัฐบาลดิจิทัล เศรษฐกิจแห่งการแบ่งปันและความหลากหลาย

ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถเยี่ยมชมบริการล่าสุดของฟูจิตสึและเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (DX) ให้กับลูกค้าทั่วโลก พร้อมแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมระดับโลกของฟูจิตสึถูกนำมาใช้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างไร การจัดงานในครั้งนี้จะแสดงถึงการมีส่วนร่วมของฟูจิตสึต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals)

ผ่านแนวความคิดและประสบการณ์เสมือนจริง จากการนำเสนอข้อมูลเชิงลึกจากผู้บริหารระดับสูงและผู้นำทางความคิดระดับโลก อาทิ

  • ทาคาฮิโตะ โตคิตะ CEO and Chief Digital Transformation, Fujitsu Japan กับวิชันของดิจิทัลเทคโนโลยีที่ฟูจิตสึ ที่พร้อมรับการเปลียนแปลงในอีก 10 ปีข้างหน้า
  • โทมัส อิลเช่น อดีตประธานาธิบดีประเทศเอสโตเนีย พ.ศ. 2549-2559  หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนให้ประเทศเล็ก ๆ ในทวีปยุโรป กลายเป็นประเทศที่มีการพัฒนาด้านรัฐบาลดิจิทัลมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก
  • แคที มัทซุย  อดีตรองประธานโกลด์แมน แซคส์ ธนาคารเพื่อการลงทุนระดับโลก และเป็นหัวหน้านักยุทธศาสตร์หุ้นญี่ปุ่น ที่ได้รับการยกย่องจาก ชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ให้เป็น “สตรีผู้ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจ”

บริษัท ฟูจิตสึ ประเทศไทย  มีความยินดี ขอเรียนเชิญท่านผู้มีเกียรติลงทะเบียนเข้าร่วมงานที่จะจัดขึ้นในวันที่ 12 ตุลาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ผ่านระบบออนไลน์ คลิกที่นี่เพื่อลงทะเบียนสำหรับงาน Fujitsu ActivateNow 2021

แหล่งข้อมูลออนไลน์

from:https://www.techtalkthai.com/fujitsu-activatenow-2021-webinar-12102021/