คลังเก็บป้ายกำกับ: DIDI

ทุบอีกแล้ว! รัฐบาลจีนจัดหนักแอปเดลิเวอรีและแอปเรียกรถ ต้องขึ้นค่าแรงให้เหมาะสม

ทุบไม่หยุด สำหรับรัฐบาลจีนยังคงเดินหน้าทุบบริษัทเทคโนโลยีจีนต่อเนื่อง ล่าสุด กระทรวงทรัพยากรมนุษย์และประกันสังคมจีนเพิ่งจะเผยแพร่ข้อความหลังจากประชุมร่วมกับอีกบริษัทเทคจีนอีก 10 แห่งซึ่งก็มีทั้ง Meituan, Didi Global, Alibaba Group Ele.me และ Tencent ร่วมด้วย

ผลจากการประชุมดังกล่าวนำมาสู่การร่างแนวทางในการควบคุมแพลตฟอร์มเดลิเวอรีอาหารเพื่อประกันรายได้คนทำงานให้มากกว่าระดับการจ่ายขั้นต่ำ ทั้งนี้สื่อจีนก็มีการวิพากษ์วิจารณ์แอป Didi ด้วยว่ามีการจ่ายค่าแรงให้กับคนขับรถอย่างไม่เป็นธรรม ขณะที่ทางการจีนเองก็โจมตีบริษัทเทคจีนต่อเนื่อง ซึ่งก็มีทั้งการวิพากษ์นโยบายที่มีการขูดรีดแรงงาน ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ซึ่งนี่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการที่จีนเริ่มเข้ามาควบคุมบริษัทเทคจีนมากขึ้น ไม่ได้มีแค่แพลตฟอร์มเหล่านี้เท่านั้นแต่ยังมีอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เกมและด้านเอ็นเตอร์เทนเมนท์ด้วยที่เป็นเป้าหมายของจีน

ก่อนหน้านี้จีนก็เพิ่งจะเรียกบริษัทเกมอย่าง Tencent และ NetEase เข้ามาประชุมเพื่อบอกให้พวกเขาทำตามกฎใหม่โดยไม่ต้องสนใจรายได้หรือยอดขาย แน่นอนว่าอุตสาหกรรมบันเทิงก็โดนด้วย

ที่มา – Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ทุบอีกแล้ว! รัฐบาลจีนจัดหนักแอปเดลิเวอรีและแอปเรียกรถ ต้องขึ้นค่าแรงให้เหมาะสม  first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-order-delivery-and-ride-hailing-companies-improve-income-for-workers/

Didi เตรียมตัว อาจโดนจีนทุบแรงสุดในประวัติศาสตร์ หลังดื้อ IPO ที่สหรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต

หน่วยงานตรวจสอบของจีนกำลังพิจารณาลงโทษ Didi แอปแท็กซี่จีนด้วยการปรับเงินจำนวนมาก อาจเป็นการทุบที่แรงที่สุดในประวัติศาสตร์ หลังจาก Didi ดึงดัน IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐไปในเดือนที่แล้ว

ท้าทายอำนาจรัฐบาล

แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่า หน่วยงานของจีนมองการตัดสินใจ IPO ของ Didi ว่าขัดกับคำสั่งของ Cyberspace Administration of China (CAC) โดยตรง ซึ่งเป็นการไม่เคารพอำนาจของรัฐบาลจีน

ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่จาก CAC, กรมความมั่นคงแห่งชาติ, กรมความปลอดภัยสาธารณะ, กรมทรัพยากรธรรมชาติ, กรมขนส่ง รวมถึงผู้ตรวจสอบภาษีและการป้องกันการผูกขาดตลาด ได้เริ่มทำการตรวจสอบ Didi ไปแล้ว โดยมีการเข้าไปตรวจสอบที่สำนักงานของ Didi ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญมองว่า ทางบริษัท Didi รีบเสนอ IPO ก่อนกฎหมายใหม่ที่ทุกบริษัทที่จะเสนอ IPO ต้องผ่านการตรวจสอบจาก CAC ก่อน ซึ่งในท้ายที่สุดก็ไม่ได้ช่วยให้ Didi รอดจากการตรวจสอบจากทางการจีนแต่อย่างใด

พิจารณาการลงโทษที่เหมาะสม

หน่วยงานรัฐกำลังพิจารณาการลงโทษต่างๆ เช่น การปรับเงิน การระงับการให้บริการบางชนิด การบังคับขายหุ้นบางส่วนให้กับรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การบังคับให้ยกเลิกการจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ แต่ไม่แน่ชัดว่าทางเลือกสุดท้ายจะทำได้หรือไม่

ศาสตราจารย์ Minxin Pei ผู้ศึกษาเรื่องรัฐบาลของ Claremont McKenna College ในแคลิฟอร์เนียร์กล่าวว่า “เดายากว่าการลงโทษหรือค่าปรับจะออกมาแบบไหน แต่ต้องเยอะมากแน่นอน” 

ก่อนหน้านี้ การ IPO ของ Didi ก็สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถือเป็นการระดมทุนของบริษัทเทคจีนในตลาดหุ้นสหรัฐที่ใหญ่ที่สุดรองจาก Alibaba แต่หลังจากรัฐเข้ามากำกับ มูลค่าหุ้นก็ตกลงมาเรื่อยๆ 

หุ้นของ DiDi Global ได้ตกลงมาถึง 27% แล้ว ตั้งแต่การ IPO และตกฮวบอีกครั้งหลังมีข่าวการปรับออกมา

สรุป

ด้วยการกำกับที่มากขึ้นเรื่อยๆ ของรัฐบาลจีน บริษัทจีนที่ถือข้อมูลสำคัญของประชาชนจีนและต้องการจะจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศต้องรับข้อกำหนดของรัฐบาลจีนให้ได้

ที่มา – Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Didi เตรียมตัว อาจโดนจีนทุบแรงสุดในประวัติศาสตร์ หลังดื้อ IPO ที่สหรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/regulators-considers-punishments-for-didi/

TikTok รับศึกสองด้าน ทางการจีนจับตาเข้มข้น-สหรัฐเตรียมแบนแอพจีนเพิ่ม ต้องพับแผน IPO

การที่ TikTok พับแผน IPO ในสหรัฐ สะท้อนชัดว่าจีนกำลังคุมเข้มบริษัทเทค แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเดียว สหรัฐก็ออกมาตรการจับตาบริษัทเทคจีนเช่นเดียวกัน เพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย

china us tiktok ipo

TikTok ถูกจับตา ต้องพับแผน IPO ในสหรัฐไปก่อน

ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok ต้องพับแผนระดมทุน (IPO) ในตลาดหุ้นสหรัฐอย่างไม่มีกำหนด เพราะหน่วยงานกำกับดูแลจีนเริ่มควบคุมบริษัทในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีนอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะแบรนด์ที่มีแนวโน้มว่ามีแผนจะไป IPO ในตลาดหุ้นต่างประเทศ

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา Zhang Yiming ผู้ก่อตั้งและ CEO ในขณะนั้นตัดสินใจที่จะพับแผน IPO ในตลาดหุ้นสหรัฐเอาไว้ก่อนหลังจากเข้าพบกับ หน่วยงานบริหารและจัดการไซเบอร์สเปซจีน (​​The Cyberspace Administration of China: CAC) และยังถูกย้ำว่าบริษัทควรเพ่งความสนใจไปกับการจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลและประเด็นอื่นๆ มากกว่า แหล่งข่าวของ The Wall Street Journal ระบุ

เดือนถัดมา ByteDance กล่าวในแถลงการณ์บนบัญชีโซเชียลมีเดียของตนเองว่า “หลังจากศึกษาข้อมูลอย่างจริงจัง บริษัทยังไม่สามารถบรรลุข้อบังคับที่สำคัญในการเสนอขายหุ้นให้กับสาธารณะ และตอนนี้ก็ยังไม่มีแผนการดังกล่าว”

นอกจาก TikTok เทคจีนยังโดนกันถ้วนหน้า รายล่าสุดคือ Didi

การก้าวอย่างระมัดระวังในการเข้า IPO ในสหรัฐของ ByteDance สวนทางกับ Didi แอพเรียกรถรายใหญ่ของจีน ที่ล่าสุดเพิ่งจะ ระดมทุนผ่าน IPO ได้เป็นเม็ดเงินกว่า 4.4 พันล้านดอลลาร์ หรือ 1.43 แสนล้านบาท แม้ CAC จะแสดงความกังวลว่าข้อมูลส่วนตัวบางส่วนอาจตกอยู่ในมือของต่างชาติได้

หลังจากนั้นไม่ถึงสัปดาห์ รัฐบาลปักกิ่งได้ทำการตรวจสอบก่อนที่จะ สั่งลบแอพพลิคเคชั่น Didi ออกจากทุกแอพสโตร์ ตั้งแต่ Apple ไปจนถึง Huawei เพราะพบว่ามีการเก็บและใช้งานข้อมูลส่วนตัวอย่างผิดกฎหมาย อาจนำไปสู่ปัญหาภัยความมั่นคงของชาติไดัหากข้อมูลรั่วไหล

นอกจากนี้ยังมีการจับตาบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐ อย่างในกรณีล่าสุด CAC ได้สั่งตรวจสอบ 3 แอพพลิเคชั่นจีน คือ Yunmanman และ Huochebang แอพเช่ารถบรรทุกจาก และแอพหางานออนไลน์ Boss Zhipin โดยจะปิดรับสมัครผู้ใช้งานรายใหม่ชั่วคราวแต่ไม่ถึงขั้นถอดออกจากแอพสโตร์

Didi Chuxing
Didi Chuxing

สาเหตุสำคัญคือเรื่องข้อมูลส่วนตัว

ข้อกังวลสำคัญของรัฐบาลปักกิ่ง คือ เรื่องข้อมูลส่วนตัว เพราะบริษัทเทคโนโลยีเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ชาวจีนเอาไว้จำนวนมาก เช่น รูปถ่ายใบหน้า เส้นทางขับขี่ ประวัติการซื้อสินค้า ที่พักอาศัย ไปจนถึงวิดีโอต่างๆ

การเข้าสู่ตลาดหุ้นสหรัฐอาจเป็นเหตุให้ต้องเปิดเผยข้อมูลบางส่วนได้ ดังนั้นบริษัทจึงต้องแน่ใจว่ามีมาตรการการเก็บรักษาและการใช้ข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อบังคับของทางการจีน

อย่างในกรณีของ TikTok (รวมถึงแอพอื่นๆ ของ ByteDance) ที่มีผู้ใช้หลายร้อยล้านคนในประเทศจีน มีการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ตั้งแต่ เบอร์โทรศัพท์ วันเกิด ชื่อจริง ไปจนถึงรหัสบัตรประชาชน หน่วยงานกำกับดูแลจึงต้องการทราบว่า TikTok รวบรวม จัดเก็บ และจัดการดูแลข้อมูลอย่างไร

ทางการจีนกำกับดูแลบริษัทเทคเข้มข้นขึ้นในช่วงหลัง

ก่อนหน้านี้ บริษัทจีนไม่จำเป็นต้องขออนุญาต CAC ในการเข้าระดมทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่หลังจากความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐเริ่มร้าวลึกในช่วงปลายปี 2020 แต่ละบริษัทจะต้องแจ้ง CAC หากมีแผนจะเข้า IPO ในต่างประเทศ และต้องได้รับการอนุมัติ (อย่างไม่เป็นทางการ) เสียก่อน

Wall Street United States USA Flag
ภาพจาก Shutterstock

ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา จีนออกมาระบุเองว่าหลังจากนี้จะเข้มงวดกับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศมากยิ่งขึ้น ณ ตอนนี้ หน่วยงานกำกับดูแลด้านความมั่นคงกำลังร่างกำหนดที่บริษัทที่จะไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศต้องทำตามก่อนจะเปิดขายหุ้น เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงแห่งชาติ

เทคจีนเจอศึก 2 ด้าน ทั้งหน่วยงานกำกับดูแลของจีน และรัฐบาลสหรัฐ

หากบริษัทจีนผ่านเงื่อนไขของหน่วยงานกำกับดูแลแล้ว ก็ไม่ใช่ว่าการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐจะไปได้สวย เพราะล่าสุดฝ่ายบริหารของ โจ ไบเดน ก็จับตาดูบริษัทเทคจีนเข้มข้น เพราะเกรงว่าการดำเนินงานของบริษัทจีนในสหรัฐจะเป็นการเข้ามาสอดส่องและรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของประชาชนชาวอเมริกันเช่นเดียวกัน

ไม่นานมานี้ โจ ไบเดน เพิ่งแบนการลงทุนในบริษัทจีนถึง 59 ราย มากกว่าที่ โดนัลด์ ทรัมป์ เคยแบบเกือบเท่าตัว แถมยังเซ็นคำสั่งฝ่ายบริหารเพิ่มอำนาจในการแบนบริษัทให้กับกระทรวงพาณิชย์ จากเดิมที่อำนาจนี้เคยอยู่ในมือกระทรวงกลาโหม นั่นหมายความว่าสหรัฐสามารถแบนบริษัทได้กว้างขึ้น ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับกิจการทหารหรือความมั่นคงโดยตรงอีกต่อไป

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐมีสิทธิในการออกหมายเรียกเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัทต่างชาติ ทั้ง โทรศัพท์ แท็ปเล็ต คอมพิวเตอร์ ไปจนถึงซอฟต์แวร์ เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้าเงื่อนไขความปลอดภัยในการใช้งานในสหรัฐหรือไม่

Joe Biden โจ ไบเดน
Joe Biden ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 46 ภาพจาก Twitter Presiden Biden

แถมล่าสุด มีรายงานจากทาง Reuters ว่าฝ่ายบริหารของ โจ ไบเดน ร้องไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อขอยกเลิกการกีดกันคำสั่งแบนแอพพลิเคชั่นจีนอย่าง TikTok และ WeChat ที่เคยออกมาในสมัยที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ยังอยู่ในอำนาจ

[Opinion] ชัดเจนแล้วว่าบริษัทเทคจีนกำลังถูกบีบอยู่ในใจกลางความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจทั้งสอง จะขยับไปทางไหนก็ไม่สะดวก วินาทีนี้ หากต้องการระดมทุนก็อาจต้องมองไปยังตลาดหุ้นฮ่องกงเป็นหลัก

ที่มา – WSJ (1)(2), Reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post TikTok รับศึกสองด้าน ทางการจีนจับตาเข้มข้น-สหรัฐเตรียมแบนแอพจีนเพิ่ม ต้องพับแผน IPO first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/tiktok-hold-its-ipo-plan-due-to-us-china-tension/

“นี่เป็นคำสั่งจากเบื้องบน” รัฐบาลจีนเล่นงาน Didi แอพแท็กซี่จีนหลัง IPO กระทบตลาดหุ้น Wall Street

Didi

ชะตากรรมแอพจีน

หลังจากที่ Didi แอพแท็กซี่จีน IPO เข้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาไปได้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ พร้อมทั้งตั้งเป้าระดมเงินทุนไปกว่า 1.4 แสนล้านบาท

ไม่นาน ก็มีข่าวว่ารัฐบาลจีนสั่งให้ลบแอพพลิเคชั่น Didi เพราะทำผิดกฎการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานอย่างผิดกฎหมาย แถมหน่วยงานที่ดูแลด้านความปลอดภัยไซเบอร์ของจีนถึงกับบอกว่า สิ่งที่ Didi กระทำอาจส่งผลต่อความมั่นคงของชาติ

ล่าสุด มูลค่ากิจการของ Didi ในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาหายไปถึง 20% หรือ 1 ใน 5 ของมูลค่ากิจการตามราคาหุ้น

Bruce Pang ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการลงทุนในจีนจาก China Renaissance บอกว่า “นี่เป็นคำสั่งจากเบื้องบน” และ “หลังจากนี้เราจะได้เห็นการเข้าควบคุมของรัฐบาลจีนในตลาดมากขึ้นอีกเรื่อยๆ”

ด้านของนักลงทุนบางกลุ่มมองว่า ชะตากรรมของ Didi หลังจากนี้มีความเป็นไปได้ว่า อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนไปเข้าตลาดหุ้นฮ่องกงแทน

Didi Stock fall
ราคาหุ้นของ Didi ย้อนหลัง 5 วัน

ไม่ได้กระทบแค่แอพจีน แต่ส่งผลไปยังตลาดหุ้น Wall Street

ท่ามกลางข่าวการทุบแอพจีนอย่าง Didi รวมถึงก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลจีนประกาศชัดว่าจะเข้ามากำกับ ควบคุม ตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีจีนมากขึ้น ทั้งหมดนี้ถือเป็นสัญญาณที่พูดได้ว่า ไม่มีบริษัทจีนรายใด ใหญ่กว่ารัฐบาลจีน

นับตั้งแต่กรณี Ant Group ของแจ๊ค หม่าไปจนถึงการปรับ Alibaba ครั้งประวัติศาสตร์ และลาวยาวมาจนถึง Tencent นี่เป็นภาพสะท้อนว่า ทางการจีนไม่ได้เพ่งเล็งแค่ ‘แจ็ค หม่า’ เท่านั้น แต่บริษัทเทคจีนทุกรายต้องระวังตัว

อย่างไรก็ตาม ในรอบนี้ นอกจาก Didi แล้ว หน่วยงานของรัฐบาลจีนยังได้ประกาศเข้าตรวจสอบอีกหลายบริษัทเทคโนโลยีจีนที่อยู่ในตลาดหุ้นของสหรัฐอเมริกา โดยให้เหตุผลว่า เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ

Financial Times รายงานว่า การเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้นของรัฐบาลจีนอาจส่งผลต่อมูลค่าของบริษัทจีนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาถึงกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์

นอกจากนั้น หัวหน้าด้านการลงทุนใน Wall Street ของตลาดหุ้นฮ่องกงถึงกับบอกว่า ถ้าดูจากสถานการณ์ ตอนนี้เตรียมตัวสำหรับครึ่งหลังของปี 2021 ไว้แล้ว เพราะมันไม่น่าจะง่ายเลย

ที่มา – FT, WSJ, BBC, Nikkei Asia

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post “นี่เป็นคำสั่งจากเบื้องบน” รัฐบาลจีนเล่นงาน Didi แอพแท็กซี่จีนหลัง IPO กระทบตลาดหุ้น Wall Street first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/didi-china-crackdown-after-ipo/

รัฐบาลจีนตรวจสอบ 3 แอป ของบริษัทเทคจีนที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐ เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ

หน่วยงานตรวจสอบไซเบอร์สเปซของจีนสั่งตรวจสอบบริษัทผู้ให้บริการออนไลน์อีก 3 ราย ซึ่งเป็นบริษัทเช่ารถบรรทุกและแอปหางานสัญชาติจีนที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐทั้งหมด หลังจาก Didi โดนสั่งแบนไปไม่กี่ชั่วโมง 

หน่วยงาน Cyberspace Administration of China (CAC) อธิบายว่าคำสั่งตรวจสอบแอป Yunmanman และ Huochebang ซึ่งทั่งคู่เป็นแอปเช่ารถบรรทุกจากจีน และแอปหางานออนไลน์ Boss Zhipin เพื่อที่จะระงับการรั่วไหลของข้อมูลและป้องกันความมั่นคงแห่งชาติ โดยสั่งให้เลิกรับสมัครผู้ใช้ใหม่ชั่วคราว แต่ไม่ได้โดนถอดจากแอปสโตร์เหมือน Didi

รัฐบาลจีนต้องการคุมเข้ม

ผู้เชี่ยวชาญมองว่าการเข้าตลาดหุ้นสหรัฐของบริษัทเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทำให้ทางการจีนตื่นตระหนก การที่มีบริษัทมีข้อมูลส่วนตัวจำนวนมากของชาวจีน ทั้งเส้นทางการเดินทาง ที่อยู่ปัจจุบัน หรือแม้แต่ข้อมูลละเอียดอ่อนอื่นๆ ทำให้รัฐยอมไม่ได้หากไม่สามารถควบคุมการใช้งานข้อมูลส่วนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นชาวต่างชาติ เพราะต้องการให้อำนาจในการตัดสินใจท้ายที่สุดอยู่ในมือของตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ

He Yuan กรรมการบริหารของศูนย์วิจัยกฎหมายข้อมูลของ Shanghai Jiao Tong University อธิบายว่า “ความปลอดภัยของข้อมูล (data security) สามารถชี้เป็นชี้ตายชะตากรรมของบริษัทต่างๆ ได้เลย แต่บริษัทเหล่านี้มองว่าการระดมทุนสำคัญกว่า และมองข้ามความจำเป็นของการปกป้องข้อมูลลูกค้า รวมถึงการทำตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไป ทำให้พวกเขาละเลยการติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน”

เกี่ยวกับบริษัททั้งสอง

Full Truck Alliance บริษัทที่เกิดจากการควบรวมกิจการของ Yunmanman และ Huochebang ในปี 2017 และเป็นหนึ่งในบริษัทรถบรรทุกที่ใหญ่ที่สุดในจีน ครองส่วนแบ่งตลาดบรรทุกของด้วยรถขนาดใหญ่และกลางถึง 20% ระดมทุนกว่า 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5.14 หมื่นล้านบาท) จากตลาดหุ้นนิวยอร์กเมื่อเดือนที่แล้ว

ส่วน Boss Zhipin เป็นแอปหางานออนไลน์ที่มีผู้ใช้รายเดือนถึง 24.9 ล้านคน ผู้หางานเกิน 88.5 ล้านคนและนายจ้างเกิน 13 ล้านราย เป็นแอปหางานอันดับหนึ่งในจีน ระดมทุนไปได้ 912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.9 หมื่นล้านบาท) ในตลาดหุ้นสหรัฐเช่นเดียวกัน

สรุป

เมื่อบริษัทเอกชนหลายรายกลายมาเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการพื้นฐานในประเทศ แต่ไม่มีมาตรฐานในการดูแลลูกค้า หรือประชาชนในสายตาของรัฐ ให้ดีพอ ก็จะเกิดการตรวจสอบและกำกับเช่นนี้ขึ้น ซึ่งทางการจีนแสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าจะไม่ยอมผ่อนปรนแน่นอน

ที่มา – SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post รัฐบาลจีนตรวจสอบ 3 แอป ของบริษัทเทคจีนที่อยู่ในตลาดหุ้นสหรัฐ เพื่อปกป้องความมั่นคงของชาติ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-probe-chinese-apps-in-us-stock-market/

Didi แอปเรียกแท็กซี่จีนงานเข้า รัฐบาลสั่งลบแอปจากสโตร์ หลังเก็บข้อมูลผู้ใช้แบบผิดกฎหมาย

หน่วยงานตรวจสอบไซเบอร์สเปซของจีนสั่งให้แอปสโตร์นำแอปเรียกแท็กซี่จีน Didi ออกให้หมด เหตุจากการเก็บและใช้งานข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้แบบผิดกฎหมาย สร้างความเสียหายอย่างมากให้กับ Didi ผู้ที่พึ่งจะเสนอ IPO ได้สำเร็จในตลาดหุ้นสหรัฐไปเมื่อไม่กี่วันก่อน

แอป Didi: ห้ามดาวน์โหลดใหม่ แต่ใช้งานต่อได้

หน่วยงาน Cyberspace Administration of China (CAC) สั่งให้แอปสโตร์ในจีนทั้งหมด รวมถึงแอปสโตร์ที่มีฐานผู้ใช้จำนวนมากอย่าง Apple Store, Huawei และ Xiaomi ต้องนำแอป Didi ออกทันที หลังจากประกาศตรวจสอบบริษัทได้เพียงแค่สองวัน โดยให้เหตุผลในการสืบสวนว่าเป็นการ “ป้องกันความมั่นคงของชาติ” ถึงแม้ว่าจะมีหน่วยงานอื่นคอยตรวจสอบอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว

ทาง Didi ได้ออกมาประกาศว่าจะให้บริการต่ออย่างเป็นปกติสำหรับผู้ใช้งานที่มีแอปอยู่ในเครื่องอยู่แล้ว ซึ่งในจีนมียูสเซอร์อยู่ประมาณ 377 ล้านคน พร้อมหยุดรับสมัครผู้ใช้งานใหม่ชั่วคราว และจะแก้ไขแอปให้ถูกต้องตามกฎระเบียบให้เร็วที่สุด

สรุป

การตรวจสอบครั้งนี้ เป็นครั้งล่าสุดของการตรวจสอบทั้ง Didi และบริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ ในจีน โดยเฉพาะในเรื่องของการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน

ที่มา – Bloomberg, Reuters, Asia Nikkei

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Didi แอปเรียกแท็กซี่จีนงานเข้า รัฐบาลสั่งลบแอปจากสโตร์ หลังเก็บข้อมูลผู้ใช้แบบผิดกฎหมาย first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/didi-banned-in-china-appstore/

รัฐบาลจีนทุบไม่ได้ Didi แอปแท็กซี่จีน IPO ตลาดหุ้นสหรัฐ ระดมทุนได้ 1.4 แสนล้านบาท

หลังจากประกาศการ IPO ไปเมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อวาน Didi ก็เริ่มขายหุ้นเป็นครั้งแรกเรียบร้อย รวมแล้วระดมทุนได้ 4.4 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.4 แสนล้านบาท) ถือเป็นบริษัทสัญชาติจีนที่ระดมทุนได้มากที่สุดในตลาดหุ้นสหรัฐหลังจากการ IPO ของ Alibaba ในปี 2014 ที่ 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ก่อนหน้านี้ Didi มีเป้าหมายในการเพิ่มมูลค่าบริษัทให้แตะ 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ในความเป็นจริงแล้ว นักลงทุนยังไม่มีความมั่นใจในอุตสาหกรรมแอปเดลิเวอรี่มากพอ เหตุจากการแทรกแซงที่มากขึ้นของรัฐบาลจีน มูลค่าบริษัทจึงเพิ่มเป็นเพียง 6.85 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท) เท่านั้น จากมูลค่าก่อน IPO ที่ 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท)

สรุป

ถึงแม้ว่า Didi จะเริ่มทำกำไรเป็นครั้งแรกแล้วในไตรมาสแรกของปี 2021 ความเชื่อใจของนักลงทุนทั่วโลกที่เข้าไม่ถึงบริการของ Didi อาจจะยังไม่มากพอให้ทุ่มเงินลงทุนได้สูงขนาดนั้น ด้วยสภาพเศรษฐกิจโลก สถานการณ์โควิด และผลตอบแทนของหุ้นบริษัทจีนอื่นๆ ในตลาดหุ้นสหรัฐที่น่าผิดหวังอีกด้วย

น่าจับตามองว่า Didi จะนำเงินลงทุนครั้งนี้ไปพัฒนาศักยภาพของบริษัทได้อย่างไรบ้างในอนาคต

ที่มา – Reuters 1 2

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post รัฐบาลจีนทุบไม่ได้ Didi แอปแท็กซี่จีน IPO ตลาดหุ้นสหรัฐ ระดมทุนได้ 1.4 แสนล้านบาท first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/didi-post-ipo-evaluation/

โดนทุบอีกราย Didi แอปเรียกรถจีนถูกทางการจีนสอบสวนก่อน IPO ฐานผูกขาด-คำนวนราคาไม่เป็นธรรม

ผู้ดูแลตลาดของประเทศจีนส่งหมายตรวจสอบหา Didi Chuxing เจ้าของแอปเรียกรถด้วยข้อหาผูกขาดตลาด ซึ่ง Didi กำลังเตรียม IPO ที่อาจจะมีมูลค่ามากที่สุดในปีนี้ที่สหรัฐอเมริกา

การตรวจสอบครั้งนี้ เป็นการตรวจสอบครั้งล่าสุดในขบวนการกำกับบริษัทเทคโนโลยีในจีนจากรัฐบาล ซึ่ง Didi เองก็เคยโดนเชิญไปตักเตือนก่อนหน้านี้แล้ว

จะมีผลกระทบต่อ IPO หรือไม่?

ผู้ดูแลตลาดของจีน State Administration for Market Regulation (SAMR) กำลังตรวจสอบว่า Didi ได้ใช้กลยุทธ์ที่ไม่ยุติธรรมต่อคู่แข่งที่มีขนาดเล็กกว่าหรือไม่ รวมถึงมีข้อกังขาในความโปร่งใสต่อการคำนวณราคาของ Didi อีกด้วย

ในหนังสือชี้ชวน IPO ที่ Didi ปล่อยออกมา ทางบริษัทก็ยอมรับว่าตัวบริษัทและอีก 30 บริษัทอื่นๆ ได้เข้าพบผู้ดูแลตลาดต่างๆ รวมถึง SAMR มาแล้วในเดือนเมษายนที่ผ่านมา 

Didi ได้รับคำสั่งให้ “ตรวจสอบตัวเอง” และ “แก้ไขพฤตกรรมที่ผิดกฎ” ด้านการผูกขาดตลาด การแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงด้านภาษีและกฎหมายอื่นๆ ด้วย “ความมุ่งมั่นตั้งใจ”

ทางบริษัทได้ทำการตรวจสอบตัวเองและมีเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบที่บริษัทแล้ว แต่ Didi ก็เตือนว่าทางเจ้าหน้าที่อาจจะไม่พึงพอใจกับผลของการตรวจสอบครั้งนี้ และทางบริษัทอาจจะโดนปรับในอนาคต ซึ่งต้องรอคำสั่งถัดไปจากกรัฐบาลก่อน

หนึ่งในแหล่งข่าวรายงานว่า Didi เชื่อว่าข้อหาด้านการคำนวณราคาและการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมเป็นข้อหาที่เล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ทางบริษัทมั่นใจในการเดินหน้าต่อกับการ IPO ครั้งนี้

ท่าทีของทางการจีน: ต่อต้านการผูกขาดตลาด

ในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทางการจีนเดินหน้าตรวจสอบและกำกับบริษัทเทคโนโลยีในประเทศอย่างเต็มกำลัง เริ่มต้นจากการปรับ Alibaba เกือบ 9 หมื่นล้านบาท

Didi ก็เลยชูการสร้างงานของบริษัทตัวเองให้ผู้ดูแลรับทราบด้วย ซึ่งตอนนี้ Didi มีคนขับต่อปีถึง 13 ล้านคนในประเทศจีน และอาจจะทำให้ทางการมีทีท่าที่อ่อนลงได้

สรุป

การตรวจสอบจากทางการมาถึงในช่วงเวลาที่ Didi กำลังจะ IPO พอดี ดูเหมือนว่าทางรัฐบาลจีนจะไม่ยอมให้บริษัทรายใหญ่เหล่านี้มีอิสระมากเกินไปแน่นอน

ที่มา – Reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post โดนทุบอีกราย Didi แอปเรียกรถจีนถูกทางการจีนสอบสวนก่อน IPO ฐานผูกขาด-คำนวนราคาไม่เป็นธรรม first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/didi-probe-pre-us-ipo/

Didi แอปเรียกแท็กซี่จีนเตรียม IPO ตลาดสหรัฐ คาดระดมทุนครั้งใหญ่ มูลค่ากิจการอาจแตะ 3 ล้านล้าน

Didi ได้ทำการยื่นเอกสาร IPO เข้าตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกาแล้ว ซึ่ง IPO ครั้งนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นการระดมทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดของปี 2021

ในการระดมทุนครั้งล่าสุดของ Didi เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Didi ถูกประเมินมูลค่ากิจการไว้ที่ 6.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท)

ด้านของ Bloomberg วิเคราะห์ว่ามูลค่าบริษัทตอนเปิดให้ IPO อาจจะสูงจนทำให้มูลค่ากิจการของ Didi พุ่งไปถึง 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1 ล้านล้านบาท)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Didi คือ บริษัทนักลงทุนระดับโลกอย่าง SoftBank, Alibaba และ Tencent รวมถึงบริษัทคู่แข่งอย่าง Uber อีกด้วย โดย IPO ครั้งนี้ได้รับการดูแลจากสถาบันการเงิน Goldman Sachs, Morgan Stanley และ J.P. Morgan

สตาร์ทอัพร้อนแรงจากจีน คู่แข่งยกธงขาว

หลังจาก Didi Chuxing เริ่มกิจการในปี 2012 บริษัทก็เติบโตมาโดยตลอด จนกลายมาเป็นบริษัทเทคโนโลยีสัญชาติจีนแนวหน้าของโลก โดยมีผู้ใช้งานถึง 493 ล้านคนต่อปี

ในปี 2020 ทางบริษัทมีรายได้ถึง 6.7 แสนล้านบาท แต่ก็ขาดทุนประมาณ 5 หมื่นล้าน 

ทว่า ในไตรมาส 1 ของปี 2021 ที่ผ่านมา ทาง Didi ก็ได้สวนกระแสพลิกกลับมาทำรายได้สูงถึง 2 แสนล้านบาท ถือเป็นการเติบโตถึง 107% จากปีที่แล้ว

นอกจาก Didi จะให้บริการขนส่งผู้โดยสารแล้ว (ride-hailing) ยังมีฟู้ดเดลิเวอรี่ การเช่าจักรยาน และธุรกิจเกี่ยวกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย 

คนอื่นกลัว แต่ Didi ไม่กลัว

ทั้งๆ ที่บางบริษัทกำลังชะลอการ IPO ของตัวเองออกไปในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่ Didi กลับเดินหน้าเต็มกำลัง ไม่กลัวการตรวจสอบจากรัฐบาลจีนอีกด้วย

สรุป

การระดมทุนของบริษัทเทคโนโลยีในตลาดหุ้นอเมริกายังไม่มีแนวโน้มที่จะหยุดในเร็วๆ นี้ ส่วนการแข่งขันในวงการเดลิเวอรี่ทั่วโลกก็ยังร้อนระอุ ไม่ว่าจะในระดับแข่งกันระดมทุน เสนอ IPO หรือบุกตลาดใหม่ๆ ต่อไป

ที่มา – CNBC, Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Didi แอปเรียกแท็กซี่จีนเตรียม IPO ตลาดสหรัฐ คาดระดมทุนครั้งใหญ่ มูลค่ากิจการอาจแตะ 3 ล้านล้าน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/didi-chuxing-ipo-in-usa/

ทางการจีนไม่ได้เพ่งเล็งแค่ ‘แจ็ค หม่า’ เท่านั้น แต่บริษัทเทคจีนทุกรายต้องระวังตัว

หลังจากรัฐบาลจีนเริ่มกำกับขอบเขตของบริษัทยักษ์ใหญ่หลายเจ้าในจีน เริ่มต้นจาก Ant Group ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ IPO ได้สำเร็จเมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา หรือแม้แต่การออกกฎหมายใหม่ ทางรัฐบาลก็ได้ร่อนใบตักเตือนสู่หลากหลายบริษัทในวงการนี้อย่างสม่ำเสมอเรื่อยมา

รัฐร่อนหมายเตือน เล็ก-ใหญ่แค่ไหนก็ไม่รอด

ณ ปัจจุบัน คำเตือนจากทางการจีนมีตั้งแต่ การตั้งราคาไม่สม่ำเสมอ การใช้งานข้อมูลส่วนตัวลูกค้าในทางที่ผิด ยันสภาวะการทำงานที่แย่เกินไปต่อพนักงาน จำนวนแอปพลิเคชั่นที่ถูกตรวจสอบมีจำนวนไม่น้อยกว่า 222 แอป รวมถึงแอปยอดนิยมอย่าง Meituan แอปฟู้ดเดลิเวอรี่, DiDi ผู้ให้บริการขนส่งระยะสั้น, Douyin แพลตฟอร์มวิดิโอสั้น และ Pinduoduo แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

“ทางการจีนต้องการส่งสารให้บริษัทเทคยักษ์ใหญ่เหล่านี้ว่าสุดท้ายแล้ว รัฐ มีอำนาจมากที่สุด และจะไม่ยอมรับคำตอบอื่นทั้งสิ้น” กล่าว Mark Natkin กรรมการผู้จัดการ Marbridge Consulting บริษัทวิจัยอุตสาหกรรมในปักกิ่ง

การผูกขาดตลาด: เครื่องมือในการควบคุมของรัฐบาลจีน

ถ้าเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่เป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกเหมือนกัน ประเทศจีนมีประวัติศาสตร์การใช้กฎหมายป้องกันการผูกขาด (Antitrust Laws) ที่สั้นที่สุด อีกทั้งทางรัฐบาลจีนเคยใช้กฎหมายเหล่านี้ในการควบคุมอิทธิพลของบริษัทต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในจีนอีกด้วย

กลับกัน บริษัทอินเทอร์เน็ตภายในประเทศไม่เคยโดนตรวจตรา เพราะทางการจีนมุ่งหวังให้อุตสาหกรรมเทคโนโลยีของตัวเองได้เติบโต

Jack Ma Alibaba
แจ็ค หม่า ภาพจาก Shutterstock

ทว่า เมื่อปีที่แล้ว รัฐบาลจีนก็เปลี่ยนท่าทีของตัวเอง เริ่มตรวจสอบและกำกับบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ ในจีน โดยเริ่มจาก Ant Group และเครือ Alibaba ของแจ๊ค หม่า ทั้งหมด ข้อหาหลักของ Alibaba ในการควบคุมตลาด คือ การบังคับให้พาร์ทเนอร์ใช้แพลตฟอร์มของตัวเองและห้ามใช้แพลตฟอร์มคู่แข่ง ไม่เช่นนั้นจะโดนลงโทษ

การกระทำเช่นนี้เรียกว่า “er xuan yi” หมายความว่า ต้องเลือกแค่ 1 จาก 2 ตัวเลือก ซึ่งเป็นสิ่งที่แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในจีนทำกันมานานหลายปี สังคมประณามกันมาโดยตลอด หรือแม้แต่เกิดการฟ้องร้องขึ้น แต่ไม่มีผลลัพธ์ชัดเจน เหตุเพราะไม่มีหลักฐานที่แน่นหนาพอ

ทางรัฐร่อนหมายตรวจให้ Meituan เจ้าของแอปฟู้ดเดลิเวอรี่รายใหญ่ด้วยข้อหาเดียวกัน ด้านบริษัท Meituan ให้คำตอบว่าจะให้ความร่วมมือในการตรวจสอบเต็มที่ และจะดำเนินธุรกิจต่อไปเหมือนเดิม

Pinduoduo
Pinduoduo แอปฯ E-Commerce ที่ถูกรัฐบาลจีนตรวจสอบ

เสียงบ่นจากลูกค้า ค่าปรับจากทางการ และการโต้ตอบของบริษัท

“เป้าหมายหลักของทางการจีน คือ การตักเตือนบริษัทให้ทำตามกฎหมาย โดยไม่ได้ต้องการดำเนินคดีจริงๆ” กล่าวโดย รองศาสตราจารย์ Angela Zhang อาจารย์ภาคนิติศาสตร์ จาก University of Hong Kong

ทางการท้องถิ่นของจีนเองก็เริ่มกำกับบริษัทในพื้นที่ของตัวเองเช่นกัน

ตัวอย่างเช่น เทศบาลนครเซี่ยงไฮ้เพื่อการควบคุมตลาด ได้สั่งปรับแอปส่งของ Ele.me ที่มี Alibaba เป็นเจ้าของ เป็นจำนวน 500,000 หยวน (ประมาณ 243,000 บาท) ด้วยข้อหาทำผิดกฎหมายด้านราคาและความปลอดภัยของอาหาร

คณะกรรมการความปลอดภัยผู้บริโภคแห่งเซี่ยงไฮ้ ได้ตรวจสอบ Meituan และ Pinduoduo ไปเมื่อเดือนพ.ค. ที่ผ่านมาในหลาย ๆ เรื่อง เช่น การหลอกลวงผู้บริโภคออนไลน์ คุณภาพสินค้าไม่ดี รวมถึงละเลยการส่งของให้ลูกค้า

เมื่อเดือนที่แล้ว หลายกระทรวง รวมถึงกระทรวงการคมนาคม และ กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีน ก็ได้เรียกตัวแทนของ 8 บริษัท รวมถึงบริษัท DiDi และ Meituan ที่เป็นแอปเดลิเวอรี่ทั้งคู่ เข้าไปคุยเรื่องความกังวลที่มากขึ้นเรื่อย ๆ ในด้านสิทธิของไรเดอร์

ภายหลัง DiDi ได้โพสต์วิธีการคำนวณรายได้ของไรเดอร์ใน WeChat ของบริษัท และขอบคุณมวลชลสำหรับความสนใจและคำวิจารณ์

เมื่อสิ้นเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา Wang Xing กรรมการผู้บริหารบริษัท Meituan ได้ทำการบริจาคหุ้นของบริษัทที่มีมูลค่ากว่า 1.73 หมื่นล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท) ให้แก่มูลนิธิในชื่อของตัวเอง เพื่อสนับสนุนโปรเจคด้านการศึกษาและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ต่อไป ตัวบริษัท Meituan ก็ได้จัดตั้งทีมงานที่จะคอยให้ความร่วมมือกับการตรวจสอบของเจ้าหน้าอย่างเคร่งครัด

ในเดือนเม.ย. ก่อนหน้านี้ Pony Ma กรรมการผู้บริหารบริษัท Tencent Holdings ประกาศไว้ว่าทางบริษัทได้จัดงบประมาณมูลค่า 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.1 หมื่นล้านบาท) ไว้สนับสนุนโปรเจคด้านประชาสงเคราะห์ (Public Welfare), การพัฒนาชุมนุมชนบท (Rural Revitalization), การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และอื่น ๆ

Tencent ก็ไม่รอดจากการตรวจสอบของทางการจีน ประเด็นที่ถูกจับตามองส่วนใหญ่ในปีที่ผ่านมา คือ เรื่องการให้บริการด้านการเงินที่เสี่ยง และ แจ้งการเข้าซื้อกิจการไม่ครบ

“ถ้าเราสามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมด้วยเทคโนโลยีและสินค้าของพวกเราได้มากขึ้น ผมคิดว่าเราจะได้รับการตอบรับที่ดีขึ้นจากยูสเซอร์ ลูกค้า รัฐบาล และ พนักงานของเรา” กล่าวโดย Martin Lau ประธานบริษัท Tencent

สรุป

ด้วยท่าทีที่เคร่งครัดขึ้นของรัฐบาลจีนต่อบริษัทเทคโนโลยีในประเทศของตัวเอง น่าติดตามว่าจะมีผลกระทบต่อความนิยม หรือ ฟีเจอร์ต่างๆ ของแอปหรือไม่ ไม่ว่าบริษัทจะตอบแทนสังคมยังไง ไม่ว่าจะมีมูลค่าสูงหรือต่ำแค่ไหน ท้ายที่สุดก็ต้องเข้าใจว่า รัฐบาลจีนใหญ่ที่สุด

ที่มา – The Wall Street Journal 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ทางการจีนไม่ได้เพ่งเล็งแค่ ‘แจ็ค หม่า’ เท่านั้น แต่บริษัทเทคจีนทุกรายต้องระวังตัว first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/chinese-government-warn-all-tech-company/