คลังเก็บป้ายกำกับ: CRISIS_MANAGEMENT

สัมมนา “ชื่อเสียงออนไลน์ ไม่ได้มีไว้เสี่ยง” เข้มข้นด้วยเนื้อหาจากผู้มีประสบการณ์ด้านออนไลน์ 2 วันเต็ม

ArtWork_Post_FB_PTI

1 ในสิ่งที่เราเจอบนโลกออนไลน์นอกจากเนื้อหาข่าวต่างๆ แล้วนั่นคือวิกฤติ เพราะมันสามารถ ดัง และ ดับ ได้ในชั่วข้ามคืน แม้จะเป็นสิ่งที่เรารู้อยู่ว่ามีสิทธิจะเกิดขึ้น แต่จะรู้หรือเปล่าว่าทำอย่างไรถึงจะเสียหายน้อยที่สุด และมีชื่อเสียงมากที่สุดจากโอกาสในวิกฤต จึงเป็นที่มาของงานสัมมนาที่จะช่วยให้คุณได้รู้เท่าทันและเข้าใจว่าจะต้องบริหารจัดการอย่างไร ในงานสัมมนา ชื่อเสียงออนไลน์ ไม่ได้มีไว้เสี่ยง กับการจัดการชื่อเสียงบนโลกออนไลน์ คุณ พร้อมแล้วหรือยัง?

สัมผัสประสบการณ์จริง ต่างเคส หลากหลายสถานการณ์ เพื่อยุติกระแสด้านลบ ไม่ก่อให้เกิดปัญหาอื่นตามมา ทำอย่างไรให้ คลิ๊ก จะโหมกระแสด้านบวก หรือการเกาะกระแสให้เนียนเพื่อประโยชน์ของแบรนด์เสริมความเข้มแข็ง และรักษาภาพลักษณ์ของแบรนด์ ด้วยวิธีการบริหารจัดการสื่อออนไลน์อย่างมืออาชีพ ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงจากวิทยากรชั้นแนวหน้าในการบริหารชื่อเสียงออนไลน์ ร่วมตั้งคำถาม พูดคุยกับวิทยากร เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์บริหารแบรนด์ บนโลกออนไลน์อย่างมืออาชีพ

รายละเอียดการสัมมนา

จัดโดย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย (Thai Webmaster Association) และ บริษัทพีเพิลมีเดียกรุ๊ป จำกัด
วันพฤหัสบดีที่ 4 – วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2558
เวลา 09.00 – 17.00 น.
ณ Swissotel Le Concorde (รัชดา)
ค่าอบรม 15,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)

รายชื่อวิทยากร

T_220

คุณโศรดา ศรประสิทธิ์ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริลเลียน แอนด์ มิลเลียน

บริษัทเพียงหนึ่งเดียวของไทย ที่คว้ารางวัล Digital Agency of the Year หรือ AOY Awards ถึง 3 ปีซ้อน จาก Campaign Asia Pacific. นอกจากนี้ ยังเป็น Celeb Blogger ให้กับ นิตยสารแพรว และเป็นเจ้าของ/ บรรณาธิการบริหารของ www.chicministry.com

junphen_juntana02

คุณจันทร์เพ็ญ จันทนา / Senior Vice President (SVP) Integrated Digital Marketing Management

ผู้บริหารสื่อออนไลน์ที่ทำให้ธนาคารไทยได้รางวัลจากสิงค์โปร์และอเมริกามาแล้ว เป็นคอลัมนิสต์ด้านสื่อดิจิทัล นอกจากนี้ยังเคยได้รับเกียรติสูงสูดในการได้รับพระราชทานรางวัลจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตน์ฯ หลายสิบครั้ง

5891480878_c0b63b8b22_o

คุณจักรพงษ์ คงมาลัย / Head of Bussiness Content, Sanook.com

นักการตลาดดิจิทัลที่สนใจใคร่รู้ด้าน Content และ Community ปัจจุบันบริหารงานเนื้อหาและพัฒนาธุรกิจของ Sanook.com ในตำแหน่ง Head of Content Business ก่อนหน้านี้เขาผ่านบริษัทดิจิทัลระดับโลกอย่าง Yahoo!, Samsung มาแล้ว นอกจากนี้ยังเป็น blogger ที่ thumbsup.in.th ที่นักการตลาดไทยหลายต่อหลายคนชื่นชอบ

IMG_0403

คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร / ที่ปรึกษาการตลาดดิจิทัลและสื่อสารแบรนด์

ที่ปรึกษาด้านการตลาดดิจิตัล และการสื่อสารแบรนด์ให้กับหลากหลายบริษัท นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากร และร่วมออกแบบหลักสูตรการสื่อสารการตลาดดิจิตัลแห่งแรกของไทย ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ

apisilp-pantip4

คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ / Chief Technology Officer เว็บไซต์ pantip.com

หนึ่งในสามผู้ก่อตั้งพันทิปตั้งแต่ยุคแรก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Chief Technology Officer เว็บไซต์ pantip.com นอกจากนี้ยังเป็น วิทยากรด้าน Online Reputation Management คนแรกๆ ของไทย ตั้งแต่ปี 2555 ส่วนงานด้านสังคมดำรงตำแหน่งนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

Jib-BrandBaker

คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล / นักกลยุทธการตลาด การตลาดดิจิทัล (BrandBaker)

นักกลยุทธการตลาดผู้ชนะเลิศการแข่งขันหลายรายการทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในจอโทรทัศน์และเวทีจริง มีประสบการณ์ด้านเทคโนโลยีมากกว่า 10 ปี และ 7 ปีในโลกออนไลน์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของบริษัท BrandBaker, Agency ที่เชี่ยวชาญด้าน Influencer Marketing ส่วนงานด้านสังคม และเป็นกรรมการสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย

klat

คุณกล้า ตั้งสุวรรณ / กรรมการผู้จัดการบริษัท Thoth Media

ผู้บริหารที่เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและโปรแกรมมิ่ง คร่ำหวอดอยุ่เบื้องหลังโปรเจคออนไลน์ใหญ่ๆ หลายโครงการ มีความถนัดเฉพาะด้านการใช้เครื่องมือในโลกออนไลน์เพื่อเสาะหาข้อเท็จจริง ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท Thoth Media

ตารางการสัมมนา

Day 1 : 4 มิถุนายน 2558
Crisis Management on Facebook 09.00 – 10.30 น. คุณโศรดา ศรประสิทธิ์ / กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริลเลียน แอนด์ มิลเลียน
Break 10:30 – 10:45 น.  – Break –
Crisis Management on Facebook 10.45 – 12.15 น. – คุณจันทร์เพ็ญ จันทนา / Senior Vice President (SVP) Integrated Digital Marketing Management
– เดชอุดม เข็มแดง / Creative Director / บริหารจัดการสื่อออนไลน์ของ บริษัท Gmm Tai Hub จำกัด (GTH)
พักทานอาหารกลางวัน 12.15 – 13.15 น.  – พักทานอาหารกลางวัน –
Content Marketing 13.15 – 15.15 น. คุณจักรพงษ์ คงมาลัย / Head of Bussiness Content, Sanook.com
Break 15:15 – 15:30 น.  – Break –
การสื่อสารแบรนด์ 15.30 – 16.30 น. คุณสุธีรพันธุ์ สักรวัตร / ที่ปรึกษาการตลาดดิจิทัลและสื่อสารแบรนด์
Day 2 : วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน 2558
Crisis Management on Pantip 09.00 – 10.30 น. คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ / Chief Technology Officer เว็บไซต์ pantip.com
Break 10:30 – 10:45 น.  – Break –
Crisis Management on Pantip 10:45 – 12:15 น. คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ / Chief Technology Officer เว็บไซต์ pantip.com
พักทานอาหารกลางวัน 12.15 – 13.15 น.  – พักทานอาหารกลางวัน –
Influencer Marketing 13.15 – 15.15 น. คุณสุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล / นักกลยุทธการตลาด การตลาดดิจิตอล (BrandBaker)
Break 15.15 – 15.30 น.  – Break –
Social Monitoring Tools 15.30 – 16.30 น. คุณกล้า ตั้งสุวรรณ / กรรมการผู้จัดการบริษัท Thoth Media

ขั้นตอนการสมัครเข้าร่วมสัมมนา

  1. แจ้งสำรองชื่อจองอบรมที่เบอร์ 02-704-9066-7 ต่อ 106-107 , เบอร์มือถือ 092-024-4674 , 094-856-8946
  2. กรอกใบสมัครออนไลน์ (ต้องการกรอกใบสมัครกด กรอกใบสมัคร)
  3. ชำระเงินผ่านทาง
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลาดพร้าว ซอย 111
    ประเภทบัญชีออมทรัพย์
    เลขที่บัญชี 052-422861-9
    ชื่อบัญชีบริษัท พีเพิลมีเดีย กรุ๊ป จำกัด
  4. เมื่อชำระเงินแล้ว ส่งหลักฐานการชำระเงินมาที่แฟกซ์ 02-704-9068 หรือ email : peopletraining.info@gmail.com

from:http://thumbsup.in.th/2015/05/crisis-management-seminar-thai-webmaster/

7 ขั้นตอนเตรียมแผนกู้ชีพสำหรับแบรนด์ในภาวะวิกฤติ

วิกฤติเป็นสิ่งที่มาแบบไม่ตั้งตัว ดังนั้น การวางแผนล่วงหน้าจึงมีความสำคัญมากสำหรับทุกๆ องค์กร ต่อให้เป็นบริษัทใหญ่ระดับโลกก็หนีไปไม่พ้น (ล่าสุดที่เห็นได้ชัดคือ #BendGate ของ Apple)  บทความจาก inc.com นำเสนอสิ่งที่ควรมีในการจัดการวิกฤติ อ่านแล้วลองนำไปปรับใช้กับแผนขององค์กรได้ค่ะ 

crisis-management

1. เตรียมแผนล่วงหน้า

ทุกๆ แผนต้องมาจากเป้าหมายที่ชัดเจน และเป้าหมายที่ชัดเจนสำหรับทุกๆ วิกฤติของแบรนด์คือการปกป้องทุกๆ ส่วนขององค์กรที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายหลักของแบรนด์ได้รับข้อมูลที่จำเป็นอยู่เสมอ และองค์กรต้องอยู่รอด แผนที่ว่านี้ต้องถูกเขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีการลงรายละเอียดในระดับปฏิบัติการเอาไว้ชัดเจน เพื่อให้นำไปใช้ได้ทันทีที่เกิดวิกฤติขึ้น

2. เตรียมโฆษกขององค์กรเอาไว้

วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ของลูกค้า สาธารณชนทั่วไป หรือลูกจ้าง ย่อมเป็นที่สนใจของสื่ออยู่แล้ว เพื่อให้องค์กรสามารถสื่อสารได้อย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ก็ควรจะระบุตัวคนที่จะเป็นตัวแทนขององค์กรในการให้ข่าว ตอบคำถามสื่อ ให้สัมภาษณ์

3. ซื่อสัตย์และเปิดใจ

ยิ่งสร้างความเคลือบแคลงมากแค่ไหนก็ยิ่งเร้าความสนใจของสื่อมากเท่านั้น ยิ่งในสมัยที่นักสืบออนไลน์ทำงานกัน 24 ชั่วโมงแบบนี้ โอกาสที่จะรอดพ้นจากการปิดบังเรื่องไม่ดียิ่งมีน้อยลง เมื่อยิ่งถูกจับโกหกได้ ก็จะยิ่งโดนกัดไม่ปล่อย ทั้งโดยสื่อและกลุ่มผู้บริโภค ดังนั้น แบรนด์ควรจะเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความจริงให้มากที่สุดเท่าที่จะเปิดเผยได้ในทุกๆ ช่องทางการสื่อสาร เช่น การให้สัมภาษณ์กับสื่อ โซเชียลมีเดีย และการสื่อสารภายในองค์กร

4. แจ้งให้พนักงานทราบถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น

ในระหว่างที่แบรนด์เกิดวิกฤติ อยู่ในสภาวะที่ต้องให้ข่าวกันแบบรายชั่วโมง การสื่อสารกับพนักงานในองค์กรอย่างตรงไปตรงมา จะทำให้ธุรกิจขององค์กรยังคงดำเนินไปได้อย่างเป็นปกติ

หลายๆ คนอาจจะคิดว่าพนักงานธรรมดาทั่วไปที่ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบหรือตอบคำถามสื่อ ก็เลยไม่จำเป็นที่จะต้องแจ้งให้ทราบ แต่ความคิดแบบนี้ถือว่าผิด

จากประสบการณ์แล้ว เวลาที่แบรนด์เกิดเรื่องไม่ดีไม่งามขึ้น การสื่อสารกับคนในองค์กรถือเป็นเรื่องจำเป็นไม่น้อยไปกว่าคนนอกองค์กรเลยนะคะ เพราะคนในองค์กรก็ไม่ต่างอะไรจาก Brand ambassador หรือตัวแทนของแบรนด์ ยังไงซะก็ต้องมีคนรอบข้างมาถามพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นอยู่ดี

นอกจากนี้ ยังเป็นการยุติข่าวลือภายในที่อาจจะทำให้พวกเขาไปโพสต์อะไรให้องค์กรเสียหายหนักเข้าไปอีกในโซเชียลมีเดียของตัวเอง

ดังนั้น อย่าปล่อยให้เป็นเรื่องที่รู้กันเฉพาะในหมู่คนระดับหัวแถวขององค์กร เพราะพนักงานทุกคนคือตัวแทนของแบรนด์

5. สื่อสารกับลูกค้าและซัพพลายเออร์

แน่นอนว่าเราคงไม่อยากให้ลูกค้าและซัพพลายเออร์ของเรารู้เรื่องที่ปรากฏในสื่อ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่พวกเขาจำเป็นต้องรู้ควรจะมาจากองค์กรของเราเป็นที่แรก ส่วนสำคัญของแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤติต้องรวมไปถึงความถี่และข้อมูลที่จะสื่อสารกับลูกค้าและซัพพลายเออร์ด้วย

6. อัปเดตอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ

ในภาวะแบบนี้ การสื่อสารให้มากเข้าไว้ย่อมดีกว่าปล่อยให้ข่าวลือแพร่สะพัดไปทั่ว อย่าลืมว่าเราอยู่กันในยุคที่ข้อมูลข่าวสารถูกรับ-ส่งกันตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งแผนจัดการวิกฤติของแบรนด์ก็ควรจะเป็นแบบนั้น บทสรุปจากผู้บริหาร แผนการรับมือและป้องกัน แผนการฟื้นฟู ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ควรจะถูกอัปเดตให้บ่อยและเร่งด่วนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

7. อย่าลืมใช้โซเชียลมีเดียสื่อสาร

วิกฤติในระดับโลกที่ผ่านมาหลายๆ ครั้งคือข้อพิสูจน์ว่าโซเชียลมีเดียคือช่องทางการสื่อสารที่มีความสำคัญมากที่สุดอีกช่องทางหนึ่ง เพราะอินเทอร์เน็ตคือที่ที่ใครจะพูดอะไรในเวลาไหนก็ได้ เมื่อเกิดภาวะวิกฤติ แบรนด์ควรจะตั้งทีมดูแลโซเชียลมีเดียขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อโพสต์และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่อยู่ในโลกออนไลน์

วิกฤติที่ไม่ได้รับการจัดการ อาจจะทำลายชื่อเสียงที่แบรนด์สั่งสมมานานนับสิบปีได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในทางตรงกันข้าม หากองค์กรสามารถรับมือรับวิกฤตินั้นได้ดี มันก็จะเป็นข้อพิสูจน์ว่าองค์กรมีความสามารถที่จะยืนหยัดและพัฒนาต่อไปได้ในอนาคต

from:http://thumbsup.in.th/2014/10/critical-steps-to-crisis-management/

Durex กับบทเรียนเรื่องโพสต์เรื่องเซ็กซ์แบบผิดๆ คิดจนตัวตาย

เมื่อวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา เพจ Durex Thailand ที่เป็นเพจถุงยาง และมักจะมี pic post ทำนองว่า กี่เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงจะ ตื๊ดๆๆๆ (เรื่องเพศสัมพันธ์) วันนี้ก็โพสต์รูปในประเด็นที่ว่า “28% ของผู้หญิงที่ขัดขืน สุดท้ายก็ยอม”

10671296_10152850134699180_6088928910819983572_n

จะเห็นว่าคอมเมนต์ในภาพก็มีคนออกมาต่อว่าต่างๆ นานา จน Durex ก็ต้องออกมาลบข้อความดังกล่าว และบอกว่าที่ลบเพราะไม่ต้องการให้เกิดความเข้าใจผิดในข้อความดังกล่าว

“เนื่องจากเกิดประเด็นความเข้าใจผิดจากข้อความที่ทางเพจได้โพสต์ขึ้นไป ทาง Durex Thailand ต้องขออภัยในความผิดพลาดเป็นอย่างสูง ทางเราขออนุญาตลบโพสต์ดังกล่าวออกไป เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดในข้อความดังกล่าวเพิ่มมากยิ่งขึ้น และทางเราจะระมัดระวังในการให้ข้อมูล การเลือกใช้คำในการสื่อสารให้ดียิ่งขึ้น ต้องขออภัยมา ณ ที่นี่อีกครั้ง”

เรามาดูความเห็นของคนอื่นที่มีต่อประเด็นนี้บ้าง

ยัง ยังไม่พอ มีสื่ออังกฤษอย่าง Mirror นำไปตีข่าว โดยที่ในข่าวระบุว่า Durex Thailand ออกมาขอโทษและโบ้ยให้เป็นเรื่องของการใช้คำที่ผิดและผู้อ่านตีความผิดๆ ไปเอง ทั้งๆ ที่เราไม่ได้หมายความว่า “ขัดขืน” ลงท้ายด้วยการข่มขืนซะหน่อย และข่าวนี้ยังเอาประเด็นของการเสียชีวิตของฝรั่งที่ถูกฆ่าข่มขืนในไทยหมาดๆ มาโยงกับเรื่องนี้ด้วย

23-9-2557 10-09-26

เมื่อกระแสตีกลับขนาดนี้ (วิกฤตหนักขนาดที่ไม่ว่าดูเร็กซ์จะโพสต์อะไร ก็มีคนไปตามด่า เอาลิงก์ข่าว Mirror ไปแปะหน้าเพจ โพสต์หน้าเพจด่าทอ จน Durex ก็หยุดการโพสต์รูปอื่นๆ ทุกอย่าง และมีคำขอโทษออกมาอีกสามครั้ง

ยังไม่พอ เว็บ Forbes ก็ได้มีการเขียนถึงประเด็นนี้เช่นกัน (ขอยกคำแปลมาจากเพจ เชื่อแมวเหอะ(รู้ไหมว่าตัวเองโดนหลอก)) ตามนี้

“Forbes บอกว่าทีม Global PR ของ Durexไม่ได้รับการติดต่อการทีมงานเมืองไทยว่ามีเรื่อง จนมารู้จากทีมข่าวของ Forbes เอง
จากนั้นทีม PR ก็ตำหนิโพสต์เจ้าปัญหาดังกล่าวอย่างไม่ไว้หน้า

ไฮไลท์ของข่าวนี้ คือคำให้สัมภาษณ์ของ ทีมงานบริษัท Virgo Health ซึ่งทำ Global PR ของ Durex
1. เจ้าหน้าที่ Virgo health PR บอกว่าไม่ได้รับข่าวจากทีมเมืองไทย จนมารู้อีกครั้งก็จากทีมข่าวของ Forbes แล้ว ซึ่งการทำงานของทีมไทยไม่เป็นไปมาตรฐานของบริษัท
2. บริษัทไม่อยากจะอธิบายเรื่อง ตัวเลข 28% อีกต่อไป เนื่องจากข้อมูลถูกใช้อย่างไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสมอย่างมาก
3. เนื้อหาของโพสน่ารังเกียจและไม่เหมาะสม
4. บริษัทเสียใจเป็นอย่างมาก และไม่ได้ต้องการให้เกิดความไม่เหมาะสมหรือความล่อแหลมใด สิ่งเหล่านี้ไม่ได้อยู่ในแผนการตลาด
5. โพสดังกล่าว ไม่ได้เป็นไปตามนโยบายของบริษัท
6. บริษัท Durex Global ขอแสดงความรับผิดชอบของเนื้อหาที่โพสในเพจของประเทศไทย ยืนยันว่าโพสดังกล่าวไม่สมควรจะถูกโพสตั้งแต่แรก
และบริษัทจะไม่ยอมให้มีการโพสในลักษณะนี้อีก
7. Durex ยืนยันว่าบริษัทให้เกียรติผู้หญิงทุกคน และการตลาดของบริษัทจะเป็นเรื่องของเซ็กส์ที่ปลอดภัยและเต็มใจเท่านั้น
….. ชัดเจน …..”

23-9-2557 10-19-35

คุณหมอโกมาตร ที่เคยยื่นถาม Durex ประเทศไทยว่า ตัวเลข 28% ที่ว่า เอามาจากไหน ก็พบกับคำชี้แจงของ Durex คุณหมอจึงให้ความเห็นตามนี้

“วันนี้ได้รับจดหมายชี้แจงจากดูเร็กซ์ ประเทศไทย สรุปใจความว่า
1. บริษัทเสียใจและขออภัย “ต่อเหตุการณ์” ดังกล่าว
2. ข้อความที่โฆษณา “ไม่ได้สะท้อน” ถึงนโยบายของบริษัท
3. บริษัทส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนพืนฐานของ “การให้เกียรติซึ่งกันและกัน”

ที่ไม่ได้ตอบมาก็คือ ข้อมูล “28% ของผู้หญิงที่ขัดขืน แต่สุดท้ายก็ยอม” นั้นได้มาจากไหน
ทำให้สงสัยว่า ในหลายปีที่ผ่านมา สถิติที่ดูเร็กซ์ใช้เพื่อสร้างทัศนคติทางเพศให้กับสังคมไทย มีความถูกต้องน่าเชื่อถือหรือมีวัตถุประสงค์อย่างไร เช่น

ปี 2554 “ดูเร็กซ์” เผย… ชายไทยนอกใจแฟน อันดับ 1 ของโลก
ปี 2555 “ดูเร็กซ์” ชี้ “สาวไทย” นอกใจคนรักติดอันดับโลก
หรือ “ดูเร็กซ์” เผย ชายไทยมีคู่รัก 12 คน ในขณะที่ชายออสเตรียมี 29 คน
รัสเซีย 28 คนและบราซิล 27 คน

ข้อมูลเหล่านี้มีที่มาที่ถูกต้องทางวิชาการหรือเป็นเพียงตัวเลขที่ป้้นแต่งขึ้นให้สังคมเห็นว่า การนอกใจคู่รักของชายหญิงไทยนั้นเป็นเรื่องธรรมดา หรือชายไทยยังสำส่อนน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

ส่วนเรื่องนโยบายการส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ให้เกียรติซึ่งกันและกันนั้น หากผู้บริหารดูเร็กซ ประเทศไทยจะได้เข้าไปดูเพจในเฟซบุ๊คของบริษัทบ้างก็จะเห็นว่า พื้นที่เพจดูเร็กซ์ ประเทศไทยกลายเป็นพื้นที่สำหรับผู้คนเข้าไปแสดงความหื่น ใช้วาจาลวนลามล่วงละเมิดความเป็นผู้หญิง โดยแอดมินของเพจก็ไม่เพียงไม่ลบความเห็นเหล่านั้น แต่ยังโพสต์เนื้อหาที่เชิญชวนและส่งเสริมให้มองผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศ ซึ่งขัดแย้งกับคำชี้แจงเรื่องนโยบายอย่างสิ้นเชิง

ผมไม่ได้สนใจว่าดูเร็กซ์จะมาเข้าพบหรือชี้แจงอะไรกับผมอีกต่อไปแล้ว สิ่งที่ดูเร็กซ์ ประเทศไทยควรทำคือ
1. ขอโทษต่อสาธารณะและต่อผู้หญิงทุกคน
2. ชี้แจงที่มาของตัวเลขที่นำมาใช้ในการสร้างทัศนคติที่ส่งเสริมการล่วงละเมิดทางเพศ
3. แถลงให้สังคมไทยมั่นใจถึง “มาตรการ” ที่เป็นรูปธรรมที่จะป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำอีก

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์”

ดราม่านี้ก็น่าจะจบแล้ว ก็รอดูว่า Durex Thailand จากนี้จะเป็นอย่างไร ส่วนตัวขอสรุปเรื่องที่เกิดขึ้นตามนี้

  1. ถ้าหากมองแบบโลกสวย คำว่า 28% ของผู้หญิงที่ขัดขืน สุดท้ายก็จะยอม เข้าใจได้ว่า ในบางกรณีที่คู่รักก่อนจะอาเซเดเฮกัน ผู้หญิงอาจจะอิดเอื้อนพอเป็นพิธี ไม่เอาน่ะเตง วันนี้เค้าไม่พร้อม แต่สุดท้ายมันก็เป็นไปตามครรลอง คือถ้าใช้ copy ที่มันอยู่ในบริบทแบบนี้ อาจจะไม่เป็นอะไร
  2. แต่พอใช้คำว่า “ขัดขืน” ซึ่งคำว่าขัดขืนมันไม่ใช่การอิดเอื้อน อิดออด มันคือการไม่ยินยอมพร้อมใจ ซึ่งมันแปลได้สถานเดียวเลยว่าถ้าการขัดขืนจบด้วยที่ผู้ชายได้อาเซเดเฮสำเร็จ ยังไงมันก็คือการข่มขืนนั่นเอง

    23-9-2557 10-25-27

  3. การแก้ปัญหาของเพจ Durex จริงๆ ก็มีการขอโทษเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤติขึ้นตามปกติ (ซึ่งอะ โพสต์แรกอาจจะร่างคำไม่ถูก คือค่อนข้างโยนภาระมาให้คนตีความว่าตีความผิดไปเอง) แต่หลังจากนั้นก็มีการขอโทษอีกซ้ำๆ ซึ่งก็เป็นวิธีแก้ปัญหาที่พอได้แหละนะ แต่น่าสนใจตรงที่ยังอิมแพ็กไม่พอที่จะทำให้คนให้อภัยกับโพสต์ดังกล่าว
  4. แต่ก็ต้องชมที่ Durex ไม่ลบโพสต์, ไม่ปิดซ่อนไม่ให้ผู้ใช้มาโพสต์ในหน้า Timeline
  5. โดยปกติ Faceblog จะเก็บเคสแบรนด์เกิดภาวะวิกฤตบน Social Network เป็นเนืองๆ (เฉพาะเคสที่น่าสนใจ) เราพบว่า ตั้งแต่เก็บเคสมา เคสนี้น่าจะอาการหนักสุดคือ
    • โพสต์รูป
    • คนรุมด่า (จนตอนนี้ก็ยังด่าอยู่)
    • มีดราม่า
    • จ่าดราม่าเอาไปเขียน
    • เฟมินิสต์, หมอ, เพจวิชาการ รุมด่า
    • สื่อนอกเอาไปตีข่าว
    • บริษัทแม่ไม่พอใจมาก

ก็ต้องมาดูกันว่าจากนี้จะเป็นยังไงต่อไปแจ้ :h_umbrella:

from:http://faceblog.in.th/2014/09/durex-thailand-sexually-inappropriate/

Malaysia Airlines MH370 ตัวอย่างที่ดีของการสื่อสารออนไลน์ในภาวะวิกฤต

ผู้อ่าน Faceblog น่าจะรับทราบข่าวเรื่องเที่ยวบิน MH370 ของสายการบิน Malaysia Airlines กันหมดแล้วนะครับ โพสต์นี้เราจะไม่พูดถึงเรื่องการตามหาเครื่องบิน (ขอให้พบไวๆ) แต่จะยกกรณีศึกษาเรื่อง “การสื่อสาร” ของสายการบิน Malaysia Airlines ในยาม “วิกฤต” (communication in crisis situations หรือบางที่ก็เรียก crisis communication) ซึ่งในมุมมองของผมแล้ว สายการบินทำเรื่องนี้ได้ดีมากๆ ในส่วนของสื่อออนไลน์ช่องทางต่างๆ น่าใช้เป็นตัวอย่างหรือกรณีศึกษาในอนาคต

ภาพประกอบส่วนใหญ่เก็บข้อมูลในวันหลังวันที่เกิดเหตุคือวันที่ 9 มีนาคม 2014 ครับ

ยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากของ Malaysia Airline ในการสื่อสารช่วงภาวะวิกฤตครั้งนี้คือ “คนเดียวพูด” เพื่อไม่ให้มั่ว ดังนั้นพื้นที่ที่ Malaysia Airlines จะอัพเดตเนื้อหาต่างๆ จึงมีแค่ “จุดเดียว” นั่นคือเว็บไซต์ http://malaysiaairlines.com ไม่ใช่ช่องทางโซเชียลใดๆ (เพราะนี่ไม่ใช่แคมเปญโฆษณาหรือการตลาด)

หน้าแรกของเว็บไซต์

ไม่กี่ชั่วโมงหลังมีข่าวเครื่องบินสูญหาย เว็บไซต์ของ Malaysia Airlines ก็ปรับโฉมหน้าเว็บทันที (สังเกตวันที่ในช่อง booking ว่าเป็นวันที่ 9 มีนาคม)

Malaysia Airlines Site 9 March 2014

จะเห็นว่าดีไซน์แบบนี้ออกแบบมาโดยคำนึงถึง

  • คนจากทั่วโลกที่จะเข้ามาหาข้อมูลเรื่อง MH370 ซึ่งเข้ามาในหน้าแรกของเว็บแล้วจะต้องเห็นประกาศเด่นชัดที่สุด
  • ประกาศทำเป็นสีเทาเพื่อเคารพบุคคลและญาติของผู้สูญหาย ไม่ใช้สีฉูดฉาด
  • ยังคงโครงสร้างของเว็บในส่วนอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อยู่ เช่น booking หรือเมนูด้านข้าง (ถ้าเป็นเว็บไทยมีโอกาสสูงมากที่มันจะเป็น splashscreen ดักไว้ที่หน้าแรก เข้าทำอย่างอื่นไม่ได้เลย ยกเว้นดูประกาศ)

ดีไซน์นี้ยังอยู่มาจนถึงวันนี้ (12 มีนาคม 2014) ดีไซน์ยังคงเดิม แค่ปรับสีให้เข้มขึ้น (ไม่ทราบว่าเพราะอะไรจึงเปลี่ยน แต่เดาว่าน่าจะต้องการให้เห็นเด่นชัดขึ้น)

Malaysia Airlines Site 12 March 2014

แถลงการณ์

จากนั้นทุกสิ่งอย่างจะลิงก์ไปที่หน้าแถลงการณ์ (http://www.malaysiaairlines.com/my/en/site/dark-site.html) ครับ หน้านี้จะเป็น plain HTML แทบไม่มีรูปภาพใดๆ ให้เกะกะ เพราะจะเป็นหน้าที่คนเข้าเยอะที่สุด ต้องการเข้าถึงข้อมูลที่เป็น text มากที่สุด สิ่งสำคัญคือข้อมูลต้องชัดและเคลียร์ เข้าถึงให้เร็วที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

การออกแบบหน้าแถลงการณ์นี้ทำได้ดีมาก จุดที่อยากให้สังเกตคือ

  • หัวของแถลงการณ์จะระบุวันที่ เวลา เขตเวลา และหมายเลขของแถลงการณ์ เพื่อให้ติดตาม “ความใหม่” ของข้อมูลได้ง่าย เทียบกับแถลงการณ์ฉบับก่อนๆ ที่ถูกเผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ ก่อนหน้านั้นมาแล้ว
  • ข้อมูลสำคัญที่คนจะถามหาบ่อย เอามาแสดงไว้ให้เห็นเด่นชัด ทั้งเบอร์โทรศัพท์ในการสอบถามข้อมูล แยกเป็นเบอร์สำหรับญาติ สำหรับสื่อ และสำหรับคนทั่วไป

Malaysia Airlines Statement

หน้าแถลงการณ์เวอร์ชันล่าสุดถูกปรับไปอีกเล็กน้อยครับ สังเกตที่ sidebar ด้านขวามือจะมีเบอร์โทรศัพท์สำหรับสอบถามข้อมุลจากเมืองจีน (เพราะผู้โดยสารส่วนใหญ่เป็นคนจีน) และรายชื่อผู้โดยสาร (passenger manifest) ที่ทำลิงก์แยกเป็นอีกหน้า เพิ่มเข้ามาในภายหลัง

Malaysia Airlines Statement

เนื้อหาในแถลงการณ์ช่วงแรกๆ (ที่ยังมีรายละเอียดของไฟลท์ไม่มากนัก) ก็พยายามให้มีข้อมูลสำคัญๆ เท่าที่ทำได้ จัดให้อยู่ในรูปที่อ่านง่าย เหมาะกับการไล่สายตา เช่น เชื้อชาติของผู้โดยสารบนเครื่อง (ช่วงแรกยังไม่มีรายชื่อผู้โดยสารออกเผยแพร่) พร้อมมีเบอร์โทรย้ำอีกทีที่ท้ายข้อความในแถลงการณ์

Malaysia Airlines Statement

นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังมีหลายภาษาเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด ในกรณีนี้คือผู้โดยสารคนจีน ก็เลยมีแถลงการณ์ภาษาจีนแปะท้ายมาด้วย (ช่วงแรกนั้น แถลงการณ์ภาษาจีนยังไม่ละเอียดเท่ากับภาษาอังกฤษ แต่แค่มีก็ดีมากแล้ว ภายหลังแถลงการณ์ถึงยาวเท่ากับภาษาอังกฤษเมื่อทีมงานตั้งตัวได้)

Malaysia Airlines Statement Chinese

โซเชียล: Facebook

ดูกรณีของเว็บไซต์หลักแล้ว มาดูช่องทางด้านโซเชียลกันบ้างครับ สิ่งที่น่าเคารพและยึดเป็นแบบอย่างมากๆ คือไม่นานหลังกรณีเครื่องบินหายกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก หน้าเพจของ Malaysia Airlines ก็เปลี่ยนภาพประจำตัวและ cover ทันที

กิจกรรมบันเทิงเริงใจ ลดแหลกแจกแถม แคมเปญสารพัด งดไปก่อนนะ

Malaysia Airlines Facebook

ลองไล่ดูใน Timeline จะเห็นว่าวันก่อนหน้า (วันเดียวกับที่เกิดเหตุ) เพจของสายการบินยังลัลล้าอยู่เลย แต่บทจะเปลี่ยนก็ต้องเข้าโหมดฉุกเฉินเต็มที่ครับ มันวิกฤตแล้วจริงๆ

Malaysia Airlines Facebook

วิธีการโพสต์ของสายการบินก็น่าสนใจครับ อย่างที่เขียนไปข้างต้นคือยุทธศาสตร์ใช้วิธี single point of communication พูดที่เดียวเพื่อไม่ให้มั่ว ดังนั้นนโยบายการโพสต์ก็คือก็อปปี้แถลงการณ์มาแปะเลย ข้อความ (message) เดียวกัน พร้อมลิงก์ไปยังแถลงการณ์ฉบับเต็มบนเว็บไซต์

Malaysia Airlines Facebook

อยากให้สังเกตตรงคอมเมนต์ในเพจให้ดีๆ ครับ จะเห็นว่า Malaysia Airlines เข้ามาตอบคอมเมนต์ด้วยนะครับ ไม่ใช่เพิกเฉยต่อคอมเมนต์ แต่จะไม่ตอบคำถามใดๆ (ให้มั่ว) ข้อมูลทุกอย่างต้องออกจากศูนย์กลางแห่งเดียว ดังนั้นการตอบคอมเมนต์จะเป็นไปในเชิงการขอบคุณและการให้ข้อมูลที่เตรียมไว้แล้วเท่านั้น ไม่มีอะไรเกินนั้น

Malaysia Airlines Facebook

คนที่เข้าเพจของ Malaysia Airlines จากประเทศไทย จะเจอเพจภาษาไทยแทน (เป็น redirect ตามประเทศแหล่งที่มา) ซึ่งเพจในภาษาต่างชาติก็ใช้นโยบายเดียวกันหมด แค่แปลเป็นภาษาไทยเท่านั้นเอง สรุปว่ายังยึดนโยบายการสื่อสารข้อความเดียวกันให้สม่ำเสมอ (consistancy of message) อย่างจริงจัง

Malaysia Airlines Facebook Thai

โซเชียล: Twitter

กรณีของ Twitter ก็ยังยึดนโยบายเดียวกันคือลิงก์ไปยังแถลงการณ์บนหน้าเว็บครับ แถมบน Twitter ทำได้ง่ายกว่าบน Facebook เพราะพื้นที่การโพสต์จำกัด ต้องลงลิงก์แล้วส่งไปยังเว็บไซต์แน่ๆ อยู่แล้ว (จะเห็นว่าก่อนเกิดเหตุ บัญชี Twitter ยังลัลล้าเที่ยวตลาดน้ำอยู่เลย)

Malaysia Airlines Twitter

บัญชี Twitter จะไม่เน้นโพสต์ถี่ ไม่ตอบคำถามใดๆ ใช้นโยบายว่ามีอะไรอัพเดตในแถลงการณ์จะโพสต์ลิงก์หรือข้อความสั้นๆ เพียงอย่างเดียว

Malaysia Airline Twitter

โซเชียล: Google+

Google+ ใช้นโยบายเหมือนกับทั้ง Facebook/Twitter ครับ คือเปลี่ยนภาพแสดงตัวเป็นสีเทา และโพสต์เฉพาะข้อมูลสำคัญเท่านั้น

Malaysia Airline G+

โซเชียล: Instagram

Instagram เป็นสื่อ visual ที่เน้นภาพมากกว่าข้อความโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งคงไม่เหมาะกับการสื่อสารในกรณีวิกฤตแบบนี้สักเท่าไร ทางทีมของสายการบินจึงแก้ปัญหาโดยการ “ไม่โพสต์” มันซะเลยครับ บัญชี Instagram ของ Malaysia Airlines เลยไม่อัพเดตมาหนึ่งสัปดาห์แล้ว (หวังว่าถ้าเกิดเหตุการณ์แบบเดียวกับเมืองไทยคงจะไม่เจอโพสต์รูปงุงิหรือแคปหน้าจอแถลงการณ์มานะครับ)

Malaysia Airline Instagram

สรุป

ยุทธศาสตร์การสื่อสารออนไลน์ของ Malaysia Airlines ในช่วงวิกฤตทำได้ดีมาก

  • เรียบง่าย ตรงไปตรงมา เน้นการเผยแพร่สารสำคัญให้มากที่สุด เร็วที่สุด ง่ายที่สุด ไม่เน้นการตกแต่งหวือหวา
  • สื่อสารแบบรวมศูนย์ที่จุดเดียว ตอบคำถามที่เดียวเพื่อไม่ให้มั่ว ไม่ให้ข่าวสับสน
  • มีความเห็นอกเห็นใจญาติของผู้โดยสาร แสดงออกโดยการสื่อสารแบบเรียบๆ (ไม่ต้องเศร้ามากหรือถึงขั้นฟูมฟาย)

ทั้งหมดนี่ก็น่าใช้เป็นกรณีศึกษาและเป็นตัวอย่างที่ดีขององค์กรในประเทศไทย เผื่อจำเป็นต้องใช้การสื่อสารกับโลกออนไลน์ลักษณะเดียวกันถ้ามีวิกฤตเกิดขึ้นครับ

from:http://faceblog.in.th/2014/03/malaysia-airlines-mh370/