คลังเก็บป้ายกำกับ: COREOS

Fedora 37 ออกแล้ว ผนวกเอา CoreOS และ Cloud เป็น Edition หลัก

Fedora Linux ออกเวอร์ชัน 37 หลังจากต้องเลื่อนมาเล็กน้อยเพราะรออุดช่องโหว่ OpenSSL ของใหม่คือ

  • Fedora CoreOS สำหรับการรันในคอนเทนเนอร์ และ Fedora Cloud อิมเมจสำหรับรันในคลาวด์ กลายมาเป็น edition หลักของ Fedora แล้ว ออกพร้อมกับ edition อื่นๆ ไม่ต้องออกแยกในภายหลัง
  • Fedora Desktop อัพเกรดมาเป็น GNOME 43, ตัดแพ็กเกจภาษาของ Firefox ให้ดาวน์โหลดแยกต่างหาก เพื่อลดขนาดพื้นที่
  • รองรับ Raspberry Pi 4 อย่างเป็นทางการ, หยุดรองรับสถาปัตยกรรม ARMv7 (arm32)
  • เตรียมยกเลิกการเข้ารหัสแบบ SHA-1 ในเร็วๆ นี้ คาดว่าจะเป็น Fedora 39, ปรับสถานะแพ็กเกจ OpenSSL 1.1 เป็นล้าสมัย (deprecated) แนะนำให้อัพเกรดเป็น OpenSSL 3 แทน

No Description

ที่มา – Fedora

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/131530

CoreOS ประกาศหยุดซัพพอร์ตเดือน พ.ค. 2020, ให้ย้ายไปใช้ Fedora CoreOS แทน

CoreOS Container Linux (CL) ระบบปฏิบัติการลินุกซ์สำหรับคอนเทนเนอร์ ของบริษัท CoreOS เดิมที่ถูก Red Hat ซื้อกิจการเมื่อปี 2018 จะสิ้นอายุขัยในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020

Red Hat ซื้อ CoreOS แล้วผนวกเอาดิสโทร Container Linux เข้ามารวมกับโครงการ Fedora กลายเป็น Fedora CoreOS (FCOS) ทำให้ตัว Container Linux ต้องหลีกทางให้กับดิสโทรใหม่

ตอนนี้ทีมงาน CoreOS ถอด Container Linux ออกจากหน้าอิมเมจของ AWS Marketplace แล้ว จากนั้นจะออกอัพเดตครั้งสุดท้ายให้ในวันที่ 26 พฤษภาคม 2020 และปิดเซิร์ฟเวอร์อย่างถาวรในวันที่ 1 กันยายน

รายละเอียดเรื่องการย้าย OS อ่านได้จากเอกสารของ Fedora CoreOS

ที่มา – CoreOS

from:https://www.blognone.com/node/114590

ดิสโทรสำหรับคอนเทนเนอร์ Fedora CoreOS ออกรุ่นเสถียร หลังผนวก CoreOS มาอยู่กับ Fedora

Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 และประกาศรวมดิสโทรโอเพนซอร์ส CoreOS Container Linux เข้ากับโครงการ Fedora

Fedora CoreOS จะกลายเป็นดิสโทรตัวเดียวสำหรับงานรันคอนเทนเนอร์ (ก่อนหน้านี้มีทั้ง CoreOS กับ Fedora Atomic) โดยมันออกรุ่นทดสอบแรกเมื่อกลางปี 2019 และตอนนี้พร้อมใช้งานแบบ production แล้ว

Fedora CoreOS ถือเป็นอีก edition ในสังกัด Fedora โดยเวอร์ชันเสถียรตัวแรกพัฒนาต่อมาจาก Fedora 31 ที่ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2019 ใช้เคอร์เนลเวอร์ชัน 5.4, systemd 243, Podman 1.7

No Description

Fedora CoreOS เวอร์ชันแรกยังรองรับเฉพาะสถาปัตยกรรมซีพียู x86_64 แต่ก็ทำงานได้ทั้งบนเครื่องจริง (bare metal), เครื่องเสมือน (VMware, QEMU) และคลาวด์หลากหลายยี่ห้อ (AWS, Azure, GCP, Alibaba)

Red Hat แนะนำว่าคนที่ใช้งาน CoreOS Container Linux หรือ Fedora Atomic ของเดิม ไม่สามารถย้ายงานมารันบน Fedora CoreOS ได้ตรงๆ และต้องเขียนไฟล์คอนฟิกกันใหม่ ตัว CoreOS Container Linux จะยังซัพพอร์ตต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง ก่อนจะย้ายมาใช้ Fedora CoreOS อย่างถาวร

ที่มา – Fedora

from:https://www.blognone.com/node/114205

Fedora ควบรวมดิสโทร CoreOS เสร็จแล้ว ออกรุ่นทดสอบตัวแรก

หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในปี 2018 ก็ประกาศยุบรวมดิสโทร CoreOS Container Linux เข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Fedora โดยจะใช้แทน Fedora Atomic Host ที่เลิกทำไปเพราะทับซ้อนกัน

เวลาผ่านมาประมาณปีครึ่ง Fedora CoreOS ทำเสร็จเรียบร้อย เข้าสถานะพรีวิวให้คนทั่วไปทดสอบได้แล้ว

Fedora CoreOS เป็นดิสโทรลินุกซ์ขนาดเบาที่ออกแบบมาเพื่อรันในคอนเทนเนอร์ และมีฟีเจอร์ด้านบริหารจัดการ คอนฟิก อัพเดต เพื่อให้ง่ายต่อการดูแล VM จำนวนมากๆ ตัวอย่างฟีเจอร์เหล่านี้คือการอัพเดตตัว OS เวอร์ชันใหม่อัตโนมัติ ติดตั้งและรีบูตเองให้เสร็จสรรพ ลดภาระการดูแลของแอดมินลง

No Description

Fedora CoreOS จะแบ่งรอบการอัพเดตเป็น 3 ระยะคือ testing, stable, next ขนานกันไป โดยจะทดสอบ testing เป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนส่งเข้าระยะ stable ต่อไป

ตอนนี้ Fedora CoreOS ยังมีให้ทดสอบเฉพาะรุ่น testing บนสถาปัตยกรรมซีพียู x86_64 เพียงตัวเดียว และมีอิมเมจเฉพาะคลาวด์ AWS กับ OpenStack เท่านั้น คลาวด์ตัวอื่นๆ จะตามมาในระยะถัดไป (สามารถรันบนเครื่องจริง หรือ QEMU/VMware ได้เช่นกัน – ลิงก์ดาวน์โหลด)

Fedora CoreOS จะทดสอบรุ่นพรีวิวเป็นเวลาประมาณ 6 เดือนแล้วจะประกาศสถานะ stable ส่วน CoreOS Container Linux ตัวเดิมจะยังมีให้ใช้ต่อหลังจากนั้นไปอีก 6 เดือนเพื่อการเปลี่ยนผ่าน, Fedora Atomic Host จะมีให้จนถึง Fedora 29 ช่วงเดือนพฤศจิกายน จากนั้นก็จะหยุดให้บริการ เพื่อให้ย้ายมาเป็น Fedora CoreOS เช่นกัน

ที่มา – Fedora

from:https://www.blognone.com/node/111010

Fedora 29 ออกแล้ว อัพเกรด GNOME 3.30, ขยายนโยบาย Modular, เตรียมผนวก CoreOS

Fedora ออกเวอร์ชัน 29 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชันแรกหลัง Red Hat ถูก IBM ซื้อกิจการ

ของใหม่ใน Fedora 29 คือการขยายแนวคิด Modularity ที่เริ่มใน Fedora 27 Server หรือการแยกส่วนเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ ให้สามารถติดตั้งหลายเวอร์ชันพร้อมกันได้ จากเดิมที่มีเฉพาะในเวอร์ชัน Server ไปยังเวอร์ชันย่อยอื่นๆ (เช่น Workstation) ด้วย

ฝั่งของ Fedora 29 Workstation ก็ปรับเวอร์ชันของ GNOME เป็น 3.30 และออกดิสโทรเวอร์ชันย่อยตัวใหม่ Fedora Silverblue ที่เป็น Fedora Workstation ผสมผสานกับฟีเจอร์การอัพเดตของ Fedora Atomic เข้ามา ซึ่งคาดว่าจะกลายมาเป็นเวอร์ชันหลักของ Workstation ในอนาคต

ส่วน Fedora Atomic เวอร์ชันสำหรับรันในคอนเทนเนอร์ จะถือเป็นเวอร์ชันสุดท้ายภายใต้ชื่อนี้แล้ว โดยเวอร์ชันหน้าจะใช้ชื่อว่า Fedora CoreOS ที่เกิดจากการควบรวม CoreOS เข้ามา

นอกจากนี้ Fedora ยังประกาศออก Internet of Things Edition ในเวอร์ชันหน้า Fedora 30 ด้วย

ที่มา – Fedora, Fedora Workstation

No Description

from:https://www.blognone.com/node/106161

Red Hat ออก OpenShift Container Platform 3.11 เริ่มผนวกเทคโนโลยีจาก CoreOS

Red Hat ออก OpenShift Container Platform เวอร์ชันใหม่ 3.11 ที่เริ่มผนวกเทคโนโลยีจากบริษัท CoreOS ที่ซื้อกิจการมาตอนต้นปี

OpenShift Container Platform คือดิสโทร Kubernetes Enterprise เวอร์ชันของ Red Hat สำหรับจัดการแอพพลิเคชันองค์กรบนสถาปัตยกรรมยุคคลาวด์ (เทียบได้กับ RHEL คือดิสโทรลินุกซ์เวอร์ชันองค์กร)

ของใหม่ในเวอร์ชัน 3.11 ได้แก่ Kubernetes 1.11 เวอร์ชันเกือบล่าสุด (ล่าสุดคือ 1.12 ที่เพิ่งออกเมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ก่อน), ระบบมอนิเตอร์คลัสเตอร์ Prometheus เข้าสถานะ GA, แดชบอร์ด Grafana, พ่วงด้วยฟีเจอร์จาก CoreOS ที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ได้แก่

  • เพิ่มหน้าจอคอนโซลจาก CoreOS Tectonic ที่เน้นฟีเจอร์สำหรับแอดมินในการบริหารโหนดคลัสเตอร์
  • นำไอเดียเรื่อง Operators จาก CoreOS มาให้ใช้งานแบบพรีวิว เบื้องต้นรองรับการจัดการแอพชื่อดังบางตัวอย่าง Couchbase, MongoDB, Prometheus

Red Hat ระบุว่าจะเดินหน้าควบรวมฟีเจอร์อื่นจาก CoreOS เข้ามายัง OpenShift ต่อไปในซอฟต์แวร์เวอร์ชันถัดๆ ไป

No Description

นอกจากนี้ Red Hat ยังเปิดตัว Red Hat OpenShift Container Engine ซึ่งเป็นเวอร์ชันตัดทอนความสามารถของ OpenShift Container Platform ลงบางส่วน โดยเฉพาะด้านการจัดการ เครือข่าย ล็อกกิ้ง และ CI/CD ในระดับสูง เพื่อจับตลาดองค์กรที่มีระบบเหล่านี้อยู่แล้ว และต้องการใช้ร่วมกับระบบคลัสเตอร์ของ OpenShift แทนการใช้ทุกอย่างของ Red Hat ทั้งหมด

No Description

ที่มา – Red Hat, eWeek, Red Hat

from:https://www.blognone.com/node/105852

Fedora เริ่มพัฒนา CoreOS สำหรับรันในคอนเทนเนอร์แล้ว หลัง Red Hat ควบรวม CoreOS

หลัง Red Hat ซื้อกิจการ CoreOS ในเดือนมกราคม 2018 ผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ซ้อนทับกันคือดิสโทรลินุกซ์จากทั้งสองบริษัท ได้แก่ Container Linux ของ CoreOS และ Red Hat Atomic Host ที่ออกแบบมาสำหรับรันในคอนเทนเนอร์เหมือนกัน

เดือนที่แล้ว Red Hat ประกาศว่าจะยุบดิสโทรสองตัวนี้เข้าด้วยกัน โดยจะให้ Container Linux เป็นตัวหลัก และเปลี่ยนชื่อตัวดิสโทรมาเป็น CoreOS แทน

ล่าสุด Fedora ในฐานะโครงการต้นน้ำของ Red Hat Linux ก็ประกาศเริ่มทำ Fedora CoreOS แล้ว ดิสโทรตัวนี้จะสร้างขึ้นมาใหม่จากกระบวนการของชุมชน Fedora แต่จะยังรักษาคุณลักษณะของ Container Linux เดิมอย่างเต็มที่ ส่วน Fedora Atomic Host จะค่อยๆ เฟดตัวเองไปอย่างช้าๆ และการเปลี่ยนแปลงน่าจะใช้เวลาอีก 1-2 ปี

Fedora CoreOS จะกลายเป็นโครงการต้นน้ำเพื่อให้ Red Hat นำไปสร้างเป็น Red Hat CoreOS ต่อไป

ถ้าใครทัน Fedora ยุคแรกๆ ที่แยกส่วน Core กับ Extras ออกจากกัน ทีมงาน Fedora ก็แซวตัวเองว่าในที่สุดชื่อ Core ก็กลับคืนมายังโครงการอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้เว็บไซต์ Fedora CoreOS ออนไลน์แล้ว แต่ยังไม่มีข้อมูลอะไรมากนัก

ที่มา – Fedora

No Description

from:https://www.blognone.com/node/103281

Red Hat เผยแผนอนาคตสำหรับ CoreOS ถูกยุบรวมผลิตภัณฑ์และฟีเจอร์บางอย่าง

Red Hat เผยแผนการในอนาคตของ CoreOS หลังซื้อกิจการมาในเดือนมกราคม 2018 ด้วยมูลค่า 250 ล้านดอลลาร์

ปัญหาของการซื้อกิจการครั้งนี้คือ CoreOS มีผลิตภัณฑ์หลายตัวที่ทับซ้อนกับ OpenShift เพราะเป็นผลิตภัณฑ์สาย Docker/Kubernetes เหมือนกัน ทำให้ต้องเลือกว่าตัวไหนจะอยู่ตัวไหนจะเลิกทำ

  • Tectonic หรือ Kubernetes Enterprise ของฝั่ง CoreOS จะหายไป และถูกยุบรวมเข้ากับ OpenShift Container Platform (Kubernetes Enterprise ฝั่ง Red Hat) โดยฟีเจอร์ด้านการอัพเดตอัตโนมัติของ Tectonic จะถูกเพิ่มเข้ามาใน OpenShift
  • Operator Framework เปรียบได้กับส่วนขยาย Kubernetes API ให้จัดการเจาะจงเป็นรายแอพพลิเคชัน จะถูกนำไปใช้ต่อใน OpenShift Container Platform (ปัจจุบันฟีเจอร์นี้กลายเป็นโครงการโอเพนซอร์สแล้ว)
  • Container Linux หรือ CoreOS Linux เดิม ซึ่งเป็นลินุกซ์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจาก Chrome OS เรื่องการอัพเดตอัตโนมัติ มีความทับซ้อนกับ Red Hat Atomic Host ผลคือ Container Linux จะได้ไปต่อ (Atomic Host จะเลิกทำ) แต่จะเปลี่ยนชื่อกลับเป็น Red Hat CoreOS และกลายเป็นระบบปฏิบัติการหลักสำหรับแพลตฟอร์ม OpenShift ทั้งหมด (ลูกค้ายังสามารถเลือกรัน RHEL ได้ถ้าต้องการ)
  • Quay ฟีเจอร์ด้านการจัดการ registry ของคอนเทนเนอร์ จะถูกนำไปใช้ใน OpenShift ต่อ แม้ว่า OpenShift มีฟีเจอร์ลักษณะเดียวกันอยู่แล้วก็ตาม แต่ในอนาคตก็มีแผนจะนำมารวมกัน

ที่มา – Red Hat

No Description

from:https://www.blognone.com/node/102170

Red Hat ซื้อ CoreOS มูลค่า 250 ล้านดอลลาร์ บุกโลก Container/Kubernetes เต็มตัว

Red Hat ประกาศซื้อบริษัท CoreOS หนึ่งในผู้บุกเบิกวงการ container ในราคา 250 ล้านดอลลาร์

CoreOS เป็นสตาร์ตอัพที่ก่อตั้งในปี 2013 โดยพัฒนาระบบปฏิบัติการลินุกซ์ขนาดเล็กชื่อ Container Linux เหมาะสำหรับ container และได้รับความนิยมอย่างมากในตลาดคลาวด์ โดยมีทั้ง Google Cloud, DigitalOcean, Azure ให้การสนับสนุน

CoreOS ยังมีบทบาทในตลาด container โดยเข้าร่วมพัฒนา Kubernetes และสร้าง Rocket (rkt) มาแข่งกับฝั่ง Docker (แม้ภายหลังจะยอมจับมือกัน) บริษัทมีดิสโทร Kubernetes เชิงพาณิชย์ชื่อ Tectonic และรับเงินลงทุนจากกูเกิลด้วย

No Description

Red Hat ระบุว่าจะนำเทคโนโลยีของ CoreOS ไปให้บริการด้านไฮบริดคลาวด์แก่ลูกค้าองค์กร ต่อยอดผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันทั้ง RHEL และ OpenShift โดยที่ผ่านมา Red Hat ก็ลงทุนด้าน container/Kubernetes อยู่บ้างแล้ว แต่การซื้อกิจการครั้งนี้ย่อมทำให้บริษัทเข้ามายืนแถวหน้าในตลาด container มากขึ้น (ที่มี Docker เป็นคู่แข่งสำคัญ) ทั้ง Red Hat และ CoreOS ถือเป็นผู้ร่วมพัฒนา Kubernetes รายใหญ่ เป็นรองแค่ผู้ก่อตั้งอย่างกูเกิลเท่านั้น

ผลิตภัณฑ์ที่สองบริษัทมีซ้อนทับกันคือตัวระบบปฏิบัติการ Container Linux กัย RHEL Atomic Host ซึ่งเป็นลินุกซ์ขนาดเล็กสำหรับใช้บน container เหมือนกัน ตรงนี้ Red HAt บอกว่าจะยุบ Container Linux เข้ามารวมกับ Atomic Host และรวมทีมพัฒนาเข้าด้วยกัน

ปัจจุบัน CreOS มีพนักงานประมาณ 130 คน มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ซานฟรานซิสโก

ที่มา – Red Hat (1), Red Hat (2)

from:https://www.blognone.com/node/99496

NIST ออกเอกสารแนวทาง Application Container Security Guide ให้นำไปศึกษาได้ฟรี

ด้วยกระแสของการนำ Container มาใช้งานในระดับ Production ทั้งโดยเหล่าผู้ให้บริการรายใหญ่และในระดับองค์กรที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทาง NIST จึงได้ออกเอกสารแนะแนวทางการทำ IT Security สำหรับ Container โดยเฉพาะด้วยกัน 3 ฉบับ ให้โหลดไปอ่านกันได้ฟรีๆ ดังนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com

 

ส่วนทาง CoreOS นั้นก็ได้นำเสอนให้ทดลองใช้งาน Tectonic Sandbox เพื่อลองปฏิบัติตามแนวทางของ NIST กันได้ฟรีๆ ที่ https://coreos.com/tectonic/sandbox?utm_source=blog&utm_medium=referral ครับ โดย Tectonic Sandbox นี้สามารถใช้งานได้ฟรีๆ โดยไม่ต้องใช้ Cloud Credential ใดๆ และสามารถใช้งานได้บนทั้ง macOS, Windows และ Linux อีกด้วยครับ

 

ที่มา: https://coreos.com/blog/coreos-welcomes-nist-container-security-guidelines

from:https://www.techtalkthai.com/nist-application-container-security-guides-are-released/