คลังเก็บป้ายกำกับ: COMMUARTS

[PR] ฟอร์ติเน็ตสาธิตการป้องกันภัยคุกคามคอนเนคเต็ดคาร์ ในงาน CES ลาสเวกัส

จับมือกับ Renesas แสดงโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์อันทันสมัยปกป้องการทำงานที่เชื่อมโยงภายในรถยนต์ ระบบเพาเวอร์เทรน เทเลเมติคส์ และอินโฟร์เทนเม้นต์ ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าทั่วโลก

กรุงเทพฯ,  21 กุมภาพันธ์ 2561    ในงาน CES 2018 ที่จัดขึ้นที่เมืองลาส เวกัส รัฐเนวาด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมานี้ ฟอร์ติเน็ต (Fortinet® NASDAQ: FTNT) ได้จับมือกับเรอเนซัส อิเล็กทรอนิกส์ (Renesas Electronics)  สาธิตโซลูชั่นด้านความปลอดภัยไซเบอร์อันทันสมัยปกป้องการทำงานที่เชื่อมโยงภายในรถยนต์อัจฉริยะ ซึ่งรวมถึงระบบเพาเวอร์เทรน (Power Train) เทเลเมติคส์ (Telemetics) และอินโฟร์เทนเม้นต์ (Infotainment)

ไมเคิล ซี ผู้ก่อตั้ง ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของฟอร์ติเน็ต

ไมเคิล ซี ผู้ก่อตั้ง ประธานและหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของฟอร์ติเน็ตกล่าวว่า  “คอนเนคเต็ดคาร์ (Connected Car) หรือยานพาหนะอัจฉริยะเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่สำคัญ  มีระบบการทำงานที่เชื่อมต่อกันแบบอัตโนมัติขั้นสูงบนเครือข่ายและอุปกรณ์ที่หลากหลาย รวมถึงการทำแผนที่แบบ 3D การประมวลผลด้วยเซนเซอร์ อุปกรณ์สมาร์ทดีไวซ์แบบบูรณาการนานาประเภท ใช้บริการต่างๆ บนคลาวด์ ใช้เครือข่ายทั้งแบบ LAN และ CAN (Car’s controller area network) และการขับขี่ได้เองแบบอิสระ จึงทำให้ความเสี่ยงด้านภัยไซเบอร์เป็นเรื่องใหญ่  และนอกจากนี้ ด้วยอุปกรณ์ไอโอทีที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายของรถยนต์เพื่อเข้าถึงคอนเท้นท์และแอปพลิเคชันในรถยนต์ จึงยิ่งทำให้โอกาสในการถูกโจมตีมีขนาดใหญ่ขึ้น   นอกจากนี้ ผู้ผลิตเองได้เริ่มพัฒนายานยนต์ที่ต้องการระบบความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ ทำงานด้วยระบบข้อมูลอัจฉริยะด้านภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ ในการปกป้องสถาปัตยกรรมของรถคอนเนคเต็ดคาร์ที่ซับซ้อนนี้ ฟอร์ติเน็ตจึงได้เข้ามามีบทบาท และขยายความเป็นผู้นำระดับโลกจากตลาดความปลอดภัยของระบบเครือข่ายขององค์กรไปยังอุตสาหกรรมยานยนต์”

  • โดยฟอร์ติเน็ตได้สาธิตให้เห็นว่าระบบปฏิบัติการ FortiOS ของฟอร์ติเน็ตที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อการทำงานด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะ จะสามารถทำงานร่วมกับระบบ R-Car H3 System-on-chip ของเรอเนซัส ซึ่งช่วยป้องกันเครือข่ายของรถยนต์ บริการและแอปพลิเคชั่นที่ทำงานบนคลาวด์ได้
  • ทั้งสององค์กรได้ร่วมกันจำลองภัยไซเบอร์ขึ้นมาคุกคามคอนเนคเต็ดคาร์รถยนต์ต้นแบบ  อันได้แก่ ภัยคุกคามประเภทไอพีเอส (Intrusion Prevention System: IPS) และภัยประเภทดีดอส (Distributed Denial of Service: DDOS) ที่สามารถทำให้บริการหยุดชะงักลงได้  เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบความปลอดภัยแบบอัตโนมัติที่สามารถป้องกันไม่ให้การทำงานของรถยนต์ถูกครอบงำโดยภัยที่คุกคามเข้ามา
  • ในงาน CES 2018 นั้น ฟอร์ติเน็ตและเรอเนซัส ได้สาธิตให้เห็นการใช้เทคโนโลยีซีเคียวริตี้แฟบริคกับชิป R-Car H3 SoC ในการป้องกันการทำงานเพาเวอร์เทรน และการสื่อสารในรถ ซึ่งรวมถึงเครือข่ายแอลทีอี ระบบการสื่อสารระหว่างยนต์กับยานยนต์ ระบบแอคเซสพ้อยท์ไร้สาย ระบบควบคุมเครื่องยนต์ และอื่นๆ อีกมาก 

รายงาน ON World Connected Car Markets Report (April 2017) คาดว่าจะมีรถคอนเนคเต็ดคาร์จำนวน 300 ล้านคันภายในปีคศ. 2025 ซึ่งเพิ่มจากจำนวน 37 ล้านคันในปีคศ. 2016  และอุตสาหกรรมอุปกรณ์รถที่เชื่อมต่อกันนี้และบริการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายจะมีรายได้ต่อปีมากกว่า  250,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา  ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ความต้องการต่อรถคอนเนคเต็ดคาร์ทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น เกิดจากความต้องการคุณสมบัติในการขับขี่ได้ด้วยตนเอง การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจขับเคลื่อน และการเชื่อมต่อภายในรถ เช่น การใช้งานสมาร์ทโฟน การเปิดเพลงแบบออน์ดีมานด์ การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและความบันเทิงภายในยานพาหนะ

รถคอนเนคเต็ดคาร์ทำงานได้โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและเครือข่ายแลน (LAN) ช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถแชร์การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับอุปกรณ์อื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกรถ เช่น เซิร์ฟเวอร์กลางเพื่อประมวลผลต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้การป้องกันไซเบอร์ที่เหมาะสมและสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคผู้ผลิตรถยนต์ ผู้ผลิตคอนเนคเต็ดคาร์จึงจำเป็นต้องออกแบบและใช้เทคโนโลยีที่เน้นความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรก  นอกจากนี้ เนื่องจากระบบรักษาความปลอดภัยต้องทำงานครอบคลุมทั่วทั้งเครือข่าย อุปกรณ์ และมาตรฐานการสื่อสารทั้งหมด  จึงทำให้ต้องเป็นระบบที่ให้ศักยภาพในการมองเห็นภายในการเชื่อมโยง การทำงานร่วมกันระหว่างระบบและอุปกรณ์ ให้การควบคุมนอกเหนือจากยานพาหนะที่ขับขี่นั้น ไปยังระบบนิเวศด้านการขนส่งในขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งรวมถึงระบบควบคุมการจราจรและถนน

รถคอนเนคเต็ดคาร์ต้องการใช้ระบบรักษาความปลอดภัยหลายรูปแบบที่ทำงานเป็นระบบเดียวกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำงานเชื่อมโยงกับฟังก์ชันในระบบที่สำคัญๆ เช่น ระบบส่งกำลัง (Powertrain) ระบบเทเลเมติคส์ (Telematics) ที่ช่วยบันทึกข้อมูลตลอดการขับขี่ เช่น อัตราการเร่ง อัตราความเร็ว การเบรค และแจ้งเตือนในกรณีต่างๆ อาทิ  แจ้งเตือนเมื่อมีการขับขี่ออกนอกเส้นทาง การบอกเส้นทาง รวมถึงระบบความบันเทิงภายในยานพาหนะ (Infotainment)  ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าภัยคุกคามจะถูกกักกันและบรรเทาโดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ รถคอนเนคเต็ดคาร์ต้องการระบบการอัพเดทภัยคุกคามแบบเรียลไทม์ เช่น ระบบ FortiGuard Labs ของฟอร์ติเน็ตที่จะป้อนข้อมูลด้านความเสี่ยงล่าสุดให้แก่รถยนต์ เพื่อให้มีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นไปอย่างอัตโนมัติตลอดเวลา และสร้างการเชื่อมต่อกลับไปยังเครือข่ายคลาวด์เพื่อแชร์ข้อมูลภัย รับแพทช์ด้านความปลอดภัยและปรับปรุงข้อมูลภัยได้อย่างทันท่วงที

ทั้งนี้ ในปีคศ. 2015 มีการทดสอบแฮกรถ Jeep Cherokee โดยสามารถเข้ามาควบคุมระบบรถที่สำคัญๆ ได้และการทดสอบแฮกล่าสุดของรถ Tesla Model S ที่สามารถเข้ามาควบคุมระบบเบรค การล็อคประตู ควบคุมระบบรายงานคอมพิวเตอร์จากระยะทางไกลถึง 12 ไมล์ได้  แสดงให้เห็นว่า ผู้ผลิตยังต้องการระบบความปลอดภัยและป้องกันการละเมิดข้อมูลในระบบของรถคอนเนคเต็ดคาร์ที่มีประสิทธิภาพสูง

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายที่ไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ซีเคียวริตี้แฟบลิค ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย  ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 330,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs

from:https://www.techtalkthai.com/fortinet-connected-car-security/

[PR] ฟอร์ติเน็ตพบ BYOD ยังสร้างความเสี่ยงให้องค์กรในเอเชียอย่างต่อเนื่องมากขึ้น

แนะให้องค์กรสร้างโครงข่ายความปลอดภัยที่แบ่งเป็นชั้นเลเยอร์
เพื่อศักยภาพการมองเห็นได้ลึกถึงข้อมูลและแอปพลิเคชั่น

นายชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต

กรุงเทพฯ,  30 มกราคม 2561    ฟอร์ติเน็ต (Fortinet® NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์แบบบูรณาการและครบวงจรทรงประสิทธิภาพสูงได้ออกมาเตือนถึงเทรนด์ความนิยมที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของพนักงานองค์กรทำงานนอกสถานที่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก  ที่มักนิยมนำอุปกรณ์ส่วนตัวมาใช้ในเรื่องงาน (Bring-Your-own-Device: BYOD) และการใช้งานแอปพลิเคชั่นของตนเองในเรื่องงาน (Bring-Your-Own-Application: BYOA)  ซึ่งทำให้เครือข่ายขององค์กมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึงความเสี่ยงด้านชาโดว์ไอที การรั่วไหลของข้อมูลและระบบคลาวด์

ในปัจจุบันนี้ พนักงานมักคาดหวังว่าจะมีโทรศัพท์มือถืออยู่กับพวกเขาอยู่ตลอดเวลาและสามารถเข้าถึงข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานจากอุปกรณ์ของตนเองได้ทุกที่ ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ องค์กรต่างๆ จึงจำเป็นต้องช่วยให้พนักงานสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กรได้มากขึ้นจากอุปกรณ์ส่วนบุคคล โดยยังมีควบคุมการใช้แอปพลิเคชันน้อยมาก

ทั้งนี้ องค์กรวิจัย IDC Asia Pacific ได้ทำการสำรวจการทำงานที่เคลื่อนที่ขององค์กร (Enterprise Mobility Survey 2017) ในปีคศ. 2017 พบว่า BYOD ได้กลายเป็นทางเลือกหลักในการปฏิบัติงานในองค์กร โดยมีจำนวน 31 เปอร์เซ็นต์เลือกใช้วิธีนี้ เมื่อเทียบกับ 19 เปอร์เซ็นต์ในปีคศ. 2015  และในขณะเดียวกัน ในรายงานการสำรวจตลาดทั่วโลก (Global Market Insights Report) ล่าสุดคาดการณ์ว่าขนาดของตลาด BYOD ทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง   366.95 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาภายในปีคศ. 2022 โดยคาดว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในอัตรา 20.8% CAGR

นายชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการประจำประเทศไทยแห่งฟอร์ติเน็ตได้กล่าวว่า “องค์กรในทุกขนาดไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ต่างอยู่ในเทรนด์ที่ให้อิสระแก่พนักงานในการทำงานนอกสถานที่มากขึ้น เนื่องจากการนำอุปกรณ์โมบายและใช้แอปพลิเคชั่นส่วนตัวของพนักงาน ที่เรียกว่า BYOD และ BYOA นั้นช่วยลดค่าใช้จ่ายขององค์กรลงได้มาก ในขณะที่พนักงานมีความสะดวกและคุ้นกับอุปกรณ์ของตนอยู่แล้ว  จึงทำให้องค์กรมีความเสี่ยงเมื่ออุปกรณ์ต่างๆ ดังกล่าวที่ไม่มีการป้องกันภัยเชื่อมต่อเข้ามาใช้เครือข่ายและทรัพยากรดิจิตอลต่างๆ ขององค์กร”“

ผลสำรวจอุตสาหกรรมไอทีล่าสุดเปิดเผยว่า ประมาณร้อยละ 65 ขององค์กรกำลังเปิดให้อุปกรณ์ส่วนบุคคลเชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กรได้ โดยผู้บริหารระดับซีอีโอจำนวน 95 เปอร์เซ็นต์ระบุถึงความห่วงใยในการจัดเก็บอีเมลในอุปกรณ์ส่วนบุคคลเหล่านั้น และ 94 เปอร์เซ็นต์กังวลเกี่ยวกับข้อมูลขององค์กรที่เก็บไว้ในแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือของพนักงาน

แต่ทั้งนี้ นายชาญวิทย์แนะนำวิธีจัดการเพื่อให้องค์กรยังได้รับประโยชน์จาก BYOD และ BYOA โดยไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยของเครือข่ายหรือการพลาดการควบคุมดูแลข้อมูลสำคัญที่พนักงานนำไปใช้นอกสถานที่ว่า องค์กรในประเทศไทยควรพิจารณาแก้ปัญหาด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ 3 ข้อ ดังนี้:

  • ชาโดว์ไอที (Shadow IT) – “ชาโดว์ไอที” หรือ “ระบบไอทีเงา” เป็นสภาพการสร้างโครงสร้างไอทีที่ไม่ได้รับอนุญาตหรือระบบที่ใช้งานกันอย่างเองในองค์กร ซึ่งมักจะเป็นการใช้ระบบไอทีภายนอกองค์กร หากพิจารณาข้อเสีย สิ่งแรกที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนคือข้อมูลที่เป็นความลับบางอย่าง มีสิทธิรั่วไหลไปยังบุคคลภายนอกได้ ดังนั้น องค์กรจึงควรออกมาตรการนโยบายที่เข้มงวดเกี่ยวกับแอปพลิเคชันและประเภทของบริการที่อนุญาตให้พนักงานสามารถใช้บนอุปกรณ์ของตนได้  เนื่องจากว่า ทีมไอทีมีความยากลำบากในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่ใช้ผ่านแอปพลิเคชันที่พวกเขาไม่รู้จัก หรืออย่างน้อย แนะนำให้พนักงานตรวจสอบให้แน่ใจว่าแอปพลิเคชันเหล่านี้ได้รับการอัพเดทด้วยแพทช์ล่าสุด 
  • การรั่วไหลของข้อมูล – การรั่วไหลของข้อมูลหมายถึงการเคลื่อนย้ายข้อมูลขององค์กรไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากดาต้าเซ็นเตอร์ที่องค์กรจัดไว้และเป็นที่ที่มีความปลอดภัยสูง ไปยังอุปกรณ์หรือสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อพนักงานถ่ายโอนไฟล์ระหว่างอุปกรณ์ขององค์กรและอุปกรณ์ส่วนบุคคล หรือเมื่อพวกเขามีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลสำคัญที่ไม่เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของตนในที่ทำงาน ทั้งนี้ เนื่องมาจากการใช้งานผ่านระบบคลาวด์กลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นและจำนวนจุดเชื่อมต่อที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้ทีมไอทีมักจะไม่สามารถเห็นการใช้งานนอกสถานที่และการใช้ข้อมูลขององค์กร  และเพื่อลดการรั่วไหลของข้อมูล ผู้บริหารระดับสูงด้านไอทีควรพิจารณาด้านการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและการแบ่งส่วนของเครือข่ายซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า มีการใช้ข้อมูลและเคลื่อนย้ายข้อมูลไปทั่วเครือข่ายอย่างไรและที่ใด
  • การรักษาความปลอดภัยแก่แอปพลิเคชัน – โดยเฉลี่ยแล้ว องค์กรมีการใช้งานแอปพลิเคชั่นที่ทำงานภายในองค์กรมากถึง 216 แอป โดยยังไม่รวมถึงแอปพลิเคชันส่วนบุคคลที่เก็บอยู่ในอุปกรณ์ที่พนักงานเป็นเจ้าของ เนื่องจากทั้งอุปกรณ์โมบายและแอปพลิเคชันเหล่านี้เชื่อมต่อกับเครือข่ายขององค์กร จึงจำเป็นต้องมีการรักษาความปลอดภัยแอปพลิเคชันในเชิงลึก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแอปพลิเคชันบนระบบคลาวด์ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากที่ทีมไอทีจะบังคับใช้นโยบายด้านความปลอดภัยมาตรฐานขององค์กรของตนได้

นายชาญวิทย์กล่าวเพิ่มว่า “เพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของข้อมูลในยุคของพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่ ผู้บริหารไอทีระดับสูงต้องใช้ระบบวิธีการรักษาความปลอดภัยที่แบ่งเป็นหลายๆ ชั้นเลเยอร์ เพื่อให้สามารถมองเห็นการเคลื่อนย้ายข้อมูลในเครือข่ายได้ดี  โดยเฉพาะโปรโตคอลการรักษาความปลอดภัยนี้ควรรวมการรักษาความปลอดภัยสำหรับแอปพลิเคชัน ปกป้องอุปกรณ์ที่ใช้งานปลายทาง มีการแบ่งส่วนเครือข่ายและมีความปลอดภัยของระบบคลาวด์ นอกเหนือจากการที่องค์กรต้องมีการป้องกันเครือข่ายมาตรฐาน เช่น ไฟร์วอลล์”

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายที่ไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ซีเคียวริตี้แฟบลิค ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย  ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 320,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs    

from:https://www.techtalkthai.com/fortinet-byod-increases-security-risk/

[PR] ฟอร์ติเน็ตแนะให้องค์กรเน้นที่วัตถุประสงค์ทางธุรกิจในงาน “CDIC Conference 2017” ในการก้าวสู่ยุค Digital Transformation

ในโอกาสที่ฟอร์ติเน็ตร่วมเป็นสปอนเซอร์หลักในงาน งาน “CDIC Conference 2017” จัดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค  นายอัลวิน ร้อดดิเก้หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์ด้านความปลอดภัย  ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค  ฟอร์ติเน็ตได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อ “No security, No digital transformation” โดยแนะนำ 3 ขั้นตอนง่ายๆ สำหรับการก้าวสู่ยุคดิจิตอลทรานสฟอร์เมชั่นในประเทศไทยว่า ให้องค์กรเน้นที่วัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ระบุหาองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ แล้วจึงสร้างความปลอดภัยให้แก่องค์ประกอบที่สำคัญนั้น ทั้งนี้ ฟอร์ติเน็ตแสดงความมั่นใจในซีเคียวริตี้แฟบริคแพลทฟอร์มด้านควาปลอดภัยเครือข่ายที่สามารถตอบสนองความต้องการขององค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่ามาก

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายที่ไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ซีเคียวริตี้แฟบลิคซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย  ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 330,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fortinet.com และ Fortinet Blog หรือ FortiGuard Labs.    

from:https://www.techtalkthai.com/cdic-conference-2017/

[PR] ฟอร์ติเน็ตเผยผลสำรวจด้านภัยคุกคามทั่วโลกปี 2017

พบผู้บริหารด้านไอทีเกือบครึ่งเห็นว่าคณะกรรมการบริษัทขององค์กรให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ยังไม่เพียงพอและต่อเมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแล้ว แต่เชื่อว่าคลาวด์จะเร่งให้ความปลอดภัยไซเบอร์สำคัญมากขึ้น

กรุงเทพฯ,  20 ตุลาคม 2560  แพททริส เพร์ช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ฝ่ายขายและสนับสนุนการขายทั่วโลก แห่งฟอร์ติเน็ต (Fortinet® NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้เปิดเผยถึงผลการสำรวจด้านความปลอดภัยองค์กรทั่วโลก “2017 Fortinet Global Enterprise Security Survey” ว่า   ถึงแม้ว่ามีภัยคุกคามเกิดขึ้นมากในระยะที่ผ่านมานี้ ผู้บริหารด้านไอทีในองค์กรที่มีพนักงานมากกว่า 250 คนทั่วโลกยังเห็นว่าคณะกรรมการบริษัทขององค์กรตนยังไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องหลัก  แต่เชื่อว่าการปรับองค์กรสู่ดิจิตอลทรานสฟอร์เมชั่นด้วยก้าวไปสู่คลาวด์จะทำให้ความปลอดภัยเครือข่ายเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น

สรุปผลการสำรวจด้านความปลอดภัยองค์กรทั่วโลก “2017 Fortinet Global Enterprise Security Survey”

ในขณะที่ท่านอ่านรายงานนี้อยู่ เราทราบกันดีว่ามีภัยคุกคามเกิดขึ้นมากมายทั่วโลก โดยล่าสุดระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมปีนี้ องค์กรธุรกิจด้านเครดิตในประเทศสหรัฐอเมริกาโดนแฮกข้อมูลของชาวอเมริกันไปมากกว่า 143 ล้านคน  และยังเกิดภัยมากมายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการป้องกันภัยไม่ให้เกิดกับองค์กรของตนเองและป้องกันข้อมูลสำคัญของลูกค้านั้น องค์กรจำเป็นจะต้องเริ่มตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบถึงทัศนคติของคณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ขององค์กรในด้านความปลอดภัยและการจัดสรรงบลงทุนในระบบการป้องกันภัยคุกคาม  จึงเป็นที่มาของการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารที่มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีในองค์กรทั่วโลกในครั้งนี้ 

และจากผลการสำรวจในเชิงดังกล่าว พบว่าผู้บริหารด้านไอทีจำนวน 48% เชื่อว่าคณะกรรมการบริษัทขององค์กรยังไม่ได้พิจารณาเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์  และไม่ได้มีผลกระทบอย่างไรในด้านงบประมาณลงทุนในปัจจุบัน  แต่การสำรวจพบว่าผู้บริหารด้านไอทีในองค์กรจำนวน 61% รับว่าได้ใช้งบประมาณมากกว่า 10% ของงบด้านไอทีลงทุนไปที่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนลงทุนที่ค่อนข้างสูง  ทั้งนี้ 71% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับว่า ได้ใช้งบประมาณด้านไอทีสูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว  และเชื่อว่าความปลอดภัยไซเบอร์จะมีความสำคัญมากขึ้น เนื่องจาก 77% ตอบว่า คณะกรรมการบริษัทกำลังเริ่มให้ความสนใจในความปลอดภัยไอทีเป็นเรื่องที่สำคัญมากขึ้น

ปัจจัยที่ทำให้ความปลอดภัยไซเบอร์กลายเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น มีดังนี้

  • จำนวนภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้นทั่วโลก: มีองค์กร 85% ที่ตอบแบบสอบถามนี้ ตอบว่า ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ตนได้ประสบปัญหาการโจมตีมากมาย โดยองค์กรจำนวน 47% พบภัยมัลแวร์และแรนซัมแวร์มากที่สุด  ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 49% ตอบว่ามีการให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยด้านไอทีเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาการโจมตีไซเบอร์ทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก เช่น WannaCry  จึงทำให้คณะกรรมการมีความสนใจในเรื่องการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น
  • แรงกดดันจากหน่วยงานกำกับดูแลที่มีมากขึ้น: 34% ของผู้ตอบแบบสอบถามรายงานรับว่า การเพิ่มจำนวนของกฎระเบียบและค่าปรับจากหน่วยงานกำกับดูแลทำให้คณะกรรมการเริ่มรับรู้และสนใจในเรื่องภัยไซเบอร์มากขึ้น เช่น การตั้งจัดกฏและค่าปรับของจีดีพีอาร์ (General Data Protection Regulation) ในกลุ่มอียูที่เป็นเริ่มใช้เป็นเกณฑ์ในการปฏิบัติกับข้อมูลในยุโรป ตั้งแต่ปีคศ. 2018 เป็นต้น 

ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความเห็นว่า คณะกรรมการบริษัทมักจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหลังที่ได้เกิดเหตุการณ์ภัยโจมตีแล้วมากกว่าช่วงการป้องกัน และจะลงมือจัดการก็ต่อเมื่อเกิดความเสียหายจำนวนมาก ทั้งนี้ มีจำนวน 77% ต้องการจะตรวจสอบวิธีการปฏิบัติงานเพื่อให้ทราบว่าเกิดภัยอะไรขึ้น และอีกจำนวน 67% ต้องการจะพิจารณาและเพิ่มงบประมาณด้านความปลอดภัยไอทีให้มากขึ้น   

ดังนั้น 77% ของผู้บริหารด้านไอทีแจ้งว่า  คณะกรรมการบริษัทกำลังจะลงมือจัดการความปลอดภัยไอทีมากขึ้น จึงมีความมั่นใจมากขึ้นว่า ความปลอดภัยไอทีจะมีความสำคัญในสายตาของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรมากขึ้น

  • การเปลี่ยนไปใช้ระบบคลาวด์เป็นตัวเร่งให้ความปลอดภัยมีความสำคัญมากขึ้น: เนื่องจากองค์กรต่างๆ ต้องการย้ายแอปพลิเคชั่นหลักๆ และข้อมูลสำคัญๆ ไปสู่ระบบคลาวด์ อันเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล   ซึ่ง 77% ของผู้ตอบแบบสอบถามยืนยันด้วยว่าการรักษาความปลอดภัยบนระบบคลาวด์และการลงทุนด้านความปลอดภัยเพื่อสนับสนุนโครงการนี้กำลังเป็นหนึ่งในวาระสำคัญสำหรับการประชุมของคณะกรรมการ  จึงสอดคล้องกับจำนวน 74% ของผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านความปลอดภัยด้านไอทีตอบว่าเชื่อเป็นอย่างมากว่า การรักษาความปลอดภัยในระบบคลาวด์กำลังเป็นที่ต้องการเพิ่มขึ้นในอนาคต (จากในปัจจุบันที่มีเพียง 37% รับว่ายังมีการรักษาความปลอดภัยในระบบคลาวด์ไม่เพียงพอในการจัดสรรทรัพยากรต่างๆ)  นอกจากนี้ พบข้อมูลว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจ (50%) กำลังวางแผนลงทุนในระบบรักษาความปลอดภัยในคลาวด์ใน 12 เดือนข้างหน้านี้

จึงเป็นที่ชัดเจนว่า ในขณะนี้ ระดับคณะกรรมการบริหารขององค์กรทั่วโลกให้ความสนใจเรื่องคลาวด์ ถึงเวลาแล้วที่ผู้บริหารไอทีในทุกองค์กรต้องแน่ใจว่าท่านมีแผนการปรับกลยุทธ์ด้านการรักษาความปลอดภัยเครือข่ายไว้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน

วิธีการสอบถาม

บริษัทวิจัยตลาดอิสระ Loudhouse เป็นผู้ดำเนินการสำรวจการรักษาความปลอดภัยองค์กรระดับองค์กรของฟอร์ติเน็ตทั่วโลกในปี 2560  เพื่อตรวจสอบถามถึงทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงต่อความปลอดภัยในธุรกิจในเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมปี 2560  ในกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีที่มีความรับผิดชอบต่อการรักษาความปลอดภัยด้านไอที โดยได้รับแบบสำรวจคืนจากผู้ตอบที่ไม่ระบุชื่อเป็นจำนวน 1,801 รายใน 16 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร เยอรมนี สเปน อิตาลี ประเทศตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ โปแลนด์ เกาหลี ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินเดียฮ่องกง และอินโดนีเซีย ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบได้ตอบการสอบถามทางออนไลน์ โดยไม่ทราบถึงวัตถุประสงค์หรือผู้สนับสนุนการจัดทำครั้งนี้แต่อย่างใด

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายที่ไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ซีเคียวริตี้แฟบลิค ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย  ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 310,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs

from:https://www.techtalkthai.com/fortinet-global-security-survey-2017/

[PR] มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เลือกฟอร์ติเน็ตป้องกันภัยคุกคามวิทยาลัยเขตต่างๆ

ไฟล์วอลล์ฟอร์ติเกตช่วยยกระดับโครงข่ายให้มีมาตรฐานสูงขึ้น และให้ผู้ใช้ 52,000 รายทั่ว 5 วิทยาเขตใช้อินเตอร์เน็ตได้เต็มศักยภาพอย่างคล่องตัว

กรุงเทพฯ,  4 ตุลาคม 2560  ฟอร์ติเน็ต (Fortinet® NASDAQ: FTNT) ผู้นำระดับโลกในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงได้ประกาศว่า มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้เลือกฟอร์ติเกตซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ระดับเอ็นเตอร์ไพร้ส์ของฟอร์ติเน็ตในการป้องกันภัยคุกคามใหม่ๆ ช่วยผู้ใช้งานบริหารอินเตอร์เน็ตแบนวิดธ์ของตนเองได้อย่างคล่องตัว และช่วยสร้างมาตรฐานโครงข่ายให้กับทางมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งจะช่วยเปิดให้มหาวิทยาลัยฯ มีอิสระในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่จะนำมาใช้พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการด้านต่างๆ ให้ดีขึ้น 

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยด้านการวิจัยชั้นนำในประเทศไทย โดยมีคณะแพทยศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์อันมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวาง   มหาวิทยาลัย จึงมีจำนวนผู้ใช้งานมากถึง 52,000 รายประกอบไปด้วยคณาจารย์ พนักงานรวมถึงนักศึกษาชาวไทยและต่างชาติ  ซึ่งผู้ใช้งานทั้งหมดนี้จำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกวันในการศึกษาและการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ    ปัจจุบันมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ประกอบด้วย 5 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาเขตตรัง  ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักของมหาวิทยาลัยจะตั้งอยู่ที่วิทยาเขตหาดใหญ่มีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านไอที และพัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมารองรับการบริหารงานต่างๆ อันได้แก่ ระบบไฟเบอร์ออปติค ระบบซีซีทีวี ระบบประชุมทางไกลระหว่างวิทยาเขต ระบบบริหารบุคคลและการเงิน รวมถึงระบบบริหารการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้งานแต่ละราย

ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ฟอร์ติเน็ตนั้น ทางมหาวิทยาลัยฯ ได้ใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยเครือข่ายของรายอื่นอยู่แล้วซึ่งไม่มีโปรโตคอลการสื่อสารที่เป็นมาตรฐาน อันเป็นอุปสรรคใหญ่ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นที่สร้างขึ้นมาเอง  ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ ได้ให้ความสำคัญกับแอปพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นมาเองมากเนื่องจากเป็นกลยุทธ์หลักที่จะช่วยลดเวลาในการจัดการของฝ่ายไอที ลดภาระของผู้ใช้งานอีกทั้งยังช่วยให้ผู้ใช้งานมีความรับผิดชอบสูงขึ้น อาทิ รับผิดชอบตรวจสอบโควต้าการใช้อินเทอร์เน็ต และการวางแผนการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมเป็นต้น

ดังนั้น ในปีคศ. 2016 มหาวิทยาลัยฯ จึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่มาตรฐานสากลในด้านระบบโครงข่ายและได้พิจารณาอุปกรณ์จากผู้ขายหลายราย ได้แก่ ฟอร์ติเน็ต เช็คพ้อยท์และปาโล อัลโต เน็ทเวิร์ค  ซึ่งในช่วงการทดสอบอุปกรณ์ที่นับเป็นระยะเวลาหลายเดือนนั้น มหาวิทยาลัยฯ ได้ประจักษ์ในประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ฟอร์ติเกตที่โดดเด่นเหนือกว่ารายอื่น พร้อมกับคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่ครบครัน ความง่ายในการจัดการ    จึงได้ตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ฟอร์ติเกตรุ่น FortiGate 3200D และ FortiGate 2000E เป็นจำนวนหลายชุดจากบริษัท เฟิร์สวัน ซิสเต็มส์ จำกัดผู้เป็นพาร์ทเนอร์ของฟอร์ติเน็ตทำหน้าที่ดูแลและติดตั้งระบบให้อย่างใกล้ชิดเป็นอย่างดี

ทั้งนี้ อุปกรณ์ฟอร์ติเกตของฟอร์ติเน็ตเป็นไฟร์วอลล์ระดับเอ็นเตอร์ไพร้ส์ในการป้องกันภัยคุกคาม และเป็นส่วนหนึ่งของแพลทฟอร์มซีเคียวริตี้แฟบลิคของฟอร์ติเน็ต  ซึ่งผ่านการทดสอบและได้รับรางวัลด้านประสิทธิภาพการทำงานที่รวดเร็วพร้อมทั้งประสิทธิผลในการป้องกันภัยในระดับสูงจากแล็ปส์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมากมาย ซึ่งได้แก่ NSS Labs, ICSA, Virus Bulletin และ AV Comparatives

รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ ผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวว่า “เรายินดีมากที่อุปกรณ์ฟอร์ติเกตของฟอร์ติเน็ตสามารถทำงานกับอุปกรณ์เดิมที่เราใช้งานอยู่แล้วได้อย่างราบรื่น และช่วยสร้างโครงข่ายที่เป็นมาตรฐานให้เรา  ซึ่งเป็นการช่วยเปิดให้ทางมหาวิทยาลัยมีอิสระในการออกแบบและเลือกใช้โซลูชั่นด้านไอทีและความปลอดภัยที่ต้องการในอนาคตได้”

รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะ

ผู้อำนวยการ ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

รศ.ดร.มนตรี กาญจนะเดชะพอใจในคุณสมบัติที่ดีและเห็นประโยชน์ ดังนี้

  • ในการใช้โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานของฟอร์ติเกตนี้ อุปกรณ์ฟอร์ติเกตจึงรองรับการใช้แอปพลิเคชั่นที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้นเองได้ทันที ทำให้สามารถบังคับใช้นโยบายการใช้งานได้ทั่วถึง และผู้ใช้งานสามารถเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ด้วยวิธีแบบ Single sign-on บนเทคโนโลยี IPv4 และ IPv6 ได้ง่ายมากขึ้น ราบรื่นไม่ติดขัด
  • เมื่อใช้โปรโตคอลสื่อสาร BGP ของอุปกรณ์ฟอร์ติเกตร่วมกับอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตเร้าเตอร์ของทางมหาวิทยาลัยฯ จะเอื้อให้ผู้ดูแลด้านไอทีมีศักยภาพในการเห็นในแนวลึกมากขึ้น ซึ่งรวมถึง สามารถเห็นกิจกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้แต่ละราย เห็นเว็บไซต์ที่เข้า เห็นโควต้าแบนวิดธ์ของแต่ละรายและจำนวนที่ได้ใช้ไป  ซึ่งด้วยข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้ ทางมหาวิทยาลัยฯ จึงสามารถบริหารแบนวิดธ์ตามนโยบายของทางมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้ใช้งานใช้อินเทอร์เน็ตได้ราบรื่น 
  • อุปกรณ์ฟอร์ติเกตสามารถให้รายงานการใช้อินเทอร์เน็ตที่ละเอียด ซึ่งตอบสนองความต้องการของทีมผู้ดูแลด้านไอทีและผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี   ผู้ใช้งานสามารถเห็นจำนวนอินเทอร์เน็ตที่ได้ใช้ไป  เห็นเว็บไซต์ที่ตนได้เข้าชม ประเภทของทราฟิค และภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในการใช้งานของตนเองได้จากแอปพลิเคชั่นบนหน้าจออย่างง่ายๆ   และเมื่อผู้ใช้งานสามารถบริหารการใช้อินเทอร์เน็ตของตนเองได้ จึงทำให้ทีมผู้ดูแลด้านไอทีสามารถวางแผนจัดการปัญหาด้านแบนวิดธ์ได้ล่วงหน้า  และใช้เวลาในงานด้านแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าน้อยลง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทร อัยรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายองค์กรสัมพันธ์และสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยมีวิสัยทัศน์ในการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพสูง มีความรู้สูงและยังต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมสูงอีกด้วย  ทั้งนี้ โครงสร้างสถาปัตยกรรมไอทีที่มีประสิทธิภาพและให้ปลอดภัยสูงจะช่วยให้เราบรรลุวัตถุประสงค์นี้ได้  การใช้อุปกรณ์ฟอร์ติเกตนับว่าเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากช่วยให้เราเร่งสร้างแอปพลิเคชั่นที่มหาวิทยาลัยต้องการใช้ได้เร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในทุกๆ วันให้มากขึ้น”

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายที่ไร้พรมแดนในวันนี้และในอนาคต  ซีเคียวริตี้แฟบลิค ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้นที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย  ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ในการได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 310,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs    

from:https://www.techtalkthai.com/psu-chooses-fortinet/

[PR] แอสเพ็นเทคเปิดตัวซอฟท์แวร์เวอร์ชั่นใหม่ aspenONE® V10 ล่าสุด

Man using hi-tech computer monitor

กรุงเทพฯ 16 สิงหาคม 2560  แอสเพ็น เทคโนโลยี อิงค์ (Aspen Technology, Inc. (NASDAQ:AZPN)  บริษัทผู้เชี่ยวชาญผลิตซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก เพื่อบริหารผลปฏิบัติงานของสินทรัพย์ในองค์กรในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ประกาศเปิดตัวเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดของซอฟต์แวร์ “แอสเพ็นวัน เวอร์ชั่น 10” (aspenONE® Version 10)  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านวิศวกรรมการผลิต ซัพพลายเชนและเพิ่มผลิตผลจากสินทรัพย์ให้สูงขึ้น ส่งให้องค์กรมีกระแสรายได้มากขึ้น 

ซอฟท์แวร์แอสเพ็นวัน เวอร์ชั่น 10

ซอฟท์แวร์แอสเพ็นวัน เวอร์ชั่น 10 ใหม่ล่าสุดนี้ เป็นซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม สำหรับงานด้านการบริหารผลปฏิบัติงานของสินทรัพย์ในองค์กร (Asset Performance Management: APM) ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อบริหารผลปฎิบัติงานของทั้งอุปกรณ์ ขบวนการทำงานและการปฎิบิติงานที่ไซต์งานในที่ต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนเป็นรายแรกในอุตสาหกรรม  ทั้งนี้ ด้วยประสบการณ์ที่แอสเพ็นเทคมีความเชี่ยวชาญในการสร้างแบบจำลองกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมมานานกว่า 30 ปี ผสมกับการใช้โซลูชั่นแมชชีนเลิร์นนิ่งและการจัดการบิ๊กดาต้าแบบเรียลไทม์ จึงทำให้ซอฟต์แวร์ เวอร์ชั่น 10 ใหม่นี้มีศักยภาพสูงขึ้นมาก  โดยมุ่งมั่นออกแบบให้สามารถใช้สินทรัพย์ได้อย่างต่อเนื่อง พัฒนาด้านความน่าเชื่อถือ ขยายอายุการใช้งานของอุปกรณ์ เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการเพื่อเพิ่มผลกำไร ซึ่งซอฟต์แวร์นี้ได้รวมคุณสมบัติด้านการวิเคราะห์ที่ทำหน้าที่แนะนำวิธีพัฒนาผลปฏิบัติงานของสินทรัพย์ในทุกระดับงานได้ง่ายๆ และคล่องตัว ดังนี้:

  • การวิเคราะห์ความเสี่ยงได้ครอบคลุมทั้งไซต์ (Site-Wide Risk Analysis) ซอฟต์แวร์แอสเพ็น ฟิเดลลิส รีไลอบิลิตี้ ( Aspen Fidelis Reliability) จะช่วยตรวจสอบความน่าเชื่อถือของสินทรัพย์และความเสี่ยงของการใช้งานได้จากการทำจำลองสถานการณ์และใช้โมเดลด้านความน่าเชื่อถือ 
  • การวิเคราะห์กระบวนการ (Process Analytics) ซอฟต์แวร์แอสเพ็น แอสเสท อนาลิติคส์ (Aspen Asset Analytics) จะวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการขั้นตอนต่างๆ  และยังช่วยคาดการณ์ถึงสถานการณ์ในอนาคต และให้ข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิด  ทั้งนี้ ระบบวิเคราะห์เพื่อแก้ไขปัญหาที่อยู่ในแพคเกจนี้ ตั้งค่าและใช้งานได้อย่างรวดเร็ว และสามารถให้คำแนะนำที่ใช้ในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี  นอกจากนี้  ยังมีซอฟต์แวร์แอสเพ็น โปรเอ็มวี (Aspen ProMV®) ที่ทำหน้าที่ช่วยพัฒนาความน่าเชื่อถือของกระบวนการและการใช้สินทรัพย์ โดยใช้การวิเคราะห์กระบวนการชั้นสูงที่มีหลายตัวแปร ในการตรวจสอบการทำงานประเภทที่เป็นแบ็จและที่เป็นแบบต่อเนื่อง   
  • การวิเคราะห์ประสิทธิภาพของอุปกรณ์ (Equipment Performance Analytics)

ซอฟท์แวร์แอสเพ็น เอ็มเทล (Aspen Mtell®) จะใช้เทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งสมัยใหม่เพื่อคาดการณ์เวลาที่อุปกรณ์อาจจะหยุดทำงาน และทำความเข้าใจถึงสาเหตุที่เกิด รวมถึงข้อแนะนำเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหานั้นเกิดขึ้น 

แอสเพ็น วันสำหรับงานด้านวิศวกรรม

ซอฟต์แวร์แอสเพ็น วันสำหรับงานด้านวิศวกรรมเวอร์ชั่นล่าสุดนี้ได้รับการออกแบบมาให้สร้างประโยชน์สูงสุดจากการลงทุน ด้านพลังงาน การควบคุม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและระดับความปลอดภัย การเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานร่วมกัน เพื่อเพิ่มผลกำไรในระยะยาว

  • องค์กรด้านเคมีภัณฑ์และยาเฉพาะทางกำลังลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาลเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ป้อนสู่ตลาดให้ได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งซอฟต์แวร์แอสเพ็น พลัส ในแอสเพ็นวันใหม่นี้จะขยายโมเดลจากกระบวนการประเภทต่อเนื่อง ไปเป็นโมเดลกระบวนการประเภทไม่ต่อเนื่องและกึ่งต่อเนื่อง เพื่อเอื้อให้องค์กรสามารถเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็ว มีขบวนการผลิตที่ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่า แข่งขันได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • องค์กรด้านวิศวกรรม จัดหาและก่อสร้าง (Engineering, Procurement & Construction: EPC) มีความจำเป็นต้องเร่งโครงการต่างๆ ให้เร็วขึ้นและลดความเสี่ยงให้น้อยลง เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน  โซลูชั่นแอสเพ็น เบสิค เอ็นจิเนียริ่ง (Aspen Basic Engineering) ที่ทำงานบนเว็ปจะช่วยจัดการกับข้อมูลในขั้นตอน FEED และช่วยพัฒนาการทำงานร่วมกันของทีมงานในสำนักงานต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • โรงงานการผลิตเองกำลังมีการเปลี่ยนแปลงด้านการปฏิบัติงานที่บ่อยมากขึ้นและมีความเสี่ยงที่ใช้ทรัพย์สินให้คุ้มค่ามากขึ้น   แอสเพ็นเสนอให้ใช้ชอฟต์แวร์ แอสเพ็นพลัส (Aspen Plus) ร่วมกับแอสเพ็นไฮซิส  (Aspen HYSYS®) ที่ปรับเทียบรูปแบบข้อมูลโรงงานได้รวดเร็วมากขึ้น จึงช่วยลดต้นทุนในการปฎิบัติงานให้น้อยลง แต่กลับได้กำไรมากขึ้น

แอสเพ็น วันสำหรับด้านงานการผลิตและซัพพลายเชน 

ซอฟต์แวร์แอสเพ็น ยูนิไฟด์ พิมส์ (Aspen Unified PIMS)  ใหม่นี้สร้างอยู่บนเอนจิ้น PIMS-AO ที่ได้รับการยอมรับสูง  ซึ่งเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมบนเว็บอันจะช่วยพัฒนาการทำงานร่วมกันให้ดียิ่งขึ้น ช่วยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและนำมาพัฒนาโมเดลต่อไป  ทั้งนี้ ซอฟต์แวร์แอสเพ็น ยูนิไฟด์ พิมส์นี้เป็นซอฟต์แวร์แรกในตระกูลยูนิไฟด์ที่รวบรวมเวิร์คโฟลที่อยู่ในขั้นตอนการวางแผน ไปจนถึงการจัดกำหนดการและการตรวจสอบการทำงาน  โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของซอฟต์แวร์ใหม่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของลูกค้าผู้ใช้งานแอสเพ็นวัน เวอร์ชั่น 10 ของแอสเพ็นเทคเช่นกัน

ซอฟต์แวร์แอสเพ็นวัน เวอร์ชั่น 10 นี้มีพร้อมจัดจำหน่ายในขณะนี้  ทั้งนี้ ลูกค้าผู้ใช้ไลเซ้นต์แอสเพ็นวัน สามารถอัปเกรดเป็นเวอร์ชั่นใหม่นี้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมได้ที่  http://www.aspentech.com/products/v10-release/.

มร. มูหะมัด แอดแนน วิศวกรด้านการวางแผน แห่งยานบู อะรัมโก ซินโนเปค รีไฟนิ้ง  กล่าวว่า  “ซอฟต์แวร์แอสเพ็น ยูนิไฟด์ พิมส์มีประโยชน์ต่อองค์กร YASREF มาก เนื่องจากได้ช่วยทำให้การอบรมนักวางแผนใหม่ๆ เป็นไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  และยังมีคุณสมบัติอีกมากมายที่ทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจโมเดลต่างๆ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น  เอกสารโฟลชีทดูง่ายมากขึ้น ทำให้เราติดตามงานได้ง่ายขึ้น”

มร. แอนโตนิโอ เพทรี เจ้าหน้าที่กรรมการบริหารและประธาน แห่งแอสเพ็น เทคกล่าวว่า  “แอสเพ็น เทคมุ่งมั่นที่จะขยายขอบเขตที่จำกัดให้กว้างออกไป ซอฟต์แวร์แอสเพ็น วันใหม่นี้เป็นการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของอุตสาหกรรมการผลิต  ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตมีด้านวิศวกรรม การผลิตและด้านซัพพลายเชนเป็นรากฐานที่สำคัญมากมานานกว่า 30 ปีแล้ว   ดังนั้น แอสเพ็น เทคจึงให้ความสำคัญในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่ามากขึ้น โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ด้านออโตเมชั่น การวิเคราะห์ แมชชีนเลิร์นนิ่ง และ IIoT รวมถึงการให้ความรู้ที่รวดเร็วเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนประกอบสำคัญของซอฟต์แวร์ใหม่นี้ด้วย”

เอกสารเพิ่มเติมอื่นๆ

###

เกี่ยวกับแอสเพ็นเทค

แอสเพ็น เทคโนโลยี อิงค์เป็นบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์ชั้นนำระดับโลก ที่ใช้ในการบริหารผลปฏิบัติงานของสินทรัพย์ในองค์กร  ผลิตภัณฑ์ของแอสเพ็น เทคได้รับการพัฒนาให้ทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อนสูงได้เป็นอย่างดี ที่ซึ่งให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบการใช้สินทรัพย์ในองค์กร ดำเนินงาน และการบำรุงรักษาสินทรัพย์ในองค์กรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด  ทั้งนี้  แอสเพ็น เทคมีความชำนาญด้านการสร้างแบบจำลองกระบวนการผลิตที่หลากหลาย รวมถึงเทคโนโลยีแมชชีนเลิร์นนิ่งและบิ๊กดาต้า  แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ที่แอสเพ็น เทคสร้างขึ้นโดยเฉพาะนี้ จะช่วยพัฒนาให้เกิดองก์ความรู้ในงานอย่างอัตโนมัติและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยให้ผลตอบแทนสูงแก่องค์กรตลอดอายุการใช้งานของสินทรัพย์ทั้งหมด  ซึ่งส่งผลให้องค์กรต่างๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ทุนจำนวนมากสามารถเพิ่มเวลาทำงานได้สูงสุด ขยายขีดจำกัดของประสิทธิภาพ และใช้สินทรัพย์ของตนได้เร็วขึ้น ปลอดภัยมากขึ้นและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น กรุณาเยี่ยมชมได้ที่ AspenTech.com สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

from:https://www.techtalkthai.com/aspentec-releases-new-aspenone-v10/

[PR] ไซเซลเปิดตัวโซลูชั่น ONE Connect สำหรับลูกค้าใช้ในบ้าน

พร้อมแนะนำโมเดลการเชื่อมโยงในบ้านยุคใหม่ที่นิยมเล่นเกมส์ ใช้บริการสตรีมมิ่ง  ให้ได้ไวไฟทุกมุมบ้าน  สัญญาณเร็ว  ราบรื่น และตั้งค่าง่าย

กรุงเทพฯ  13 กรกฎาคม 2560 – บริษัท ไซเซล (ไทยแลนด์)  จำกัด ผู้นำธุรกิจจำหน่ายอุปกรณ์ระบบเครือข่ายในไทยเปิดตัวโซลูชั่น ONE Connect ที่ออกแบบมาเพื่อใช้บริหารจัดการการเชื่อมต่อสัญญาณไวไฟของอุปกรณ์เครือข่ายจากไซเซลภายในบ้าน ให้สมาชิกสามารถใช้งานไวไฟได้รวดเร็ว ทุกมุมบ้านและราบรื่น พร้อมแนะนำโมเดลเครือข่ายไวไฟที่เหมาะสำหรับบ้านในยุคปัจจุบัน

โซลูชั่น ONE Connect จากไซเซลนี้ทำงานผ่านแอปพลิเคชั่น ONE Connect mobile app ที่ออกแบบมาเพื่อให้ลูกค้าสามารถเซ็ทอัปและจัดการอุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายเร้าเตอร์ อุปกรณ์ขยายสัญญาณสื่อสารไร้สาย และอุปกรณ์เพาเวอร์ไลน์ของไซเซลได้อย่างรวดเร็ว   จึงทำให้ผู้ใช้งานสามารถขยายสัญญาณไวไฟทั้งที่เป็นแบบมีสายและไร้สายให้มีกำลังแรงขึ้น ทะลุผ่านกำแพงบ้านได้ จึงให้สัญญาณครอบคลุมได้กว้างไกลไปได้ทุกพื้นที่  โดยมีขั้นตอนการตั้งค่าผ่านแอบพลิเคชั่นบนจอมือถืออย่างง่ายๆ  ซึ่งหมายถึง สมาชิกภายในบ้านจะมีความสุขในการชมบริการ Netflix บนชั้น 2 ของบ้าน และสามารถคุยโทรศัพท์ผ่าน Video Call ที่สนามหน้าบ้านได้อย่างต่อเนื่อง ไม่สะดุด

แอปพลิเคชั่นโดดเด่นเน้นที่ความง่าย

แอปพลิเคชั่น ONE Connect app จากไซเซลออกแบบมาให้เน้นที่ความง่าย  จึงสามารถคัดลอกการตั้งค่าที่จากอุปกรณ์เดิมไปใช้กับอุปกรณ์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาและจะจัดลำดับความสำคัญของทราฟฟิคเพื่อให้ผู้ใช้งานแต่ละท่านมีประสบการณ์ในการใช้งานที่ราบรื่นและน่าประทับใจ  เพียงแต่ผู้ใช้งานแตะเมนูที่แอปพลิเคชั่นบนจอไม่กี่ครั้ง จะสามารถระงับการใช้ไวไฟของเด็กๆ ได้อย่างรวดเร็ว หรือสามารถจัดให้แขกของท่านใช้บริการไวไฟชั่วคราวได้อย่างรวดเร็ว

กราฟฟิคบนแอปพลิเคชั่น ONE Connect app ช่วยแนะวิธีติดตั้งอุปกรณ์ในเครือข่ายที่บ้านได้อย่างง่ายๆ

แนะโมเดลเชื่อมโยงเครือข่ายไวไฟสำหรับบ้านยุคใหม่   

นอกจากนี้ ไซเซลได้แนะนำโมเดลการเชื่อมโยงเครือข่ายสัญญาณไวไฟในบ้านที่ใช้ ONE Connect app ใหม่นี้  ว่า ในปัจจุบันนี้ ครัวเรือนยุคใหม่มักประกอบไปด้วยสมาชิกที่ชื่นชอบการเล่นเกมส์ ใช้จำนวนอินเตอร์เน็ทมาก ใช้บริการสตรีมมิ่งต่างๆ และรับ-ส่งคอนเท้นต์ขนาดใหญ่ภายในบ้าน ไซเซลจึงแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ ไวไฟเร้าเตอร์ (Wi-Fi Router) รุ่น Armor Z2 AC2600 และใช้อุปกรณ์เพาเวอร์ไลน์อแดปเตอร์ (Powerline Adapter) รุ่น PLA5236 Bundle ที่มาพร้อมกับ PLA5206 v2 เพื่อสร้างเครือข่ายในบ้านให้รองรับการเล่นเกมส์ที่ต่อเนื่อง ไม่สะดุด และบริการ  Full-HD video streaming ในบ้าน แม้เป็นบริเวณกว้างได้

ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ประเภทเพาเวอร์ไลน์นี้ใช้เทคโนโลยีที่อาศัยไฟบ้านเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูลแทนสายแลน อุปกรณ์เพาเวอร์ไลน์จะต้องใช้เป็นคู่  ดังนั้น ไซเซลจึงแนะนำให้ใช้รุ่น PLA5236 คู่กับรุ่น PLA5206 v2  โดยท่านเพียงเสียบอุปกรณ์ PLA5206 v2 เพื่อรับสัญญาณและกระจายไวไฟไปทางปลั๊กไฟ  และเสียบ PLA5236  ที่ปลั๊กไฟที่บริเวณในบ้านที่ท่านต้องการขยายสัญญาณ  เพียงเท่านี้ ท่านจะมีสัญญาณไวไฟที่ท่านต้องการทันทีโดยไม่ต้องลากสายเคเบิ้ลให้ยุ่งยากและเกะกะ    ท่านสามารถใช้อุปกรณ์ไอทีแกตเจ็ทใหม่ๆ อาทิ ไอโฟน 7 หรือ ไอแพท โปร ได้เต็มความเร็วของเครื่อง  และรองรับการเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอนโซลวิดีโอเกม เครื่องเล่นบลูเรย์ เซ็ตท้อปบ็อกซ์ สมาร์ททีวี และแล็ปท้อปต่างๆ ได้

โซลูชั่น ONE Connect เหมาะสำหรับการใช้งานในบ้านหลายขนาด

บิล ซู ผู้ช่วยรองประธาน สายงานสมาร์ทลิฟวิ่งบิซิเนสของไซเซลได้กล่าวว่า “ONE Connect ไม่ใช่เป็นเพียงทูลส์ในการเซ็ทอัปเครือข่ายในบ้านที่รวดเร็วเท่านั้น  ระบบใหม่นี้มีความเป็นเอกลักษณ์และทรงคุณภาพ  ONE Connect จะช่วยผู้ใช้งานมีทัศนะ 360° รอบด้าน สามารถเห็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายในบ้านได้บนหน้าจอเดียว  โดยในขณะนี้  ONE Connect ใช้ได้กับอุปกรณ์ Armor Z2, NBG6815, NBG6617, PLA5206v2, PLA5236 และ WRE6606  และไซเซลจะเดินหน้าพัฒนาระบบนี้ให้ทยอยใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ ของไซเซลต่อไปในอนาคต  ดังนั้น ลูกค้าผู้ใช้งานจะสามารถใช้งานอุปกรณ์ที่ตรงกับความต้องการที่สุดและง่ายดายที่สุด

ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่สามารถใช้กับ ONE Connect ได้ที่นี่ และชมวิดีโอแนะนำได้ที่นี่  หรือติดต่อ http://www.zyxel.co.th หรือ http://www.facebook.com/ZYXELThailand  หรือ Line: @ZYXELThailand หรือ Call Center โทร 0-2832-0600

###  

เกี่ยวกับไซเซล คอมมิวนิเคชั่นส์

ไซเซลให้ความสำคัญในเรื่องนวัตกรรมและลูกค้าเป็นหลัก ไซเซลได้เชื่อมโยงผู้คนเข้ากับโลกของอินเทอร์เน็ตมาเกือบ 30 ปี  ทั้งนี้ ศักยภาพในการประยุกต์และสร้างสรรค์เทคโนโลยีด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายได้ส่งให้ไซเซลเป็นองค์กรชั้นแนวหน้าของผู้ที่สร้างการเชื่อมต่อให้กับผู้ให้บริการและ โทรคมนาคม ธุรกิจและผู้ใช้งานในบ้านทั่วไป

ไซเซลมีความแข็งแกร่งในธุรกิจการสื่อสารทั่วโลก และมีความสำเร็จที่โดดเด่น ยากที่ใครจะตามทัน อันได้แก่   

  • มีพันธมิตรมากกว่า 1,500 รายทั่วโลก
  • สร้างการเชื่อมโยงทั่วโลกด้วยอุปกรณ์มากกว่า 100 ล้านชิ้น
  • ธุรกิจกว่า 700,000 แห่งทำงานอย่างชาญฉลาดขึ้นด้วยโซลูชั่นจากไซเซล
  • ให้บริการในตลาด 150 ประเภทของตลาดทั่วโลก

ในวันนี้ ไซเซลช่วยสร้างเครือข่ายแห่งอนาคต เสริมศักยภาพ ตอบสนองความต้องการของสถานทำงานชั้นนำ ซึ่งเป็นการเพิ่มพลังให้แก่ผู้คนในด้านการทำงาน การดำเนินชีวิต และยามสันทนาการ ทั้งนี้ ไซเซลคือพันธมิตรด้านการเชื่อมโยงเครือข่ายของท่าน

from:https://www.techtalkthai.com/zyxel-new-solution-one-connect-for-home-wifi/

[PR] ฟอร์ติเน็ตมอบรางวัลให้ยอดพาร์ทเนอร์ในงานขอบคุณพันธมิตร

เน้นศักยภาพของซีเคียวริตี้แฟบริค และ FortiOS 5.6 ที่จะช่วยให้องค์กรในประเทศไทยให้พ้นภัยคุกคามสมัยใหม่ได้อย่างแข็งแกร่ง ซึ่งรวมถึงภัย WannaCry และ Petya ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ด้วย

นายพีระพงศ์ จงวิบูลย์ รองประธาน แห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และฮ่องกง  แห่งฟอร์ติเน็ต (คนที่ 2 จากซ้าย) และนายชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย (คนซ้ายสุด) มอบรางวัลอันทรงเกียรติแก่พาร์ทเนอร์ในงานของคุณพันธมิตรที่จัดขึ้นอย่างเป็นกันเองเมื่อเร็วๆ นี้  โดยมีตัวแทนจากบริษัท คอมเนท จำกัด (คนที่ 3 จากซ้าย) รับรางวัล A Decade of Partnership ในฐานะพันธมิตรที่ช่วยการขายมายาวนานที่สุดคือ 10 ปี บริษัท พีพลัส วิชั่นส์ จำกัด (คนที่ 4 จากซ้าย) และบริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด((มหาชน (คนที่ 5 จากซ้าย) รับรางวัล Platinum Partner of the Year 2017 ในฐานะพันธมิตรที่มีผลการขายผลิตภัณฑ์ของฟอร์ติเน็ตที่ดีเยี่ยม และบริษัท เฟิร์สวัน ซิสเต็มส์ จำกัด (คนที่ 6 จากซ้าย) รับรางวัล Authorized Partner of the Year 2017 ในฐานะพันธมิตรดาวรุ่งในปี 2017

และ ในโอกาสนี้ ฟอร์ติเน็ตได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นใหม่ FortiOS 5.6 ออกแบบมาเพื่อการใช้งานด้านความปลอดภัยเครือข่ายโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรมีศักยภาพในการเห็นภัยที่เกิดขึ้นได้ลึกมากยิ่งขึ้น ครอบคลมถึงภัยที่เกิดในแพลทฟอร์มด้านความปลอดภัยซีเคียวริตี้แฟบริคตลอดไปจนถึงเครือข่ายไอโอทีและคลาวด์ จึงเป็นโซลูชั่นศักยภาพชั้นสูง สามารถช่วยให้องค์กรในประเทศไทยให้พ้นภัยคุกคามสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงภัย WannaCry และPetya ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ด้วย

from:https://www.techtalkthai.com/fortinet-gives-awards-to-decade-of-partnerships/

[PR] ฟอร์ติเน็ตแนะองค์กรและผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ลงมือจัดการป้องกันภัยแรนซัมแวร์ใหม่ Petya

กรุงเทพฯ – 30 มิถุนายน 2560  ฟอร์ติเน็ตซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในด้านโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงแนะนำองค์กรและผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ลงมือป้องกันภัยไซเบอร์แรนซัมแวร์ประเภทต้องการเรียกค่าไถ่ (Ransomware) สายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่าเพ็ทยา (Petya) ที่กำลังแพร่คุกคามในองค์กรและหลายอุตสาหกรรมทั่วโลกในขณะนี้ ซึ่งรวมถึง ระบบการขนส่งรายใหญ่ ธนาคารและองค์กรด้านพลังงาน

ภัยแรนซัมแวร์ใหม่นี้ เป็นประเภทหนอนไถพรวน ที่เราเรียกกันว่า “Ransomworm”  ที่อาศัยใช้ประโยชน์จากการที่แฝงอยู่ในระบบอย่างเงียบๆ แล้ว โจมตีในโอกาสที่เหมาะสม หนอนไถพรวนนี้ได้รับการออกแบบให้เคลื่อนที่ข้ามระบบต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติแทนที่จะอยู่ในที่ที่เดียว  และดูเหมือนว่าหนอนไถพรวนเพ็ทยานี้ได้ใช้ช่องโหว่ที่มีอยู่ที่คล้ายคลึงกันกับการโจมตีวอนนาคราย (Wannacry) ที่เกิดขึ้นล่าสุด

เพ็ทยานี้แตกต่างจากวอนนาครายตรงที่วอนนาครายจะเข้ารหัสไฟล์ในคอมพิวเตอร์และเรียกค่าไถ่ แต่เพ็ทยาจะเข้ารหัสส่วนหนึ่งของฮาร์ดไดร้ฟที่ส่งผลทำให้คอมพิวเตอร์ทั้งหมดไม่สามารถทำงานได้ ทั้งนี้ เป้าหมายการโจมตีครั้งนี้และมีความเสี่ยงมากคือ ผู้ที่ใช้ระบบแบบเดิมและเก่ารวมถึงโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ

ทั้งนี้ เนื่องจากไมโครซอฟท์ได้ออกแพ้ทช์โปรแกรมปรับปรุงสำหรับช่องโหว่นี้แล้วเมื่อต้นปีนี้  เราจึงขอแนะนำให้องค์กรต่างๆ อัปเดทระบบโดยทันที

นอกจากนี้ มีขั้นตอนอื่นๆ ที่องค์กรและบุคคลต่างๆ ควรใช้เพื่อป้องกันตนเอง ดังนี้:

  

สำหรับฝ่ายไอที:

  1. ทำสำรองไฟล์ข้อมูลที่อยู่ในระบบที่สำคัญๆ ไว้ และให้ทำสำรองไฟล์แบบออฟไลน์
  2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่านมีดิสก์และการตั้งค่าของระบปฏิบัติการที่เป็นมาตรฐานชั้นเยียม เพื่อให้ท่านมีความมั่นใจในเวลาที่ต้องนำเดสท้อปกลับมาใช้ใหม่
  3. ลงมือใช้แพ้ทช์ปิดช่องโหว่นั้น
  4. ตรวจสอบให้แพ้ทช์ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

สำหรับผู้ใช้งาน:

  1. อย่าเปิดไฟล์ที่มาจากแหล่งที่ท่านไม่รู้จัก

สำหรับการปฏิบัติการด้านความปลอดภัย:

  1. ใช้ Signature ยืนยันตัวบุคคล ใช้แอนตี้ไวรัส
  2. ใช้คุณสมบัติด้านความปลอดภัยแซนบ๊อกซิ่ง (Sandboxing) ตรวจสอบไฟล์ที่แนบมาทางอีเมล์
  3. ใช้วิธีการตรวจตราด้วยการสังเกตพฤติกรรม  (Behavior-based detections)
  4. ใช้อุปกรณ์ไฟร์วอลล์  และที่ไฟร์วอลล์ ให้ตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ Command & Control
  5. จัดการแยกส่วน  (Segment) เพื่อป้องกันไม่ให้แรนซัมแวร์นั้นแพร่กระจายไปในเครือข่าย  และทำสำรองข้อมูลที่ได้เข้ารหัสไว้แล้วนั้นด้วย
  6. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า โปรแกรมควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลที่มากับวินโดวส์ (Remote Desktop Protocol) นั้นปิดอยู่และ / หรือมีการตรวจสอบสิทธิ์อย่างถูกต้อง หรือไม่เช่นนั้น ให้จำกัดไม่ให้มีการเปิดเดสท้อปในระยะไกลได้อย่างเสรี

ข้อแนะนำทั่วไป:

  1. ถ้าเครือข่ายของท่านเกิดติดภัยนี้แล้ว อย่าจ่ายค่าไถ่ 
  2. ติดต่อหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ และแบ่งปันข้อมูลของท่าน เช่น ตำรวจ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อื่นๆ โดยรวม ในการวิเคราะห์ จำกัดภัยและแก้ไขการโจมตีที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ท่านสามารถดูภัยเรียกค่าไถ่ที่เกิดขึ้นทั้งหมดและรับคำแนะนำอื่นๆ  ได้ที่  http://blog.fortinet.com/2017/06/27/new-ransomware-follows-wannacry-exploits

###

เกี่ยวกับฟอร์ติเน็ต

ฟอร์ติเน็ต (NASDAQ: FTNT) ปกป้ององค์กร ผู้ให้บริการ หน่วยงานรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก ฟอร์ติเน็ตช่วยให้ลูกค้าสามารถมีข้อมูลเชิงลึกและการป้องกันที่ราบรื่นเพื่อให้พ้นภัยคุกคาม และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่เยี่ยมยอดให้เครือข่ายในวันนี้และในอนาคต  ซีเคียวริตี้แฟบลิค ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมใหม่จากฟอร์ติเน็ตเท่านั้น ที่จะช่วยสร้างเกราะความปลอดภัยโดยจะไม่ยอมแพ้แก่ภัยที่เข้ามา ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่าย แอปพลิเคชั่น คลาวด์ หรือโมบาย  ฟอร์ติเน็ตดำรงตำแหน่งเป็น #1 ที่ได้ส่งอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยสู่ตลาดโลกมากที่สุด  และมีลูกค้ามากกว่า 310,000 รายทั่วโลกที่ให้ความไว้วางใจฟอร์ติเน็ตในการช่วยสร้างเกราะป้องกันองค์กรของตน   รู้จักฟอร์ติเน็ตเพิ่มเติมได้ที่ http://www.fortinet.com  และ The Fortinet Blog  หรือ FortiGuard Labs  

from:https://www.techtalkthai.com/fortinet-suggests-on-ransomware-protection/

[PR] ลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเครือข่าย ด้วยการบริหารจัดการเครือข่ายไร้สายผ่านคลาวด์

ปัจจุบัน อุปกรณ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็นแล็ปท้อป สมาร์ทโฟน แท้ปเล็ตจะมีชิปเซ็ทรองรับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตอยู่ในตัวเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้บริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ (Gartner) คาดว่า จะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ท ที่ต้องการการดูแลจัดการมากกว่า 60 ล้านชิ้นในปี คศ. 2018  และจะมีอุปกรณ์ที่เชื่อมโยงกับอินเทอร์เน็ทมากถึง 350 ล้านชิ้นในปีคศ. 2020   ซึ่งในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตเองนับวันจะกลายเป็นบริการพื้นฐานเหมือนบริการสาธารณูปโภคทั่วไป

ดังนั้น หมายความว่า จะมีจำนวนอุปกรณ์โมบายที่จะเชื่อมต่อเข้ามาในเครือข่ายขององค์กรมากขึ้นอีกมาก  องค์กรจะต้องพิจารณาเลือกใช้เครือข่ายที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการมากมายเหล่านั้น ให้มีการเชื่อมต่อที่สม่ำเสมอราบรื่น ให้แบนด์วิธสูง ความเร็วสูง องค์กรจึงควรจะพิจารณาเลือกอย่างรอบคอบ  ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายการสื่อสารไร้สายประเภท (Wireless LAN – WLAN) ที่ใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ติดตั้งที่สำนักงาน (On-premises WLAN) หรือเครือข่ายที่ให้คลาวด์เป็นผู้บริหารให้ (Cloud-managed WLAN) ก็ตาม ซึ่งเราควรย้อนกลับไปดูถึงวิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมโครงข่าย WLAN แล้วจึงพิจารณาถึงความแตกต่างระหว่างกันต่อไป

วิวัฒนาการของสถาปัตยกรรมโครงข่าย WLAN

แอคเซสพ้อยท์ทำงานอิสระ

ย้อนกลับไปในยุคที่เริ่มมีเครือข่ายไร้สาย  อุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์แต่ละชิ้นจะทำงานและถูกบริหารแยกชึ้นกัน ซึ่งไม่ได้สร้างปัญหาใดๆ เนื่องจาก ส่วนใหญ่องค์กรจะใช้แอคเซสพ้อยท์ในงานที่มีวัตถุประสงค์ต่างกัน ในที่ที่ต่างกันไป เช่น ในห้องประชุม หรือที่ล้อปบี้ และมีอุปกรณ์โมบายเชื่อมต่อเข้ามาใช้งานเป็นจำนวนน้อย

ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ติดตั้งที่สำนักงาน

ต่อมา ความต้องการใช้งานเปลี่ยนไป ผู้ใช้งานต้องการใช้สัญญาณไวไฟในอาคารมากขึ้น อาทิ ในการประชุมและใช้จำนวนแอคเซสพ้อยท์นับร้อยๆ ชิ้น แต่แอคเซสพ้อยท์ยังไม่สามารถประสานงานระหว่างเครื่องกันเองได้ มีผลทำให้เกิดปัญหาด้านเทคนิค อาทิ การจัดโหลดบาลานซ์ การเลือกช่องทางสัญญาณ การทำ RF optimization การยืนยันสิทธิ์เพื่อเข้าใช้งาน และการทำโรมมิ่ง ซึ่งมักส่งผลให้เครือข่ายทำงานไม่สม่ำเสมอและคาดการณ์ในอนาคตไม่ได้แน่นอน

ดังนั้น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงเกิดการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) เพื่อจัดการทราฟฟิคและบริหารแอคเซสพ้อยท์ให้เป็นไปในทางเดียวกัน เช่น การตั้งค่าและนโยบายต่างๆ  แต่ยังต้องอาศัยบุคลากรที่มีความชำนาญเพื่อจัดการดูแลระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายดังกล่าว

โซลูชั่นบริหารผ่านคลาวด์ 

และเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เอง ที่เทคโนโลยีใหม่ๆ ผลักดันให้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายได้รับการพัฒนาเป็นการใช้งานโดยคลาวด์ ซึ่งหากองค์กรเลือกใช้โซลูชั่นบริหารเครือข่ายไร้สายขององค์กรผ่านคลาวด์นี้ องค์กรจะไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายเพื่อติดตั้งในทุกสาขาในการเชื่อมโยงการใช้งาน   ในที่นี้ คลาวด์จะทำงานเป็นคอนโทรลเลอร์เสมือนในพับลิคคลาวด์และทำงานกับแอคเซสพ้อยท์ทุกชิ้นผ่านอินเทอร์เน็ต  คลาวด์จึงสามารถบริหารแอคเซสพ้อยท์ได้ทั้งหมด รวมถึงการตั้งค่าเริ่มใช้งาน การตรวจสอบ การแก้ไขปัญหาต่างๆ

องค์กรเพียงจ่ายค่าโซลูชั่นบริหารเครือข่ายไร้สายขององค์กรผ่านคลาวด์นี้ในรูปแบบค่าบริการรายปี ทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในการวางแผนงบประมาณได้มากกว่า  และเพียงจ่ายค่าไลเซ้นต์ (Subscribed licenses) เท่านั้น คลาวด์จะช่วยดูแลเรื่องอื่นๆ ให้อย่างครบครัน รวมถึง การสำรองข้อมูล สตอเรจ การทำระบบสำรอง และอื่นๆ อีกมาก

ประโยชน์ของการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless LAN Controller) ติดตั้งที่สำนักงาน และโซลูชั่นบริหารผ่านคลาวด์ 

ข้อได้เปรียบของการใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงาน

  • ไม่ต้องใช้ผ่านอินเทอร์เน็ต

โซลูชั่นทางบริหารผ่านคลาวด์จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการปฏิบัติงาน และอาจจะมีปัญหาในการทำงานหากองค์กรนั้นมีปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต หรือมีค่าความหน่วงสูง หรือมีปัญหาด้านทรูพุธความเร็วที่ไม่เพียงพอ  ในทางตรงกันข้าม ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงานจะสามารถจัดการคุณสมบัติการทำงานได้โดยไม่ต้องอาศัยการใช้อินเทอร์เน็ต

  • ยืดหยุ่น ใช้งานและการทำงานต่อเนื่องกว่า

ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่สำนักงานจะได้รับการยอมรับว่ามีความยืดหยุ่น และปรับให้ใช้งานตรงต่อความต้องการมากกว่าในหลายๆ กรณี สามารถรองรับคุณสมบัติขั้นสูงของอุปกรณ์ไวไฟ และแอปพลิเคชั่นได้มากกว่า  นอกจากนี้ ในกรณีที่เป็นเครือข่ายใหญ่ที่ใช้แอคเซสพ้อยท์นับร้อยๆ ชิ้น   ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่ตั้งค่าเป็น Role-based access control และมี Secondary controller Configuration จะสามารถทำงานเข้ากันได้ดี เพื่อสร้างศักยภาพในการเข้าใช้งานเครือข่ายแลนทีดีกว่าและให้การทำงานที่ต่อเนื่องกว่า

ข้อได้เปรียบของการโซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์

  • เริ่มต้นใช้งานและบริหารจากที่อื่นได้อย่างง่ายๆ

โซลูชั่นนี้จะช่วยให้การจัดการเป็นไปอย่างง่ายขึ้นมาก เนื่องจากไม่มีการติดตั้งระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่สาขาใด ผู้ให้บริการคลาวด์จะรีโมทเข้ามาจัดการกับอุปกรณ์โดยตรงได้ โดยไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ไอทีประจำ ณ ที่นั้น แต่ที่สำคัญคือ อุปกรณ์เชื่อมโยงเครือข่ายนั้นต้องฉลาดและมีคุณสมบัติระดับสูงเป็นประเภท Zero-touch deployment ที่ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่ไอทีเข้าไปจัดการใดๆ  จึงเห็นได้ชัดว่า การใช้โซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์นี้ทำให้การจัดการเครือข่ายเป็นไปอย่างง่ายๆ โดยเฉพาะในองค์กรที่มีเจ้าหน้าที่ไอทีไม่เพียงพอ

  • ไม่มีข้อจำกัดของจำนวนอุปกรณ์ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่เป็นฮาร์ดแวร์

โซลูชั่นที่บริหารผ่านคลาวด์นี้สามารถบริหารแอคเซสพ้อยท์ได้ไม่จำกัด ซึ่งช่วยให้การปรับเปลี่ยนเครือข่ายเป็นไปอย่างง่ายๆ  องค์กรจึงสามารถเริ่มใช่โซลูชั่นนี้ในการบริหารแอคเซสพ้อยท์เพียงชิ้นเดียว และเพิ่มจำนวนได้ทันทีที่ธุรกิจขยายตัวหรือมีการขยายสาขาใหม่ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่เป็นฮาร์ดแวร์

องค์กรแบบใดที่ควรใช้คลาวด์

ไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า องค์กรแบบใดที่ควรใช้โซลูชั่นแบบคลาวด์ เนื่องจากโครงสร้างการเชื่อมต่อไร้สายทั้งสองรูปแบบล้วนให้ประโยชน์ต่อองค์กร  แต่ข้อมูลดังต่อไปนี้อาจช่วยให้ท่านตัดสินใจได้

เครือข่ายของท่านบริหารงานโดยเจ้าหน้าที่ไอทีที่มีจำนวนจำกัดหรือไม่?

ให้ท่านลองตรวจสอบโครงข่ายไอทีขององค์กรอีกครั้ง หากท่านมีเจ้าหน้าที่ไอทีที่สนับสนุนงานให้กับสาขาและพนักงานประจำที่สาขาเองเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค ท่านอาจพิจารณาใช้ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงาน เนื่องจากสามารถออกแบบใช้งานได้ตามความต้องการจริงได้ดี  แต่ถ้าหากทีมงานของท่านมีจำนวนน้อยและท่านเองกำลังมองหาหนทางที่จะทำให้การจัดการเป็นไปอย่างง่ายๆ  โซลูชั่นแบบคลาวด์น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

องค์กรของท่านมีสาขากระจายตัวในสถานที่หลายแห่งหรือไม่?

ระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายติดตั้งที่สำนักงานเหมาะกับองค์กรใหญ่ที่มีเจ้าหน้าที่ไอทีดูแลเพียงพอ แต่โซลูชั่นแบบคลาวด์ที่แอคเซสพ้อยท์สามารถตั้งค่าเองได้จะเหมาะกับธุรกิจมีสาขาหลายแห่ง เช่น เชนร้านค้าที่มีร้านสาขาขนาดเล็กในจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ  พนักงานที่สาขานั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านไอทีเพียงแต่เสียบสายไฟและเปิดอุปกรณ์  เจ้าหน้าที่จะรีโมทเข้าไปจัดการตั้งค่าและตรวจสอบอุปกรณ์จากที่อื่นได้ 

องค์กรของท่านมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาหรือไม่?

เนื่องจากโซลูชั่นแบบคลาวด์ไม่ต้องการระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายที่เป็นฮาร์ดแวร์ และไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงว่าระบบควบคุมอุปกรณ์ไร้สายควรเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ แต่กลับสามารถเพิ่มแอคเซสพ้อยท์ในที่ใด จำนวนเท่าใด เมื่อไหร่ก็ได้   นอกจากนี้ บริการโซลูชั่นแบบคลาวด์จะเป็นลักษณะจ่ายตามที่ท่านเติบโต (Pay as you grow) จึงทำให้องค์กรมีความคล่องตัวในปัจจุบันและอนาคตที่อาจมีความไม่แน่นอนสูง

จากเทรนด์การเลือกใช้โซลูชั่นบริหารเครือข่ายผ่านคลาวด์ที่ให้ความคล่องตัวมากกว่าและประหยัดการลงทุนมากกว่า ไซเซลจึงได้เปิดตัวเนบูล่า (Nebula) ซึ่งเป็นโซลูชั่นด้านการเชื่อมโยงและจัดการเครือข่ายผ่านคลาวด์ใหม่  ที่ช่วยบริหารอุปกรณ์เนบูล่าประเภทไร้สายและมีสายได้ทั้งหมดจากที่เดียวกัน  เนบูล่าแตกต่างจากรายอื่นตรงที่เป็นประเภทปลั๊กแอนด์เพลย์ใช้งานได้ทันที สามารถเริ่มต้นใช้งาน ดูแลและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ได้จากระยะไกล จึงช่วยองค์กรเพิ่มประสิทธิผลการทำงานของพนักงานและเพิ่มความยืดหยุ่นด้านธุรกิจ

การเชื่อมโยงระบบบริหารผ่านคลาวด์ของเนบูล่าจากไซเซล

เนบูล่าแตกต่างจากโซลูชั่นการเชื่อมโยงบนคลาวด์ของรายอื่นที่มักเน้นการบริหารเครือข่ายไร้สายเท่านั้น แต่เนบูล่าจากไซเซลนี้ประกอบไปด้วยอุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์ไร้สาย สวิตช์ และซีเคียวริตี้เกทเวย์   อันครบถ้วนและถูกบริหารผ่านศูนย์ควบคุมเนบูล่า (Nebula Control Center)   ซึ่งศูนย์ควบคุมเนบูล่านี้จะให้ข้อมูลเรียลไทม์ต่างๆ ซึ่งรวมถึงสรุปรายงานของทราฟฟิค สถานะของอุปกรณ์ การใช้งานของเครือข่ายและสาขาในรูปแบบแดชบอร์ดที่ใช้งานผ่านเว็บเบร้าเซอร์ที่ใช้งานง่าย  ผู้ใช้งานจึงสามารถรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเครือข่ายที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วโลกของตนนั้นได้ และมั่นใจได้ว่าธุรกิจมีความต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา

กลุ่มผลิตภัณฑ์เนบูล่าจะรวมถึง อุปกรณ์แอคเซสพ้อยท์ที่ช่วยบริหารคลาวด์  (Cloud Managed Access Points: NAP) สวิตช์ที่ช่วยบริหารคลาวด์ (Cloud Managed Switches: NSW)  และเกทเวย์ด้านความปลอดภัยที่ช่วยบริหารคลาวด์  (Cloud Managed Security Gateway: NSG) ทั้งนี้ ท่านสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนบูล่า (Nebula)ได้ที่ http://www.zyxel.co.th

from:https://www.techtalkthai.com/save-network-management-cost-by-cloud/