คลังเก็บป้ายกำกับ: CIRCULAR_ECONOMY

ครั้งแรกของไทย! กับนวัตกรรมของ GC Group เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ระดับ Food Grade การันตีความปลอดภัยโดย อย.

พลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เรียกสั้นๆ ว่าพลาสติกระดับฟู้ดเกรด (Food Grade)  คือพลาสติกที่สามารถสัมผัสอาหารได้อย่างปลอดภัยไม่มีสิ่งปนเปื้อนติดไปกับอาหาร ซึ่งหลายคนยังไม่ทราบว่า พลาสติกรีไซเคิลก็สามารถนำมาผลิตให้เป็นพลาสติกระดับฟู้ดเกรดได้ และสามารถนำมาใช้ได้จริงแล้ว แต่ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ก่อนการนำมาใช้จริง  ซึ่งกว่าจะได้รับการรับรอง นั้น สิ่งสำคัญจึงอยู่ที่กระบวนการการผลิตที่ต้องมีมาตรฐานระดับสูง เพื่อให้ได้พลาสติกรีไซเคิลที่ สะอาด ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และ แอลพลา กรุ๊ป (ALPLA Group) จึงร่วมกันสร้างสร้างสรรค์เม็ดพลาสติกรีไซเคิล (PCR PET หรือ Post Consumer Recycled PET) ภายใต้แบรนด์ InnoEco เพื่อใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ความพิเศษคือเป็นการผลิตจากพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศไทย 100% และได้เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงระดับ Food Grade มาตรฐานระดับสากล ตอบโจทย์การลดก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ หรือ Net Zero และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข เป็นเจ้าแรกในไทย

เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูงระดับ Food Grade ได้รับการผลิตจากโรงงาน ENVICCO สามารถใช้ใส่อาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัย ไร้สิ่งเจือปน ปลอดสารเคมีตกค้าง เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า อาหารและเครื่องดื่มที่ใส่ในบรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่ผลิตโดย ENVICCO จะปลอดภัยอย่างแท้จริง

คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อให้สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มต้องได้รับมาตรฐานระดับ Food Grade ซึ่งโรงงาน ENVICCO ได้รับการรับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Drug Administration: US FDA) ถือว่ามาตรฐานระดับสากลแน่นอน และครั้งนี้ได้รับการรับรองจาก อย. ยิ่งตอกย้ำคุณภาพว่าเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่ มีคุณสมบัติพิเศษที่สะอาด ปลอดภัย ไร้สิ่งเจือปน ปลอดสารเคมีตกค้าง ทำให้ผู้บริโภคทุกคนมั่นใจได้ว่า สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัยแน่นอน

กุนเทอร์ เลห์เนอร์ ประธาน แอลพลา กรุ๊ป (ALPLA Group) กล่าวว่า นี่เป็นการสร้างวงจรการรีไซเคิลพลาสติกแบบ Bottle-to-Bottle ด้วยการแปรสภาพขวดพลาสติกใช้แล้วให้หมุนเวียนเป็นขวดใหม่ที่สะอาดปลอดภัย และใช้บรรจุเครื่องดื่มเพื่อบริโภคในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นการพิสูจน์ความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการและแปรรูปบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากเม็ดพลาสติก PCR ไปพร้อมกับการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และของเสียผ่านการใช้ทรัพยากรได้อย่างเหมาะสม

envicco

สำหรับ ENVICCO เป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงจากยุโรป มีระบบควบคุมคุณภาพตลอดกระบวนการผลิต มีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล 45,000 ตัน/ปี ภายใต้แบรนด์ InnoEco แบ่งเป็นเม็ดพลาสติก ชนิด PCR PET จำนวน 30,000 ตัน/ปี และ เม็ดพลาสติก ชนิด PCR HDPE จำนวน 15,000 ตัน/ปี ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพสูงสม่ำเสมอ โดยใน 1 ปีสามารถช่วยลดขยะพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนในประเทศได้ถึง 60,000 ตัน/ปี และช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 75,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า เทียบเท่าการปลูกป่า 78,000 ไร่ หรือปลูกต้นไม้ใหญ่มากกว่า 8 ล้านต้น

GC และ แอลพลา กรุ๊ป แสดงให้เห็นถึงความต้องการช่วยโลก ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น เพื่อเดินหน้าตามแนวทาง Net Zero พร้อมกับให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยในระดับสูงสุด การดำเนินงานนี้ถือเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นที่ GC Group ต้องการทำให้ “ดีขึ้นเพื่อคุณ ดีขึ้นเพื่อโลก” อย่างแท้จริง

#ดีขึ้นเพื่อคุณดีขึ้นเพื่อโลก #GCChemistryForBetterLiving #เคมีที่เข้าถึงทุกความสุข

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ครั้งแรกของไทย! กับนวัตกรรมของ GC Group เม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง ระดับ Food Grade การันตีความปลอดภัยโดย อย. first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/gc-pcr-pet-innoeco/

เมื่อบรรจุภัณฑ์เป็นมากกว่าแค่ห่อสินค้า แต่ต้องเป็นมิตรกับโลกพร้อมให้ข้อมูลจัดการขยะกับผู้บริโภค

ในอนาคตคุณค่าของบรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อจะไม่ใช่แค่การปกป้องสินค้าหรือนําพาสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอีกต่อไป เพราะทั่วโลกต่างให้ความสําคัญกับการปกป้องโลกใบนี้ 

ปัจจุบันจึงเกิดเป็น “Circular Economy” เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไปสู่ความยั่งยืน กลายเป็นแกนสําคัญของการดําเนินธุรกิจในหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วยเช่นกัน

แนวคิดที่เปลี่ยนไปของการสร้างบรรจุภัณฑ์

นายสินชัย เทียนสิริ ผู้อํานวยการสถาบันรหัสสากล (GS 1) อดีตผู้อํานวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) เล่าว่า ในยุคแรกบรรจุภัณฑ์เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง (Linear Economy) เนื่องจากทรัพยากรยังมีเพียงพอ จนมาถึงยุคก่อให้เกิดปัญหาขยะจึงเป็นการใช้แล้วนําไปรีไซเคิล (Recycle Economy) 

แต่ขณะเดียวกันกระบวนการรีไซเคิลย่อมมีต้นทุน หากพิจารณาแล้วว่าสิ่งนั้นไม่คุ้มค่าก็จะถูกทิ้งภาระให้โลกบําบัดต่อไป จนปัจจุบันทั่วโลกต่างให้ความสําคัญกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ทําให้เกิดแนวคิด 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle 

นอกจากนี้นายสินชัยยังได้เสนอให้สร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ในการร่วมจัดการบรรจุภัณฑ์ โดยผู้ประกอบการที่ต้องการส่งสินค้าไปต่างประเทศต้องไม่มองแค่ฟังก์ชันการปกป้องสินค้า แต่จะทําอย่างไรให้ปกป้องสินค้าและปกป้องโลกได้ด้วย 

เนื่องจากขณะนี้หลายประเทศให้ความสําคัญกับสิ่งแวดล้อมมาก บางประเทศกําหนดเป็นมาตรการการนําเข้าสินค้าเลยทีเดียว ซึ่งในอนาคตประเด็นนี้อาจจะกลายเป็นกําแพงทางการค้าได้

การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องเพิ่มมูลค่า

นายทินกร เหล่าเราวิโรจน์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทย (ATSI) ได้ให้ข้อคิดเห็นสําหรับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้เป็น Smart Packaging ที่สร้างคุณค่าเพิ่มมากกว่าการบอกข้อมูลสินค้า เพื่อประโยชน์ทั้งในแง่ของธุรกิจและต่อผู้บริโภค โดย Smart Packaging นั้นมี 2 ประเภท คือ

  • Active Packaging มักใช้กับสินค้าประเภทอาหาร ซึ่งจะช่วยยืดอายุบนชั้นวางสินค้าให้ยาวนานขึ้น เช่น การใช้วัสดุที่ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาคุณภาพอาหาร 
  • Intelligent Packaging เพื่อสื่อสารกับลูกค้า เช่น สื่อสารด้วยตัวชี้วัด (Indicator) ที่เป็น สีเพื่อบอกถึงความสด ความสุก สําหรับการรับประทาน ทั้งการให้และรับข้อมูลด้วย QR Code, RFID หรือ NFC และเพื่อส่งเสริมด้านการตลาด ช่วยสร้างประสบการณ์กับผู้บริโภค หรือกิจกรรมร่วมสนุกต่างๆ 

แนวทางการดำเนินงานของแบรนด์เพื่อสิ่งแวดล้อม

แบรนด์ระดับโลกอย่างเนสท์เล่ (Nestlé) ได้เริ่มปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เพื่อลดภาระของโลกแล้วในหลายๆ ประเทศ 

นายจิรพัฒน์ ฐานสันโดษ Market Packaging Manager, Indochina บริษัท เนสท์เล่ ประเทศไทย จํากัด เล่าว่า แบรนด์มีความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อม 2 เรื่อง คือ ลดการสร้างมลพิษต่อโลกให้ได้ 100% ในปี 2050 และเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์ให้สามารถนํากลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ทั้งหมดในอีก 4 ปีข้างหน้า ในข้อสองนี้ได้แบ่งออกเป็น 5 แนวทางการดําเนินงาน คือ

  • Reduce ลดการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่จําเป็นและลดปริมาณพลาสติกมากเท่าที่เป็นไปได้ เช่น ตัดสีฟ้าอ่อนบนขวดที่เป็นภาพจําของแบรนด์ออก หรือการลดใช้สีที่ฝาถ้วยไอศกรีมเพื่อรีไซเคิลง่ายขึ้น
  • Reuse & Refill ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมมากขึ้น เพื่อช่วยลดผลกระทบของการใช้แล้วทิ้ง
  • Alternative Materials การหาวัสดุทดแทนอื่นๆ ที่สามารถนําไปรีไซเคิลได้ 
  • Infrastructure การมองหาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเพื่อให้บรรจุภัณฑ์มีการนําไปรีไซเคิลอย่างจริงจัง
  • Behavior Change การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งด้านการส่งเสริม การโปรโมท การให้ความรู้ เพื่อนำไปสู่การแยกขยะอย่างถูกต้อง เพื่อให้เกิด Circular Economy ที่แท้จริง 

เมื่อการดูแลและปกป้องโลกเป็นปัจจัยสําคัญของการบริโภคสินค้าทั่วโลกในขณะนี้ ผู้ส่งออกไทยควรเรียนรู้และปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์และหีบห่อให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงของโลก แม้จะต้องใช้เวลาและงบประมาณในการเริ่มต้น แต่ผลที่ได้รับคือธุรกิจจะสามารถดําเนินต่อไปได้ในระยะยาว และส่งออกได้อย่างยั่งยืน

ที่มา: ข่าวประชาสัมพันธ์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เมื่อบรรจุภัณฑ์เป็นมากกว่าแค่ห่อสินค้า แต่ต้องเป็นมิตรกับโลกพร้อมให้ข้อมูลจัดการขยะกับผู้บริโภค first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/packaging-should-be-eco-friendly/

สินค้าหมดอายุก็ขายได้ เยอรมนีเดินหน้าลดขยะจากอาหาร ขายได้แต่ต้องแจ้งลูกค้าด้วย

ซุปเปอร์มาร์เก็ตในเยอรมันแห่งหนึ่ง หันมาขายสินค้าที่คนอื่นไม่ขาย เช่น ผักผลไม้ใกล้เหี่ยว สินค้าแปะป้ายผิดและใกล้หมดอายุที่มาจากเหล่าเกษตรกร ห้างค้าส่งและห้างค้าปลีกหลายแห่ง

SirPlus grocery store in Germany
SirPlus grocery store in Germany

ห้างร้านต่างๆ ส่วนมากมักจะเน้นขายผัก ผลไม้สด หรือชูจุดเด่นสินค้าสดจากไร่จากสวนเป็นจุดขาย แต่สำหรับ SirPlus ที่เป็นซุปเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติเยอรมันกลับไม่คิดเช่นนั้น แต่เน้นขายอาหารกระป๋องที่ใกล้หมดอายุ รวมทั้งหมดอายุไปแล้ว สินค้าที่แปะป้ายผิด และผลไม้ที่ใกล้เหี่ยว เฉา หรือไซส์ไม่ได้ถูกคัดสรรมาอย่างดี ด้วยสนนราคาที่ลดลง 80%

การซื้อสินค้าจากร้าน SirPlus ทำได้ทั้งไปที่ร้านและสามารถสมัครเป็นสมาชิกของร้านได้ ร้านจะส่งสินค้ามาให้ที่บ้านหนึ่งกล่อง โดยเป็นสินค้าที่สุ่มเลือกมาให้ด้วย

SirPlus
ตัวอย่างสินค้าที่ถูกสุ่มเลือกเพื่อจัดส่งไปให้ลูกค้าที่บ้านของร้าน SirPlus

ร้าน SirPlus จะทำงานอย่างใกล้ชิดกับทางหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ และจะได้รับผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่ต้นสังกัดไม่ต้องการ ไม่ว่าจะมาจากฟาร์ม จากการขนส่ง จากค้าปลีกและค้าส่งต่างๆ ทางฝั่งซัพพลายเออร์เหล่านี้บ้างก็บริจาคให้กับทางร้านเองเนื่องจากตนเองก็มีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการไม่ต้องเสียค่ากำจัดสินค้าที่ไม่ต้องการเหล่านี้ด้วย

สินค้าที่ต้นสังกัดจากหลากหลายกลุ่มไม่ต้องการนี้มีทั้งการแปะป้ายสินค้าผิด รวมถึงผักผลไม้ที่มีรูปร่างผิดสัดส่วนและใกล้เหี่ยวเฉาด้วย ก่อนที่อาหารเหล่านี้จะถูกจัดขึ้นชั้นเพื่อวางโชว์ลูกค้าจะต้องถูกคัดสรร เลือกไซส์ให้มีขนาดสวยงาม น่าทาน นอกจากนี้ สินค้าที่หมดอายุแล้วแต่ยังสามารถบริโภคได้ก็ยังเอามาขายได้โดยที่ถูกกฎหมายด้วย แต่ผู้ค้าจะต้องแจ้งลูกค้าว่ามีสินค้าที่หมดอายุ นโยบายเหล่านี้ช่วยทำให้ห้างร้านสามารถป้องกันขยะที่มาจากอาหารได้มากถึง 2,000 ตันต่อปี

(ภาพด้านบนคือ บรรยากาศในร้านบางส่วน)

สินค้าเกษตรมักจะเสียหายก่อนจะมาถึงห้างสรรพสินค้ามากถึง 14% ซึ่งก็เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการหีบห่อสินค้า การเก็บรักษาสินค้า ระบบขนส่งโลจิสติกส์เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้ ในปี 2011 องค์การสหประชาชาติเคยประเมินไว้ว่ามีขยะที่มาจากอาหารมากถึง 1.3 พันล้านตันต่อปี ขณะที่ผลิตได้เพียง 1 ใน 3 ส่วนเท่านั้น หมายความว่ากว่า 820 ล้านคนทั่วโลกกำลังประสบภาวะหิวโหย

(คลิปด้านบนนี้ เป็นคลิปรีวิวสินค้าที่อยู่ในกล่องแบบสุ่มเลือกสินค้า)

อย่างไรก็ดี เป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะลดจำนวนขยะที่มาจากอาหารลงครึ่งหนึ่งจากค้าปลีกและผู้บริโภคในปี 2030 ด้วยการลดการสูญเสียอาหารทั้งจากการผลิตและห่วงโซ่อุปทาน ทุกคนมีส่วนในการทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริงได้ นับตั้งแต่เกษตรกรจนถึงครัวเรือน

ข้อริเริ่มเบอร์ลินนี้ทำให้เกิดความแตกต่างมากขึ้น ช่วยให้ทัศนคติของคนเปลี่ยนแปลงได้จากจำนวนอาหารที่ล้นเกิน ด้วยการลดจำนวนของเสียและเพิ่มความตระหนักรู้ในปัญหามากขึ้น ทำให้ห้างร้านและประเทศอื่นๆ สามารถปฏิบัติตามได้

ที่มา – WEF

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สินค้าหมดอายุก็ขายได้ เยอรมนีเดินหน้าลดขยะจากอาหาร ขายได้แต่ต้องแจ้งลูกค้าด้วย first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/sirplus-grocery-store-food-waste-regulations-in-germany/

กลยุทธ์ธุรกิจ SCG ปี 64: มุ่งสู่องค์กร Net Zero ยึดหลัก ESG เพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม มีธรรมาภิบาล

ทิศทางการดำเนินธุรกิจ SCG ประจำปี 2564 มุ่งหน้าดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนควบคู่กับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เพื่อปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์และให้ความสำคัญกับการบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจ

SCG เอสซีจี

รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG พูดถึงหัวใจความสำเร็จของปีที่ผ่านมาว่า ธุรกิจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนผ่านธุรกิจ BCM (Business Continuity Management) คือการทำยังไงให้ธุรกิจเรามีความต่อเนื่อง ต้องบอกว่า COVID-19 ไม่ได้อยู่ในสารบัญการทดสอบของเรา แต่โครงสร้างที่มีอยู่มีคนรับผิดชอบส่วนนี้ ทำให้ธุรกิจ SCG ปรับตัวได้เร็ว

การบริหาร BCM ทำให้เราก้าวข้ามวิกฤตได้ ช่วงแรกที่เกิด COVID-19 ระบาด หลักๆ คือการแพร่เชื้อจากคนสู่คน ส่วนหนึ่งเกิดจากการเดินทาง เราเริ่มดูแลคนที่ต้องเดินทางไปกลุ่มที่เสี่ยง เราคุยกันเรื่องกักตัวผู้ไปกลุ่มประเทศเสี่ยงก่อน พอโควิดระบาดใกล้ตัวมากขึ้น เราคุยกันว่าวิกฤตครั้งนี้รุนแรง มีสามเรื่องที่เราให้ความสำคัญคือ เรื่องพนักงาน, การผลิตสินค้าและการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า

เรื่องแรกคือเรื่องของพนักงาน เราต้องมาคิดกันว่าทำยังไงให้พนักงานมีความมั่นใจที่ทำงาน เราไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ถ้าพนักงานไม่มีความมั่นใจที่จะทำงานใน SCG จากนั้นก็เรื่อง Supply Chain การสั่งซื้อวัตถุดิบ การผลิตสินค้า ทำยังไงเมื่อเกิดความเสี่ยงบริเวณที่ผลิตสินค้า จะแก้ปัญหาและกลับมาให้บริการลูกค้าเร็วที่สุด และส่วนที่สามคือการส่งมอบให้ลูกค้า 

เมื่อธุรกิจไปได้แล้วเราก็ไปทำเรื่อง CSR ด้วย ทั้งเมืองไทยเมื่อเจอวิกฤตนี้ค่อนข้างเหนื่อย บุคลากรทางการแพทย์เหนื่อยมาก หมอกังวลที่ต้องไปตรวจหาเชื้อ จะติดเชื้อกลับมาไหม เราก็หาแนวคิดว่าทำยังไงให้บุคลากรทางการแพทย์มั่นใจ จึงนำไปสู่เรื่องทำห้องที่มีการตรวจ การเทสต์ และคิดว่าทำยังไงให้ปลอดภัยสุด มันก็มีเรื่อง Modular Construction เพื่อช่วยบุคลากรทางการแพทย์ก่อน เราก็เริ่มทำและส่งไปโรงพยาบาล 50-60 แห่ง จากนั้นก็ทำยังไงจะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้ ก็เริ่มนำเทคโนโลยี ทำแพคเกจจิ้งมาช่วยด้วย 

โควิดระบาดทั่วโลกในปัจจุบัน มีผู้ติดเชื้อรวม 106,884,498 คน เสียชีวิต 2,340,087 คน รักษาหาย 59,710,024 คน ข้อมูลจาก JHU

ความท้าทายปี 2564 โควิด-19 ยังไม่จบ

เรื่องของเศรษฐกิจ บางธุรกิจได้รับผลกระทบหมด การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบหนักสุด บ้านเราล็อคดาวน์กลางเดือนถึงปลายมีนาคม ช่วงนั้นตลาดแสดงให้เห็นจริงๆ ว่าคนหรือผู้บริโภคต้องการอะไร เราจะเห็นเลยว่าอะไรที่เรียกว่า essential สำหรับผู้บริโภคจริงๆ คือเรื่อง delivery ตามด้วยเรื่องความสะอาด คือ touchless คือทำยังไงให้ไม่ต้องสัมผัส ทำให้ได้เห็นเลยว่าความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคคืออะไร

ภาพตอนนี้ คนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วมี 140-150 ล้านคนแล้ว คนที่ติดเชื้อจริง 100 กว่าล้าน เราผ่านจุดที่คนฉีดวัคซีนมากกว่าคนติดเชื้อ โลกเรามี 7,000-8,000 ล้านคน เราเริ่มเห็นแล้วว่าจุดต่ำสุดของโควิดอยู่ตรงไหน จุดต่ำสุดนี้อาจจะยาว หลายแห่งระบุว่า 2-3 ปีกว่าจะฉีดวัคซีนได้ทั้งโลก เมื่อผ่านจุดต่ำสุดนี้ไป บริษัทต้องเริ่มคิดแล้วว่า New Normal เป็นยังไง 

Delivery service, Technology, E-commerce, Hygiene เรื่องเหล่านี้เห็นได้ชัด อยู่ที่ว่าเราจะบริหารการจัดการอย่างไร ท่องเที่ยวนี่ยังไม่แน่ว่าจะเป็นจุดต่ำสุดหรือยัง หลายอุตสาหกรรมก็อาจผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ก็อยู่ที่การปรับตัวธุรกิจ ทุกวิกฤต ธุรกิจที่รอดอยู่ได้คือปรับตัว ต้องปรับเร็วด้วย

วันนี้มีข่าวบอกว่า บริษัทเครื่องดื่มบอกว่าขวดน้ำที่ขาย ในอีกปีหนึ่งจะเป็นรีไซเคิลหมด SCG ที่คุยกับนักลงทุนมา เราใช้เวลากับ ESG มากอย่างเห็นได้ชัด มีการพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ESG คือ Environment สิ่งแวดล้อม Social สังคม Governance ธรรมาภิบาล ESG กำลังเป็นที่สนใจ นักลงทุนมองว่าธุรกิจที่เขาจะลงทุนคือบริษัทที่มีคะแนน ESG ดีกว่าบริษัทอื่นๆ แม้เจอโควิดระบาด นักลงทุนรายใหญ่ของโลกหลายราย ก็ให้ความสำคัญเรื่องนี้ เขาใช้เวลาครึ่งหนึ่งของการประชุมพูดถึงเรื่องนี้ ส่วนหนึ่งโควิดมีผล จากเดิมธุรกิจที่กำลังไปได้ดี แต่เมื่อเจอโควิดเข้ามา ธุรกิจเหล่านั้นรับมือได้อย่างไร  

SCG เอสซีจี
ภาพจาก Shutterstock

SCG มี 3 ธุรกิจหลัก คือซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง, เคมิคอลส์, แพคเกจจิ้ง 

เรามีสามบ้านในบ้านจะมีคู่แข่ง ลูกค้า แนวโน้มตลาดและวิธีการทำธุรกิจแตกต่างกัน ทั้งสามธุรกิจที่มี Strategy เดียวที่แชร์กันได้ ก็คือ ESG ซึ่งเราเรียกกันว่า Sustainable Development การพัฒนาต่อไปให้ยั่งยืนจะอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มองการพัฒนาในระยะยาว อยู่ไม่ได้ถ้าเราไม่มีความโปร่งใสหรือไม่มีบรรษัทภิบาลในการบริหารจัดการ เรามีพื้นฐานอยู่แล้ว ทำอย่างไรให้เข้าไปใน DNA เราเรียกว่า ESG Integration 

ปลายเดือนที่ผ่านมา เราพัฒนา Chemical Recycle คือสินค้าเคมิคอลส์ทำอย่างไรไม่ให้เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม คือกลับไปใช้ใหม่ เอา ESG เข้าไปอยู่ในวิธีการทำธุรกิจ นี่คือส่วนที่อยู่ในตัว E และตัว E อีกอย่างหนึ่งคือการใช้พลังงานทดแทน เราสามารถที่จะใช้พลังงานอะไรเข้ามาทดแทน เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พัฒนาโซลาร์เซล การลงทุนถึงจุดที่ว่าทำได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า หรือ non renewable 

อีกตัวอย่างหนึ่งคือ S หรือสังคม สินค้าบริการของเราทำอย่างไรให้มีความปลอดภัย ทำให้ผู้บริโภคมีความสบายใจที่จะใช้ของเรา ทั้งเรื่องความสะอาด well-being การไร้สัมผัส เช่น สุขภัณฑ์ออกมาในลักษณะ Touchless 

อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องน้ำ เราทำมา 20 ปีแล้ว การทำฝาย ทำให้ป่ากลับมา ให้น้ำกลับมามีแหล่งน้ำมากขึ้น ในขั้นถัดไปคือการใช้น้ำหมุนเวียน มีน้ำแล้วบางทีบางจุดมันไม่พอ ไม่ใช่ว่าทุกจุดมีเหมือนกันหมด มีบางจุดน้ำน้อย น้ำมาก ทำอย่างไรที่จะมีระบบให้เอาน้ำมาใช้แบบหมุนเวียนได้ น้ำเกี่ยวกับทุกคน

หน้าที่หนึ่งของบริษัท ทำยังไงให้ความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น ถ้าช่วยคนกลุ่มใหญ่ได้ก็เป็นประโยชน์ เราพูดกันเสมอว่าน้ำคือชีวิต มีน้ำก็ทำให้คนมีอาชีพได้ การใช้น้ำหมุนเวียนก็ทำให้ใช้น้ำได้อย่างคุ้มค่า ทำให้คนประกอบอาชีพได้มากขึ้น ในการเพาะปลูกจากเดิมใช้น้ำ 1-2 ครั้ง พอมีน้ำหมุนเวียนก็ใช้ได้ 3-4 ครั้ง เหล่านี้คือหน้าที่ของบริษัท เราต้องยอมรับว่าถ้าสังคมอยู่ไม่ได้ บริษัทก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน 

ตัวสุดท้ายคือ G สิ่งสำคัญที่สุดคือความโปร่งใส มันเป็นพื้นฐาน เป็นเรื่องยากที่นักลงทุนจะลงทุนในบริษัทที่ไม่รู้ว่าทำธุรกิจอย่างไร ความโปร่งใสคือพื้นฐานของบรรษัทภิบาล ธุรกิจย่อมเข้าใจอยู่แล้วโดยเฉพาะธุรกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยให้ทันและชัดเจน 

ในด้านดิจิทัลมองได้ 3 ส่วน

ส่วนหนึ่งคือการให้บริการ เช่น อีคอมเมิร์ซให้คนซื้อของผ่านแพลตฟอร์มได้ อีกส่วนหนึ่งคือซัพพลายเชน ทำยังไงที่ทำให้ต้นทุนที่ส่งของจากโรงงานผู้ผลิตไปยังลูกค้าในต้นทุนที่ต่ำสุดในเวลาที่คุยกันไว้ นี่คือดิจิทัลด้านโลจิสติกส์ และส่วนต่อมาคือ ดิจิทัลด้านการผลิตให้มีประสิทธิภาพที่สุด ตรงที่สุด จัดการดีที่สุด คือเรื่อง automation คือเอาโรบอตมาใช้ในการผลิต ส่งของ การเก็บสิ่งของ

ส่วนเรื่อง digital economy มุมมอง SCG มีสามเรื่องทั้งเกี่ยวข้องกับลูกค้า การโลจิสติกส์ และการผลิต นอกจากนี้ก็มีเรื่องสุขภาพ ปัจจุบันเรา Work from home เยอะขึ้น เราเริ่มเห็นความน่าอยู่ของบ้านมากขึ้น มันไม่ใช่แค่ WFH แล้วแต่เป็น WFA คือ Work from anywhere ตรงนี้เราต้องสังเกตให้เห็นคือเข้าใจความต้องการผู้บริโภค ปรับตัว และความเร็วทำให้ SCG ผ่านหนึ่งปีที่ผ่านมา

โควิด-19 จะกระทบธุรกิจปี 64 อย่างไร

เราเห็นความต้องการผู้บริโภคมากขึ้นในส่วนของแพคเกจจิ้ง ทำอย่างไรถึงจะบริหารจัดการการเติบโตของธุรกิจได้ ส่วนที่สองคือผลกระทบมากสุดคือซีเมนต์ วัสดุก่อสร้าง พอเจอโควิด-19 การก่อสร้างใหม่จะขายนักท่องเที่ยวก็ไม่รู้จะขายใครแล้วตอนนี้ จะได้ก็ได้ infrastructure ของภาครัฐยังไปได้อยู่

พวกวัสดุก่อสร้างต้องเน้นให้ความสะดวกกับการอยู่อาศัยให้มากขึ้น ส่วนเคมิคอลส์ในด้านหนึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด แต่อีกด้านหนึ่ง ในส่วนของความสะอาด health care หน้ากาก หรือการทำให้คนสบายใจที่จะใช้ก็จะยังไปได้ ธุรกิจเคมิคอลส์ที่เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมที่กำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์จากเดิมมาเป็น EV ตอนนี้ก็ปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ 

Chemical Recycling SCG
Chemical Recycling SCG

การลงทุนใหม่เน้นเรื่องการรองรับการเติบโตที่ขยายตัวมากขึ้น

การลงทุนทั้งด้านแพคเกจจิ้งที่มีการเติบโตมากขึ้น ในด้านซีเมนต์จะลงทุนการปรับปรุงสินค้าและบริการมากขึ้นเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในส่วนของการซ่อมแซมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันดีขึ้นและปรับให้ดีขึ้น นอกจากนี้ธุรกิจเคมิคอลส์ก็จะมีการปรับให้เข้าสู่ circular economy มากขึ้น 

การลงทุนในตลาดที่มีศักยภาพอยู่ ตอนนี้ปิโตรเคมีในเวียดนามก็เป็นตลาดที่ใหญ่มาก ตอนนี้เราไป 70% แล้ว อีกปีสองปีจะเพิ่มมากขึ้นในส่วนของการเข้าไปตลาดใหม่ๆ หรือลงทุนในส่วนนวัตกรรม และอีกส่วนหนึ่งจะปรับเข้าสู่ circular economy (เศรษฐกิจหมุนเวียน)

สิ่งที่เราคุยกันมาตลอด หลังจากโควิดแล้วก็ยังไปต่อได้ การทำงานต้องรวดเร็วมากขึ้น ตลาดในอาเซียนมีศักยภาพไปได้อีก อินโดนีเซียก็ยังไปได้ ในส่วนของนวัตกรรมก็ต้องรวมเทคโนโลยีและดิจิทัลเข้าไปด้วย ธุรกิจเรายังให้ความสำคัญเรื่องนี้อยู่ เดิมเราใช้ Sustainble Development ก็จะเป็น ESG ก็ได้เพราะอยู่ในรูปแบบเดียวกัน

เรื่องของ innovation สินค้า HVA (High Value Added Products & Services) ที่มีมูลค่าสูงถ้ามีมากก็ยิ่งดี ตอนนี้เฉลี่ยประมาณ 30% สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง อีกสองปีถัดไปอาจจะไม่ใช่แล้ว 

ประเทศไทยกับความจำเป็นของวัคซีน อาจจะน้อยกว่าประเทศอื่นที่มีการติดเชื้อเยอะ ก็เป็นความท้าทายของบ้านเราที่จะทำอย่างไรให้เข้าถึงวัคซีนได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็วและกระจายวัคซีนได้อย่างทั่วถึง 

ประเทศที่ไปลงทุนตอนนี้

หลักๆ คือเวียดนาม อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ซึ่งสองประเทศหลังก็ต้องดูเงื่อนไขในการรับมือโควิด ส่วนเมียนมา ในส่วนของ SCG ก็ไม่สามารถให้ความเห็นการเมืองของประเทศเขาได้ แต่เราสนใจความปลอดภัยของพนักงานราว 2,000 กว่าคน ส่วนใหญ่มีสัญชาติเมียนมา เราก็ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดให้ทำงานได้อย่างสะดวกใจมากที่สุด

ปัจจัยของความสำเร็จต้องเข้าใจความต้องการของผู้บริโภค ต้องปรับตัวด้วยความรวดเร็ว วิกฤตโควิดต่อไทยและโลกมีความรุนแรงอย่างมาก เรายังไม่เห็นว่าจะผลกระทบจะยาวนานขนาดไหน แต่เริ่มเห็นทางออก ในวิกฤตมีโอกาส คนที่อยู่รอดได้ระยะยาวคือคนที่ใช้วิกฤตในการปรับตัว

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post กลยุทธ์ธุรกิจ SCG ปี 64: มุ่งสู่องค์กร Net Zero ยึดหลัก ESG เพื่อสิ่งแวดล้อม สังคม มีธรรมาภิบาล first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/scg-strategy-2021-focus-on-esg/

IKEA เตรียมเปิดหน้าร้านขายสินค้ามือ 2 แห่งแรกในสวีเดน พร้อมรับกระแสเศรษฐกิจหมุนเวียน

IKEA เตรียมเปิดหน้าร้านขายสินค้ามือสองแห่งแรกใน Eskilstuna สวีเดน ความตั้งใจดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการทำธุรกิจหมุนเวียนเต็มตัวในปี 2030 (circular business)  

IKEA

ก่อนหน้านี้ บริษัทเคยกล่าวไว้ว่าจะเริ่มให้มีการเช่าและการรีไซเคิลเฟอร์นิเจอร์ทั่วโลก ซึ่งก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเรื่อง eco-friendly ที่จะช่วยลดการบริโภคที่ล้นเกิน ทั้งนี้ Jonas Carlehed ผู้อำนวยการด้านความยั่งยืน Ikea ระบุว่า ถ้าเราต้องการจะบรรลุเป้าหมายเรื่องความยั่งยืน เราจำเป็นต้องท้าทายตัวเองและทดสอบแนวคิดตัวเองด้วยการปฏิบัติจริง บริษัทตั้งเป้าจะลดผลกระทบที่มีต่อโลกร้อนราว 70% ต่อสินค้าแต่ละชิ้นภายในปี 2030

ร้านสำหรับขายสินค้ามือสองนี้ ถือเป็นโปรเจกต์ทดลองที่จะต้องนำมาประเมินอีก ทางบริษัทได้เริ่มซ่อมสินค้าที่พังและทำแพคเกจสินค้าใหม่ และยังให้ลูกค้าสามารถคืนสินค้าได้ ทั้งนี้เพื่อนำสินค้ามาขายใหม่หรือไม่ก็นำไปบริจาคได้ต่อ ก่อนหน้านี้ ในปี 2019 Ikea ได้ปล่อยโปรเจกต์ให้เช่าเฟอร์นิเจอร์ด้วย

ที่มา – The StraitsTimes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ikea-will-open-first-second-hand-store-circular-business/

Dell เปิดตัว Recycled Carbon Fiber เป็นรายแรกของวงการ ลดขยะจากผลิตภัณฑ์ IT ด้วยระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน

dell_logo

Dell เผยความคืบหน้าในการผลักดันการทำระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy) ด้วยการใช้ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สำหรับพลาสติคที่ Recycle ได้แบบครบวงจรในการผลิตสินค้า IT โดยนำ Carbon Fiber ที่ผ่านการ Recycle มาแล้วจากบริษัท SABIC มาใช้งาน ทำให้ Dell สามารถ Recycle ผลิตภัณฑ์เก่าๆ เพื่อนำมาสร้างกลับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ และลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างมาก

dell_recycled_carbon_fiber

ในช่วงครึ่งหลังของปี 2015 นี้ Dell เริ่มทำงานร่วมกับ SABIC เพื่อทำการ Recycle Carbon Fiber ที่ไม่ใช้งานแล้วให้กลายเป็น Raw Material สำหรับใช้ในการผลิต Dell Latitude และ Dell Alienware บางรุ่นก่อน และมีแผนที่จะขยายผลิตภัณฑ์ที่มีการใช้ Recycled Carbon Fiber เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2016 โดยคาดว่าจะสามารถลดปริมาณขยะลงได้ 820,000 ปอนด์ (ประมาณ 372,000 กิโลกรัม) และวัตถุดิบ Recycled Carbon Fiber นี้จะมีปริมาณ Carbon Footprint ที่น้อยกว่า Carbon Fiber บริสุทธิ์ถึง 11%

ส่วนผลของการใช้ห่วงโซ่อุปทานแบบครบวงจรสำหรับ Recycled Plastic นั้น Dell ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมกราคมของปี 2014 และทำการ Recycle พลาสติคไปแล้วถึง 4.2 ล้านปอนด์ (ประมาณ 1.9 ล้านกิโลกรัม) เพื่อไปใช้ผลิตจอแบบ Flat Panel กว่า 30 รุ่น และ Dell Optiplex อีก 3 รุ่น ซึ่ง Dell มีแผนที่จะเริ่มใช้ Recycled Plastic เหล่านี้กับ Server และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วยในปี 2016

ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับองค์กรที่มีความเป็นห่วงทางด้านขยะพลาสติคที่ปริมาณเพิ่มขึ้นบนโลกนี้ทุกวันๆ นะครับ

ที่มา: http://www.dell.com/learn/us/en/uscorp1/press-releases/2015-09-28-dell-launches-industry 

from:https://www.techtalkthai.com/dell-annoucned-industry-first-recycled-carbon-fiber-with-closed-loop/