คลังเก็บป้ายกำกับ: โรคระบาด

หนักหน่วง! ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเผย จีนติดโควิดมหาศาล เฉลี่ยสัปดาห์ละ 65 ล้านราย

ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขอาวุโสระบุว่า ตอนนี้ ประเทศจีนมีแนวโน้มที่จะติดโควิดอย่างมหาศาลถึง 65 ล้านรายต่อสัปดาห์จนถึงปลายเดือนมิถุนายน ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ จีนเองก็พยายามจะระดมการฉีดวัคซีนเต็มที่เช่นกัน

สำหรับสายพันธุ์โควิดที่กำลังระบาดในจีนอย่างหนักและส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิดพุ่งขึ้นขนาดนี้ก็คือสายพันธุ์ XBB หรือหนึ่งในโควิดสายพันธุ์โอมิครอนที่ระบาดอยู่ทั่วโลก ซึ่งในช่วงเดือนเมษายนก่อนหน้านี้ ก็คาดการณ์ว่าโควิดจะระบาดที่ 40 ล้านคนต่อสัปดาห์ภายในช่วงเดือนพฤษภาคม แต่ปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้อเตรียมทะลุไป 65 ล้านคนต่อสัปดาห์แล้ว

China Covid

อย่างไรก็ดี การติดเชื้อระลอกใหม่นี้ ถือว่ามีจำนวนที่ลดลงแล้ว จากที่ก่อนหน้านี้เมื่อปีที่ผ่านมา คาดว่ามีผู้ติดเชื้อราว 37 ล้านรายต่อวัน ซึ่งจีนเองก็เตรียมปล่อยวัคซีนป้องกันโควิดตัวใหม่ออกมา วัคซีนตัวนี้ตั้งเป้าจัดการสายพันธ์ XBB ด้วย วัคซีนตัวนี้ผลิตโดยบริษัท WestVac Bipharma ตั้งอยู่ที่เมืองเฉิงตู และได้เริ่มทดลองใช้วัคซีนกับคนแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

วัคซีนป้องกันโควิดสายพันธุ์ XBB

ด้านกลุ่มที่ปรึกษาจาก WHO (องค์การอนามัยโลก) ก็เพิ่งจะแนะนำเองว่า ปีนี้ ควรมีการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์เพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมสายพันธุ์ XBB ที่กำลังระบาดอย่างหนักอยุ่ในปัจจุบัน เพื่อให้ร่างกายสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันสายพันธุ์ XBB.1.5 หรือ XBB.1.16 ได้

สำหรับตอนนี้ผู้ผลิตวัคซีนยักษ์ใหญ่ อย่าง Pfizer/BioNtech, Moderna และ Novavax ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดสายพันธุ์ XBB.1.5 แล้ว

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.5 หรือ Kraken

สายพันธุ์นี้พบมากเมื่อปลายปีที่ผ่านมาจนถึงต้นปี 2023 ใน 74 ประเทศ โดยมีสหรัฐฯ นำอยู่ที่ 72.2% นอกนั้นคืออังกฤษ 7.3% แคนาดา 5.0% เยอรมนี 2.7% ออสเตรีย 1.8% เดนมาร์ก 1.1% และฝรั่งเศส 1.0% ฯลฯ

เป็นสายพันธุ์ที่ระบาดง่ายและกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่กำลังระบาดอยู่ทั่วโลก และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่นๆ อาการหลังติดเชื้อเหมือนอาการเป็นหวัด มีอาการไอ หายใจได้ระยะสั้น มีออกซิเจนต่ำ ส่วนอาการจมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรู้รส อาจเกิดขึ้นบ้าง นอกนั้นก็จะมีอาการเหนื่อยล้า มีไข้ ปวดตามเนื้อตัวหรืออาจจะมีท้องเสียบ้าง อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 5-7 วันแล้วแต่ภูมิคุ้มกันของแต่ละคน

โควิดสายพันธุ์ XBB.1.16 หรือ Arcturus

สายพันธุ์นี้มีการรายงานครั้งแรกช่วงต้นเดือนมกราคม ปีนี้ ส่วนใหญ่พบที่อินเดีย 63.4% ตามด้วยสหรัฐฯ 10.9% สิงคโปร์ 6.9% ออสเตรเลีย 3.9% แคนาดา 2.6% บรูไน 2.4% ญี่ปุ่น 2.0% และอังกฤษ 2.1%​ ฯลฯ gxHo

สายพันธุ์นี้ไม่ค่อยต่างจากสายพันธุ์ XBB.1.5. มากนัก สำหรับอาการของผู้ติดเชื้อไม่ได้ทำให้ป่วยหนักกว่าผู้ที่ติดเชื้อโควิดโอมิครอน ผู้ติดเชื้อจะมีอาการเยื่อตาขาวอักเสบ หรือลักษณะเหมือนโรคตาแดงและมีอาการโควิดอ่อนๆ

ที่มา – Bloomberg, CNBC, NBC, WHO (1), (2), AM-ASSN 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post หนักหน่วง! ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเผย จีนติดโควิดมหาศาล เฉลี่ยสัปดาห์ละ 65 ล้านราย first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/covid-infection-in-china-65-million-cases-per-week/

คำแนะนำจาก Bill Gates: โลกต้องการทีมและทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปีป้องกันโรคระบาด

ต้องบอกว่า คำเตือนจาก Bill Gates โดยเฉพาะเรื่องโรคระบาดนั้นค่อนข้างแม่นยำ โลกไม่อาจเมินเฉยได้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ เขาศึกษาเรื่องโรคระบาดและเคยเตือนไว้แล้วว่าโลกยังไม่พร้อมที่จะเผชิญกับโรคระบาดตั้งแต่ปี 2015 แล้ว โลกเตรียมตัวเรื่องนี้น้อยไป หากจะมีอะไรสังหารผู้คนได้ถึง 10 ล้านคนภายใน 10 ปีข้างหน้าก็น่าจะเป็นไวรัสมากกว่าสงคราม และในที่สุด โควิดก็เริ่มระบาดจริงๆ ในช่วงปลายปี 2019 ตัวเลขล่าสุดของผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลกอยู่ที่ 534.88 ล้านคน เสียชีวิตโดยรวมอยู่ที่ 6.3 ล้านคน

Bill Gates

ล่าสุด Bill Gates กล่าวในงาน Time 100 Summit ว่า โควิด-19 ให้โอกาสมวลมนุษยชาติเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับโรคระบาดในอนาคต เขาประเมินว่าการเตรียมพร้อมดังกล่าวมีต้นทุนราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาทต่อปี เขาบอกว่า โลกจะต้องสร้างทีมผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดและการติดเชื้อประมาณ 3,000 คนเพื่อจะช่วยเหลือทุกประเทศในการพัฒนาการรับมือกับโรคระบาด ทีมที่ว่านี้ก็คือทีม Global Epidemic Response and Mobilization (GERM) หรือทีมที่จะต้องระดมสรรพกำลังเพื่อรับมือโรคระบาดในระดับโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลกจะต้องเป็นผู้จัดการเรื่องนี้

หนึ่งในความรับผิดชอบหลักของทีม GERM ก็คือจะต้องเจาะลึกเรื่องโรคระบาดและคอยทดสอบแต่ละประเทศว่ามีการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับโรคระบาดไปถึงไหนแล้ว เกตส์บอกว่าโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นครั้งถัดไปอาจจะทำให้อัตราคนเสียชีวิตสูงกว่านี้มากและนั่นอาจจะเป็นจุดจบของสังคมได้

โอกาสที่โรคระบาดจะเกิดขึ้นคืออีก 20 ปีข้างหน้า อาจจะมาทั้งจากธรรมชาติหรือไม่ก็จงใจทำให้มันเกิดขึ้น เขาบอกว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่า 50% แนวคิดเรื่องทีม GERM คือสิ่งที่เกตส์สนับสนุนและนำมาถกเถียงผ่านหนังสือเล่มใหม่ของเขา หนังสือเรื่อง “How to Prevent the Next Pandemic” ที่ตีพิมพ์ไปตั้งแต่เดือนเมษายน

รู้จักทีม GERM ก่อนจะมีโรคระบาดครั้งถัดไป

เกตส์บอกว่า คุณไม่สามารถทำอะไรได้มากมายนัก หากคุณไม่สามารถรับมือกับสิ่งนั้นได้อย่างรวดเร็ว โรคระบาดคือปัญหาของโลก หากมีสักหนึ่งประเทศที่ไม่ได้ฝึกเพื่อรับมือในการตรวจพบโรคหรือควบคุมการระบาดของโรคได้ เมื่อนั้นปัญหาก็จะเกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ทั้งหมด ทีม GERM อาจจะต้องรับผิดชอบอย่างจริงจังกับบางประเทศที่มีศักยภาพจำกัดในการรับมือกับโรคระบาด

เกตส์พูดถึงทีม GERM ผ่านบทความของเขาที่เผยแพร่ใน GatesNotes เมื่อ 30 เมษายนที่ผ่านมาว่า เขานึกถึงภาพยนตร์เรื่อง Outbreak จะมีฉากที่ปรากฏภาพนักโรคระบาดวิทยาของรัฐบาล 3 ทีมมาที่หมู่บ้านอันห่างไกลด้วยเฮลิคอปเตอร์ เนื่องจากคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เสียชีวิตจากอาการที่เหมือนกับโรค Ebola ทั้งหมดสวมชุดปฏิบัติการบนดวงจันทร์ (เหมือนชุด PPE ในปัจจุบัน) พวกเขาเปรียบเสมือนฮีโร่ที่กำลังทำงานอย่างหนักเพื่อควบคุมภัยคุกคามก่อนที่มันจะระบาดออกมาทำร้ายคนอื่น เขาพูดถึงฉากที่ว่านี้เป็นเหมือนฉากที่ได้รับแรงบันดาลใจและตบท้ายด้วยว่ามันคือนิยายฉบับฮอลลีวูด

ในความเป็นจริงก็คือทีมปฏิบัติการที่ว่านี้ ไม่มีอยู่ในชีวิตจริงและเขาก็ได้แต่หวังว่ามันจะเกิดความเปลี่ยนแปลงโดยเร็ว เพราะมันเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราสามารถทำได้เพื่อป้องกันโรคระบาดครั้งถัดไป เขาบอกปัจจุบันนี้ก็มีองค์กรที่ทำงานอย่างหนักเพื่อรับมือกับโรคระบาดครั้งใหญ่ แต่กำลังของพวกเขาเหล่านี้ขึ้นอยู่กับทีมอาสาสมัคร ที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ GOARN หรือ Global Outbreak Alert and Response Network หรือเครือข่ายรับมือและเตือนภัยโรคระบาดโลก ที่ทำงานฮีโร่นี้แต่ไม่ได้มีพนักงานประจำ ไม่มีเงินทุน

เขาบอกว่าโลกจำเป็นต้องมีองค์กรผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ถาวร เป็นผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนเต็มที่และมีการเตรียมพร้อมที่จะร่วมงานเพื่อรับมือกับโรคระบาดที่เป็นภัยอันตรายที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จากนั้นเกตส์ก็พูดถึงหนังสือของเขาและระบุว่า เขาเรียกทีมนี้ว่า GERM (ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น)

ใครจะไปคิดว่าโลกเรา ไม่มีทีมผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลเรื่องโรคระบาดจริงจัง?

ในคลิปที่พูดถึงเรื่องทีม GERM นี้ เกตส์บอกเลยว่าเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่โลกไม่มีองค์กรระดับโลกที่จะมาทำงานอุทิศตนหรือทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการป้องกันโรคระบาด มีแต่ความพยายามแบบชั่วคราวหรือความพยายามแบบพาร์ทไทม์ที่ WHO จัดการประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพมากมาย แต่ไม่มีทีมที่จะมาทำเรื่องนี้อย่างเต็มกำลัง เขาบอกว่าเราจำเป็นที่จะต้องมีสร้างทีมนี้เพื่อทำงานเต็มรูปแบบ ทีมนี้จะต้องมอนิเตอร์เชิงรุกเกี่ยวกับภัยคุกคามด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้นทั่วโลก

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะต้องเห็นคลัสเตอร์โรคที่น่าสงสัย นักโรคระบาดวิทยาจะต้องมอนิเตอร์รายงานจากรัฐบาลแห่งชาติเพื่อที่จะสามารถระบุได้ว่ามันสามารถกลายเป็นโรคระบาดได้หรือไม่ จากนั้นก็ต้องรวมข้อมูลเข้าไว้ด้วยกันเพื่อที่จะประเมินสถานการณ์ ต่อมาผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จะต้องทำงานร่วมกันกับรัฐบาลและบริษัท เราจะต้องทำงานร่วมกันมากขึ้นในการวินิจฉัยโรค รักษาโรคและจัดหาวัคซีนป้องกันโรคที่จะสามารถขยายอัตราการผลิตให้ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆ

จากนั้นก็ต้องทำให้แน่ใจว่าแต่ละประเทศจะมีนโยบายในการจัดการตามแนวทางที่ถูกต้อง ทีมจะต้องมีการจัดการจำลองการจัดการโรคระบาดเป็นปกติ ทีม GERM จำเป็นต้องทดสอบระบบรับมือโรคระบาดของโลกและหาจุดอ่อนให้เจอ เราทำเช่นนี้ทั้งในสงคราม ในการจัดการไฟไหม้ ในการจัดการแผ่นดินไหว ตอนนี้ถึงเวลาแล้วที่เราต้องทำกับโรคระบาดด้วย เกตส์คิดว่าเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างทีม GERM เพื่อที่จะเตรียมพร้อมรับมือกับโรคระบาดให้ได้

นอกจากนี้เกตส์ยังพูดถึงบางมาตรการที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขทั่วโลกได้สนับสนุนให้เกิดขึ้นนับตั้งแต่โรคระบาดเริ่มเกิดขึ้น ซึ่งมีทั้งการยกระดับเทคโนโลยีเกี่ยวกับโรคระบาด ทั้งวัคซีนและวิทยาการเกี่ยวกับการรักษาโรค การสร้างระบบสาธารณสุขและการมอนิเตอร์โรคระบาดทั่วโลกได้ดีขึ้น

เกตส์ประเมินว่าทั้งโลกน่าจะมีต้นทุนในการดูแลเพื่อป้องกันโรคระบาดราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 3.4 หมื่นล้านบาทซึ่งก็ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่เล็กน้อยถ้าเทียบกับความสูญเสียจากโควิดระบาดที่เกิดขึ้นทั่วโลก เราสูญเสียกว่า 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 485 ล้านล้านบาทกับการระบาดของโควิดครั้งนี้ ซึ่งถ้าโควิดครั้งนี้ทำคนเสียชีวิต 20 ล้านคนทั่วโลก เฉพาะในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 1 ล้านคน อัตราการตายจะอยู่ที่ 0.2%

Bill Gates - Melinda
Bill Gates – Melinda

มีคนติดเชื้อโควิดมากกว่า 530.8 ล้านคนและมีผู้เสียชีวิตจากไวรัสรวม 6.3 ล้านคน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ประเมินไว้ว่า ยอดรวมผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดตั้งแต่ 1 มกราคม 2020 ถึง 31 ธันวาคม 2021 จะมีผู้เสียชีวิตจากโควิดระบาดโดยรวมอยู่ที่ 14.9 ล้าานคน ยอดรวมผู้เสียชีวิตมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้า

เกตส์ยังวิพากษ์การรับมือโรคระบาดของสหรัฐอเมริกาภายใต้รัฐบาลทรัมป์ว่า มีความล้มเหลวในการรับมือกับโรคระบาดในช่วงแรกเริ่ม โรคระบาดไม่ได้ถูกตรวจสอบในช่วงเริ่มต้น หลังจากนั้นมันก็ยากจะที่จะควบคุมเพราะยอดการติดเชื้อมันพุ่งแบบ exponential growth หรือเป็นการเติบโตแบบก้าวกระโดดที่ยากจะควบคุม

ที่มา – Insider, JHU.EDU, GatesNotes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post คำแนะนำจาก Bill Gates: โลกต้องการทีมและทุนกว่า 3 หมื่นล้านบาทต่อปีป้องกันโรคระบาด first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/bill-gates-guide-how-to-prevent-next-pandemic/

ล็อคดาวน์ลามถึงปักกิ่ง: จีนเร่งคุมโควิดเข้มข้น คนหลายล้านต่อคิวตรวจโรค

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปักกิ่งเริ่มต่อแถวตรวจหาโควิดจำนวน 3 ใน 4 ของประชากรในปักกิ่งที่มีอยู่ราวราว 22 ล้านคน ขณะเดียวกันผู้ที่พักอาศัยอยู่ในปักกิ่งต่างก็เริ่มตุนอาหารและของที่จำเป็นไว้แล้ว หากมีคำสั่งล็อคดาวน์กระทันหัน เหมือนกับที่จีนทำกับเซี่ยงไฮ้ที่มีผู้คนอาศัยอยู่ราว 25 ล้านคน

Beijing Lockdown

การประท้วงในจีนเกิดขึ้นอย่างเดือดดาลแบบที่ไม่เคยเกิดมาก่อนในประเทศจีนยุคใหม่ มีทั้งคลิปวิดีโอที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดียสะท้อนให้ผู้คนเห็นว่ามีการตีกระทะ ตีหม้อแสดงความไม่พอใจผ่านหน้าต่างที่พักอาศัย บ้างก็เปิดเพลง Do You Hear The People Sing? จากละครเพลงเรื่อง Les Miserables

ปักกิ่งพยายามเลี่ยงไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกัน แต่ก็ยังยึดนโยบาย Zero Covid โดยการเร่งตรวจโรคผู้คนจำนวนมากถึง 3.5 ล้านคนในเมืองที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นบริเวณเขตฉาวหยางของเมืองปักกิ่ง (Chaoyang) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา จากนั้นก็มีการตรวจเพิ่มเพื่อให้ครอบคลุมจำนวนประชากร ทั้งนี้ เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เซี่ยงไฮ้รายงานว่ามีคนเสียชีวิตเพิ่มจากโควิด 52 คน ทำให้มีคนเสียชีวิตรวม 190 คน

CNA สัมภาษณ์ Liu Wentao กุ๊กทำอาหารในปักกิ่งระบุว่า เขากังวลว่าโควิดมันแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วได้อย่างไร แต่ก็มั่นใจว่าเมืองหลวงอย่างปักกิ่งก็น่าจะรับมือได้ เขาบอกว่าการควบคุมไวรัสเข้มข้นกว่าที่อื่นๆ เขาไม่คิดว่าจะเป็นแบบเดียวกับเซี่ยงไฮ้ การตัดสินใจตรวจโรคผู้ที่อาศัยอยู่ในปักกิ่งราว 20 ล้านคน เกิดขึ้นหลังจากพบว่ามีคนติดเชื้อโควิดราว 10 คน ขณะที่เซี่ยงไฮ้นั้นใช้เวลายาวนานเป็นเดือน จนมีคนติดโควิดแล้วกว่า 1,000 คนจึงจะเริ่มมีการตรวจโรคได้ในช่วงต้นเดือนเมษายน

ปักกิ่งคือเมืองหลวง การควบคุมไวรัสจะต้องเข้มข้นกว่าพื้นที่อื่นๆ Liu ไม่คิดว่าจะซ้ำรอยเซี่ยงไฮ้ ที่เริ่มมีการตรวจเมื่อคนติดเชื้อถึงพันคนแล้ว

covid 19
Photo by Shengpengpeng Cai on Unsplash

สำหรับการเดินหน้าคุมโรคระบาดด้วยการเร่งตรวจโรคผู้คนอย่างมหาศาลนี้ ทั้งโรงเรียน ร้านค้าและสำนักงานยังคงเปิดดำเนินกิจการต่อ แต่สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอย่างวัดลามะในปักกิ่งนี้จะปิดทำการตั้งแต่วันพุธ ขณะที่โรงภาพยนตร์แห่งชาติก็จะปิดทำการเช่นกัน ด้านทางการจีนก็ขอให้ประชาชนพยายามไม่เดินทางออกจากเมืองหลวง หลีกเลี่ยงที่จะอยู่รวมตัวในช่วงวันหยุดแรงงานแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 4 พฤษภาคม

การตรวจแบบ PCR รอบที่สามกำลังดำเนินการอยู่ตั้งแต่วันอังคารถึงวันเสาร์บริเวณเขตตงเฉิง เขตซีเฉิง เขตไหเตียน เขตเฟิงไท่ เขตซื่อจิงชาน เขตฟางซาน เขตถงโจว เขตชุนอวี้ เขตฉางผิง เขตต้าซิง และพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีปักกิ่ง (BDA) ซึ่งก็มีหลายแห่งเช่นกัน

สำหรับในเซี่ยงไฮ้ มีมาตรการบังคับเข้มงวดต่อเนื่อง แต่การตรวจ PCR ก็ยังดำเนินไปอย่างล่าช้า ด้านเจ้าหน้าที่ระบุว่ามีการผ่อนคลายบ้างแล้ว แต่ก็ยังต้องจำกัดให้อยู่แต่ในที่พักอาศัย หรือไม่ให้ออกจากที่พัก ในบางพื้นที่ที่อนุญาตให้ออกไปนอกบ้านได้ สถานที่หลายแห่งก็ปิดดำเนินการ มีน้อยแห่งมากที่จะเปิด สำหรับผู้พักอาศัยที่ต้องการเดินทางออกจากบ้าน ก็จะถูกขอให้ตรวจโควิดแบบ rapid test ซึ่งการล็อคดาวน์ที่ยืดเยื้อี้ ทำให้ยิ่งสร้างความสับสนแก่ผู้คน สูญเสียรายได้ ครอบครัวต้องแยกออกจากกัน การเข้าถึงทางการแพทย์และอาหารก็ยากลำบาก

covid in China
Photo by cheng feng on Unsplash

CNA รายงานว่า คนที่ติดเชื้อรายใหม่มีทั้งมีอาการและไม่มีอาการ แต่ก็มีจำนวนลดลงต่อเนื่อง ขณะที่คนที่ติดเชื้อและอยู่ภายนอกพื้นที่กักกันโรคก็มีเพียงหลักร้อยเท่านั้น เมืองอื่นๆ ก็เคยถูกล็อคดาวน์และเริ่มลดข้อจำกัดบ้างแล้ว ขณะที่ RFA รายงานว่า การพยายามควบคุมโควิดในปักกิ่ง ทำให้มีคนเริ่มหนีออกมาเพราะเห็นตัวอย่างชีวิตที่ยากลำบากหลังล็อคดาวน์ที่เกิดขึ้นในเซี่ยงไฮ้

ภาพและวิดีโอในโซเชียลมีเดียสะท้อนให้เห็นภาพการจราจรที่ติดขัดและผู้คนพยายามลากกระเป๋าเกลื่อนท้องถนน มีคนบอกว่า ยังไงก็หนีออกมาไม่ได้เพราะเจ้าหน้าที่ควบคุมหนาแน่น บ้างก็มองว่า การล็อคดาวน์ในปักกิ่งนั้น เหล่าคนรวยต่างหนีออกจากเมืองโดยที่ไม่ต้องรอการตัดสินใจจากทางการ ขณะที่บางคนก็ตุนอาหารทันทีหลังรู้ว่ามีคนติดเชื้อโควิดในปักกิ่ง

คนที่อยู่ในปักกิ่งไม่ได้แค่พยายามหนีเพราะมีคนติดเชื้อโควิดและเกรงว่าจะมีชะตาชีวิตแบบเดียวกับผู้คนในเซี่ยงไฮ้เท่านั้น แต่ยังมีการสั่งแบนแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่ด้วย มีการแบนไม่ให้ส่งหรือชอปปิงให้รายบุคคล นั่นหมายความว่า ถ้ามีการล็อคดาวน์เข้มข้น อาหาร ยา และสิ่งของจำเป็นต้องถูกสกรีนจากรัฐเท่านั้นถึงจะเข้าถึงได้ นอกจากปักกิ่งก็ยังมีการล็อคดาวน์ในบางพื้นที่ให้ผู้คนเริ่มหวั่นใจ ล่าสุดก็มีการยกเลิกเที่ยวบินในกวางโจวนับร้อยและระดมตรวจโควิด 5.6 ล้านคน

ที่มา – CNA (1), (2), RFA

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ล็อคดาวน์ลามถึงปักกิ่ง: จีนเร่งคุมโควิดเข้มข้น คนหลายล้านต่อคิวตรวจโรค first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-lockdown-beijing-after-covid-case-surge/

สหรัฐอเมริกายกระดับไทย: เป็นประเทศเสี่ยงติดโควิดสูงสุด นิวซีแลนด์, ฮ่องกงก็โดนด้วย

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐอเมริกายกระดับเตือนภัยให้ไทย นิวซีแลนด์ ฮ่องกงเป็นประเทศที่เสี่ยงติดโควิดระดับสูงสุด ทั้งสามแห่งนี้เข้าไปอยู่ในกลุ่มประเทศที่เสี่ยงติดโควิดระดับ 4 ระดับความเสี่ยงสูงมาก ตอนนี้ประเทศที่อยู่ในระดับ 4 มีทั้งหมดรวม 135 ประเทศ

Thai-covid-very-high-level

การแบ่งระดับเตือนภัยของ CDC มีทั้งหมดห้าระดับด้วยกัน เริ่มที่ระดับ Unknow เป็นระดับแรก ส่วนระดับที่ 1 คือความเสี่ยงต่ำ ระดับที่ 2 คือความเสี่ยงกลางๆ ระดับที่ 3 คือความเสี่ยงสูงและระดับที่ 4 คือระดับที่มีความเสี่ยงสูงมาก

ระดับที่ 4 ระดับที่มีความเสี่ยงสูงมาก หมายความว่าอย่างไร?

หมายความว่า ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางมายังประเทศไทย ถ้าต้องการเดินทางมาไทยต้องแน่ใจว่าได้มีการฉีดวัคซีนแล้วเรียบ้อยและมีการรับวัคซีนตามคำแนะนำเรียบร้อยแล้ว ทั้งวัคซีนโควิด-19 และวัคซีนเข็มกระตุ้น หากว่ามีการฉีดวัคซีนตามที่ได้รับคำแนะนำแล้ว ก็จะยังมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิดหรือมีความเสี่ยงที่จะแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19

ควรสวมใส่หน้ากากเสมอทั้งพื้นที่ในอาคารและพื้นที่สาธารณะ ควรทำตามคำแนะนำเมื่ออยู่ในประเทศไทย การยกระดับคำเตือนสูงสุดให้เป็นระดับ 4 นี้หมายความว่า จุดหมายปลายทางเป็นพื้นที่ที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษ

CDC

ผู้ที่เดินทางออกจากสหรัฐอเมริกา จะต้องมั่นใจแล้วว่าปฏิบัติตามขั้นตอนตามที่สายการบินเรียกร้องทั้งหมด รวมทั้งสวมใส่หน้ากาก ฉีดวัคซีน ตรวจโรคหรือกักกันโรค นอกจากนี้ก็ให้ปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของประเทศที่ต้องการจะเดินทางไป หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกปฏิเสธที่จะเดินทางกลับเข้าสหรัฐอเมริกา

ไม่ควรเดินทาง หากมีอาการป่วยหรืออยู่ในระหว่างรอผลตรวจ หรือมีผลตรวจเป็นบวก

  • หากมีอาการป่วย แม้ว่าจะฟื้นตัวจากโควิดได้ภายใน 90 วัน หรือได้รับการฉีดวัคซีนตามคำแนะนำล่าสุดแล้วก็ตาม
  • หากมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก ไม่ควรเดินทางจนผ่านไปแล้ว 10 วันหลังจากที่เริ่มมีอาการหรือหลังจากพบผลตรวจเป็นบวกแม้ไม่มีอาการก็ตาม
  • หากกำลังอยู่ในระยะเวลาที่ต้องรอผลตรวจโควิด
  • หากได้ใกล้ชิดหรือสัมผัสผู้ที่ติดโควิด-19 และได้รับคำแนะนำว่าให้กักตัว ไม่ควรเดินทางจนกว่าจะผ่านไปแล้ว 5 วันหลังจากที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดโควิด-19 ทางที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงที่จะเดินทางหลังผ่านไปแล้ว 10 วัน
  • หากผลตรวจเป็นบวกขณะที่อยู่ปลายทาง ต้องกักตัวและเลื่อนระยะเวลาการเดินทางกลับ จนกว่าจะปลอดภัยจึงหยุดการกักตัวได้

ปัจจุบัน ระดับ 4 หรือระดับสูงสุดนี้มี 135 แห่งด้วยกัน ดังนี้

เทรนด์การท่องเที่ยวหลังโควิด-19: เที่ยวใกล้ๆ-เน้นสุขอนามัย-สนใจประกันภัยการเดินทาง

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับคำเตือนเพิ่มได้ที่นี่ CDC (1), (2), (3)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post สหรัฐอเมริกายกระดับไทย: เป็นประเทศเสี่ยงติดโควิดสูงสุด นิวซีแลนด์, ฮ่องกงก็โดนด้วย first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/america-cdc-travel-notices-thailand-covid-19-risk-level-4-very-high/

Bill Gates เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ พร้อมเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ทำอย่างไรไม่ให้มีโรคระบาดอีกต่อไป

เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา Bill Gates เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ เรื่อง How to Prevent the Next Pandemic โดย Gates เล่าเรื่องผ่านเว็บไซต์ GatesNotes ของเขา เขาบอกว่า โควิด-19 สามารถเป็นโรคระบาดครั้งสุดท้ายได้ เป็นไปได้ยังไง? ทำไมเขาถึงคิดเช่นนี้?

Bill Gates

เกตส์เล่าว่า ที่เขาบอกว่าโควิดน่าจะเป็นโรคระบาดครั้งสุดท้ายได้นั้น อาจจะเป็นเรื่องที่เชื่อได้ยาก เมื่อเรื่องที่เขาพูดอยู่นี้ เขาพูดขณะที่ทั้งโลกพยายามจะจัดการโควิดให้ได้อยู่

2 ปีที่ผ่านมากับความพยายามจัดการโรคระบาดโควิด ทำให้ยากที่จะเชื่อได้ มันไม่ง่ายเลยที่จะรู้สึกมองโลกในแง่ดีขณะที่ผู้คนจำนวนมากยังเจ็บปวดและประสบความยากลำบากจากโควิดอยู่ เขาบอกว่า เมื่อไรก็ตามที่เขาเห็นความทุกข์ยากที่เกิดจากโควิดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่เขาอ่านเรื่องราวหรือได้พบ ได้เห็น ได้ยืน การสูญเสียชีวิตหรือคนตกงานจากโควิด เขาไม่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ แต่เขาก็คิดว่า เราไม่ต้องทำอย่างนี้อีกแล้ว

เกตส์บอกว่า นี่คือบางสิ่งที่เขาครุ่นคิดมาเป็นระยะเวลายาวนานแล้ว และโควิดก็แค่ทำให้มันชัดเจนขึ้นว่าโลกจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการจัดการโรคระบาดว่ามันเป็นเหมือนภัยคุกคามมวลมนุษยชาติ เขาติดตามเรื่องโควิดมาตั้งแต่ช่วยที่มันระบาดใหม่ๆ เขาทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภายในและภายนอกมูลนิธิเกตส์ (Gates Foundation) ผู้ที่มีการรับมือกับโรคระบาดได้อย่างแม่นยำมานานนับสิบปีแล้ว

เขาได้เรียนรู้กระบวนการมากมายที่เกี่ยวกับโรคระบาดนี้และเราจะหาทางยุติโรคระบาดครั้งต่อไปได้อย่างไร และเขาก็อยากจะแบ่งปันเรื่องราวเหล่านี้ให้กับทุกคน ด้วยเหตุนี้เขาจึงเริ่มเขียนหนังสือถึงวิธีการที่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่า จะไม่มีใครเจ็บปวดจากโรคระบาดอีก หนังสือที่ว่าคือหนังสือที่ชื่อ How to Prevent the Next Pandemic หนังสือเล่มนี้จะเริ่มวางขายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2022 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Knopf ในสหรัฐอเมริกาและสำนักพิมพ์ Penguin Random House ทั่วโลก

หนังสือเล่มนี้ เขาได้วางโครงเรื่องที่ทำให้เราได้เห็นว่าเราจะสามารถยุติโรคระบาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ยังไงและยังสะท้อนให้เห็นว่าจะมีกระบวนการใดที่จัดการด้านสาธารณสุขให้ดีขึ้นสำหรับทุกคนทั่วโลกได้อย่างไร เราสามารถเรียนรู้อะไรบ้างจากโรคระบาดที่เกิดขึ้นนี้ นวัตกรรมที่มันจำเป็นจะช่วยรักษาชีวิตได้อย่างไรและเครื่องมือใหม่ที่เราจำเป็นต้องใช้เพื่อให้มันยุติโรคได้ตั้งแต่เริ่มแรก

เขายังได้พูดคุยกับผู้นำด้านสาธารณสุข ทั้ง Anthony Fauci (ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโรคระบาดของสหรัฐอเมริกา, ผู้อำนวยการสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติ) และ Tedros Adhanom Ghebreyesus (ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก) พูดถึงเรื่องวัคซีน สิ่งที่ต้องหยุดทำและสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงและสิ่งที่ทำให้กลายเป็นทฤษฎีสมคบคิด

เป้าหมายเรื่องที่จะทำให้ไม่มีโรคระบาดอีกต่อไปเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก แต่กระบวนการที่เราทำกันมาเกี่ยวกับการจัดการโควิดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานั้น รวมทั้งการผลิตวัคซีนที่ถือเป็นก้าวกระโดดครั้งใหญ่และความรู้ที่เราได้รับเกี่ยวอาการป่วยหนักจากระบบหายใจนั้นเมื่อประกอบรวมกันแล้วมันสามารถทำให้เราทำตามเป้าได้สำเร็จได้ ตอนนี้โลกเข้าใจแล้วว่าเราควรรับมือกับโรคระบาดอย่างไร หากเราเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องและลงทุนในสิ่งที่เหมาะสม เราก็จะสามารถทำให้โควิด-19 กลายเป็นโรคระบาดครั้งสุดท้ายได้

ที่มา – GatesNotes

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Bill Gates เปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ พร้อมเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ ทำอย่างไรไม่ให้มีโรคระบาดอีกต่อไป first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/bill-gates-launch-new-book-how-to-prevent-the-next-pandemic/

หมูแพงเพราะรัฐไม่เร่งแก้โรคระบาดตั้งแต่เริ่ม ทำเกษตรกรไปไม่รอด 80-90%

หลังจากที่เกษตรกรเลี้ยงหมูได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเหตุโรคอหิวาต์แอฟริการะบาด (African Swine Fever: ASF) ทำให้เกษตรกรเลี้ยงหมูล้มหายตายจากไปกว่า 80-90% ทางสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) จึงเสนอทางเลือกให้ชุมชนหันมาสร้างทักษะเลี้ยงหมูหลุม คือการเลี้ยงหมูแบบเดิมที่ผู้เลี้ยงไม่อยากให้หมูวิ่งเพ่นพ่าน พื้นที่เลี้ยงน้อยจึงขุดหลุมลึกประมาณ 1.5-2 เมตรเพื่อเป็นคอกสำหรับเลี้ยงหมู โดยมีวัสดุรองพื้นหลุมและอาหารหมูเป็นสิ่งที่หาได้ตามท้องที่นั้นๆ

pork price surge
Photo by Kenneth Schipper Vera on Unsplash

จากกรณีโรคระบาดหมูจนเกิดวิกฤตราคาหมูสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้เจ๊จง จงใจ กิจแสวง เจ้าของร้านหมูทอดเจ๊จงแสดงความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ระบุว่า อยากให้ภาครัฐตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชน และอยากให้ลงพื้นที่เพื่อสัมผัสปัญหาด้วยตนเอง อย่าเพียงแค่ฟังจากรายงาน ภาครัฐเข้ามาแก้ไขปัญหาล่าช้า อยากให้ภาครัฐยื่นมือเข้ามาช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

จะนำเข้าหมูต้องรอบคอบ ไทยเจอปัญหาหนักเพราะจัดการปัญหาโรคระบาดไม่ชัดเจน

ด้านวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) ระบุว่า ราคาหมูในไทยแพงอันดับต้นๆ ของโลก ราคาหมูมีชีวิตที่จำหน่ายหน้าฟาร์มจากประกาศของสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติอยู่ที่ 110 บาทต่อกิโลกรัม เป็นราคาที่สูงกว่าทวีปอเมริกาใต้ที่ราคาหมูน้อยกว่าไทยถึง 3 เท่าตัว หรือในยุโรปที่มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ 40-50 บาทต่อกิโลกรัม ในแถบเอเชีย ไทยก็มีราคาแพงที่สุด มากกว่าจีนและเวียดนามที่มีราคาอยู่ที่ประมาณ 80 บาทและ 60 บาทตามลำดับ รัฐบาลประเมินมูลค่าความเสียหายต่อภาคการผลิตจากวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้อยู่ที่ประมาณกว่า 100,000 ล้านบาท

วิฑูรย์ระบุว่า จากการศึกษาข้อมูลของจีนพบว่า การเกิดโรคระบาดตั้งแต่ปลายปี 2560 หมูได้หายไปจากตลาดชัดขึ้นจนส่งผลให้เกิดการปรับราคาหมูสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 18 เดือน จีนแก้ปัญหาการขาดแคลนหมูด้วยการสั่งนำเข้าเนื้อหมูจากออสเตรเลีย ยุโรปและอเมริกาเหนือ จนสามารถทำให้ตลาดกลับสู่ภาวะสมดุลได้

ผลกระทบของไทยรุนแรงกว่าในจีนเพราะความไม่ชัดเจนในการประกาศเรื่องการระบาดของโรค และการเร่งระดมส่งออกหมูไปจำหน่ายต่างประเทศมากถึง 2.7 ล้านตัวแบบไม่เคยปรากฎมาก่อน จากปกติส่งออกเพียง 500,000-700,000 ตัวเท่านั้น หากไทยต้องการแก้ปัญหาด้วยการส่งนำเข้าหมูจากต่างประเทศก็ต้องพิจารณาให้รอบคอบอาจส่งผลเสียต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงหมูทั้งรายใหญ่และรายย่อยได้ การห้ามนำเข้าเนื้อหมูที่ใช้สารเร่งเนื้อแดงก็เป็นอีกปัจจัยที่ต้องพึงระวัง เพราะหากยกเลิกมาตรฐานดังกล่าว กำแพงด้านสุขภาพของผู้บริโภคชาวไทยก็จะถูกทำลายลงด้วย

pig หมู
Photo by Lucia Macedo on Unsplash

ต้องแก้ปัญหาโรคระบาดพร้อมปัญหาทางการเงิน ปริมาณหมูจะได้ไม่ไหลไปสู่ผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่เท่านั้น

ด้าน ดร.เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต ระบุว่า หากดูสัญญาณจากประเทศเพื่อนบ้าน จะพบว่าการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกามาตั้งแต่ปี 2562 ในหลายประเทศแถบเอเชีย แต่สำหรับไทยกลายเป็นช่วงเวลาที่สามารถส่งออกหมูไปจำหน่ายในต่างประเทศได้มากขึ้นเนื่องจากปัญหาขาดแคลนหมูจากโรคระบาด มูลค่าส่งออกหมูสูงถึง 10,000 ล้านบาทจากปกติจะอยู่ประมาณ 100 ล้านบาท ไทยเริ่มพบยอดส่งออกลดลงในช่วงเดือนกรกฎาคมปีที่ผ่านมา จนกระทั่งธันวาคม ปี 2564 ก็เกิดภาวะเอาไม่อยู่ ราคาหมูเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอย่างที่เราเห็น เพราะปริมาณหมูในตลาดหายไปประมาณ 20-30% หรือประมาณ 5-6 ล้านตัว

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้หายไปเฉพาะหมู แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูรายกลางและรายย่อยก็หายไปด้วย เนื่องจากต้องแบกรับหนี้สินจากปัญหาดังกล่าว ที่จะกลับมาได้ก็ต้องพึ่งพาระบบการเงินซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะ การแก้ปัญหาต้องแก้ทั้งโรคและการเงินด้วย ถ้าผู้เลี้ยงหมูรายย่อยและรายกลางไม่กลับมา ปริมาณหมูจะไหลไปสู่กลุ่มผู้เลี้ยงหมูรายใหญ่ของประเทศเท่านั้น ราคาหมูที่พุ่งสูงในช่วงกลางธันวาคมเกิดจากการเก็บสต็อกเนื้อหมูไว้จำนวนหน่งและปล่อยออกมาเมื่อสินค้าขาดตลาด จึงเป็นสาเหตุหมูราคาแพงขึ้นมาก รัฐต้องเร่งชี้แจง สร้างความเข้าใจ

ด้านวิเชียร เจษฎากานต์ ประธานเครือข่ายนักธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม SVN ระบุว่า การระบาดส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู 80-90% ไปไม่รอด การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในหมูมีตั้งแต่ปี 2562 ในจังหวัดราชบุรี ต้องสูญเสียมากกว่า 2 ล้านตัว แต่ภาครัฐไม่ได้กำหนดยุทธศาสตร์ใดๆ ในการแก้ไขปัญหาออกมาอย่างชัดเจน ไม่ได้ให้คำแนะนำในการกำจัดหมูติดเชื้อแก่เกษตรกร ไม่มีการชดเชยค่าเสียหายแก่เกษตรกรส่งผลให้เกษตรกรต้องเร่งขายหมูที่คาดว่าจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อออกไปให้เร็วที่สุดเพื่อลดการสูญเสีย ทำให้การกระจายของโรครุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการส่งไปชำแหละในโรงฆ่าเถื่อนที่ไม่ได้รับอนุญาต รัฐควรเร่งเข้ามาจัดการโดยเร็วที่สุด

เนื้อหมู pork
Photo by KWON JUNHO on Unsplash

ด้านสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ระบุว่า สอบ. พยายามจะทำให้ราคาหมูเป็นธรรมที่สุดสำหรับผู้บริโภค ปัญหาการขาดแคลนเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาหมูแพง ดูเหมือนรัฐบาลจะจัดการปัญหาดังกล่าวไม่ได้ นอกจากการแก้ปัยหาระยะสั้นด้วยการนำเข้าหมู ก็ต้องไม่สนับสนุนเงื่อนไขที่ไม่ใช้สารเร่งเนื้อแดง การลดปริมาณลงของเกษตรกรเลี้ยงหมู อาจเกิดความไม่มั่นคงทางอาหารในอนาคต ทาง สอบ. เสนอให้ส่งเสริมเกษตรกรเลี้ยงหมูหลุมในพื้นที่ที่ไม่เกิดการระบาด อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่เป็นทางออกช่วยบรรเทาปัญหา

ด้านวิเชียร เจษฎากานต์แนะนำว่า การเลี้ยงหมูในคอกดินหรือหมูหลุม ช่วยลดการใช้ยากปฏิชีวนะได้มากเพราะเลี้ยงในสภาพแวดล้อมไม่แออัดและได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากเกษตรกร สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้หากการผลิตหลักตกไปอยู่กับบริษัทใหญ่ๆ ไม่กี่บริษัท การปล่อยให้มีการเลี้ยงหมูในฟาร์มขนาดใหญ่จำนวนมาก ทำให้รายย่อยไม่สามารถดำเนินการได้ ทำให้ความหลากหลายในการผลิตอาหารของไทยอ่อนแอลง ต้องทำให้เกษตรกรรายย่อยมีโอกาสในการผลิตอาหารป้อนสู่ตลาดได้ ทำอย่างไรให้เกิดกลไกการผลิตที่เอื้อตั้งแต่รายใหญ่ถึงรายย่อยในลักษณะส่งเสริมกันทั้งความรู้และเงินทุนให้กลไกแข็งแกร่ง

ที่มา – สภาองค์กรของผู้บริโภค

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post หมูแพงเพราะรัฐไม่เร่งแก้โรคระบาดตั้งแต่เริ่ม ทำเกษตรกรไปไม่รอด 80-90% first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/pork-price-surge-cause-of-failure-management-of-government/

ยุคโรคระบาดที่มีแต่คนป่วยและสินค้าราคาแพง กองทัพเตรียมซื้อเครื่องบินรบ 4 ลำ

Nikkei Asia รายงาน คณะรัฐมนตรีมีมติเตรียมซื้อเครื่องบินรบ 4 ลำ งบประมาณรวม 1.38 หมื่นล้านบาท (413.67 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยพลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ เปิดเผยว่า ตั้งใจจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 จำนวน 8 ลำจากบริษัท Lockheed Martin สหรัฐอเมริกา โดยพลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี โฆษกกองทัพอากาศระบุว่า คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้งบประมาณเป็นระยะเวลา 4 ปีเริ่มในปี 2023 เพื่อใช้แทนเครื่องบินขับไล่ F-16 รุ่นเก่า  

Thai Air Force will purchase fighter jets

ปัจจุบัน ไทยมีเครื่องบินขับไล่กริพเพน หรือ JAS-39 Gripen ที่ผลิตโดยบริษัท Saab สัญชาติสวีเดนอยู่ 12 ลำ มีเครื่องบินขับไล่ F-16 และเครื่องบินขับไล่ F-5 บางลำนำมาใช้งานตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยพลอากาศเอกนภาเดชสนใจที่จะซื้อเครื่องบินขับไล่ F-35 รุ่นที่ 5 เนื่องจากเห็นว่าราคาของเครื่องบินนี้ลดลงต่อเนื่อง เครื่องบินขับไล่ F-35A ราคาอยู่ที่ 221 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วงปี 2007 หลังจากนั้นเมื่อเริ่มพัฒนาความรู้ในการผลิตมากขึ้น ราคาเครื่องบินก็ลดลงมาอยู่ที่ 79 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 2.6 พันล้านบาทในช่วงกรกฎาคมปีที่ผ่านมา มีหลายสิบประเทศที่ให้ความสนใจเช่นกัน 

เรื่องนี้ พลอากาศตรี ประภาส สอนใจดี ระบุเมื่ออังคารที่ 11 มกราคมที่ผ่านมาว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาโครงการที่ใช้งบประมาณเกิน 1,000 ล้านบาทของกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย ครม. มีมติเห็นชอบให้โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่โจมตีทดแทนกองทัพอากาศนี้ได้อยู่ในคำของบประมาณปี 2023 ของกระทรวงกลาโหต่อไป หากผ่านขั้นตอนและกระบวนการเพื่อให้รายการนี้ได้บรรจุอยู่ในร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2023 ที่จะต้องนำเสนอสู่สภาผู้แทนราษฎรแล้ว กองทัพอากาศก็จะได้เตรียมการชี้แจงต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป 

ระหว่างนี้กองทัพอากาศได้ดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการศึกษารวบรวมข้อมูลและจัดทำความต้องการของโครงการ โดยมี พลอากาศเอก ธนศักดิ์ เมตะนันท์ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธาน เพื่อให้พิจารณาความเหมาะสมในรายละเอียดในทุกด้านให้รอบคอบ รวมทั้งข้อมูลทางเทคนิคให้สอดคล้องกับสภาพงบประมาณที่กองทัพได้รับจัดสรรให้มากที่สุด ก่อนการนำเสนอตามกระบวนการของบประมาณ 

กองทัพอากาศเตรียมซื้อเครื่องบินขับไล่

โดยขอยืนยันว่าการเตรียมการเสนอโครงการซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาศึกษารวบรวมข้อมูลอย่างถี่ถ้วนทั้งหมดนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติ ความมั่นคงและอธิปไตยของชาติเป็นสำคัญ การจัดหาเครื่องบินสมรรถนะสูงทดแทน ต้องใช้เวลาในกระบวนการตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงมีความพร้อมสามารถปฏิบัติภารกิจตามแผนป้องกันประเทศได้ ต้องใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 10-12 ปีและจะอยู่ประจำการในกองทัพต่อไปอีกประมาณ 40 ปี 

ที่มา – Nikkei Asia, กองทัพอากาศ 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ยุคโรคระบาดที่มีแต่คนป่วยและสินค้าราคาแพง กองทัพเตรียมซื้อเครื่องบินรบ 4 ลำ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/royal-thai-air-force-will-purchase-four-fighter-jets-13-billion-baht/

Pfizer ที่สหรัฐบริจาคถึงไทยแล้ว 1.5 ล้านโดส พร้อมเปิดแผนบริหารจัดการวัคซีน

สหรัฐอเมริกาบริจาควัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer จำนวน 1,503,450 โดสให้ไทย วัคซีน Pfizer มาถึงไทยแล้วเช้านี้ สหรัฐฯ จะบริจาควัคซีนให้ไทยรวมทั้งหมด 2.5 ล้านโดส โดยจะเพิ่มเติมอีก 1 ล้านโดสหลังจากนี้

รัฐบาลสหรัฐฯ ระบุข้อว่า ยืนยันเคียงข้างไทย หุ้นส่วนของเรา ในการต่อสู้กับโรคโควิด-19 และเริ่มกระบวนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือนี้สะท้อนคำมั่นของประธานาธิบดีที่จะมอบวัควีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพให้ประเทศต่างๆ ที่ขาดแคลน รัฐบาลสหรัฐภายใต้การบริหารของประธานาธิบดี จะแบ่งวัคซีนจำนวน 80 ล้านโดสเพื่อช่วยยุติโรคระบาด การส่งมอบวัคซีน Pfizer นี้แสดงถึงความสำคัญที่สหรัฐฯ ให้ความร่วมมือกับไทย

ในแผนการบริจาควัคซีน 80 ล้านโดสของประธานาธิบดีไบเดนนั้น สหรัฐฯ จะมอบวัคซีน 23 ล้านโดสให้ประเทศต่างๆ ในเอเชีย เพื่อช่วยให้ภูมิภาคนี้รวมทั้งไทยปลอดภัย การบริจาควัคซีนช่วยเหลือนอกเหนือจากความช่วยเหลือผ่านโครงการโคแวกซ์ซึ่งเป็นดครงการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ให้นานาประเทศอย่างเท่าเทียมนั้น สหรัฐฯ ระบุว่า การบริจาควัคซีนให้ไทยจำนวน 1.5 ล้านโดสนี้เป็นการช่วยเหลือแบบให้เปล่า ไม่มีเงื่อนไข

ภาพจากสถานทูตสหรัฐประจำประเทศไทย

วัคซีน Pfizer-BioNTech นี้ Pfizer เป็นบริษัทยาของสหรัฐฯ และ BioNTech SE เป็นบริษัทไบโอเทคโนโลยีของเยอรมนีที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น เป็นวัคซีนตัวแรกที่ได้รับอนุญาตทะเบียนแบบฉุกเฉินจากองค์การอนามัยโลกและข้อมูลขององค์การอาหารและยาสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า วัคซีนนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดได้ 95% กว่า 60 ปีแล้วที่สหรัฐฯ และไทยผนึกกำลังรับมือปัญหาสำคัญที่ส่งผลต่อสาธารณสุข

ปัจจุบัน สหรัฐให้ความช่วยเหลือไทยในการป้องกันโควิด มีทั้งเรื่องส่งเสริมไทยเตรียมความพร้อมระบบห้องปฏิบัติการ ดำเนินการค้นหาผู้ป่วยและเฝ้าระวังเหตุการณ์สำหรับอาการป่วย สนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการเพื่อตอบสนองและเตรียมพร้อมต่อการระบาด เสริมสร้างการสื่อสารป้องกันความเสี่ยง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในสถานพยาบาล ตลอดจนช่วยเหลือผู้พลัดถิ่นตามชายแดน รวมถึง มอบเครื่องช่วยหายใจ หน้ากากกรองอากาศ ชุดตรวจหาการติดเชื้อ หน้ากากอนามัย แว่นตานิรภัยและอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาลและอาสาสมัครสาธารณสุขชาวไทยในการควบคุมการระบาด

สหรัฐฯ เป็นผู้สนับสนุนรายใหญ่ที่สุดขององค์การอนามัยโลก (WHO) มาตั้งแต่ปี 1948 ความมั่นคงด้านสุขภาพทั่วโลกขึ้นอยู่กับระบบสาธารณสุขที่ยืดหยุ่นพร้อมฟื้นตัว โปร่งใสและตอบสนองต่อสถานการณ์ได้ดี สหรัฐฯ มุ่งจะเป็นผู้นำในการตอบโต้การระบาดของโควิด-19 และเป็นผู้บริจาครายใหญ่ที่สุดในโครงการสนับสนุนด้านการเงิน COVAX Advance Market Commitment เพื่อการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 อย่างเท่าเทียม

อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุขพร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเดินทางมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพื่อเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในการรับมอบวัคซีน Pfizer จำนวน 1.54 ล้านโดสที่สหรัฐอเมริกามอบให้ประเทศไทย โดยการขนส่งวัคซีน Pfizer มาถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเวลา 04.30 น. ด้วยสายการบิน AeroLogic เที่ยวบิน 3S530 หลังจากนี้จะต้องเก็บภายใต้อุณหภูมิ -70 ถึง -90 องศาเซลเซียสเพื่อคงประสิทธิภาพของวัคซีน และดำเนินการตามขั้นตอนก่อนกระจายไปตามแผนที่วางไว้ต่อไป

แผนบริหารจัดการวัคซีน Pfizer ล็อตแรก 1.54 ล้านโดส

  1. บุคลากรทางการแพทย์ที่ปฏิบัติภารกิจดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ (เข็ม 3 กระตุ้นภูมิคุ้มกัน) 700,000 โดส
  2. ผู้มีภาวะเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด -19 ที่มีสัญชาติไทย 645,000 โดส
  3. ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไป ชาวต่างชาติที่อาศัยในไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ 12 สัปดาห์ขึ้นไปและผู้เดินทางไปต่างประเทศที่จำเป็นต้องรับวัคซีน Pfizer เช่น นักการทูต นักศึกษา 150,000 โดส
  4. ทำการศึกษาวิจัย (ได้รับการอนุมัติโดยคณะกรรมการวิจัยจริยธรรม) จำนวน 5,000 โดส
  5. สำรองส่วนกลางสำหรับตอบโต้การระบาดของเชื้อกลายพันธุ์ จำนวน 40,000 โดส

ที่มา – สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย, รัฐบาลไทย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Pfizer ที่สหรัฐบริจาคถึงไทยแล้ว 1.5 ล้านโดส พร้อมเปิดแผนบริหารจัดการวัคซีน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/united-states-donated-pfizer-1-5-million-doses-for-thailand/

Bloomberg จัดอันดับไทย: เดือนกรกฎาคม 64 จัดการโควิดแย่กว่าที่เคยประเมินไว้

ก่อนหน้านี้ Bloomberg ก็จัดอันดับการรับมือโควิดจาก 53 ประเทศถึงความสามารถในการฟื้นฟูประเทศเพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยแบ่งเป็นคะแนนเป็นสามส่วนหลัก คือความสามารถในการกลับมาเปิดประเทศ สถานการณ์โควิด คุณภาพของชีวิต ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ก็จะมีแยกย่อยออกไปอีก

หลังการจัดเก็บข้อมูลและใช้คะแนนวัดผลของ Bloomberg เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา พบว่า 3 อันดับแรกคือสหรัฐอเมริกา, นิวซีแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์จาก 53 ประเทศ แต่เดือนกรกฎาคมนี้ระดับคะแนนเปลี่ยนแปลงเป็น อันดับ 1 นอร์เวย์ (ขึ้นมาจากเดิม 10 อันดับ) อันดับ 2 สวิตเซอร์แลนด์ (ขึ้นมาจากเดิม 1 อันดับ) และอันดับ 3 นิวซีแลนด์ (ลดลงจากเดิม 1 อันดับ ส่วนสหรัฐอเมริกาตกไปอยู่อันดับที่ 5 (ลดลงไป 4 อันดับ จากอันดับที่ 1)

การจัดอันดับความยืดหยุ่นของแต่ละประเทศในการรับมือโควิดนั้นจะทำเป็นประจำทุกเดือนเพื่อสำรวจสถานการณ์รับมือโควิด-19 ของแต่ละประเทศ ที่ส่งผลอย่างมากต่อสังคมและเศรษฐกิจภายในประเทศ ซึ่งก็พบว่ามีความผันผวนในหลายประเทศ มีทั้งอันดับที่เลื่อนขึ้นมาดีขึ้นและเลื่อนอันดับไปในระดับที่แย่ลง ยกตัวอย่างอันดับที่แย่ลงอย่างมากเช่น อังกฤษในเดือนกรกฎาคมอยู่ที่อันดับ 25 (ลดลง 16 อันดับจากเดือนมิถุนายน) อิสราเอลอันดับที่ 17 (ลดลง 13 อันดับ) สเปนอันดับที่ 20 (ลดลง 14 อันดับ) นี่คือตัวอย่างคร่าวๆ ของการตกอันดับในหลายประเทศ

ข้อมูลนี้ก็ไม่ได้มีแค่ประเทศที่มีการจัดการโควิดแย่ลงเท่านั้น ยังมีหลายประเทศที่จัดการโควิดดีขึ้น เช่น เนเธอร์แลนด์ได้คะแนนอันดับที่ 14 (เพิ่มขึ้น 8 อันดับ) ไอร์แลนด์อยู่อันดับที่ 8 (เพิ่มขึ้น 19 อันดับ) เยอรมนีอันดับที่ 12 (เพิ่มขึ้น 16 อันดับ) ออสเตรียอันดับที่ 6 (เพิ่มขึ้น 19 อันดับ) เป็นต้น

ไทยตกจากอันดับที่ 39 เป็นอันดับที่ 41

มาดูไทยบ้าง ไทยอยู่อันดับที่ 39 ในเดือนมิถุนายน ตกมาอยู่ที่อันดับ 41 ในเดือนกรกฎาคม ถือว่าลดลงมา 2 อันดับ โดยมีคะแนนดังนี้

Bloomberg Resilience Score: Reopening Progress

  • คะแนนความยืดหยุ่นที่ Bloomberg จัดอันดับให้อยู่ที่ 52.6 คะแนนถือว่าเป็นอันดับคะแนนที่แย่ลง
  • อัตราส่วนประชาชนที่ฉีดวัคซีนแล้วครอบคลุม 11.5% (ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการวัคซีน) ผลที่ได้: แย่ลง
  • มีการล็อคดาวน์ที่แย่ลง 56 (สะท้อนให้เห็นว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้รับผลกระทบจากการใช้นโยบายจำกัดของรัฐบาลมากเพียงใด ชีวิตของประชาชนถูกดิสรัปจากสิ่งนี้มากเพียงใด) ผลที่ได้: ดีขึ้น
  • มีศักยภาพในการบิน -86.3% (อัตรากรเปลี่ยนแปลงของศักยภาพเที่ยวบินในประเทศในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2019) ผลที่ได้: แย่ลงอย่างมาก
  • 196.5 (คะแนนที่มาจากจำนวนเส้นทางการเดินทางที่เปิดให้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศนั้นมีการเดินทางจากนักท่องเที่ยวที่ได้รับวัคซีนเพียงใด ซึ่งเกี่ยวข้องกับเที่ยวบินไป-กลับ การตั้งข้อกำหนดให้มีการกักกันโรคด้วย) ผลที่ได้: แย่ลง

สถานการณ์โควิด-19 ในไทย

  • ไทยได้รับคะแนนอยู่ที่ 52.6 คะแนน
  • คนติดเชื้อต่อ 384 คนต่อ 100,000 คนใน 1 เดือน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • 0.9% คืออัตราการตายจากการติดเชื้อภายใน 3 เดือน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • จำนวนคนเสียชีวิต 59 คนต่อ 1 ล้านคน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • ผลตรวจเป็นบวกคิดเป็นอัตรา 3.6% (มีทิศทางที่ดีขึ้น)

คุณภาพชีวิตของประชาชน

  • การเคลื่อนย้ายของคน เช่นการเคลื่อนย้ายของคนไปออฟฟิศ ไปห้างค้าปลีกเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ระบาด ไทยได้คะแนน -15.9% (แย่ลง)
  • คาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปี 2021 ไทยได้คะแนน 2.1% (แย่ลง)
  • ระบบสาธารณสุขที่สะท้อนประสิทธิภาพในการรับมือโรคระบาด ทั้งมาตรการป้องกัน เช่น การรับวัคซีนในวัยเด็ก ไปจนถึงการดูแลผู้ป่วยหนัก เช่น โรคมะเร็ง ไทยได้ 72 คะแนน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)
  • ดัชนีการพัฒนามนุษย์ ซึ่งเป็นตัววัดความสุขหรือความกินดีอยู่ดีของประชากรที่วัดจากมาตรการ 3 ข้อสำคัญคือ อายุขัย การเข้าถึงการศึกษา และรายได้ต่อหัว ไทยได้ 0.78 คะแนน (มีทิศทางที่ดีขึ้น)

[Quality of Life]

จากการจัดอันดับทั้งหมด 53 ประเทศ พบว่า สำหรับไทยพบว่าถูกจัดอันดับประเทศที่มีความยืดหยุ่นในการฟื้นตัวได้แย่ลง อัตราการฉีดวัคซีนแย่ลง มีการล็อคดาวน์ที่มีสภาพดีขึ้นกว่าเดือนมิถุนายน มีศักยภาพการบินแย่ลง มีการกำหนดเส้นทางการบินสำหรับประเทศที่เป็นขาเข้าประเทศและขาออกประเทศที่ได้รับวัคซีนที่แย่ลง

ส่วนสถานการณ์โควิดทั้งการติดเชื้อต่อ 100,000 คนมีอัตราที่ดีขึ้น อัตราการตายภายใน 3 เดือน จำนวนคนเสียชีวิต 59 ต่อ 1 ล้านคน และผลตรวจเป็นบวก มีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าเดือนมิถุนายน ขณะเดียวกันคุรภาพชีวิตของคนแย่ลง ทั้งเรื่องการเคลื่อนย้ายของคนในสังคมหมายถึงการเดินทาง การเติบโตทางเศรษฐกิจก็แย่ลง ส่วนมาตรการป้องกันโรคระบาดและการพัฒนามนุษย์อยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น (ข้อมูลอัพเดตในวันที่ 27 กรกฎาคม)

จากทั้ง 53 ประเทศนี้พบว่า อินโดนีเซียเป็นประเทศที่น่าเป็นห่วงที่สุดเพราะอยู่ในอันดับที่ 53 มีคนเสียชีวิตรายวันมากกว่า 1,300 คนต่อวันและขาดแคลนทรัพยากร เหมือนกับประเทศฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ มาเลเซียที่อยู่อันดับต่ำเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพราะขาดความสามารถในการเข้าถึงวัคซีนด้วยส่วนหนึ่ง

ที่มา – Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Bloomberg จัดอันดับไทย: เดือนกรกฎาคม 64 จัดการโควิดแย่กว่าที่เคยประเมินไว้ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/bloomberg-covid-resilience-ranking-score-of-thailand-in-july-2021/

จีนปฏิเสธคำขอองค์การอนามัยโลก ไม่ให้สืบสาวที่มาโควิดระบาดรอบสอง

หลังจากที่ WHO หรือองค์การอนามัยโลกเคยลงพื้นที่ตรวจที่มาของการระบาดของโควิด-19 ในอู่ฮั่น จีนมาแล้วในช่วงมกราคม ปี 2021 ที่ผ่านมา (โควิดระบาดตั้งแต่ปลายปี 2019 ในอู่ฮั่น จีน หลังโควิดระบาดไปแล้วปีเศษ WHO เพิ่งจะได้ลงพื้นที่) ล่าสุด WHO ขอลงพื้นที่จีนอีกรอบ โดยระบุว่าเป็นไปตามแผนสำรวจที่มาของโควิดระบาดระยะสอง

แน่นอนว่าครั้งนี้ จีนไม่ยินยอมให้ลงพื้นที่เช่นเดิม ก่อนหน้านี้กว่าจะลงพื้นที่ได้ WHO ต้องยื่นเรื่องหลายต่อหลายครั้ง มีอุปสรรคอย่างมากกว่าจะได้ลงพื้นที่ ครั้งนี้ก็เช่นเดิม เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 ที่ผ่านมาทางการจีนออกมาปฏิเสธ WHO หลังยื่นแผนการศึกษาเพื่อสอบสวนแหล่งที่มาของโควิดระบาดเฟส 2 ซึ่งทฤษฎีที่ว่าไวรัสหลุดออกมาจากห้องแล็บอู่ฮั่นนั้น จีนระบุว่านี่เป็นความอคติทางการเมือง จีนยืนกรานว่าได้ให้ความร่วมมือกับ WHO อย่างเต็มที่แล้ว หลังจากที่มีกระแสข่าวแล็บอู่ฮั่นเมื่อต้นปีที่ผ่านมาและยังมีรายงานร่วมกันที่เปิดเผยเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งก็ยังไม่พบว่าไวรัสมาจากสัตว์ชนิดใดและแพร่พันธุ์สู่คนได้อย่างไร

ถึงที่สุดแล้วเมื่อ WHO ยื่นเรื่องตรวจสอบแหล่งที่มาโควิดระบาดเฟสสอง จีนก็ไม่ยอมรับเรื่องและยังมองว่าเรื่องนี้ถูกครอบงำด้วยการเมืองและไม่เคารพต่อข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เรื่องนี้ Zeng Yixin รองหัวหน้าคณะกรรมาธิการสาธารณสุขแห่งชาติจีน ระบุว่า เราหวังว่า WHO จะพิจารณาคำแนะนำจากนักวิทยาศาสตร์จีนอย่างใส่ใจ เกี่ยวกับประเด็นที่มาของโควิด-19 ที่ต้องเป็นคำถามที่อิสระจากการแทรกแซงทางการเมือง

รายงานร่วมของทั้งสองฝ่ายผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกตั้งข้อสงสัยว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่ไวรัสจะถูกปล่อยออกจากสถาบันไวรัสวิทยาอู่ฮั่น ซึ่งก็เป็นสถานที่พัฒนาวัคซีนด้านไวรัสด้วย ก่อนหน้านี้ประธานาธิบดี Biden ก็ออกมาเปิดเผยว่าจะตรวจสอบแหล่งที่มาของโควิด-19 ที่สหรัฐฯ เองก็มองว่ามีความเป็นไปได้ทั้งสองทาง คือไวรัสอาจแพร่จากสัตว์สู่คน หรือไม่ก็อาจจะออกมาจากห้องแล็บโดยไม่ตั้งใจ สาเหตุที่ Biden มองเช่นนี้เพราะข้อมูลและหลักฐานที่ได้ ไม่มากพอที่จะทำให้ฟันธงได้ว่าไวรัสมาจากทางใดทางหนึ่ง

สี จิ้นผิง Xi Jinping ประธานาธิบดีจีน
(Photo by Greg Bowker – Pool/Getty Images)

ด้านทำเนียบขาวก็ออกมาแสดงความผิดหวังอย่างสุดซึ้งถึงการตัดสินใจปฏิเสธของจีนที่ไม่ให้ WHO เข้าไปตรวจสอบแหล่งที่มาของโควิดระบาดเฟส 2 ตามแผนที่ WHO กำหนดไว้ ซึ่ง WHO ก็ต้องการตรวจทั้งที่มาที่ว่าไวรัสระบาดจากห้องแล็บหรืออาจเป็นตลาดสดในเมืองอู่ฮั่น สุดท้ายแล้วก็ทำได้เพียงขอความโปร่งใสจากทางการจีนให้สามารถตรวจสอบได้

ที่มา – Nikkei Asia (1), (2)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post จีนปฏิเสธคำขอองค์การอนามัยโลก ไม่ให้สืบสาวที่มาโควิดระบาดรอบสอง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/china-refuse-who-second-phase-plan-origin-investigation-covid-19/