คลังเก็บป้ายกำกับ: เงินบาทแข็งค่า

แบงก์ชาติแจง “กังวลค่าเงินบาท” 5 ปีที่ผ่านมา แทรกแซงเงินบาทจนทุนสำรองเพิ่มเกือบ 8 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ

ธนาคารแห่งประเทศไทยแจง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา 2558 – 2562 เงินทุนสำรองพุ่งเกือบ 8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เกือบครึ่งหนึ่งของรายได้จากการค้าขายสินค้าและบริการกับต่างประเทศ หากแบงก์ชาติไม่ได้เข้าดูแลเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เงินทุนสำรองฯ ก็จะไม่เพิ่มขึ้น ขณะที่ค่าเงินบาทก็อาจจะแข็งกว่าระดับปัจจุบัน 

เมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

เมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงเรื่อง “สถานกรณ์ค่าเงินบาท” ณ ห้องแถลงข่าว อาคาร 2 ชั้น 1 ธปท. สำนักงานใหญ่ โดยระบุว่าภาพรวม ค่าเงินบาที่แข็งค่าขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา มาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด (ประเทศไทยมีรายได้จากการส่งออกสูงกว่ารายจ่ายจากการนำเข้า)

เงินบาทแข็งค่าขึ้นจากการเก็งกำไรระยะสั้นของนักลงทุนต่างชาติเป็นความเข้าใจคาดเคลื่อน หากดูตัวเลขจะเห็นว่าการลงทุนของต่างชาติสุทธิทั้งปี 2019 ไหลออกเฉพาะช่วงครึ่งปีหลัง ยังกังวลการแข็งค่าของเงินบาท และติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด พร้อมใช้มาตรการเพิ่มเติมถ้าจำเป็น

การบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนของแบงก์ชาติในการชะลอการแข็งค่าของเงินบาท แบงก์ชาติจะเข้าไปซื้อเงินดอลลาร์และขายเงินบาท โดยเงินดอลลาร์ที่ซื้อเข้ามาอยู่ในรูปของเงินสำรองฯ เงินสำรองฯ ก็จะเพิ่มขึ้น หากต้องการชะลอการอ่อนค่า แบงก์ชาติจะขายเงินดอลลาร์ที่อยู่ในเงินสำรองฯ เพื่อซื้อเงินบาท เงินสำรองฯ ก็จะลดลง

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

เงินสำรองปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ไทยมีเงินสำรองฯ เยอะติดอันดับต้นๆของโลก สะท้อนว่าแบงก์ชาติได้มีการเข้าดูแลค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดด้วยการซื้อเงินดอลลาร์ต่อเนื่อง ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2558-2562) เงินทุนสำรองฯ เพิ่มขึ้นเกือบ 8 หมื่นล้านดอลลาร์ ถือเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้การค้าขายสินค้าและบริการกับต่างประเทศ หากแบงก์ชาติไม่ได้ดูแลค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เงินทุนสำรองฯ ก็จะไม่เพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทก็อาจจะแข็งกว่าระดับปัจจุบัน 

การบริหารการจัดค่าเงินต้องให้เกิดสมดุลในระยะยาว แบงก์ชาติระบุ ถ้าเราเข้าแทรกแซงจนบาทอ่อนกว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เท่ากับเราใช้ค่าเงินเพื่อให้สินค้าของไทยได้เปรียบกับประเทศคู่แข่งชั่วคราว ซึ่งไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง หากเป็นที่สังเกตจะถูกกีดกันทางการค้าหรือการใช้มาตรการทงภาษีสร้างความเสียหายต่อการส่งออกในระยะยาวได้

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ส่วนนโยบาย QE (Quantitative Easing) นั้น QE คือการทำนโยบายผ่านการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ภาคเอกชนในประเทศจำนวนมาก จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบปรับตัวสูงขึ้น หากต้องการช่วยให้ SME เกิดสภาพคล่องมากขึ้น รัฐอาจให้ soft loan ผ่านธนาคารพาณิชย์ของรัฐ เช่น ธนาคารออมสิน จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและตรงจุดกว่า

ประเทศที่เกินดุลบัญชีสะพัดในระดับสูงใกล้เคียงไทยอย่างไต้หวันและเกาหลี แต่สกุลเงินไม่แข็งค่าเนื่องจากมีเงินไหลออกไปลงทุนต่างประเทศค่อนข้างมาก ช่วยลดแรงกดดันจากเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ส่วนใหญ่เป็นการออกไปลงทุนของนักลงทุนสถาบัน เช่น ประกันชีวิต ขณะที่ไทยยังไม่มีการกระจายการลงทุนไปต่างประเทศนัก

ค่าเงินบาทแข็งมีทั้งผู้ได้ประโยชน์และผู้เสียประโยชน์ แบงก์ชาติกล่าว เหรียญอีกด้านหนึ่งที่มีผลต่อเศรษฐกิจด้านการส่งออกแล้ว คือเป็นประโยชน์ต่อเอกชนบางกลุ่ม เช่น ทำให้ต้นทุนนำเข้าเครื่องมือเครื่องจักรถูกลง ประชาชนที่มีหนี้ต่างประเทศจะมีหนี้ลดลง ไทยนำเข้าน้ำมันดิบปีละ 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ดังนั้น ทุกๆ 1 บาทที่แข็งค่า ช่วยไทยประหยัดต้นทุนประเทศได้ 2 หมื่นล้านบาท

แบงก์ชาติสรุปว่ายังหารือกับภาครัฐเพื่อร่วมมือกันอย่างต่อเนื่อง เงินบาทเป็นแค่อาการสะท้อนมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของไทย ปัญหาเชิงโครงสร้างต้องช่วยแก้ไขทุกภาคส่วน เช่น

  • เพิ่มการนำเข้า ผ่านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหรือลงทุนเครื่องจักร
  • ลดแรงซื้อบาทจากภาคส่งออก
  • สนับสนุนการออกไปลงทุนหลักทรัพย์ในต่างประเทศ

ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย (1), (2), (3)

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/bank-of-thailand-worry-about-bahts-strength/

แบงก์ชาติชี้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพ ระบบการเงินมีเสถียรภาพแต่ยังเปราะบาง

ทิตนันทิ มัลลิกะมาส ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้แจงว่า คณะกรรมกรนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประมาณการเดิม ต่ำกว่าระดับศักยภาพ ส่งออกสินค้าที่ผ่านมาหดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้และมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

เศรษฐกิจโลกเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่งผลให้การส่งออกและเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มทยอยปรับดีขึ้นในปี 2563 นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายที่ผ่านมาจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ และเสถียรภาพระบบการเงิน

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

กนง. กังวลต่อสถานการณ์เงินบาทที่ยังแข็งค่าอยู่เมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่ง แม้แข็งค่าชะลอลงทั้งสองทิศทาง แต่ยังติดตามต่อไป ระบบการเงินไทยโดยรวมมีเสถียรภาพ แต่ยังสะสมความเปราะบางภายใต้เศรษฐกิจที่ชะลอตัวและอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่อง

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ขณะที่ด้านแรงงานนั้น การเข้าสู่สังคมสูงวัยทำให้มีประชากรวัยทำงานลดลง ธุรกิจนำระบบอัตโนมัติมาใช้แทนแรงงานมากขึ้น รูปแบบการจ้างงานเปลี่ยนเป็นการรับเหมาบริการ sub-contract มากขึ้น ความมั่นคงและสวัสดิการน้อยกว่าจ้างงานประจำ

แรงงานที่ถูกเลิกจ้างอาจกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานยากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานสูงอายุที่มีทักษะไม่ตรงกับความต้องการของตลาด มีโอกาสที่รายได้อาจลดลง หากเลือกงานไม่ได้จนทำให้ต้องย้ายเข้าสู่ภาคธุรกิจที่มีรายได้ต่ำกว่า สวัสดิการและความมั่นคงทางรายได้อาจไม่เหมือนเดิม เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจ้างงาน

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา ทำให้นายจ้างในหลายอุตสาหกรรมปรับตัวด้วยการ

  • ยุบกะทำงาน เช่น จาก 3 กะ เหลือ 2 กะ
  • ยกเลิกสัญญาจ้าง
  • เสนอ Early Retirement
  • แปลงรูปแบบการจ้างงาน

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมช่วงปลายปี 2562 กระตุ้นการบริโภคของภาคเอกชนได้ในระยะสั้น การบริโภคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลงตามรายได้ ความเชื่อมั่นภาคครัวเรือนลดลง หนี้ครัวเรือนสูง ปัญหาภัยแล้งเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อรายได้เกษตรกรในปี 2563

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

สัดส่วนหนี้ครัวเรือนและสินเชื่อธุรกิจ SMEs เป็นจุดเปราะบางโดย 

  • (1) สัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มสูงขึ้นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว 
  • (2) คุณภาพสินเชื่อ SMEs ด้อยลงต่อเนื่อง 

ครัวเรือนไทยมีภาระหนี้ต่อเดือนสูง ส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งมีระยะเวลาผ่อนชำระสั้นและอัตราดอกเบี้ยสูง ขณะที่ด้านการออมนั้น ไทยมีการออมสูง ลงทุนต่ำ

ขณะที่ภาคธุรกิจนั้น การลงทุนภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องและโครงสร้างธุรกจมีการกระจุกตัวในบริษัทขนาดใหญ่ ในขณะที่ SMEs มีความสามารถทางการแข่งขันที่ลดลง 

ภาคธุรกิจไทยมีการกระจุกตัวสูง และมีอำนาจตลาดมากขึ้น จึงนำไปสู่อัตราการเติบโตของผลิตภาพที่ต่ำ โอกาสอยู่รอดในตลาดต่างประเทศต่ำ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ต่ำ มีอัตราการลงทุนต่ำ

ภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา – ธนาคารแห่งประเทศไทย (1), (2) 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/economy-of-thailand-lower-than-capability-financial-system-sensitive/

เงินบาทจะแข็งค่าต่อเนื่อง คาดสิ้นปี 2020 จะอยู่ในกรอบ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

EIC ประเมิน เงินบาทไทยในปี 2020 จะเผชิญแรงกดดันแข็งค่าต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่น้อยลง โดยสิ้นปี 2020 เงินบาทจะอยู่ในกรอบ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

เนื่องจาก ไทยยังเผชิญปัจจัยโครงสร้างที่ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลในระดับสูง ความต้องการลงทุนในต่างประเทศยังต่ำ ทำให้มีความต้องการเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในปริมาณมาก 

เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินอยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล 

EIC ปรับมุมมองค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 2020 อยู่ในกรอบ 29.5-30.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ​ จากคาดการณ์เดิมไตรมาสก่อนอยู่ที่ 30-31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 

โดยค่าเงินบาทปี 2019 เฉลี่ยอยู่ที่ 31.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้น 4.1% จากปี 2018 ขณะที่ดัชนีค่าเงินบาทในปี 2019 เฉลี่ยอยู่ที่ 123.2 ปรับแข็งค่าขึ้น 6.6% จากปี 2018 สำหรับปี 2020 เงินบาทมีแนวโน้มเผชิญแรงกดดันด้านแข็งค่าอยู่ต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่น้อยลงจากปี 2019 

ภาพจาก EIC SCB

ปัจจัยที่ทำให้เงินบาทจะแข็งค่าเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ

ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในปี 2020 จะยังเกินดุลสูง

เนื่องจาก 1) มูลค่าการส่งออกและนำเข้าปี 2020 มีแนวโน้มทรงตัวจากปีก่อน 2) ภาคการท่องเที่ยวจะยังขยายตัวแม้ในอัตราที่ชะลอลง 3) การลงทุนในประเทศจะยังซบเซา การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยแม้จะชะลอลงแต่เกินดุลในระดับสูงประมาณ ​6% ต่อ GDP (ปี 2019 อยู่ที่ 6.3%)

ภาพจาก EIC SCB

ความต้องการนำเงินออกไปลงทุนต่างประเทศยังต่ำ ทำให้ความต้องการเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐยังมีอยู่มาก 

การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในระดับสูง เงินทุนสำรองต่อหนี้ต่างประเทศที่มาก จะยังทำให้เงินบาทมีสถานะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของภูมิภาค (regional safe haven) ต่อไป ทำให้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงน้อยกว่าสกุลเงินอื่นในภูมิภาคในช่วงที่ความเชื่อมั่นลดลง 

ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปรับลดลง เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลกลับเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชียรวมทั้งไทย

EIC มองว่า การเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีนมีความคืบหน้า เป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงด้านต่ำของภาคส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชียอย่างมีนัยสำคัญ ส่วน Brexit ก็ดีขึ้นเช่นกัน หลังพรรค Conservative ชนะ ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับลดลงในปี 2020 ส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับสูงขึ้น และมีเงินทุนไหลกลับเข้ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ได้ 

ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐมีโอกาสปรับอ่อนค่าลงเล็กน้อย ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นโดยเปรียบเทียบ

EIC มองว่า เวลาเศรษฐกิจโลกปรับแย่ลง จะทำให้มีความต้องการถือเงินดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสกุลเงินหลักของโลก มีความเสี่ยงต่ำ เมื่อเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ความเสี่ยงของภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ลดลง ทำให้ความต้องการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐปรับลดลงมา EIC มองว่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะไม่อ่อนค่าลงมากนัก 

ภาพจาก EIC SCB

ข้อจำกัดของแบงก์ชาติ ในการผ่อนคลายนโยบายการเงินและเข้าดูแลอัตราแลกเปลี่ยน

การผ่อนคลายนโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีส่วนช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ อ่อนค่าลงได้ 

อย่างไรก็ดี ขีดความสามารถในการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของแบงก์ชาติมีข้อจำกัดมากขึ้นเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ความสามารถในการดูแลค่าเงินบาทผ่านช่องทางนี้ลดลง 

ไทยเสี่ยงที่อาจถูกจัดเป็นประเทศผู้บิดเบือนค่าเงิน ทำให้แบงก์ชาติอาจไม่สามารถดูแลค่าเงินได้มากเท่าในอดีต ดังนั้น โอกาสที่เงินบาทต้องเผชิญแรงกดดันด้านแข็งค่าจึงมีอยู่ต่อไป 

เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าอาจทำให้ค่าเงินในภูมิภาครวมถึงเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตาม

ช่วงสงครามการค้าทวีความรุนแรง เงินหยวนปรับอ่อนค่าลงค่อนข้างมาก ทำให้สินค้าจีนได้เปรียบการแข่งขันด้านราคาต่อประเทศอื่น ที่ผ่านมา เงินบาทก็ปรับอ่อนค่าตามเงินหยวนในช่วงสงครามการค้าทวีความรุนแรง 

เมื่อสงครามการค้ามีแนวโน้มลดความรุนแรงลง นักลงุทนเชื่อมั่นมากขึ้น เงินหยวนมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เงินบาทก็สามารถแข็งค่าขึ้นตามเช่นกัน 

EIC ประเมินว่า การแข็งค่าเงินบาทในปี 2020 จะลดน้อยลงเมื่อเทียบปี 2019 โดยดุลบัญชีการเงินไทย อาจขาดดุลมากขึ้นเล็กน้อย แรงกดดันจากการขายทำกำไรทองคำมีแนวโน้มลดลง แนวโน้มส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายระหว่างไทยและประเทศเศรษฐกิจหลักมีผลกระทบเล็กน้อย 

ที่มา – EIC SCB 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-baht-strength-until-the-end-of-2020/

แบงก์ชาติชี้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่า ประยุทธ์แนะใช้เงินดอลลาร์เยอะๆ เงินบาทจะได้ลด

เมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เผย ค่าเงินบาทหลังจากนี้ไม่ได้แข็งค่าเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเคลื่อนไหว 2 ทิศทาง เนื่องจากนักลงทุนปรับเปลี่ยนมุมมอง ค่าเงินบาทไทยไม่ได้เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven: หลุมหลบภัย) เงินบาทแข็งค่าเกินไปกว่าปัจจัยพื้นฐานที่จะลงทุน ทำให้เงินบาทมีโอกาสอ่อนค่ามากขึ้น 

เมธี สุภาพงษ์ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงินและคณะกรรมการนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

Safe Haven* หรือหลุมหลบภัย คือสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่มีความปลอดภัย มักได้รับความนิยมเมื่อนักลงทุนรู้สึกว่าเงินที่ตัวเองลงทุนอยู่ มีความเสี่ยงสูงขึ้นและมีโอกาสขาดทุน Safe Haven ประกอบไปด้วย เงินสด พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ หุ้นปันผล

แบงก์ชาติยันไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และใช้มาตรการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท ลดยอดคงค้างชัญชีเงินฝากสกุลบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ รวมถึงรายงานการถือครองตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างชาติให้ลึกขึ้น เพื่อติดตามพฤติกรรมการลงทุนตราสารหนี้ของต่างชาติ 

รวมถึงช่วงที่มีเงินไหลเข้ามามากๆ แบงก์ชาติได้เข้าไปแทรกแซงไม่ให้เงินบาทแข็งค่า ตลอดจนมาตรการผ่อนคลายที่ออกมาเร็วๆ นี้อีก 4 ด้าน คือการนำเงินเข้ามาของผู้ประกอบการส่งออก เปิดให้คนไทยที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถลงทุนต่างประเทศได้ มีการพูดคุยกับผู้ค้าทองรายใหญ่ให้สามารถซื้อขายทองคำเป็นเงินสกุลดอลลาร์ เหล่านี้อาจไม่เห็นผลเร็ว แต่ช่วยชะลอการแข็งค่าได้

“ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้สบายใจในช่วงค่าเงินแข็งค่าขึ้น พยายามดำเนินการหลายเรื่องให้ชะลอการแข็งค่า รวมทั้งการเข้มงวดในการติดตามเงินที่ไหลเข้ามาเพื่อเก็งกำไร”

ซึ่งก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ไปกล่าวปาฐกถาพิเศษในเงินเปิดตัว “เครือข่ายเพื่อความยั่งยืนประเทศไทย” (TRBN) ก็ได้พูดถึงประเด็นเงินบาทแข็งค่า จนสำนักข่าว Bloomberg นำไปพาดหัวว่า “นายกรัฐมนตรีไทยบอกให้ประเทศไทยควรใช้เงินดอลลาร์ เงินบาทจะได้อ่อนค่าลง” 

ประเด็นนี้ พลเอกประยุทธ์ฯ กล่าวว่า “วันนี้ ปัญหาเรื่องค่าเงินบาท ก็แก้กันทุกวัน มันก็ยังได้อยู่อย่างนี้ เราต้องยอมรับว่าเงินบัญชีเดินสะพัดในประเทศไทยสูงมาก ท่องเที่ยวเข้ามา นู่นนี่เข้ามา เงินบาทเต็มประเทศ เงินทุนสำรองมันเยอะอีก เพราะฉะนั้นทำยังไงให้ใช้จ่ายเป็นค่าเงินดอลลาร์บ้างทั้งการลงทุนในประเทศ ต่างประเทศ ช่วยคิดหน่อย” 

“มันจะทำให้เงินดอลลาร์สะสมในประเทศลดลง นี่แหละคือสิ่งที่จะแก้ได้ค่อนข้างจะได้ผลนะ หลายอย่างที่เราทำไปเรื่องดอกเบี้ย เรื่องนู้น เรื่องนี้ มันก็ได้แค่นี้”

“ถ้าเราใช้จ่ายเป็นเงินดอลลาร์ เงินพวกนี้มันจะออกไป เพราะสายการเงินเราแข็งแกร่ง หลายคนก็เอาเงินมาเก็บในไทยนี่แหละ เป็นเงินดอลลาร์ซะเยอะ นั่นแหละ ปัญหาของเรา ถ้าลองช่วยกันทำตรงนี้ ดูสิมันจะเกิดอะไรขึ้น”

7 ข้อเท็จจริงเรื่องค่าเงินบาท และการปรับตัวภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ภาพจากธนาคารแห่งประเทศไทย

ประเด็นเรื่องค่าเงินบาทแข็งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยเผยแพร่บทความเรื่อง 7 ข้อเท็จจริงเรื่องค่าเงินบาท และการปรับตัวภายใต้ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ดังนี้

เงินบาทแข็งค่ามีทั้งผู้ได้และผู้เสียประโยชน์ ค่าเงินบาทคือการใช้เงินบาทน้อยลงในการแลกเงินสกุลอื่นจำนวนเท่าเดิม เงินบาทแข็งค่า ทำให้ผู้นำเข้าลดต้นทุนการนำเข้าสินค้า ประชาชนซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศถูกลง ผู้ลงทุนนำเข้าสินค้าทุนถูกลง ผู้เป็นหนี้กับต่างประเทศมีภาระหนี้ลดลง 

คนที่เสียประโยชน์จากค่าเงินบาทแข็งคือ ผู้ส่งออกนำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง คนทำงานต่างประเทศนำรายได้ที่เป็นสกุลเงินต่างประเทศแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง ผู้ประกอบธุรกิจที่รับเงินสกุลต่างประเทศนำรายได้มาแลกเป็นเงินบาทได้น้อยลง

แต่ถ้าเงินบาทอ่อนค่า คือการใช้เงินบาทมากขึ้นในการแลกเงินตราต่างประเทศ คนได้ประโยชน์คือ ผู้ส่งออกนำรายได้ที่เป็นเงินสกุลต่างประเทศแลกเงินบาทได้มากขึ้น คนทำงานต่างประเทศนำรายได้ที่เป็นสกุลต่างประเทศแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวรับเงินสกุลต่างประเทศแลกเป็นเงินบาทได้มากขึ้น

คนเสียประโยชน์จากค่าเงินแข็งค่าคือผู้นำเข้าเพิ่มต้นทุนการนำเข้าเพราะราคาสินค้าและบริการต่างประเทศแพงขึ้น ประชาชนซื้อสินค้าและบริการจากต่างประเทศแพงขึ้น ผู้ลงทุนนำเข้าสินค้าทุนแพงขึ้น 

ตั้งแต่ต้นปี 2562 เงินบาทแข็งค่าขึ้นประมาณ 5% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น การเปลี่ยนทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของ FED ขณะที่ปัจจัยภายในประเทศเช่น ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้างมาก เงินตราจากต่างประเทศเข้ามาในไทยสูงขึ้น บริบทของเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน บางช่วงแบงก์ชาติเข้าไปดูแลบางช่วงที่เงินบาทแข็งค่าเร็ว เป็นต้น (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่)

ที่มา – ประชาชาติธุรกิจ, Bloomberg, ทำเนียบรัฐบาล, SET, ธนาคารแห่งประเทศไทย 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-baht-will-weak-in-the-future-prayuth-guide-spend-dollars-to-weaken-baht/

แข็งค่าสุดในรอบ 6 ปี ค่าเงินบาทไทยยังทำสถิติต่อ ล่าสุด 30.33 บาทต่อดอลลาร์แล้ว

ค่าเงินบาทของไทยล่าสุดซื้อขายในตลาดโลกล่าสุดอยู่ที่ 30.33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว แข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี

Thai Currency Exchange
ภาพจาก Shutterstock

ค่าเงินบาทไทยล่าสุดยังคงทำสถิติแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 30.330 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยสำนักข่าว Bloomberg ได้ออกบทความล่าสุดวันนี้ว่าค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าที่สุดแล้วในรอบ 6 ปี ในปีนี้นั้นค่าเงินบาทของไทยเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นๆ ในทวีปเอเชียนั้น แข็งค่าไปแล้วเกือบๆ 7%

สำหรับมุมมมองของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เมื่อวันที่ 25 กันยายนที่ผ่านมา และเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันนี้นั้น ทางคณะกรรมการได้ประเมินว่าค่าเงินบาทของไทยที่แข็งค่าเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกและเศรษฐกิจไทยมากขึ้น แม้ว่าในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาจะมีการอ่อนค่าตามการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่หลังจากนั้นค่าเงินบาทก็ได้แข็งค่าขึ้นตามค่าเงินเยนและราคาทองคำซึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีความเสี่ยงต่ำ

นอกจากนี้ กนง. เริ่มเห็นสัญญาณผลกระทบต่อกำไรและสภาพคล่องของธุรกิจ ความสามารถในการชำระหนี้ การปรับลดอัตราจ้างงานล่วงเวลา และคณะกรรมการจึงเห็นควรให้ติดตามการปรับตัวดังกล่าวซึ่งหากเกิดขึ้นกระทบในวงกว้างอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของครัวเรือนที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการส่งออกและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไปได้

ขณะที่มุมมองจากบทวิเคราะห์ธนาคารกสิกรไทย มีมุมมองว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ โดยเสถียรภาพของไทยที่แข็งแกร่งกว่าประเทศอื่นจะยังทำให้ค่าเงินบาท เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยของเอเชียในช่วงที่เศรษฐกิจโลกผันผวน

บทวิเคราะห์ธนาคารกสิกรไทยยังมองเพิ่มว่า แนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายการเงินของ ธปท. ที่จะยังล่าช้าเนื่องจาก ช่องว่างของนโยบายการเงิน (Policy Space) ที่มีอย่างจำกัดจะสนับสนุนเงินทุนไหลเข้า ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า ขณะที่สัญญาณความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอลงของเศรษฐกิจไทย และแนวโน้มการดำเนินมาตรการเพิ่มเติมเพื่อลดการแข็งค่าของเงินบาทของ ธปท. จะช่วยลดแรงกดดันต่อการแข็งค่าของเงินบาทลงได้บ้าง

ไม่เพียงแค่นั้นในวันนี้ค่าเงินบาทที่ซื้อขายในตลาดโลกยังได้แตะระดับต่ำสุดของวันอยู่ที่ 30.29 บาทต่อสหรัฐอีกด้วย โดยปัจจัยเรื่องค่าเงินบาทยังเป็นแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยอาจต้องหามาตรการที่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมา ซึ่งก่อนหน้านี้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนะนำให้ผู้ประกอบการของไทยทำประกันความเสี่ยงค่าเงินไว้ด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thai-baht-now-appreciation-at-30-330-baht-per-usd-now-6-years-high/

เงินบาทแข็งค่าทำต่างชาติไม่เที่ยวไทยเพราะ “แพง” ใช้จ่ายน้อยลงกระทบคนท้องถิ่น-SME รายได้หด

ค่าเงินบาทที่แข็งค่า หลายคนกลัวว่าจะกระทบการส่งออกของไทยให้ติดลบ แต่ยังมีอีกด้านที่ได้รับผลกระทบหนักไม่แพ้กันคือ “การท่องเที่ยว” ที่อาจจะทำให้นักท่องเที่ยวมาไทยน้อยลง และร้านค้า โรงแรม รวมถึงประชาชนรายย่อยได้เจอผลกระทบกันถ้วนหน้า

ภาพจาก Unsplash

บาทแข็งกระทบการท่องเที่ยว ลดเงินในกระเป๋าคนไทยและ SME เจ้าเล็ก

นริศ สถาผลเดชา เจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ธนาคารทหารไทย (TMB Analytics) บอกว่า ปัจจุบันค่าเงินบาทแข็งค่าต่ำกว่า 31.00 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่าแข็งค่ามากกว่าประเทศในภูมิภาคอย่งมีนัยยะสำคัญ สาเหตุเพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับต่างชาติ และมีเงินต่างชาติไหลเข้าไทยจำนวนมาก 

ทั้งนี้ค่าเงินบาทที่แข็งค่านอกจากทำให้ผู้ประกอบการภาคการส่งออกเมื่อได้รับเงินสกุลต่างประเทศจะแลกกลับมาเป็นเงินบาทได้มูลค่าน้อยลง โดยมูลค่าการส่งออกสุทธิมีสัดส่วน 5-6% ของ GDP ไทยขณะเดียวกันยังส่งผลกระทบภาคการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วน 15% ของ GDP ไทย

“เมื่อเงินบาทแข็งค่า ภาคท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากส่วนหนึ่งเพราะธุรกิจนี้เป็นแหล่งรายได้ใหญ่ของประชาชน ภาคครัวเรือน ถึงเวลาที่ภาครัฐต้อง Safe กลุ่มนี้ได้แล้ว ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาเมื่อเงินบาทแข็งค่า ภาคการส่งออกจะได้รับความสนใจมากกว่า เพราะผู้ส่งออกมีปากมีเสียงอยู่แล้ว และกว่า 90%ในธุรกิจเป็นรายใหญ่ มีสมาคมฯ ที่สามารถรวมตัวเรียกร้องได้ แต่ภาคการท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นรายเล็ก เป็นประชาชนจำนวนมาก พอนักท่องเที่ยวมาไทยน้อยลง ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้าทั่วประเทศทั้ง โรงเรียน ร้านอาหาร”

ทั้งนี้ต้องจับตามองผลกระทบเพิ่มเติมทั้งรายได้นอกภาคเกษตรของไทยที่อาจลดลงส่งผลต่อหนี้เสีย (NPL) ธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามธุรกิจที่ได้รับผลกระทบน้อยจะเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนการนำเข้าเยอะ เช่น อาหารสัตว์ อาหารสุนัข

ที่มา ธนาคารทหารไทย

ต่างชาติหวั่นเที่ยวไทยแพง ชี้นักท่องเที่ยวลด แต่คนไทยแห่เที่ยวนอก

ตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับภูมิภาคอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นชาวต่างชาติจะมาเที่ยวไทยแพงขึ้น แม้ว่าจะตั้งงบการใช้จ่ายเท่าเดิมแต่สามารถซื้อของในไทยได้น้อยลง ทำให้คนไทยมีรายได้น้อยลงไปด้วย โดยรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติมาใช้จ่ายในไทย ปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.1 ล้านล้านบาท แม้ว่าจะเติบโต 6.0% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ถือว่าชะลอตัวเมื่อเทียบกับปี 2561 ที่เติบโต 9.4%

ปี 2562 คาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวในไทยจะลดลงต่ำกว่า 40.4 ล้านคน ส่วนหนึ่งลดลงจากนักท่องเที่ยวจีน (มาใช้จ่ายที่ไทยปีละ 6.3 แสนล้านบาท) รวมถึงนักท่องเที่ยวยุโรป (มาใช้จ่ายที่ไทยปีละ 3.6 แสนล้านบาท) ทั้ง 2 ที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดี แต่นักท่องเที่ยวอาเซียนและเอเชียยังเพิ่มขึ้นมาชดเชยบ้าง

แต่เมื่อค่าเงินบาทแข็งค่าคาดว่าคนไทยโดยเฉพาะกลุ่มบนจะออกไปเที่ยวต่างประเทศมากขึ้น เบื้องต้นจะออกไปใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 390,000 ล้านบาท เติบโต 8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ซึ่งจะสร้างรายได้ให้ไทยในวงจำกัด โดยจะกระจุกตัวในธุรกิจสายการบิน ธุรกิจนำเที่ยว ประกันการเดินทาง

ทางออกของภาครัฐ ความหวังค่าเงินบาทอ่อนค่า

5 เดือนแรกปีนี้ การส่งออกไทยติดลบ 2.7% การท่องเที่ยวชะลอตัว ข้อมูลจากต้นเดือนมิ.ย. ถึงปัจจุบันมีเงินไหลเข้าไทย 1.2 แสนล้านบาท แบ่งเป็นตลาดหุ้น 40,000 ล้านบาท และพันธบัตรระยะสั้นอีก 80,000 ล้านบาท ต้องยอมรับว่าเป็นเงินร้อนที่ต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงิน และรับผลดีที่หุ้นไทยกำลังเป็นขาขึ้น

อย่างไรก็ตามธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปกติจะดูแลค่าเงินบาทผ่านทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่แล้ว แต่ทำไม่ได้มากนัก เพราะอาจเข้าเกณฑ์การแทรกแซงเงินของสหรัฐซึ่งอาจกระทบให้สหรัฐงดสิทธิทางภาษีศุลกากร (GSP) ให้ไทยได้ แต่อาจเห็นธปท.เพิ่มความเข้มข้นมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า เช่น มาตรการบนเงินต้นของธุรกรรมการลงทุนของต่างชาติ, มาตรการกำกับเพื่อลดความเสี่ยง และการเก็บภาษีเงินกำไรของธุรกรรมการลงทุนของต่างชาติ

ทั้งนี้ค่าเงินบาทมีโอกาสแข็งค่ามากขึ้น เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ผลตอบแทนที่สหรัฐฯ ต่ำเงินทุนต่างชาติก็จะไหลมาที่ภูมิภาคเอเชีย อาเซียน รวมถึงไทยมากขึ้น ส่วนค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลงได้ หากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น หรือการจัดตั้งรัฐบาลไทยล่าช้า รวมถึงไม่มีความชัดเจนนโยบายที่จะออกมา นอกจากนี้หากธปท.มีมาตรการออกมาเพิ่มเติม

สรุป

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นมีผลเสียต่อคนที่ต้องรับรายได้เป็นสกุลเงินต่างชาติ และส่งผลลบต่อเศรษฐกิจไทย ผู้ประกอบการภาคส่งออกควรทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และภาคการท่องเที่ยวต้องกระจายความเสี่ยง ในลูกค้านักท่องเที่ยวที่หลากหลาย เพื่อลดผลกระทบเมื่อนักท่องเที่ยวในประเทศใดประเทศหนึ่งลดลง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/baht-impact-tourist-income/

ส่องทิศทางค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ กรุงไทยชี้อาจแข็งค่า 30.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

เมื่อค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าขึ้นเล็กน้อย มาอยู่ที่ 30.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่สัปดาห์นี้บาทจะเคลื่อนไหวอย่างไร?

วันนี้เงินบาทอ่อนค่า 30.75 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ธนาคารกรุงไทย บอกว่า วันนี้ (8 ก.ค. 2562) ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 30.75 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงปิด 5 ก.ค. 2562 ที่อยู่ระดับ 30.65 บาทต่อดอลลาร์ สาเหตุหลักเพราะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้น หลังตลาดทุนปิดรับความเสี่ยง และผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ (Bond Yield) ปรับตัวขึ้นเพราะตัวเลขด้านแรงงานที่ปรับตัวดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

ทั้งนี้ค่าเงินบาทมีโอกาศอ่อนค่าขึ้นได้อีกเล็กน้อย เมื่อ Bond Yield ระยะสั้นของสหรัฐอยู่ในระดับต่ำ เช่น Bond Yield อายุ 2 ปี อยู่ที่ 1.8% แสดงว่าตลาดยังคาดหวังให้ธนาคารกลางสหรัฐ​ (FED) ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งหน้า นึงต้องจับตาเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง 

อย่างไรก็ตามมองว่ากรอบค่าเงินบาทวันนี้อยู่ที่ 30.70 – 30.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ​ โดยค่าเงินบาทอาจเจอกับแรงขายของผู้ส่งออกเมื่อราคาปรับตัวสูงถึง 30.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่กรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ (8-12 ก.ค.) อยู่ที่ 30.40 – 30.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ปัจจัยที่ต้องจับตาและกระทบค่าเงินบาทในระยะต่อไป

ภายในสัปดาห์นี้เศรษฐกิจโลกมีเรื่องที่ต้องจับตามอง ได้แก่

  • ฝั่งสหรัฐฯ วันอังคารนี้จะมีตัวเลขยอดตำแหน่งงานว่างเปิดใหม่ (JOTLs Job Openings) เดือนพ.ค. คาดว่าอยู่ที่ 7.4 ล้านตำแหน่ง ถือว่าในสหรัฐฯยังมีความต้องการแรงงานในระดับสูง
    อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) เดือนมิ.ย. มีแนวโน้มชะลอตัวลงแตะระดับ 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปัจจัยราคาสินค้าพลังงานลดลง
    และต้องติดตามรายงานการประชุมเฟด (FOMC Meeting Minutes) ที่ความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ จะหนุนโอกาสการลดดอกเบี้ยเฟดในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
  • ฝั่งเอเชีย ในวันอังคารมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางมาเลเซีย (BNM) คาดว่ามีมติ “ลด” อัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Overnight Rate) 0.25% สู่ระดับ 3.00% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หลังภาคการส่งออกซบเซาจากผลกระทบของสงครามการค้าและเศรษฐกิจจีนชะลอตัว ซึ่งยอดส่งออกของจีนมีโอกาสหดตัวลง 0.8%
  • ฝั่งยุโรป วันจันทร์นี้มีรายงานผลผลิตอุตสาหกรรมเยอรมนี (Industrial Production) เดือน พ.ค. คาดว่าจะหดตัวกว่า 2.9% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน สอดคล้องไปกับยอดสั่งซื้อภาคโรงงาน (Factory Orders) ที่หดตัวถึง 8.6% ชี้ว่าปัญหาสำคัญของยูโรโซน คือภาคการผลิตที่ซบเซาเรื้อรังจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว
    ทั้งนี้ตลาดอาจจับตาไปที่รายงานการประชุมธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB ที่อาจจะส่งสัญญาณนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น

 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/baht-this-week/

แบงก์นอกชี้เงินบาทอาจแข็งค่าแตะ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ-จับตามาตรการธปท.

วันนี้ค่าเงินบาทอยู่ที่ 30.60 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากนี้บาทจะแข็งค่าขึ้นกว่าเดิมหรือไม่?

ภาพจาก Shutterstock

ค่าเงินบาทมีโอกาศแตะ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ชี้ FED ลดดอกเบี้ยนโยบาย

โฮมิน ลี นักกลยุทธ์เศรษฐกิจมหภาค ธนาคาร Lombard odier จากสวิตเซอร์แลนด์ บอกว่า หลังจากนี้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น โดยช่วงสิ้นปี 2562 ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้นอีก 2-3% หรือที่ระดับ 28.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ปัจจัยที่สนับสนุนให้ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าขึ้น คือ การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ที่คาดการณ์ว่าจะปรับลดดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25%  ในปีนี้ระหว่างเดือนก.ค.-ก.ย.2562 ซึ่งอาจทำให้นักลงทุนต่างชาตินำเงินมาลงทุนที่ตลาดหุ้น และตราสารหนี้ฝั่งเอเชียรวมถึงไทยเพราะได้ผลตอบแทนสูงกว่าที่สหรัฐ

อย่างไรก็ตามคาดว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงหลังจาก FED ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย

แบงก์ชาติออกมาตรการสกัดเงินร้อนไหลเข้าไทยอย่างไร?

ที่มา ธนาคารทหารไทย (TMB)

ในเดือนก.ค. 2562 ทางธปท. ประกาศลดวงเงินการออกพันธบัตรระยะสั้นลงประมาณ 20,000 ล้านบาท (ปกติธปท.ต้องออกพันธบัตรทุกเดือนเพื่อดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน) ซึ่งการลดวงเงินพันธบัตรระยะสั้นเป็นการลดอุปทานในตลาดลง แต่เมื่อนักลงทุนยังต้องการซื้อพันธบัตร (อุปสงค์เท่าเดิม) จะทำให้ราคาพันธบัตรที่ขายในตลาดรองจะปรับตัวสูงขึ้น และผลตอบแทนต่ำลงจนทำให้ความน่าสนใจในการลงทุนพันธบัตรลดลง

นริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) บอกว่า ปัจจุบันค่าเงินบาทที่แข็งค่าต่ำกว่าระดับ 30.70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าธปท.เข้ามาดูแลค่าเงินผ่านทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่แล้ว แต่ยังไม่ได้เข้ามามากนัก เพราะต่างชาติจับตามองความเคลื่อนไหวอยู่

“รอบที่แล้วกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกามีรายงานประเทศคู่ค้า 9 ประเทศ ที่ถูกจับตามองในเรื่องของการแทรกแซงค่าเงิน ซึ่งไทยไม่ติดในรายชื่อนี้เพราะผ่าน 3 เงื่อนไขมาอย่างเฉียดฉิว เช่น ไทยเกินดุลการค้าสหรัฐ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี (ถ้าเกิน 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐจะติดรายชื่อ) และทุนสำรองระหว่างประเทศไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ”

ทั้งนี้หากไทยติดในรายชื่อการแทรกแซงค่าเงินอาจจะกระทบต่อ GSP กับสหรัฐ (สิทธิการลดภาษีนำเข้าสินค้าไปยังสหรัฐ) โดยมูลค่า GSP ที่เเพิ่มขึ้น 5,000 ล้านบาทจะกระทบการส่งออกไทยให้ลดลง 0.5% ของ GDP

อย่างไรก็ตามทางธปท.อาจเพิ่มความเข้มข้นในมาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้า เพื่อสกัดเงินร้อน หรือเงินลงทุนที่ไหลเข้าไทยแบบเร่งด่วนให้ชะลอลง เช่น

  • มาตรการบนเงินต้นของธุรกรรมการลงทุนของต่างชาติ
  • มาตรการกำกับเพื่อลดความเสี่ยง
  • ภาษีเงินกำไรของธุรกรรมการลงทุนของต่างชาติ เช่น การเก็บภาษีตราสารหนี้ 15% บนผลกำไรจากการลงทุนของเงินทุนต่างชาติ

สรุป

ค่าเงินบาทปี 2562 ผันผวนต่อเนื่องจากปีที่แล้ว แต่ปีนี้ดูจะแข็งค่ากว่าปีก่อนๆ เพราะเมื่อบาทลงมาแตะ 30.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี แต่การเคลื่อนไหวเงินบาทดูจะกำหนดได้ยาก เพราะต้องรอดูปัจจัยภายนอก เช่น การเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์สหรัฐ การลดดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางกลักของโลก ไหนต้องจับตาเงินไหลเข้าตลาดหุ้นอีก ใครทำธุรกิจ หรือต้องรับเงินต่างชาติคงต้องวางแผนรับมือให้ดี

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/baht-maybe-28-50/

อีกแล้ว! เงินบาทแข็งค่า 30.65 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ สวนทางทองคำพุ่งแตะ 1,429 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์

เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่อง จนตอนนี้แตะ 30.65 บาท/ดอลลาร์สหรัฐแล้ว สาเหตุเพราะอะไร และจะเป็นอย่างไรต่อไป

Thai Baht Notes
ภาพจาก Shutterstock

เงินบาทแตะ 30.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี

ธนาคารกรุงไทย บอกว่า ค่าเงินบาทเช้าวันนี้ (25 มิ.ย. 2562) เปิดตลาดที่ 30.65 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากเมื่อวานนี้ (24 มิ.ย. ) ที่ปิดตลาดที่ระดับ 30.75 บาทต่อดอลลาร์ โดยประมาณการณ์เคลื่อนไหวค่าเงินบาทวันนี้ที่ 30.62 – 30.75 บาทต่อดอลลาร์ ทางธนาคารคาดว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าระดับนี้จะกดดันการประชุมนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันพุธนี้ (26 มิ.ย.)

ทั้งนี้แม้ธปท.จะส่งสัญญาณไม่สนับสนุนการเก็งกำไรค่าเงินในทุกรูปแบบเพื่อกดดันให้เงินบาทอ่อนค่า แต่หาก กนง.ยังคงมีมุมมองสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ ค่าเงินบาทอาจแข็งค่าเพิ่มขึ้น

ทางธนาคารคาดว่ากรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 30.50-31.30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่อาจทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ได้แก่

  • ดัชนีหุ้นปรับตัวลดลง
  • การเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนไม่สำเร็จ
  • ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ภาพจาก Shutterstock

ราคาทองคำพุ่ง 1.3% แตะ 1,429 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ ชี้เศรษฐกิจสหรัฐอ่อนแอ

ฝั่งสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตโดยเฟดดัลลัส (Dallas Fed Manufacturing Activity) ปรับตัวลดลงจากระดับ -5.3 จุด สู่ระดับ -12.1 จุด แสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตทั่วสหรัฐกำลังหดตัวลงต่อเนื่อง

ส่วนคืนที่ผ่านมาตลาดทุนโดยรวมทรงตัว ด้านดัชนี FTSE100 ของอังกฤษปรับตัวขึ้น 0.12% ขณะที่ดัชนี STOXX50 ของยุโรปปรับตัวลง 0.33% หลังดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจเยอรมนีรายงานออกมาแย่กว่าคาด ด้านดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ลดลงเล็กน้อย 0.17%

ขณะเดียวกันผลตอบแทนจากพันธบัตรสหรัฐ อายุ 10 ปี ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดแตะระดับ 2.01% หลังสหรัฐฯ ประกาศมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านเพื่อตอบโต้กรณีโดรนสอดแนมของสหรัฐฯ ถูกยิงร่วง หนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นกว่า 1.3% แตะระดับ 1,429 ดอลลาร์ต่อออนซ์

อย่างไรก็ตามนักลงทุนส่วนใหญ่รอดูผลการประชุม G20 ช่วงปลายสัปดาห์นี้ นอกจากนี้ยังต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นทั่วโลก เช่น Trade war กรณีความขัดแย้งระหว่างอิหร่าน-สหรัฐ

สรุป

ค่าเงินบาทยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง แม้ปัจจัยหลักจะมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าลง แต่เมื่อเทียบกับภูมิภาคค่าเงินบาทยังแข็งค่ากว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเห็นได้ชัด เพราะไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัด

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/thaibaht-usd-gold/

ทำลายสถิติ! เงินบาทแตะ 30.86 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี

ต้นปีหลายนักวิเคราะห์มองว่ากลางปีนี้ค่าเงินบาทจะกลับมาอ่อนค่า แต่ตอนนี้ค่าเงินบาทลงมาต่ำ 31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว ไหนดอกเบี้ยนโยบายทั่วโลกส่อแววจะเป็นขาลงอีกครั้งสวนทางแบงก์ชาติของไทยที่ (คาดว่า) ยังคงดอกเบี้ยฯ ไว้ให้ผลตอบแทนการลงทุนบางอย่างยังน่าสนใจกว่าประเทศอื่น และมีเงินไหลเข้าไทย

แต่หลังจากนี้ค่าเงินบาทจะเป็นอย่างไร? แบงก์ชาติเตรียมตัวอย่างไรไว้บ้าง?

ภาพโดย Peter Hellberg from Stockholm, Sweden (Thai baht) [CC BY-SA 2.0 (http://creativecommons.org/licenses/by-sa/2.0)%5D, via Wikimedia Commons

เงินบาทต่ำ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี

วันนี้ (21 มิ.ย. 2562) ค่าเงินบาทแข็งค่าที่สุดในรอบ 6 ปี โดยเช้านี้เปิดตลาดที่ระดับ 30.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าจากเมื่อวานนี้ (20 มิ.ย.) ปิดตลาดที่ระดับ 30.92 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุหลักมาจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่าที่กลายเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้น

  • ราคาทองคำเพิ่มขึ้น 2.0% แตะระดับ 1,387 ดอลลาร์ต่อออนซ์
  • ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นกว่า 4.4% แตะระดับ 64.6 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากความตึงเครียดในตะวันออกกลาง หลังสหรัฐฯขู่โจมตีอิหร่าน

กรุงไทยชี้เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องหากแบงก์ชาติเล็งขึ้นดอกเบี้ยฯ

จิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย บอกว่า ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ดัชนี STOXX50 ของยุโรป และดัชนี FTSE100 ของอังกฤษปรับตัวขึ้นทั้งหมดหลังจากธนาคารกลางหลายแห่งทั่วโลกมีทีท่าผ่อนคลายนโยบายการเงิน ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่อง กลายเป็นแรงกดดันให้ค่าเงินเยนแข็งค่า 0.5% อยู่ที่ระดับ 107.3 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าต่ำที่สุดของเงินเยนในรอบ 1 ปี ขณะที่กดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากที่สุดในรอบ 6 ปี

ค่าเงินบาทที่แข็งค่าเร็วตามภูมิภาคเอเชียและกลุ่มตลาดเกิดใหม่ เพราะระยะสั้นตลาดมั่นใจมากว่า FED (ธนาคารกลางสหรัฐ) จะลดดอกเบี้ยเดือนหน้า และ Donald Trump จะเจรจากับ Xi jinping ได้ในช่วงสิ้นสัปดาห์ “

ทั้งนี้ภายในวันนี้กรอบค่าเงินบาทวันนี้อยู่ที่ 30.80-31.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าผู้นำเข้าจะทยอยสะสมเงินดอลลาร์หลังจากการปรับแข็งค่าในระยะสั้น ทว่าหากเงินบาทแข็งค่าต่อไป คาดว่าผู้ส่งออกจะชะลอการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐลงเช่นกัน (เพื่อเก็งกำไร)

สิ่งที่ต้องจับตามองในสัปดาห์หน้าคือ ผลการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หากคงมุมมองว่าต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอาจทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าประเทศอื่น ในขณะที่ต่างประเทศเลือกจะผ่อนคลายนโยบายการเงิน อย่างไรก็ตามคาดว่ากรอบการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทเดือนนี้อยู่ที่ 30.50-31.30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ภาพจาก Unsplash

แบงก์ชาติย้ำเงินบาทผันผวน ผู้ประกอบการต้องทำประกันค่าเงิน

วชิรา อารมย์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) บอกว่า ช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเร็วกว่าสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค สาเหตุมาจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งหากค่าเงินบาทยังเข็งค่าต่อเนื่องไม่สอดคล้องกับพื้นฐานของไทยอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและผู้ประกอบการ

ธปท. จะเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามธุรกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในการใช้ไทยเป็นแหล่งพักเงินระยะสั้นเพื่อเก็งกำไรค่าเงินบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่ ธปท. ไม่พึงประสงค์

ทั้งนี้ระยะต่อไปค่าเงินบาทยังมีความผันผวนภาคเอกขนต้องพิจารณาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดผลกระทบที่อาจะเกิดขึ้น

สรุป  

ค่าเงินบาทมีทิศทางแข็งค่า แม้ปัจจัยหลักจะมาจากต่างประเทศ เช่น ความเสี่ยงสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า ทำให้ต่างชาติมองว่าบาทเป็น Safe Haven เลยนำเงินเข้ามาพักในตลาดเงินตลาดทุนของไทย แต่ปัญหาคือถ้าเมื่อไรที่ต่างชาติเริ่มขึ้นดอกเบี้ย หรือดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ารวดเร็ว อาจเห็นเงินไหลออกจากบาทอย่างรวดเร็วเช่นกัน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/baht-appreciation-in-6-years/