คลังเก็บป้ายกำกับ: ชานมไข่มุก

เจ้าของร้านชานม BEARHOUSE ถกประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ “ธุรกิจเจ๊ง” หากต้องจ่ายค่าแรง 3-5 หมื่นบาท พบรายได้บริษัทฟันกำไรทุกปี

เมื่อวานนี้โลกทวิตเตอร์มีการแชร์คลิปไวรัลของ ซารต์–ปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช และ กานต์–อรรถกร รัตนารมย์ เจ้าของร้านชานมไข่มุก  BEARHOUSE  ซึ่งในคลิปวิดีโอ ซารต์และกานต์ ได้พูดคุยเกี่ยวกับประเด็นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศไทยว่า ทำไมผู้ประกอบการถึงจ่ายค่าแรงขั้นต่ำให้พนักงานหน้าร้านหรือลูกจ้างอยู่ที่ 30,000 ถึง 50,000 ไม่ได้?? 

โดย ซารต์–ปัทมพร ให้เหตุผลว่า ถ้าต้องจ่ายเงินเดือน3-5 หมื่นให้แก่พนักงานหน้าร้าน ธุรกิจก็จะเจ๊ง “เพราะเราขายชานมไข่มุกแก้วหนึ่ง ราคาอยู่ที่ 40-50 บาท แต่ถ้าเราขายชานมไข่มุกอยู่ที่ราคา 300-400 บาท เจ้าของธุรกิจสามารถจ่ายค่าจ้างให้พนักงานได้เลย 30,000 บาท แต่ในความเป็นจริงเราไม่ได้ขายชานมไข่มุกราคาหลักร้อย” และค่าจ้างเป็นไปตามค่าแรงในตลาด

ด้านกานต์–อรรถกร หุ้นส่วนสำคัญของ BEARHOUSE กล่าวเสริมว่า ถ้าเจ้าของธุรกิจอยากจ่ายเงินเดือนพนักเพิ่มขึ้น GDP ในประเทศไทยต้องสูง ซึ่งถ้าไม่แก้ปัญหาให้ครบวงจรก็จะกลายเป็นปัญหาอยู่ดี และหากมีการขึ้นค่าแรงคนที่ได้รับผลกระทบจะตกอยู่ที่ผู้ประกอบการ 

รูปภาพจาก facebook BEARHOUSE

ซึ่งในโลกทวิตเตอร์ก็มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นทั้งเห้นด้วยและไม่เห็นด้วย บางก็มองว่า ทำไมต่างประเทศอย่างประเทศเกาหลีใต้ กาแฟแก้วละ 130-200 บาท เจ้าของธุรกิจสามารถจ่ายเงินพนักงาน 40,000 ถึง 50,000 ได้ธุรกิจยังอยู่ได้ หรือบางคนแสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่เขาพูดมาคือการสะท้อนในมุมของผู้ประกอบการ ที่ต้องแบกภาระต้นทุน หากรัฐบาลปรับขึ้นค่าแรงให้กับลูกจ้าง โดยไม่ช่วยเหลือผู้ประกอบการ สุดท้ายก็เป็นการผลักภาระให้เจ้าของธุรกิจ 

สิ่งที่น่าสนใจคือ ชานมไข่มุก BEARHOUSE ภายใต้ชื่อ บริษัท 21ซันแพสชั่น จำกัด ก่อตั้งบริษัทเมื่อสิงหาคม ปี 2561 และมีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี 

โดยบริษัท 21ซันแพสชั่น จำกัด จดทะเบียนด้วยทุน 2,000,000.00 บาท มีกรรมการ คือ นางสาวปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช และ นายอรรถกร รัตนารมย์ โดยในปี 2562 มีกำไรอยู่ที่ 648,576  บาท, ปี 2563 กำไรอยู่ที่ 12,214,486 บาท, และในปี 2564 กำไรอยู่ที่ 17,948,349 บาท จะเห็นได้ว่าบริษัท 21ซันแพสชั่น จำกัด มีกำไรเพิ่มขึ้นทุกปี 

ทั้งนี้ร้านชานมไข่มุก BEARHOUSE มีทั้งหมด 19 สาขา แบ่งเป็นในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล 18 สาขา และต่างจังหวัด(เดอะมอลล์ โคราช) อีก 1 สาขา และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสาขามากขึ้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เจ้าของร้านชานม BEARHOUSE ถกประเด็นค่าแรงขั้นต่ำ “ธุรกิจเจ๊ง” หากต้องจ่ายค่าแรง 3-5 หมื่นบาท พบรายได้บริษัทฟันกำไรทุกปี first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/bearhouse-the-minimum-wage-broken-business-pay-wages-3-5-thousand-baht/

Google Doodle แต่งตั้ง ” วันเฉลิมฉลองชาไข่มุก ” ครั้งแรกในไทย พร้อมเกมสุดน่ารัก ให้เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน

ตอนนี้ถ้าเพื่อน ๆ คนไหนกำลังเข้าเว็บ Google เพื่อค้นหาอะไรสักอย่างแล้วเจอ ชานมไข่มุก ที่หน้าการค้นหาไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะทาง Google Doodle จัดทำ Celebrating Bubble Tea 2023 เพื่อเป็นการ เฉลิมฉลองชาไข่มุก ของไทยเป็นครั้งแรก ให้พวกเราหรือคนที่เป็นสาวกชานมมาร่วมเล่นเกมสุดน่ารัก พร้อมสร้างชานมและเปิดร้านค้าได้อีกด้วย  เรียกได้ว่าครีเอทสุด ๆ

เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2566 Gogole Doodle ได้แต่งตั้ง วันเฉลิมฉลองชาไข่มุกCelebrating Bubble Tea 2023 ครั้งแรกในไทยค่ะ ปกติแล้วจะเป็นวันที่ 30 เมษายน  ซึ่ง ชานมไข่มุก เนี่ยมีรากฐานมาจากวัฒนธรรมการดื่มชาแบบดั้งเดิมของไต้หวันซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 17 แล้ว ถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ได้ รับความนิยมอย่างมากในช่วงสองสามทศวรรษที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันค่ะ   

โดยหน้า Doodle วันนี้ แสดงเป็นคำว่า Google ผ่านลวดลายการ์ตูนสุดคิวท์ จากเหล่าขนฟูมากมายทั้งน้องหมา น้องแมว รวมไปถึง กบ แกะ และสัตว์ต่าง ๆ

ที่สำคัญทาง Unicode Consortium ยังรับรองกลุ่มอีโมจิชุดใหม่เข้ามาอีกด้วย สำหรับอีโมจิชานมไข่มุก  สำหรับ Windows สามารถใช้งานด้วยการกด emoji แล้วกดปุ่ม Windows + . จะแสดงหน้าต่าง emoji ทั้งหมดชาไข่มุกจะขึ้นมาอยู่ในส่วนของหวาน  พร้อมให้ใช้งานกันได้

วิธีการเล่น

การเล่นก็ง่ายมาก จิ้มเข้ามาที่หน้า Google จะเจอรูปน้องหมาสีดำ เพื่อเข้าสู่โหมดการเล่นทันที เราจะได้รับบทเป็น สุนัขภูเขา Formosan ให้เราทำชานมไข่มุกตามสั่ง ถ้าทำได้ครบถ้วนจะได้ดาวสีหลืองมาติดอีกด้วย โดยจะมีลูกค้าทั้งหมด 5 รอบ แบ่งไปตามความชอบเหมือนบางคนที่ชอบกินหวานน้อย หวานมาก หรือจะกินแต่ไข่มุกก็มีให้เลือกหลากหลาย


โดยจะแบ่งดาวไว้สูงสุด 3 ดาวต่อ 1 แก้ว มีทั้งไข่มุก น้ำชา และไซรัป เมื่อเล่นเสร็จทุกคน เรายังสามารถแชร์ผลการแข่งขันลง Social Media ไว้ไปขิงกับเพื่อน ๆ ได้อีกต่างหาก หรือจะแบ่งปันเกมให้คนอื่นมาร่วมเล่น ผ่านทาง Facebook กับ twitter ได้ด้วยนะ


ถ้าคนไหนที่สนใจลองมาเล่น Celebrating Bubble Tea กันได้นะคะ รับรองเลยว่าเล่นเพลิน แก้เบื่อได้ดี ไม่เสียเวลาแน่นอน

 

ที่มา : Google

from:https://droidsans.com/celebrating-bubble-tea-google/

Starbucks ทดลองเมนู ‘ชานมไข่มุก’ เสิร์ฟชา Chai เข้มๆ พร้อมไข่มุกรสกาแฟ

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ชานมไข่มุกกลายเป็นเครื่องดื่มยอดฮิตอย่างมาก Starbucks จึงออกเมนูเครื่องดื่มผสมไข่มุก 2 ตัว ทดลองขายใน 2 สาขาในสหรัฐฯ อยู่ ณ ตอนนี้ เรียกได้ว่าไม่พลาดที่จะตามเทรนด์

โฆษกของ Starbucks ยืนยันเองว่า จะทดลองจำหน่ายเครื่องดื่มไข่มุก 2 ชนิด เป็นเมนูพิเศษสำหรับช่วงหน้าหนาว

ก่อนหน้านี้ ในปี 2019 ซึ่งเทรนด์ชาไข่มุกเริ่มมาแรง Starbucks ก็เคยวางจำหน่าย Dark Caramel Coffee Sphere Frappuccino® เป็นเมนูพิเศษที่จำกัดการขายในช่วงหน้าร้อน แต่ก็ถือว่าเป็นการปล่อยหมัดที่ยังกั๊กๆ เพราะเป็นการเสิร์ฟ กาแฟ+ไข่มุกกาแฟ ยังอยู่ใน comfort zone ของตัวเองที่ถนัด

แต่ในปีนี้ Starbucks เปิดตัว 2 เมนูใหม่เสิร์ฟพร้อมไข่มุกกาแฟ คือ Iced Chai Tea Latte และ In The Dark (Cold Brew) เรียกได้ว่ากล้าที่จะเสิร์ฟ “ชานมไข่มุก” มากยิ่งขึ้น 

ทั้ง 2 เมนู คือ Iced Chai Tea Latte และ In The Dark ในเวอร์ชั่นไข่มุก มีราคาอยู่ที่ 5.45 เหรียญ และ 5.25 เหรียญ (180 บาท และ 175 บาท) ตามลำดับ โดยจะเสิร์ฟในไซส์ Grande เท่านั้น

ที่มา – Insider

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Starbucks ทดลองเมนู ‘ชานมไข่มุก’ เสิร์ฟชา Chai เข้มๆ พร้อมไข่มุกรสกาแฟ first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/starbucks-is-testing-boba-bubble-tea-menu/

Nayuki ชานมไข่มุกคู่รักชาวจีน หลังทำ IPO มีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท

ชานมไข่มุกของคู่รักชาวจีนกำลังรุ่งเรืองเฟื่องฟูจริงๆ หลังทำ IPO แล้ว ชานมไข่มุก Nayuki มีมูลค่าสูงมากกว่า 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณกว่า 7 หมื่นล้านบาท

Nayuki

Nayuki เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจชานมไข่มุกที่คู่รักชาวจีน Peng Xin และสามีของเธอ Zhao Lin ร่วมกันก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2015 บริษัทชานมไข่มุกนี้ก่อตั้งด้วยความหลงใหลในกลิ่นของขนมปังจากเตาอบร้อนๆ ที่เสิร์ฟพร้อมชารสชาติอร่อยฝีมือแม่ของเด็กหญิง Lita Peng (หรือ Peng Xin) ชาที่มีรสชาติอัศจรรย์ใจ ขนมปังอุ่นๆ หอมๆ จากเตาร้อนและเสียหัวเราะจากครอบครัวคือส่วนผสมที่ลงตัวรวมเป็นตัวแทนความสุขของเธอ Peng Xin ผู้ร่วมก่อตั้ง Nayuki

Nayuki คือตัวแทนความรักที่มีต่อชาของ Peng Xin ตั้งแต่แรกเริ่ม เธอมีความสุขกับการทำชาและส่งต่อความฝันที่จะสร้างอุตสาหกรรมชาที่ทำให้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้น มีความกระปรี้กระเปร่า ตื่นเต้นและนำส่งความสุขให้กับนักดื่มชายุคใหม่ เพียงระยะเวลาสั้นๆ หลังก่อตั้งร้าน Nayuki สามารถมีหน้าร้านได้มากถึง 350 แห่งใน 51 เมืองของจีน

Nayuki
ตัวอย่างเครื่องดื่มจาก Nayuki

ร้านชานมไข่มุก Nayuki นี้ไม่ใช่ร้านที่เกิดขึ้นจากความรักและลุ่มหลงในชาและเบเกอรี่ของ Peng Xin อย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นร้านชาที่เกิดจากคนรักกันอย่าง Peng และ Zhao ด้วย ทั้งสองพบรักกันและแต่งงานกันที่เซินเจิ้น เมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นฮับเทคโนโลยีของจีน เมืองที่ Peng ทำงานอยู่ในบริษัทซอฟต์แวร์มาก่อน ก่อนที่จะมาก่อตั้งบริษัทชานมไข่มุก Nayuki ร่วมกับคนรักของเธอ Zhao Lin ประธานบริษัทที่ก่อนหน้านี้ทำงานอยู่ในบริษัทแวดวงอาหารหลากหลาย ทั้งคู่มีหุ้นอยู่ใน Nayuki ราว 28%

ข้อมูลจากเว็บไซต์ระบุว่า ชาจาก Nayuki เป็นชาระดับพรีเมียมปลูกให้เติบโตอยู่ในสวนชาของตัวเองพร้อมขนมปังสไตล์ยุโรปที่พัฒนาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านเบเกอรี่จากญี่ปุ่น ปัจจุบันมีมูลค่ากว่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ล่าสุดทำ IPO ในตลาดหุ้นฮ่องกงได้มากถึง 656 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณกว่า 2 หมื่นล้านบาท

Peng Xin กรรมการบริหารและผู้จัดการร้านให้สัมภาษณ์ว่า เธอใช้เวลาเกือบ 2 ปีในการทุ่มเททำเครื่องดื่มเพื่อทดลองตลาด กว่าจะเปิดร้านสาขาแรกได้ใช้เวลานาน โดย 3 สาขาแรกของ Nayuki เปิดที่ทางตอนใต้ของเมือง Shenzhen (เซินเจิ้น) จากนั้นเครื่องดื่มชาระดับไฮเอนด์นี้ก็บูมขึ้นมากจนสามารถขยายหน้าร้านได้มากกว่า 560 สาขากว่า 70 เมืองซึ่งส่วนใหญ่ก็อยู่ในจีน

ชานมไข่มุกถือกำเนิดขึ้นในไต้หวันมาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 จากนั้นก็ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วเอเชีย นอกจากไข่มุกที่ทำจากแป้งมันสำปะหลังแล้ว Nayuki ยังมีส่วนประกอบอื่นๆ ที่แตกต่างจากร้านชาไข่มุกทั่วไป เช่น ผลไม้สดหรือครีมชีสที่ราดบนชานมไข่มุก

ชานมไข่มุกของ Nayuki นี้สามารถระดมทุนได้มากถึง 656 ล้านเหรียญสหรัฐและยังมีส่วนแบ่งตลาดราว 19% ของปี 2020 ถือเป็นสัดส่วนที่ใหญ่เป็นอันดับสองของตลาด รองจากชาเจ้าใหญ่แบรนด์ HeyTea ซึ่งหน้าร้าน Nayuki นี้แตกสาขาอยู่ในตัวเมืองของจีนกว่า 90% ส่วนใหญ่เป็นเมืองที่เจริญอันดับต้นๆ ของจีนและยังขยายสาขาไปยังฮ่องกงและญี่ปุ่นด้วย

บริษัท Nayuki ตั้งเป้าจะเปิดเพิ่มกว่า 300 สาขาในปีนี้ และจะขยายเพิ่มอีกราว 350 สาขาในปี 2022 ร้านส่วนใหญ่ที่กำลังจะเปิดนี้จะมีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Nayuki PRO จะมีการขายกาแฟและเบเกอรี่เพิ่มขึ้นเพื่อดึงดูดคนทำงานออฟฟิศ

Nayuki Bubble Tea
ภาพจาก Nayuki

Peng เล่าว่า ปีที่ผ่านมา Nayuki จะปล่อยเครื่องดื่มใหม่ๆ ทุกสัปดาห์ เพื่อรักษาฐานลูกค้าที่เป็นคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เพื่อให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการที่ร้านเรื่อยๆ หลังจากที่โควิดระบาด ยอดขายส่วนใหญ่ตอนนี้ก็มาจากยอดขายออนไลน์แทบทั้งนั้น ช่วงหลังโควิดระบาด ยอดขายของ Nayuki มาจากออนไลน์ราว 70% ลูกค้าที่เคยมาใช้แฮงก์เอาท์ที่ร้านเป็นกลุ่ม คราวละ 3-4 คน ตอนนี้ก็หันมาสั่งเครื่องดื่มออนไลน์แทน 

Peng พยายามลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของร้านมากขึ้นด้วยการใช้ระบบอัตโนมัติแทนแรงงานคน ซึ่งก็มีทั้งในส่วนของการตัดผลไม้สดและการนวดแป้ง เธอคาดหวังว่า Nayuki จะสามารถเป็นแบรนด์ที่ทำให้ลูกค้ายินดีที่จะกลับมาหา มาใช้บริการได้ทุกวัน เธอต้องการให้มันเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถทำได้ตลอดชีวิต รายได้บริษัทปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 3.1 พันล้านหยวน หรือประมาณ 480 ล้านเหรียญสหรัฐ ขาดทุนราว 203 ล้านหยวน

ด้าน Jason Yu กรรมการผู้จัดการบริษัทวิจัย Kantar Worldpanel Greater ให้ความเห็นว่า Nayuki และบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมนี้จะสามารถประสบความสำเร็จจากการสร้างรายได้เช่นนี้ยาวนานแค่ไหน

ขณะที่ Kenny Ng นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก Everbright Sun Hung Kai จากฮ่องกง ระบุว่า Nayuki อาจจะประสบความสำเร็จในการขยายสาขา แต่จะสามารถทำได้ยาวนานแค่ไหนในระยะยาว Nayuki อาจจะมีโอกาสที่จะเพิ่มผลกำไรและขยายสาขาได้อีกใน 3-5 ปีข้างหน้า แต่ความท้าทายที่แท้จริงก็คือ การเติบโตอย่างยั่งยืนหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร

ที่มา – Bloomberg, Nayuki

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post Nayuki ชานมไข่มุกคู่รักชาวจีน หลังทำ IPO มีมูลค่ากว่า 7 หมื่นล้านบาท  first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/nayuki-bubble-tea-in-china-is-worth-after-ipo/

วิกฤต “ไข่มุก” ใส่ชานมในสหรัฐฯ ขาดแคลน: ถ้าไม่มีไข่มุก ก็ไม่มีใครอยากซื้อชานมดื่ม

โควิด-19 สร้างวิกฤตชานมไข่มุก เมื่อไข่มุกขาดแคลนในประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะมันสำปะหลังที่เป็นวัตถุดิบหลักขาดแคลนหนัก เพราะต้องนำเข้าจากประเทศในแถบเอเชียเท่านั้น ร้านชาไข่มุกที่ไม่มีไข่มุก ก็เหมือนโชว์รูมรถ ที่ไม่มีรถเลยสักคัน

ก่อนหน้านี้ Brand Inside เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวกับการขาดแคลนสินค้าชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มาแล้วหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่ช่วงที่โควิด-19 เริ่มระบาดใหม่ๆ ก็เกิดปัญหากระดาษชำระขาดแคลน เพราะความตื่นตัวในการซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความสะอาด หรือก่อนหน้านี้ไม่นานชิปเซ็ตที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของโทรศัพท์มือถือ ทีวี เครื่องเล่นเกมคอนโซล รวมถึงรถยนต์ ก็ขาดแคลนอย่างหนักเช่นเดียวกัน เพราะโรงงานหลายแห่งต้องปิดตัวลงจนโรงงานที่เหลืออยู่ไม่สามารถผลิตชิปเซ็ตให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ได้มีแค่ปัญหาการขาดแคลนกระดาษชำระ และชิปเซ็ตเท่านั้น ที่เป็นปัญหาใหญ่กระทบกับการใช้ชีวิตของคนทั่วไป แต่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับปัญหา “ไข่มุก” ที่ใส่ในชานมขาดแคลนอย่างหนัก ร้านขายชานมไข่มุกบางแห่งถึงกับบอกว่า “ร้านชานมไข่มุกที่ไม่มีไข่มุก ก็เหมือนโชว์รูมรถ ที่ไม่มีรถจอดอยู่เลยสักคัน”

ทำไม “ไข่มุก” จึงขาดแคลน

สาเหตุที่ ไข่มุก ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของชานมไข่มุกขาดแคลน เป็นเพราะวัตถุดิบที่ใช้ทำตัวไข่มุก ต้องนำเข้ามาจากประเทศในทวีปเอเชียเท่านั้น

วัตถุดิบที่ว่านี้ไม่ใช่ของหายากในมุมมองของคนเอเชีย แต่เป็นกลายเป็นของหายากสำหรับคนสหรัฐอเมริกา นั่นคือ มันสำปะหลัง และแป้งมันสำปะหลังนั่นเอง ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในแหล่งที่มาของมันสำปะหลัง เช่นเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย

แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้การขนส่งสินค้าทางเรือมีความล่าช้ากว่าปกติ โดยเฉพาะท่าเรือใน San Francisco ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กำลังเผชิญกับปัญหาคิวของเรือที่ต้องการเข้าเทียบท่าสะสมสูงสุด 40 ลำ พร้อมๆ กันในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทั้งที่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 จะระบาด เรือที่ต้องการเข้าเทียบท่าแทบจะไม่ต้องรอคิวเลย

การที่เรือขนส่งสินค้าต้องเข้าคิวที่ท่าเรือ นั่นหมายความว่าระยะเวลาที่ใช้สำหรับการขนสินค้าขึ้น-ลงเรือ จะเพิ่มขึ้นอีก โดยเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่อาจต้องใช้เวลานานนับสัปดาห์ เพื่อขนสินค้าออกจากเรือ ในขณะที่เรือลำอื่นๆ ที่ไม่สามารถเข้ามาที่ท่าเรือได้ ก็ต้องแล่นรอที่รอบๆ ท่าเรือ

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ไข่มุก ขาดแคลนมานานนับเดือนแล้ว บริษัทที่ทำหน้าที่จัดหาไข่มุกถึงกับบอกว่า ไข่มุกคงขาดแคลนต่อไปจนถึงสิ้นเดือนเมษายนเป็นอย่างน้อย

ถ้าไม่มีใครมุก ก็ไม่มีลูกค้าซื้อชานมดื่ม

การขาดแคลนไข่มุกนี้ เป็นปัญหาใหญ่สร้างความน่ากังวลให้กับร้านชานมไข่มุกในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างมาก จนร้านชานมไข่มกร้านหนึ่งถึงกับบอกว่า “ถ้าไม่มีไข่มุก ลูกค้าก็จะไม่ดื่มชานมไปด้วย ลูกค้ามาที่ร้านก็เพราะต้องการไข่มุก”

สำหรับความนิยมในการดื่มชานมไข่มุกของคนสหรัฐอเมริกา ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ความบันเทิงในชีวิตของคนสหรัฐอเมริกาหมดลง ไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ การดื่มชานมไข่มุกจึงกลายเป็นความสุขเล็กๆ น้อยๆ ที่หาได้ในชีวิตประจำวัน

วัตถุดิบอื่นก็ขาดแคลนเช่นกัน

ความจริงแล้วปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญไม่ได้เกิดขึ้นกับไข่มุกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสำคัญกับร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks เช่นเดียวกัน

โดย Starbucks ในประเทศสหรัฐอเมริกา ต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนนมข้าวโอ๊ต ไซรัป รวมถึงแก้วน้ำที่ใช้สำหรับใส่เครื่องดื่มเช่นกัน

ที่มา – Business Insider, Nytimes, Fastcompany

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post วิกฤต “ไข่มุก” ใส่ชานมในสหรัฐฯ ขาดแคลน: ถ้าไม่มีไข่มุก ก็ไม่มีใครอยากซื้อชานมดื่ม first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/boba-in-milk-tea-shortage-in-us/

สิงคโปร์ปิดร้านค้าที่ไม่จำเป็น ของหวาน กาแฟ ชานมไข่มุก ฯลฯ หลังจำนวนผู้ติดเชื้อ COVID-19 ยังสูง

มาตรการปิดเมืองของสิงคโปร์เข้มข้นมากขึ้น สั่งปิดร้านที่ไม่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตลง เช่น ร้านกาแฟ ร้านชานมไข่มุก ร้านกาแฟ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19

Singapore Cafe ร้านอาหาร สิงคโปร์
ภาพประกอบบทความจาก Shutterstock

รัฐบาลสิงคโปร์ได้เพิ่มความเข้มงวดในการแพร่ระบาดของ COVID-19 มากขึ้น หลังจากที่ขยายมาตรการปิดเมืองหรือที่เรียกว่า Circuit Breaker ออกไปจนถึง 1 มิถุนายน สาเหตุสำคัญคือมีผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ส่งผลทำให้สิงคโปร์กลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อรวมมากที่สุดในอาเซียนทันที

คำสั่งของรัฐบาลสิงคโปร์ล่าสุดที่ออกมานั้นสั่งให้ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่จำเป็นและตั้งเป็นร้านเดี่ยวๆ นั้นต้องปิดกิจการตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป โดยร้านที่อยู่ในข่ายที่ต้องปิดร้านลง ไม่ว่าจะเป็น ร้านชานมไข่มุก ร้านขนมหวาน ร้านกาแฟ ร้านจำหน่ายเหล้าเบียร์ ร้านขายขนมขบเคี้ยว ซึ่งร้านเหล่านี้ถ้าหากมีร้านเป็นรถเข็นที่อยู่ในศูนย์อาหารก็ต้องปิดกิจการชั่วคราว

ไม่เพียงแค่นั้นโรงงานผลิตสินค้าบางชนิดในสิงคโปร์ก็ต้องปิดกิจการชั่วคราวพรุ่งนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นโรงงานผลิตช็อกโกแลต โรงงานผลิตขนมขบเคี้ยว โรงงานผลิตไอศกรีม รวมไปถึงโรงงานผลิตเค้ก เป็นต้น นอกจากนี้กิจการอื่นๆ ก็ยังโดนรัฐบาลสิงคโปร์สั่งปิดเพิ่มเติมด้วย เช่น ร้านทำผม

ขณะที่กิจการบางแห่งนั้นต้องลดการให้บริการลงมา เช่น ร้านแว่น ถ้าหากต้องการตัดแว่น ซื้อคอนแทคเลนส์ ต้องนัดกับทางร้านก่อนล่วงหน้าเท่านั้น ร้านขายสัตว์เลี้ยงสามารถขายอาหารสัตว์และสิ่งของจำเป็นผ่านช่องทางออนไลน์ได้เท่านั้น ห้ามจำหน่ายสัตว์เลี้ยงผ่านช่องทางออนไลน์ ร้านซักรีดไม่สามารถให้บริการผ่านหน้าร้านได้ แต่สามารถใช้ช่องทางออนไลน์ได้

สำหรับรายชื่อธุรกิจที่จำเป็นในการดำรงชีวิตช่วง COVID-19 รัฐบาลสิงคโปร์ได้จัดทำเว็บไซต์ให้ประชาชนสามารถเข้าไปดูว่าธุรกิจไหนที่ยังสามารถให้บริการได้ในช่วงนี้

การสั่งปิดกิจการชั่วคราวเพิ่มเติมนั้นรัฐบาลสิงคโปร์คาดหวังว่าจะทำให้ประชาชนไม่เกิดการแพร่เชื้อ หลังจากที่มีกรณีพนักงานของร้านอาหารและเครื่องดื่มติดเชื้อและแพร่เชื้อต่อคนในครอบครัว ซึ่งล่าสุดทำให้แรงงานในสิงคโปร์ที่ยังปฏิบัติงานลดลงมาเหลือ 15% จากเดิมก่อนมีคำสั่งนั้นอยู่ที่ราวๆ 20%

ที่มา – MTI Singapore, Yahoo News

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/sg-new-measures-closing-bubble-tea-coffee-shop-after-extend-circuit-breaker/

NOBRAND ชานมไข่มุก ธุรกิจที่ออกแบบมาเพื่อ Delivery โดยเฉพาะ

ใครว่าชานมไข่มุกถึงจุดอิ่มตัวแล้ว ใครคิดว่าตลาดจะหดตัว NOBRAND (โนแบรนด์) บอกว่าไม่เห็นด้วย และเชื่อว่าตลาดยังมีความต้องการอยู่ ทำให้ระยะเวลาไม่ถึง 1 ปีของ NOBRAND ชานมไข่มุกน้องใหม่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งที่อยู่บนพื้นฐานของ Delivery เกือบทั้งหมด

พนิดา นิรมิตวิจิตร Brand Manager ของ NOBRAND บอกว่า ยอดขาย Q1 ปีนี้ ทำได้กว่า 60,000 แก้วแล้ว (ยังไม่จบไตรมาสด้วย) ขณะที่ยอดขาย Q4 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 35,000 แก้ว แน่นอนว่า สถานการณ์​ COVID-19 ส่งผล แต่การวางแผนธุรกิจ การเตรียมความพร้อมและการทำตลาดคือปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกัน

Brand Inside เลยอยากชวนทุกคนมารู้จัก NOBRAND ทำความเข้าใจ นำไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจร้านอาหารของตัวเอง เพื่อโอกาสผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปด้วยกัน

กระแสชานมไข่มุก+Delivery คือจุดเริ่มต้น

พนิดา บอกว่า กระแสชานมไข่มุกมาแรงมาก ทั้งแบรนด์จากต่างประเทศและแบรนด์ไทย มีประสบความสำเร็จหลายเจ้า ประกอบกับการเติบโตของ Delivery ที่เพิ่มมากขึ้น เป็นพฤติกรรมปกติของผู้บริโภคไปแล้ว ในการเปิดแอปฯ​สั่งอาหาร ทั้ง Grab, Get และ LINE Man ยิ่งมีโปรโมชั่นแข่งขันกัน ทำให้คนนิยมสั่งอาหารแบบ Delivery มากขึ้น

เมื่อ กระแสชานมไข่มุกมารวมกับการใช้งาน Delivery จึงเกิดเป็น NOBRAND ขึ้น

ส่วนสาเหตุที่ใช้ชื่อ NOBRAND เพราะต้องการให้ผู้บริโภคโฟกัสที่คุณภาพ โดยไม่ต้องสนว่าเป็นแบรนด์อะไร และไม่ต้องการยึดติดกับการเป็นแบรนด์ชานมไข่มุก เพราะอนาคตอันใกล้นี้จะขยายสินค้าใหม่ๆ ในหมวดอาหารให้สั่ง Delivery กัน

พนิดา นิรมิตวิจิตร Brand Manager ของ NOBRAND

3 จุดแข็ง กับ การโฟกัสที่รายละเอียดของสินค้า

ถ้านึกถึงจุดแข็งสำคัญของ NOBRAND มี 3 ส่วนหลัก คือ Quality เน้นคุณภาพคุ้มกับราคาที่จ่าย, Consistency เสมอต้นเสมอปลาย ซื้อได้ในเวลาที่อยากกิน และ Affordable ราคาจับต้องได้

ด้วยความที่ Made for Delivery เป็นหลัก ทำให้มีเวลาโฟกัสกับผลิตภัณฑ์ คือ ชานมไข่มุก เช่น ปริมาณ กับ ปริมาตร ของน้ำแข็ง ต้องพอดีเมื่อถึงมือผู้บริโภค การชงและตีชา มีการคิดค้นสูตรมาอย่างดีจากร้านผ่านการขนส่งไปถึงผู้บริโภครสชาติต้องได้มาตรฐาน แพ็คเกจต้องได้รับการออกแบบมาให้เหมาะกับการขนส่ง

นอกจากนี้ เมนู ยังมีความหลากหลายตอบโจทย์ความต้องการที่แตกต่างกันไป แบบหวานน้อย หวานมาก เมนูเจหรือมังสวิรัติ เพื่อคนรักสุขภาพ หรือต้องการควบคุมน้ำหนัก เป็นต้น

การตลาด คือหัวใจสำคัญของร้าน Delivery

พนิดา บอกว่า NOBRAND มีหน้าร้าน 2 แห่ง คือที่สวนหลวงสแควร์เป็นสาขาแรก กับ เพชรบุรีตัดใหม่ เป็นสาขาสอง แต่ไม่ได้ต้องการให้ลูกค้ามาซื้อที่ร้าน เพราะต้องรอคิวนาน มีพนักงาน Delivery มาต่อคิวซื้อเป็นจำนวนมาก

การไม่ได้เน้นหน้าร้าน คือ ไม่ต้องสนใจ Location ว่าต้องมีจำนวนคนเดินผ่านมากๆ แต่เลือกจุดที่พนักงาน Delivery สามารถเข้าถึงได้ง่าย จอดรถสะดวกเป็นโจทย์สำคัญ แต่ด้วยการไม่มีลูกค้าขาจร เดินผ่าน ทำให้การทำตลาดเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง

NOBRAND วางตำแหน่งชัดเจนว่า เน้นเจาะกลุ่มนักศึกษาและพนักงานบริษัท โปรโมชั่นต้องสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น ซื้อ 10 แถม 10 หรือซื้อ 20 แถม 25 สนับสนุนให้ทุกคนรวมกลุ่มกันซื้อ ต้องคิดแคมเปญใหม่ๆ เรื่อยๆ เพื่อให้เมื่อทุกคนอยากกินชานมไข่มุก ต้องนึกถึง NOBRAND ก่อน และสามารถสั่งได้เลย

รับมือ COVID-19 ได้ ทำยอดขายโตกว่า 2 เท่า

สถานการณ์​ COVID-19 ให้ทุกคนอยู่บ้าน Work from Home กระทบกับธุรกิจร้านอาหารแทบทั้งหมด แต่ NOBRAND สามารถทำยอดขายเพิ่มขึ้นได้กว่า 2 เท่า จากยอดขาย Q4 ที่ผ่านมา 35,000 แก้ว ตอนนี้ยังไม่จบ Q1 ทำยอดขายได้แล้ว 60,000 แก้ว

ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ COVID-19 รวมถึงฝุ่น PM 2.5 ก่อนหน้านี้ ทำให้คนไม่อยากออกมา แต่สั่งซื้อผ่าน Delivery จำนวนมาก

จุดที่สำคัญคือ NOBRAND เน้นรักษาความสะอาดให้ได้มาตรฐาน เพื่อความมั่นใจของผู้บริโภค ซึ่ง NOBRAND ทำมาตั้งแต่ต้นอยู่แล้ว เช่น การแบ่งโซนการทำงาน ตั้งแต่ จุดรับออเดอร์ลูกค้าออนไลน์, จุดชงเครื่องดื่มและซีล, จุดจำหน่ายให้กับพนักงาน Delivery แยกจากกันชัดเจน พนักงานใส่หน้ากากอนามัย คลุมผม และมีเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ

ดังนั้น คนภายนอกคือ พนักงานส่งอาหาร จะไม่ได้เข้ามาในกระบวนการผลิตเลย พอช่วงนี้ยอดขายเพิ่มขึ้น ก็ใช้วิธีเพ่ิมจำนวนพนักงานในแต่ละจุดเท่านั้น ทำให้สะดวกในการรับกับออเดอร์ที่เพิ่มขึ้น

อยากทำ Delivery บ้าง ต้องเตรียมตัวอย่างไร

ในฐานะแบรนด์ที่สามารถให้บริการ Delivery ได้ประสบความสำเร็จ NOBRAND ได้แนะนำธุรกิจร้านอาหารต่างๆ ว่า พยายามเข้าไปอยู่ในทุกแพลตฟอร์มบริการส่งอาหาร Grab, LINE MAN, Get, Food Panda ใช้ทุกระบบเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายที่สุด

สำหรับผู้ที่มีหน้าร้าน ต้องบริหารจัดการวัตถุดิบและพนักงานระหว่างหน้าร้าน กับบริการ Delivery ให้เพียงพอ

เน้นการทำตลาดให้มาก เพราะร้าน Delivery ไม่ได้อยู่ในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค ไม่มีใครเดินผ่านหน้าร้าน ทางที่ลูกค้าจะมาได้ต้องมีการทำการตลาด การโปรโมท ทำให้ลูกค้านึกถึงร้านให้ได้เป็นประจำ

มั่นใจได้เลยว่า จากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่คุ้นเคยกับเทคโนโลยีและการสั่งอาหาร Delivery มากกว่าเดิม ดังนั้นร้านก็ต้องคุ้นเคยกับการรับสั่งอาหารแบบ Delivery ด้วยเช่นกัน ไม่ว่า COVID-19 จะจบเร็วหรือช้า Delivery จะกลายเป็นสิ่งปกติแน่นอน จากนี้เป็นต้นไป

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ทำให้ No One กลายมาเป็น NOBRAND

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/nobrand-made-for-delivery/

Brown Sugar ขาลง! KAMU สร้างกระแสสายไมโล เครื่องดื่มสุขภาพเอาใจโรงเรียนและครอบครัว

กระแสชานมไข่ที่มาแรงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมนูยอดฮิต “บราวน์ชูการ์” ที่ทำให้คนไทยหวนกลับมากินชานมไข่มุกอีกครั้ง แต่จากนี้ดูเหมือนตลาดไม่หวือหวาเหมือนเคย คนดื่มไม่ Wow ! ตอนนี้ KAMU เริ่มสร้างเครื่องดื่มใหม่สายไมโลก็มา  

สภาพตลาดชานมไข่มุกที่กลาย Every Drink หรือเครื่องดื่มทั่วไป ต้องดื่มทุกวันไม่ต่างกับกาแฟไปแล้วนั้น แต่ความอร่อย ความฟินของผู้ดื่มที่ไม่ WOW เพราะไม่ใช่เครื่องดื่มใหม่อีกต่อไป และตลาดจะคึกคักก็ต่อเมื่อมีเมนูใหม่ๆ มาสร้างตลาดเท่านั้น

KAMU เปิดตัวเครื่องดื่มใหม่ “Milo Family” สายไมโล มีให้เลือก 2 รสชาติ คือ Milo Magma Lava  สายละมุล แบบปั่น สายชีส ถูกใจโกโก้ครัมเบิลและไมโลฟอสซิล หรือ Dino milo สายย้อนวัย ชีวิตขาดไมโลไม่ได้ ราคาเริ่มต้นแก้วละ 80 บาท

สร้างเมนูเครื่องดื่มสุขภาพ

ตลาดชานมไข่มุกในประเทศไทยช่วง 3 ปี ที่ผ่านมาเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% จนมีมูลค่า 2,500 – 3,000 ล้านบาทและคาดการณ์ว่าตลาดมีแนวโน้มเพิ่ม 5,000 ล้านบาท ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แต่กระแสที่มาแรงทำให้ต้องเผชิญกับกระแสลบ โดยเฉพาะวงการแพทย์ออกมาเตือนต่างๆ นานา

  • ชานมไข่มุกมีน้ำตาลสูงถึง 8-11 ช้อนชา
  • บริโภคเป็นประจำทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ไข่มุกมีส่วนผสมสารกันบูด

ภาพลักษณ์ของชานมไข่มุกที่มีกระแสลบ จนกระทั่งความถี่ในการดื่มอาจลดลง การนำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพอย่างไมโลเข้ามาเป็นหนึ่งในเมนูของร้าน จะช่วยภาพลักษณ์ของแบรนด์ดีในสายตลาดผู้บริโภค เพราะมีเมนูทางเลือกให้กับลูกค้าหรือสำหรับสายสุขภาพ

KAMU Collaboration Milo

ฐานลูกค้าของ KAMU ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่และกลุ่มวัยทำงาน หรือตั้งแต่ช่วงอายุ 24 – 44 ปี แต่การ Collaboration กับ Milo โดยการสร้างสรรค์เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของไมโลนั้นทำให้ KAMU สามารถขยายฐานลูกค้ากลุ่มเด็กๆ และรุ่นคุณพ่อ คุณแม่ หรือทั้งครอบครัวเพิ่มขึ้น เพราะไมโลเป็นเครื่องดื่มสายโรงเรียนที่ทุกคนต้องเคยดื่มทั้งนั้น

สร้างความต่างดึงดูดคนเข้าร้าน

นอกจากนี้การมีเครื่องดื่มให้บริการลูกค้า ช่วยทำให้แบรนด์มีความแตกต่างจากคู่แข่ง ตอนนี้แทบจะทุกร้านมีเมนู บราวน์ชูการ์ กันหมดแล้ว การสร้างความแตกต่างจะช่วยดึงดูดลูกค้าเข้ามาซื้อสินค้า เพราะนั่นหมายความว่า ที่อื่นๆ ไม่มีขาย หรือร้านเรามีเมนูที่ไม่เหมือนใครๆ

สรุป

การทำธุรกิจเครื่องดื่ม สำคัญที่ต้องสร้างสรรค์เมนูใหม่ๆ ให้กับลูกค้าอยู่เสมอ การนำเมนูเครื่องดื่มสุขภาพเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคตอบโจทย์กระแสสุขภาพที่มาแรง และยังกระตุ้นยอดขายที่เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกัน KAMU Collaboration Milo ยังช่วยภาพลักษณ์ของแบรนด์ KAMU และขยายฐานลูกค้าใหม่ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/kamu-milo/

“อนล ธเนศวรกุล” รวยร้อยล้านจากชานมไข่มุก The Alley เตรียมปั้นโมเดลธุรกิจใหม่หลังตลาดเลยจุดพีค

เริ่มต้นจับธุรกิจชานมไข่มุก The Alley เมื่อปี 2561 เพราะมี Passion ความหลงใหลในอาหารและเครื่องดื่ม และก้าวสู่นักธุรกิจมีรายได้ร้อยล้านบาทในระยะเวลาหนึ่งปี 

อนล ธเนศวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มิลลาร์รี่ จำกัด

อนล ธเนศวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มิลลาร์รี่ จำกัด มาสเตอร์แฟรนไชส์ The Alley แบรนด์ชานมไข่มุกพรีเมียมจากประเทศไต้หวัน เล่าว่า การทำธุรกิจชานมไข่มุก The Alley มีโลโก้เป็นกวาง มาจากเดินทางไปไต้หวันแล้วพบว่ามีคนยืนต่อแถวเป็นจำนวนมาก เพื่อซื้อชานมไข่มุก ถือว่าเป็นความบังเอิญไม่ได้วางแผนอะไร

สูตรการเลือกธุรกิจทำแล้วรวย

อะไรที่ทำให้อยากได้แบรนด์ The Alley มาทำธุรกิจ แม้ว่าจะแบรนด์ใหม่ในไต้หวัน เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 เพราะเป็นโปรดักส์แชมป์เปี้ยน ใส่ใจในการชงชาโดยผสานเอางานศิลปะเข้ามา การออกแบบเครื่องดื่ม It’s time for tea ชากลิ่นหอม

ความมีเอกลักษณ์เฉพาะของน้ำตาลทรายแดงเคี่ยวเอง ขณะที่แบรนด์อื่นจะซื้อสำเร็จรูปมาใส่ ส่วนไข่มุกเดียร์ริโอก้า ทำด้วยมือและต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง หากใช้ไม่หมดต้องทิ้ง มีความพิถีพิถันแตกต่างกันแบรนด์อื่นอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ เมื่อมองถึงพอร์ตโฟลิโอของ The Alley มีเครื่องดื่มมากมายนอกเหนือจากชานมไข่มุก ทำให้เราสามารถขยายธุรกิจไปได้ไกล และการไม่ได้ตีกรอบการขยายธุรกิจของแบรนด์ จึงคิดนอกกรอบสร้างโมเดลร้านรูปแบบใหม่ๆ ได้

เมื่อคิดแล้วต้องรีบลงมือทำ จากนั้นใช้ระยะเวลาเจรจาเพื่อขอเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ The Alley ราว 6-7 เดือน และเข้ามาเปิดธุรกิจในไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ที่ สยามสแควร์วัน จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบรอบ 1 ปี ยอดขายกว่า 100,000 แก้วต่อเดือน สร้างรายได้ 100 ล้านบาท 

สเต็ปต่อไปเมื่อชานมไข่มุกเลยจุดพีค

สำหรับตลาดชานมไข่มุกในประเทศไทย 3 ปี ที่ผ่านมาเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% จนมีมูลค่า 2,500 – 3,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าตลาดมีแนวโน้มเพิ่ม 5,000 ล้านบาท ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

“ชานมในไทยเลยจุดพีคมาแล้ว 2 ปี นับจากนี้หากชานมไข่มุกยังไม่มีสินค้าเรือธงหรือลูกเล่นใหม่ๆ เข้ามาตลาดจะเริ่มเติบโตช้าลง 20- 25 % และมีบางแบรนด์จะหายไปจากตลาด เพราะกระแสนิยมไม่เท่าเดิม”

อนล เล่าว่า เรากำลังสร้าง The Alley เป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ หรือพูดง่ายๆ ธุรกิจจากนี้จะไม่ได้ขายแค่เครื่องดื่มชานมไข่มุก ต่อยอดสู่อาหาร เบเกอรี่ และของหวานภายในร้าน และไอคอนของแบรนด์สามารถทำเมอร์ชันไดร์ก็ได้

เปิดโมเดลใหม่สร้างโอกาสโต

เดิมที The Alley มีรูปแบบร้านเพียง 1 รูปแบบ คือสแตนดาร์ด ขนาดพื้นที่ 40-60 ตร.ม.โดยเป็นร้านตกแต่งเป็นธรรมชาติ สำหรับลูกค้านั่งดื่มชิลๆ แต่จากนี้จะเปิดร้านค้า 2 รูปแบบใหม่

The Alley Cafe
  • The Alley Cafe เป็นร้านฟูลสเกล ขนาดพื้นที่ 90 ตร.ม.จำหน่ายทั้งเครื่องดื่มหลากหลายนอกเหนือจากชานมไข่มุกและบริการอาหาร มีพื้นที่ให้ลูกค้าสามารถนั่งชิลหรือทำงาน ทดลองเปิดที่ สีลมคอมเพล็กซ์แล้ว โดยเป็นรูปแบบร้านเพื่อออกมารองรับกับธุรกิจชานมที่เลยจุดพีคไปแล้ว
  • The Alley Express ขนาดพื้นที่ 25 ตร.ม. รูปแบบร้านบริการสำหรับลูกค้าซื้อเครื่องดื่มกลับบ้าน และบริการดีลิเวอรี่ผ่านแกร็บให้กับลูกค้าในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร

การวางโมเดล The Alley Cafe  เส้นทางที่อยากจะไปคือ คล้ายกับ after You ซึ่งเป็นร้านเครื่องดื่มและเบเกอรี่ที่ประสบความสำเร็จมาก และเป้าหมายเราต้องการเป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์

สำหรับการขยายสาขา The Alley ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 20 สาขาภายในปี 2563 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จากปัจจุบันมี 12 สาขา

ตีโจทย์ให้แตกมากกว่าแค่ขายชาไข่มุก

The Alley จะเพิ่มสินค้าใหม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น

  • ไอศกรีม Soft Serve ที่ได้นำเมนู Royal No.9 Milk Tea ซึ่งเป็นเมนู signature มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยพัฒนาสูตรเสิร์ฟพร้อมกับเยลลี่สูตรพิเศษ เพิ่มความอร่อยที่แปลกใหม่
  • เบเกอรี่ คัดสรรเมนู ไม่ว่าจะเป็น Sausage Puff, Bacon & Egg Panini, ครัวซองต์ และอีกมากมาย
  • ครื่องดื่มร้อน ซึ่งมีแผนเพิ่มเครื่องดื่มร้อนมากกว่า 20 เมนู มีความพิเศษที่นำ Brown Sugar มาทำเครื่องดื่มร้อน เพิ่มรสชาติหอมอร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น
  • ครื่องดื่มชานมไข่มุกเมนูใหม่ โดยการจับมือกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำ พัฒนาเครื่องดื่มที่เป็น  ซีซันนอล (Seasonal) ตอบโจทย์ตลาดไลฟ์สไตล์และสุขภาพ นำเอาจุดแข็งของแบรนด์ The Alley ผสมผสานกับจุดแข็งของพาร์ทเนอร์ เช่น ไข่มุกบราวน์ชูก้าร์ สูตรพิเศษของThe Alley ผสมผสานกับนมถั่วเหลืองของดีน่า

จากนี้ถ้านึกถึง The Alley อยากมาที่ร้านต้องไม่ใช่แค่อยากดื่มชานมไข่มุกน้ำตาลทรายแดง แต่ต้องมีเมนูอื่นๆ แล้วอยากมา เมื่อเทียบกับแบรนด์คู่แข่งบางรายมีเมนูชานมไข่มุกอย่างเดียว 

อนล เล่าว่า เราไม่หยุดในการสร้างโอกาสให้ธุรกิจเติบโต The Alley มองถึงการไปสู่การให้บริการ Catering เป็นการขยายธุรกิจการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ สำหรับงานสัมมนา อีเว้นท์ จับกลุ่มธุรกิจโรงแรม ออฟฟิศสำนักงาน

รักษ์โลกสร้างความต่างจากคู่แข่ง

ขณะนี้ The Alley เป็น Top 3 ในเซ็กเมนต์พรีเมี่ยม เดินหน้ามุ่งสู่ Go Green แสดงจุดยืนดูแลและรักษ์โลก การใช้ส่วนประกอบออแกนิค น้ำเชื่อมที่ผลิตจากอ้อยออแกนิคไม่ผ่านการฟอกขาว ไซรัปน้ำตาลอ้อย

การบริหารจัดการเศษอาหารอย่างมีศักยภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น แก้ว ถุง หลอดดูด เป็นต้น การรณรงค์ลดขยะพลาสติก ด้วยการนำแก้วและหลอดดูดของตัวเองมาซื้อเครื่องดื่ม ลดราคาทันที 10 บาท

สรุป

ธุรกิจชานมไข่มุกแม้ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม EVERY DRINK หรือที่คนไทยดื่มทุกๆ วันไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อตลาดกำลังเลยจุดพีค และเริ่มเข้าสู่ Red Ocean เกิดการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง จากการมีแบรนด์ชานมไข่มุกชั้นทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 25 แบรนด์อยู่ในตลาด ทางรอดที่จะทำให้รายได้เติบโตต้องสร้างสรรค์เมนูอื่นๆ หรือการสร้างแบรนด์ให้เป็นมากกว่าแค่ขายชานมไข่มุกแต่เป็นการขายไลฟ์สไตล์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/the-alley/

“อนล ธเนศวรกุล” รวยร้อยล้านจากชานมไข่มุก The Alley เตรียมปั้นโมเดลธุรกิจใหม่หลังตลาดเลยจุดพีค

เริ่มต้นจับธุรกิจชานมไข่มุก The Alley เมื่อปี 2561 เพราะมี Passion ความหลงใหลในอาหารและเครื่องดื่ม และก้าวสู่นักธุรกิจมีรายได้ร้อยล้านบาทในระยะเวลาหนึ่งปี 

อนล ธเนศวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มิลลาร์รี่ จำกัด

อนล ธเนศวรกุล ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท มิลลาร์รี่ จำกัด มาสเตอร์แฟรนไชส์ The Alley แบรนด์ชานมไข่มุกพรีเมียมจากประเทศไต้หวัน เล่าว่า การทำธุรกิจชานมไข่มุก The Alley มีโลโก้เป็นกวาง มาจากเดินทางไปไต้หวันแล้วพบว่ามีคนยืนต่อแถวเป็นจำนวนมาก เพื่อซื้อชานมไข่มุก ถือว่าเป็นความบังเอิญไม่ได้วางแผนอะไร

สูตรการเลือกธุรกิจทำแล้วรวย

อะไรที่ทำให้อยากได้แบรนด์ The Alley มาทำธุรกิจ แม้ว่าจะแบรนด์ใหม่ในไต้หวัน เกิดขึ้นเมื่อปี 2557 เพราะเป็นโปรดักส์แชมป์เปี้ยน ใส่ใจในการชงชาโดยผสานเอางานศิลปะเข้ามา การออกแบบเครื่องดื่ม It’s time for tea ชากลิ่นหอม

ความมีเอกลักษณ์เฉพาะของน้ำตาลทรายแดงเคี่ยวเอง ขณะที่แบรนด์อื่นจะซื้อสำเร็จรูปมาใส่ ส่วนไข่มุกเดียร์ริโอก้า ทำด้วยมือและต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง หากใช้ไม่หมดต้องทิ้ง มีความพิถีพิถันแตกต่างกันแบรนด์อื่นอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ เมื่อมองถึงพอร์ตโฟลิโอของ The Alley มีเครื่องดื่มมากมายนอกเหนือจากชานมไข่มุก ทำให้เราสามารถขยายธุรกิจไปได้ไกล และการไม่ได้ตีกรอบการขยายธุรกิจของแบรนด์ จึงคิดนอกกรอบสร้างโมเดลร้านรูปแบบใหม่ๆ ได้

เมื่อคิดแล้วต้องรีบลงมือทำ จากนั้นใช้ระยะเวลาเจรจาเพื่อขอเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ The Alley ราว 6-7 เดือน และเข้ามาเปิดธุรกิจในไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2561 ที่ สยามสแควร์วัน จากวันนั้นถึงวันนี้ ครบรอบ 1 ปี ยอดขายกว่า 100,000 แก้วต่อเดือน สร้างรายได้ 100 ล้านบาท 

สเต็ปต่อไปเมื่อชานมไข่มุกเลยจุดพีค

สำหรับตลาดชานมไข่มุกในประเทศไทย 3 ปี ที่ผ่านมาเติบโตไม่ต่ำกว่า 40% จนมีมูลค่า 2,500 – 3,000 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าตลาดมีแนวโน้มเพิ่ม 5,000 ล้านบาท ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

“ชานมในไทยเลยจุดพีคมาแล้ว 2 ปี นับจากนี้หากชานมไข่มุกยังไม่มีสินค้าเรือธงหรือลูกเล่นใหม่ๆ เข้ามาตลาดจะเริ่มเติบโตช้าลง 20- 25 % และมีบางแบรนด์จะหายไปจากตลาด เพราะกระแสนิยมไม่เท่าเดิม”

อนล เล่าว่า เรากำลังสร้าง The Alley เป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์ หรือพูดง่ายๆ ธุรกิจจากนี้จะไม่ได้ขายแค่เครื่องดื่มชานมไข่มุก ต่อยอดสู่อาหาร เบเกอรี่ และของหวานภายในร้าน และไอคอนของแบรนด์สามารถทำเมอร์ชันไดร์ก็ได้

เปิดโมเดลใหม่สร้างโอกาสโต

เดิมที The Alley มีรูปแบบร้านเพียง 1 รูปแบบ คือสแตนดาร์ด ขนาดพื้นที่ 40-60 ตร.ม.โดยเป็นร้านตกแต่งเป็นธรรมชาติ สำหรับลูกค้านั่งดื่มชิลๆ แต่จากนี้จะเปิดร้านค้า 2 รูปแบบใหม่

The Alley Cafe
  • The Alley Cafe เป็นร้านฟูลสเกล ขนาดพื้นที่ 90 ตร.ม.จำหน่ายทั้งเครื่องดื่มหลากหลายนอกเหนือจากชานมไข่มุกและบริการอาหาร มีพื้นที่ให้ลูกค้าสามารถนั่งชิลหรือทำงาน ทดลองเปิดที่ สีลมคอมเพล็กซ์แล้ว โดยเป็นรูปแบบร้านเพื่อออกมารองรับกับธุรกิจชานมที่เลยจุดพีคไปแล้ว
  • The Alley Express ขนาดพื้นที่ 25 ตร.ม. รูปแบบร้านบริการสำหรับลูกค้าซื้อเครื่องดื่มกลับบ้าน และบริการดีลิเวอรี่ผ่านแกร็บให้กับลูกค้าในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร

การวางโมเดล The Alley Cafe  เส้นทางที่อยากจะไปคือ คล้ายกับ after You ซึ่งเป็นร้านเครื่องดื่มและเบเกอรี่ที่ประสบความสำเร็จมาก และเป้าหมายเราต้องการเป็นไลฟ์สไตล์แบรนด์

สำหรับการขยายสาขา The Alley ในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 20 สาขาภายในปี 2563 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จากปัจจุบันมี 12 สาขา

ตีโจทย์ให้แตกมากกว่าแค่ขายชาไข่มุก

The Alley จะเพิ่มสินค้าใหม่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น

  • ไอศกรีม Soft Serve ที่ได้นำเมนู Royal No.9 Milk Tea ซึ่งเป็นเมนู signature มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยพัฒนาสูตรเสิร์ฟพร้อมกับเยลลี่สูตรพิเศษ เพิ่มความอร่อยที่แปลกใหม่
  • เบเกอรี่ คัดสรรเมนู ไม่ว่าจะเป็น Sausage Puff, Bacon & Egg Panini, ครัวซองต์ และอีกมากมาย
  • ครื่องดื่มร้อน ซึ่งมีแผนเพิ่มเครื่องดื่มร้อนมากกว่า 20 เมนู มีความพิเศษที่นำ Brown Sugar มาทำเครื่องดื่มร้อน เพิ่มรสชาติหอมอร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น
  • ครื่องดื่มชานมไข่มุกเมนูใหม่ โดยการจับมือกับพาร์ทเนอร์ชั้นนำ พัฒนาเครื่องดื่มที่เป็น  ซีซันนอล (Seasonal) ตอบโจทย์ตลาดไลฟ์สไตล์และสุขภาพ นำเอาจุดแข็งของแบรนด์ The Alley ผสมผสานกับจุดแข็งของพาร์ทเนอร์ เช่น ไข่มุกบราวน์ชูก้าร์ สูตรพิเศษของThe Alley ผสมผสานกับนมถั่วเหลืองของดีน่า

จากนี้ถ้านึกถึง The Alley อยากมาที่ร้านต้องไม่ใช่แค่อยากดื่มชานมไข่มุกน้ำตาลทรายแดง แต่ต้องมีเมนูอื่นๆ แล้วอยากมา เมื่อเทียบกับแบรนด์คู่แข่งบางรายมีเมนูชานมไข่มุกอย่างเดียว 

อนล เล่าว่า เราไม่หยุดในการสร้างโอกาสให้ธุรกิจเติบโต The Alley มองถึงการไปสู่การให้บริการ Catering เป็นการขยายธุรกิจการจัดเลี้ยงนอกสถานที่ สำหรับงานสัมมนา อีเว้นท์ จับกลุ่มธุรกิจโรงแรม ออฟฟิศสำนักงาน

รักษ์โลกสร้างความต่างจากคู่แข่ง

ขณะนี้ The Alley เป็น Top 3 ในเซ็กเมนต์พรีเมี่ยม เดินหน้ามุ่งสู่ Go Green แสดงจุดยืนดูแลและรักษ์โลก การใช้ส่วนประกอบออแกนิค น้ำเชื่อมที่ผลิตจากอ้อยออแกนิคไม่ผ่านการฟอกขาว ไซรัปน้ำตาลอ้อย

การบริหารจัดการเศษอาหารอย่างมีศักยภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น แก้ว ถุง หลอดดูด เป็นต้น การรณรงค์ลดขยะพลาสติก ด้วยการนำแก้วและหลอดดูดของตัวเองมาซื้อเครื่องดื่ม ลดราคาทันที 10 บาท

สรุป

ธุรกิจชานมไข่มุกแม้ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม EVERY DRINK หรือที่คนไทยดื่มทุกๆ วันไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อตลาดกำลังเลยจุดพีค และเริ่มเข้าสู่ Red Ocean เกิดการแข่งขันด้านราคาอย่างรุนแรง จากการมีแบรนด์ชานมไข่มุกชั้นทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่ต่ำกว่า 25 แบรนด์อยู่ในตลาด ทางรอดที่จะทำให้รายได้เติบโตต้องสร้างสรรค์เมนูอื่นๆ หรือการสร้างแบรนด์ให้เป็นมากกว่าแค่ขายชานมไข่มุกแต่เป็นการขายไลฟ์สไตล์

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/the-alley-rich-man/