คลังเก็บป้ายกำกับ: TSI

“Next Trends 2020” เวทีสัมมนาส่งท้ายปี สร้างความเข้าใจและปรับตัวให้อยู่รอดในโลกยุค Disruption

นิตยสาร SME Thailand x นิตยสาร SME Startup จัดสัมมนาใหญ่แห่งปี “420 Minutes Next Trends 2020 ชี้เทรนด์ธุรกิจ” อัพเดตเทรนด์การทำธุรกิจในปีหน้า โดยในงานสัมมนามีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายวงการมาพูดถึงเทรนด์แห่งความเปลี่ยนแปลง พร้อมกรณีศึกษาและวิธีรับมือให้คนไทยผู้เป็นเจ้าของธุรกิจและคนทั่วไปนำไปต่อยอด เพื่อให้ธุรกิจสามารถคงอยู่ได้อย่างยั่งยืน โดยมีหัวข้อที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจดังนี้ 

แนวคิดจากโตโยต้า ลดทุน เพิ่มกำไร วิธีการอยู่รอดของ SME ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง 

หัวข้อนี้ได้ คุณสุปรียา ไม้มณี ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมสังคม บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ สายทิพย์ ลามา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านโคกสว่าง ข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ จ.ขอนแก่น มาร่วมแชร์กรณีศึกษาและโครงการของโตโยต้าที่ช่วยสนับสนุน SME ให้เติบโตไปด้วยกัน

เริ่มจากหลักคิดของโตโยต้าที่อยากเป็นหนึ่งในเครื่องมือช่วย  SME ดำเนินธุรกิจและเติบโตต่อไปได้ จึงเปิดตัวโครงการ “TSI โตโยต้าธุรกิจชุมชนพัฒน์” นำความรู้, ประสบการณ์การทำงานและหลักคิดของโตโยต้ามาถ่ายทอดสู่ธุรกิจชุมชนนำไปปรับใช้ เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน ด้วย Objective  ของโตโยต้า คือ อยากขับเคลื่อนเศรษฐกิจสังคม เล็งเห็นความสำคัญของ OTOP ที่จะเป็นตัวช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการนำความรู้แบบโตโยต้าไปช่วยผู้ประกอบการ 

แนวคิดที่ว่าคือ “ไคเซ็น” หรือการปรับปรุงและพัฒนาให้ดีขึ้น ส่งเสริมให้คิดนวัตกรรมใหม่ๆ ปรับลดกระบวนการที่ไม่จำเป็นหรือสิ้นเปลืองออก สร้างความสามารถทางธุรกิจและส่งเสริมให้เป็นองค์กรแห่งความรู้ ให้ธุรกิจมีภูมิต้านทานความเปลี่ยนแปลง มีระบบการจัดการที่ดี ลดต้นทุน เพิ่มกำไร 

สุปรียา ระบุว่า “เราทำให้เขารู้ก่อนว่ากระบวนการผลิตสินค้าที่มีปัญหามาจากสาเหตุใด หลังจากนั้น เราจะเริ่มให้เขาคิดว่าจะแก้ไขปัญหาอย่างไร คิดวิธีการแก้ไขปัญหาร่วมกัน จากนั้นก็จะเปิดใจและร่วมมือร่วมใจกันทุกอย่าง นอกจากนี้เราใช้คนของโตโยต้าที่เกษียนแล้วเข้าไปช่วยเสริมกำลังธุรกิจรายย่อย คนกลุ่มนี้จะมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ที่สำคัญคือ พวกเขายังมีไฟในการทำงาน มีองค์ความรู้ มีทักษะ มีประสบการณ์มาก”

คุณสุปรียา ไม้มณี ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์และกิจกรรมสังคม บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด

“หลังจากถ่ายทอดองค์ความรู้ได้สัก 2 ปี เมื่อเราเห็นว่าชุมชนเข้าใจวิธีการ ความคิด คือทำซ้ำๆ ทำเรื่อยๆ หรือการทำไคเซนนั่นเอง จากการที่เราขยายองค์ความรู้ออกไป ก็น่าจะพัฒนาเศรษฐกิจภายในดีขึ้น มั่นคง และยั่งยืนด้วย” สุปรียา กล่าว

กลุ่มข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ จากจังหวัดขอนแก่น เป็นธุรกิจรายย่อยหนึ่งในโครงการ “โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์” มาร่วมแชร์ประสบการณ์ โดย สายทิพย์ ลามา ประธานกลุ่มพูดถึงโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ว่า “ถือว่าเป็นโอทอปรุ่นแรก คำว่า ไคเซ็น ฟังแต่ชื่อก็เพราะมาก เค้าเรียก โตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เราไม่เคยคิดเรื่องของเสีย โตโยต้าทำให้เราวางแผนและลดการสูญเสียเยอะมาก”

สายทิพย์ ลามา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน บ้านโคกสว่าง ข้าวแตนสมุนไพรสายทิพย์ จ.ขอนแก่น

“หลังจากการไคเซนแล้ว กลุ่มข้าวแตนฯ ก็มีการวางแผนการผลิตทุกจุดอย่างเป็นระบบ มีการแก้ไขปัญหาเราเอาระบบการไคเซนมาใช้ในขบวนการผลิตแบบ TPS ทำให้เราลดต้นทุน เพิ่มกำไร ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสุขอย่างยั่งยืน สุดท้ายเราสามารถแบ่งปันให้กับชุมชนอื่น สร้างแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจอื่นได้”

ที่มาโครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ 

โครงการโตโยต้า ธุรกิจชุมชนพัฒน์ เกิดจากการผนึกพลังร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyata Production System: TPS) ที่ประกอบไปด้วยพนักงานเกษียณอายุ ผู้มีประสบการณ์การผลิตแบบโตโยต้าที่มีจิตอาสาในการตอบแทนสังคม ร่วมกับผู้แทนจำหน่ายโตโยต้าที่เชี่ยวชาญด้านสินค้าคงคลังและเข้าใจถึงบริบทของชุมชน 

จากนั้น ก็ถ่ายทอดนวัตกรรมของโตโยต้า ภายใต้แนวคิด Toyota Way, TPS, Kaizen และ Customer First ร่วมดำเนินงานในทุกขั้นตอนกับ SMEs และ OTOP เพื่อเพิ่มศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ให้ธุรกิจมีกำไร พัฒนาต่อไปได้ด้วยตัวเอง และสนับสนุนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้เพื่อแบ่งปันความสำเร็จสู่ชุมชนด้วย 

ปัจจุบันตัวโครงดำเนินการปรับปรุงธุรกิจชุมชนแล้วเสร็จ 4 แห่ง มีทั้งธุรกิจเสื้อผ้าที่ จ.กาญจนบุรี, ธุรกิจอาหารที่ จ.ขอนแก่น, ธุรกิจหัตถกรรมเกษตรที่ จ.กระบี่ และธุรกิจผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจะขยายโครงการให้ครบ 77 จังหวัดทั่วประเทศในปี 2022

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม https://www.toyota.co.th/tsi/

ในงานสัมมนา Next Trends 2020 ยังมีเทรนด์โลกและองค์ความรู้สำคัญต่อการอยู่รอดของธุรกิจอีกมากมายคือ 

Beyond Digital Consumer Trend 2020 ดร. เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ให้เห็นว่า เราต้องเข้าใจเทรนด์ผู้บริโภค 3 เรื่อง คือ ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการแค่ออนไลน์ แต่ต้องการออฟไลน์ด้วย, เราไม่สามารถขายสินค้าให้ผู้บริโภคได้อย่างเดียว แต่ต้องสร้างภาพให้เขาอยากซื้อสินค้าเราด้วย, พฤติกรรมผู้บริโภคไม่ได้มีแค่แบบเดียว

เทรนด์ Packaging โลก 2020 สมชนะ กังวารจิตต์ นักออกแบบมือรางวัลระดับโลก ผู้ก่อตั้ง Prompt Design พูดถึงเทรนด์ Packaging ปีหน้าว่า จะประกอบไปด้วย 7 อย่างคือ การทำ packaging ที่ personalized ได้, ทำแพ็คเกจให้เข้าใจง่ายสื่อสารตรงจุดมากขึ้น, มีเรื่องราวบอกเล่าความไม่ธรรมดาของผลิตภัณฑ์ได้, เทรนด์รักษ์โลกต้องมา, สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างให้กับลูกค้าผ่านการออกแบบได้, ร่วมมือกับองค์กรต่างๆ มากขึ้น และควรใช้เทคโนโลยีเและนวัตกรรมเข้ามาช่วย 

SME Transformation พลิกธุรกิจอย่างไรให้อยู่รอดในยุคดิจิทัล  ในหัวข้อนี้ วีรพล สวรรค์พิทักษ์ ผู้บริหารบริษัท อีมิเนนท์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และ CMO บริษัท La Nature จำกัด พูดถึงการอยู่รอดได้ในยุคนี้ด้วย 3 คิด คือคิดมาก ให้นึกถึงความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก คิดดี คิดให้ผู้อื่น คิดเผื่อโลก หมดยุคที่คนเดียวจะไปได้ไกล คิดไว คิดแล้วลงมือทำแล้ว ยุคนี้ปลาไวกินปลาช้า ให้ลงมือทำแม้จะไม่มั่นใจ 100% เพราะคนที่พร้อมไม่มีอยู่จริง 

คิดแบบ Startup ทำแบบ SME

พิชเยนทร์ หงษ์ภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมาร์ท ไอดี กรุ๊ป จำกัด เจ้าของผลิตภัณฑ์กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ไลฟ์สไตล์กว่า 1,000 รายการ เผยกลยุทธ์ 6 อย่างในการทำธุรกิจแบบใหม่ 

  • เน้นการดีไซน์ รวมเอานวัตกรรมและวิถีชีวิตเข้าไว้ด้วยกัน
  • ต้องอาศัยการร่วมมือกัน ใครเก่งอะไรก็เอามาทำด้วยกัน (Collaboration)
  • ต้องเข้าใจการทำงานของแต่ละแพลตฟอร์มว่าทำงานอย่างไร เอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง (Multi-channel E-commerce)
  • ต้องตอบแทนโลกและสังคม
  • ทำให้ดีตั้งแต่ต้น เลือกแบบไหนก็ไม่ผิด (Built to sell or Built to last) 
  • ปีแห่งการเปลี่ยนแปลง ทุกวิกฤตมีโอกาสเสมอ

Digital Marketing เจาะเทคนิค พลิกธุรกิจโต

สุรศักดิ์ เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด มีเคล็ดลับสำคัญ 2 อย่างคือ โลกดิจิทัลมีคอนเทนต์หลากหลาย ต้องไม่ขายของให้ทุกคน แต่ขายให้เขาหยุดสนใจเราได้, ก่อนนำเสนอสินค้า ต้องรู้ว่าผู้บริโภคใช้ชีวิตอย่างไร มีความต้องการอะไร ต้องการสิ่งนั้นในช่วงเวลาใด 

MARKETING 2020 บิ๊กเทรนด์เปลี่ยนโลก

เอกบดินทร์ เด่นสุธรรม ผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญทางด้านวางแผนยุทธ์ธุรกิจ บริษัท เด็นส์ ว็อท จำกัด สรุป 4 เทรนด์คือ

  • Automated is here คือเทรนด์ AI เทรนด์ที่เพิ่มความสะดวกสบายแก่มนุษย์มากขึ้น
  • Cities: Explode มนุษย์อยู่ในเมืองมากจนเกิดปัญหามากมาย เช่น ปัญหาสิ่งแวดล้อม สภาวะอากาศฯ 
  • Burnout ภาวะความเครียดมากขึ้น
  • The Experience Economy ต้องมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ต้องเหนือกว่า ไวกว่า

นี่คือทั้งหมดของงานสัมมนา Next Trends 2020 ที่ถือว่าครบทุกแง่ทุกมุมสำหรับการรับมือกับเทรนด์ธุรกิจในปีหน้าช่วยติดอาวุธในยุคที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยง ใครที่พลาดงานนี้ก็สามารถติดตามได้อีกทีในปีหน้าซึ่งจะมีจัดขึ้นอีกอย่างแน่นอน

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/next-trends-2020-seminar-how-to-survive-in-disruption-era/

แนะนำบริการ CAT data center และมาตรฐานการให้บริการ Trusted Site Infrastructure (TSI) Level 3

หนึ่งในปัจจัยที่เหล่าองค์กรควรจะต้องคำนึงถึง ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนสร้าง Data Center ภายในองค์กร หรือการเช่าใช้ Data Center ภายนอกเพื่อใช้งานนั้้นก็คือมาตรฐานของ Data Center ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานมั่นใจว่า Data Center นั้นๆ มีความน่าเชื่อถือและมีความปลอดภัยต่อการให้บริการ ซึ่งในบทความนี้เราจะกล่าวถึงมาตรฐาน Trusted Site Infrastructure (TSI) และกรณีศึกษาจากบริการ CAT data center ทีผ่านมาตรฐาน TSI Level 3 เพื่อก้าวสู่การเป็น No.1 Trustable Data Center Provider แห่งประเทศไทย

 

Trusted Site Infrastructure (TSI) มาตรฐาน Data Center จากสถาบัน TÜViT แห่งประเทศเยอรมนี

TÜViT คือหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ในการประเมินและมอบใบรับรองให้กับผลิตภัณฑ์ทางด้าน IT, กระบวนการต่างๆ เกี่ยวกับระบบ IT และ IT Infrastructure ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วว่ามีคุณภาพและความปลอดภัยตรงตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการใช้งานจริงได้โดยเฉพาะ ทำให้องค์กรต่างๆ สามารถเชื่อมั่นได้ว่าผลิตภัณฑ์หรือระบบ IT ที่ได้รับมาตรฐานเหล่านี้จะมีความปลอดภัยและน่าเชื่อถือในประเด็นต่างๆ ตามที่ระบุเอาไว้ในมาตรฐาน โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TÜViT ได้ทันทีที่ https://www.tuvit.de/en/index.htm

 

ส่วน Trusted Site Infrastructure หรือ TSI นั้น คือมาตรฐานสำหรับการตรวจวัด Data Center ในแง่มุมของ ความพร้อมใช้งาน (Availability) และ ความปลอดภัย (Security) เป็นหลัก เพื่อให้มั่นใจได้ว่า Data Center นั้นมีความปลอดภัยและทนทานภายใต้การตรวจสอบเงื่อนไขต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Data Center เช่น สิ่งแวดล้อมภายนอก, โครงสร้างอาคาร, ระบบป้องกันเพลิงไหม้, ระบบไฟฟ้า, การเดินสาย, ระบบระบายอากาศ, แผนการดำเนินงาน และการจัดการด้านเอกสารต่างๆ ให้มีความโปร่งใสและครบถ้วนนั่นเอง ซึ่ง มาตรฐาน TSI นี้ก็แบ่งออกเป็น 4 Level ด้วยกัน โดยผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ https://www.tuvit.de/cps/rde/xbcr/SID-EF4E91D9-F1ACBF4D/tuevit_en/trusted-site-infrastructure-english.pdf ทันที

 

กว่าอาคาร CAT data center Nonthaburi 2 จะผ่านมาตรฐาน TSI Level 3 มาได้นั้น ต้องผ่านการตรวจสอบอะไรบ้าง?

TSI Level 3 นั้นถูกระบุเอาไว้ว่าเป็นมาตรฐานระดับ High Security Requirement โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกสถานที่ตั้ง Data Center ,การออกแบบส่วนประกอบที่สำคัญภายใน Data Center ให้มีการทำ Redundancy เพื่อไม่ให้เกิด Single Point of Failure, มีระบบการป้องกันเพลิงไหม้ รวมไปถึงยังต้องมีแผนในการจัดการดูแลรักษา Data Center ในยามที่เกิดเหตุต่างๆ ด้วย ซึ่ง CAT ได้ทุ่มงบประมาณเพื่อสร้างอาคาร CAT data center Nonthaburi 2 ไปกว่า 500 ล้านบาท ให้ตรงตามมาตรฐานและผ่านการประเมินในระดับ TSI Level3 ถือเป็นผู้ให้บริการรายแรกของอาเซียนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานนี้ โดยมีรายละเอียดในด้านต่าง ๆ ดังนี้.-

  • Environmentมีสภาพแวดล้อมโดยรอบอาคารปลอดภัยจากความเสี่ยงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำท่วม, แผ่นดินไหว หรือเหตุระเบิดต่างๆ โดย CAT data center Nonthaburi 2 นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นอาคารสำหรับให้บริการ Data Center โดยเฉพาะ และอยู่ห่างจากท่อแก๊ส, โรงงาน หรือแหล่งเก็บสารที่เสี่ยงต่อการระเบิดเกินกว่าระยะ 250 เมตร พร้อมเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรอบอาคารตลอด 24 ชั่วโมง
  • Constructionมีการออกแบบอาคารและเลือกใช้วัสดุก่อสร้างโดยคำนึงถึงการป้องกันการบุกรุกได้ โดยการใช้ประตูชนิดพิเศษสำหรับป้องกันการบุกรุกโดยเฉพาะ, การพยายามหลีกเลี่ยงไม่มีหน้าต่างที่คนอาจปีนเข้าออกได้ รวมถึงไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรอื่นมาใช้งานอาคารนี้ร่วมกัน ในขณะที่พื้นของ Data Center เองนั้นก็สามารถรองรับน้ำหนักได้มากถึง 1000 กิโลกรัมต่อตารางเมตรเลยทีเดียว
  • Powerมีการออกแบบระบบไฟฟ้าให้ทำงานแบบ Redundant ได้อย่างครบวงจร พร้อมระบบ UPS แบบ 2N รองรับการจ่ายไฟฟ้าสำรองได้ 15 นาที และ Power Generator รองรับในกรณีที่ระบบไฟฟ้าเกิดการขัดข้องได้นานถึง 48 ชั่วโมง จากน้ำมันปริมาณ 20,000 ลิตร
  • Cooling and Ventilationระบบระบายอากาศทั้งหมดทำงานแบบ N+1 Redundant ร่วมกัน พร้อมทั้งสามารถควบคุมอุณหภูมิและความชื้นภายใน Data Center ได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถตรวจจับน้ำรั่วซึมตามจุดต่างๆ ได้อีกด้วย
  • Security Systemภายในและภายนอกอาคารมีการติดตั้งระบบ Access Control แบบ Three-factor Authentication ที่ต้องใช้ Access Card, Password และ Finger Scan ในการตรวจสอบสิทธิ์ของเจ้าหน้าที่ และยังมีระบบ Mantrap สำหรับคอยควบคุมให้มีผู้คนเข้าออกแต่ละพื้นที่ได้ทีละ 1 คนเท่านั้นเพื่อป้องกันการลักลอบเข้าออกพื้นที่ต่างๆ พร้อม CCTV ที่สามารถดูย้อนหลังได้ถึง 30 วัน พร้อมเจ้าหน้าที่สำหรับคอยดูแลรักษาความปลอดภัยให้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • Fire Protection and Suppression Systemมีการออกแบบระบบป้องกันอัคคีภัยในแต่ละพื้นที่ให้สามารถแจ้งเตือนได้เมื่อเกิดเหตุ โดยเลือกใช้ระบบ VESDA ที่ดูดอากาศเข้าไปทำการวิเคราะห์หาควันอย่างต่อเนื่อง ทำให้สามารถตรวจจับเหตุอัคคีภัยได้รวดเร็วยิ่งกว่าเทคโนโลยี Smoke Detection ทั่วไป และมีการใช้สารดับเพลิงที่ไม่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ IT ภายใน Data Center รวมถึงผนังและประตูยังมีคุณสมบัติในการทนไฟได้นานถึง 2 ชั่วโมง สามารถป้องกันการลุกลามไปยังห้องข้างเคียงได้โดยไม่ทำให้อุณภูมิในห้องข้างเคียงสูงขึ้น
  • Network and Connectivityมีการออกแบบระบบเครือข่ายให้ทำงานแบบ Redundant เสริมความทนทานในชั้นของการเชื่อมต่อเครือข่ายเพิ่มเติม และเชื่อมต่อกับ Internet Gateway 2 แห่ง ได้แก่ นนทบุรี และบางรัก
  • Operation and Maintenanceมีการติดตั้งระบบ Building Automation System (BAS) เพื่อติดตามการทำงานของระบบต่างๆ ภายในอาคาร รวมถึงมีกระบวนการในการบำรุงรักษาระบบต่างๆ ภายในอาคารอย่างต่อเนื่อง และมีเจ้าหน้าที่ประจำ Network Operations Center (NOC) ตลอด 24 ชั่วโมง

 

จะเห็นได้ว่า CAT data center Nonthaburi 2 นี้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นมาโดยคำนึงถึงประเด็นต่างๆ แล้วอย่างครอบคลุม พร้อมทั้งยังเสริมเทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ เข้าไปเพื่อให้การบริหารจัดการและการดูแลรักษา Data Center นี้เป็นไปอย่างมีมาตรฐาน เพื่อให้การให้บริการแก่ลูกค้าแต่ละรายนั้นเป็นไปได้อย่างมั่นคงและน่าเชื่อถือนั่นเอง

 

CAT data center Nonthaburi 2 พร้อมให้บริการทุกองค์กรและธุรกิจ IT ไทยแล้ว

Credit: CAT

 

ภายใน CAT data center มีบริการต่างๆ มากมายให้องค์กรและธุรกิจต่างๆ เลือกใช้ ไม่ว่าจะเป็น

  1. บริการ Server Co-Location ในการรับฝาก Server ของลูกค้า
    • มีระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย (Firewall)
    • ศูนย์สำรองข้อมูล (Disaster Recovery)
    • การทำ Facility Management
    • Internet Service Provider (ISP)
  2. Carrier Data Center เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการ Server Co-Location สามารถเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ Internet Service Provider (ISP) รายอื่น ๆ ได้
  3. บริการ Temp Office บริการสำนักงานให้เช่าชั่วคราวพร้อมคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สำนักงาน

 

นอกจากนี้หากองค์กรหรือธุรกิจใดๆ ต้องการติดตั้งระบบภายใน Data Center หลากหลายแห่งในระยะที่ห่างกันเพื่อรองรับการทำ Disaster Recovery (DR) ตามมาตรฐานต่างๆ ทาง CAT เองนั้นก็ยังมีบริการ Data Center อื่นๆ ทั่วประเทศรวมกันทั้งสิ้นถึง 8 แห่ง ได้แก่ บางรัก, นนทบุรี 1, นนทบุรี 2, ศรีราชา, ภูเก็ต, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี และเชียงใหม่ให้เลือกใช้ได้ตามต้องการ

 

สนใจติดต่อทีมงาน CAT data centerได้ทันที

สำหรับผู้ที่สนใจเช่าใช้บริการจาก Data Center ของ CAT สามารถติดต่อทีมงาน CAT data center ได้ทันทีที่โทร 1322 หรือเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ได้ทันทีที่ http://www.idc.cattelecom.com/

from:https://www.techtalkthai.com/introduce-cat-data-center-with-trusted-site-infrastructure-tsi-level-3/