คลังเก็บป้ายกำกับ: TMALL

Apple เตรียมไลฟ์ขายสินค้าบน Alibaba ช่วงเทศกาลชอปปิงกลางปี 618 ของจีน

Apple จะจัดกิจกรรม ไลฟ์-ชอปปิง “618” ครั้งแรกบน Tmall ซึ่งเป็นของ Alibaba ในช่วงสัปดาห์นี้ โดยหวังดึงดูดผู้ใช้มากกว่า 500 ล้านคนจากตลาดอินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อเพิ่มยอดขายตลาดของตนที่ตกต่ำลง ในภูมิภาค Greater China ซึ่งหมายรวมถึงจีน ฮ่องกง และไต้หวัน หลังจากในไตรมาสแรกทำรายได้ได้เพียง 17,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งลดลงเกือบ 3% จากปีก่อน อีกทั้งในช่วงปลายเดือนมีนาคม Tim Cook CEO ของ Apple ได้พบนายกรัฐมนตรีจีน เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นที่มีต่อตลาดจีน

ร้านค้าทางการของ Apple บน Tmall ได้โพสต์ทีเซอร์ถึงงานนี้ว่าจะเริ่มตั้งแต่ วันพุธ เวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น และภายในงานจะมีผลิตภัณฑ์อย่าง iPhone 14 และ iWatch อีกด้วย ในขณะเดียวกันคู่แข่ง อย่าง JD.com ซึ่งเชี่ยวชาญการขายสินค้าผ่านไลฟ์สดอยู่แล้ว ก็ประกาศแคมเปญเทศกาลของตนเช่นกัน โดยในปีนี้แคมเปญของ JD.com และ Tmall 618 ได้เริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งลูกค้าสามารถชำระค่ามัดจำเพื่อสินค้าที่ต้องการได้

ทาง Apple บน Tmall ได้ ลดราคา iPhone 14 Pro(128 GB) เป็น 6,499 หยวน (ประมาณ 32,000 บาทเทียบกับราคาในไทยที่อยู่ที่ 41,900 บาท) จากเดิม 7,999 หยวน พร้อมข้อเสนออื่นๆในคืนวันพุธ ในขณะที่ JD.com ลดราคาเหลือ 6,498 หยวน และสามารถซื้อได้ถึงวันพฤหัสบดี

ศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจีน ได้รายงานว่า เทรนด์การชอปปิงออนไลน์ของจีนนั้นเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2559 และ ในช่วงสิ้นปี 2565 ก็สามารถดึงดูดผู้ใช้ได้ถึง 515 ล้านคน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 11% จากปีก่อนหน้า ในขณะที่รายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนระบุว่า ยอดขายสินค้าทางออนไลน์และออฟไลน์ ในปี 2565 กลับลดลง 0.2% อีคอมเมิร์ซเติบโต 4% และการชอปปิงผ่านไลฟ์สดเพิ่มขึ้น 2-3เท่า

ที่มา : CEO Apple เดินทางเยือนนายกรัฐมนตรีจีน via South China Morning Post

No Description

from:https://www.blognone.com/node/134113

H&M กลับมาขายในอาลีบาบาได้แล้ว หลังโดนคว่ำบาตรจากจีนเรื่องแรงงานซินเจียง

H&M แบรนด์แฟชั่นสัญชาติสวีเดนหลังจากออกมาประกาศแบนสินค้าที่บังคับใช้แรงงานชาวอุยกูร์ในซินเจียง จีน จนในที่สุดก็ถูกคนจีนรุมแบน จนต้องถูกถอดออกจากหน้าร้าน Alibaba บนแพลตฟอร์ม Taobao ไปนั้น หลังจากเวลาผ่านไปปีกว่า ตอนนี้ H&M กลับมาแล้ว

H&M
ภาพโดย MediaPhoto.Org (mediaphoto.org Own work) [CC BY 3.0 (http://creativecommons.org/licenses/by/3.0)%5D, via Wikimedia Commons

มีการค้นหาในแพลตฟอร์ม Tmall ก็พบชื่อแบรนด์ H&M กลับเข้ามาแล้วมีลูกค้าท้องถิ่นหรือลูกค้าจีนติดตามอยู่ 14.33 ล้านแอคเคาท์ H&M ปรากฎทั้งในส่วนของสินค้าแบรนด์ต่างประเทศและแบรนด์จีน อย่างไรก็ดีการค้นหาแบรนด์ดังกล่าวยังไม่ปรากฏในแพลตฟอร์มของ JD.com และ pinduoduo ซึ่งทั้ง 3 แพลตฟอร์มยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้

ในที่สุด H&M ก็กลับมาครองตลาดที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกได้แล้วแม้ว่าอาจจะยังไม่ครบทุกแพลตฟอร์มก็ตาม แม้ผู้บริโภคชาวจีนจะออกมาต่อต้านก่อนหน้าแต่รัฐบาลจีนก็ไม่ได้มีท่าทีใดๆ ต่อการบอยคอตต์ดังกล่าวไม่ว่าจะ H&M, Nike, Adidas หรือ Burberry ไม่ใช่แค่ชาวจีนแต่ยังมีคนดังที่ออกมาแสดงตัวไม่ร่วมงานกับแบรนด์ระดับโลกดังกล่าวด้วย แต่เดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา H&M ก็โดนปรับราว 3.8 หมื่นเหรียญสหรัฐหลังโฆษณาแล้วทำให้คนเข้าใจผิดว่าสินค้านั้นมีขายที่จีนเท่านั้น

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการบอยคอตต์จากลูกค้าชาวจีน หนึ่งในกรณีที่เป็นข่าวดัง เช่น ในช่วงปี 2018 ก็มีแบรนด์หรูอย่าง Dolce & Gabbana ที่ถูกบอยคอตต์หลังเหยียดเชื้อชาติด้วยการโฆษณาการกินพิซซ่าด้วยตะเกียว ตามด้วยคำพูดจาวิพากษ์วิจารณ์ที่ไม่สุภาพจากผู้ก่อตั้งแบรนด์ จนทำให้เกิดการบอยคอตต์ครั้งใหญ่ของคนจีนตามมา

ที่มา – SCMP

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post H&M กลับมาขายในอาลีบาบาได้แล้ว หลังโดนคว่ำบาตรจากจีนเรื่องแรงงานซินเจียง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/h-and-m-return-alibaba-china/

ผลพวงหลังถูกรัฐบาลจีนปรับหมื่นล้าน Alibaba เปลี่ยนกฎทำการค้าบนแพลตฟอร์ม ผูกขาดคนขายน้อยลง

ปรับเปลี่ยนเพื่อลดการผูกขาด

หลังจากที่ Alibaba ถูกรัฐบาลสั่งปรับเป็นจำนวนเงินกว่า 8.8 หมื่นล้านบาท โทษฐานมีอำนาจเหนือตลาดและผูกขาดธุรกิจ จนเรียกได้ว่าเป็นค่าปรับของบริษัทที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

ล่าสุด Alibaba ทำการปรับเปลี่ยนกฎกติกาบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในจีนทั้ง Taobao และ Tmall (บริษัทลูก) โดยมีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้ (คัดมาเฉพาะอันที่น่าสนใจ)

  • ยกเลิกสัญญา exclusive ที่ระบุว่า หากขายสินค้าในแพลตฟอร์มของ Alibaba จะไปขายสินค้าชนิดเดียวกันในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอื่นๆ ไม่ได้
  • แพลตฟอร์ม Taobao จะยกเลิกค่าธรรมเนียมการฝากเงินของผู้ค้าหน้าใหม่ทั้งหมด ส่วนผู้ค้าหน้าเก่าจะทำการคืนเงินมัดจำให้ย้อนหลัง (refund)
  • ทั้ง Taobao และ Tmall จะยกเลิกการคิดเงินค่าทำการตลาด (marketing) หากต้องใช้เครื่องมือหรือบริการต่างๆ ของเจ้าของแพลตฟอร์ม สามารถใช้งานได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
  • ในกรณีที่ลูกค้าไม่พึงพอใจสินค้า ต้องการคืนหรือเปลี่ยนสินค้า ต้นทุนในการขนส่งที่ผู้ค้าแบกรับจะถูกลง (ในส่วนนี้ Alibaba ในฐานะเจ้าของแพลตฟอร์มต้องแบกรับด้วย ไม่ใช่คนขายอย่างเดียว)
Tmall แพลตฟอร์มในเครือ Alibaba

ชัดเจนว่า แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้งหมดของ Alibaba ต้องปรับตัวและเปลี่ยนกติกาให้เป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลจีนมองว่า “ไม่ทำตัวมีอำนาจเหนือตลาดขนาดนั้น”

โจ ไช่ รองประธานฝ่ายบริหารของ Alibaba บอกว่า ไม่ได้กังวลกับการที่ทางการจีนสั่งให้ปรับกฎกติกา เพราะสิ่งที่เปลี่ยนไม่ได้มีอะไรที่ขัดกับพื้นฐานการทำธุรกิจของบริษัทตั้งแต่แรก

ด้านของนักวิเคราะห์ด้านการลงทุนมองว่า หลังการปรับกฎกติกาบนแพลตฟอร์มจะทำให้ Alibaba สูญเสียกำไรจากการทำธุรกิจ แต่ถึงที่สุดจำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอด

แจ็ค หม่า Jack Ma
Jack Ma Photo: Shutterstock

การเล่นงานแจ๊ค หม่าและบริษัทเทคของรัฐบาลจีน

ก่อนหน้านี้แจ๊ค หม่า ผู้มากบารมีแห่ง Alibaba ตกเป็นข่าวใหญ่ระดับโลกด้วยการหายตัวจากหน้าสื่อสาธารณะ

แต่นอกจาก Alibaba บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่จีนอย่าง Tencent ก็อยู่ในสายตาของรัฐบาลจีนที่กำลังเข้ามากำกับควบคุมเป็นรายถัดไปเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Tencent และ Pinduoduo

นอกจากนั้นก็มีกระแสข่าวว่า รัฐบาลจีนขอมีเอี่ยวในธุรกิจของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ด้วย เพราะในท้ายที่สุดการทำธุรกิจด้านเทคโนโลยีจะไปเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติของจีนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ที่มา – Alizila, Reuters

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ผลพวงหลังถูกรัฐบาลจีนปรับหมื่นล้าน Alibaba เปลี่ยนกฎทำการค้าบนแพลตฟอร์ม ผูกขาดคนขายน้อยลง first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/alibaba-chages-rule-after-china-gov-hits/

หมดยุคห่วงภาพลักษณ์ ในที่สุด Gucci ก็ยอมเปิดหน้าร้านออนไลน์ ขายของหรูบนแอพจีน

Gucci
Gucci Photo: Shutterstock

ภาพลักษณ์ยอมได้ เพราะรายได้ต้องมาก่อน

Gucci แบรนด์หรูชื่อดังจากอิตาลีเตรียมเปิดหน้าร้านออนไลน์ในจีน ผ่านแพลตฟอร์มในเครือของ Alibaba

Gucci จะเปิดหน้าร้านออนไลน์ใน Tmall Luxury Pavilion แพลตฟอร์มขายสินค้าหรูของ Alibaba ถึง 2 ร้านด้วยกัน โดยร้านแรกจะขายสินค้าแฟชั่นและเครื่องหนัง กำหนดเปิดขายในวันที่ 21 ธันวาคมปีนี้ ส่วนอีกร้านจะขายผลิตภัณฑ์เพื่อความงามโดยเฉพาะ กำหนดเปิดขายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

อันที่จริงแล้ว ก่อนหน้านี้มีความพยายามหลายครั้งที่บรรดาแพลตฟอร์มจีนต้องการดึงแบรนด์หรูเข้ามาร่วมในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งจุดเปลี่ยนของเรื่องคือ “วิกฤตโควิด” ที่ทำให้ยอดขายของแบรนด์หรูตกต่ำลงอย่างมาก และที่สำคัญตลาดจีนฟื้นตัวไวทำให้แบรนด์หรูกลับมามียอดขายอีกครั้ง

ผลวิจัยจาก Bain บริษัทที่ปรึกษา เปิดเผยว่า ยอดขายสินค้าหรูผ่านทางออนไลน์ในจีนในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2020 สูงกว่าปี 2019 ถึง 2 เท่า ตัวเลขนี้สะท้อนให้เห็นว่า โควิดทำอะไรตลาดสินค้าหรูจีนไม่ได้จริงๆ

ไม่แปลกใจที่เราจะเห็นภาพของงานมหกรรมช้อปปิ้งจีนในปีนี้ ที่มีแบรนด์หรูแห่มาทำตลาดกันอย่างล้มหลาม ใครจะเชื่อว่า สร้อยคอหรูจากแบรนด์ดังอย่าง Cartier ราคาเกือบ 900 ล้านบาท จะถูกนำมาไลฟ์สตรีมมิ่ง ในงานช้อปปิ้ง 11.11

ส่วนในแง่ของภาพลักษณ์แบรนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้แบรนด์หรูต่างเกรงว่าจะมีผลกระทบต่อความ exclusive ของตัวแบรนด์ Yang Jingzhu ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา AmeriChina Group บอกว่า การนำเอาสินค้าหรูมาลงเล่นในตลาดอีคอมเมิร์ซ ในที่สุดย่อมกระทบต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ แต่ด้วยจำนวนผู้บริโภคที่มหาศาล อีคอมเมิร์ซเป็นช่องทางที่จะทำให้ผู้คนเข้าถึง Gucci และทำให้แบรนด์มียอดขายเติบโตได้ต่อไป

 

ที่มา – Alizila, FT

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/gucci-alibaba-china/

SCB เปิด Flagship Store บน Tmall และ JD นำสินค้าแบรนด์ไทยขายจีน

ธนาคารไทยพาณิชย์ พาแบรนด์ไทย 12 แบรนด์ บุกไปขายสินค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน ด้วยการเปิด SCB Overseas Flagship บนสองแพลตฟอร์มใหญ่คือ JD International และ Tmall Global

SCB จะรับบทเป็นตัวกลางนำสินค้าของแบรนด์ไทยที่มีคุณภาพ เช่น ดอยคำ, Naraya, รังนกตราสก๊อต, ผลไม้อบแห้ง Kunna, ผลไม้ฟรีซดราย Wel-B, ที่นอนยางพารา Hocomat, เครื่องสำอาง Merrezca, เครื่องหอม Nature Touch จำนวนทั้งหมด 150 รายการ เข้าไปทำตลาดในประเทศจีนแบบครบวงจร ตั้งแต่พัฒนาแผนธุรกิจ คัดเลือกสินค้า จัดการคลังสินค้าและโลจิสติสก์ ไปจนถึงการประชาสัมพันธ์ผ่าน Weibo และ YiZhibo ให้คนจีนรู้จักในวงกว้างขึ้นด้วย

นายมาณพ เสงี่ยมบุตร รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่าต้องการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ขยายธุรกิจไปสู่อีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศ (cross-border e-commerce) ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และจะเพิ่มจำนวนแบรนด์ขึ้นอีกเท่าตัวภายในปี 2564 ด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/scb-china-flagship-store/

“บ้านดี” ที่ Tmall เว็บไซต์ e-Commerce เครือ Alibaba เตรียมขายบ้าน ให้ส่วนลดอีก 15%

Alibaba ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ e-Commerce ของประเทศจีน เปิดให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ขายบ้านผ่าน Tmall เว็บไซต์ e-Commerce ในเครือ Alibaba โดยที่ผู้ซื้อไม่ต้องเดินทางไปดูบ้านตัวอย่าง ไม่ต้องไปธนาคาร ก็ซื้อบ้านได้ พร้อมอัดส่วนลดให้ 15% จากราคาขาย

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนต้องประสบกับปัญหาไม่สามารถทำการขายบ้านได้ตามปกติ ทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องหากลยุทธ์ใหม่ๆ ในการขายบ้าน

Tmall Haofang เว็บไซต์ e-Commerce ในเครือ Alibaba จึงกลายเป็นทางออกสำคัญของผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการขายบ้านในช่วงสถานการณ์นี้ โดยคำว่า Haofang มีความหมายในภาษาจีนว่า “บ้านดี” โดย Tmall Haofang เริ่มเปิดให้บริการกับผู้คนที่สนใจซื้อบ้านตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา โดยใช้เทคโนโลยี 3 มิติ และไลฟ์สตรีม เพื่อให้บริการ นอกจากนี้ยังมีบริการให้คำปรึกษาทางการเงินกับผู้สนใจซื้อบ้าน โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปที่ธนาคารเลย

ซื้อบ้านที่ Tmall วันนี้ ให้ส่วนลดเพิ่มอีก 15%

สำหรับผู้ที่สนใจซื้อบ้านจาก Tmall Haofang จะมีการให้ส่วนลดประมาณ 15% จากราคาขายที่ตั้งไว้ โดย Tmall ได้ตั้งงบประมาณกว่า 1 หมื่นล้านหยวน หรือประมาณ 4.63 หมื่นล้านบาท เพื่อสนับสนุนเป็นส่วนลดให้กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์

อย่างไรก็ตามการขายอสังหาริมทรัพย์ในเว็บไซต์ e-Commerce ของประเทศจีนก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนัก เพราะก่อนหน้านี้ในปี 2019 มีการขายอสังหาริมทรัพย์ผ่านเว็บไซต์ e-Commerce ไปแล้วกว่า 150,000 หลัง

e-Commerce จีนขายทุกอย่าง ตั้งแต่ของสดยันรถยนต์หรู

นอกจากนี้วงการ e-Commerce ประเทศจีน ไม่ได้มีแค่การขายบ้านเท่านั้น แต่เป็นเหมือนแหล่งขายสินค้าอื่นๆ แบบครอบจักรวาล ตั้งแต่อาหารสด อาหารทะเล ของขวัญสำหรับวันสำคัญ หรือแม้แต่กระทั่งรถยนต์หรูก็มีขาย และยิ่งมีสถานการณ์โควิด-19 ก็ยิ่งเป็นเหมือนตัวเร่งวงการ e-Commerce จีนเติบโตมากขึ้นไปอีก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจุบันโทรศัพท์ทุกๆ 1 ใน 2 เครื่องที่ขายในประเทศจีน เป็นโทรศัพท์ที่สามารถต่ออินเตอร์เน็ตได้ ทำให้สัดส่วนผู้ที่สามารถเข้าถึงระบบ e-Commerece และการทำธุรกรรมออนไลน์ มีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย

ที่มา – scmp

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/alibaba-sell-home-in-tmall-e-commerce-website/

Alibaba เพิ่มฟีเจอร์สั่งกาแฟ Starbucks ด้วยคำสั่งเสียงผ่านลำโพง Tmall Genie

Alibaba เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของลำโพงสั่งงานด้วยเสียง Tmall Genie โดยสามารถส่งคำสั่งซื้อกาแฟสตาร์บักส์ได้แล้ว ไม่ต้องกดสั่งผ่านแอปหรือโทรศัพท์แต่อย่างใด

เรื่องที่น่าสนใจของบริการนี้ คือเป็นการแสดงให้เห็นพลังการเชื่อมต่อของระบบนิเวศของ Alibaba เข้าด้วยกัน โดยกาแฟจะถูกจัดส่งให้ลูกค้าภายใน 30 นาที ด้วย Ele.me บริการเดลิเวอรี่ของ Alibaba ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับสตาร์บักส์อยู่แล้ว นอกจากนี้คำสั่งกาแฟยังสามารถรับดาวสะสมของสตาร์บักส์ได้ด้วย

Alibaba บอกว่าในอนาคตยังแผนให้คำแนะนำเมนูนน่าสนใจ ผ่าน AI ของ Alibaba ที่ทำงานอยู่เบื้องหลัง Tmall Genie

นอกจากนี้สตาร์บักส์ยังร่วมกับ Alibaba ออกลำโพง Tmall Genie รุ่นพิเศษ Starbucks Genies ซึ่งขายหมด 3,000 ตัว ในระหว่างการไลฟ์ผ่าน Taobao แอปในเครือ Alibaba เช่นกัน

ที่มา: Alizila

alt="Starbucks Genies"

from:https://www.blognone.com/node/112008

Alibaba นำระบบสั่งงานด้วยเสียง Tmall Genie ไปใช้กับรถยนต์ Audi, Renault, Honda

Alibaba ประกาศความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ 3 รายคือ Audi, Renault, Honda เพื่อนำระบบสั่งงานด้วยเสียงของ Alibaba ไปใช้กับรถยนต์ยี่ห้อเหล่านี้ที่วางขายในประเทศจีน

Alibaba มีแพลตฟอร์มสั่งงานด้วยเสียงชื่อ Tmall Genie ใช้กับลำโพงอัจฉริยะเพื่อทำตลาดในประเทศจีนมาตั้งแต่ปี 2017 (ลักษณะเดียวกับ Amazon Alexa หรือ Google Assistant) ส่วนคู่แข่งของ Tmall Genie ในประเทศจีนคือ Baidu DuerOS

แพลตฟอร์มสั่งงานด้วยเสียงเวอร์ชันสำหรับรถยนต์ Tmall Genie Auto เป็นผลงานพัฒนาของ Alibaba AI Lab โดยมีฟีเจอร์เชื่อมโยงกับลำโพง Tmall Genie ได้ด้วย เช่น การควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านขณะอยู่ในรถ เป็นต้น

ก่อนหน้านี้เคยมีแบรนด์รถยนต์อื่นคือ Volkswagen, Daimler, Audi, Volvo ประกาศใช้ Tmall Genie Auto มาแล้ว

ที่มา – SCMP

No Description

ภาพรถยนต์ Volkswagen พร้อม Tmall Genie จาก Alizila

from:https://www.blognone.com/node/110395

แบรนด์ COS ในเครือ H&M เตรียมเปิดช้อปออนไลน์บนTmall

COS อีกหนึ่งแบรนด์แฟชั่นในเครือ H&M เตรียมเปิดร้านแฟล็กชิพสโตร์บน Tmall ในเดือนหน้า คาดว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์ช่องทางเดียวในประเทศจีนนอกเหนือจากในเว็บไซต์ของตัวเอง

จะลุยตลาดพี่จีน ก็ต้องเปิดร้านออนไลน์บนแพลตฟอร์มยอดนิยมของเขาซะหน่อย จะเปิดแค่เว็บไซต์ของตัวเองอย่างเดียวไม่ได้ ซึ่งแบรนด์ COS ที่จะเปิดร้านออนไลน์บน Tmall จะมีไลน์สินค้าในกลุม่ของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อผ้าผู้ชาย และเสื้อผ้าสำหรับเด็ก

COS ได้เริ่มเปิดสาขาในประเทศจีนตั้งแต่ปี 2012 ปัจจุบันมีทั้งหมด 28 สาขา ครอบคลุม 17 เมืองทั่วประเทศจีน ซึ่งการที่ COS จะเปิดตัวบน Tmall นั้น เป็นหนึ่งในแผนที่จะขยายสาขาในเมืองสำคัญๆ อย่างเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เซียะเหมิน และกวางโจวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้

ซึ่งทางผู้บริหารของ COS ได้บอกว่า การเปิดตัวร้านค้าออนไลน์บน Tmall ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายธุรกิจทั่วโลกของบริษัทเลยก็ว่าได้ เพราะตลาดประเทศจีนเป็นตลาดใหญ่ แพลตฟอร์มนี้จะทำให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น

จะเห็นว่าไม่ว่าแบรนด์ไหน แบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ แบรนด์ระดับโลกที่มีชื่อเสียงมากๆ แต่เมื่อต้องการตีตลาดในประเทศจีนแล้ว จำเป็นต้องเป็นพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มในเครือ Alibaba ทั้งสิ้น เพราะเป็นช่องทางใหญ่ที่สุดในประเทศจีน

ยิ่งตอกย้ำเข้าไปอีกว่า ตลาดจีนเป็นตลาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก แต่กว่าจะตีตลาดได้ก็ต้องเอาใจคนในประเทศด้วยแพลตฟอร์มของเขานั่นเอง

Source

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/cos-launches-on-tmall/

Vivo ใช้ข้อมูลจากผู้ใช้ Alibaba ช่วยออกแบบสมาร์ทโฟน ก่อนขายใน Tmall

Vivo ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนของจีน กับ Tmall Innovation Center (TMIC) จากอาลีบาบา ร่วมมือออกแบบสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ สำหรับเปิดตัวในไตรมาสสี่ของปีนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการออกแบบจากเดิมที่เคยทำมา

แนวคิดของการร่วมกันออกแบบนี้ จะอาศัยข้อมูลด้านการตลาดและข้อเสนอแนะของลูกค้า และนำมาวิเคราะห์โดย TMIC ก่อนการออกแบบ ซึ่งต่างจากสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบการผลิตใหม่ (New Manufacturing) ที่คิดค้นโดยแจ็ค หม่า ที่ไม่ได้ฟังเสียงจากผู้บริโภค

นอกจากนี้ยังอาศัยข้อมูลเชิงลึกและความนิยมจากฐานลูกค้าของ Tmall ที่มีมากกว่า 500 ล้านราย เพื่อช่วยให้แต่ละแบรนด์มีโอกาสในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับกลุ่มประชากรที่เป็นเป้าหมาย

ขณะเดียวกันก็มีนักวิเคราะห์ออกมากล่าวว่า อุตสาหกรรมตลาดสมาร์ทโฟนอของจีนกำลังใกล้ถึงจุดอิ่มตัว ผู้บริโภคไม่ได้รับการนำเสนอคุณสมบัติหรือนวัตกรรมที่แปลกใหม่ เช่นเดียวกับผู้ผลิตที่พบว่าค่อนข้างเป็นเรื่องยากที่จะแยกความแตกต่างออกจากคู่แข่ง

ที่มา : Alizila, ภาพจาก Vivo

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/104314