คลังเก็บป้ายกำกับ: TMA

TMA แต่งตั้งผู้บริหารกลุ่มทรู เป็นกรรมการอำนวยการ

 

ขอแสดงความยินดีกับผู้บริหารกลุ่มทรู …เมื่อ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) แต่งตั้ง นายพีรธน เกษมศรี ณ อยุธยา ผู้ช่วยบริหารงานประธานคณะผู้บริหาร และหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านคอนเทนต์และมีเดีย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น เป็นกรรมการอำนวยการ (Council Board)โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562

true

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งผู้บริหารโปรไฟล์เยี่ยม มากประสบการณ์ที่จะมาร่วมเสริมทัพพัฒนาภาคธุรกิจของไทย เพิ่มความเป็นเลิศให้องค์กรชั้นเยี่ยมอย่าง TMA ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นสมกับเป็นองค์กรที่เสริมสร้างประสิทธิภาพและติดอาวุธทางความคิดในการจัดการธุรกิจในประเทศให้ยกระดับขึ้นเทียบเคียงนานาชาติ หรือระดับโลก ได้อย่างเต็มภาคภูมิ

 

from:http://mobileocta.com/tma-appoints-true-group-executives-as-the-director/

วงสัมมนาชี้ธุรกิจไทยเดินหน้าไอทีมากขึ้น เพื่อมองหาโอกาสทางธุรกิจ

เรื่องของการเดินหน้านวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับภาครัฐและเอกชนในไทยนั้น ต้องยอมรับว่าเริ่มตื่นตัวมากขึ้นกว่าในอดีตเพราะภาคธุรกิจเริ่มรู้แล้วว่าหากไม่ปรับตัวให้ทัน จะเสียโอกาสและรายได้มหาศาล โดยบนเวทีสัมมนาของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) มีเนื้อหาที่น่าสนใจบนเวทีมากมายเลยนะคะ และทาง Thumbsup จะมาสรุปสิ่งที่น่าสนใจให้ค่ะ

จากปาฐกถาในหัวข้อ Realizing Digital Thailand โดยคุณพรรณสิรี อมาตยกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เล่าว่า คำว่า Disruption กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว หากผู้บริหารระดับสูงตระหนักรู้และมีการพัฒนาตามเทรนด์ หากใครมีไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์ก็หาโอกาสใหม่ๆ จับมือคู่ค้าใหม่ ถึงจะเรียกว่าเป็นโอกาสของผู้ชนะ

นอกจากนี้เทรนด์ Fintech, Startup, Digital Disruption ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวลอีกต่อไปแล้ว หากรู้จักปรับตัวตามให้ทัน ไม่ได้หมายความว่าการลงทุนเม็ดเงินเพื่อปรับโครงสร้างพื้นฐานในองค์กรอย่างเดียว แต่เป็นการลงทุนเครื่องมือสำหรับอนาคต เพื่อเดินหน้าธุรกิจให้ทันสมัยและตามผู้บริโภคได้ทัน

แม้ว่าการพัฒนาดิจิทัลในยุคนี้ จะเน้นเรื่องการนำดิจิทัลแพลตฟอร์มเข้ามาใช้งาน แต่การใช้ระบบอัจฉริยะต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่องค์กรมองเห็นความสำคัญมากขึ้นเช่นกัน อย่างเช่นการนำเทคโนโลยี Cognitive มาใช้พัฒนาระบบความปลอดภัยและระบบสั่งการต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพของธุรกิจ เป็นต้น

เช่นเดียวกับ ในวงอภิปราย Powering Business Competitiveness through Digitalization โดยดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ Country Manager ของ Amazon Web Service ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานรัฐบาลอิเลคทรอนิคส์ (องค์กรมหาชน) นายสุวัฒน์มีมุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันนวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น ดร.กำพล ศรธนะรัตน์ ผู้อำนวยการบริหารความเสี่ยงและธรรมาภิบาลองค์กร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ โสจิพรรณ วัชโรบล Executive Director บริษัท ดาต้าวัน เอเชีย (ประเทศไทย) ที่ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ว่า

ธุรกิจเร่งลงทุนไอที

ภาคธุรกิจค้าปลีก ถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการลงทุนด้าน IT เยอะมาก ซึ่งแน่นอนว่าเม็ดเงินของการลงทุนช่วงแรกอาจจะสูง แต่ระบบต่างๆ ที่ลงทุนไปสามารถตอบสนองด้านความต้องการของลูกค้าได้เป็นอย่างดี หรือการทำ Private Banking ของกลุ่มธุรกิจธนาคาร ที่แต่เดิมจะให้บริการเฉพาะลูกค้าระดับสูง ก็ปรับมาให้บริการแก่ลูกค้าทุกระดับ เพื่อเพิ่มการเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ต้องการเดินทางมาที่สาขาได้ดีขึ้น ทำให้สามารถลดต้นทุนในการบริหารจัดการ และเพิ่มโอกาสทางรายได้ใหม่ๆ

ทั้งนี้ การลงทุน IT สำหรับองค์กรทุกระดับไม่ใช่เรื่องของกระแสอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เพราะเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมสามารถเข้าถึงคนหมู่มากและสร้างฐานรายได้ใหม่ๆ ได้ หากสามารถสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ได้

ยกตัวอย่าง เทคโนโลยีที่มีการลงทุนในกลุ่มธุรกิจ เช่น AI ที่ดึงเรื่องของ Voice, Image, Video และ Technology ต่างๆ มาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการให้บริการทีดีขึ้น เช่น Pinterest ที่มีมูลค่าทางธุรกิจกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็นำเรื่องของวิเคราะห์ภาพเพื่อหาโอกาสเข้าถึงลูกค้าใหม่ๆ ที่มีความชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน จนเกิดช่องทางรายได้ เช่น กลุ่มเสื้อหา กระเป๋า สินค้าแฮนด์เมด ที่นอกจากนำเสนอสินค้าแล้วยังลิ้งไปยังต้นทางเพื่อหาโอกาสทางรายได้ใหม่ๆ ด้วย หรือแม้แต่จานซูชิบนสายพานก็มีการติดเครื่องมือแบบ IOT ไว้เพื่อดูว่าเมนูไหนลูกค้าสั่งเยอะ เมนูไหนลูกค้ากินไม่หมด เพื่อวิเคราะห์หาพฤติกรรมและปรับรูปแบบเมนูอาหารให้เหมาะสม

อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชนก็พยายามที่จะตอบสนองธุรกิจเรื่องการเข้าถึงโอกาสใหม่ๆ ด้วยราคาต้นทุนเทคโนโลยีที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ เพราะส่วนใหญ่สิ่งที่ลูกค้าต้องการคือนวัตกรรมที่สามารถนำไปปรับใช้ได้เลย ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องลงทุนใหม่ หรือเริ่มต้นโครงสร้างพื้นฐานใหม่ เพราะเสียเวลาและต้นทุน ทำให้ผู้ให้บริการด้านนวัตกรรมต่างก็ต้องพยายามนำเสนอเครื่องมือที่เหมาะสมให้ธุรกิจเหล่านี้เลย

หรือแม้แต่สตาร์ทอัพเอง ก็มีเครื่องมือที่น่าสนใจเข้ามานำเสนอได้ตรงจุดกับความต้องการของลูกค้ามากกว่า เพราะเข้าใจในพฤติกรรมและคุ้นเคยกับวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นได้ดี

 
Source: thumbsup

from:https://thumbsup.in.th/2018/07/tma-digital-disruption/

“กานต์ ฮุนตระกูล” ชวนภาคธุรกิจเปิดใจรับ Open Innovation เพิ่ม GDP

“กานต์ ตระกูลฮุน” ชี้ไทยไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากเพิ่มงบ R&D จึงจะช่วยเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตได้ พร้อมเผยตัวเลขงบประมาณ R&D ของประเทศเพื่อนบ้านเช่น เกาหลีใต้ ที่สูงถึง 3 – 4% ของ GDP ขณะที่ประเทศไทยมีงบด้าน R&D อยู่ที่ 0.62% ของ GDP เท่านั้น โดยทาง STI คาดการณ์ว่า ไทยมีแนวโน้มที่จะมีงบประมาณด้าน R&D แตะ 1% ของ GDP ภายในปี 2018 ซึ่งจะถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศเลยทีเดียว

อาจเป็นตัวเลขจากหน่วยงานที่ผู้อ่าน Thumbsup หลายคนไม่คุ้นหู แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทพ.) หรือ STI เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนไทยทุกคน โดยเฉพาะในแง่ของการแข่งขันในยุค Digital Disruption

โดยข้อมูลจาก STI ระบุว่า ปัจจุบัน ความสามารถในการแข่งขัน ของประเทศไทยจากการจัดอันดับ IMD ประจำปี 2017 อยู่ที่อันดับ 27 เรามีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ประจำปี 2016 อยู่ที่ 0.62% (84,671 ล้านบาท) และเรามีจำนวนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศต่อประชากร 10,000 คน ประจำปี 2016 อยู่ที่ 13.6 คน โดยประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางมายาวนานตั้งแต่ปี 1974 จนถึงปีปัจจุบันก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะหลุดพ้น และมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีที่ 5,997 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 200,000 บาทเท่านั้น

ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างเกาหลีใต้กลับมีเศรษฐกิจเติบโตและสามารถก้าวพ้นการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลางไปแล้วตั้งแต่ปี 2006 จนปัจจุบัน เกาหลีใต้จัดเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ประชากรมีรายได้ต่อหัวที่ 28,166 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือประมาณ 930,000 บาท ซึ่งมากกว่าไทยเกือบ 4 เท่าตัว

จุดต่างของสองประเทศอาจดูได้จากกราฟนี้ (อ้างอิงจากงาน CEO Innovation 2017)

นั่นจึงทำให้คุณกานต์ ตระกูลฮุน หัวหน้าภาคเอกชน คณะทำงานการยกระดับนวัตกรรมและ Digitalization โครงการสานพลังประชารัฐ และ Board of Trustee TMA เผยอย่างตรงไปตรงมาว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณด้าน R&D ให้มากกว่านี้จึงจะสามารถแข่งขันและสร้างโอกาสในการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย

แต่ความสำคัญของแนวคิดในการทำ R&D ยุคใหม่ไม่ใช่การสร้างทุกอย่างตามลำพัง ในจุดนี้คุณกานต์มองว่า โลกภายนอกมีหน่วยงานมากมายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคการศึกษาที่มีฝ่ายวิจัยและพัฒนาเพื่อคิดค้นนวัตกรรมอยู่แล้ว เพียงแต่ว่ารูปแบบที่ผ่านมาของการทำ R&D ยังอยู่ในลักษณะของตัวใครตัวมัน หรือเมื่อทำแล้วก็ไม่มีการแบ่งปัน ทำให้นวัตกรรมบางอย่างถูกวางทิ้งไว้บนหิ้ง ไม่ได้ถูกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ดังนั้น การจับมือกัน รวมถึงการมีพื้นที่ให้แต่ละคนได้พูดคุยกันว่าตนเองมีอะไร และขาดอะไร ใครจะมาเติมเต็มได้จึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางของการสร้างงาน R&D ยุคใหม่ และนั่นจึงเป็นที่มาของการเชิญผู้เชี่ยวชาญอย่าง ศาสตราจารย์ ดร. Henry Chesbrough เจ้าของแนวคิด Open Innovation อีกทั้งยังเป็นผู้อำนวยการของ Center of Open Innovation มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย, เบิร์กลีย์ สหรัฐอเมริกามาให้ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าว โดยมองว่า Open Innovation เป็นแนวคิดที่สามารถเพิ่มขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกได้

ศาสตราจารย์ ดร. Henry Chesbrough

โดย ดร. Henry เผยว่า แนวคิด Open Innovation นั้นเชื่อในการร่วมมือกัน และแชร์ข้อมูลระหว่างกัน โดยสามารถทำได้ทั้งการนำความรู้จากภายนอกเข้ามาพัฒนาองค์กร รวมถึงการแชร์ในสิ่งที่องค์กรเรามีอยู่ออกไปสู่โลกภายนอก

อย่างไรก็ดี การแชร์องค์ความรู้ระหว่างกันนั้นก็มีศิลปะในการแชร์อยู่เช่นกัน โดยดร. Henry ยกตัวอย่างการแชร์องค์ความรู้ของบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ที่สามารถแยกได้เป็นสองบริบท บริบทแรกสำหรับแชร์สู่สาธารณะ เช่นการออกมาเผยถึงคุณสมบัติใหม่ของแอปพลิเคชัน กับอีกบริบทหนึ่งคือการแชร์ในระดับไพรเวท ที่จะลงลึก และเน้นให้ผู้เกี่ยวข้องกับโปรเจ็คได้มีความเข้าใจตรงกัน

 

ทั้งนี้สิ่งที่เกิดขึ้นจากการมาถึงของ Open Innovation นั้นคือ การเกิดขึ้นของ Platform to Connect ที่เป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับช่วยให้ภาคธุรกิจ (แม้จะมาจากหลายภาคส่วน) สามารถเชื่อมต่อกันได้

เทรนด์ที่สองที่ ดร. Henry มองเห็นคือ การที่บริษัทขนาดใหญ่จะลงมาร่วมมือกับ Startup มากขึ้น และสุดท้ายคือการเกิด Open Innovation ในภาคสังคม เช่น นำเทคโนโลยีไปช่วยภาคการเกษตร และทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ส่วนบริษัทเทคโนโลยีก็ได้รับองค์ความรู้กลับไปพัฒนาต่อนั่นเอง

แต่นอกจากเรื่องของความร่วมมือด้าน Open Innovation แล้ว ทิศทางและมาตรการของรัฐบาลในการส่งเสริมด้าน R&D ให้กับภาคเอกชนก็มีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างการสนับสนุนในด้านนี้เช่น เงินทุนสำหรับสตาร์ทอัป, Competitiveness Fund, BOI Privileges สำหรับ R&D, Food Innopolis เป็นต้น โดยคาดว่าการสนับสนุนนี้จะมีมูลค่าเท่ากับ 1.5% ของ GDP ในปี 2564 เลยทีเดียว

 

 

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/10/open-innovation/

[PR] สัมมนาความร่วมมือนวัตกรรมแบบเปิดเพื่ออนาคต

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) เปิดสัมมนาเผยแพร่องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมแบบเปิด ดึงผู้คิดค้นแนวคิด “Open Innovation” จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ในงาน STI Forum and Outstanding Technologist Awards 2017 ภายใต้หัวข้อ “Co-Creating the Future” พร้อมงานประกาศรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลรุ่นใหม่ วันที่ 19 ต.ค.นี้

Dr. Henry Chesbrough

มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) มุ่งส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพบุคลากรไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์แนวคิด “นวัตกรรมแบบเปิด” ในงาน  STI Forum and Outstanding Technologist Awards 2017 หัวข้อ “Co-Creating the Future”  ซึ่งงานนี้ได้รับเกียรติจาก Dr. Henry Chesbrough ผู้คิดค้นแนวคิด “นวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation)” การันตีองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านนวัตกรรมด้วยรางวัลมากมายทั้งในด้านของนักวิจัยพัฒนา และนักเขียนหนังสือโดยนำทฤษฎี “นวัตกรรมแบบเปิด” มาปรับใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Executive Director – Center for Open Innovation สถาบัน Institute for Business Innovation มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ (University of California, Berkeley) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ที่ผลิตบุคลากรที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จระดับโลก รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมชั้นนำอีกหลายท่าน

การจัดงานครั้งนี้ มีความตั้งใจที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ด้านนวัตกรรม เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูง นักธุรกิจ รวมถึงสตาร์ทอัพ สามารถนำความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในองค์กรและสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ที่สร้างให้องค์กรเปิดรับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวคิด และประสบการณ์จากภายนอกองค์กร หรืออาศัยความร่วมมือเชิงพันธมิตรกับองค์กรที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญในกลุ่มอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของไทยอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง โดยการจัดงานได้ขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2560 ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ณ แอทธินี คริสตัลฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน กรุงเทพฯ 

โดยในงานยังมีการประกาศผลรางวัลพระราชทาน “นักเทคโนโลยีดีเด่น” และรางวัล “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่” ประจำปี 2560 เพื่อเชิดชูและเป็นขวัญกำลังใจให้แก่นักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจนเห็นเป็นรูปธรรม สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับประเทศได้ ผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หรือ ทีเอ็มเอ (TMA) โทร. 0-2 319 7677 ต่อ 204, 149

###

from:https://www.techtalkthai.com/tma-open-innovation-co-creating-the-future/

เอไอเอส คว้า 4 รางวัลดีเด่น จากเวที Thailand Corporate Excellence Awards 2016

เอไอเอส นำโดย นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขาย พร้อมคณะผู้บริหาร รับ 4 รางวัลดีเด่น ทางด้านผู้นำ ด้านการตลาด ด้านสินค้าและบริการ และด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล จากเวที Thailand Corporate Excellence Awards 2016 ซึ่งจัดขึ้นโดย สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ณ โรงแรมสยาม เคมปินสกี้ กรุงเทพฯ

from:http://mobileocta.com/ais-won-four-awards-for-outstanding-stage-from-thailand-corporate-excellence-awards-2016/