คลังเก็บป้ายกำกับ: SILICONE

แนะนำอุปกรณ์เสริม Apple ที่ใช้กับร่วม iPhone 8 และ iPhone 8 Plus

Accessories For Iphone 8 8plus

อีกหนึ่งข้อดีของ iPhone ไม่ว่าจะรุ่นเก่าขนาดไหนก็ยังสามารถหาอุปกรณ์เสริมอย่างเคส, ของแต่งหรือของที่ใช้งานร่วมกันได้แม้ว่าเวลาจะผ่านมานานแล้วซึ่งหากเป็นสมาร์ทโฟนยี่ห้ออื่นหรือว่ารุ่นก็คงจะหาได้ไม่ง่ายนักอย่างเช่นฟิล์มกันรอยก็หายากแล้ว จุดนี้ถือว่าเป็นข้อดีสำหรับผู้ใช้งาน iPhone นะครับ วันนี้สำหรับใครที่ใช้ iPhone 8 และ iPhone 8 Plus เรามีอุปกรณ์เสริมมาแนะนำกันครับ

แนะนำอุปกรณ์เสริม Apple ที่ใช้กับร่วม iPhone 8 และ iPhone 8 Plus

สำหรับมือใหม่ iPhone ที่ซื้อ iPhone 8, 8 Plus มาใช้เป็นครั้งแรกก็จะมีคำถามตามมาว่าจะใส่เคสตัวไหนดี แล้วฟิล์มกันรอยหละจะติดอันไหนดี พวกหูฟังต้องมีด้วยไหมถ้าอยากฟังเพลงจะใช้ตัวไหนดี

ทีมงาน iMod จะขอแนะนำอุปกรณ์เสริมสำหรับเสริมหล่อให้โดยเน้นที่ขายจาก Apple ว่าจะมีตัวไหนที่น่าสนใจบ้างควรควรเลือกแบบไหนไปชมกันครับ

1. เคส

สิ่งนี้ต้องมีเลยนะครับสำหรับ iPhone 8, 8 Plus ด้วยความที่รุ่นนี้ใช้ฝาหลังเป็นกระจกเพื่อใช้ชาร์จไร้สายได้ดังนั้นเคสฝาหลังของ iPhone 8, 8 Plus จะไม่เหมือนรุ่นก่อนหน้า (iPhone 7 และกล่าวกว่า) เพราะมันสามารถแตกได้ฉะนั้นควรหาเคสใส่ไว้จะอุ่นใจดีที่สุด

iPhone 8, 8 Plus ต้องใส่เคสจะอุ่นใจที่สุด

สำหรับเคสจาก Apple นั้นมีให้เลือก 2 แบบคือ ซิลิโคนและหนัง โดยความแตกต่างของทั้ง 2 รุ่นอยู่ที่วัสดุที่ใช้ผลิตและราคา

Apple Iphone 8 Plus Case Leather Vs Silicone

เคสหนัง – เคสนี้ผลิตด้วยหนังฟอกพิเศษใส่แล้วเข้ารูปกับ iPhone 8, 8 Plus ได้ดี ปุ่มที่กดนั้นเป็นอะลูมิเนียมยื่นออกมาทำให้ดูสวยงามและแถมการกดใช้งานทำได้ง่าย ส่วนที่ชอบคือด้านในของเคสที่สัมผัสกับหลังเครื่องเป็นผ้าไมโครไฟเบอร์นุ่มละเอียดไม่ทำให้ตัวเครื่องเป็นรอย การสวมใส่และถอดเคสทำได้ง่าย ดูสวยงามหรูหรา ยิ่งใช่ไปเรื่อยๆ ความเป็นจุดเด่นของหนังจะเริ่มแสดงขึ้นมันจะนิ่มและสีเริ่มจางในบางจุด ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่หลายๆ ชอบ ส่วนการใช้งานร่วมกับชาร์จไร้สายนั้นทำได้ดีไม่มีปัญหาอะไร แถมกันกระแทกได้ดีระดับหนึ่งด้วย

  • iPhone 8 ราคา 2,100 บาท
  • iPhone 8 Plus ราคา 2,200 บาท

เคสซิลิโคน – รูปทรงจะเหมือนกับเคสหนังต่างเพียงวัสดุที่ใช้ซึ่งเป็นซิลิโคนมีความความนิ่มแต่ไม่ย้วย สวยงามตามแบบฉบับของ Apple ติดตั้งเข้าเครื่องแล้วกระชับจับถนัดมือและกันแรงกระแทกได้ดี ใช้งานกับการชาร์จได้สายได้อย่างไร้ปัญหา

  • iPhone 8 ราคา 1,500 บาท
  • iPhone 8 Plus ราคา 1,700 บาท

ส่วนตัวแล้วถ้าให้เลือกระหว่าง 2 รุ่นนี้ผมเลือกเคสหนังด้วยความชอบส่วนตัวคือใส่แล้วหรูหราและรักษาง่ายมากว่าซิลิโคน หนังแม้ว่านานๆ จะสีจะซีดไปมันก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของมันอยู่ดูแล้วมีความ Classic ดี

2. อุปกรณ์สำหรับชาร์จเร็ว

Apple 29w Power Adapter With Usbc To Lightning Cable

หากใครไม่ทราบว่า iPhone 8, 8 Plus ที่คุณถือในมือหรือใครที่คิดจะซื้อไปใช้งานนั้นรุ่นนี้มาพร้อมความสามารถในการชาร์จแบตเตอรีให้เต็มเร็วเป็นพิเศษ เร็วกว่า iPhone 7 และเก่ากว่า

เร็วแค่ไหน?

ความเร็วคือเสียบชาร์จ 30 นาทีได้แบตเตอรีเพิ่ม 50% และชาร์จเต็ม 100% ใช้เวลาไม่เกิน 1.30 ชั่วโมง

แต่ที่เสียดาย Apple ไม่แถมอุปกรณ์ชาร์จเร็วมาให้เราด้วย ดังนั้นหากต้องการได้ประโยชน์จากจุดนี้จริงๆ อาจจะต้องกัดฟันซื้ออุปกรณ์เพิ่มสักหน่อย ได้แก่

อะแดปเตอร์ USB-C กำลังไฟ 29W  และ สาย USB-C to Lightning 

USB-C Power Adapter ขนาด 29 วัตต์ จริงๆ แล้วอะแดปเตอร์นี้ออกแบบมาสำหรับ MacBook 12 นิ้ว แต่ทั้งนี้อุปกรณ์นี้สามารถจ่ายไฟให้ iPhone 8, 8 Plus รวมทั้ง iPhone X ได้ด้วย อะแดปเตอร์นี้จ่ายไฟผ่านพอร์ต USB-C ให้กำลังไฟขนาด 29W (วัตต์) ดังนั้นเมื่อใช้งานร่วมกับสาย USB-C to Lightning เพื่อชาร์จแล้วจะทำให้แบตเตอรี iPhone 8, 8 Plus เต็มเร็วกว่าชาร์จด้วยอะแดปเตอร์ที่แถมมากับตัวเครื่องนั้นเอง

ปล. หากใครมี MacBook Pro 2016 ที่มาพร้อม USB-C Power Adapter ก็สามารถใช้ตัวนั้นชาร์จไฟให้กับ iPhone 8, 8 Plus ได้เลยโดยไม่ต้องซื้อเพิ่ม

ราคาของอุปกรณ์ดังกล่าว

  • USB-C Power Adapter ขนาด 29 วัตต์ – 1,700 บาท
  • สาย USB-C to Lightning – ยาว 1 เมตร 890 บาท, ยาว 2 เมตร 1,300 บาท

3. แท่นชาร์จไร้สาย

Belkin Boost↑up™ Wireless Charging Pad

นับว่าเป็นครั้งแรกของการชาร์จไร้สายใน iPhone ที่ทาง Apple ตัดสินใจกระโดดเข้ามาเล่นในสนามการชาร์จไร้สายนี้ การชาร์จไร้สายถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งานสามารถชาร์จ iPhone 8, 8 Plus และ iPhone X ได้โดยไม่ต้องเสียบสาย Lightning ให้เมื่อย เปลี่ยนมาเป็นวางบนแท่นปุ๊บก็ชาร์จปั๊บทันที

ชาร์จไร้สายเหมาะที่สุดก็ตอนนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือวาง iPhone ข้างหัวเตียงตอนนอน

การชาร์จด้วยระบบไร้สายจะไม่เร็วเท่ากับชาร์จแบบสายในข้อที่ 2 แต่ว่าชาร์จเร็วกว่าแบบสายเมื่อใช้อะแดปเตอร์ (5W) ที่แถมมาด้วยในกล่อง ดังนั้นความเร็วในชาร์จสูงสุดผ่านไร้สายนั้นจะอยู่ที่ 7.5W หากจะให้ได้ความแรงของกำลังไฟขนาดที่บอกไว้นั้น 2 สิ่งที่จำเป็นคือ iPhone 8, 8 Plus ต้องอัปเดต iOS 11.2 หรือสูงกว่าและต้องมีแท่นชาร์จไร้สายที่รองรับการปล่อยกำลังไฟสูงสุดที่ 10W ด้วย

โดยทาง Apple ก็มีแท่นชาร์จไร้สายมาขายเช่นกันในชื่อ AirPower แต่ทว่าสินค้ายังไม่เปิดขาย ซึ่งแว่วๆ ว่าสินค้าชิ้นนี้จะจำหน่ายราวๆ ต้นปี 2561 ที่กำลังจะถึงนี้รอไปชมได้เลยที่ Studio7

หากใครรอแท่นชาร์จจาก Apple ไม่ไหว ทีมงานมีแท่นชาร์จไร้สายมาแนะนำอีกรุ่นคือ Belkin BOOST↑UP™ Wireless Charging Pad รุ่นนี้รองรับการชาร์จไร้สายสำหรับ iPhone 8, 8 Plus และ iPhone X ที่ให้กำลังไฟ 7.5W สูงสุดตามที่ iPhone รับได้ ข้อดีของแท่นชาร์จรุ่นนี้คือ

  • รองรับการจ่ายกำลังไฟสูงสุด 7.5W ตามที่ iPhone 8, 8 Plus, X สามารถรับได้
  • มีอะแดปเตอร์จ่ายไฟมาให้พร้อมโดยไม่ต้องซื้อเพิ่ม
  • มีระบบตัดไฟอัตโนมัติเมื่อชาร์จเต็ม
  • มีระบบป้องกันการจ่ายไฟหากอุปกรณ์ที่วางลงแท่นนั้นไม่ได้รับมาตรฐาน Qi
  • แท่นชาร์จกันลื่นสามารถวาง iPhone แล้วเคลื่อนไหวเมื่อเครื่องมีการสั่นและไม่ทำให้เคส iPhone เป็นรอย
  • สามารถชาร์จได้แม้ใส่เคส (ที่ไม่หนาจนเกินไป)
  • มีชิปควมคุมควบระบบความร้อน
  • แท่นชาร์จรับประกันสูงสุดนาน 3 ปี

ราคาแท่นชาร์จไร้สาย Belkin BOOST↑UP™ Wireless Charging Pad – 2,990 บาท

4. หูฟังไร้สาย

แม้ iPhone ตัดช่องหูฟัง 3.5 มม. ออกก็ไม่ได้หมายความว่าจะฟังเพลงผ่านสายหูฟังไม่ได้เพราะทาง Apple ได้แถมอะแดปเตอร์แปลงจาก Lightning เป็น 3.5 มม. มาให้ใช้ แต่ก็นะการใช้แบบมีสายมันก็ดีแต่ว่าหากใครได้ลองใช้หูฟังไร้สายละก็ สักพักคุณจะลืมหูฟังแบบมีสายไปเลยด้วยความที่มันใช้งานได้สะดวก มันไม่ต้องมีสายมาพันกันให้กวนใจและมันก็ Cool! มากๆ ด้วย

หูฟังไร้สายมีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อในท้องตลาดมาราคาตั้งแต่หลักร้อยไปถึงหลายหมื่นให้เลือกขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ฟัง

แต่ที่ผมจะแนะนำ 2 รุ่นที่ขายจาก Apple ที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น

AirPods

ตัวแรกคือ Apple AirPods หูฟังไร้สายจาก Apple ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานจริงๆ แม้ว่าตอนเปิดตัวจะโดนบ่น ด่า ว่าออกแบบได้ห่วยมากไม่ได้เรื่องเลย, หน้าตาหน้าเกียจแบบนี้ไม่มีใครซื้อใช้หรอก ฯลฯ แต่พอเปิดขายเท่านั้นแหละสินค้าไม่พอขายเลยทีเดียว

จุดเด่นของ AirPods

  • เชื่อมต่อกับ iPhone ง่ายมากๆ
  • หูฟังไร้สายที่แท้ทรู(จริง) หูฟังทั้งสองข้างแยกออกจากันอย่างอิสระ
  • น้ำหนักเบาพกพาง่าย
  • ใส่วิ่งออกกำลังกายก็ไม่หลุดออกจากหู (ทดสอบแล้ววิ่ง 10 กม. ต่อเนื่องหูฟังไม่หลุดและแบตเตอรียังใช้งานไม่หมด)
  • เสียงดีเหมาะสำหรับการฟังเพลงทั่วไป
  • ใช้คุยโทรศัพท์ได้เสียงดีด้วย
  • ใช้ข้างเดียวได้ ไม่ต้องเป็นต้องใช้สองข้างตลอดเวลา
  • แบตเตอรีอยู่ได้นานและสามารรถชาร์จได้ด้วยกล่องเก็บหูฟัง
  • สามารถใช้สายชาร์จ Lightning ของ iPhone ชาร์จกล่องหูฟัง AirPods ได้เลย

Beats Solo3 Wireless

Beats Solo3 Wireless Red

Beats Solo3 Wireless อีกหนึ่งตัวมาตรฐานที่ขายดีสำหรับหูฟังไร้สายจาก Beats รุ่นนี้มาพร้อมกับ Class 1 Bluetooth เพื่อเพลิดเพลินไปกับการฟังแบบไร้สาย และคุณภาพเสียงและการออกแบบที่ได้รับรางวัลจาก Beats ที่คุณจะต้องหลงรัก แบตเตอรี่ใช้งานได้นานสูงสุด 40 ชั่วโมงเพื่อการใช้งานที่ยาวนานหลายวัน เมื่อแบตเตอรี่ใกล้หมด คุณสมบัติ Fast Fuel จะทำให้การชาร์จเพียง 5 นาที สามารถฟังเพลงได้นานถึง 3 ชั่วโมง

ที่ครอบหูแบบบุนุ่มแบบปรับได้ซึ่งออกแบบมาเพื่อความสบายในการใช้งานในทุกๆ วัน ดีไซน์เรียบหรูที่คล่องตัวและทนทาน ทั้งยังพับเก็บได้จึงพร้อมไปกับคุณในทุกที่ สามารถกดรับสาย ควบคุมเพลง และเปิดใช้งาน Siri ด้วยการควบคุมแบบมัลติฟังก์ชั่นจากตัวหูฟัง

Beats Solo3 Wireless เหมาะสำหรับคนผู้ใช้เริ่มต้นที่ชอบการฟังเพลงซึ่งหูฟังรุ่นนี้เสียงที่ได้จะมีความนุ่มและเบสที่กว่า AirPods รุ่นด้านบน ความพิเศษอีกอย่างของรุ่นนี้ก็คือมีสีสันสดใสให้เลือกมากมาย เหมาะกับวัยรุ่นใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

ราคา Beats Solo3 Wireless – 11,500 บาท

สำหรับหูฟังที่ผมเลือกนั้นคือ AirPods ด้วยความที่ใช้งานได้ง่าย พกพาง่าย เสียงอยู่ในระดับดี ใช้งานได้หลากหลายโอกาสซึ่งคุ้มค่ากับการซื้อมาใช้งานมากๆ

ส่งท้าย

อุปกรณ์เสริมทั้ง 4 อย่างที่แนะนำมานั้นถือมีทั้งสิ่งจำเป็นที่ต้องมีอย่างเคสและสิ่งที่ควรจะมีนั่นคือ หูฟังไร้สาย, แท่นชาร์จไร้สายและชุดชาร์จเร็ว เป็นสินค้าที่ทาง Apple มีวางจำหน่าย หากใครสนใจสามารถไปลองเล่นและหาซื้อมาใช้งานกันได้เลยที่ Studio7 ไปที่เดียวมีให้เลือกครบทุกอย่าง

สำหรับบทความนี้ฝากไว้เพียงเท่านี้ไว้เจอกันครั้งหน้าครับ

ขอบคุณสำหรับการติดตาม

สวัสดีครับ

from:https://www.iphonemod.net/apple-accessories-for-iphone-8-series.html

KINGPIN Cooling KPx High Performance Thermal Compound Review

KPx KINGPIN Cooling

มันช่างประจวบเหมาะเอามาก ๆ เลยจริง ๆ ละครับ หลังจากที่ผมเพิ่งจะมีบทความเกี่ยวกับข้อมูลของซิลิโคนโลหะหรือที่เราชอบเรียกกันว่า “ซิลิโคนปรอท” สำหรับซิลิโคนหรือที่มีชื่อเรียกกันหลากหลายในภาษาอังกฤษ เช่น Thermal Paste, Thermal Compound และ Thermal Grease ซึ่งทั้งสามชื่อที่ได้กล่าวไปนั้น ทั้งหมดก็มีความหมายอันเดียวกับก็คือ ซิลิโคนสำหรับทาซีพียูเพื่อใช้งานร่วมกับฮีตซิงก์หรืออุปกรณ์ระบายความร้อนต่าง ๆ และจากบทความดังกล่าวก็มีเพื่อน ๆ เราบางส่วนถามกันเข้ามาว่า ได้ลองซิลิโคนตัวใหม่จากทาง klngpln แล้วหรือยัง ? ให้หลังมาเพียงหนึ่งวัน ซิลิโคนที่ว่าก็เดินทางมาถึงมือผมพอดี ซึ่งบางท่านก็อาจจะได้เห็นการอันบ๊อกไปบ้างแล้ว ส่วนใครที่ยังไม่เห็นก็มารับชมกันในเวอร์ชันเขียนพร้อมบททดสอบตรงนี้กันได้เลยนะครับ

พูดถึงซิลิโคนหรือ Thermal Paste นั้นก่อนที่จะไปว่ากันที่บททดสอบ ตรงนี้ผมขอพูดถึงข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับตัวซิลิโคนสักนะครับว่า มันมีประโยชน์อย่างไร เหตุใดจะต้องมีจะต้องใช้ สำคัญยังไง ? ซึ่งเหตุผลที่เราจำเป็นจะต้องมีซิลิโคนสำหรับใช้ทาบนกระดองของซีพียู บน DIE ของการ์ดจอหรือชิปต่าง ๆ ก่อนที่จะทำการประกบฮีตซิงก์ลงไปนั้น เพราะด้วยที่ว่าพื้นผิวของหน้าสัมผัสฮีตซิงก์ ที่เราเห็น ๆ กันว่ามันเรียบ มันเงาวาว แต่แท้จริงแล้วหากส่องกันในแบบละเอียดในระดับ Micron ด้วยกล้อง Microscope แล้วละก็ เราจะเห็นว่ามันไม่ได้เรียบอย่างที่เราคิด รวมทั้งผิวของกระดองซีพียูเองก็ตามที ดังนั้นในการที่เราจะนำมันมาประกบเข้าด้วยกัน จะทำให้มันมีช่องว่างระหว่างกันอยู่ มันไม่ได้สัมผัสแนบชิดอย่างที่เราคิด และเพื่อเพิ่มพื้นที่ในการสัมผัสของพื้นผิวทั้งสอง เพื่อเป็นการเข้าไปแทนที่ที่ว่างหรืออากาศในบริเวณนั้น ๆ เราจึงจำเป็นจะต้องมีซิลิโคน และด้วยเหตุนี้เองซิลิโคนจึงมีความจำเป็น และมันจึงกลายเป็นตัวแปรหนึ่งที่สำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อน เพราะหากว่าตัวมันเองมีคุณสมบัติในการนำความร้อนได้ดี มันก็จะช่วยให้การส่งผ่านความร้อนจากกระดองซีพียูไปยังฮีตซิงก์เป็นไปได้อย่างรวดเร็วหรือพูดง่าย ๆ ว่ามากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันมันยังจะต้องไม่มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนทำให้วัสดุที่ใช้งานเสียหาย ต้องไม่นำไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งก็ถือว่าเป็นโจทย์ที่ยากพอสมควรไม่น้อยเลยทีเดียว

heatsink-surface

เมื่อเราได้เข้าใจกันแล้วว่า ทำไมต้องมีซิลิโคน และทำไมถึงซิลิโคนแต่ละตัวแต่ละแบรนด์ถึงให้ผลที่ต่างกัน ซึ่งในวันนี้กับซิลิโคนจากทาง KINGPIN Cooling ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งน้องใหม่ในวงการซิลิโคน จากผลงานของนักโอเวอร์คล๊อกชื่อก้องโลกที่คิดว่าหลาย ๆ ท่านก็น่าจะรู้จักกันดี ซึ่งก่อนหน้านี้ KINGPIN จะมีเพียงอุปกรณ์ระบายความร้อนในแบบ Extreme เพื่อใช้เล่น LN2 เท่านั้น แต่มาในเวลานี้ได้หันมาทำตลาดซิลิโคนกับเขาบ้าง ซึ่งแน่นอนว่าในเบื้องต้นก็จะเป็นการให้ความสำคัญกับการใช้งานในแบบ Extreme เพราะมันจะต้องมีคุณสมบัติทนต่ออุณหภูมิที่ต่ำมาก ๆ ด้วยที่ LN2 นั้นมันมีอุณหภูมิติดลบมากถึง – 196 °C โดยที่ว่าตัวซิลิโคนจะไม่สูญเสียคุณสมบัติของตัวมันเอง แต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่สามารถนำมาใช้งานในแบบพื้นฐานทั่วไปได้ ซึ่งวันนี้เราก็มาลองติดตามชมกันดูนะครับ กับบททดสอบปฐมบทแรกของ KINGPIN Cooling KPx Thermal Compound ว่าในการใช้งานแบบทั่วไปแล้วนั้นมันจะมีประสิทธิภาพที่ดีขนาดไหน และใช้งานยากง่ายเพียงไร ?

Package – บรรจุภัณฑ์

KPx-Thermal-compound-0

KPx-Thermal-compound-1
KPx-Thermal-compound-2

สำหรับใครที่ได้ชมอันบ๊อกกันไปแล้วก็คงสามารถข้ามส่วนนี้ไปได้เลย สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับตัวแพ็คเกจและตัวผลิตภัณฑ์ภายใน โดยในส่วนของแพ็คเกจนั้นมาในแบบเรียบง่าย กับถึงซิปแปะสติ๊กเกอร์ KINGPIN Cooling มาเท่านั้นเอง โดยรายละเอียดบนตัวฉลากหรือสตฺกเกอร์ก็มีระบุมาให้ทราบคร่าว ๆ เกี่ยวกับตัวคุณสมบัติของมันว่ามันคืออะไร ? เด่นอย่างไร ? ซึ่งจากข้อมูลที่ปรากฏก็จะระบุมาว่า

  • มีความต้านทานต่อความร้อนต่ำหรือพูดง่าย ๆ คือนำความร้อนได้ดี
  • ไม่นำไฟฟ้า
  • โอเวอร์คล๊อกได้ในระดับแนวหน้าหรือโอเวอร์คล๊อกได้ดี
  • น้ำหนักสุทธิ 10 กรัม

สำหรับตัว KPx ที่ผมได้รับมาตรงนี้จะเป็นเวอร์ชัน 10 กรัม ซึ่งในถุงก็จะประกอบด้วยซิลิโคนหนึ่งกระปุกพร้อมไม่พายสำหรับใช้ปาดซิลิโคนหนึ่งชิ้น และถ้าหากถามว่าซิลิโคน KPx จากทาง KINGPIN Cooling จะมีให้ได้เลือกใช้งานกี่รูปแบบหรือกี่ขนาดนั้น คำตอบก็คือจะมีมาให้เลือก 3 ขนาดด้วยกันคือ แบบหลอด 3 กรัม, แบบกระปุก 10 กรัมและแบบกระปุก 30 กรัม ซึ่งก็สามารถเลือกได้ตามความพอใจตามความเหมาะสมของแต่ละคนไป หากใครที่ต้องรื้อบ่อย ๆ เหมือนผม ได้กระปุก 30 กรัมจะเป็นอะไรที่ฟินมาก

KPx-Thermal-compound-5
KPx-Thermal-compound-4

หน้าตาของตัวบรรจุภัณฑ์ก็ตามที่เห็นละครับ มาในอารมณ์ประมาณครีมทาหน้าทาสิวอะไรประมาณนั้นเลย ซึ่งกับการเลือกใช้กระปุกพลาสติกใสทำให้ดูดีไม่น้อยเลยละครับ ประกอบกับเนื้อครีมของตัวซิลิโคนที่ออกแบบมาให้เป็นสีฟ้า ทำให้แลดูน่าใช้งานมากยิ่งขึ้นอีกด้วย สำหรับตัวเนื้อครีมนั้นจากที่ได้ทดลองใช้งาน มันจะมีความหนืดไม่สูงมาก ค่อนข้างเหลวแต่ก็ไม่เหลวมากเช่นกัน ช่วยให้เวลาทาใช้งานค่อนข้างสะดวก และทำให้เวลากดฮีตซิงก์ลงบนกระดองแล้วนั้นตัวซิลิโคนสามารถกระจายตัวได้ดี

KPx-Thermal-compound-3

เผื่อว่าใครที่ยังไม่ได้ชมวิดีโออันบ๊อกก็อาจจะนึกภาพไม่ออกมามากนักว่าเจ้าซิลิโคนกระปุกนี้มันมีขนาดประมาณไหน สำหรับเวอร์ชัน 10 กรัม ตรงนี้ก็ถ่ายภาพเปรียบเทียบมาให้ชมกันกับเหรียญ 5 บาท ซึ่งก็น่าจะช่วยให้พอประเมินหรือมองภาพออกกันชัดเจนมากยิ่งขึ้นนะครับ

Test System Setup

IMG_2785

6700k Intel Core i7-7700K Buy Now
td02-e SilverStone TD02-E Buy Now
TridentZ G.SKILL F4-2400C15D-16GTZR [Trident Z RGB] Buy Now
GTX-1080 ASUS GeForce GTX 1080 Founders Edition Buy Now
Lite-on-Zeta A-DATA SP920 256GB SSD Buy Now
galax-hof-1200w GALAX HOF-1200W Buy Now
windows10-pro Microsoft Windows 10 Pro Buy Now

KPx-Thermal-compound-6
KPx-Thermal-compound-7
KPx-Thermal-compound-8

เข้าสู่ช่วงเวลาของการทดสอบ ซึ่งระบบที่ใช้ทดสอบนั้นรายละเอียดของตัวสเป็คก็ตามที่ปรากฏในภาพหรือในตารางด้านบน โดยสิ่งที่จะขอพูดถึงตรงนี้ก็จะเป็นส่วนของการประกอบใช้งาน และตรวจสอบดูว่าตามที่ได้ทาลงไปแล้วนั้น มันกระจายตัวได้ดีได้ทั่วถึงหรือไม่ และจากในภาพที่นำมาให้ชมก็คงจะเห็นนะครับว่า จากทีแรกที่ผมทาไปบนกระดองซีพียู ซึ่งก็ไม่ได้ทาไปจนถึงขอบทั้งหมด เว้นว่างไว้เล็กน้อย เพราะคิดไว้ว่าหลังจากโดนบีบแล้วซิลิโคนก็จะโดนไล่บีบออกมา และจากผลที่เห็นก็เป็นไปตามคาดซึ่งตัวซิลิโคนก็สามารถกระจายตัวได้ดีเต็มพื้นที่หน้าสัมผัส รวมทั้งยังมีความสม่ำเสมอดีอีกด้วย แต่ทั้งนี้ถ้ามองจากภาพตรงกลาง ทำให้พอจะบอกได้ว่าบางทีในครั้งนี้ของการประกอบจากทั้งหมด 3 ครั้ง ผมอาจจะกวดนัตตึงเกินไป จนทำให้ซิลิโคนในบริเวณดังกล่าวโดนบีบตัวไล่ไปเกือบหมด ส่วนถ้าหากใครที่สงสัยว่า ผมขีดกากบาทไปเพื่ออะไรหลังจากปาดเสร็จ ? ซึ่งที่ขีดกากบาทก็เพื่อตรวจสอบว่า ที่ได้ปาดไปนั้นมันมีความหนาสม่ำเสมอดีหรือเปล่า และอีกเหตุผลก็คือ จะให้เป็นช่องว่างสำหรับไล่อากาศออกมา จะได้ไม่มีฟองอากาศอยู่ภายในนั่นเอง

How to Test – วิธีการทดสอบ

GC-Extreme
gc-extreme-0

สำหรับวิธีการทดสอบนั้น วันนี้กับการที่ผมใช้ CPU ในโมเดล Core i7-7700K และเลือกให้ทำงานด้วยความเร็ว 5.0GHz และใช้ไฟเลี้ยง 1.35V (ตั้งค่าใน Bios) ซึ่งทีแรกผมก็เลือกที่จะใช้ Prime95 ด้วยโหมด SmallFFT แต่จากที่ลองแล้วนั้นผลคือมันทำให้ CPU มีอุณหภูมิค้างที่ 99°C ตลอดเวลา ซึ่งมันเป็นผลดีมากนัก ดังนั้นจึงเลือกที่จะใช้การ Burn ด้วย AIDA64 CPU Stress Test แทน โดยจะใช้ระยะเวลาในการ Burn ทั้งสิ้น 15 นาทีสำหรับช่วง Full Load ซึ่งผลที่ออกมาสำหรับค่าสูงสุด ต่ำสุด สามารถรับชมได้จากตารางตามภาพด้านล่างเลยครับ

Test Results

raw-temp

เป็นภาพดิบของผลอุณหภุมิระหว่างซิลิโคน KPx จากทาง KINGPIN เปรียบเทียบกับซิลิโคนที่ขึ้นชื่อว่าเย็นที่สุดแห่งยุคสำหรับซิลิโคนที่ไม่ใช่เนื้อโลหะสำหรับ GC-EXTREME จากทาง GELID Solution ซึ่งกับผลที่ออกมาก็ตามในภาพเลยครับ และจากการที่ผมนำผลของอุณหภูมิจากทั้ง 4 คอร์มาคิดเป็นค่าเฉลี่ย โดยผลที่ออกมาจะเป็นไปตามกราฟด้านล่าง

Core i7-7700@5.0GHz, 1.35Vcore(Set)

kpx-test

คงไม่ต้องขยายความอะไรมากนะครับ ซึ่งกับผลที่ออกมานั้นเป็นอะไรที่ผมเองก็แทบไม่อยากจะเชื่อตัวเองเหมือนกัน เพราะค่าเฉลี่ยที่ได้มาเท่ากันเป๊ะ ๆ ซึ่งตรงนี้ผมทำการทดสอบ 3 ครั้ง คือการรื้อเข้ารืออก และเลือกเอาผลที่ดีที่สุดจากซิลิโคนแต่ละตัวมาให้ชมกัน ทั้งนี้แม้ว่าผลในแบบค่าเฉลี่ยจะไม่เห็นถึงความแตกต่าง แต่ถ้าว่าหากเราพิจารณาในรายละเอียดปลีกย่อยหรือรายละเอียดลึก ๆ เราก็จะสามารถเห็นได้ถึงความแตกต่างที่เกิดขึ้น ซึ่งมันจะแตกต่างกันอย่างไรนั้น ลองชมกันดูครับ

comparison

(คลิ๊กเพื่อขยายใหญ่ – จริง ๆ ทุกภาพคลิ๊กได้อยู่แล้ว) ซึ่งตรงนี้ผมได้นำกราฟเส้นอุณหภูมิที่ได้มาจากตัว AIDA64 ในช่วงที่ซีพียูมีการทำงาน Full Load โดยกราฟเส้นสีแดงจะเป็น GC-EXTREME ส่วนสีฟ้าจะเป็น KPx KINGPIN Cooling ซึ่งผมก็นำภาพทั้งสองมาซ้อนรวมกัน และคราวนี้เราก้น่าจะได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างซิลิโคนทั้งสองตัว โดยถ้ามองผลจากกราฟ เราจะอิงจากค่าพีค ที่มันกระโดดไปสูงสุด แต่จากกราฟเส้นตรงนี้ถือเป็นอุณหภุมิการทำงานในแบบ Real Time ตัวกราฟจะขยับทุก ๆ 1 วินาที ซึ่งเมื่อมองดูค่าการแกว่งของกราฟ GC-EXTREME จะทำได้ดีกว่าเล็กน้อย รวมทั้งหากมองเป็นค่ามีนก็เช่นกัน (อนึ่งสำหรับการซ้อนกันตรงนี้ จะอยู่ในจุดเดียวกันแน่นอน ซึ่งมันก็มาจากภาพใหญ่สองภาพด้านบนนั่นละครับ)

Conclusion

บทสรุปที่ออกมาในวันนี้นั้น เบื้องต้นในความรู้ส่วนตัวแล้ว กับผลที่ออกมาในระดับเดียวกันหรือทำได้เท่า ๆ กันกับ GC-EXTREME กับการใช้งานในแบบทั่วไปหรือใช้กับฮีตซิงก์และชุดน้ำ ถือว่าเป็นไปตามที่ผมคาดเอาไว้ เพราะในเวลานี้การจะทำให้ซิลิโคนสักตัวหนึ่ง ให้ผลดีขึ้นอย่างแตกต่างมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยครับ เพราะด้วยข้อจำกัดหลาย ๆ อย่างที่ได้พูดไปในช่วงต้น ซึ่งสิ่งที่จะเป็นตัวทำให้ยากที่สุดก็คงจะเป็นเรื่องการที่ไม่นำไฟฟ้า ซึ่งจุดนี้และที่ทำให้เป็นข้อจำกัดอย่างมากในการพัฒนาการ เพราะตามที่เราทราบกันอยู่แล้วจากกฏพื้นฐานง่าย ๆ ว่า อะไรก็ตามที่นำไฟฟ้าได้ดีก็ย่อมจะนำความร้อนได้ดีเช่นกัน ดังนั้นการที่จะทำให้สิ่งที่ไม่นำไฟฟ้าแต่สามารถนำความร้อนได้ดีด้วยไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และกับการที่เราเห็นผลการทดสอบที่ออกมาในวันนี้นั้นก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจมากแล้วละครับ ส่วนรายละเอียดในแต่ละจุดแต่ละประเด็นจะมีอะไรที่น่าสนใจบ้างนั้น เรามาว่ากันต่อเลยครับ

Performance (ประสิทธิภาพ) เรื่องนี้ถ้าเบื้องต้นก็คงบอกได้ว่า ทำได้ดีในระดับที่น่าพอใจ สามารถทำได้ในระดับที่เท่า ๆ กันกับ GC-EXTREME ที่เราทราบกันว่ามันคือราชาแห่งซิลิโคนมาอย่างยาวนาน แต่สิ่งหนึ่งที่จะขอพูดถึงตรงนี้คือ กับประสิทธิภาพการทำงานที่ได้ทดสอบให้ชมกันตรงนี้ เป็นการทดสอบกันในแบบ On-Air หรือ Water Cooling ก็คือการใช้งานแบบพื้นฐาน ซึ่งผลไม่แตกต่างกัน แต่จุดที่น่าสนใจต่อไปและผมเองคงจะยังไม่สามารถให้คำตอบได้ก็คือ ในกรณีการใช้งานแบบ Extreme เราจะได้เห็นถึงความแตกต่างด้วยหรือไม่ ซึ่งในส่วนนี้ไว้จะทำการทดสอบและนำมาอัพเดทให้ได้รับชมกันต่อไป ซึ่งในช่วงงานคอมมาร์ทที่จะถึงในอีกไม่กี่วันข้างนี้ เราก็คงจะได้คำตอบ

Design (การออกแบบ) – สำหรับคำว่าการออกแบบตรงนี้ ผมคงจะสื่อไปในทางของตัวเนื้อครีมเนื้อซิลิโคน ที่นอกจากมันจะเป็นสีฟ้าซึ่งถือว่าเป็นการฉีกแนวจากที่เคยพบเห็นกันมา สร้างความแปลกตา สร้างความน่าดึงดูดได้พอสมควร จากที่ปรกติแล้วมักจะเป็นสีเทา สีขาว หรือสีทอง ส่วนอีกประเด็นก็คือความข้นหรือความหนีดของตัวเนื้อครีม ที่ทำออกมาในจุดที่พูดได้ว่าใช้งานได้ง่าย ไม่หนืดเกินไปไม่เหลวเกินไป ทาง่าย ปาดง่าย และกระจายตัวได้ดี

Bundle Accessories (ของแถม) – ปรกติของซิลิโคนแล้วนั้น มันคงไม่มีอุปกรณ์เสริมหรือของบัลเดิลอะไรมากนัก สำหรับซิลิโคนในลักษณะดังกล่าวนี้ ซึ่งที่พบเห็นมาก็มีที่ปาดบ้าง หรืออาจจะมีบ้างบางยี่ห้อที่แถวน้ำยาหรือกระดาษสำหรับเช็ดทำความสะอาด และสำหรับ KPx จากทาง KINGPIN Cooling ก็มีไม้พายมาให้ ก็ถือว่าเป็นไปตามมาตรฐานทั่วไปหรือก็ดีกว่าบางแบรนด์ที่ไม่มีอะไรมาให้เลย

Value for money (ราคาและความคุ้มค่า) – ในเรื่องของความคุ้มค่านั้น ถ้าหากอิงจากผลการทดสอบในวันนี้ที่มันทำได้เพียงในระดับเทียบเท่ากับ GC-EXTREME ไม่เด่นกว่าไม่ด้อยกว่า แต่ถ้ามองกันจากราคาค่าตัวนั้นก็แอบแพงไปเล็กน้อย เพราะจากราคาที่ผมสอบถามมาสำหรับราคาในขนาด 10 กรัมที่ผมทดสอบ มันจะมีราคาประมาณ 1,190 บาทเลยทีเดียว ซึ่งถ้าจะถามว่าคุ้มมั๊ย มันก็พอจะบอกได้ว่าคุ้มอยู่หากอิงจากราคาของซิลิโคนแบบหลอดขนาด 3 กรัมของ GC-EXTREME ที่จะขายอยู่หลอดละประมาณ 390 บาท ซึ่งถ้าเราซื้อมา 3 หลอดก็จะมีราคา 1,170 บาท แต่ก็มีน้ำหนักรวมเพียง 9 กรัมเท่านั้น ดังนั้นผมว่าในส่วนนี้คงต้องพิจารณาเองละครับ เพราะถ้าส่วนตัวผมที่มีการรื้อบ่อย ประกอบบ่อยเพื่อทำการทดสอบโน่นนี่ ผมก็มองว่าคุ้มอยู่ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนราคาของหลอด 3 กรัมและกระปุก 20 กรัมนั้น ผมเองก็ลืมถามเหมือนกัน

Final Thought

อืม…ไปต่อยังไงดีละ ? สิ่งที่จะทิ้งท้ายตรงนี้ก็คงเป็นเรื่องของภาพรวมที่ได้พูดไปแล้วละครับ สิ่งที่น่าสนใจของซิลิโคนตัวนี้จากทาง KINGPIN Cooling ก็คือการที่มันมีสีสันสวยงาม ทำให้ได้ความรู้สึกที่แตกต่าง และจุดเด่นก็คือทาง่าย ช่วยให้มั่นใจได้ว่ามันจะกระจายตัวได้เต็มพื้นที่ ให้ประสิทธิภาพในการนำความร้อนได้อย่างทั่วถึง เป็นผลให้อุณหภูมิหรือการ์ดจอลดลงได้มากยิ่งขึ้น ส่วนสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษของซิลิโคนตัวนี้ก็คงไม่มีอะไรต้องระวังมากนัก เพราะมันไม่นำไฟฟ้า ก็ไม่ต้องกังวลว่าเมื่อไปหยดหรือติดอยู่กับตัวต้านทานเล็ก ๆ ตัวเก็บประจุเล็ก ๆ แล้วจะสร้างความเสียหายได้ ทั่งนี้สิ่งที่จะติดค้างเอาไว้ก่อนและจะทดสอบมาให้ได้ชมกันอีกครั้งก็คือ การทดสอบในเวอร์ชัน Extreme ด้วย LN2 รวมทั้งการทดสอบโดยการใช้ทาใต้กระดอง ซึ่งประเด็นหลังนี้ก็ถือเป็นสิ่งที่น่าสนใจเช่นกัน เพราะมันเป็นการใช้งานบนพื้นที่หน้าสัมผัสน้อย ๆ แตกต่างจากบนกระดองสู่ฮีตซิงก์ที่มีพื้นที่กว้างกว่ามาก ซึ่งบางทีเราอาจจะได้เห็นถึงความแตกต่างกันชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่ในเบื้องต้นกับสิ่งที่ได้ทดสอบไป ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกสำหรับซิลิโคนในระดับเกรด A กับใครที่กำลังมองหาหรือคิดจะเปลี่ยนซิลิโคนให้กับซีพียู การ์ดจอ หรือชิปเซ็ตต่าง ๆ มันก็สามารถใช้งานได้หมดหรือแม้แต่โน๊ตบุ๊คก็ได้เช่นกัน

KPx-Thermal-compound-9

What’s Awesome?

  • ประสิทธิภาพอยู่ในระดับที่ดี
  • เนื้อซิลิโคนไม่หนืดหรือเหลวจนเกินไป ใช้งานง่าย
  • มีสีสันสวยงาม
  • มีให้เลือกใช้หลายขนาด 3g, 10g และ 30g

What’s exceptions?

  • ราคาสูงไปเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับซิลิโคนในเกรดเดียวกัน
Mar 14, 2017
Manufacture  KINGPIN Cooling
Distributor B&Y Computer CO.,LTD.
Price : 1,190THB Buy Now


from:http://feedproxy.google.com/~r/zolkorn/~3/w_yo2IkiiSc/

รู้จัก Thermal past (ซิลิโคน) Liquid Ultra, Liquid Pro เพื่อการใช้งานอย่างถูกต้องและปลอดภัย

Liquid Pro

ขออนุญาตนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่อีกสักประเด็นละกันนะครับ ซึ่งจริง ๆ แล้วเรื่องราวตรงนี้นั้นผมเองก็ได้มีการเขียนนำเสนอเอาไว้นานแล้ว แต่ก็ได้เขียนเอาไว้ในส่วนของ Note บนตัวเฟสบุ๊คเพจของผม แต่คิดว่ามันก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับใครหลาย ๆ ท่าน จึงได้นำมาบอกเล่าให้ได้ทราบกันตรงนี้อีกครั้ง ส่วนเหตุที่นึกจะนำมาบอกเล่าใหม่นั้น พอดีว่ามีคำถามเข้ามาเกี่ยวกับซิลิโคนตัวดังกล่าวนี้ ดังนั้นเพื่อเป็นการลดการเกิดคำถามในลักษณะเดียวกันนี้ ผมจึงหยิบมาบอกเล่าอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับตัวซิลิโคนที่จะพูดถึงกันในวันนี้ บางท่านก็อาจจะรู้จักกันแล้ว เคยใช้งานบ้างแล้ว แต่บางท่านก็อาจจะยังไม่เคยรู้จักหรือเห็นหน้าค่าตากันมาก่อนก็เป็นได้ ซึ่งสิ่งที่ผมจะนำเสนอให้ได้ชมกันในวันนี้ก็จะเป็นการพูดถึงข้อมูลที่คิดว่าเราควรจะต้องทราบกันก่อนที่จะใช้งานมัน เพื่อว่าจะได้ใช้งานมันอย่างถูกต้องและให้ผลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด กับซิลิโคนที่เรามักจะเรียกกันติดปากว่า “ซิลิโคนปรอท” แต่จริง ๆ แล้วมันคืออะไร มีข้อควรระวังอะไรบ้าง สามารถใช้งานร่วมกับอะไรได้บ้าง เรามาทำความรู้จักกันครับ

cpu-delid

อะไรคือ Liquid Ultra/Pro ?

สำหรับ Liquid Ultra หรือ Liquid pro นั้นชื่อเต็ม ๆ ของมันคือ Coollaboratory Liquid Ultra ซึ่งเป็นชื่อทางการค้า โดยประโยชน์ใช้งานก็คือ ใช้เป็น Thermal Past หรือซิลิโคนสำหรับติดตั้งร่วมกับฮีตซิงก์ เพื่อเป็นลดช่องว่างระหว่างโลหะในการสัมผัสต่อกันกัน ด้วยคุณสมบัติที่มันเป็น “โลหะเหลว” จึงทำให้มีประสิทธิภาพที่ดีมากในความเป็นซิลิโคน แต่แน่นอนว่ามีคุณอนันต์ก็ต้องมีโทษมหันต์เหมือนกันหากใช้งานไม่ถูกต้อง !

Liquid Ultra/Pro ทำมาจากอะไร ?

จากที่หลาย ๆ คนชอบเรียกกันติดปากว่า “ซิลิโคนปรอท ” เพราะมันมีหน้าตาคล้าย ๆ กันหรือแทบจะเหมือนกัน มีความเป็นเป็นโลหะเหลวเหมือนกัน แต่แท้จริงมันไม่ได้มีส่วนประกอบหรือส่วนผสมที่เป็นปรอทใด ๆ แม้แต่น้อย ซึ่งส่วนประกอบหลักของ Liquid Ultra/Pro จะใช้สารที่ชื่อว่า Gallium เป็นองค์ประกอบหลัก ส่วนองค์ประกอบทั้งหมดนั้นจะประกอบไปด้วย gallium, indium, rhodium, silver, zinc and stannous, bismuth จะเห็นได้ว่าไม่มีปรอทเป็นตัวผสมใด ๆ ทั้งสิ้น

Gallium

Gallium คือ ?

สารหรือธาตุ Gallium (กัลเลี่ยม) เป็นสารหรือธาตุที่สามารถพบเจอได้ในธรรมชาติ แต่จะพบได้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ โดยมากจะได้มาจากการสังเคราะห์ในห้องแล็ปซึ่ง Gallium จะมีชื่อทางเคมีว่า GA มีรหัสอะตอม 31 มีสมบัติเป็นของแข็งและเหลว แต่จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมในเวลานั้น ๆ โดยมันจะมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 29.76 °C และหากเย็นกว่านี้หรือมีอุณหภูมิต่ำกว่าก็จะกลายสถานะเป็นของแข็ง และมันจะมีจุดหลอมเหลว (สูญเสียการเป็นของเหลว *อาจจะสับสนเล็กน้อย1) ที่อุณหภูมิประมาณ −19 °C และมีจุดเดือดที่อุณหภูมืประมาณ 2204 °C

ข้อห้ามเด็ดขาดในการใช้งาน !!!

ห้ามใช้งานร่วมกับวัสดุที่เป็นอลูมิเนียมโดยเด็ดขาดในทุก ๆ กรณี เนื่องจาก Gallium มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนอลูมิเนียมอย่างรุนแรง แต่จะไม่มีผลต่อวัสดุหรือพื้นผิวที่เป็น ทองแดง เหล็ก และ นิกเกิล ซึ่งถือเป็นวัสดุหลักที่นิยมนำมาใช้งานเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์ระบายความร้อนหรือฮีตซิงก์ ทั้งนี้สามารถชมตัวอย่างการกัดกร่อนหรือผลที่ Gallium ทำปฏิกริยากับอลูมิเนียมได้จากวิดีโอด้านล่าง

ข้อควรระวังในการใช้งาน !!!

นอกจากเรื่องการใช้งานร่วมกับวัสดุที่เป็นอลูมิเนียมที่เราจะต้องระวังแล้วนั้น จะยังมีเรื่องของการที่ตัวมันเองมีความสามารถในการนำไฟฟ้า เพราะด้วยมันเป็นโลหะเหลว ดังนั้นในการใช้งานก็จะต้องมีความระมัดระวังในการทา ไม่ว่าจะเป็นจากทั้งบนกระดองซีพียู หรือโดยเฉพาะกับคนที่มีการผ่ากระดอง เพราะใต้กระดองซีพียูบางโมเดลจะมีตัวเก็บประจุเล็ก ๆ หรือตัวต้านทานเล็ก ๆ ติดตั้งอยู่ หากมันไหลเยิ้มไปโดนก็จะสร้างความเสียหายใก้กับตัวซีพียู หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ใช้งานร่วมกับการ์ดจอ เพราะรอบ ๆ DIE หรือคอร์ของตัวชิปนั้นจะเต็มไปด้วยตัวเก็บประจุและตัวต้านทานเล็ก ๆ มากมาย

GP-104

ความเป็นพิษหรืออันตรายต่อร่างกาย ?

ด้วยการที่เราชอบเรียกกันว่า “ซิลิโคนปรอท” จึงทำให้มันดูน่ากลัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว Gallium ไม่ได้น่ากลัวหรือมีอันตรายอย่างที่คิด ซึ่งในร่างกายของคนเราก็สามารถพบสารชนิดนี้ได้เช่นกัน แต่จะมีเพียงปริมาณที่น้อยนิดมาก ๆ นอกจากนี้ในทางการแพทย์เองยังมีการนำมาใช้งานเพื่อฉีดเข้าร่างกาย สำหรับใช้ในการวินิจฉัยโรคบางอย่าง หรือเพื่อการ X-ray สำหรับตรวจสอบบางจุด แต่ก็จะใช้ในปริมาณเล็กน้อยเท่านั้น และแม้ว่าจะไม่มีความเป็นเป็นพิษในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่ควรกลืนกิน Gallium เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ หรือ การระคายเคืองได้

หากมีการสัมผัสกับร่างกายหรือผิวหนัง ควรทำอย่างไร ?

  • ถ้าสัมผัสโดนผิวหนัง : ให้ทำการล้างออกด้วยด้วยน้ำสบู่ ชำระร่างกายให้สะอาดและถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนออกไป
  • ถ้าสัมผัสเข้าตา : ให้ลืมตาในน้ำสะอาด เหมือนกับมีอะไรเข้าตาทั่ว ๆ ไป
  • ถ้ากลืนกินเข้าไป : ให้ดื่มน้ำตามมาก ๆ และควรไปปรึกษาแพทย์

cpu-delid-2

เรื่องราวในวันนี้ก็คงจะไม่ได้ยืดยาวอะไรมากมายนัก แต่จากสิ่งที่ได้นำเสนอหรือบอกเล่ากันตรงนี้ ก็คิดว่าน่าจะช่วยให้เป็นประโยชน์หรือมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น สำหรับใครหลาย ๆ ท่านที่ให้ความสนใจและจะใช้งานเจ้าซิลิโคนตัวนี้กันอยู่ ว่าจะต้องระวังอะไรบ้าง ห้ามใช้กับอะไร ซึ่งก็ตามที่บอกไปละครับ สิ่งที่เราจะต้องระมัดระวังที่สุดก็คือ ห้ามนำไปใช้งานร่วมกับอลูมิเนียมโดยเด็ดขาด ส่วนอีกจุดหนึ่งก็คงจะเป็นเรื่องของความระมัดระวังในการใช้งาน ในการทา เพราะตัวมันเองจะนำไฟฟ้า ซึ่งหากทามากไปมีการหยดการย้อยไปโดนอุปกรณ์ชิ้นอื่น ๆ หรือแม้แต่ไหลลงซ็อคเก็ตของ CPU ก็จะทำให้เกิดความเสียหายขึ้นมาได้


from:http://feedproxy.google.com/~r/zolkorn/~3/D9c0wac0bIw/