คลังเก็บป้ายกำกับ: RAMEN

ร้านราเมนในญี่ปุ่น Korakuen กลับมาเสิร์ฟ Chocolate Ramen ต้อนรับวันวาเลนไทน์

เดือนกุมภาพันธ์ที่กำลังจะมาถึงนี้ มีวันสำคัญที่หลายคนต่างเฝ้ารอ ใช่แล้วเรากำลังพูดถึงวันวาเลนไทน์ วันแห่งความรัก และในช่วงเวลาที่พิเศษนี้ร้านราเมน Korakuen ในประเทศญี่ปุ่น ก็ได้นำเมนู Chocolate Ramen กลับมาเสิร์ฟอีกครั้ง

Chocolate Ramen ของร้าน Korakuen ไม่ใช่เพียงแค่นำแท่งช็อคโกแลตมาตกแต่งเท่านั้น แต่ยังใช้น้ำมันโกโก้ผสมลงในน้ำซุปซอสถั่วเหลือง และให้กลิ่นของช็อคโกแลตจางๆ เหมาะสำหรับคนที่ชอบราเมนรสชาติแปลกใหม่ แต่ไม่ได้ต้องการช็อคโกแลตร้อนๆ

นอกจากนี้ ร้าน Korakuen ยังมีเมนู White Chocolate Ramen ให้เลือกด้วย โดยใช้น้ำมันโกโก้และครีมผสมลงไปในซุปเกลือ ให้รสชาติเข้มข้น และตกแต่งหน้าด้วยไวท์ช็อคโกแลต

Korakuen พร้อมเสิร์ฟเมนู Chocolate Ramen และ White Chocolate Ramen ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 11 มีนาคมนี้เท่านั้น ราคาชามละ 640 เยน หรือราว 185 บาท

ที่มา – SoraNews24
https://www.flashfly.net/wp/283370

from:https://www.flashfly.net/wp/283370

ไม่ใช่แค่ไทย! มาม่าเกาหลีบูมทั่วโลก ถึงขั้นส่งออกแตะ 1.1 หมื่นล้านบาท

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากเกาหลีใต้ หรือที่คนไทยเรียกว่า “มาม่าเกาหลี” นั้นได้รับความนิยมไปทั่วโลก และกลายเป็นสินค้าส่งออกดาวรุ่งของที่นั่น หลังสิ้นปีนี้น่าจะมีมูลค่าส่งออกสูงถึง 340 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 11,000 ล้านบาท)

ภาพ pixabay.com

ด้วยความหลากหลาย ทำให้บูมทั่วโลก

ถ้าพูดถึงในประเทศไทย กระแสมาม่าเกาหลีนั้นเริ่มมาประมาณ 1 ปีเศษ หลังมีผู้นำเข้ารายหนึ่งนำรสชาติใหม่ๆ เข้ามาจำหน่าย และยิ่งบูมกว่าเดิมเมื่อ Tsuruha ร้านขายยาจากญี่ปุ่นที่มาเปิดสาขาในไทยนำเข้ามาจำหน่ายด้วย ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อกันง่ายขึ้น โดยเฉพาะรสสตูไก่ที่เผ็ดร้อน จนหลายคนโพสต์ขึ้น Social Media เกี่ยวกับสินค้าตัวนี้

แต่จริงๆ แล้วรสชาติสตูไก่เผ็ดร้อน ที่คล้ายคลึงกับ Budea Jjigae หรือสตูกองทัพ ก็ช่วยสร้างความนิยมของมาม่าเกาหลีในระดับโลกเช่นกัน ยิ่งเมื่อประกอบกับการพัฒนารสชาติใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้ยอดส่งออกสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลีใต้มีมูลค่ามากกว่า 11,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่ราว 9,400 ล้านบาท

ภาพ pakutaso.com

สำหรับข้อมูลตัวเลขดังกล่าวอ้างอิงจากระทรวงเกษตร, อาหาร และกิจการชนบทของเกาหลีใต้ และบริษัทเอกชนที่ขายสินค้าตัวนี้ทั้ง Korea Agro-Fisheries กับ Food Trade Corp ส่วนมูลค่าตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในเกาหลีใต้นั้นอยู่ที่ 2.16 ล้านล้านวอน หรือราว 65,000 ล้านบาท

จีน-สหรัฐอเมริกาบริโภคสูงสุด

ด้านข้อมูล 5 ประเทศที่นำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของเกาหลีใต้เรียงได้คือประเทศจีนมากที่สุด หรือ 26% รองลงมาเป็นสหรัฐอเมริกา 12%, ญี่ปุ่น 7%, ไต้หวัน 6% และออสเตรเลีย 5% โดยในสหรัฐอเมริกานั้นตัวสินค้าไม่ได้ถูกนำไปขายแค่ค้าอาหารเกาหลี เพราะมีขายในค้าปลีกชั้นนำในสหรัฐอเมริกา เช่น Walmart ด้วย

และอนาคตก็ยังสามารถเติบโตได้มากกว่านี้ เพราะในเกาหลีใต้เองที่ตลาดเติบโตได้มาจากขนาดครัวเรือนที่เล็กลง และคนเหล่านี้ก็ยอมเปลี่ยนพฤติกรรมจากรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบกระป๋อง เป็นแบบซอง เพื่อได้รสชาติที่หลากหลายกว่า และทิศทางดังกล่าวก็กำลังเกิดขึ้นในระดับโลกเช่นกัน

สรุป

น่าเสียดายที่ไทยไม่ติดประเทศนำเข้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจากเกาหลีใต้สูงสุด 5 อันดับแรก แม้บ้านเราก็มีการขายตามร้านต่างๆ มากขึ้น แม้แต่ร้านสะดวกซื้อก็ยังมี และกลายเป็นอีกข้อพิสูจน์ว่า บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปไม่จำเป็นต้องถูก หากแพงแต่อร่อยก็มีคนซื้อ และคงสร้างการเปลี่ยนแปลงของตลาดนี้ในไทยที่มีมูลค่าแค่ 16,000 ล้านบาทในปีก่อนแน่ๆ

อ้างอิง // The Korea Times

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/south-korea-ramens-boom/

เลียนแบบแบบไม่ต้องลอก พาชมร้านราเมนข้อสอบออนไลน์ในญี่ปุ่น

ราเมนข้อสอบ หรือ Ichiran ramen นั้นนับเป็นร้านที่คนไทยที่มีโอกาสไปญี่ปุ่นก็มักจะหาโอกาสแวะไปกินกันบ่อยๆ ไม่ว่าจะเพราะรสชาติที่ค่อนข้างถูกปากหรือมีกิมมิคในการสร้างตัวเลือกจำนวนมากให้ลูกค้าได้ปรับแต่งจนถูกรสนิยมของตัวเองได้

ประเด็นการที่ร้านราเมนในไทยนำรูปแบบร้านมาเปิดในไทยแล้วหลายคนอาจจะรู้สึกว่าเป็นการเลียนแบบมาจนเกินไปคงเป็นเรื่องที่สังคมต้องถกเถียงกันต่อไปว่าการนำแนวคิดมาใช้งานในระดับใดจึงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ แต่โอกาสนี้ Brand Inside ขอนำไปดูร้านราเมนในญี่ปุ่นเองที่ใช้แนวคิดการทำ “ข้อสอบ” เช่นเดียวกันแต่ก็มีการปรับแต่งไปบ้าง

เนื่องจากชื่อร้านเป็นภาษาญี่ปุ่นอย่างเดียว ไม่เหมือนอิชิรันที่มีชื่อภาษาอังกฤษไว้ด้วยจึงขอไม่ถอดเสียงไว้ในบทความนี้ อย่างไรก็ดีร้านนี้อยู่ชั้นล่างของร้านอาหารไทย “ชาวไทย” ใกล้สถานีชิบูย่า

เมื่อเข้าร้านมา จะพบกับเครื่องขายคูปองแบบเดียวกับร้านราเมนทั่วไปในญี่ปุ่น รวมถึงอิชิรันที่ก็ต้องเจอตู้ขายคูปองก่อนเช่นกัน แต่เมื่อได้รับคูปองออกมาแล้ว ตัวคูปองจะใหญ่เป็นพิเศษและมี QR มาในตัว

จากนั้นก็เตินไปหาที่นั่งได้ตามใจชอบ ร้านนี้มีทั้งที่นั่งแบบโต๊ะธรรมดาและแบบช่องนั่งเดียวแบบเดียวกับอิชิรัน มาจนถึงตอนนี้ยังไม่เจอพนักงานเลยนอกจากที่มองเห็นอยู่ในครัว

ทุกโต๊ะจะมีแท็บเล็ตวางอยู่ สามารถกดเลือกภาษาอังกฤษได้ด้วย สิ่งแรกที่ต้องทำคือสั่งสแกน QR จากคูปอง เมื่อสแกนแล้วก็จะเข้าสู่หน้าจอ “ข้อสอบ” ที่เราคุ้นเคยกันดี ตัวเลือกในข้อสอบนั้นใกล้เคียงกับอิชิรันอย่างมาก ผมเองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญราเมนนักคงบอกไม่ได้ว่าปกติร้านราเมนอื่นๆ เปิดตัวเลือกที่ต่างออกไปจากนี้ไหม และเมื่อสั่งเสร็จเรียบร้อยแล้วก็รอราเมนได้เลย

ตัวราเมนโดยรวมๆ ผมมองว่าอยู่ในระดับกลางๆ และยังคงชอบอิชิรันมากกว่าอยู่ดี แต่การมาทานราเมนครั้งนี้ผมพบว่าได้อะไรมากกว่าราเมนอร่อย หรือได้ทดสอบกิมมิคการทำข้อสอบออนไลน์ เพราะหัวใจของระบบเหล่านี้จริงๆ แล้วคือความพยายามลดการใช้แรงงานอย่างมากของทางร้าน

ตลอดระยะเวลาที่อยู่ในร้านผมเจอพนักงานเพียงครั้งเดียวคือขณะนำอาหารมาเสิร์ฟ และเมื่อเดินออกจากร้านก็มีปุ่มกดแจ้งว่าจะออกจากร้านแล้ว หลังจากนั้นพนักงานคงมาเก็บโต๊ะต่อไป ด้วยแนวทางอย่างนี้ทำให้ลูกค้าเจอพนักงานน้อยลงกว่าอิชิรัน ที่พนักงานต้องมารับข้อสอบไปในครั้งแรกเสียอีก

อุตสาหกรรมร้านอาหารของญี่ปุ่นมีความพยายามลดพนักงานมาเป็นเวลานาน ร้านราเมนเล็กๆ ก็มีเครื่องหยอดเหรียญ ทอนเงินก่อนที่ลูกค้าจะสั่งคำสั่งพิเศษกับเมนูอาหารมาเป็นเวลานาน แนวทางการสร้างแบบฟอร์มข้อสอบแบบอิชิรันทำให้ลูกค้าสามารถสั่งคำสั่งได้อย่างละเอียด แต่ขณะเดียวกันก็ไม่เสียเวลาพนักงานที่ต้องจดคำสั่ง และลดความผิดพลาดในการรับคำสั่งลูกค้าไปได้อย่างมาก ขณะที่ร้านราเมนข้อสอบออนไลน์เช่นนี้ลดการใช้พนักงานไปอีกขั้น เพราะพนักงานไม่ต้องเดินมารับข้อสอบตั้งแต่ทีแรก

อุตสาหกรรมร้านอาหารของไทยยังเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานสูง พนักงานเดินรับออเดอร์จำนวนมาก และต้องมีพนักงานประจำที่แคชเชียร์จ่ายเงิน ผมเคยมองในครัวอิชิรันนั้นมี น่าจะมีพนักงานรวมคนเสิร์ฟอาหารและพ่อครัวไม่เกิน 10 คนเท่านั้น ขณะที่ที่นั่งในร้านมีประมาณ 30 ทีนั่ง และมีอัตราการหมุนเวียนลูกค้าค่อนข้างสูง ขณะที่ร้านอาหารในไทยการใช้สมาร์ตโฟนเพื่อรับออเดอร์ยังเป็นเรื่องแปลกใหม่ และจำกัดอยู่ในร้านที่มีศักยภาพสูงพอสมควรเท่านั้น เท่าที่ผมพบบ้างนอกจากเครือร้านใหญ่ๆ ตามห้างก็เช่น โจ๊กมัลลิกา ที่ให้พนักงานจดออเดอร์ทางสมาร์ตโฟนมาสักระยะแล้ว แถมมีสลิปแนบคำสั่งทุกใบเพื่อลดความผิดพลาดเวลาลูกค้าสั่งอาหารคล้ายกันแต่มีรายละเอียดต่างกันไป

อุตสาหกรรมร้านอาหารของไทยคงมีอะไรให้เรียนรู้อีกมากจากร้านอาหารในญี่ปุ่นที่พัฒนากันไปไกล

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/online-ramen/

ยุคนี้อะไรๆ ก็ Monthly Subscription ขนาดร้านราเม็งยังออกโปรฯ เหมาจ่ายรายเดือน กินตามใจวันละชาม

ก่อนหน้านี้ Brand Inside ได้นำเสนอกระแส Monthly Subscription ที่ไม่ได้มีแค่บริการรับชมภาพยนตร์ออนไลน์ เพราะยังมีบริการซื้อกางเกงในแบบสมาชิกรายเดือน และล่าสุดก็มาถึงธุรกิจร้านราเม็งที่ญี่ปุ่นแล้ว

ภาพ pakutaso.com

ตอบโจทย์ความคุ้มค่าในยุคฝืดเคือง

อย่างที่รู้กันว่าการแข่งขันในประเทศญี่ปุ่นนั้นสูงมาก ประกอบกับค่าครองชีพที่แพงระยับ ทำให้คนหาเช้ากินค่ำที่นั่นต้องอยู่กันแบบประหยัดสุดๆ ซึ่งจุดนี้เองทำให้ Yaro Ramen ร้านราเม็งชื่อดังในพื้นที่โตเกียว ปิ๊งไอเดียการทำการขายแบบ Monthly Subscription ขึ้นมา

สำหรับการขายราเม็งแบบดังกล่าวนั้น ทางร้านเลือกยกระดับ Application บน Smartphone ของทางร้านที่มีไว้เพื่อให้ดูเมนู และแจ้งข่าวสารโปรโมชั่นต่างๆ ให้สามารถสมัครสมาชิกรับประทานราเม็งเป็นรายเดือนได้ โดยมีค่าใช้จ่าย 8,600 เยน (ราว 2,500 บาท) เพื่อที่จะได้สิทธิ์รับประทานราเม็งตามที่ร้านกำหนดไว้ได้ 1 ชาม/วัน

โดยเมนูดังกล่าวก็มีตั้งแต่ Tonkotsu Yaro ราคา 780 เยน (ราว 220 บาท), Jiru Nashi Yaro ราคา 880 เยน (ราว 260 บาท) และ Miso Yaro ราคา 880 เยน (ราว 260 บาท) ซึ่งถ้ามาคำนวนดูแล้ว การสมัครสมาชิกแบบนี้จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้สูงสุดถึง 15,580 เยน (ราว 4,500 บาท) เลยทีเดียว

ทั้งนี้สิทธิ์ดังกล่าวสามารถใช้ได้ที่ 15 สาขาที่ทางร้านกำหนดไว้เท่านั้น และยังใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่นๆ ได้ แต่ด้วยมันสามารถลดราคาได้มากขนาดนี้ ทำให้ Yaro Ramen มีกรอบการสมัครสมาชิกเล็กน้อย นั่นคือต้องมีอายุระหว่าง 18-38 ปี และคนวัยทำงานที่อาศัยอยู่คนเดียวเป็นหลัก เพราะต้องการช่วยให้พวกเขามีชีวิตดีขึ้น

สรุป

จริงๆ การขายแบบสมัครสมาชิกรายเดือนก็น่าจะแพร่หลายในประเทศไทยมากกว่านี้ เพราะคนไทยเริ่มรู้จักการขายแบบนี้บ้างแล้ว เช่นการสมัครสมาชิกฟิตเนส หรือง่ายๆ ก็การชมภาพยนตร์ออนไลนในแพ็คเกจบุฟเฟ่ต์ และถ้าร้านอาหารในประเทศไทยทำแบบนี้บ้างก้คงจะดีไม่น้อย

อ้างอิง // Rocketnews24

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ramen-monthly-subscription/

เทรนด์ก๋วยเตี๋ยวมาแรง! เชนราเมงญี่ปุ่น IPPUDO วางแผนขยายนอกประเทศ บุกอเมริกา

เมื่อผู้คนไปเที่ยวญี่ปุ่น แล้วติดใจอาหารที่นั่น เชนราเมง IPPUDO วางแผนเตรียมส่งขยายร้านราเมงทั่วโลกจากเดิมที่มี 65 แห่ง เป็น 300 แห่งภายในปี 2025 ที่น่าสนใจจะทำสูตรราเมงซุปไก่ตอบโจทย์ประเทศมุสลิมอีกด้วย

Photo: Facebook IPPUDO Thailand

จากท่องเที่ยวถึงอาหาร สู่ขยายร้านไปทั่วโลก

IPPUDO เชนราเมงซุปกระดูกหมูชื่อดังจากเกาะญี่ปุ่นวางแผนเปิดร้านแห่งแรกในฝั่งตะวันตกของอเมริกา เช่น ซานฟราสซิสโก และย่านชานเมืองในเบิร์กลีย์-แคลิฟอร์เนียร์ เนื่องจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าในญี่ปุ่นทั่วโลกต่างติดใจในราชาติของอาหารญี่ปุ่น โดย Thomas Jastrzab นักวิเคราะห์ระบุว่า “ตรงนี้ถือเป็นจุดแข็งที่ญี่ปุ่นจะใช้ในการสร้างโอกาสเพื่อขยายร้านอาหารออกไปยังต่างประเทศได้ดีที่สุด”

Toshiyuki Kiyomiya ประธานของเชนรายนี้บอกว่า จะบุกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาก่อน หลังจากนั้นจะขยายไปอีก 20 ประเทศภายในเวลาไม่เกิน 10 ปีนี้ แต่ที่สำคัญคือ “ขอโฟกัสไปที่อเมริกาก่อน เพราะถ้าไม่สร้างจุดหลักทางธุรกิจก่อน เราจะไม่สามารถมองเห็นทิศทางต่อไปในอนาคตได้”

บริษัทเชนนี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนมีนาคมด้วยเงิน 690 ล้านเยน (หรือประมาณ 6.1 ล้านเหรียญ) แต่ถ้าหักหุ้นของผู้ก่อตั้ง ที่ปรึกษา ค่าสุทธิจะอยู่ที่ 400 ล้านเยน อย่างไรก็ตาม แผนการที่จะขยายไปเปิดร้านในต่างประเทศต้องใช้เงินประมาณ 200 ล้านเยน แต่ดูเหมือนว่าทางบริษัทยังไม่ได้มีแผนในการระดมทุนรอบใหม่ในเร็วๆ นี้เลย

นอกจากจะไปเปิดร้านในฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกาแล้ว เชนรายนี้ยังมีแผนเปิดอีก 2 ร้านในนิวยอร์ก และในอีก 3 ปีข้างหน้าจะขยายกิจการออกไปอีกเรื่อยๆ

Photo: Facebook IPPUDO Thailand

Kuro-Obi ราเมงซุปไก่ ตอบโจทย์ตลาดใหญ่มุุสลิม

นอกจากนั้นตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอีกแห่งที่เชนรายนี้มองเห็นศักยภาพในแถบนี้ เตรียมส่ง Kuro-Obi ราเมงซุปไก่ เพื่อส่งให้กับตลาดประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ เช่น อินโดนีเซียและมาเลเซีย

ในปี 2025 ยังวางแผนว่า จะต้องมีร้านค้านอกประเทศญี่ปุ่น กว่า 300 แห่ง โดยจริงๆ แล้วในปัจจุบันมีร้านอยู่ 65 แห่งแล้วในหลายประเทศ เช่น ไทย สหรัฐอเมริกา(นิวยอร์ก) จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ สิงคโปร์ พม่า และอีกหลายประเทศ

แต่รอบนี้เชนราเมงได้จับมือกับ Panda Restaurant Group Inc. ซึ่งดำเนินธุรกิจอาหารฟาสต์ฟู้ดจีนอยู่แล้วเพื่อร่วมกันขยายสาขาในสหรัฐอเมริกา

มากไปกว่านั้น สาขาที่มีอยู่แล้วอย่างในนิวยอร์ก ได้มีการเปลี่ยนเมนูทุกๆ 2 สัปดาห์ เพราะประสบการณ์อาหารของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนตอนนี้กำลังดูอยู่ว่าอาจจะตั้ง “โรงเรียนสอนทำราเมง” ขึ้นมาให้รู้แล้วรู้รอดไปเลย

สรุป

แม้ว่าเชนราเมง IPPUDO จะมีสาขากว่า 65 แห่งทั่วโลก แต่ไม่พอแค่นั้น เพราะเอาเข้าจริงยังไม่สามารถเข้าไปทำตลาดได้อีกหลายที่ สิ่งที่น่าสนใจคือ ด้วยโอกาสที่มองเห็นว่านักท่องเที่ยวที่มาญี่ปุ่นต่างชื่นชอบอาหาร เลยจะนำอาหารไปลงในประเทศที่นักท่องเที่ยวชอบเดินทางมาญี่ปุ่นเสียเลย

อีกจุดหนึ่งที่น่าติดตามคือการส่งราเมงซุปไก่ออกมาทำตลาดกับกลุ่มประเทศมุสลิม เพราะประชากรชาวมุสลิมมีแต่จะเพิ่มมากขึ้นทุกวันๆ

ที่มา – Bloomberg

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ipuudo-ramen-expands/

ธุรกิจอาหารมาแรงจริง IPPUDO ราเมงซุปกระดูกหมู เตรียมเข้าตลาดหุ้นโตเกียว

ภาพจาก IPPUDO.com

หลายคนน่าจะรู้จักกันดี และมีไม่น้อยที่เป็นขาประจำของ IPPUDO Ramen หรือ อิปปุโดะ ราเมงซุปกระดูกหมู ที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 1985 ที่ฟุกุโอกะ โดย ชิกามิ คาวาฮารา ผู้ที่ได้รับตำแหน่ง ราเมงคิง มาวันนี้ อิปปุโดะ ประกาศแล้วว่าจะนำบริษัทเข้าตลาดหุ้น คาดว่าอย่างเร็วที่สุดคือเดือน มี.ค. ที่จะถึงนี้ โดยมีมูลค่าตลาดรวมของการเสนอขายครั้งแรกประมาณ 30,000 ล้านเยน หรือ 259 ล้านดอลลาร์

นี่เป็นสัญญาณที่บอกให้รู้ว่า ธุรกิจอาหารยังคงมาแรงแบบหยุดไม่อยู่ สำหรับประเทศไทยก่อนหน้านี้ After You (AU) ร้านเบเกอร์รี่ขนมหวานขวัญใจคนเมือง ก็เพิ่งเข้าตลาดหุ้นและทำราคาพุ่งสูงจนน่าตกใจ (ติดตามอ่านบทวิเคราะห์ของ BI ได้ที่นี่) ที่ญี่ปุ่นดูจะยิ่งใหญ่กว่ามาก เพราะ อิปปุโดะ ราเมง มีสาขากระจายตัวอยู่ทั่วโลก

อิปปุโดะ สาขาในประเทศไทย

Chikaranomoto Holdings เป็นบริษัทที่บริหาร อิปปุโดะ กว่า 60 สาขา รวมถึงร้านอาหารในเครืออื่นๆ นอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการระดมทุนในตลาดหุ้นครั้งนี้จะช่วยให้สามารถขยายธุรกิจทั้งในและนอกญี่ปุ่นได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

โดยปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้ 20,800 ล้านเยน (นับถึง มี.ค. 2016 ซึ่งเป็นปีงบประมาณของญี่ปุ่น) เติบโตขึ้น 17% เทียบกับปีก่อนหน้านั้น ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจเติบโตคือ การขยายธุรกิจในต่างประเทศ ซึ่ง อิปปุโดะ เริ่มบุกตลาดนอกญี่ปุ่นในปี 2008 เปิดสาขาแรกที่นิวยอร์ค และอีกหลายประเทศในเวลาต่อมา รวมถึงประเทศไทย โดยปีนี้มีแผนเปิดสาขาที่เมียนมาร์

ต้องยอมรับว่าอาหารญี่ปุ่นได้รับความนิยมไปทั่วโลก โดย ราเมง เป็นหนึ่งในอาหารญี่ปุ่นที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ฟิลิปปินส์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ร้านอาหารญี่ปุ่นเป็นที่ต้องการมาก บรรดาแฟนๆ อิปปุโดะราเมง ต่างตื่นเต้นดีใจเมื่อรู้ว่า อิปปุโดะ จะมาขยายสาขาเพิ่ม โดยปัจจุบันมีอิปปุโดะ ราเมงแล้ว 5 สาขาในฟิลิปปินส์

ขณะที่ในญี่ปุ่น อิปปุโดะ ได้เปิดร้านราเมงแบบยืนกินเมื่อปีที่แล้วในโตเกียว และจังหวัดใกล้เคียง และจะเปิดเพิ่มขึ้นในปีนี้ในคิวชู

ทั้งหมดเป็นไปตามแนวทางการทำงานของ อิปปุโดะ ที่บอกว่า “คิดค้น พัฒนาอย่างต่อเนื่องแต่คงความเป็นอิปปุโดะ” ดังนั้นจะเห็นการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การคิดค้นรูปแบบการให้บริการใหม่ๆ แต่ยังคงความเป็น ราเมงซุปกระดูกหมู ไว้เช่นเดิม

 

ภาพจาก Facebook IPPUDO Thailand

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/ippudo-list-on-tokyo-market/