คลังเก็บป้ายกำกับ: RABBIT

ตลาด Digital Lending เดือด! บัตร Rabbit จับมือพาร์ตเนอร์ลงสนาม ปล่อยสินเชื่อ 5,000 ลบ.

Digital Lending แข่งเดือด บัตร Rabbit จับมือ Kerry Express, Aeon และ Humanica เปิดตัว Rabbit Cash บริการสินเชื่อดิจิทัล ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 2,000-3,000 ล้านบาท ปี 2022 และ 5,000 ล้านบาท ปี 2023

rabbit

Rabbit Cash ตอบโจทย์ตลาด Digital Lending

รัชนี แสนศิลป์ชัย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แรบบิท แคช จำกัด เล่าให้ฟังว่า จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีปัญหา รวมถึงการกู้ยืมสินเชื่อนอกระบบในประเทศไทยยังมีจำนวนมาก ทำให้โอกาสในการทำตลาด Digital Lending ยังมีช่องว่างอยู่ แม้จปัจจุบันจะมีผู้เล่นในตลาดจำนวนมาก

ทำให้บริษัทเปิดตัว Rabbit Cash บริการสินเชื่อดิจิทัล หรือ Digital Lending ที่เกิดขึ้นโดย 4 ธุรกิจร่วมมือกันคือ บริษัท บีเอสเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด ในเครือ บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กับ บมจ. เคอรี่ เอ็กซ์เพรส, บมจ. อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) และ บมจ. ฮิวแมนิก้า

“Rabbit Cash ให้บริการกับกลุ่มลูกค้าสมาชิก Kerry Express กว่า 1 ล้านรายก่อน คิดดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน ให้สินเชื่อสูงสุด 1 แสนบาท โดยในปี 2022 จะเปิดบริการกับลูกค้าทั่วไป ตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อ 2,000-3,000 ล้านบาท ในปีดังกล่าว และปี 2023 จะปล่อยสินเชื่อกว่า 5,000 ล้านบาท”

ประเมินพฤติกรรมผู้บริโภคจากบริการหลากหลาย

สำหรับการประเมินการปล่อยสินเชื่อของ Rabbit Cash จะอาศัยความได้เปรียบของ บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ที่มีบริการหลากหลาย เช่นการเดินทางรถไฟฟ้า แะลการชำเงินซื้อสินค้า รวมถึง บมจ. เคอรี่ เอ็กซ์เพลส ที่มีผู้ใช้งานส่งสินค้า และพนักงานจำนวนมาก และ บมจ. อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) ที่แข็งแกร่งเรื่องบริการทางการเงิน

เพื่อออกแบบบริการทางการเงินแบบดิจิทัล และนำข้อมูลเหล่านี้มาวิเคราะห์เพื่อปล่อยสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพที่สุด ครอบคลุมบริการตั้งแต่ สินเชื่อนาโน, สินเชื่อสวัสดิการ, สินเชื่อ Pay Day Loan, และสินเชื่อผ่อนชำระ Buy Now, Pay Later โดยทั้งหมดสามารถทำได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ

อย่างไรก็ตาม บริษัทยังไม่ได้รับรับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจสินเชื่อจากธนาคารแห่งประเทศไทย ทำให้บริการต่าง ๆ จะทยอยเปิดตัวในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2022 โดยหากนับถึงปัจจุบัน บริษัท แรบบิท แคช จำกัด เพิ่งก่อตั้งมาเพียง 6 เดือน และพัฒนาระบบหลังบ้านอย่างจริงจังในช่วง 3 เดือนล่าสุด

พาร์ตเนอร์เยอะยิ่งสร้างโอกาสทางธุรกิจ

นอกจากการปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้า Kerry Express ในปี 2022 Rabbit Cash จะปล่อยสินเชื่อให้พนักงาน บมจ. เคอรี่ เอ็กซ์เพรส เช่นกัน เพื่อแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ และยกระดับชีวิตให้กับพนักงานประจำ และไม่ประจำ ให้ดียิ่งขึ้น ผ่านอัตราดอกเบี้ยพิเศษ

ขณะเดียวกันการร่วมมือกับ บมจ. ฮิวแมนิก้า ที่เชี่ยวชาญเรื่องทรัพยากรบุคคล Rabbit Cash จะนำบริการสินเชื่อดิจิทัลไปเชื่อมต่อกับระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล เพื่อให้พนักงานในบริษัทต่าง ๆ สามารถได้สินเชื่อที่เบิกจากเงินเดือนของตัวเองได้เช่นกัน ถือเป็นสวัสดิการใหม่ของบริษัททันที

ส่วน บมจ. อิออน ธนสินทรัพย์ (ไทยแลนด์) จะมาในรูปแบบการลงทุนมากกว่าการเชื่อมต่อธุรกิจเข้าด้วยกัน แต่จะเข้ามาช่วยเหลือเรื่องความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินเชื่อรายย่อย รวมถึงการให้แหล่งเงินทนุในต้นทุนที่ต่ำด้วยความแข็งแกร่งทางการเงินของกลุ่ม AEON Financial Service ประเทศญี่ปุ่น

ตลาด Digital Lending ที่ไม่ง่าย

ภาพรวมตลาด Digital Lending ในปัจจุบันมีผู้เล่นในประเทศไทยหลากหลาย ไล่ตั้งแต่กลุ่มที่ร่วมมือกับธนาคาร เช่น LINE BK, เงินทันเด้อ และ Finnix รวมถึงกลุ่มที่พัฒนามาจากบริการทางการเงิน เช่น Kashjoy ของกลุ่ม Jaymart เป็นต้น

ทั้งหมดนี้ค่อนข้างเปิดตัวช่วงเวลาเดียวกันคือปี 2019-2020 เพราะช่วงนั้นวิกฤตโทรศัพท์มือถือกลายเป็นสินค้าที่เข้าถึงได้ทุกคน ประกอบกับปีถัดมามีการรระบาดของโรค COVID-19 ทำให้การกู้เงินดอกเบี้ยต่ำค่อนข้างตอบโจทย์ในการประคองธุรกิจ และการใช้ชีวิต

จุดนี้เองเมื่อมีผู้เล่นจำนวนมาก ทำให้ Rabbit Cash ไม่ง่ายที่จะบุกตลาด แม้จะมีฐานข้อมูลในการประเมินความเสี่ยงจำนวนมาก แต่การที่มาทีหลัง ทำให้ต้องสร้างความแตกต่างให้กับผู้บริโภค เพื่อจูงใจพวกเขามาสมัครสินเชื่อในระบบให้ได้ตามเป้าหมาย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ตลาด Digital Lending เดือด! บัตร Rabbit จับมือพาร์ตเนอร์ลงสนาม ปล่อยสินเชื่อ 5,000 ลบ. first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/rabbit-cash-digital-lending/

พรีวิว GARMIN Venu 2 สมาร์ทวอทช์ดูแลสุขภาพระดับโปร รองรับ Rabbit ชำระเงินแบบไร้สัมผัส แตะจ่ายได้ทันทีด้วยนาฬิกา

GARMIN Venu 2 เป็นสมาร์ทวอทช์ในซีรี่ส์ใหม่สุด ซึ่งเป็นซีรีส์ที่มีการจับมือกันระหว่าง “Garmin x Rabbit” หรือผู้ให้บริการชำระเงิน Rabbit ที่เรารู้จักกันนั้นเองครับ มาจับมือร่วมกันเพื่อใส่ความสามารถในการใช้จ่ายเงินอิเลคโทรนิค ให้กับสมาร์ทวอทช์สายสุขภาพและกีฬารุ่นนี้โดยเฉพาะ

เวลาขึ้นรถไฟฟ้า หรือเข้าร้านค้าที่เปิดรับชำระด้วยบัตร Rabbit แค่เอานาฬิกาแตะก็เป็นการจ่าย ไม่ต้องหยิบบัตรขึ้นมาใช้อีกต่อไป แนวคิด TOUCH & GO คือแค่สวมใส่ แตะแล้วไปได้เลย ^^ 

การเชื่อมต่อทำมารองรับทั้ง Bluetooth และ WiFi ในตัวครับ สามารถแตะชำระเงินผ่านระบบ GARMIN Pay โดยแอดใส่ Rabbit Card เข้าไปได้


GARMIN Venu 2 เป็นสมาร์ทวอทช์ในเกรดพรีเมียมทั้งตัว วัสดุดี หน้าจอชนิด AMOLED มีฟังก์ชั่น Alway ON แสดงผลเป็นนาฬิกาปกติได้ตลอดเวลา ความคมชัดถือว่าสูงครับ 416 x 416 พิกเซล สำหรับหน้าจอทรงกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.3 นิ้ว กระจกจอใช้ Corning Gorilla Glass 3  ตัวเรือนเป็นวัสดุโพลิเมอร์เสริมเส้นใยโลหะ ตัวกรอบเป็นโลหะชนิดไม่เกิดสนิม แน่นหนาดูทนทาน แต่น้ำหนักเบา แค่ 49 กรัม

รองรับมาตรฐานกันน้ำ 5ATM ใส่ลงว่ายน้ำสะอาดได้จริงจังไม่ต้องถอด สั่งงานผ่านหน้าจอทัช และใช้ปุ่มข้างตัวเรือนสองปุ่ม เป็นปุ่มเมนูออกกำลังกายลัด/ตัวเลือก และปุ่มย้อนกลับ/เข้าหน้าการตั้งค่า




ใช้สายซิลิโคน ขนาด 22มม. ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้กับสายนาฬิกาโดยทั่วไปเลยครับ เป็นเขี้ยวล็อกหนึ่งตัวถอดสลับเองได้เลย

เซนเซอร์ต่างๆ มาครบ GPS, วัดชีพจร, วัดความดันบารอมิเตอร์, พร้อมเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวครบแกน และเป็นนาฬิกาที่มีหน่วยความจำในตัว สำหรับการจัดเก็บไฟล์เพลงเพื่อใช้ในกรณีไม่ต้องพึ่งสมาร์ทโฟนในขณะวิ่งหรือออกกำลังกายครับ

โดยจะมีให้เลือกสองขนาด แบ่งเป็นรุ่น Venu 2 จะมีขนาดหน้าปัด 45 มม. และรุ่น Venu 2S ขนาดหน้าปัด 40 มม. โดยอุปกรณ์ภายในกล่องก็จะมีเมนูคู่มือการใช้งาน ตัวเรือน Venu2 และอุปกรณ์ชาร์จที่เป็นขั้วต่อสี่พิน มีของแถมข้างในกล่องเป็นสติ๊กเกอร์สวยๆ จาก GARMIN ด้วย




จอใหญ่เห็นได้ชัดเจน แค่ใส่ติดตัวไว้ก็เริ่มตรวจจับการเคลื่อนไหวและวิเคราะห์สุขภาพของผู้สวมใส่ให้แล้วครับ

การใช้งานภายในก็เป็นไปตามสไตล์ของอุปกรณ์ Garmin จัดเต็มฟีเจอร์เพื่อการดูแลสุขภาพและออกกำลังกายมาเพียบ สามารถเข้าถึงการออกกำลังกายและการตรวจวัดการออกกำลังกายและเล่นกีฬาต่างๆ ได้บนตัวนาฬิกาโดยตรง พร้อมมี Widget สำหรับดูสถิติต่างๆ ของร่างกายในแต่ละวัน

แจ้งเตือนสายโทรเข้าและสามารถรับสายได้แต่ตัวมันเองไม่มีไมค์หรือลำโพง ฉะนั้นต้องเชื่อมต่อกับหูฟังบลูทูธซะก่อนนะครับ รองรับการแจ้งเตือนจากสมาร์ทโฟนจากแอปต่างๆ แสดงภาษาไทยได้สมบูรณ์

การใช้งานเร้มต้น จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนซะก่อนนะครับ ใช้งานได้ทั้งกับอุปกรณ์ Android และ iOS ผ่านแอพพลิเคชั่น GARMIN Connect เป็นศูนย์รวมของการใช้งานทั้งหมด ทั้งการอัพเดทระบบและการตั้งค่าต่างๆ ของตัวนาฬิกา

ตัวนาฬิกาสามารถวัดค่าชีพจร การเคลื่อนไหวระหว่างวัน รวมถึงคุณภาพการนอนให้เราได้อัตโนมัติครับ แค่เพียงสวมใส่ไว้ และมาตรฐานที่วัดได้ละเอียดมากไม่ใช่ใส่กันเล่นๆ แต่มีความแม่นยำสูงในมาตรฐานระดับโลกของ GARMIN และได้ถูกปรับหน้าตาการใช้งานมาในรูปแบบอัพเกรดใหม่ ดูสบายตาและเห็นรายละเอียดได้ชัดเจนขึ้นด้วยครับ

มันสามารถนำค่าที่ตรวจจับได้ไปวิเคราะห์หาค่าที่สำคัญอย่างความเครียด หรือพลังงานร่างกาย (Body Batterry) c]tการวัดค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดจากชีพจร หรือ SpO2 ที่เป็นการบอกถึงคุณภาพระบบหายใจของปอด รวมรวมสถิติเกี่ยวกับสุขภาพของเรา เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในร่างกายได้อย่างละเอียด



 

ความสามารถพิเศษของรุ่นนี้ คือการใช้งาน GARMIN Pay ผ่านทางการเปิดบัตร Rabbit Card ภายในตัวระบบ แล้วสามารถใช้นาฬิกาแตะเพื่อชำระหรือใช้บริการได้แทนบัตรแรปบิตทุกประการเลยครับ ง่ายกว่า สะดวกกว่า และทันสมัยกว่า ^^

มีคลังแอพพลิเคชั่นและหน้าปัดนาฬิกาสวยๆ ให้เลือกติดตั้งมาใช้งาน จากแอพสโตร์ของ GARMIN ที่ชื่อแอพว่า Connect IQ เป็นอีกแอพที่ต้องติดตั้งลงสมาร์ทโฟนเอาไว้เพื่อใช้งาน Venu 2 ให้ได้เต็มที่ครับ เพราะจะสามารถสร้างหน้าปัดนาฬิกาของเราขึ้นมาเองได้จากรูปถ่ายส่วนตัวในสมาร์ทโฟนของเราด้วยครับ ^^





ภายในตัวเรือนของมันยังมีหน่วยความจำให้เราสามารถดาวน์โหลดจัดเก็บเพลงไว้จากบริการสตรีมเพลงอย่าง Spotify หรือ JOOX Music ได้ด้วยครับ เวลานำหูฟังบลูทูธมาเชื่อมต่อกับนาฬิกา ก็ใช้ฟังเพลงได้โดยไม่ต้องมีโทรศัพท์อยู่ใกล้ๆ



GARMIN Venu 2 ก็เป็นอีกขั้นของการใช้งานสมาร์ทวอทช์จากสายสุขภาพและกีฬาที่เพิ่มความสามารถให้การใช้ชีวิตของเราสะดวกมากขึ้นครับ นอกจากจะใส่เพื่อรับการแจ้งเตือนต่างๆ จากสมาร์ทโฟนได้ ก็สามารถเป็นโค๊ชสำหรับการออกกำลังกายได้



และยังช่วยจัดเก็บข้อมูลและดูสุขภาพร่างกาย คุณภาพการนอนให้เราได้ในทุกๆ วัน แยกเป็น 4 ระดับ และยังติดตามชีพจรและการหายใจของเราตลอดทั้งคืนด้วยครับ จะได้รู้สักทีว่า เรามีอาการอย่างไรบ้างในขณะที่เราหลับ เช่นหัวใจเต้นถี่หรือมีการหยุดหายใจเป็นระยะในตอนกลางคืน



 

และในรุ่นนี้ยังเป็นกระเป๋าตังค์ดิจิทัล ให้เราแตะเพื่อจ่ายง่ายๆ ไม่ต้องควักบัตร ไม่ต้องหยิบโทรศัพท์ แค่เอานาฬิกาข้อมือไปแตะ ก็เป็นอันจบการชำระ ^^ ง่าย สะดวก และเท่มาก โดย GARMIN Venu 2 เปิดจำหน่ายในราคา 13,690 บาท

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้ครับ : https://www.garmin.com/th-TH/p/707538/pn/010-02430-81#overview

ข่าว: พรีวิว GARMIN Venu 2 สมาร์ทวอทช์ดูแลสุขภาพระดับโปร รองรับ Rabbit ชำระเงินแบบไร้สัมผัส แตะจ่ายได้ทันทีด้วยนาฬิกา มีที่มาจาก: แอพดิสคัส.
from:https://www.appdisqus.com/garmin-venu-2-smartwatch-x-rabbit/

ปัญหาใหม่ BTS! เติมเที่ยว-เติมเงินเข้าบัตรผ่านเคาน์เตอร์บีทีเอสไม่ได้ถ้าผูกบัตรกับ Rabbit LINE Pay ไว้

ปัญหาฝุ่น PM2.5 ไหนรถเมล์จะขึ้นราคาอีก 20% ส่วนรถไฟฟ้าอย่าง BTS ใครที่หลวมตัวผูกบัตรโดยสารกับ rabbit LINE Pay ไว้ต่อไปนี้จะเติมเที่ยว เช็คยอดเงิน เช็คเที่ยวที่ห้องขายตั๋วบนสถานี BTS ไม่ได้อีก

เมื่อผูกบัตร rabbit กับ rabbit LINE Pay แล้วจะเช็คข้อมูลบัตร เติมเที่ยวที่เคาน์เตอร์ BTS ไม่ได้

เมื่อ 3 เดือนก่อน (ก.ย. 2018) บริษัท แรบบิท – ไลน์เพย์ จำกัด เปิดให้คนที่มีบัตร rabbit ที่ใช้สำหรับโดยสารรถไฟฟ้า BTS สามารถผูกตัวบัตรกับ rabbit LINE Pay ได้ ข้อดีคือ ลูกค้าจะสามารถเติมเงิน เติมเที่ยวเดินทาง เช็คยอดเงิน ดูประวัติการใช้งานผ่านแอพพลิเคชั่น LINE บนมือถือได้เลย หรือบัตรหายก็สามารถอายัดบัตรเก่า แล้วเปิดบัตรใหม่ โอนยอดเงินกับเที่ยวเดินทางมาที่บัตรใหม่ได้เลย (มีค่าธรรมเนียม)

แต่การผูกบัตรโดยสาร BTS กับ rabbit LINE Pay ปัจจุบันทำให้ลูกค้าไม่สามารถนำตัวบัตร rabbit ไปเติมเที่ยวเดินทาง เช็คยอดเงิน หรือดูข้อมูลบนบัตรที่ห้องจำหน่ายตั๋วบนสถานี BTS ได้อีก

พนักงานที่ให้บริการบนสถานี BTS บอกว่า ถ้าบัตร rabbit เชื่อมกับ rabbit LINE Pay แล้วห้องขายตั๋วบน BTS ไม่สามารถให้บริการผ่านตัวบัตรได้ ลูกค้าไม่สามารถใช้โปรโมชั่นจากบัตรเครดิต หรือพันธมิตรของ BTS ในการเติมเที่ยวเดินทาง เพราะอ่านข้อมูลบนบัตรไม่ได้ เลยไม่สามารถเติมเงิน เติมเที่ยวลงที่บัตรโดยตรงได้ แต่พนักงานสามารถการเติมเงินเข้าไปใน Wallet  โดยลูกค้าต้องเปิด QR code บน LINE เพื่อเติมเงิน แล้วลูกค้าต้องกดเติมเงินในบริการ BTS ผ่านมือถือเอง

อย่างไรก็ตาม จิน วู ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แรบบิท–ไลน์เพย์ จำกัด เคยพูดไว้ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2018 ว่า ในอนาคตมีแผนขยายการเติมเงินเข้า e-wallet ของแรบบิท –ไลน์เพย์ ผ่านการแตะบัตรแรบบิทที่ผูกใช้บริการ ได้ตามจุดเติมเงินต่างๆ เช่น ห้องจำหน่ายตั๋วบนสถานีบีทีเอส, ร้าน McDonald’sKerry Express เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการที่นิยมการแตะบัตร แทนการใช้ MyCode ของ แรบบิท-ไลน์เพย์

แต่อนาคตที่ว่า ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นปีไหน?

สรุป

บัตร rabbit ควรมีช่องทางที่หลากหลายในการเติมเงิน เติมเที่ยว และสามารถอายัดบัตรได้เมื่อบัตรหาย แต่เมื่อเชื่อมบัตร BTS กับ rabbit LINE Pay กลับทำให้ช่องทางดั้งเดิมที่อยู่ตามสถานีใช้ไม่ได้ (อนาคตจะใช้ได้ก็ไม่รู้เมื่อไร) ยิ่งแสดงให้เห็นว่า BTS, บัตร rabbit, LINE และ บริษัท แรบบิท – ไลน์เพย์ จำกัด ยังไม่มีความร่วมมือกันอย่างแท้จริง ภาระจึงตกมาที่ผู้บริโภคเหมือนที่ผ่านมา

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/bts-problem-rabbit-linepay-just-for-mobile/

ถึงเติมเงิน BTS ผ่าน Rabbit Line Pay ได้ แต่บัตรหาย BTS ก็เทเราเหมือนเดิม

เบื่อไหม ? กับการต่อคิวบนสถานีรถไฟฟ้า BTS ในเวลาเร่งด่วนเพื่อแลกเหรียญไปซื้อตั๋วที่ตู้ หรือเติมเงิน เติมเที่ยวเดินทางที่สถานีเท่านั้น แต่ตอนนี้สบายแล้วเพราะต่อไปเราสามารถเที่ยวเดินทางและ เติมเงินผ่าน Rabbit LINE Pay บนมือถือได้แล้ว

ภาพจาก Shutterstock

ไม่ต้องต่อคิวแล้ว เติมเงิน เติมเที่ยว BTS ผ่าน Rabbit LINE Pay บนมือถือได้เลย

เดิมคนที่ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS จะต้องไปเคาน์เตอร์ที่สถานีรถไฟฟ้าเพื่อแลกเหรียญไปหยอดตู้ซื้อตั๋ว หรือเติมเงิน เติมเที่ยวเดินทาง แต่ต่อจากนี้รถไฟฟ้า BTS หันมาจับมือกับ Rabbit LINE Pay ให้ลูกค้าอย่างเราสามารถเติมเงิน และเติมเที่ยวเดินทางผ่านมือถือได้แล้ว

โดยขั้นตอนง่ายๆ คือ ใครที่มีบัตร Rabbit ประเภทต่างๆ อยู่แล้ว สามารถเข้าไปคลิกเชื่อมบัตรที่มีอยู่กับ แอพพลิเคชั่นของ LINE และนำไป Activate (เปิดการใช้งาน) ที่สถานี BTS ปัจจุบันให้บริการแค่ 5 สถานี ได้แก่ อโศก เพลินจิต อนุสาวรียชัยสมรภูมิ ศาลาแดง และ ช่องนนทรีย์

ที่สำคัญมีโปรโมชั่นให้คนที่ผูกบัตร BTS กับ Rabbit LINE Pay ก่อนสิ้นปีนี้ ได้เที่ยวเดินทางฟรี 3 เที่ยว เที่ยวฟรีจะมีอายุ 90 วันหลังจากการลงทะเบียน หลังการลงทะเบียนจะเริ่มใช้งานเที่ยวฟรีได้ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2561

Rabbit-BTS ไม่คุยกัน บอกทางแก้กรณีบัตรหายคนละแบบ แล้วลูกค้าต้องทำไง

เหตุสุดวิสัยเกิดขึ้นได้เสมอ ล่าสุดมีผู้ถือบัตร Rabbit ทำบัตรหาย แต่ได้ลงทะเบียนบัตรประชาชนใน Rabbit Reward ไว้แล้ว จึงเข้าไปที่สถานี BTS อโศก เพื่อสอบถามว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ทางเจ้าหน้าที่ของ BTS เลยถามกลับว่า ตัวลูกค้าเคยลงทะเบียนการอายัดบัตรซึ่งลูกค้าต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่ม 199 บาทไว้หรือไม่ ?

ผู้ถือบัตรดังกล่าวเลยแจ้งว่าไม่ได้ทำไว้ สุดท้ายเจ้าหน้าที่สถานีจึงแนะนำให้ ลงบันทึกแจ้งความของหายไว้ ถ้าเกิดมีเจ้าหน้าที่เจอบัตรที่คล้ายกันจะมีการติดต่อกลับไป และถ้าอยากถามอะไรเพิ่มให้โทรไปที่ Rabbit Hotline 02-617-8383

แต่เมื่อ Brand Inside ตรวจสอบข้อมูลกับ Rabbit Hotline พบว่า ก่อนหน้านี้ทาง Rabbit เคยคิดค่าธรรมเนียมอายัดบัตร 199 บาทจริง แต่ปัจจุบันลูกค้าสามารถพกบัตรประชาชน และบัตร Rabbit เข้าไปลงทะเบียนได้ฟรีที่ศูนย์บริการ Rabbit ในสถานีสยามได้เลย (แจ้งลงทะเบียนได้ที่เดียว คือ สถานีสยาม และต้องทำก่อนบัตรหาย) ซึ่งเมื่อบัตรหายจะสามารถโทรแจ้งอายัด และออกบัตรใหม่โดยเสียค่าธรรมเนียม 100 บาท ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมโอนเงินจากบัตรที่หายมาบัตรใหม่ 50 บาท

ภาพจาก Shutterstock

และเมื่อสอบถามเจ้าหน้า Rabbit Hotline ถึงคำตอบที่เจ้าหน้าที่ BTS แจ้งลูกค้ากรณีบัตรหาย ทาง Rabbit บอกว่า เป็นการสื่อสารภายใน BTS ถ้าต้องการร้องเรียนต้องโทรแจ้งที่ Call Center ของ BTS เอง

ขณะเดียวกัน Brand Inside ยังถามถึง กรณีที่ลูกค้าลงทะเบียนกับ Rabbit Reward ซึ่งเป็นฟีเจอร์หนึ่งของ Rabbit ที่ลูกค้าต้องลงทะเบียนระบุเลขประจำตัวประชาชน เพื่อเชื่อมกับเลขบัตร Rabbit ที่มีอยู่แล้ว ทาง Rabbit แจ้งว่าตัว Rabbit และ Rabbit Reward เป็นคนละบริษัทกันจึงไม่สามารถเชื่อมข้อมูลกันได้

นอกจากนี้เมื่อเราถามถึงรายละเอียดของ Rabbit LINE Pay ว่า สามารถเติมเที่ยวเดินทางได้ไหม? ทาง Rabbit Hotline ให้คำตอบว่า “เรื่องนี้ต้องขอให้ลูกค้าติดต่อกับ LINE Pay เอง ขออนุญาตให้เบอร์ติดต่อค่ะ 02-841-5400″

สรุป

BTS ให้บริการมา 19 ปี หลังจากให้ลูกค้าแลกเหรียญที่เคานเตอร์ไปซื้อตั๋วที่ตู้ เริ่มพัฒนาให้ลูกค้าสามารถเติมเงินและเติมเที่ยวผ่าน Rabbit Line Pay บนมือถือได้แล้ว แน่นอนว่าสะดวกขึ้น แต่เมื่อ BTS มีพันธมิตรเพิ่มขึ้น ทั้ง Rabbit ทั้ง LINE Pay เรากลับไม่เห็นการประสานงานกันอย่างชัดเจน (แม้จะเป็นบริษัทในเครือกันทั้งหมด) ไม่ว่าจะช่องทางสถานี หรือ Call Center จึงกลายเป็นว่าภาระการติดต่ออยู่ที่ลูกค้า

ทว่าปัญหาสำคัญคือ Rabbit เป็น E-wallet แบบหนึ่ง กลับไม่มีมาตรการดูแลลูกค้า ไม่มี Market Conduct ที่ชัดเจน เมื่อลูกค้ามีปัญหา การติดต่อผ่าน Rabbit, LINE Pay และ BTS จึงได้คำตอบที่ไม่เหมือนกัน จึงเกิดคำถามว่า มาตรฐานการให้บริการคืออะไร?

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/bts-refill-money-rabbit-line-pay-lose/

เติมเงินค่า BTS เข้าบัตร Rabbit จากแอพ LINE โดยตรงได้แล้ว

แอพ LINE เวอร์ชันล่าสุด รองรับการเติมเงินรถไฟฟ้า BTS ผ่านบริการ Rabbit LINE Play จากแอพ LINE โดยตรงแล้ว

กระบวนการใช้งานคือเข้าเมนู BTS จากใน Rabbit LINE Pay จากนั้นเชื่อมบัตร Rabbit เข้ากับแอพ LINE แล้วนำบัตรไปเปิดใช้งาน (activate) ที่สถานี BTS ซึ่งปัจจุบันยังใช้งานได้ 5 สถานีคือ อโศก, อนุสาวรีย์ชัย, ช่องนนทรีย์, ศาลาแดง และเพลินจิต

Rabbit LINE Pay เป็นบริษัทร่วมทุนที่เริ่มต้นโดย LINE และกลุ่มรถไฟฟ้า BTS ในปี 2016 จากนั้นได้ AIS เข้ามาร่วมทุนด้วยอีก 1 รายในช่วงต้นปี 2018

ที่มา – Facebook Jirawat Karanwittayakarn ทีมงาน LINE Thailand

No Description

No Description

from:https://www.blognone.com/node/105285

ดันวอลเลทเต็มที่ LINE เอาเมนู Pay มาไว้หน้าจอแรก กดเข้าใช้งานง่ายขึ้น

ใครที่ใช้ไลน์อาจสังเกตเห็นว่าตรงหน้าจอแชทนั้นเปลี่ยนไป คือเมนู More เปลี่ยนเป็นเมนูวอลเลทแทนให้กดง่าย จากเดิมที่ต้องกดเข้าไปเพื่อหาเมนู Rabbit LINE Pay อีกที

ในเมนูวอลเลทจะมีเมนูรวมการใช้งานของ Rabbit LINE Pay ต่างๆ เช่น จ่ายเงินด้วยคิวอาร์, ส่งเงิน, เติม Easy Pass, ซื้อตั๋วหนัง, เติมเงินมืถือ, จ่ายบิล เป็นต้น โดยแถบเมนู อื่นๆ (More) จะเปลี่ยนเป็นแถบเมนู Wallet โดยอัตโนมัติสำหรับผู้ใช้งาน LINE เวอร์ชั่น 8.13.0 ขึ้นไป

No Description

ที่มา – ข่าวประชาสัมพันธ์

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/105178

mPAY ผนึก Rabbit LINE Pay ประกาศร่วมทุนขยายแพลตฟอร์ม e-money ผลักดันประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสด

แอดวานซ์ เอมเปย์ (mPAY) บริษัทลูกของ แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด มหาชน หรือ เอไอเอส ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับ ผนึก Rabbit LINE Pay (RLP) แพลตฟอร์ม e-money และ การชำระเงินผ่านมือถือทั้งออนไลน์และออฟไลน์

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของLINE ผู้นำด้านแพลตฟอร์มอันดับ และ Rabbit ผู้นำด้านไมโครเพย์เมนท์และ mass transit อันดับ วันนี้ประกาศร่วมทุนเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสดมุ่งให้ Rabbit LINE Pay ก้าวสู่แพลตฟอร์มการชำระเงินทางมือถืออันดับ ในประเทศไทยภายใน ปี

AIS Rabbit Line Pay

ความร่วมมือแรกที่จะเกิดขึ้นระหว่าง Rabbit LINE Pay และ AIS คือการเชื่อมต่อบนแอพ my AIS โดย Rabbit LINE Pay จะเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือเจ้าเดียวบนแอพ my AIS เพื่อให้ผู้ใช้สามารถชำระบิลต่างๆ ผ่านทาง Rabbit LINE Pay โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลบัตรเครคิตหรือบัตรเดบิตของผู้ใช้ และการย้ายฐานลูกค้าของ mPay มาเป็นฐานลูกค้าของ Rabbit LINE Pay รวมถึงการชำระเงินของลูกค้าระบบเติมเงิน  ลูกค้าระบบรายเดือน ลูกค้าเอไอเอส ไฟเบอร์ การชำระค่าบัตรเครดิต และการชำระค่าสาธารณูปโภค รวมกว่า 200 รายการจะสามารถจ่ายผ่านช่องทาง Rabbit LINE Pay ความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยยกระดับประสบการณ์การชำระเงินผ่านมือถือของลูกค้า AIS ให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้นเมื่อจ่ายทางแอพ myAIS นอกจากนี้ลูกค้า AIS ยังสามารถใช้ e-Wallet ของ Rabbit LINE Pay ผ่านทุกช่องทางของ AIS ทั่วประเทศ ทั้ง ศูนย์บริการ AIS ศูนย์บริการ Serenade ร้าน Telewiz ตู้เติมเงิน AIS และ mPayสเตชั่น รวมถึงผู้ใช้บริการ Rabbit LINE Pay ยังสามารถ เติมเงินเข้า กระเป๋าเงิน Rabbit LINE Pay ผ่านทุกช่องทางของ AIS ทั่วประเทศ ทั้ง ศูนย์บริการ AIS ศูนย์บริการ Serenade ร้าน Telewiz ทั่วประเทศ

โปรโมชั่น

Rabbit LINE Pay และ AIS ส่งโปรโมชั่นพิเศษฉลองการร่วมทุน เริ่มตั้งแต่วันที่ มีนาคม – 31 สิงหาคม 2561 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น เดือน โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.ลูกค้า AIS ระบบรายเดือน และระบบเติมเงิน ที่ได้ชำระบิล หรือ ได้รับการเติมเงินผ่านแอพ my AIS ด้วย Rabbit LINE Pay เป็นครั้งแรก จะได้รับดาต้าฟรี 1GBเป็นเวลา  วัน

2. ลูกค้า AIS ระบบเติมเงิน ที่เติมเงิน เอไอเอส วันทูคอลผ่านแอพ my AIS ด้วย Rabbit LINE Pay จะได้รับเงินคืน 10% (สูงสุดไม่เกิน 50 บาทต่อเดือน)

3. ลูกค้า AIS ระบบรายเดือน หรือ AIS ไฟเบอร์ ผ่านแอพ my AIS ด้วย Rabbit LINE Pay จะได้รับส่วนลด 10% (สูงสุดไม่เกิน 50 บาทต่อเดือน)

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธากรรมการ บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า วิสัยทัศน์ของเราคือ การสร้างสรรค์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล ดังนั้นความร่วมมือในรูปแบบของการเข้ามาร่วมลงทุนใน แรบบิทไลน์เพย์ ผ่านทาง เอ็มเพย์ ซึ่งมีความแข็งแกร่งด้านการมีตัวแทนเติมเงินทั่วประเทศ  การมีช่องทางชำระค่าใช้จ่ายและค่าสาธารณูปโภคครบถ้วนที่สุด พร้อมทั้งเครือข่ายคุณภาพที่ครอบคลุมสูงสุด เมื่อผนวกเข้ากับไลน์ เพย์ บน ไลน์ แอพพลิเคชั่น ที่ถือเป็นอันดับ ของแพลตฟอร์มชำระเงินอิเล็กทรอนิคส์ และแมสเสจจิ้ง รวมถึงแรบบิท ที่มีขีดความสามารถด้านระบบชำระทั้งออนไลน์/ออฟไลน์ และระบบขนส่งมวลชน จะทำให้ความร่วมมือครั้งนี้ ยกระดับการใช้ชีวิตของลูกค้าเอไอเอสและคนไทยทุกคนไปอีกขั้น จากบริการใช้จ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบที่จะเกิดขึ้นจากวันนี้เป็นต้นไป

คุณเนลสัน เหลียง, กรรมการผู้อำนวยการใหญ่, บริษัท บีเอสเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด หรือ แรบบิท และ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่, บริษัท วีจีไอ โกลบอล มีเดีย จำกัด มหาชน

กล่าวว่า “วิสัยทัศน์ของเราคือการเป็นผู้นำในธุรกิจดิจิทัลโซลูชั่น ที่ตอบสนองทุกความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน  แรบบิทคือผู้ให้บริการการชำระเงินในรูปแบบ ไมโคร เพย์เมนท์ หรือ micro-payment อันดับ 1 ในกรุงเทพด้วยสมาชิกบัตรแรบบิทกว่า 8.5 ล้านคน  เราเชื่อมั่นว่าการผนึกกำลังในครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นไลน์ ประเทศไทย ผู้ผลิตแอพพลิเคชั่นไลน์ ที่คนทั้งประเทศใช้งานและมีแอพพลิเคชั่นไลน์เพย์อยู่ในโทรศัพท์ของทุกคน  เอไอเอสผู้นำระบบสื่อสาร ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศและมีลูกค้ากว่า 40 ล้านคน บีทีเอส ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าครอบคลุมการคมนาคมทั่วกรุงเทพฯ และบัตรแรบบิท ที่มีฐานข้อมูลสมาชิกและร้านค้าต่างๆ มากมาย การร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้เราเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของการให้บริการทางการเงินผ่านระบบออนไลน์ ที่สามารถผลักดันสังคมไทยไปสู่สังคมไร้เงินสด cashless society ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างระบบการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ ที่ภาครัฐตั้งใจขับเคลื่อนได้อย่างแน่นอน”

คุณอริยะ พนมยงค์ กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย กล่าว การก้าวเข้าสู่สังคมไร้เงินสดหรือ cashless society สามารถเปลี่ยนประเทศไทยได้ ไม่เพียงแต่ช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้ผู้ใช้เสมือนพกเงินสดไปทุกที่ ยังช่วยลดปัญหาอีกด้วยเนื่องจาก 87% ของคนไทยไม่มีบัตรเครดิตและยังเข้าถึงทางการเงินไม่สะดวก ทำให้การชำระเงินผ่านมือถืออย่าง Rabbit LINE Pay สามารถช่วยแก้ปัญหาในข้อนี้ได้ ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้มาเป็นแบบไม่ใช้เงินสดหรือcashless จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่เราเชื่อมั่นว่าพันธมิตรในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็น AIS ที่เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายมือถืออันดับ 1 Rabbit ที่เป็นผู้นำด้านไมโครเพย์เมนท์และmass transit อันดับ และ LINE ผู้นำด้านแพลตฟอร์มอันดับ จะผลักดันประเทศไทยสู่สังคมไร้เงินสดได้จริง โดย 1. เพิ่มช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย:แอพmy AIS, Rabbit LINE Pay และ LINE (บนออฟฟิเชียลแอคเคาท์ของ AIS) 2. เป็นช่องทางการจ่ายเงินของชีวิตประจำวัน: สามารถจ่ายบิลได้หลายรายการ สั่งซื้อสินค้าออนไลน์ สั่ง LINE MAN จ่ายค่าโดยสารของ LINE TAXI 3.​ มีโปรโมชั่นพิเศษให้ผู้ใช้ได้ลอง ซึ่งการร่วมมือของ AIS, RLP และ LINE จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็น cashless society ให้คนไทยก้าวสู่ยุค Thailand 4.0 และมุ่งปั้น Rabbit LINE Pay ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินทางมือถืออันดับ ในประเทศไทย

                  

ข้อมูลเพิ่มเติม

1. วิธีการใช้ RLP

2. วิธีการซื้อบัตรชมภาพยนตร์

from:http://mobileocta.com/mpay-sees-rabbit-line-pay-announces-joint-venture-expands-e-money-platform/

mPay เติมเงินเข้า Rabbit LINE Pay รวม 787 ล้านบาท ถือหุ้นเท่ากับ LINE และ Rabbit

วันนี้หลัง mPay แถลงข่าวร่วมมือกับ Rabbit LINE Pay (RLP) ข่าวจากตลาดหลักทรัพย์ก็รายงานมูลค่ารวมของการลงทุน ว่ามีมูลค่าทั้งหมด 787 ล้านบาท

การเข้าถือหุ้นครั้งนี้ ทำให้ RLP มีผู้ถือหุ้นเท่ากันสามราย คือ mPay, LINE, และ Rabbit คนละ 33.33%

ตัวบริษัท RLP เองจะเปลี่ยนโครงสร้างกรรมการบริษัทเป็นตัวแทนจากสามฝ่าย ฝ่ายละ 3 คน

ที่มา – จดหมายข่าว AIS

No Description

Topics: 

from:https://www.blognone.com/node/100323

พบ “LINE Pay” เติบโต ยอดธุรกรรมทั่วโลก 10 ล้านรายการต่อเดือน

เป็นอีกหนึ่งบริการที่ประสบความสำเร็จสำหรับ LINE Pay ในฐานะ e-Wallet ของแพลตฟอร์ม LINE โดยล่าสุด LINE ได้ออกมาเปิดตัวเลขยอดการทำธุรกรรมผ่าน LINE Pay ว่ามีถึง 10 ล้านรายการต่อเดือน (ข้อมูลล่าสุดเดือนตุลาคมปี 2560)  คิดเป็นมูลค่า 55,000 ล้านเยนต่อเดือน (ประมาณ 16,034 ล้านบาท)

โดยปัจจุบัน LINE Pay มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนทั่วโลกถึง 40 ล้านราย นับตั้งแต่เปิดตัวในประเทศญี่ปุ่นเมื่อเดือนธันวาคม 2557  ซึ่งการเติบโตดังกล่าวถือเป็นปรากฏการณ์ ที่ได้รับการรับพูดถึงในวงกว้าง โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย

โดยในญี่ปุ่น LINE Pay มีผู้ใช้ที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 30 ล้านราย และได้มีการจับมือกับพันธมิตรรายใหญ่ในแวดวงธนาคารรวม 48 แห่ง ไม่ว่าจะเป็น Japan Post Bank Co., Ltd., The Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ, Ltd., และ Sumitomo Mitsui Banking Corporation ทำให้ผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นสามารถใช้จ่ายผ่าน LINE Payในร้านค้าของ Lawson และตู้เอทีเอ็มของ Seven Bank กว่า 23,000 เครื่องทั่วประเทศ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเงินใน 11 สกุลเงินได้ด้วย

ส่วนในไต้หวัน LINE Pay เป็นบริการการชำระเงินบนมือถือที่มีผู้ใช้ลงทะเบียนมากถึง 2.2 ล้านราย นอกจากนี้ข้อมูลจาก Data Yogurt ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยในไต้หวัน ยังระบุว่า LINE Pay เป็นบริการการชำระเงินบนมือถืออันดับ 1 ที่ใช้กันมากที่สุดในไต้หวันในทุกกลุ่มอายุ อีกทั้งยังเป็นแพลตฟอร์มการชำระเงินบนมือถือที่ใช้บ่อยที่สุดในการช้อปปิ้งออนไลน์ด้วย

สำหรับในประเทศไทย LINE Pay มีการจับมือเป็นพันธมิตรกับ BSS Holdings Co. , Ltd. ซึ่งเป็นระบบบัตรสมาร์ทการ์ดแรกที่สามารถใช้ได้กับเครือข่ายระบบขนส่งมวลชน ภายใต้ชื่อ Rabbit LINE Pay เพื่อเข้าสู่สังคมปลอดเงินสด หรือ Cashless Society อย่างเต็มรูปแบบ โดย Rabbit LINE Pay ได้นำเสนอโซลูชั่นการชำระเงินแบบไร้รอยต่อระหว่างออฟไลน์และออนไลน์  โดยมีพันธมิตรธุรกิจชั้นนำ อย่าง Kerry Express Mcdonald’s และธนาคารต่างๆ เป็นต้น

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/11/line-pay-growth-2017/

กลายร่าง! บัตรแมงมุม แปรสภาพเป็น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และยังใช้ขึ้นรถไฟฟ้าไม่ได้

กรมบัญชีกลาง ได้จัดส่ง บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรแมงมุม ไปให้หน่วยรับลงทะเบียน 7 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสาคร

แปลว่า บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ใน 7 จังหวัดดังกล่าว ได้กลายเป็น บัตรแมงมุม ใช้เป็นบัตรตั๋วร่วม ที่คาดว่าจะสามารถใช้ขึ้นรถประจำทาง หรือ รถเมล์ที่ติดตั้งเครื่องอ่านตั๋ว e-Ticket จำนวน 800 คัน ในวันที่ 1 พ.ย. ต่อเนื่องจากนโยบายรถเมล์ฟรีจากภาษีประชาชนที่จะหมดในเดือน ต.ค. นี้

อย่างไรก็ตาม บัตรแมงมุมยังไม่สามารถใช้งานกับรถไฟฟ้าทั้ง BTS MRT และ Airpot Link ได้ โดยยังอยู่ระหว่างปรับปรุงระบบขายตั๋วให้รองรับบัตรแมงมุม โดยการปรับปรุงระบบนี้ดำเนินการมาหลายปี และมีการเลื่อนเปิดตัวบัตรแมงมุมมาหลายครั้ง

ครั้งนี้คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ประมาณกลางปี 2561 ซึ่งต้องรอลุ้นว่าบัตรแมงมุม จะใช้กับ BTS MRT และ Airport Link ได้หรือไม่ ซึ่งมีข่าวลือว่าสุดท้ายจะยังไม่ใช่ตั๋วร่วม แต่เป็น ตั๋วต่อ คือใบเดียวใช้เข้าออกทั้ง 3 บริการ แต่ยังต้องเข้า-ออกตามปกติ แต่สะดวกขึ้นไม่ต้องพกบัตรหลายใบ

 

 

ส่วนสาเหตุที่บัตรแมงมุมยังใช้งานไม่ได้ เพราะยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงระบบ โดยการลงนาม MOU 4 ฝ่าย คือ สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.), BMCL, BTS และ บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม ผู้ให้บริการบัตร Rabbit ซึ่งเป็นระบบบัตรของ BTS ในปัจจุบัน

 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/spider-card/