คลังเก็บป้ายกำกับ: PENGUIN_EAT_SHABU

ถอดวิธีคิดเพนกวินกินชาบู หันมาขายทุเรียนเพิ่ม สินค้าใหม่ที่ต้องบริหารความสดทุกวัน

เปิดใจ ธนพันธ์ วงชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu เล่าให้เราฟังว่า สาเหตุที่หันมาขายทุเรียนเพิ่มในช่วงที่เกิดโควิดระบาดระลอก 3 ก็เพราะว่าเขาเป็นคนชอบทานทุเรียนอยู่แล้ว โควิดระบาดรอบก่อนหน้านี้ ก็ทานทุเรียนทุกวัน หลังจากที่มีคำสั่งห้ามทานอาหารที่ร้าน ให้ซื้อกลับแบบ take away ได้เท่านั้น จึงเริ่มประชุมทีมและคิดว่า จะขายอะไรดี เขาก็คิดถึงทุเรียนขึ้นมาเพราะชอบกินทุเรียนมากอยู่แล้ว ขณะเดียวกันก็ต้องการบริหารให้มีกระแสเงินสดไหลเวียนในธุรกิจทุกวันด้วย

Penguin eat Durian

ทุกนาทีมีค่า เวลาเป็นเงินเป็นทอง

หลังจากเริ่มประชุมทีมช่วงบ่ายสามโมง จากนั้นช่วง 18.30 น. ก็เริ่มคิดชื่อ คิดโลโก้ เริ่มหาคนขายในช่วง 22.00 น. ได้รายชื่อคนขายในวันรุ่งขึ้น ประมาณ 08.00 น. ถึง 09.00 น. เริ่มเคลียร์เรื่องระบบโลจิสติกส์ ระบบจ่ายเงินตอน 12.00 น. จากนั้นทำ artwork และเริ่มขายทุเรียนได้ในเวลา 17.00 น. เริ่มขอรูปแม่ค้ามาก่อน ให้ลูกของแม่ค้าถ่ายรูปให้ ทุกขั้นตอนคิดใหม่และทำอย่างเป็นระบบในระยะเวลาอันรวดเร็ว

ผลตอบรับที่ได้ ถือว่าดีกว่าที่คิด 

วันนี้เขาเริ่มขายหน้าร้าน 2 สาขาเป็นวันแรก หน้าร้านเพนกวินกินชาบูที่ขายคือสาขาสะพานควายและราชพฤกษ์ เปิดตั้งแต่ 10.00-22.00 น. ขายจนกว่าทุเรียนจะหมดและยังสั่งเดลิเวอรี่ได้เหมือนเดิมแต่ถ้าสะดวกไปซื้อหน้าร้านก็จัดได้เลยที่สองสาขานี้ สำหรับยอดการขายชาบูแบบเดลิเวอรี่ตอนนี้ถือว่ายอดขายทุเรียนทำได้ดีกว่ายอดขายชาบู

ปัญหามีไว้ให้แก้ มีเรื่องให้เรียนรู้ทุกวัน

การจัดซื้อทุเรียนของเขาใช้วิธีเหมาซื้อและหาคนปอกทุเรียนด้วย จากนั้นจึงรับมาขายในเวลา 07.00 น.ทุกวัน ปัญหาที่พบคือ หาคนปอกเปลือกทุเรียนค่อนข้างยากมาก เมื่อเหมาทุเรียนแล้ว หาคนปอกได้แล้ว ก็ต้องจัดหารถห้องเย็นมากระจายต่อ

ในเรื่องของระบบโลจิสติกส์นั้น ถ้าได้คนส่งสินค้าที่ไม่ค่อยระมัดระวังในการส่ง ก็เกิดความเสียหายทำให้เนื้อทุเรียนเละได้ การขนส่งสินค้าต้องใช้รถยนต์ ต้องรู้เส้นทางในการส่งสินค้าให้ลูกค้า ดังนั้น สิ่งที่เขาสร้างความมั่นใจให้ลูกค้าคือ รับประกันเนื้อ ส่งให้ฟรีเมื่อพบว่าเนื้อทุเรียนที่ซื้อไป มีปัญหา เมื่อใดก็ตามที่ลูกค้าสั่งซื้อ จะมีคนทางร้านโทรไปคอนเฟิร์มทุกครั้ง ถ้าลูกค้ารู้สึกไม่ประทับใจ ก็จะชดเชยให้ฟรี ที่ผ่านมาก็พอมีเรื่องนี้บ้างราว 5%

from Penguin Eat Shabu to Penguin Eat Durian

สำหรับลูกค้าสายทุเรียนของร้านเพนกวินกินชาบูนี้ มีทั้งคนเก่าที่เคยเป็นลูกค้ากัน เมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไป ก็มีลูกค้าเจ้าใหม่ที่เป็นคนชอบทานทุเรียนมาเพิ่มด้วย ในการจัดหาสินค้าหรือทุเรียนนี้ ทางร้านจัดหาทุเรียนทุกวัน ถ้าบางวันร้านที่เคยดีลกัน สินค้าหมด ก็จะหาเจ้าใหม่ทันที เป็นการบริหารความสดใหม่ทุกวัน เป็นเรื่องที่ต้องทำวันต่อวัน ถ้าให้ประเมินที่ผ่านมาก็พบว่า ขายทุเรียนได้ประมาณ 100 กิโลกรัมต่อวัน

การเรียนรู้เกิดขึ้นทุกวัน มีการเรียนรู้ที่จะทดลองทุกอย่างตลอดเวลา ทั้งการบรรจุหีบห่อสินค้า การเรียนรู้ว่าควรจะแช่สินค้าในน้ำแข็งหรือไม่ เมื่อเกิดเหตุผิดพลาดก็ชดเชยลูกค้าเสมอ บางครั้งการบรรจุภัณฑ์ก็พบว่ามีสินค้าที่เนื้อเละทั้งลอต อย่างที่เล่าไปก่อนหน้านี้ว่าถ้าเป็นคนส่งสินค้ากลุ่มใหม่ ไม่เข้าใจสินค้า ไม่ระมัดระวัง ก็ส่งผลกระทบต่อสินค้าได้ เราก็เรียนรู้และพัฒนาแต่ละกระบวนการที่เกิดขึ้นทุกวัน วิธีคิดในการขายทุเรียนของเราจะทำแบบสตาร์ทอัพ วันหนึ่งคิดสินค้าให้ได้ก่อน จากนั้นจึงหาทางเพิ่มคุณค่าแต่ละกระบวนการ

นี่เป็นการคิดใหม่ ทำใหม่ของเรา เราไม่รู้ว่าอะไรดีที่สุด สำหรับระบบการจ่ายเงิน เพื่อลดข้อจำกัดในการจับจ่ายใช้สอยของลูกค้า เราจึงเลือกใช้วิธีเก็บเงินปลายทาง บางครั้งเราก็ได้ลูกค้าที่สั่งซื้อไว้ 3 กิโลกรัมแต่พอใกล้ถึงเวลาส่งสินค้าก็ลดเหลือครึ่งกิโลกรัมก็มี ดังนั้นวิธีแก้ของเราก็มีการทำรอบบ่าย 3 หรือเรียกว่ารอบหลุดจอง วิธีนี้ก็ช่วยปลดล็อคทำให้ขายสินค้าหมดได้ทุกวัน การจัดรอบในการสั่งซื้อสำหรับระบบการจองก็มีช่วง 10.30-12.00 น. และรอบหลุดจองคือช่วงประมาณ 14.00-15.00 น.

Durian
ภาพจากเพจร้าน Penguin Eat Shabu

ในส่วนของพนักงาน เรามีการโยกย้ายให้พนักงานมาช่วยในแต่ละจุดมากขึ้น เช่น แบ่งเป็นพนักงานที่ต้องทำหน้าที่เป็น Call Center ต้องคอยโทรหาลูกค้า พนักงานที่ต้องคอยตอบข้อความทาง Facebook และพนักงานที่มาช่วยขายทุเรียนหน้าร้าน นอกจากนี้ ยังมีการไลฟ์ขายทุเรียนใน facebook ด้วย เวลา 19.00น. เมื่อวานนี้เริ่มไลฟ์เป็นวันแรก หลังจากนี้ จะมีทั้งการขายหน้าร้าน ขายเดลิเวอรี่ และจะขายทุกวันต่อไป จากนั้นจึงจะประเมินผลเพื่อที่จะขยายจุดสำหรับขายทุเรียนเพิ่มเติม

สำหรับลูกค้าที่รักในการกินทุเรียนก็สามารถสั่งซื้อได้ทั้งเดลิเวอรี่หรือจะซื้อหน้าร้านก็ได้ที่ร้านเพนกวินกินชาบูทั้งสาขาสะพานควายและราชพฤกษ์ ส่วนผู้ประกอบการที่ตอนนี้กำลังประสบปัญหาจากโควิดระบาดระลอก 3 ธนพันธ์ให้ข้อคิดไว้ว่า เมื่อไรที่เจอปัญหา ต้องเอาตัวเองออกจากปัญหาก่อน หรือออกจากสิ่งที่เราเจอในโลกใบเดิมก่อน เหมือนที่เราเจอปัญหาเพนกวินกินชาบู (เช่น การงดนั่งร้านให้ take away เท่านั้น)

ธนพันธ์กล่าวว่า เราต้องคิดก่อนว่า เราทำอะไรได้บ้าง เราทำคอนเทนต์เป็น เราต้องเสนอในสิ่งที่คนอยากได้ หา solution ให้เขา เราต้องไม่ยึดติดกับตัวเอง ไม่ต้องเป็นพ่อค้าชาบูตลอด แต่หาทางเร่งแก้ปัญหา แบบที่เราเห็นว่า ทุเรียนมีเวลาขายราว 3 สัปดาห์ เราก็รีบคิด รีบทำ จากนี้ เราก็ต้องคิดต่อว่าจะสามารถขายอะไรได้ต่อ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับตัวเอง

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post ถอดวิธีคิดเพนกวินกินชาบู หันมาขายทุเรียนเพิ่ม สินค้าใหม่ที่ต้องบริหารความสดทุกวัน first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/penguin-eat-shubu-and-durian-how-to-alive-among-covid-19-outbreak-3rd-wave/

เพนกวินกินชาบูปรับตัวสู้โควิด: เมื่อก่อนขายชาบู ขายหม้อ ตอนนี้ขายทุเรียนด้วย!

จากผู้ชายขายชาบู สู่ผู้ชายขายหม้อ ตอนนี้เริ่มขายทุเรียนด้วยแล้ว! สำหรับ Penguin Eat Shabu-ร้านเพนกวินกินชาบู ต้องบอกว่าสู้สุดใจ สู้เต็มที่ ปรับตัวมาตั้งแต่โควิดระบาดรอบที่แล้วจนมีคำสั่งล็อคดาวน์ ตอนนี้โควิดระบาดระลอก 3 ร้านเพนกวินกินชาบูก็ยังต้องปรับตัวสู้โควิดอีกระลอกหนึ่ง

Penguin Eat Shabu เพนกวินกินชาบู

หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครมีมติให้ยกระดับมาตรการควบคุม งดการบริโภคอาหาร เครื่องดื่มสุราและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ในร้านให้จำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในลักษณะนำกลับไปบริโภคที่อื่นได้เท่านั้น คำสั่งดังกล่าวเริ่ม 1 พฤษภาคม 2021 ยกระดับพื้นที่สีแดงเข้ม งดนั่งทาน ซื้อกลับบ้านได้ถึง 21.00 น. แน่นอน คำสั่งนี้ย่อมผลกระทบโดยตรงกับร้านอาหารที่ให้ทานอาหารที่ร้านอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ร้าน Penguin Eat Shabu ก็คือหนึ่งในร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน

เรื่องการปรับตัวจากการขายชาบูและขายหม้อสำหรับกินชาบูด้วยนั้น ธนพันธ์ วงชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu เผยความในใจผ่าน Facebook ส่วนตัวว่า “เวลาคนเรามันจนตรอกลำบาก เชื่อเหอะมันทำได้ทุกอย่างจริงๆ” หลังจากที่รัฐสั่งให้ปิดร้าน ทางร้านจึงเรียกประชุมทีม วางแผนกำลังคนใหม่และประเมินความเสี่ยงจากวิกฤตครั้งนี้

หลังจากนั้น 24 ชั่วโมง เย็นวันแรกก็เริ่มนัดประชุม ตัดสินใจขายทุเรียน คิดชื่อ ออกแบบโลโก้ ออกแบบการ์ดขอบคุณ ทำระบบการจอง หาซัพพลายเออร์ และกลับมาเขียนคอนเทนต์ถึงตี 4

ยังไม่หยุด ยังสู้ต่อ เช้าวันรุ่งขึ้นไปคุยกับสวนทุเรียน ถ่ายรูปสินค้า ทำระบบทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขายทุเรียน ไม่ใช่แค่สนใจทุเรียนที่กำลังเป็นสินค้าตัวใหม่ หม้อสำหรับทำชาบูก็ขายด้วย จากนั้นจึงเริ่มขายทุเรียนได้ กลายเป็นเพนกวินกินชาบู สู่เพนกวินกินทุเรียน

ตอนนี้ Peunguin Eat Durian หรือเพนกวินกินทุเรียน ขายหมอนทองแกะแล้ว เกรด AAA ขายทุกวัน ส่งถึงหน้าบ้าน ขายวันละ 50 กิโลกรัม เนื้อทุเรียนเกรดพรีเมียม กรอบนอกนุ่มใน เก็บได้ 3-5 วัน ส่งตรงจากสวนทุเรียน รับประกันไม่มีเนื้อเละหรือเนื้อแฉะ ไม่ใช้สารเร่งสุก ปล่อยสุกแบบธรรมชาติ

สำหรับราคาทุเรียนที่เป็นราคาโปรโมชั่นตอนนี้ ปกติ 500 กรัม ราคา 700 บาท ถ้าซื้อตอนนี้

  • 500 กรัม 600 บาท
  • 1 กิโลกรัม 1,100 บาท
  • 2 กิโลกรัม 2,100 บาท
  • 3 กิโลกรัม 3,000 บาท

Penguin Eat Durian

เงื่อนไขในการสั่ง

  • จำกัด 1 คนต่อ 1 ออเดอร์
  • 1 กล่อง มี 2 ขนาด คือขนาด 500 กรัม ราคา 600 บาท (ราคาเต็ม 700 บาท) และอีกขนาดหนึ่งคือ 1 กิโลกรัม ราคา 1,100 บาท (ราคาเต็ม 1,300 บาท)
  • สามารถสั่งได้จากลิงก์นี้ เพนกวินกินทุเรียน
  • หรือที่นี่ LineOA
  • หรือที่นี่ @PenguinEatShabu

เงื่อนไขการจัดส่ง

  • จัดส่งทั่ว กทม. ค่าส่ง 100 บาท
  • จัดส่งทั่วประเทศ ค่าส่ง 150 บาท
  • เก็บเงินปลายทาง (COD)
  • ตัดรอบ 20.00น. ทุกวัน จะได้รับของในวันถัดไปก่อน 20.00 น. หรือจนกว่าของรอบนั้นจะหมด
  • ถ้าสั่งหลังจากนั้นจะเป็นออเดอร์ในวันถัดไป
  • มีจัดส่งด่วน บวกเพิ่มอีก 30 บาท ได้รับของก่อน 18.00น.
  • เมื่อออเดอร์เสร็จ ทางร้านจะโทรคอนเฟิร์มออเดอร์เช้าวันรุ่งขึ้นเวลา 09.00น. หรือจะโทรไปคอนเฟิร์มกับทางร้านก็ได้ที่เบอร์นี้ 099-595-9428

 

สำหรับใครที่เป็นแฟนเพนกวินกินชาบูอยู่ จะสั่งชาบูหรือจะสั่งทุเรียนหรือจะซื้อหม้อสำหรับไปทำชาบูทานเอง ก็สั่งได้หมดแล้ว ติดตามได้ที่เพจ Penguin Eat Shabu

ที่มา – Hfocus, Penguin Eat Shabu – เพนกวินกินชาบู, IG

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

The post เพนกวินกินชาบูปรับตัวสู้โควิด: เมื่อก่อนขายชาบู ขายหม้อ ตอนนี้ขายทุเรียนด้วย! first appeared on Brand Inside.
from:https://brandinside.asia/from-penguin-eat-shabu-to-penguin-eat-durian-among-covid-19-outbreak-third-wave/

เทรนด์ธุรกิจร้านอาหารหลังผ่อนคลายล็อกดาวน์: ฟู้ด เดลิเวอรี่คือทางเลือกหลัก สร้างรายได้

โดย ปาจรีย์ รอดพ่าย และอภิชญา ฉกาจธรรม 

ในช่วงล็อกดาวน์ที่ผ่านมา บริการส่งอาหารออนไลน์ หรือ online food delivery ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากคนไม่สามารถออกมากินข้าวนอกบ้านได้ตามปกติ คำถามคือ หลังคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้วคนจะยังสั่งอาหารออนไลน์อยู่ไหม แล้วร้านอาหารจะต้องทำอย่างไร

นักการตลาดหลายสำนักเชื่อว่าแม้จะมีการผ่อนปรนมาตรการล็อกดาวน์แล้วแต่เทรนการสั่งอาหารออนไลน์จะยังคงอยู่เพราะผู้บริโภคเริ่มเคยชินกับความสะดวกสบาย

แถลงข่าวเทรนด์ร้านอาหาร
ขอบคุณรูปภาพจาก JWD Group

เดลิเวอรี่ จากทางรอดสู่ทางเลือก

ก่อนหน้านี้ธุรกิจร้านอาหารต่างๆ จำเป็นต้องปรับตัวอย่างกะทันหันเพื่อหาทางรอดจากวิกฤตโควิด ซึ่งวิธีการที่ทำให้ร้านอาหารต่างๆ สามารถที่จะอยู่ต่อไปได้ในระหว่างนั้นคือการนำร้านเข้าสู่แพลตฟอร์มส่งอาหารเพื่อให้ธุรกิจสามารถประคับประคองต่อไปได้ แต่หลังจากที่มีการคลายมาตรการล็อกดาวน์แล้ว หลังจากนี้เดลเวอรี่คือทางเลือก 

ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้บริหารจาก Penguin Eat Shabu มองว่าเดลิเวอรี่จะกลายเป็นทางเลือกใหม่สำหรับธุรกิจร้านอาหารในการสร้างหรือเพิ่มช่องทางการทำรายได้ให้มากขึ้น โดยใช้ต้นทุนน้อยลง กระจายความเสี่ยงได้มากขึ้น 

ข้อดีของการเข้าสู่ online platform และ food delivery ครบวงจร

ฐากูร ชาติสุทธิผล ผู้บริหารจาก FoodStory กล่าวว่า ข้อดีของการเข้าสู่ออนไลน์แพลตฟอร์มหรือแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่ จะช่วยให้ร้านสามารถลดต้นทุนและความเสี่ยงที่เกิดจากการขยายสาขาใหม่ที่ใช้เงินลงทุนเยอะแต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าจะมียอดขายที่ดี การส่งเดลิเวอรี่ช่วยให้ร้านอาหารสามารถสำรวจความต้องการในพื้นที่นั้นได้ก่อนว่ามีความต้องการมากแค่ไหน คุ้มค่าต่อการลงทุน หรือควรขยายร้านไปในรูปแบบใด 

นอกจากนี้การเข้าสู่ออนไลน์แพลตฟอร์มยังช่วยให้ร้านสามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ดีและเป็นระบบมากขึ้น จากการพัฒนาระบบหลังบ้านทำให้ร้านสามารถที่จะคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ food waste และอื่นๆ ได้ 

Grab Food แกร๊บฟู้ด
ภาพจาก Shutterstock

ประเภทของ Food Delivery

Food Delivery แบ่งเป็น 2 รูปแบบหลัก ซึ่งแบบที่แพร่หลายในประเทศไทย คือ

  • แบบ Ready to eat หรือการเดลิเวอรี่อาหารพร้อมทานที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ผ่านแอปพลิเคชั่นที่คนใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น  Line Man,Grab, Food Panda
  • อีกรูปแบบ คือ Ready to cook ซึ่งถือเป็นโอกาสสำหรับผู้ประกอบการในปัจจุบัน เพราะยังไม่ค่อยมีคนเข้ามาเล่นในตลาดนี้สักเท่าไหร่ เนื่องจากต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการเตรียมอาหาร และเตรียมอุปกรณ์เพิ่มเติมพอสมควร ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นอาหารประเภทเสต็ก ทางร้านอาหารอาจจะต้องย่างเนื้อเสต็กพอให้สุกสัก 70% หลังจากนั้นก็ใส่ไว้ในถุงสุญญากาศและเก็บในตู้แช่เย็น เพื่อคงความสดไว้สำหรับการเดลิเวอรี่ 

สัดส่วนออนไลน์และออฟไลน์ของธุรกิจร้านอาหารในอนาคต 

ฐากูร ชาติสุทธิผล ผู้บริหารจาก FoodStory ระบุว่า ในช่วงก่อนโควิด ร้านอาหารหลายๆ แห่งอาจจะแบ่งสัดส่วนการขายออฟไลน์ต่อออนไลน์เป็น 90:10 แต่เมื่อมีสถานการณ์โควิดเข้ามา หลายๆ ร้านต้องหันไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ในอนาคตสัดส่วนอาจจะเปลี่ยนเป็น 70:30 หรือมากถึง 50:50 ก็เป็นได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าด้วยว่าจะกลับมาแพร่ระบาดเป็นระลอกที่สองหรือไม่

ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ผู้บริหารจาก JWD กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาผู้ประกอบการร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 ได้ปรับตัวจากการขายหน้าร้านมาให้บริการแบบเดลิเวอรี่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะนำเสนอเซ็ตเมนูอาหารสดแบบสั่งซื้อล่วงหน้า เช่น นำเสนอเซ็ตชาบูพร้อมปรุงแบบเดลิเวอรี่ถึงบ้าน เพื่อให้ลูกค้าสั่งซื้อล่วงหน้าไปปรุงรับประทานเองที่บ้าน และในขณะเดียวกันร้านอาหารก็เปลี่ยนมาใช้ระบบบริหารจัดการร้านด้วยเทคโนโลยีฟู้ด แอปพลิเคชั่น เช่น การสั่งซื้อและบริหารสต๊อกวัตถุดิบมากขึ้นเช่นกัน

Penguin Eat Shabu
ขอบคุณรูปภาพจาก Penguin Eat Shabu

คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร

ผู้ประกอบการร้านอาหารในยุคนี้ควรทดลองใช้เทคโนโลยี และระบบจัดการหลังบ้านเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการร้านอาหาร เพราะอันที่จริงแล้วการลงทุนในส่วนนี้ไม่ได้ใช้งบประมาณสูงขนาดที่ผู้ประกอบการหลายๆ คนเข้าใจ และยังช่วยลดปัจจัยต่างๆ ที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำร้านอาหารอีกด้วย 

ธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้บริหารจาก Penguin Eat Shabu ยกตัวอย่างว่าค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ลงทุนไปกับเทคโนโลยีอาจจะน้อยกว่าค่าตัวของพนักงานหนึ่งคนเสียอีก” และ “การมีพาร์ทเนอร์ที่เป็นมืออาชีพ ไม่ว่าจะด้านเทคโนโลยีหรือลอจิสติกส์ จะทำให้ธุรกิจร้านอาหารของเราเติบโตได้อย่างยั่งยืนมากขึ้น” เพราะสามารถนำเวลาที่เหลือไปโฟกัสกับธุรกิจหลักของตนเองได้

สรุปจาก*
งานแถลงข่าวหัวข้อมองเทรนด์ธุรกิจอาหารและ Food Delivery กับการเปลี่ยนแปลงหลังคลายล็อกดาวน์” นำโดย คุณชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา ผู้บริหารจาก
JWD (บริการโลจิสติกส์ และบริหารจัดการซัพพลายเชนแบบครบวงจร) คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศรี ผู้บริหารจาก Penguin Eat Shabu (ร้านบุฟเฟ่ต์ชาบู) และคุณฐากูร ชาติสุทธิผล ผู้บริหารจาก FoodStory (ระบบจัดการร้านอาหาร) ไลฟ์สดผ่านทาง Facebook : JWD Group วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 10.00-11.30 น. 

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/food-delivery-thailand-jwd-food-story-penguin-eat-shabu/

เปิดกลยุทธ์ Penguin Eat Shabu จากร้านอาหาร สู่แพลตฟอร์มการตลาดที่จำหน่ายได้ทุกผลิตภัณฑ์

หลังประสบปัญหาใน COVID-19 ระยะหนึ่ง ปัจจุบัน Penguin Eat Shabu เริ่มปรับตัวกับสถานการณ์นี้ แถมเติบโตสวนทางกับธุรกิจอื่นๆ ที่สำคัญธุรกิจของ Penguin Eat Shabu จากนี้จะไม่ใช่แค่ธุรกิจอาหารอีกต่อไป

penguin eat shabu

หา และขจัดไขมันให้เร็วที่สุด

การระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศไทยเกิดขึ้นอย่างหนักในช่วงต้นปี 2563 ทำให้หลายธุรกิจเริ่มประสบปัญหา โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร เพราะผู้บริโภคไม่อยากออกมานอกบ้านเพื่อเผชิญกับโรคร้าย ซึ่ง Penguin Eat Shabu ก็ได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน

ธนพันธ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu เล่าให้ฟังว่า ช่วงเดือนก.พ. ยอดขายเริ่มลดลง แต่ไม่ได้กระทบมากนัก แต่เมื่อเข้าเดือนมี.ย. ยอดขายเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด ทำให้บริษัทตัดสินใจตรวจสอบบัญชีอย่างละเอียด เพื่อหาจุดที่เป็นไขมันของธุรกิจให้ได้

penguin eat shabu
ธนพันธ์ วงศ์ชินศรี ผู้ร่วมก่อตั้ง Penguin Eat Shabu

“จริงๆ แล้วเราปิดสาขาแรกในปลายเดือนก.พ. ที่สีลม และพอมาตรวจสอบไขมันธุรกิจ ก็พบว่าสาขาสยามน่าจะเป็นที่ถัดไป แม้มันจะยังทำกำไรอยู่บ้าง แต่ค่าใช้จ่ายของสาขานี้ค่อนข้างสูง ซึ่งสุดท้ายแล้วเราก็ปิดมันในกลางเดือนมี.ค. ประกอบกับช่วงนั้นเราจะเริ่มทำเดลิเวอรี่ และพบว่าสาขาระแวกนั้นไม่ค่อยมีใครสั่งเท่าไร มันก็ยิ่งตอบโจทย์”

โชคดีที่ทำทุกอย่างก่อน 1 วัน

การปิดสาขาสยามเกิดขึ้นในวันที่ 20 มี.ค. ประกอบกับ Penguin Eat Shabu ตัดสินใจ Downsize องค์กรลง 50% ทั้งในแง่พนักงาน และสาขาที่เปิดให้บริการ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนรัฐบาลประเทศไทยประกาศ Lock Down เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดของโรค COVID-19

penguin eat shabu

“เราแบ่งพนักงานเป็นครึ่งหนึ่งให้ Leave Without Pay และอีกครึ่งหนึ่งเปลี่ยนจากพนักงานเงินเดือน เป็นพนักงานรายวัน เพื่อให้ธุรกิจคล่องตัวที่สุด พร้อมให้การันตีให้ปัจจัย 4 กับพนักงานเป็นเวลา 4 เดือนหลังจากเกิดเหตุการณ์นี้ ทำให้พวกเขาเชื่อใจ และพร้อมจะสู้ได้กับเรา”

ทั้งนี้การปรับตัวอย่างรวดเร็วทำให้บริษัทสามารถสร้างสรรค์แผนการตลาดใหม่ๆ และฟื้นฟูธุรกิจกลับมาได้ประมาณหนึ่ง ทำให้พนักงานที่ถูก Leave Without Pay นานที่สุดก็กินเวลาเพียง 8 วันเท่านั้น ทำให้ในเดือนเม.ย. พนักงาน 100% ที่ยังอยู่ในประเทศไทย สามารถกลับมาทำงานกับบริษัทได้ทั้งหมด

โมเดลธุรกิจใหม่ที่ใช้เวลาคิดเพียง 2 วัน

“ต้องเรียกว่าพนักงานของเราแทบไม่ได้พัก แต่ที่ทำแบบนี้ได้ก็เพราะเราตั้งใจคิดแผนธุรกิจที่ช่วยฟื้นฟูกิจการได้ นั่นคือการเดลิเวอรี่ ซึ่ง Penguin Eat Shabu ทำเองทั้งหมด เพราะเราไม่ได้เป็นพาร์ทเนอร์กับแอปพลิเคชั่นใดๆ ยิ่งความกดดันที่จากเรามียอดขายวันละหลายแสนบาท เหลือแค่ 500 บาท มันก็ยิ่งทำให้เราต้องรีบ”

สำหรับการทำเดลิเวอรี่ในช่วง COVID-19 ของ Penguin Eat Shabu นั้นเริ่มต้นจากการโพสต์รูปเมนูพิเศษบน Facebook ของร้าน โดยเมนูเหล่านั้นราคา 350 บาท และใชะระบบจ่ายเงินผ่าน Messenger ของ Facebook ทั้งหมด คิดค่าใช่จ่ายในการขนส่งเพียง 20 บาท แม้แทบไม่มีกำไร แต่ก็ยังได้เงินสดกลับมาไว้ในมือ

“เราอยากให้พนักงานของเรามีอะไรทำก่อน แต่สุดท้ายมันก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก แม้เมนูหลายร้อยออร์เดอร์จะหมดอย่างรวดเร็ว เพราะระบบหลังบ้านเราไม่ดี โอนเงินแล้วไม่ได้ของ หรือส่งสินค้าไปแล้วของเสีย ทำให้เราต้องกลับมานับหนึ่งใหม่อีกรอบ ซึ่งคราวนี้มันกลายเป็นการพลิกธุรกิจร้านชาบู”

ชาบูแถมหม้อที่เจ้าใหญ่ยังต้องเลียนแบบ

ด้วยเวลานั้นบริษัทได้ไปเจอกับบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ผลิตหม้อต้มไปจำหน่ายให้กับ Modern Trade แต่ถูกปฏิเสธ จึงตัดสินใจลองทำตลาดเดลิเวอรี่อีกรอบ ผ่านการทำแคมเปญชาบูแถมหม้อ ซึ่งช่วงแรกระบบหลังบ้านยังมีปัญหาเหมือนเดิม จน Penguin Eat Shabu ต้องแก้ไขผ่านการร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Event Pop

“ทางนั้นเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญการขายตั๋วคอนเสิร์ต ซึ่งน่าจะมีระบบหลังบ้านที่รองรับคนจำนวนมากได้ดีกว่าที่เรามีอยู่ และจุดนั้นเองทำให้เราก้าวกระโดด ผ่านการจำหน่ายหม้อไปแล้วกว่า 5,000 ใบเฉพาะในกทม. และเป็นที่มาของแคมเปญอื่นๆ ทั้งแถม Tinder, ความสวยความงาม และอื่นๆ เพราะช่วงน้้นมีร้านอาหารแบรนด์ใหญ่เริ่มทำแบบเรา”

ทั้งนี้การประยุกต์ของ Penguin Eat Shabu นั้นอ้างอิงจากแฟนเพจบน Facebook ที่ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ประกอบกับข้อมูลลูกค้าของพาร์ทเนอร์ต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์กลยุทธ์ในการจำหน่ายสินค้าได้หลากหลาย และในอนาคตจะตัว Penguin Shabu จะไม่ใช่แค่ร้าน Shabu แต่คือแพลตฟอร์มการตลาดที่จำหน่ายได้ทุกผลิตภัณฑ์

ดาต้าคืออีกหัวใจถ้ามาประยุกต์ใช้ได้

“้เราบอกตัวเองมาตลอดว่า ถ้าทำได้แค่ร้านชาบู เราก็จะเป็นได้แค่ร้านชาบู แต่ถ้าเราเป็นอะไรได้มากกว่านั้น โอกาสการเติบโตมันก็ไม่สิ้นสุด และเมื่อเรามาดูแฟนเพจบน Facebook ของเราที่มีกว่า 5 แสนคนเป็นผู้หญิงวัยรุ่น ดังนั้นเราน่าจะกำหนดเป้าหมายว่า สินค้าอะไรบ้างที่เหมาะสมกับลูกค้าหลักของเราได้”

ในทางกลับกัน Penguin Eat Shabu อยู่ระหว่างทำระบบชำระเงินที่เชื่อมต่อกับระบบขนส่งในต่างจังหวัด เพื่อให้ผู้บริโภคในต่างจังหวัดที่มีความต้องการสั่งซื้อชุดเดลิเวอรี่ของบริษัทสามารถสั่งซื้อได้ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัทสูญเสียโอกาสไปจำนวนมาก เพราะส่งได้แค่ในกทม.

penguin eat shabu

นอกจากเรื่องแพลตฟอร์มธุรกิจแล้ว Penguin Eat Shabu ยังเป็นอีกตัวอย่างที่ดีในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารในร้าน เพราะได้วางตำแหน่งฉากกั้นเป็นรูปคล้ายตัว Z จนลูกค้าสามารถรับประทานอาหารได้อย่างสะดวก จนกลายเป็นกรณีศึกษาในต่างประเทศด้วย

ติดตามข่าวสารจาก Brand Inside ได้จาก Facebook ของเรา

from:https://brandinside.asia/penguin-platform-marketing/