คลังเก็บป้ายกำกับ: LAVASOFT

ผลทดสอบ Malware Removal Test โดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบการคลีนมัลแวร์ (Malware Removal Test) ประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย 16 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

ทดสอบการคลีนมัลแวร์

การทดสอบ Malware Removal Test นี้ ทำขึ้นเพื่อตรวจสอบว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสต่างๆสามารถทำการกำจัดไวรัส โทรจัน สปายแวร์ และอื่นๆออกจากเครื่องที่ติดมัลแวร์เหล่านั้นได้ดีเพียงใด โดยสนใจเฉพาะศักยภาพในการจัดการมัลแวร์ที่อยู่ภายในเครื่องและทำความสะอาดไฟล์เท่านั้น ไม่ได้สนใจถึงอัตราการตรวจจับหรือป้องกัน (ดูผลทดสอบการป้องกันได้ที่ Real-world Protection Test 2015)

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

  • Avast Free Antivirus
  • AVG Internet Security
  • AVIRA Antivirus Pro
  • Bitdefender Internet Security
  • BullGuard Internet Security
  • Emsisoft Anti-Malware
  • eScan Internet Security
  • ESET Smart Security
  • F-Secure Internet Security
  • Fortinet FortiClient
  • Kaspersky Internet Security
  • Lavasoft Ad-ware Free Antivirus+
  • Microsoft Windows Defender
  • Panda Free Antivirus
  • Sophos Endpoint Security
  • ThreatTrack Vipre Internet Security

เตรียมพร้อมก่อนการทดสอบ

  • ทดสอบบนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 64-Bit
  • ทดสอบเป็นระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่ มีนาคม – กันยายน 2015
  • ใช้มัลแวร์ที่ทุกผลิตภัณฑ์สามารถตรวจจับได้จำนวน 35 รายการ โดยเป็นมัลแวร์ชื่อดังที่มีการแพร่กระจายและสร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้จริง แต่ไม่ทำอันตรายระบบระบบไฟล์หรือฮาร์ดแวร์ กล่าวคือ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสควรแก้ปัญหาได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ใหม่

av-comp_malware_removal_1

ขั้นตอนการทดสอบ

  1. แพร่มัลแวร์ใส่เครื่องที่ทดสอบทีละรายการ รีบูทเครื่องเพื่อให้มั่นใจว่ามัลแวร์ทำงานแน่นอน
  2. ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และอัพเดทฐานข้อมูลล่าสุด ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสไม่ได้ จะติดตั้งผ่าน Safe Mode หรือใช้วิธีตรวจสอบผ่านทาง Rescue Disk แทน
  3. กำจัดมัลแวร์และทำความสะอาดไฟล์โดยใช้วิธีรัน Full System Scan และทำตามคำแนะนำของโปรแกรมแอนตี้ไวรัส
  4. รีสตาร์ทเครื่องหลังกำจัดมัลแวร์เรียบร้อย จากนั้นตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้

การให้คะแนน

พิจารณาการให้คะแนนจากคุณสมบัติ 2 อย่าง คือ ความสามารถในการกำจัดมัลแวร์และทำความสะอาดไฟล์ และความง่ายในการใช้

ความสามารถในการกำจัดมัลแวร์และทำความสะอาดไฟล์

A: กำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ มีเพียงไฟล์ไร้สาระเหลือทิ้งไว้
B: กำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังคงมี Executable File หรือการเปลี่ยนแปลงบน MBR/Registry หลงเหลืออยู่
C: กำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังคงหลงเหลือปัญหาทิ้งไว้ เช่น ข้อความแจ้งเตือน, ไฟล์มีปัญหา, ใช้ Task Manager ไม่ได้, แก้ไขการตั้งค่า Folder ไมไ่ด้, แก้ไข Registry ไม่ได้ และอื่นๆ
D: ไม่สามารถกำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ หรือผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ไม่สามารถใช้งาน Windows ตามปกติได้อีกต่อไป

ความง่ายในการใช้

A: จัดการมัลแวร์ได้ในโหมดการใช้งานปกติ
B: จัดการมัลแวร์ได้ผ่านทาง Safe Mode หรือผ่านทาง Utility อื่นๆ
C: จัดการมัลแวร์ได้ผ่านทาง Rescue Disk
D: จัดการมัลแวร์ได้ผ่านทางการติดต่อทีม Support หรือไม่สามารถกำจัดมัลแวร์ได้

av-comp_malware_removal_2

ผลลัพธ์การทดสอบ

  • ผลิตภัณฑ์จาก Kaspersky Lab ให้ผลลัพธ์โดยเฉลี่ยสูงที่สุด คิดเป็น 93 คะแนน ตามมาด้วย Avast! และ Bitdefender ที่ได้ 89 คะแนนเท่ากัน
  • ระบบป้องกันภัยพื้นฐานของ Microsoft ได้คะแนนสูงถึง 84 คะแนน เหนือกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆกว่า 10 รายการ นับว่า Microsoft ออกมาระบบความปลอดภัยเพื่อรับมือกับการติดมัลแวร์ได้ค่อนข้างดี

av-comp_malware_removal_3

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์

av-comp_malware_removal_4

อ่านรายงานการทดสอบฉบับเต็มได้ที่: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/10/avc_rem_2015_en.pdf

from:https://www.techtalkthai.com/malware-removal-test-2015-by-av-comparatives/

ผลการทดสอบ Anti-Phishing ประจำปี 2015 โดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives องค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบซอฟต์แวร์สำหรับป้องกันการโจมตีแบบ Phishing ประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 10 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

Phishing คืออะไร

Phishing คือ เทคนิคการหลอกลวงบนอินเตอร์เน็ตเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆผ่านทางการส่งข้อความผ่านอีเมลล์หรือโปรแกรมแชท พร้อมทั้งแนบลิงค์ URL เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กดเข้าไป เช่น ระบุว่าตนเองเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ หรือกรอกข้อมูลใหม่ผ่านทาง URL ดังกล่าว แต่ที่จริงแล้วเป็น URL ปลอมหน้าตาคล้ายคลึงของจริงที่แอบหลอกดักข้อมูลของผู้ใช้

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

มีทั้งหมด 10 เจ้าที่มีฟีเจอร์การป้องกัน Phishing ได้แก่

av_comparatives_anti-phishing_2015_1

วิธีการทดสอบ

  • ทดสอบบนระบบปฏิบัติการ Windows 7 Professional 64 bits และ Internet Explorer 11 ซึ่งไม่มีการเปิดใช้ฟีเจอร์บล็อก Phishing ที่ติดตั้งมาให้บนเบราเซอร์
  • ทุกผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ ใช้การตั้งค่าดั้งเดิมจากโรงงาน (Default)
  • ทดสอบ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2015
  • เว็บไซต์ Phishing ที่ใช้ทดสอบเป็นเว็บที่มีอยู่จริง และหลอกผู้ใช้ให้กรอกข้อมูลจริงๆ เช่น เว็บที่หลอกถามข้อมูลล็อกอิน, บัตรเครดิต, Paypal, ข้อมูลธนาคาร, โซเชียลเน็ตเวิร์ค, เกม และอื่นๆ รวมทั้งหมด 245 เว็บไซต์

ผลการทดสอบ

เรียงลำดับตามเปอร์เซ็นที่ผลิตภัณฑ์สามารถบล็อกเว็บไซต์ Phishing ได้

  1. Kaspersky Lab – 98%
  2. Fortinet – 92%
  3. Bitdefender และ Trend Micro – 91%
  4. ESET – 90%
  5. BullGuard และ F-Secure – 84%
  6. Emsisoft และ Lavasoft – 71%
  7. Baidu – 52%

av_comparatives_anti-phishing_2015_3

ผลการทดสอบ False Alarm

False Alarm หรือการแจ้งเตือนผิดพลาดเนื่องจากระบุว่าเว็บไซต์ปกติเป็นเว็บไซต์ Phishing โดยทำการทดสอบกับเว็บไซต์ธนาคารกว่า 500 เว็บทั่วโลก (ทั้งหมดเป็น HTTPS และมีช่องสำหรับล็อกอิน) พบว่ามีเพียง F-Secure เท่านั้นที่มีการตรวจจับผิดพลาดทั้งหมด 1 ครั้ง

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์

av_comparatives_anti-phishing_2015_4

* F-Secure ถูกลดระดับ 1 ขั้น เนื่องจากมี False Alarm

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/08/avc_phi_201508_en.pdf

from:https://www.techtalkthai.com/anti-phishing-test-2015-by-av-comparatives/

ผลทดสอบ Real-world Protection ประจำปี 2015 โดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามแบบ Real-world ประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยกว่า 20 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

av-comparatives_real_world_test_2015_1

เตรียมพร้อมก่อนการทดสอบ

  • คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทดสอบติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 Home Premium SP1 64-Bit โดยอัพเดทล่าสุดคือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2015
  • มีการติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป เช่น Adobe Reader, Flash, QuickTime, IE, MS Office, Java, VLC เป็นต้น ซึ่งทุกโปรแกรมเป็นเวอร์ชันล่าสุด และมีการอัพเดทแพทช์ล่าสุดเช่นเดียวกัน
  • ทดสอบเป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ มีนาคม ถึง มิถุนายน 2015

วิธีการทดสอบ

  • ทดสอบการตรวจจับภัยคุกคาม มัลแวร์ ทั้งแบบ Signature-based และ Heuristic-based รวมถึงป้องกัน Infection โดยไม่จำกัดวิธีการตรวจสอบ เสมือนกับใช้งานในสภาวะแวดล้อมจริง
  • ตรวจจับภัยคุกคามที่มาจากอินเตอร์เน็ต เครือข่ายภายใน (LAN) และผ่านทางแฟลชไดรฟ์
  • ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบใช้การตั้งค่าแบบ Default จากโรงงาน
  • ก่อนการทดสอบในแต่ละวัน จะทำการอัพเดทฐานข้อมูลและโปรแกรมแอนตี้ไวรัสให้ใหม่ล่าสุดเสมอ
  • ทุกสิ้นเดือน จะมีการสรุปผลร่วมกับเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อรับทราบข้อจำกัดหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นขณะทดสอบ
  • ทดสอบเหตุการณ์หลายรูปแบบ เช่น ดาวน์โหลดมัลแวร์จากเว็บไซต์ กดลิงค์ที่เป็น Phishing ติดตั้งโปรแกรมที่แฝงโทรจัน เป็นต้น รวมทั้งมีการโจมตีเครื่อง
  • ทดสอบด้วยภัยคุกคามที่แฮ็คเกอร์นิยมใช้ในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้ง 1,895 เคส

ผลการทดสอบ

* คลิ๊กที่รูปเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

av-comparatives_real_world_test_2015_2

แท่งสีเขียว คือ เปอร์เซ็นที่ป้องกันภัยคุกคามได้
แท่งสีเหลือง คือ เปอร์เซ็นที่ต้องอาศัยการยืนยันจากผู้ใช้จึงจะป้องกันภัยคุกคามได้
แท่งสีแดง คือ เปอร์เซ็นที่ไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้
กราฟสีเหลือง แสดงจำนวน False Positive
เส้นประสีขาว คือ เปอร์เซ็นที่ป้องกันภัยคุกคามได้โดยใช้ Microsoft Security Essential

สรุปผลการทดสอบการป้องกันภัยคุกคาม

สรุปผลการทดสอบตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน รวมทั้งสิ้น 1,895 เคส เรียงลำดับ

av-comparatives_real_world_test_2015_3

สรุปผลการทดสอบการเกิด False Positive

av-comparatives_real_world_test_2015_4

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์

av-comparatives_real_world_test_2015_5

* คือ ถูกลดระดับ 1 ขั้นเนื่องจากมี False Positive ที่ค่อนข้างสูง

สรุปแล้ว มี 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Panda, Bitdefender, Avira, Emsisoft, Kaspersky Labs, Qihoo, ESET และ Fortinet ที่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้มากกว่า 98% และมี False Positive ต่ำ (หรือไม่มีเลย) จึงได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ระดับ Advanced+ ในขณะที่ Ahnlab และ ThreatTrack VIPRE มีผลการทดสอบที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร คือ ได้คะแนนต่ำกว่าการใช้งาน Microsoft Security Essenti ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Windows 7

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: Whole Product Dynamic “Real-World” Protection Test – (March – June 2015)

from:https://www.techtalkthai.com/real-world-protection-test-mar-jun-2015/

ผลการทดสอบ Performance Test ของซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยโดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives องค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์กว่า 20 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

** ผลการทดสอบ Performance Test นี้เป็นการทดสอบผลกระทบของผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง ไม่ได้ทดสอบความสามารถในการตรวจจับและป้องกันมัลแวร์แต่อย่างใด **

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

av-comparative_performance_2015_1

เตรียมพร้อมก่อนการทดสอบ

  • ซอฟต์แวร์ทั้งหมดทดสอบบนคอมพิวเตอร์ HP 350 G1 ซึ่งใช้หน่วยประมวลผลแบบ Intel Core i5-4210U หน่วยความจำ 4GB และฮาร์ดดิสก์แบบ SATA II ซึ่งติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 64 bits
  • ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่ติดตั้ง ใช้การตั้งค่าดั้งเดิมจากโรงงาน (Default Settings)
  • มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อการใช้บริการออนไลน์และระบบคลาวด์
  • วัดผลการทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบประสิทธิภาพของ PC Mark 8 Professional

วิธีการทดสอบ

ทดสอบผลกระทบต่อประสิทธิภาพจำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย

  • คัดลอกไฟล์: ทำการคัดลอกไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่ง ไปยังอีกลูกหนึ่ง
  • บีบอัดและคลายการบีบอัดข้อมูล: ทำการบีบอัดข้อมูลหลายประเภทที่ใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  • ติดตั้งและยกเลิกการติดตั้งซอฟต์แวร์: ตรวจสอบความเร็วในการติดตั้งซอฟต์แวร์ยอดนิยมที่ใช้งานทั่วไป
  • เปิดใช้งานแอพพลิเคชัน: ตรวจสอบความเร็วในการเปิดใช้แอพพลิเคชัน เช่น Microsoft Office และ PDF Reader
  • ดาวน์โหลดไฟล์: ทดสอบความเร็วในการดาวน์โหลดไฟล์จาก Local Server

ผลการทดสอบโดย AV-Comparatives

av-comparative_performance_2015_2
* คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

 

 

ผลการทดสอบโดย PC Mark 8 Professional

av-comparative_performance_2015_3

หมายเหตุ No security software คือ คอมพิวเตอร์ที่ไม่มีซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยติดตั้งอยู่ ถูกใช้เพื่อเป็นฐานการเปรียบเทียบ

สรุปผลการทดสอบ

เป็นการนำคะแนนผลการทดสอบทั้ง 2 แบบมารวมกัน โดยผลการทดสอบของ AV-Comparatives จะคิดคะแนนดังนี้ “Very fast” ได้ 15 คะแนน รองลงมา คือ “fast” ได้ 10 คะแนน และ “mediocre” ได้ 5 คะแนน

av-comparative_performance_2015_4

* กราฟยิ่งต่ำ คือ กระทบต่อประสิทธิภาพของระบบน้อย คือ ยิ่งดี

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์โดย AV-Comparatives

av-comparative_performance_2015_5

รายงานผลการทดสอบฉบับเต็ม: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/07/avc_per_201505_en.pdf

ผลการทดสอบอื่นๆสามารถดาวน์โหลดรายงานมาอ่านฟรีที่เว็บไซต์ http://www.av-comparatives.org/

from:https://www.techtalkthai.com/performance-test-report-2015-by-av-comparatives/