คลังเก็บป้ายกำกับ: INTERNET_OF_THINGS_PLATFORM

Gartner เผยสิบอันดับเทคโนโลยี Internet of Things ประจำปี 2017 และ 2018

Gartner ได้ออกมาสรุปถึงเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ด้วยกัน 10 เทคโนโลยีที่จะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างแก่อุตสาหกรรมต่างๆ ทั่วโลกในอีก 2 ปีข้างหน้า ซึ่งทางทีมงาน TechTalkThai ก็ขอสรุปเอาไว้ดังนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

1. ระบบรักษาความปลอดภัยสำหรับ IoT (IoT Security)

แง่มุมใหม่ๆ ในการโจมตีอุปกรณ์ IoT นั้นเกิดขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีในเชิงข้อมูลหรือตัวอุปกรณ์จริงๆ โดยตรงก็ตาม ซึ่งรวมถึงการปลอมแปลงตัวตนเป็นอุปกรณ์, การทำ DoS เพื่อทำให้แหล่งพลังงานหมดลง รวมถึงระบบปฏิบัติการของอุปกรณ์ IoT ที่ไม่สามารถรักษาความปลอดภัยแบบซับซ้อนได้

เทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยสำหรับ IoT จึงเป็นสิ่งที่ต้องคิดใหม่กันอีกเยอะพอสมควรทีเดียว

2. ระบบวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับ IoT (IoT Analytics)

ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่จะมีความหลากหลายมากยิ่งขึ้นแต่ก่อนกำลังจะเกิดขึ้นจากการมาของ IoT ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมลูกค้า, การนำเสนอบริการใหม่ๆ, การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ อีกมากมายเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเครื่องมือและอัลกอริธึมใหม่ๆ ในการประมวลผลจึงต้องเกิดขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ใหม่ๆ เหล่านี้ และข้อมูลที่มีการเพิ่มเติมขึ้นมาให้ได้

3. ระบบบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT

การตรวจสอบการทำงานและการบริหารจัดการอุปกรณ์ IoT ที่รวมถึงการจัดการ Firmware, การอัพเดต Software, การวิเคราะห์ปัญหา และการจัดการด้านความปลอดภัยนั้นจะเป็นปัญหาอีกระดับที่ทุกๆ องค์กรที่ใช้ IoT ต้องเจอ และสิ่งที่จะทำให้ปัญหานี้กลายเป็นเรื่องยากก็คือจำนวนและความหลากหลายของอุปกรณ์ IoT นั่นเอง

4. ระบบเครือข่ายพลังงานต่ำระยะสั้น

ด้วยการติดต่อสื่อสารจำนวนมหาศาลที่จะเกิดขึ้นจาก Sensor และอุปกรณ์ IoT ต่างๆ นั้น การเชื่อมต่อระยะใกล้ที่ใช้พลังงานต่ำก็เป็นเทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการใช้งาน IoT ภายในอาคารให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ระบบเครือข่าย WAN พลังงานต่ำ

เทคโนโลยีเครือข่าย Cellular นั้นยังไม่สามารถตอบโจทย์ของการเชื่อมต่อ IoT ในระยะไกลได้ดีทั้งในแง่ของพลังงานและค่าใช้จ่าย เทคโนโลยีใหม่จึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นมาเพื่อให้การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ระยะไกลเป็นจริงขึ้นมาได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่คุ้มค่าเหมาะสม

6. อุปกรณ์ประมวลผลสำหรับ IoT (IoT Processor)

อุปกรณ์ประมวลผลสำหรับ IoT นั้นจะต้องรองรับต่อการรักษาความปลอดภัย, การเข้ารหัส, ใช้พลังงานต่ำ และรองรับการทำงานอื่นๆ ของระบบปฏิบัติการและการอัพเดตต่างๆ ที่จำเป็นได้อย่างครบถ้วน ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ที่ยากและต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหากันต่อไป

7. ระบบปฏิบัติการสำหรับ IoT

ระบบปฏิบัติการที่กินพลังงานต่ำ, ทำงานได้อย่างปลอดภัย, ใช้ทรัพยากรการประมวลผลน้อย และใช้หน่วยความจำน้อย จะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่ออุปกรณ์ IoT ต่อไปอีกยาวนาน และการพัฒนาต่อยอดให้รองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน

8. เทคโนโลยีการประมวลผล Event Stream

สำหรับระบบ IoT ที่มีการสร้างและส่งข้อมูลแบบ Real-time นั้น การจัดการข้อมูลทั้งหมดแบบ Real-time นี้ต้องอาศัยหลายปัจจัยในการประมวลผลให้มีประสิทธิภาพ หนึ่งในนั้นคือแนวคิดของการทำ Distributed Stream Computing Platforms (DSCPs) ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ Parallel เพื่อประมวลผลข้อมูล Stream จำนวนมากเพื่อทำ Real-time Analytics หรือ Pattern Identification ได้

9. IoT Platforms

Platform ที่รวมเอาสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการทำ IoT เอาไว้ภายในระบบเดียวนี้จะถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มย่อย ได้แก่ 1) ระบบควบคุมการติดต่อสื่อสารและการทำงานในระดับ Hardware ของ IoT, 2) ระบบรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลจาก IoT, 3) ระบบพัฒนา Application เพื่อรับข้อมูลมาวิเคราะห์และแสดงผล ซึ่งทั้ง 3 Platform นี้ต่างก็จำเป็นเพื่อผลักดันให้การนำ IoT ไปใช้ในระดับองค์กรหรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ IoT ใหม่ๆ เป็นไปได้ง่ายดายยิ่งขึ้น

10. มาตรฐานสำหรับ IoT และระบบนิเวศน์สำหรับระบบ IoT

มาตรฐานและ API จะกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ IoT ในการทำให้ระบบ IoT จากหลายๆ ผู้ผลิตทำงานร่วมกันได้ ในขณะที่ระบบนิเวศน์สำหรับ IoT เช่นตลาดต่างๆ นั้นก็จะทำให้วงการ IoT เติบโตต่อไปได้อย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตนั่นเอง

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3221818 

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-top-ten-iot-technologies-for-2017-2018/

Gartner เผย 10 แนวโน้มเทคโนโลยีสำหรับปี 2016

เป็นแนวโน้มที่ Gartner ได้ออกมาประกาศทุกปี และทางทีมงาน TechTalkThai ก็เห็นว่ามีความน่าสนใจสำหรับผู้อ่าน จึงขอหยิบยกมาสรุปให้ได้อ่านกันที่นี้ โดยในปีนี้ Gartner จะให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ทำให้ธุรกิจค่อยๆ ตอบโจทย์ของ Digital Business ได้สำเร็จภายในปี 2020 ได้เป็นหลัก และถือเป็นอีกการทำนายแนวโน้มที่มีเทคโนโลยีค่อนข้างหลากหลาย ดังต่อไปนี้ครับ

Credit: ShutterStock.com
Credit: ShutterStock.com

 

1. The Device Mesh

เป็นแนวโน้มที่ต่อยอดไปอีกจาก Internet of Things โดยประเด็นแรกคือการที่ผู้ใช้งานแต่ละคนจะมีการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Mobile Device, Wearable, เครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน, อุปกรณ์บนรถยนต์ และอุปกรณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คือ Sensors ในระบบ Internet of Things นั่นเอง

นอกจากนี้ระบบ Back-end สำหรับ Internet of Things ที่ปัจจุบันยังมีการแยกขาดจากกันสำหรับแต่ละผู้ผลิตนั้น ทาง Gartner ก็ได้ทำนายไว้ว่า Device Mesh จะทำให้ระบบ Internet of Things ต่างๆ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้อีกด้วย

 

2. Ambient User Experience

Device Mesh จะเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้าง Ambient User Experience โดยการนำเสนอ User Experience นั้นจะไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ตอนที่ผู้ใช้งานกำลัง Interact กับผลิตภัณฑ์ของผู้ผลิตเป็นรายๆ อีกต่อไป แต่ผู้ผลิตจะต้องมุ่งเน้นการนำเสนอประสบการณ์ใหม่ๆ ในการที่ผู้ใช้งานจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยประกอบขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์ Internet of Things ที่หลากหลายให้กลายเป็นประสบการณ์เพียงหนึ่งเดียว โดยประเด็นนี้จะเป็นตัวสร้างความแตกต่างหลักๆ สำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แต่ละราย และการพัฒนาซอฟต์แวร์ในระดับองค์กร ซึ่งการออกแบบ Mobile Application ก็จะยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับองค์กร และอาจมีบางส่วนที่ Augmented Reality หรือ Virtual Reality มีความสำคัญเป็นอย่างมาก

 

3. วัตถุดิบสำหรับ 3D Printing

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 3D Printing นั้นได้ก้าวไปถึงการพัฒนาวัตถุดิบสำหรับใช้พิมพ์ที่หลากหลายขึ้นเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นวัตถุดิบสำหรับใช้พิมพ์ที่ทำจาก Advanced Nickel Alloy, Carbon Fiber, แก้ว, Conductive Ink, อุปกรณ์ไฟฟ้า, ยา หรือแม้แต่วัตถุทางชีวภาพ ซึ่งการพัฒนาเหล่านี้ก็จะทำให้สามารถสร้างความต้องการใหม่ๆ เพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง และเติมเต็มความต้องการในอุตสาหกรรมใหม่ๆ ทั้งอุตสาหกรรมการบินและอวกาศ, เภสัชศาสตร์, รถยนตร์และยานพาหนะ, พลังงาน และการทหาร และทำให้การเติบโตของอุปกรณ์ 3D Printer สำหรับองค์กรนั้นเติบโตขึ้นถึง 64.1% ต่อปีไปจนถึงปี 2019 และจะยังคงเป็นธุรกิจที่เติบโตต่อเนื่องไปอีกถึง 20 ปีนับจากวันนี้

 

4. Information of Everything

เป็นก้าวที่พัฒนาต่อจาก Internet of Things และ Big Data Analytics ที่ในอนาคตเมื่ออุปกรณ์ทุกอย่างหรือการใช้ชีวิตของมนุษย์นั้นได้ทำการสร้างข้อมูลขึ้นมาอยู่ตลอดเวลาไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกอยู่แยกกันเหล่านี้ก็จะถูกนำมาผสานรวมกันเพื่อค้นหาความหมายหรือความรู้ต่างๆ จากข้อมูลเหล่านี้

 

5. Advanced Machine Learning

การทำ Machine Learning จะเติบโตก้าวหน้าต่อไปด้วยการทำ Deep Neural Nets (DNNs) ที่พัฒนาไปถึงขั้นกลายเป็นระบบที่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้ได้ด้วยตัวเอง และมาทดแทนการจำแนกและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันโดยอัตโนมัติ และทำให้ Hardware หรือ Software ต่างๆ ในอนาคตสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ใน Environment ที่ติดตั้งใช้งานอยู่ได้อย่างครอบคลุม และจะกลายเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่องค์กรใช้เสริมขีดความสามารถในการแข่งขันได้

 

6. ผู้ช่วยและสิ่งของที่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบได้

ต่อเนื่องจากการพัฒนาของระบบ Machine Learning ก็จะทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มีความชาญฉลาด ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์, ยานยนตร์อัตโนมัติ, ผู้ช่วยส่วนตัว (Virtual Personal Assistant/VPA) และผู้ให้คำแนะนำที่สามารถทำงานได้เองและโต้ตอบกันได้ ซึ่งระบบผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Google Now, Microsoft Cortana หรือ Apple Siri นั้นก็จะมีความชาญฉลาดมากขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของระบบเหล่านี้ และการโต้ตอบกันได้ในลักษณะนี้ก็จะกลายเป็น User Interface หลักของการทำ Ambient User Interface และทำให้การพูดมาแทนการกดปุ่มต่างๆ ทางหน้าจอได้ และเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อเนื่องยาวนานไปอึกถึง 20 ปี

 

7. Adaptive Security Architecture

การเติบโตของโลกที่ระบบ IT มีความซับซ้อนสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการสร้างรายได้จากการ Hack ได้อย่างเป็นรูปเป็นร่างนั้น ทำให้ภัยคุกคามที่มีต่อองค์กรนั้นเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ระบบรักษาความปลอดภัยโดยการกำหนดกฎในแบบเดิมๆ นั้นใช้ไม่ได้อีกแล้ว และการที่องค์กรมีการสร้างบริการบน Cloud หรือ API เพื่อเชื่อมต่อกับพาร์ทเนอร์หรือลูกค้านั้นก็จะมีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีมากขึ้น ซึ่งผู้นำทางด้านระบบ IT ขององค์กรก็ต้องคอยตรวจสอบและตอบโต้ภัยต่างๆ ในขณะที่ก็ยังคงละทิ้งการป้องกันภัยแบบเดิมๆ ไปไม่ได้ ระบบ Application ที่ป้องกันตัวเองได้ และระบบวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่มาเติมเต็มสถาปัตยกรรมแบบ Adaptive Security Architecture

 

8. Advanced System Architecture

เพื่อตอบรับการมาของ Device Mesh และ Advanced Machine Learning รวมถึงอุปกรณ์ที่สามารถเรียนรู้และโต้ตอบได้ Advanced System Architecture จะเป็นสถาปัตยกรรมที่มาตอบโจทย์ความต้องการพลังในการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าต่อพลังงานสูง โดย FPGA จะกลายเป็นเทคโนโลยีหลักสำหรับการสร้างสถาปัตยกรรมการประมวลผลในรูปแบบเดียวกับสมองมนุษย์นี้ และมีความเร็วมากกว่า 1 Teraflops ได้โดยใช้พลังงานได้อย่างคุ้มค่า ทำให้ในอนาคตอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ Internet of Things เองก็จะมีความสามารถในการทำ Machine Learning ได้ด้วย ในขณะที่ GPU ก็ยังคงเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทอยู่

 

9. Mesh App และ Service Architecture

ด้วยการมาของ Internet of Things และ Mobile ที่ต้องการใช้ Back-end ที่มีประสิทธิภาพสูงและยืดหยุ่น สถาปัตยกรรมแบบ 3-tier จะค่อยๆ กลายเป็นสถาปัตยกรรมแบบ App & Service Architecture แทน ด้วยบริการ Software-defined Application นี้ก็จะทำให้องค์กรต่างๆ สามารถใช้งานระบบที่มีประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และความรวดเร็วได้ถึงแบบ Web-scale ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ Microservice ก็จะยังคงตอบโจทย์การพัฒนา Application ที่เพิ่มขยายได้ทั้งแบบ On-premise และ Cloud อีกทั้ง Container ก็จะกลายมาเป็นเทคโนโลยีหลักที่เป็นพื้นฐานของสถาปัตยกรรม Microservice นั่นเอง

 

10. Internet of Things Platforms

เทคโนโลยีและมาตรฐานต่างๆ สำหรับระบบ Internet of Things จะถูกพัฒนาขึ้นมาให้เป็นรูปเป็นร่างยิ่งขึ้น ทั้งการบริหารจัดการ, การรักษาความปลอดภัย และความสามารถต่างๆ ที่จำเป็นในการพัฒนาระบบ Internet of Things มาใช้งาน และจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการทำ Device Mesh และ Ambient User Experience นั่นเอง

 

ที่มา: http://www.gartner.com/newsroom/id/3143521 

from:https://www.techtalkthai.com/gartner-predicted-10-technology-it-trends-2016/

จับตามอง Samsara: Startup เกิดใหม่จากทีมงาน Meraki มุ่งตอบโจทย์ Internet of Things ด้วย Sensor นวัตกรรมใหม่

samsara-logo

หลังจากที่ Meraki บริษัทผลิต Cloud Networking สำหรับองค์กรชั้นนำได้ถูก Cisco เข้าซื้อกิจการไปที่มูลค่า 1,200 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 36,000 ล้านบาทไทย ทีมงานผู้บริหารของ Meraki ก็ทำงานให้กับ Cisco จนมาถึงเมื่อต้นปีนี้ที่มีการลาออกมาตั้ง Startup ใหม่กันยกทีมภายใต้ชื่อ Samsara (https://www.samsara.com/) โดยมุ่งหวังที่จะสร้างเทคโนโลยีและ Platform สำหรับ Sensor เพื่อให้การนำแนวคิดของ Internet of Things ไปใช้จริงได้ง่ายและเกิดประโยชน์สูงสุด

samsara-bg

ในการแข่งขันครั้งนี้ Samsara ไม่ได้มองบริษัทผู้ผลิตระบบเครือข่ายสำหรับองค์กรและ Service Provider เป็นคู่แข่งอีกต่อไป แต่ไปจับตามองบริษัทที่ทำการผลิต Sensor สำหรับการใช้งานในโรงงานอย่าง Morristown, Honeywell และ Johnson Control เป็นคู่แข่งแทน และมองบริษัทผู้ผลิตระบบเครือข่ายว่าจะเป็นผู้ที่กระโดดเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาด Sensors เหล่านี้ด้วยเทรนด์ของ Internet of Things

ปัจจุบันนี้ Samsara ได้รับการลงทุนจาก Andreessen Horowitz แล้ว 25 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือราวๆ 750 ล้านบาทไทย โดยมุ่งผลิตระบบที่ทำงานร่วมกันระหว่าง Hardware Sensor, ระบบเครือข่าย และบริการ Cloud เพื่อสร้างเป็นระบบ Sensor ที่สามารถติดตั้งใช้งานได้ง่าย และนำ Sensor มาสร้างสรรค์การใช้งานรูปแบบใหม่ๆ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน โดยใช้สถาปัตยกรรมการทำงานร่วมกันระหว่าง Sensor Hardware กับ Cloud หรือเรียกง่ายๆ ว่าทีมงานของ Samsara นี้ต้องการสร้าง Meraki สำหรับเทคโนโลยี Sensor ให้วงการ Internet of Things นั่นเอง

ผลิตภัณฑ์ชิ้นแรกของ Samsara จะเปิดตัวในอีก 1 หรือ 2 เดือนข้างหน้านี้ และก็เป็นสิ่งที่ถูกจับตามองจากทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Partner ของ Cisco ที่เคยสัมผัสนวัตกรรมของ Meraki มาก่อน ซึ่งมีความมั่นใจเป็นอย่างมากว่าผลิตภัณฑ์จะต้องออกมาน่าสนใจมากๆ อย่างแน่นอน

ที่มา: http://www.crn.com/news/networking/300076875/cisco-partners-take-notice-as-meraki-founders-launch-iot-startup.htm 

from:https://www.techtalkthai.com/samsara-a-startup-company-formed-by-ex-meraki-for-sensor-and-iot/