คลังเก็บป้ายกำกับ: HUAWEI_OCEANSTOR_DORADO_V3

เทคโนโลยี All Flash Storage ได้เปลี่ยนวงการ Enterprise Storage ทั่วโลกไปอย่างไร

All Flash Storage ได้กลายมาเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่เหล่าธุรกิจองค์กรเลือกใช้งานเมื่อต้องมีการลงทุนอัพเกรดระบบ Storage ที่มีอยู่เดิม หรือจัดซื้อระบบ Storage ใหม่เข้ามาเพิ่มเติมภายใน Data Center ซึ่งก็เรียกได้ว่ากระแสความนิยมของ All Flash Storage นี้ถือว่าเติบโตรวดเร็วเป็นอย่างมาก ในบทความนี้เราจะสรุปถึงประเด็นทางเทคนิคตั้งแต่ SSD ขึ้นมาจนถึง All Flash Storage และการประยุกต์ใช้งานจริงในธุรกิจระดับโลกหลากหลายจากข้อมูลของ Huawei พร้อมทั้งแนะนำ Huawei OceanStor Dorado ระบบ All Flash Storage ประสิทธิภาพสูงให้ทุกท่านได้รู้จักกันครับ

SSD เข้ามาแทนที่ HDD อย่างรวดเร็ว ด้วยจุดเด่นที่เหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด

Credit: Huawei

หลังจากที่ SSD ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา ในวงการ IT ก็มีการตอบรับต่อ SSD กันอย่างอย่างรวดเร็วด้วยประสิทธิภาพที่สูงกว่า HDD เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังประหยัดไฟกว่า HDD ด้วย และเมื่อ SSD ค่อยๆ ถูกพัฒนาให้ตอบโจทย์ในการใช้งานจริงได้ดีขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในแง่ของความทนทานในการเขียนข้อมูลที่ดีขึ้น และความจุที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้ SSD เริ่มถูกนำมาใช้ในส่วนของ Data Center กันอย่างแพร่หลาย

Huawei ให้ตัวเลขคร่าวๆ เพื่อให้เห็นภาพกันมากขึ้นเอาไว้ว่า SSD นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่า HDD ประมาณ 100 เท่า, มีความทนทานสูงกว่า HDD อีก 3-5 เท่า และประหยัดไฟมากกว่า HDD ถึง 70% จึงไม่น่าแปลกใจนักกับความนิยมของ SSD ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การใช้งาน HDD นั้นก็ถูกลดลงไปใช้ในกรณีของการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ต้องการประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่สูงนักเป็นหลัก

Huawei OceanStor Dorado โซลูชัน All Flash Storage ประสิทธิภาพสูงที่ Huawei พัฒนาเองตั้งแต่ชิพจนถึง Software ทั้งหมด

Credit: Huawei

Huawei OceanStor Dorado เป็นระบบ All Flash Storage รุ่นเรือธงของ Huawei ที่ถูกออกแบบมารองรับการใช้งานภายในองค์กรโดยเฉพาะ ทำให้ Huawei นั้นต้องทำการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ภายในระบบขึ้นมาเองทั้งส่วนของ Hardware และ Software เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการทำงานร่วมกันของทั้งระบบจะเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่เพียงแค่การนำ Enterprise Storage แบบเดิมๆ มาติดตั้ง SSD เข้าไปเท่านั้น โดยจุดเด่นที่น่าสนใจของ Huawei OceanStor Dorado มีดังนี้

  • ประสิทธิภาพสูงสุดถึง 7,000,000 IOPS จากการทดสอบจากSPC-1 โดยเปิดความสามารถในการบีบอัดข้อมูลไปด้วยในระหว่างการทดสอบ
  • ในการทดสอบการทำงานแบบ Dual Controller ที่มีการอ่านเขียนข้อมูล 8K ที่อัตราส่วน 7:3 นั้น มีประสิทธิภาพสูงถึง 300,000 IOPS และมี Latency เพียง 1ms เท่านั้น
  • สามารถรองรับ SAP HANA ด้วย Latency เพียง 0.5ms ในการติดตั้งแบบอุปกรณ์ชุดเดียว และมี Latency เพียง 1ms ในการติดตั้งแบบ Active-Active Cluster
  • มีเทคโนโลยี FLASHLINK ที่เกิดจากการพัฒนาชิพสำหรับ SSD, Network, Compute เองทั้งหมด ให้ทำงานร่วมกับ NVMe SSD และ Software ของ Huawei OceanStor Dorado
  • มีความสามารถ HyperMetro ทำงานร่วมกันแบบ Active-Active ได้ระยะไกลกว่า 180 กิโลเมตรโดยไม่ต้องมีอุปกรณ์ Storage Gateway ใดๆ เพิ่มเติม ง่ายต่อการทำ DR
  • จากการทดสอบพบว่าสามารถทำ Data Reduction ได้ด้วยอัตราส่วนที่สูงสุดถึง 5:1 โดยการลดพื้นที่ข้อมูลนี้ไม่ทำให้ประสิทธิภาพของระบบลดลงแต่อย่างใด

Enterprise Storage ปรับตัว ก้าวข้ามจาก Hybrid Storage สู่ All Flash Storage อย่างก้าวกระโดดในปี 2017 – 2018

Credit: Huawei

ตลาด SSD ที่เติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ทำให้เหล่าผู้ผลิตระบบ Enterprise Storage หันมาตอบรับ SSD กันอย่างต่อเนื่อง โดยมีทั้งผู้ที่พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับนำ SSD มาใช้ใน Enterprise Storage โดยเฉพาะด้วยการคิดค้น Stack ใหม่ๆ ขึ้นมาใช้งาน ไปจนถึงผู้ที่ปรับจากระบบ Enterprise Storage ที่ใช้ HDD ไปสู่ SSD ในภายหลัง

แรกเริ่มนั้น SSD ได้เข้ามามีบทบาทใน Enterprise Storage ในฝั่งของ Hybrid Storage เป็นอย่างมาก เพราะในช่วงเริ่มต้นนั้น SSD ที่มีความทนทานสูงนั้นยังคงมีความจุไม่มากนักและมีราคาสูง การนำไปใช้ทำ Storage Tiering เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบจึงเป็นแนวทางการออกแบบที่นิยม แต่เมื่อ SSD ถูกพัฒนาไปมากขึ้น และผู้พัฒนา Enterprise Storage เองก็เริ่มคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มามากขึ้นทั้งการทำ Data Reduction และ Data Protection สำหรับ SSD โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้การนำ SSD ล้วนๆ มาใช้สร้าง All- Flash Storage กลายเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในองค์กร ด้วยประสิทธิภาพที่สูง, การประหยัดพลังงาน และความคุ้มค่านั่นเอง

ส่วนแบ่งตลาดของ All Flash Storage ต่อ Hybrid Storage นั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ สำหรับผู้ผลิตระบบ Enterprise Storage ทุกราย รวมถึง Huawei เองที่มีโซลูชันทางด้าน Enterprise Storage ก็ยังสัมผัสได้ถึงแนวโน้มนี้จากลูกค้าองค์กรที่มีอยู่ทั่วโลก จนในปี 2019 นี้ All Flash Storage ก็พร้อมจะก้าวสู่การเป็นระบบ Enterprise Storage หลักแทนที่ Hybrid Storage อย่างเต็มที่แล้ว ด้วยราคาที่ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่คุณค่าที่ได้รับจาก All Flash Storage นั้นเหนือกว่าอย่างเห็นได้ชัด

3 กรณีศึกษา การใช้งาน All Flash Storage ในธุรกิจระดับโลก และประโยชน์ที่เหนือกว่าในหลากหลายแง่มุม

Huawei ได้เล่าถึงกรณีศึกษาการใช้งานระบบ All Flash Storage ในธุรกิจองค์กรขนาดใหญ่ด้วยกัน 3 กรณี ดังนี้

กรณีศึกษาแรกคือการใช้งานในธุรกิจองค์กรด้านพลังงานขนาดใหญ่ที่ฝรั่งเศส โดยธุรกิจดังกล่าวเองก็อยู่ใน 100 บริษัทแรกใน Fortune Global 500 ของปี 2018 และมีแผนที่จะลงทุนในระบบ Internet of Things ที่มี Sensor นับล้านรายการ และระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งธุรกิจนี้เองก็มีปัญหาว่าระบบ Storage เดิมซึ่งมีประสิทธิภาพที่ระดับ 80,000 IOPS นั้นไม่สามารถตอบโจทย์ของระบบที่จะมีการพัฒนาในอีก 5 ปีถัดไปได้ อีกทั้งยังไม่อาจรองรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เดิมได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

Huawei ได้นำเสนอ Huawei OceanStor Dorado ที่เป็นระบบ All Flash Storage ความจุ 50TB และทำงานแบบ Active-Active Cluster เพื่อรองรับการใช้งาน Oracle Database ให้กับธุรกิจนี้ด้วยประสิทธิภาพระดับ 220,000 IOPS ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่เดิมนั้นเร็วขึ้นถึง 2 เท่า และระบบมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับบริการ IoT ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต และยังมีความทนทานสูงจากการทำ Cluster ได้ ทำให้องค์กรแห่งนี้ตัดสินใจลงทุนใน Huawei OceanStor Dorado เพิ่มอย่างต่อเนื่อง

กรณีศึกษาที่สองคือธุรกิจเว็บไซต์ขนาดใหญ่ในญี่ปุ่นที่มีทั้งบริการ Portal และ Search Engine ซึ่งประสบกับปัญหาว่าในแต่ละวันมีข้อมูลใหม่ๆ ถูกสร้างมากถึง 200,000 ไฟล์ นับเป็นพื้นที่ 700GB ต่อวัน ทำให้ระบบ Disaster Recovery (DR) ที่มีอยู่นั้นต้องใช้เวลาในการกู้คืนระบบนานกว่า 12 ชั่วโมง และทำให้ธุรกิจเว็บไซต์แห่งนี้ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงหากเกิด Downtime ขึ้นมาและต้องสลับไปใช้ระบบสำรองจริงๆ

Huawei OceanStor Dorado นั้นมีความสามารถในการทำ Cluster ข้ามสาขาระยะไกลได้แบบ Active-Active และนำมาใช้กับธุรกิจเว็บไซต์แห่งนี้ ทำให้การทำ DR ข้าม Data Center ที่ระยะทางกว่า 180 กิโลเมตรนั้นเป็นจริงขึ้นมาได้ โดยการสลับไปใช้ Storage สำรองในสาขา DR นั้นสามารถทำได้ในเวลาเพียงแค่ 5 วินาทีเท่านั้น ช่วยให้การกู้คืนระบบทั้งหมดแบบสมบูรณ์สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในเวลาเพียง 30 นาที ลดจากเดิมที่ต้องใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงมามากทีเดียว

ส่วนกรณีศึกษาที่สามนั้นเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่บราซิล ที่เดิมทีมีการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมหาศาลและต้องการประสิทธิภาพระดับสูง จึงต้องลงทุนในระบบ Storage มากถึง 20 ชุดติดตั้งในตู้ Rack จำนวนหลายตู้ และประสบกับปัญหา 3 ประการ ดังนี้

  1. ปัญหาเรื่องพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เสถียรในบราซิล ทำให้ต้องมีการดับไฟในบางพื้นที่ และส่งผลให้การดูแล Data Center ที่มีขนาดใหญ่นี้กลายเป็นโจทย์ที่ยากมากในแง่การจัดการพลังงาน
  2. ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาระบบ Storage ขนาดใหญ่นั้นสูงมาก และกลายเป็นค่าใช้จ่ายรายปีที่ธนาคารแห่งนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
  3. CIO ของธนาคารเล็งเห็นว่าการรองรับระบบ IT ใหม่ๆ ในอนาคตนั้นต้องอาศัย Storage ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้และต้องเพิ่มขยายได้ง่ายกว่านี้

ด้วยเหตุนี้ธนาคารแห่งนี้จึงตัดสินใจเลือกใช้ Huawei OceanStor Dorado จำนวน 10 ชุด เป็นการทดแทนและเพิ่มขยายระบบ Storage ที่มีอยู่เดิม ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบสูงขึ้นจนสามารถรองรับบริการใหม่ๆ ที่ธนาคารจะลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตได้, ลดการใช้พลังงานไปมากถึง 55% ทำให้สามารถจัดการกับระบบไฟฟ้าและพลังงานได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังลดค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นลงไปได้อีกถึง 23% จากเดิม ช่วยให้ธุรกิจของธนาคารเติบโตได้อย่างคล่องตัวยิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า 3 กรณีศึกษานี้ การนำ All Flash Storage ไปใช้ทดแทนระบบ Storage แบบเดิมนั้นจะตอบโจทย์ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพที่สูงขึ้นจนรองรับอนาคตได้, การประหยัดพลังงาน และความสามารถใหม่ๆ ที่ช่วยลดความซับซ้อนในการบริหารจัดการและออกแบบระบบ Storage ลงได้เป็นอย่างมากนั่นเอง

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanStor Dorado

ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanStor Dorado V3 สามารถศึกษาข้อมูลและดาวน์โหลดเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ทันทีที่ https://e.huawei.com/th/products/cloud-computing-dc/storage/All Flash-storage?utm_medium=display&utm_source=techtalk_th&utm_campaign=eebghq197501L&utm_content=banner รวมถึงสามารถทำการขอใบเสนอราคาและขอทดสอบอุปกรณ์ได้ทันทีที่ https://e.huawei.com/th/get-price-info

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี All Flash Storage และ Enterprise Storage จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่

Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : enterprise_thailand@huawei.com
Follow us on : www.twitter.com/HuaweiEntTH
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand
Website : e.huawei.com/th

from:https://www.techtalkthai.com/how-all-flash-storage-change-enterprise-storage-market-by-huawei-oceanstor-dorado/

ESG เผยผลทดสอบ ชี้ Huawei OceanStor Dorado V3 ประสิทธิภาพและเสถียรภาพสูง และคุ้มค่าในด้านการลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ได้ถึง 75% ในระยะเวลา 5 ปี

ทาง Huawei ได้จัดงานแถลงข่าวร่วมกับ ESG Lab เพื่อเล่าถึงผลการทดสอบ Huawei OceanStor Dorado V3 อุปกรณ์ All Flash Storage รุ่นเรือธงเมื่อปี 2017 กับสถานการณ์ในการใช้งานร่วมกับ Enterprise Application ชั้นนำต่างๆ ทั้งในแง่มุมของประสิทธิภาพ, เสถียรภาพ และยังได้วิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าในด้านการลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ได้ถึง 75% ในระยะเวลา 5 ปี รวมถึงยังมีการเล่าถึงภาพรวมเรื่องกลยุทธ์และการตลาดของ Huawei ในการบุกตลาดองค์กรทั่วโลกด้วย ซึ่งหลายๆ ประเด็นก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยสำหรับคนทำงานในสาย IT Infrastructure ทางทีมงาน TechTalkThai จึงขอสรุปเนื้อหาต่างๆ ให้ทุกท่านได้อ่านกันดังนี้ครับ

 

Credit: Huawei

 

Huawei ชี้ All Flash Storage ถือเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักที่ Huawei ลงทุนพัฒนาและขยายตลาดอย่างเต็มตัว ด้วยสิทธิบัตรกว่า 800 รายการ และยอดขายอันดับ 1 ของจีน

โดยปกติเรามักเห็นภาพของ Huawei ในฐานะของผู้ผลิตเทคโนโลยีฝั่งโทรคมนาคมหรืออุปกรณ์ Smartphone กันเสียมากกว่า แต่อันที่จริงแล้ว Huawei เองนั้นก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีหลากหลายขึ้นมาตอบโจทย์องค์กรนอกเหนือจากเพียงแค่ส่วนของระบบเครือข่าย เช่น ผลิตภัณฑ์กลุ่ม Server, Storage, Cloud และ Software ต่างๆ อีกทั้งยังมีบริการระบบ Artificial Intelligence (AI), Machine Learning (ML) และอื่นๆ อีกมากมาย แข่งขันกับเหล่าผู้ผลิตเทคโนโลยี IT Infrastructure สำหรับองค์กรทั่วโลกทั้งในกลุ่มของ On-premises และ Cloud

อย่างไรก็ดี หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ Huawei ตั้งใจ Focus ตลาดเป็นอย่างมากนั้นก็คือเทคโนโลยีฝั่ง Enterprise Storage ที่มีการเติบโตเป็นอย่างมากทั้งในจีนและทั่วโลก ด้วยการที่ข้อมูลนั้นได้กลายเป็นหัวใจสำคัญทั้งสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการในฝั่ง Consumer และ Enterprise ก็ทำให้ Huawei ลงทุนเป็นอย่างมากในการคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในฝั่ง Storage ขึ้นมาตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ Solid State Drive (SSD) นี้ได้กลายเป็นเทคโนโลยีทางเลือกหลักในการจัดเก็บข้อมูลในปัจจุบัน ก็ถือเป็นจังหวะดีที่ Huawei ได้เข้ามาร่วมพัฒนาเทคโนโลยี SSD ของตนเองนี้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของตลาด

 

Credit: Huawei

 

Huawei นั้นมีสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Storage มากกว่า 800 รายการ และทีมวิศวกรฝ่ายวิจัยและพัฒนามากกว่า 3,000 คนใน 5 ประเทศทั่วโลก โดยมีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาตั้งแต่ระดับรากฐาน เริ่มตั้งแต่ตัว SSD เองที่ได้มีการพัฒนาทั้งในส่วนของ Hardware และ Software เพื่อให้ได้ SSD ที่มีทั้งคุณภาพและความทนทานสูงสำหรับตลาดระดับองค์กร, การพัฒนาระบบ Hardware เชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลภายในระบบ Storage การพัฒนาชิพเซ๊ทในการควบคุม และการพัฒนา Software ขึ้นมาควบคุมการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ทั้งหมดภายในระบบ Storage ให้มีทั้งประสิทธิภาพ, ความมีเสถียรภาพ, ความคุ้มค่า และความง่ายในการบริหารจัดการอย่างครบถ้วน ด้วยการดึงเอาศักยภาพของ Hardware แต่ละส่วนที่พัฒนาขึ้นมาเองให้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็ทำให้ Huawei นั้นถือว่ามีข้อได้เปรียบสูงกว่าผู้พัฒนาเทคโนโลยี Storage หลายๆ ราย และแข่งขันกับผู้ที่พัฒนา All Flash Storage ชั้นนำทั่วโลกได้อย่างทัดเทียม

 

Credit: Huawei

 

สำหรับผลิตภัณฑ์เรือธงของ Huawei ในกลุ่ม All Flash Storage นี้ก็มีชื่อว่า Huawei OceanStor Dorado V3 ที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดสำหรับการใช้งานในระดับองค์กรโดยเฉพาะซึ่งรองรับทั้ง NVMe และ SAS โดยมีความสามารถเป็นระบบ Unified Storage ที่ให้บริการได้ทั้ง Block Storage และ File Storage ด้วย Protocol ที่หลากหลาย ทั้ง 8/16Gbps Fibre Channel, 10GbE iSCSI และ 56Gbps Infiniband พร้อมกับความสามารถอย่างเช่นการทำ RAID5/6 และ RAID-TP ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของ Huawei ที่รองรับในกรณีที่มี Disk สามารถเสียพร้อมกันได้มากสุด 3 ชุด ในขณะที่เทคโนโลยีอื่นรองรับในกรณีที่มี Disk สามารถเสียพร้อมกันได้มากสุด เพียง 2 ชุด, การทำ Deduplication/Compression สามารถบีบอัดข้อมูลได้ถึง 3 เท่า ซึ่งจะประหยัดกว่าการใช้ระบบจัดเก็บเดิมได้ถึง 10 เท่า, การทำ Gateway-free Active-Active ระยะไกล, การทำ Snapshot และการทำ Replication อย่างครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องความทนทานและความคุ้มค่าในการใช้งานในระบบ Mission-critical Application แต่อย่างใด

ส่วนในแง่ของการรองรับการทำงานร่วมกับ Application ต่างๆ นั้น Huawei OceanStor Dorado V3 นี้ก็รองรับการทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการและ Hypervisor มาตรฐานได้มากมาย ครอบคลุมทั้ง Windows, Linux, AIX, HP-UX, Solaris, VMware ESXi, Citrix XenServer, Microsoft Hyper-V และ Huawei FusionSphere/OpenStack รวมถึงยังมีการทดสอบและใช้งานจริงกับ Business Application ชั้นนำอย่าง Oracle และ SAP ด้วย

 

ผลทดสอบจาก ESG ระบุ ประทับใจ Huawei OceanStor Dorado V3 เกินความคาดหมาย วิเคราะห์ความคุ้มค่าในด้านการลดต้นทุนการเป็นเจ้าของ (TCO) ได้ถึง 75% ในระยะเวลา 5 ปี หรือ 50% ในปีเดียว

ในการแถลงข่าวครั้งนี้ได้มีการพูดถึงประเด็นหลักอย่างผลการทดสอบใน ESG Lab ที่ได้นำ Huawei OceanStor Dorado V3 ไปรองรับ Workload หนักๆ ที่มักพบเจอในองค์กร ทั้ง Oracle Database, Microsoft Exchange และ VMware Horizon View ซึ่งเป็นระบบ Virtual Desktop Infrastructure (VDI) พร้อมทดสอบการใช้งานใน Scenario ต่างๆ เช่น กรณีที่มี SSD เสีย, กรณีที่ทำ Failover ระหว่าง Storage Controller หรือ Chassis รวมถึงยังมีการวิเคราะห์ค่า Total Cost of Ownership (TCO) เพื่อเป็นอีกหนึ่งข้อมูลตัดสินใจสำหรับเหล่าองค์กรที่กำลังมองหา All Flash Storage ไปใช้งานกับระบบสำคัญของตนอีกด้วย

 

Credit: Huawei

 

การทดสอบครั้งนี้ใช้เวลา 7 วัน โดยนำ Huawei OceanStor Dorado V3 จำนวน 2 ชุดมาเชื่อมต่อกับ Server ด้วยกันทั้งสิ้น 10 เครื่อง แล้วทำการติดตั้ง Oracle Database 12c RAC ขนาด 9.6TB, Microsoft Exchange Server 2013 ขนาด 5,000 Mailbox/5TB และ VMware Horizon View ที่สร้าง Virtual Desktop ขึ้นมา 1,000 เครื่อง ทั้งหมดนี้ทำงานอยู่บน VMware vSphere และบริหารจัดการด้วย VMware vCenter เพื่อทำการทดสอบ Load Test ในรูปแบบต่างๆ เพื่อดูการตอบสนองเชิงประสิทธิภาพและความทนทานของระบบ Storage โดยเฉพาะ

การทดสอบด้านประสิทธิภาพ พบว่าในการรองรับ Workload ของ Application จริงนั้นสามารถรองรับได้หลากหลายรูปแบบพร้อมๆ กันในระบบเดียว ทำให้มีความคุ้มค่าสูง ด้วย IOPS มากกว่าสี่ล้าน และ Response Time เฉลี่ยที่ระดับไมโครsecond

การทดสองด้านความทนทาน โดยการทดสอบ RAID-TP นั้นก็สามารถทำงานได้จริงแม้ว่าจะมี SSD ในระบบถูกถอดออกไปจนถึง 3 ชุด และ IOPS ลดลงเพียงเล็กน้อย ในขณะที่การ Rebuild ข้อมูลขนาด 7.4TB นั้นก็ใช้เวลาเพียงแค่ 9 นาทีเท่านั้น ถือว่าเป็นความเร็วที่เร็วเหนือกว่าการทดสอบรายอื่นๆ

 

Credit: Huawei

 

ส่วนการทดลองทำ HyperMetro เพื่อทดสอบการทำ Failover ข้ามอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกันแบบ Active-Active นั้น Huawei OceanStor ก็สามารถกลับมาให้บริการ Application ทั้งหมดได้ภายในเวลาเพียง 3 วินาที และรองรับการใช้งานได้ไกลสุดถึง 100 กิโลเมตร ก็ถือเป็นตังเลขที่เพียงพอต่อการทำ Disaster Recovery ในหลายๆ กรณีแล้ว

การประเมินความคุ้มค่าในการลงทุน หากเทียบกับ Traditional Storage หรือ All Flash Storage ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบเดิมๆ จากค่ายอื่นๆ นั้น ในการลงทุนใช้งานไป 5 ปี Huawei OceanStor Dorado V3 นี้จะมีค่า Total Cost of Ownership (TCO) ที่ต่ำกว่าถึง 75% ทั้งด้วยการลงทุนเริ่มต้นที่ไม่แพง, การประหยัดพื้นที่ติดตั้ง, การประหยัดค่าไฟ และความง่ายดายในการบริหารจัดการและการดูแลรักษานี้ต่างก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ความคุ้มค่าในการลงทุนสูงทั้งสิ้น

ผู้ที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบดังกล่าว สามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ https://www.techtalkthai.com/huawei-oceanstor-dorado-v3-all-flash-review-summary-from-esg/ ครับ

 

Credit: TechTalkThai

 

ลูกค้าองค์กรเลือกใช้ Storage จาก Huawei กว่า 8,000 รายทั่วโลก ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม มีลูกค้าใช้งานจริงแล้วในไทย

สำหรับเทคโนโลยีด้าน Storage ของ Huawei ที่ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมากว่า 15 ปีปัจจุบันนี้ Huawei เองก็มีลูกค้าองค์กรกว่า 8,000 รายทั่วโลกในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมอย่างเช่น ธนาคาร ICBC, China Telecom, Volkswagen และ Honda ด้วยการสนับสนุนและผลักดันจากเหล่า Channel Partner นับพันรายทั่วโลก โดยหากนับจากตัวเลขสถิตินั้น Huawei จะมีปริมาณการขาย Storage ที่สูงเป็นอันดับ 4 และอัตราการเติบโตต่อปีเป็นอันดับที่ 2 ของโลก ซึ่งก็ถือว่าเป็นตัวเลขที่เหนือความคาดหมายของหลายๆ คนที่ไม่ค่อยรู้จัก Huawei มาก่อนเลยทีเดียว

สำหรับในไทย Huawei นั้นได้เข้ามาทำตลาด Enterprise ได้อย่างจริงจังเป็นเวลาประมาณ 7 ปีแล้ว และก็มีลูกค้าองค์กรไทยไว้วางใจใช้ Huawei กันแล้วในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งธนาคาร, การเงิน, หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ, โรงพยาบาล, มหาวิทยาลัย และหน่วยงานราชการ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อทีมงาน Huawei เพื่อทดสอบใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ทันทีหากต้องการ

 

Credit: Huawei

 

ตลาดยังคงเติบโตได้อีกมาก ตอบรับความต้องการด้าน Digital Transformation และไฟล์ขนาดใหญ่หลากหลายที่เติบโตอย่างรวดเร็วในอนาคต

ทางทีมงาน Huawei ได้ทิ้งท้ายเอาไว้ถึงภาพของอนาคตที่โลกเราจะมุ่งเข้าสู่การทำ Digital Transformation ในทุกๆ อุตสาหกรรม ทำให้ข้อมูลนั้นมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากต่อธุรกิจ และเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลนั้นก็จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะด้วยแรงผลักดันจากโซลูชันทางด้าน Big Data และ Open Data ของทางภาครัฐ, การทำ Internet of Things (IoT) ของหน่วยงานทางด้านสาธารณูปโภค, การปรับปรุงระบบ ERP และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้งานในองค์กรของธุรกิจเอกชน ไปจนถึงธุรกิจด้านสื่อที่ต้องก้าวผ่านจากความละเอียดระดับ 4K ไปสู่ 8K

และแน่นอนว่าด้วยการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางด้าน SSD และ All Flash Storage อย่างต่อเนื่องนี้ ก็ทำให้ระบบ All Flash Storage มีทั้งประสิทธิภาพ, ความจุ, ความทนทาน และความสามารถใหม่ๆ ที่สามารถตอบโจทย์ทางด้านธุรกิจได้อย่างหลากหลายยิ่งขึ้น และมีค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นและการดูแลรักษาต่อเนื่องที่ต่ำลงเรื่อยๆ ทำให้ยิ่งนับวัน ความคุ้มค่าของการลงทุนใน All Flash Storage ก็ยิ่งเหนือขึ้นไปกว่า Traditional Storage แบบเดิมๆ อย่างชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น Huawei จึงเชื่อว่าตลาด All Flash Storage นี้จะมีอนาคตที่สดใสรออยู่อย่างแน่นอน

 

Credit: Huawei

 

ทดสอบใช้งาน Huawei OceanStor Dorado V3 ได้ฟรีๆ พร้อมมี Open Lab ให้ใช้งานได้เสมอ

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดต่อทีมงาน Huawei Enterprise Thailand เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์, ขอใบเสนอราคา หรือทดสอบผลิตภัณฑ์ได้ทันที โดยนอกจากอุปกรณ์ Demo ที่มีให้ยืมไปทดสอบกันได้ฟรีๆ แล้ว ทาง Huawei เองก็ยังมี Open Lab ในประเทศไทย เพื่อให้เหล่าองค์กรและ Partner ในไทยมายืมใช้พื้นที่ใน Data Center ของ Huawei เพื่อทำการทดสอบเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของ Huawei เองได้โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อ Data Center ของตนเอง

 

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

 

 

Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Website : e.huawei.com

from:https://www.techtalkthai.com/esg-reveals-huawei-oceanstor-dorado-v3-has-75-percent-better-tco-than-other-storage-solutions/

เบื้องหลังการออกแบบ All Flash Storage: ประเด็นเบื้องลึกที่ Vendor ไม่ค่อยพูดถึง

เรามักได้ยินชื่อเสียงของ Huawei ในฝั่งเทคโนโลยีระบบเครือข่ายกันเป็นส่วนมาก แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าอันที่จริงแล้ว Huawei เองก็มีการพัฒนาชิปทางด้าน Storage จัดเก็บข้อมูลด้วยเช่นกัน ทีมงาน TechTalkThai มีโอกาสได้ศึกษาเรื่องราวที่มาว่าทำไม Huawei ต้องลงมาทำชิปสำหรับ Storage เอง และแนวคิดในการออกแบบต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร จึงขอนำมาสรุปให้ผู้อ่านทุกท่านได้อ่านกันสนุกๆ ดังนี้ครับ

 

Storage สำคัญอย่างไรต่อภาพใหญ่ในอนาคตของ Huawei?

ในมุมของ Huawei นั้น ระบบจัดเก็บข้อมูลความเร็วสูงทั้งขนาดเล็กสำหรับติดตั้งใช้งานภายใน Smartphone ไปจนถึงระบบขนาดใหญ่ภายใน Data Center นั้นต่างก็จะมีบทบาทเป็นอย่างมากสำหรับการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ในอนาคต ทั้งด้วยเทรนด์ของไฟล์วิดีโอความละเอียดสูงขึ้นเรื่อยๆ, ไฟล์สำหรับ Application ในกลุ่ม Augmented Reality และ Virtual Reality ที่จะมีขนาดใหญ่มาก, การประมวลผล AI ประสิทธิภาพสูงที่จะเกิดขึ้นทุกที่ทุกเวลาในอนาคต และอื่นๆ อีกมากมาย

ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยีด้าน Storage จึงเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ทาง Huawei ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด Server และ Storage ระดับองค์กร ที่เทคโนโลยีกลุ่มนี้ยังคงพัฒนามาอย่างต่อเนื่องไม่หยุดนิ่ง และด้วยทิศทางของ Huawei เองที่จะผลักดันบริการ Cloud สำหรับธุรกิจในระดับองค์กรด้วยนั้น การมีเทคโนโลยีด้าน Storage ที่เหนือกว่าผู้ผลิตรายอื่นย่อมจะสร้างความได้เปรียบให้กับ Huawei อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ Huawei เองก็ยังมีผลิตภัณฑ์กลุ่ม All Flash Storage อย่าง Huawei OceanStor Dorado V3 ซึ่งการแข่งขันของเหล่าผู้ผลิตเทคโนโลยี All Flash Storage นี้ก็มีอยู่ทั้งในส่วนของ Hardware, Controller, Software และ Cloud ดังนั้นหาก Huawei ต้องการจะขึ้นเป็นผู้นำในตลาดนี้อย่างแท้จริง การลงทุนเพื่อเฟ้นหาเทคโนโลยี Storage ที่ดีที่สุดก็ย่อมเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

 

การเข้าซื้อกิจการเป็นเรื่องยาก เพราะผู้ผลิตชิปด้าน Storage ในตลาด ถูกควบรวมกิจการกันไปเป็นส่วนมากแล้ว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นการควบรวมกิจการกันมากมายในบรรดาผู้ผลิตชิปกันอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Broadcom ที่เกิดจากการรวมตัวกันของ Avago Technologies, Broadcom, Brocade, Emulex และ LSI กับ Marvell Technologies ที่เพิ่งเข้าซื้อกิจการของ Cavium ไปเมื่อปลายปี 2017 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ผลิตชิปสำหรับระบบเครือข่ายและ Storage รายใหญ่นั้นเหลือเพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้นในตลาด ด้วยเหตุนี้การเข้าซื้อกิจการของผู้ผลิตชิปนั้นจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมกับ Huawei และหากมองว่าที่ผ่านมาคือช่วงเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีจาก Hard Disk Drive (HDD) สู่ Solid State Drive (SSD) พอดี การลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ต่ออนาคตด้วยตนเองนั้นจึงกลายเป็นหนทางที่น่าสนใจมากสำหรับ Huawei ในยามนั้น

 

การพัฒนาชิปทางด้าน Storage เองทั้งหมด คือยุทธศาสตร์ของ Huawei

แน่นอนว่าเมื่อการเข้าซื้อกิจการมาต่อยอดนั้นไม่ใช่ทางเลือกที่ดี ทาง Huawei จึงตัดสินใจพัฒนาเทคโนโลยีชิปสำหรับระบบ Storage ขึ้นมาเอง โดยต่อยอดจากพื้นฐานของการพัฒนาชิปสำหรับระบบเครือข่ายที่เป็นจุดแข็งของ Huawei มาอย่างยาวนาน วิธีการนี้มีข้อดีกับ Huawei เองด้วยว่าจะทำให้ Huawei สามารถเลือกทิศทางของเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้งานได้เร็วกว่าการไปซื้อของผู้ผลิตรายอื่นมาใช้ เช่น ตอนนี้ Huawei สามารถพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรอรับการมาของ 3D XPoint ที่มีความเร็วสูงกว่า NAND ตั้งแต่ 10 – 1,000 เท่าได้แล้ว เป็นต้น

ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทาง Huawei เองก็ได้เริ่มมีการพัฒนาชิปสำหรับระบบ Storage ของตนเองอย่าง Huawei OceanStor Dorado V3 ให้รองรับ IOPS ได้สูงถึง 4 ล้าน IOPS พร้อมทั้งมี Latency ที่ต่ำเพียง 0.5 ms เท่านั้น โดยภายในได้มีการปรับปรุงการประมวลผลด้วยกัน 3 ส่วนหลักๆ จนส่งผลให้มีประสิทธิภาพการทำงานของ SSD เร็วขึ้นถึง 200% ดังนี้

 

1. พัฒนาชิปประมวลผลสำหรับ Storage Protocol โดยเฉพาะ

 

Credit: Huawei

 

ในส่วนของ Host Interface สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ Storage เข้ากับ Server นั้น ทาง Huawei เองก็ต้องทำการพัฒนาชิปของตัวเองเพื่อให้ Storage สามารถเชื่อมต่อไปยัง Server ได้ด้วย Protocol ที่หลากหลาย ซึ่งทาง Huawei นั้นก็ได้ทำการออกแบบเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Huawei SmartIO Card ที่การ์ดเพียงใบเดียวสามารถรองรับการเชื่อมต่อได้ทุก Protocol ดังนี้

  • 10GbE: FCoE/iSCSI/iWARP/CIFS/NFS
  • 8/16Gbps Fibre Channel

การเชื่อมต่อ Protocol เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนการ์ด Host Interface เพียงอย่างใด แค่เลือก Optical Module ที่ต้องการใช้มาติดตั้งก็สามารถใช้งานได้ทันที ทำให้สามารถลดความซับซ้อนในการเดินสายภายใน Data Center ได้ถึง 1/3 และลดความซับซ้อนในการออกแบบการ์ดลงได้ถึง 75% เลยทีเดียว

นอกจากนี้ทาง Huawei ยังได้เน้นถึงจุดเด่นในการรองรับเทคโนโลยี Remote Directory Memory Access (RDMA) ที่ถูกใช้ในการเชื่อมต่อระหว่าง Storage Controller เข้าด้วยกันเอง ว่าจะทำให้ลด Latency ลงไปได้กว่า 60% เมื่อเทียบประสิทธิภาพกับ TCP/IP บน 10GbE จึงทำให้การเพิ่มขยายระบบแบบ Scale-out นั้นเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

ในขณะเดียวกัน ชิปของ Huawei เองก็ยังถูกพัฒนาให้รองรับการทำ QoS และการทำ TCP Congestion Avoidance ได้ในตัวจากการนำประสบการณ์การพัฒนาชิปสำหรับอุปกรณ์เครือข่ายเข้ามาเสริม ด้วยการนำเทคนิคอย่างเช่นการตรวจสอบ RTT Latency แบบ Real-time, การตรวจสอบ Packet Loss Rate, การทำ ECN และข้อมูลอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่ายมาใช้ร่วมในการประมวลผล TCP Congestion ก็ทำให้ชิปการประมวลผล Storage Protocol ของ Huawei นี้ยังคงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและจะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของระบบเครือข่ายที่มี Traffic หนาแน่นก็ตาม และเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมในการเชื่อมต่อเครือข่ายได้ 65% – 400%

 

2. พัฒนาชิปเร่งความเร็วการประมวลผล IO

ในยุคของ Flash นี้ หนึ่งในเทคโนโลยีที่จำเป็นมากต่อระบบ All Flash Storage นั้นก็คือเทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลและลดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลลง เพื่อให้อุปกรณ์ Flash หรือ SSD ที่มักมีขนาดเล็กกว่า HDD นั้นยังคงสามารถจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากได้ และสามารถทำงานได้อย่างทนทานยิ่งขึ้นไปพร้อมๆ กัน และแน่นอนว่าหากต้องการให้ระบบ Storage สามารถทำการบีบอัดข้อมูลและลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลนี้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต้องทำการ Offload การประมวลผลเหล่านี้ออกจาก CPU ไปยังชิปประมวลผลเฉพาะทางให้ทำงานแทน

Huawei นั้นได้ทำการพัฒนาชิปเร่งความเร็วการประมวผล IO ในส่วนนี้เพื่อให้การทำ Deduplication, Compression และ Decompression ทำได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องอาศัยทรัพยากรของ CPU เลย และในการทดสอบ Sequential IO นั้นก็พบว่า CPU สามารถทำงานลดลงได้ถึง 24.6% ในขณะที่ IOPS สูงขึ้นถึง 342.4% และ Latency ในการเข้าถึงข้อมูลนั้นก็ลดลงถึง 77.4% ในขณะที่มีการทำ Compression และ Deduplication ไปด้วย

 

3. พัฒนาชิปสำหรับควบคุมการทำงานของ SSD เอง

 

ตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี SSD จาก Huawei โดยรุ่นนี้เป็น NVMe SSD ในระดับ Enterprise ที่มีความจุสูงถึง 4TB เลยทีเดียว Credit: Huawei

 

สุดท้ายคือการพัฒนาชิปเพื่อควบคุมการทำงานของ SSD ด้วยตนเอง โดย Huawei ได้นำ Cortex-A9 ซึ่งเป็น CPU ตระกูล ARM เข้ามาใช้ เพื่อทำงานร่วมกับ DDR4 RAM และรองรับ Flash Channel ได้มากถึง 18 ช่องด้วยกัน ส่งผลให้ Hardware Flash Translation Layer (FTL) นั้นรองรับประสิทธิภาพได้สูงถึงระดับ 200,000 IOPS นั่นเอง

ความเร็วในระดับนี้เกิดขึ้นได้เพราะ Huawei นั้นเลือกที่จะใช้ Hardware มาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการ FTL แทน Software ซึ่งชิปที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้เองก็ได้มีบทบาทตรงนี้ และทำให้ Latency ในการเข้าถึงข้อมูลนั้นลดเหลือเพียงแค่ 40 μs เท่านั้น นับเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 20%

 

Credit: Huawei

 

ผสานรวมเทคโนโลยีทั้งหมดใน Huawei OceanStor Dorado V3 ระบบ All Flash Storage ความเร็วสูงจาก Huawei

 

Credit: Huawei

 

เทคโนโลยีดังกล่าวทั้งหมดนี้ได้ถูกนำมาใช้จริงเป็นส่วนหนึ่งของ Huawei OceanStor Dorado V3 ซึ่งเป็นระบบ Enterprise All Flash Storage ความเร็วสูงจาก Huawei โดยทาง Huawei ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการให้สามารถทำงานร่วมกับชิปต่างๆ เหล่านี้ได้เป็นอย่างดี พร้อมทั้งทำการ Optimize ในส่วนต่างๆ เพิ่มเติมจนสามารถรับประกันได้ว่า Latency ของระบบนั้นจะไม่เกิน 0.5 ms ซึ่งการผสานรวมเทคโนโลยีตรงนี้เองก็ถูกตั้งชื่อเอาไว้ว่า Huawei FlashLink

นอกจากนี้ระบบปฏิบัติการของ Huawei OceanStor Dorado V3 ก็ยังได้มีการใช้อัลกอริธึมในการวิเคราะห์ว่าข้อมูลใดมีแนวโน้มจะถูกเรียกไปใช้งานมากน้อยแค่ไหน และทำให้การเข้าถึงข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดโอกาสที่จะต้องย้ายข้อมูลลง และยังสามารถลดปริมาณข้อมูลที่ต้องถูกเขียนลงไปได้ถึง 40% และมี Latency ลดลงไปอีกประมาณ 20% ด้วย

Huawei OceanStor Dorado V3 นี้เป็นระบบ All Flash Storage ที่ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับ Mission Critical Application โดยเฉพาะ และมีทั้งประสิทธิภาพที่สูง, ความทนทานในระดับสูง และยังเสริมเทคโนโลยีในการลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้งานสูงขึ้น และเพิ่มอายุการใช้งานของ SSD ทั้งหมดด้วย

ด้วยประสิทธิภาพระดับ 4 ล้าน IOPS และ Latency ที่ต่ำเพียงระดับ 0.5 Millisecond ของ Huawei OceanStor Dorado V3 นี้ก็ทำให้ถือเป็นระบบ SAN Storage ความเร็วสูงที่รองรับ Business Application ขนาดใหญ่ขององค์กรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบ Database, Virtual Desktop หรือ Virtual Machine ก็สามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำ HyperMetro ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Active-Active ข้ามสาขาระยะไกลโดยไม่ต้องมี Storage Gateway ที่มี Latency เพียง 1 Millisecond เท่านั้น ก็ทำให้ความทนทานของ Huawei OceanStor Dorado V3 นี้มีค่าสูงถึง 99.9999% เลยทีเดียว

ในแง่ของการเพิ่มขยาย Huawei OceanStor Dorado V3 นี้รองรับการทำ Scale-out ได้สูงสุดถึง 16 Controller รวมกัน และมี Cache รวมกันตั้งแต่ 256GB ไปจนถึง 8,192GB โดยรองรับการเชื่อมต่อผ่านทาง Fibre Channel, iSCSI, InfiniBand เพื่อรองรับระบบ Storage Networking ได้ตามความต้องการของ Application ที่หลากหลาย รองรับการสร้าง LUN ได้มากถึง 16,384 LUN เพื่อเชื่อมต่อกับ Host จำนวน 8,192 เครื่อง

 

Credit: Huawei

 

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanStor Dorado V3 ได้ทันทีที่ http://e.huawei.com/topic/dorado-en/index.html

 

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

 

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้าน All Flash Storage และ Big Data Analytics จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่

Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Follow us on : www.twitter.com/huaweiENTth
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand
Website : e.huawei.com/th

 

from:https://www.techtalkthai.com/behind-all-flash-storage-design-by-huawei/

สรุปผลทดสอบการใช้งาน Huawei OceanStor Dorado V3 กรณีศึกษาก่อนลงทุน All-Flash Storage

ทาง Enterprise Strategy Group หรือ ESG ได้ออกมาเผยผลทดสอบการใช้งาน Huawei OceanStor Dorado V3 All-Flash Storage และตีพิมพ์ออกมาในเอกสาร ESG Lab Review เพื่อเป็นแนวทางให้เหล่าองค์กรที่ต้องการลงทุนระบบ All-Flash Storage ได้นำไปศึกษา โดยนอกจากจะเล่าถึงจุดเด่นและประเด็นที่ต้องสนใจและทดสอบใน All-Flash Storage แล้ว ก็ยังเปรียบเทียบกับระบบ Hybrid Storage และ First-Generation All Flash Storage Systems ให้ได้เห็นถึงความแตกต่างกันอีกด้วย

 

ความท้าทายขององค์กรในการใช้งานระบบ Storage ในปัจจุบัน

เอกสารนี้เริ่มต้นด้วยการเล่าถึงความท้าทายที่เหล่าองค์กรต้องเผชิญกับการใช้งานและดูแลรักษาระบบ Storage ซึ่ง 5 ประเด็นแรกที่ผู้ถูกสำรวจกว่า 356 คนได้ตอบรับมามากที่สุดนั้นมีดังนี้

  • 35% การปกป้องข้อมูล
  • 28% ค่าใช้จ่ายของ Hardware
  • 26% ปริมาณข้อมูลที่เติบโตอย่างรวดเร็ว
  • 22% การบริหารจัดการ, การปรับแต่งใช้งานให้คุ้มค่า และการย้ายข้อมูลโดยอัตโนมัติ
  • 21% การไม่เหลือพื้นที่ติดตั้ง Storage ภายในศูนย์ข้อมูล

ซึ่งผลตอบรับในประเด็นดังกล่าวนี้เองได้นำมาสู่การโหวตถึงข้อดีของเทคโนโลยี Solid-state Storage ที่ทำให้เหล่าองค์กรตัดสินใจเลือกใช้งานอย่างสอดคล้องกัน ดังนี้

  • 58% การเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบจัดเก็บข้อมูล
  • 34% ความทนทานที่สูงขึ้น
  • 31% ราคาต่อ I/O
  • 30% ค่าใช้จ่ายในการลงทุนโดยรวมที่ต่ำลง (TCO)

ส่วนในมุมของ ESG Lab นั้น ระบบ Desktop Virtualization และ Application Virtualization นั้นเป็นสองกรณีหลักที่ทำให้องค์กรหันมาเลือกใช้ All-Flash Storage ด้วยความต้องการในแง่ของประสิทธิภาพที่สูงมาก ในขณะที่ระบบ Application ต่างๆ และเหล่า Mission-critical Application ขององค์กรเองที่ได้ทวีความซับซ้อนขึ้นทุกวันนี้ ก็ได้เริ่มกลายเป็นอีกแรงผลักดันให้เหล่าองค์กรเลือกใช้ All-Flash Storage กันมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วย

 

ทดสอบ Huawei OceanStor Dorado V3 กับการทดลองด้าน Performance, Availability และคำนวนค่า TCO

Credit: Huawei

 

หัวข้อถัดมาภายใน ESG Lab ฉบับนี้ก็จะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Huawei OceanStor Dorado V3 ซึ่งเป็นโซลูชัน All-Flash Storage จากทาง Huawei พร้อมแสดงผลทดสอบที่น่าสนใจกันทันที

 

ภาพรวมของเทคโนโลยีภายใน Huawei OceanStor Dorado V3

Huawei OceanStor Dorado V3 นี้เป็นระบบ All-Flash Storage ที่ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับ Mission-critical Application โดยเฉพาะ โดยภายในใช้การออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมแบบ Dual Controller เชื่อมต่อไปยัง NVMe SSD เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังสามารถเพิ่มขยายแบบ Scale-out รวมกันสูงสุดได้ถึง 16 Controller ด้วยกัน

เทคโนโลยีที่ถูกเสริมเข้ามาใน Huawei OceanStor Dorado V3 นี้มีทั้ง RAID-TP ซึ่งเป็นเทคโนโลยี RAID เฉพาะของ Huawei เองที่รองรับการชำรุดของ Disk ได้สูงสุด 3 ชุดพร้อมกัน อีกทั้งยังซ่อมแซมข้อมูลได้รวดเร็วกว่าทั่วไป, HyperSnap สำหรับการทำ Snapshot ที่กู้คืนได้ด้วยความเร็วสูงและไม่ส่งผลกระทบต่อระบบ, HyperReplication สำหรับการทำ Remote Replication ไปยัง Stand-by Data Center และ HyperMetro ที่รองรับการทำงานแบบ Active-Active ข้ามสาขาระยะไกล เพื่อรองรับ Mission-critical Application ให้ทำงานได้อย่างทนทานสูงสุด อีกทั้งยังสามารถทำ Deduplication, Compression และ Thin Provisioning เพื่อประหยัดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และเพิ่มความคุ้มค่าในการใช้งานได้ในระยะยาว

ภายในการทดสอบครั้งนี้ ทาง ESG Lab ได้ทำการเชื่อมต่อ Huawei OceanStor Dorado5000 V3 Storage Systems จำนวน 2 เครื่องผ่านทาง 16Gbps FC ไปยัง Huawei Fusion Server จำนวน 10 เครื่อง ที่มีทั้ง VMware Horizon View, Microsoft Exchange, Oracle OLTP ติดตั้งเอาไว้เพื่อทำการทดสอบพร้อมๆ กัน

 

ทดสอบ Performance: รับ IOPS หลักแสนจากการใช้งาน Application ที่หลากหลายพร้อมกันได้ในระบบเดียว

ในการทดสอบนี้จะเป็นการเปิดเรียกใช้งาน Application ต่างๆ พร้อมๆ กันเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบในการทำงานภายใต้แต่ละ Scenario ที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้

  • ทดสอบ Oracle OLTP และ Microsoft Exchange พร้อมกัน ทำงานได้ที่ 105,000 IOPS และมี Response Time เฉลี่ยที่ 300 μs
  • ทดสอบ 1,000 Virtual Desktop Boot Storm สามารถทำงานได้ที่ 160,000 IOPS และมี Response Time สูงสุดไม่ถึง 500 μs
  • เพิ่มการทำงานของ Virtual Desktop ให้สูงขึ้นด้วย View Planner ทำให้มี IOPS สูงขึ้นได้อีก 20,000 IOPS พร้อมเปิดให้ระบบอื่นๆ ทำงานทั้งหมด จนมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 125,000 IOPS และมี Response Time เฉลี่ยที่ 320 μs
  • การทดสอบทั้งหมดนี้มีการเปิดใช้ทั้ง Deduplication และ Compression โดยอัตราการทำ Data Reduction นั้นอยู่ที่ 7:1 และหากรวมการทำ Thin Provisioning เข้าไปด้วยก็จะกลายเป็น 14:1 เลยทีเดียว

 

ทดสอบ Availability: ประสิทธิภาพสูงแม้จะเกิด Failover ขึ้น

สำหรับการทดสอบ RAID-TP นั้น ในกรณีที่ Disk เสียพร้อมกันถึง 3 ชุด ระบบโดยรวมก็ยังคงทำงานต่อเนื่องไปได้โดยจะมี Response Time ที่สูงขึ้นจากการซ่อมแซมข้อมูล และมี IOPS โดยรวมลดลงตามสัดส่วนไป ในขณะที่เวลาที่ใช้ในการ Rebuild ข้อมูลขนาด 7.4TB นั้น สามารถทำเสร็จได้ภายในเวลาเพียงแค่ 9 นาทีเท่านั้น

ส่วนการทดสอบ HyperMetro เพื่อดูประสิทธิภาพและความเร็วในการทำ Failover ข้าม Array ในระบบแบบ Active-Active นั้น ระบบ Oracle OLTP ก็ยังคงทำงานต่อเนื่องไปได้เมื่อมี Array ชุดหนึ่งหยุดทำงานไป โดยใช้เวลาเพียง 3 วินาที ระบบทั้งหมดก็ถูกย้ายไปใช้งานบน Array อีกชุดหนึ่งเรียบร้อย พร้อม Response Time ที่ Spike ขึ้นมา 3 วินาทีเท่านั้น จากนั้นระบบก็สามารถทำงานต่อเนื่องได้เสมือนไม่เคยเกิดอะไรขึ้นเลย

 

คำนวน Total Cost of Ownership (TCO): คุ้มค่ากว่า Hybrid Storage และ First-Generation All-Flash Storage

ในหัวข้อนี้จะเป็นการเปรียบเทียบ Huawei OceanStor Dorado5000 V3 กับระบบ Hybrid Storage ที่ใช้ SSD ร่วมกับ HDD และระบบ First-Generation All-Flash Array ที่ไม่ได้พัฒนาเทคโนโลยีมารองรับ Flash Storage โดยเฉพาะ แต่ใช้ SSD ทั้งหมดในการทำงาน โดยออกแบบให้แต่ละระบบสามารถรองรับ Oracle RAC OLTP ได้ที่ 100,000 IOPS, 1,000-seat VDI (20 IOPS/User) และ Microsoft Exchange สำหรับ 5,000 ผู้ใช้งาน (1 IOPS/User) ได้เหมือนกัน พร้อมทั้งต้องรองรับการรับประกันอีก 5 ปีเป็นอย่างน้อย

ผลการออกแบบนั้นพบว่า Hybrid Storage มีราคาสูงสุดที่ 697,568 เหรียญหรือราวๆ 24.4 ล้านบาท ในขณะที่ First-Generation All-Flash Array นั้นมีราคาตามมาที่ 636,134 เหรียญหรือราวๆ 22.3 ล้านบาท ในขณะที่ Huawei OceanStor Dorado5000 V3 นี้มีราคาเพียง 186,137 เหรียญหรือราวๆ 6.5 ล้านบาทเท่านั้น

 

อ่านรายงานฉบับเต็มจาก ESG Lab

สำหรับผู้ที่สนใจรายงานฉบับเต็มจาก ESG Lab เพื่อนำไปศึกษาประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนใช้งาน Huawei OceanStor Dorado V3 สามารถโหลดเอกสารฉบับนี้ได้ที่ http://research.esg-global.com/reportaction/HuaweiOceanStorDoradoV3AllflashStorage/Toc ครับ โดยภายในเอกสารฉบับเต็มนี้จะมีภาพ Diagram ของระบบที่ใช้ทดสอบ พร้อมกราฟแสดงผลการทดสอบในแต่ละประเด็นโดยละเอียดอยู่เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเชิงลึกให้นำไปประกอบการพิจารณาได้ด้วย

 

ติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันที

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี Big Data Analytics จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่

Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center
Mobile 095-878-7475 e-mail : Th_enterprise@huawei.com
Follow us on : www.twitter.com/huaweiEntTH
www.facebook.com/HuaweiEnterpriseThailand

Website : e.huawei.com

from:https://www.techtalkthai.com/huawei-oceanstor-dorado-v3-all-flash-review-summary-from-esg/

รู้จัก Huawei OceanStor Dorado V3 ระบบ All Flash Storage ที่มาพร้อมกับ RAID แบบใหม่

ที่ผ่านมาเหล่าธุรกิจองค์กรนั้นมักจะปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กรด้วยการทำ RAID ทั้งบน Server และบน Storage เพื่อให้มั่นใจได้ว่าถึงแม้อุปกรณ์ Hard Disk Drive (HDD) จะมีปัญหา แต่ข้อมูลของระบบงานต่างๆ นั้นก็จะยังคงไม่สูญหายไปไหน แต่เทคโนโลยี RAID เองนั้นก็ไม่ได้มีการพัฒนามาเป็นเวลาหลายปีแล้ว และการมาของ Solid State Drive (SSD) นี้เองก็ได้เป็นแรงผลักดันสำคัญทำให้เกิดเทคโนโลยี RAID แบบใหม่ขึ้นมาภายในผลิตภัณฑ์ Huawei OceanStor Dorado V3 ที่เป็นระบบ All Flash Storage ที่จะทำให้การจัดเก็บข้อมูลนั้นทนทานและยืดหยุ่นยิ่งขึ้นกว่าเดิม

ภาพรวมของ Huawei OceanStor Dorado V3

Huawei OceanStor Dorado V3 นี้เป็นระบบ All Flash Storage ที่ถูกออกแบบมาสำหรับรองรับ Mission Critical Application โดยเฉพาะประสิทธิภาพที่สูง, ทนทาน และยังเสริมเทคโนโลยีในการลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้งานสูงขึ้น และเพิ่มอายุการใช้งานของ SSD ทั้งหมดด้วย

ด้วยประสิทธิภาพระดับ 4 ล้าน IOPS และ Latency ที่ต่ำเพียงระดับ 0.5 Millisecond ของ Huawei OceanStor Dorado V3 ถือเป็นระบบ SAN Storage ความเร็วสูงที่รองรับ Business Application ขนาดใหญ่ขององค์กรได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นระบบ Database, Virtual Desktop หรือ Virtual Machine ก็สามารถตอบโจทย์ได้อย่างครบถ้วน อีกทั้งยังมีความสามารถในการทำ HyperMetro ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบ Active-Active ข้ามสาขาระยะไกลโดยไม่ต้องมี Storage Gateway ที่มี Latency เพียง 1 Millisecond เท่านั้น ก็ทำให้ความทนทานของ Huawei OceanStor Dorado V3 นี้มีค่าสูงถึง 99.9999% เลยทีเดียว

ในแง่ของการเพิ่มขยาย Huawei OceanStor Dorado V3 นี้รองรับการทำ Scale-out ได้สูงสุดถึง 16 Controller รวมกัน และมี Cache รวมกันตั้งแต่ 256GB ไปจนถึง 8,192GB โดยรองรับการเชื่อมต่อผ่านทาง Fibre Channel, iSCSI, InfiniBand เพื่อรองรับระบบ Storage Networking ได้ตามความต้องการของ Application ที่หลากหลาย รองรับการสร้าง LUN ได้มากถึง 16,384 LUN เพื่อเชื่อมต่อกับ Host จำนวน 8,192 เครื่อง

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Huawei OceanStor Dorado V3 ได้ทันทีที่ http://e.huawei.com/topic/dorado-en/index.html

กำเนิด RAID-TP และ Dynamic RAID: เมื่อ RAID แบบเดิมยังไม่ดีพอ ต้องออกแบบใหม่บน Huawei OceanStor Dorado V3\

ถึงแม้ Huawei OceanStor Dorado V3 นี้จะรองรับการทำ RAID 5 และ RAID 6 แต่เทคโนโลยี RAID ที่ Huawei แนะนำให้ใช้ในระบบ All Flash Storage นี้ก็คือระบบ RAID-TP ควบคู่กับเทคโนโลยี Dynamic RAID ที่ทาง Huawei ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ตอบรับต่อเทคโนโลยี SSD ที่เปลี่ยนแปลงไปจาก HDD เป็นอย่างมากในอดีตนั่นเอง

RAID 6 ที่มักเป็นที่นิยมใน SAN Storage แบบเดิมๆ นั้นมีปัญหาเรื่องการที่ต้องใช้เวลาในการ Rebuild ค่อนข้างนาน และระหว่างที่ Rebuild นั้นก็จะกระทบกับประสิทธิภาพของระบบโดยรวม ทำให้ในเวลาใช้งานจริงองค์กรจึงไม่ค่อยกล้าออกแบบ RAID Group ให้มีขนาดใหญ่มากนักเพราะจะมีความเสี่ยงในประเด็นนี้ รวมถึงยังมีความเสี่ยงที่ Disk ชุดอื่นๆ จะมีปัญหาเพิ่มเติมในระหว่างที่ Rebuild ด้วย ปัจจัยเหล่านี้เองก็ทำให้ความคุ้มค่าในการใช้พื้นที่บน SAN Storage ที่ใช้ RAID 6 นั้นลดน้อยลงไป และมีความเสี่ยงมากขึ้นไปพร้อมๆ กัน

RAID-TP นั้นเป็น RAID รูปแบบใหม่ที่ Huawei ออกแบบมาให้รองรับ All Flash Storage โดยเฉพาะ โดยมีจุดเด่นที่ RAID-TP นี้จะยอมให้ SSD เสียได้พร้อมๆ กันถึง  3 ชุด และอาจมากกว่านั้นได้ในบางกรณี เพราะมีการใช้ FlexEC Algorithm ที่ Huawei ออกแบบเอง ทำให้ข้อมูลมีความทนทานมากขึ้น และมีปริมาณข้อมูลที่ต้องอ่านในระหว่าง Rebuild น้อยลงไป 70% ทำให้สามารถ Rebuild ได้เร็ว และส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพโดยรวมของระบบน้อย อีกทั้งยังลดความเสี่ยงที่ SSD จะเสียหายเพิ่มเติมในระหว่างนั้นลงไปอีกด้วย

นอกจากนี้ RAID-TP นี้ก็ยังรองรับ SSD คนละขนาดได้ภายใน Storage Pool เดียวกัน ทำให้ง่ายต่อการเพิ่มขยายระบบ Storage ได้อย่างยืดหยุ่นตามต้องการ และยังทำให้สามารถสร้าง RAID Group ขนาดใหญ่ได้โดยไม่ต้องกังวลถึงประเด็นด้านประสิทธิภาพในขณะ Rebuild ทำให้ความคุ้มค่าในการใช้งานระบบ SAN Storage สูงขึ้นอย่างชัดเจน

Dynamic RAID นี้ก็เป็นอีกความสามารถที่ถูกพัฒนาเข้ามาใน Huawei OceanStor Dorado V3 ที่รองรับการปรับ Stripe Width ของ RAID Group เองได้ อีกทั้งภายใน Huawei OceanStor Dorado V3 นี้ก็ยังมีวิธีปรับค่า Stripe Width ที่เหมาะสมกับขนาดของข้อมูลเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ทำให้เกิดความคุ้มค่าในการใช้งานได้สูงสุด

ในขณะเดียวกัน Dynamic RAID นี้ก็ยังทำ Full Stripe Write ได้ด้วยการรองรับ Redirect on Writes ทำให้ประสิทธิภาพของ Storage ยังคงเท่าเดิมในขณะที่มีการเพิ่ม SSD เข้าไปใน RAID Group ที่มีอยู่ ไม่กระทบต่อระบบ Production ใดๆ เลยในขณะที่กำลังเพิ่มขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูล และถ้าหาก Hot Standby Disk มีขนาดไม่พอที่จะรองรับการทำหน้าที่เป็น Disk สำรองใน RAID Group ได้ ระบบก็จะปรับลดขนาดของ Stripe ลงเพื่อให้มั่นใจว่าจะมีพื้นที่เหลือพอในกรณีที่ Disk ในระบบมีปัญหา ซึ่งเทคโนโลยีนี้ก็ทำให้บางกรณีนี้ Dorado อาจรองรับกรณีที่ SSD เสียได้มากกว่า 3 ชุด และทำให้ผู้ดูแลระบบไม่ต้องกดดันกับการเร่งเข้าไปเปลี่ยน SSD ที่เสียมากนักอย่างแต่ก่อน

 

ประสิทธิภาพสูงด้วย 0.5-millisecond Latency ใน Production จริง

ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ All Flash Storage นั้น นอกจากค่า IOPS แล้ว ค่า Latency เองก็ถือเป็นอีกค่าที่มีความสำคัญไม่น้อยในการเลือกใช้งาน All Flash Storage ซึ่ง Huawei OceanStor Dorado V3 นี้ก็มีค่า Latency เพียงแค่ 0.5 Millisecond ซึ่งเป็นตัวเลขจริงที่วัดจากระบบ Production ในการใช้งานหลากหลายรูปแบบ และตัวเลขนี้ก็ยังคงเป็นจริงแม้แต่ในกรณีที่ใช้ RAID6 พร้อมเปิด Inline Deduplication/Compression ก็ตาม

การที่ Huawei OceanStor Dorado V3 สามารถทำประสิทธิภาพในระดับนี้ได้ก็เกิดจากการปรับปรุงประสิทธิภาพเข้าไปทั้งที่ระดับ Hardware และ Software ดังนี้

  • Huawei นั้นพัฒนา SSD เป็นของตัวเอง โดยมีการเพิ่ม Hardware Offload สำหรับ Flash Translation Layer Function Module เข้าไป ซึ่งเป็นส่วนที่ถูก Access เยอะที่สุดใน SSD ทั่วไป ทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  • เปลี่ยนจากสถาปัตยกรรมการเชื่อมต่อจาก SSD ในแบบ Uplink/Downlink ให้กลายเป็น Dual Uplink แทน ทำให้มี Channel Rate ระหว่าง SSD และ CPU สูงขึ้นเป็น 2 เท่า
  • มีการพัฒนาเทคโนโลยี FlashLink แบบ Proprietary โดยให้ SSD และ Controller ของ Huawei OceanStor Dorado V3 สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยรวมได้ถึงอีก 2 เท่า
  • มีการปรับ Cache Algorithm ใน Flash Memory ให้ใช้ Hash Algorithm ในการทำ Indexing แทนการใช้ Binary Search Tree ทำให้ Write Latency ลดลงเป็นอย่างมาก
  • มีการพัฒนาระบบ Multi-core I/O Scheduling โดยแบ่ง Thread Pool ออกเป็น Dedicated Pool สำหรับงาน High Priority และ General Pool สำหรับงานที่เหลือ ทำให้ทุกงานสำคัญนั้นสามารถรับประกันประสิทธิภาพการทำงานได้เสมอ

พัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะ ใช้งาน All Flash Storage ได้อย่างคุ้มค่าด้วยการปรับปรุงเทคโนโลยีทุกส่วน

นอกเหนือไปจากแง่ของความทนทานและประสิทธิภาพแล้ว Huawei OceanStor Dorado V3 นี่ยังได้ทำการปรับปรุงในส่วนของความคุ้มค่าในการใช้งาน ด้วยการพัฒนาเทคโนโลยี Data Reduction โดยเฉพาะสำหรับระบบ All Flash Storage ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการรองรับการทำ Global Garbage Collection ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานเสถียรขึ้นกว่าการที่ให้ SSD แต่ละชุดทำ Garbage Collection ของตัวเอง, การรองรับการทำ Deduplication, Compression และ Snapshot ทำให้ All Flash Storage สามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าพื้นที่จริงในเชิง Physical อีกทั้งยังช่วยลดปริมาณการเขียนข้อมูลบน SSD ลง ส่งผลให้ในภาพรวมนั้น SSD ทั้งหมดจะมีอายุยืนยาวยิ่งขึ้น

ผู้ที่สนใจในเทคโนโลยี Big Data Analytics จาก Huawei สามารถติดต่อทีมงาน Huawei ประเทศไทยได้ทันทีที่

Huawei Enterprise Business ; Marketing Contact Center

Mobile : 095-878-7475

e-mail : Th_enterprise@huawei.com

Follow us on :

Twitter : @HuaweiEntTH

Facebook : HuaweiEnterpriseThailand

Website : e.huawei.com

from:https://www.techtalkthai.com/introduce-huawei-oceanstor-dorado-v3-all-flash-storage-with-new-raid-technology/