คลังเก็บป้ายกำกับ: HOVERBOARD

Ninebot Mecha Kit M1 อุปกรณ์เสริมเปลี่ยนสกูตเตอร์ไฟฟ้าเป็นยานรบสุดล้ำ มาพร้อมปืนยิงกระสุนน้ำ

Gadget ล้ำๆ อย่างสกูตเตอร์ไฟฟ้าในช่วงนี้เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยหนึ่งในผู้ผลิตสินค้าประเภทนี้ก็คือ Ninebot นั่นเอง (หนึ่งในแบรนด์ Start up ของ Xiaomi) โดยก่อนหน้านี้ทาง Ninebot ได้เคยเปิดตัวอุปกรณ์เสริมที่สามารถเปลี่ยนให้สกูตเตอร์ไฟฟ้ากลายเป็นรถแข่งโกคาร์ทได้ และล่าสุดทางบริษัทก็ขอเปิดตัวอุปกรณ์เสริมสุดเจ๋งขึ้นมาอีกชิ้น คือ Ninebot Mecha Kit M1 โดยคราวนี้มันจะเปลี่ยนให้สกูตเตอร์ไฟฟ้ากลายเป็นยานรบที่ใช้การบังคับด้วยจอยสติ๊ก แถมยังมีปืนสำหรับยิงกระสุนน้ำได้อีกด้วย

Ninebot Mecha Kit M1 เมื่อประกอบร่างกับสกูตเตอร์ไฟฟ้าแบบ 2 ล้อ รุ่นที่รองรับแล้ว จะกลายเป็นสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า 4 ล้อ พร้อมที่นั่ง มีดีไซน์ล้ำยุคเหมือนกับพวกยานรบ หรือหุ่นยนต์ในการ์ตูน มาพร้อมด้ามจับแบบคันโยกเหมือนกับจอยสติ๊กใช้ในการควบคุมทิศทางได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ผู้เล่นยังสามารถบังคับเจ้ายานรบ Ninebot Mecha Kit M1 ผ่านแอปพลิเคชั่น Segway Ninebot บนมือถือได้อีกด้วย

แต่ส่วนที่เจ๋งที่สุดของ Ninebot Mecha Kit M1 ก็คือฟีเจอร์ที่สามารถยิงกระสุนน้ำออกมาจากกระบอกปืนตรงที่วางแขนทั้ง 2 ข้าง โดยเวลาจะยิงก็ใช้การลั่นไกที่จอยสติ๊กเหมือนการเล่นเกมนั่นเอง ซึ่งผู้เล่นสามารถเลือกได้ว่าจะยิงแบบทีละนัด หรือจะยิงรัวซัดไม่ยั้งก็ได้ แถมยังมีไฟและเสียง Effect ประกอบเพิ่มความสนุกสนานมากขึ้นไปอีก

ปืนยิงกระสุนน้ำ

Ninebot Mecha Kit M1 ตัวนี้มีความเร็วให้เลือกด้วยกัน 3 โหมด ได้แก่ Safety (6 กม./ชม.), Novice (10 กม./ชม.) และโหมด Sport (14 กม./ชม.)

Ninebot Mecha Kit M1 มีราคาเฉพาะชุดประกอบแบบไม่รวมสกูตเตอร์ไฟฟ้าอยู่ที่ 1,399 หยวน (ประมาณ 6,420 บาท) ส่วนราคาเต็มทั้งชุดแบบรวมสกูตเตอร์ไฟฟ้าด้วยจะอยู่ที่ 2,498 หยวน (ประมาณ 11,470 บาท) โดยตอนนี้ยังมีจำหน่ายอยู่เฉพาะในจีนเท่านั้นครับ

 

ที่มา: XiaomiPlanet 

from:https://droidsans.com/ninebot-mecha-kit-m1-announced/

รีวิว Segway Drift W1 สเก๊ตไฟฟ้าสุดเท่ แค่ยืนนิ่งๆ แล้วเอนตัวก็วิ่งฉิวไปได้เลย

สำหรับยุคน้ำมันแพงแบบนี้ หลายๆ คนเริ่มมีตัวเลือกในการเดินทางในระยะใกล้ๆ เพิ่มขึ้นหลากหลายวิธีโดยไม่ต้องพึ่งพาน้ำมัน ไม่ว่าจะทนเดินเอาเอง สบายขึ้นมาหน่อยก็ปั่นจักรยาน หรือจะให้สบายกว่าก็ใช้จักรยานไฟฟ้า หรือสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้าเอาซะเลย แต่ถ้าใครอยากเดินทางในระยะสั้นๆ แบบมีสไตล์ไม่เหมือนใครก็ลองหันมาดูเจ้าสเก๊ตไฟฟ้า Segway Drift W1 กันหน่อยมั้ยล่ะ เพราะเราแทบจะไม่ต้องทำอะไร แค่ขึ้นไปยืนแล้วเอนตัวไปในทิศทางที่ต้องการก็วิ่งฉิวกันได้เลย

พวกอุปกรณ์ช่วยในการเดินทางประเภทที่ใช้เทคโนโลยี Self-Balancing ตามที่เราเคยเห็นหรือเคยเล่นกันมาในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมานี้ จะเป็นเทคโนโลยีที่ใช้การยืนทรงตัวบนอุปกรณ์เหล่านั้น และใช้การเอนตัวเล็กน้อยไปในทิศทางที่เราต้องการจะไป ซึ่งเอาจริงๆ สำหรับบางคนก็ถือเป็นเรื่องง่ายสุดๆ ลองยืนไม่กี่ครั้งก็ใช้เป็นแล้ว แต่สำหรับบางคนก็กลายเป็นเรื่องยากเพราะลองเล่นเป็นชั่วโมงๆ ก็ไม่ได้ซักที (แต่ถ้าเป็นแล้วมันก็จะเป็นไปตลอดเหมือนขี่จักรยานนั่นแหละ) ซึ่งอุปกรณ์ Self-Balance ที่ผ่านๆ มาและมีขายในบ้านเราก็จะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบล้อเดียวขึ้นไปยืนคร่อม และแบบที่ฮิตกันอยู่พักนึงก็คือ Hoverboard ที่เป็นกระดานมี 2 ล้อ

Hoverboard ที่ใช้เทคโนโลยี Selfi-Balancing แบบเดียวกัน

Segway Drift W1 คืออะไร

เจ้า Drift W1 จะเป็นเหมือนกับสเก๊ตไฟฟ้ามากกว่า เพราะมันมี 2 ข้าง ข้างละ 1 ล้อ เวลาจะเล่นก็ให้เอาเท้าขึ้นไปเหยียบบนนั้น แล้วเอนตัวเอา ไม่ต้องไถเองเหมือนสเก๊ตปกติ สามารถทำความเร็วได้ถึง 12 กม. / ชม. และรับน้ำหนักผู้เล่นได้ 100 กก. Drift W1 แต่ละข้างมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 3.5 กก. รวม 2 ข้างก็เป็น 7 กก. ก็ถือว่าหนักพอสมควรสำหรับการยกไปไหนต่อไหน แต่ก็ยังเบากว่าพวก Scooter ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีน้ำหนัก 10 กก. ขึ้นไป

แต่ละข้างก็ไม่มีอะไรมาก มีแค่ปุ่ม Power สำหรับเปิดปิดเครื่องเท่านั้น ส่วนที่เป็นจุกสีขาวด้านซ้ายนั่นเป็นช่องสำหรับเสียบสายชาร์จ โดยการชาร์จให้เต็มจากที่หมดเกลี้ยงในแต่ละครั้ง ใช้เวลาราวๆ 3 – 4 ชั่วโมง และสามารถใช้งานต่อเนื่องได้ประมาณ 45 นาที

มีสายยางยืดสำหรับหิ้วไปไหนต่อไหนได้ แต่ดูแล้วไม่รู้ว่ามันจะทนทานใช้หิ้วได้นานซักแค่ไหน ส่วนปุ่ม Power ถ้ากดค้างก็จะเป็นการเปิด-ปิดไฟ หรือเปลี่ยนสีไฟ (มี 2 แบบ คือสีฟ้า และสีรุ้งกระพริบแบบศาลพระภูมิ)

 

วิธีการใช้งาน และเล่นยากรึเปล่า?

การเล่นเจ้า Drift W1 อย่างที่บอกไปแล้วว่าสำหรับบางคนก็ง่าย บางคนก็ยาก เพราะมันอยู่ที่การทรงตัวอย่างเดียวเลยล่ะ เริ่มต้นก็ให้วางเจ้า Drift W1 เอาไว้ข้างๆ กันแบบนี้ จากนั้นก็กด Power เพื่อเปิดเครื่อง 1 ที แล้วมันก็จะตั้งขึ้นมาในแนวระนาบให้เองโดยอัตโนมัติ (ตอนนี้พยายามอย่าไปดึงไปดันมันเข้าล่ะ เพราะถ้ามันเสียระดับปุ๊บ มันจะวิ่งหนีเราไปเองเลย 555)

จากนั้นก็ก้าวขาขึ้นไปยืนทีละข้าง แต่ตอนนี้ต้องใช้ความมั่นใจนิดนึงนะ แบบต้องขึ้นไปยืนให้มั่นๆ เลย อย่ากล้าๆ กลัวๆ ยุกยิกๆ แล้วมันจะเซ ต้องก้าวขึ้นไปยืนเหมือนเราเดินขึ้นไปบนพื้นธรรมดาแล้วจะดีเอง (ใครหวั่นๆ ว่าเท้ามันจะลื่นก็ลองถอดรองเท้าดูได้)

ถ้าขึ้นไปยืนได้แบบนิ่งๆ เมื่อไหร่ก็ถือว่าพร้อมเล่นแล้วล่ะ เพราะจริงๆ แค่เราทรงตัวยืนให้ได้ก็จบแค่นั้นแหละ เวลาเราจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าก็แค่เอนตัวไปเล็กน้อยมันก็จะวิ่งฉิวไปเลย เวลาจะเบรคก็แค่ดึงตัวกลับมาให้ตรงเหมือนเดิมก็พอ

ส่วนเวลาเลี้ยวก็ไม่ยากเท่าไหร่ แค่เราทิ้งน้ำหนักลงไปบนขาข้างที่ต้องการจะเลี้ยว (ประมาณว่าใช้ขาข้างนั้นเป็นแกนเพื่อให้ขาอีกข้างหมุนตาม) ก็เรียบร้อย

เมื่อเล่นเสร็จก็หยุดให้นิ่งซะก่อนแล้วก้าวลงมาได้เลย อย่ากระโดดเพราะอาจเสียหลักหรือลื่นล้มหน้าคว่ำเอาได้

สรุป Drift W1 เหมาะสำหรับใช้งานแบบไหน

ข้อดี

  • เล่นง่าย บังคับง่าย ซอกแซกหลบคนหรือสิ่งกีดขวางได้
  • ใช้เวลาเรียนรู้ไม่นาน (ไม่ถึง 10 นาทีก็เล่นเป็นแล้ว)
  • เร็วกว่าเดินปกติ 3 – 4 เท่า
  • ไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้าผ้าใบเล่น
  • การใช้งานไม่ซับซ้อน กดปุ่ม Power แล้วใช้ได้เลย
  • กันน้ำได้ในระดับฝนตก
  • เท่ดี

ข้อด้อย

  • ใช้งานได้ดีกับพื้นที่เรียบจริงๆ เพราะถ้าใช้กับพื้นขรุขระจะเมื่อยกว่าเดิน และใช้ความเร็วมากไม่ได้
  • ไม่เหมาะกับการใช้งานบนทางเท้า (บ้านเรา)
  • ไม่มีแรงขึ้นทางลาดชันเกิน 10 องศา
  • ชาร์จนานถึง 3 – 4 ชม. แต่ใช้งานได้แค่ประมาณ 30 – 45 นาที
  • เสี่ยงล้มได้ง่ายๆ ถ้าเจอเนินหรือเหยียบก้อนหิน

จากที่ลองใช้งานมาได้ซักพักก็ขอสรุปให้ว่า Segway Drift W1 เหมาะกับการใส่เล่นตามหมู่บ้าน หรือสวนสาธารณะที่มีพื้นเรียบๆ มากกว่า เพราะการใช้งาน Drift W1 บนพื้นเรียบนั้นแทบไม่มีปัญหาอะไรเลย สามารถเร่งความเร็วได้เต็มที่ประมาณ 10 – 12 กม./ชม. และเล่นได้สนุกดี แต่ถ้าหากใครที่คิดจะซื้อมาเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทาง ก็ต้องลองคิดใหม่นะครับ เพราะอย่างที่รู้ๆ กันว่าทางเท้าของประเทศไทยนั้นโคตรจะเรียบเนียนเลยล่ะ…ด้วยความที่ล้อแต่ละข้างมันไม่ได้ใหญ่มาก แค่เจอรอยแยกหรือรอยนูนนิดๆ หน่อยๆ ก็จะทำให้เสียการทรงตัวได้แล้ว รวมถึงมันไม่เหมาะกับการขึ้นเนินที่มีความลาดชันเกิน 10 องศา (จริงๆ มันก็พอขึ้นไหว แต่มันต้องเค้นแรงพอสมควร ถ้าขึ้นๆ ลงๆ บ่อย มันก็จะเปลืองแบตกว่าเดิม) และถ้าสมมุตว่าวิ่งมาเร็วๆ แล้วเจอแค่ก้อนหิน หรือฝาเบียร์ก็รับรองได้ว่าเสียหลักหน้าทิ่มแน่นอน นอกจากนี้การใช้งาน Drift W1 บนทางที่ไม่ค่อยจะเรียบเนียนยังทำให้เราต้องเกร็งขามากกว่าปกติเพื่อบังคับทิศทาง จนคิดว่ามันเมื่อยกว่าเดินปกติซะอีก

ส่วนราคาของ Segway Drift W1 ในบ้านเราก็อยู่ที่ประมาณ 19,xxx – 20,xxx บาท (แล้วแต่ตัวแทนจำหน่าย) และมีประกันศูนย์ไทยกับบริษัท Monowheel มีอะไหล่พร้อมเปลี่ยนเรียบร้อย ไม่ต้องกลัวว่าพังแล้วจะไม่มีที่ซ่อมด้วยล่ะ

from:https://droidsans.com/segway-drift-w1-self-balancing-electronic-skate/

แฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุมโฮเวอร์บอร์ดของคุณได้จากระยะไกล

Thomas Kiibride นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากบริษัท IOActive ค้นพบช่องโหว่สำคัญหลายรายการในอุปกรณ์ล้ำเทรนด์อย่าง Segway Ninebot miniPRO ซึ่งทำให้แฮ็กเกอร์สามารถเข้าควบคุม “ได้เต็มรูปแบบ” ภายในระยะครอบคลุมหนึ่ง โดยผู้ขับขี่ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์ของตัวเองได้อีก

Segway Ninebot miniPRO เป็นสกูตเตอร์แบบไม่ต้องใช้มือจับ, มีสองล้อ, รักษาสมดุลได้ตัวเอง, และขับเคลื่อนได้ด้วยความเร็วสูง ซึ่งในวงการจะเรียกยานพาหนะลักษณะนี้ว่าโฮเวอร์บอร์ดหรือ SUV ซึ่งผู้ขับขี่ยังสามารถควบคุมโฮเวอร์บอร์ดนี้ผ่านแอพบนสมาร์ทโฟนที่ชื่อ Ninebot ได้จากระยะไกลอีกด้วย

แต่ว่าระบบความปลอดภัยของตัว miniPRO นี้ค่อนข้างอ่อนแอ แบบว่า Thomas ใช้เวลาแฮ็คได้เพียงแค่ 20 วินาทีเท่านั้น โดยคุณโทมัสได้เปิดเผยรายการช่องโหว่สำคัญบนบล็อกของตนเองไว้หลายรายการ ไม่ว่าจะเป็นการข้ามการกรอกรหัส PIN ได้, การเชื่อมต่อสื่อสารที่ไม่ได้เข้ารหัส, ไม่มีกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเฟิร์มแวร์ที่ส่งมาอัพเดต, รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลตำแหน่ง GPS ให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงทราบอย่างง่ายดาย

ซึ่งถ้าระบบโดนเข้าทะลวงและควบคุมแล้ว สามารถเข้าจัดการการตั้งค่าของอุปกรณ์, ความเร็ว, ทิศทางการเคลื่อนไหว, หรือแม้แต่มอเตอร์ภายในได้เลย ซึ่งคุณโทมัสได้สาธิตการส่งเฟิร์มแวร์ที่อันตรายไปอัพเดตบน miniPRO เพื่อเข้าควบคุมด้วย ซึ่งช่องโหว่เหล่านี้ ทาง Ninebot ได้ออกแพ็ตช์มาอุดช่องโหว่แล้วเมื่อเมษายนที่ผ่านมา

ที่มา : http://thehackernews.com/2017/07/segway-hoverboard-hacking.html

from:https://www.enterpriseitpro.net/archives/7382

อัพเดต ! 3 มาตรฐานใหม่สำหรับควบคุมยานยนต์ไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงโดรน !

UL องค์กรด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก ประกาศอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) ส่วนบุคคลที่สำคัญ ซึ่งก็คือ UL 2272 , UL 2849 และ UL 3030 เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation)

สำหรับระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) คือการคมนาคมด้วยอุปกรณ์อย่างเช่น โฮเวอร์บอร์ด รถจักรยานที่สนับสนุนคันเหยียบด้วยพลังงานไฟฟ้า (Pedelecs) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั้งหมด

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้ระบบไฟฟ้าในระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดความท้าทายในด้านความปลอดภัยที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างทันที เช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน ที่ออกแบบเพื่อเติมเต็มเป้าหมายการใช้ทั้งในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร ต่างก็ต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

นาย Francisco Martinez ผู้อำนวยการของ UL กล่าวว่า “การอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยจากไฟฟ้าช็อตและอันตรายจากไฟรุ่นใหม่และเป็นปัจจุบันที่สุดนี้ ได้ตั้งบรรทัดฐานสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้งานในระบบไฟฟ้า เพื่อทำให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ที่ปลอดภัย”

ขอบเขตของมาตรฐาน UL 2272 และ UL 2849
มาตรฐาน UL 2272 ได้เปิดกว้างขึ้น รองรับรายการอัพเดตของผลิตภัณฑ์สำหรับการเคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล โดยมีจุดประสงค์เพื่อผู้ขับขี่คนเดียว มีตัวขับเคลื่อนไฟฟ้าที่สามารถชาร์จไฟซ้ำได้ สามารถทรงตัวและขับเคลื่อนให้ผู้ขับขี่เคลื่อนที่ได้ และอาจมีที่จับสำหรับการจับยึดในขณะขับขี่ อุปกรณ์อาจทรงตัวด้วยตัวเองได้หรือไม่ได้ ก็ได้ ชื่อของการอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยนี้ เปลี่ยนแปลงจาก “ระบบไฟฟ้าของสกู๊ตเตอร์ทรงตัวด้วยตัวเอง” เป็น “ระบบไฟฟ้าของ อุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล ส่วน UL 2849 ได้แก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่รุนแรงล่าสุด เพื่อสนับสนุนการใช้งานที่ปลอดภัยของรถจักรยานไฟฟ้า (ผู้ขับขี่คนเดียว แต่อาจมีผู้โดยสารได้ ขับเคลื่อนปกติด้วยการนั่งเมื่อใช้งาน อาจมีคันเหยียบ สามารถขับขี่บนท้องถนนได้ตามปกติ) และลดความเสี่ยงจากไฟ การระเบิด และการช็อต ที่เกิดขึ้นได้จากแบตเตอรี่ ครอบคลุมถึงระบบของรถจักรยานไฟฟ้า Pedelec

ขอบเขตของมาตรฐาน UL 3030
อากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในธุรกิจประเภทต่างๆ UL 3030 แก้ไขข้อกำหนดสำหรับระบบไฟฟ้าของ UAV ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ (การเกษตร วิทยาศาสตร์ การวิจัย รัฐบาล ตำรวจท้องถิ่น การค้นหาและกู้ภัย การถ่ายทำวิดีโอสำหรับธุรกิจภาพยนตร์ หรือการถ่ายทอดข่าวและการขึ้นบินเพื่อธุรกิจสำหรับการสำรวจหลังคา) UAV ที่กล่าวถึงโดย UL 3030 จะต้องได้รับการควบคุมโดยนักบินที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว มุมมองต่างๆ เช่น สามารถใช้บินได้หรือไม่ ประสิทธิภาพในการควบคุม และหัวข้อที่คล้ายคลึงกันกันไม่ได้อยู่ในขอบเขต แต่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยกฏข้อบังคับ โปรแกรมของผู้ใช้และ/หรือมาตรฐานอื่นๆ

from:http://www.enterpriseitpro.net/?p=4872

อัพเดต ! 3 มาตรฐานใหม่สำหรับควบคุมยานยนต์ไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงโดรน !

UL องค์กรด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก ประกาศอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) ส่วนบุคคลที่สำคัญ ซึ่งก็คือ UL 2272 , UL 2849 และ UL 3030 เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation)

สำหรับระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) คือการคมนาคมด้วยอุปกรณ์อย่างเช่น โฮเวอร์บอร์ด รถจักรยานที่สนับสนุนคันเหยียบด้วยพลังงานไฟฟ้า (Pedelecs) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั้งหมด

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้ระบบไฟฟ้าในระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดความท้าทายในด้านความปลอดภัยที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างทันที เช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน ที่ออกแบบเพื่อเติมเต็มเป้าหมายการใช้ทั้งในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร ต่างก็ต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

นาย Francisco Martinez ผู้อำนวยการของ UL กล่าวว่า “การอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยจากไฟฟ้าช็อตและอันตรายจากไฟรุ่นใหม่และเป็นปัจจุบันที่สุดนี้ ได้ตั้งบรรทัดฐานสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้งานในระบบไฟฟ้า เพื่อทำให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ที่ปลอดภัย”

ขอบเขตของมาตรฐาน UL 2272 และ UL 2849
มาตรฐาน UL 2272 ได้เปิดกว้างขึ้น รองรับรายการอัพเดตของผลิตภัณฑ์สำหรับการเคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล โดยมีจุดประสงค์เพื่อผู้ขับขี่คนเดียว มีตัวขับเคลื่อนไฟฟ้าที่สามารถชาร์จไฟซ้ำได้ สามารถทรงตัวและขับเคลื่อนให้ผู้ขับขี่เคลื่อนที่ได้ และอาจมีที่จับสำหรับการจับยึดในขณะขับขี่ อุปกรณ์อาจทรงตัวด้วยตัวเองได้หรือไม่ได้ ก็ได้ ชื่อของการอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยนี้ เปลี่ยนแปลงจาก “ระบบไฟฟ้าของสกู๊ตเตอร์ทรงตัวด้วยตัวเอง” เป็น “ระบบไฟฟ้าของ อุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล ส่วน UL 2849 ได้แก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่รุนแรงล่าสุด เพื่อสนับสนุนการใช้งานที่ปลอดภัยของรถจักรยานไฟฟ้า (ผู้ขับขี่คนเดียว แต่อาจมีผู้โดยสารได้ ขับเคลื่อนปกติด้วยการนั่งเมื่อใช้งาน อาจมีคันเหยียบ สามารถขับขี่บนท้องถนนได้ตามปกติ) และลดความเสี่ยงจากไฟ การระเบิด และการช็อต ที่เกิดขึ้นได้จากแบตเตอรี่ ครอบคลุมถึงระบบของรถจักรยานไฟฟ้า Pedelec

ขอบเขตของมาตรฐาน UL 3030
อากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในธุรกิจประเภทต่างๆ UL 3030 แก้ไขข้อกำหนดสำหรับระบบไฟฟ้าของ UAV ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ (การเกษตร วิทยาศาสตร์ การวิจัย รัฐบาล ตำรวจท้องถิ่น การค้นหาและกู้ภัย การถ่ายทำวิดีโอสำหรับธุรกิจภาพยนตร์ หรือการถ่ายทอดข่าวและการขึ้นบินเพื่อธุรกิจสำหรับการสำรวจหลังคา) UAV ที่กล่าวถึงโดย UL 3030 จะต้องได้รับการควบคุมโดยนักบินที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว มุมมองต่างๆ เช่น สามารถใช้บินได้หรือไม่ ประสิทธิภาพในการควบคุม และหัวข้อที่คล้ายคลึงกันกันไม่ได้อยู่ในขอบเขต แต่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยกฏข้อบังคับ โปรแกรมของผู้ใช้และ/หรือมาตรฐานอื่นๆ

from:https://www.enterpriseitpro.net/?p=4872

อัพเดต ! 3 มาตรฐานใหม่สำหรับควบคุมยานยนต์ไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงโดรน !

UL องค์กรด้านมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก ประกาศอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) ส่วนบุคคลที่สำคัญ ซึ่งก็คือ UL 2272 , UL 2849 และ UL 3030 เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation)

สำหรับระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) คือการคมนาคมด้วยอุปกรณ์อย่างเช่น โฮเวอร์บอร์ด รถจักรยานที่สนับสนุนคันเหยียบด้วยพลังงานไฟฟ้า (Pedelecs) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั้งหมด

ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้ระบบไฟฟ้าในระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า ทำให้เกิดความท้าทายในด้านความปลอดภัยที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างทันที เช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน ที่ออกแบบเพื่อเติมเต็มเป้าหมายการใช้ทั้งในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร ต่างก็ต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

นาย Francisco Martinez ผู้อำนวยการของ UL กล่าวว่า “การอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยจากไฟฟ้าช็อตและอันตรายจากไฟรุ่นใหม่และเป็นปัจจุบันที่สุดนี้ ได้ตั้งบรรทัดฐานสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้งานในระบบไฟฟ้า เพื่อทำให้เกิดการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ที่ปลอดภัย”

ขอบเขตของมาตรฐาน UL 2272 และ UL 2849
มาตรฐาน UL 2272 ได้เปิดกว้างขึ้น รองรับรายการอัพเดตของผลิตภัณฑ์สำหรับการเคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล โดยมีจุดประสงค์เพื่อผู้ขับขี่คนเดียว มีตัวขับเคลื่อนไฟฟ้าที่สามารถชาร์จไฟซ้ำได้ สามารถทรงตัวและขับเคลื่อนให้ผู้ขับขี่เคลื่อนที่ได้ และอาจมีที่จับสำหรับการจับยึดในขณะขับขี่ อุปกรณ์อาจทรงตัวด้วยตัวเองได้หรือไม่ได้ ก็ได้ ชื่อของการอัพเดตมาตรฐานความปลอดภัยนี้ เปลี่ยนแปลงจาก “ระบบไฟฟ้าของสกู๊ตเตอร์ทรงตัวด้วยตัวเอง” เป็น “ระบบไฟฟ้าของ อุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล ส่วน UL 2849 ได้แก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่รุนแรงล่าสุด เพื่อสนับสนุนการใช้งานที่ปลอดภัยของรถจักรยานไฟฟ้า (ผู้ขับขี่คนเดียว แต่อาจมีผู้โดยสารได้ ขับเคลื่อนปกติด้วยการนั่งเมื่อใช้งาน อาจมีคันเหยียบ สามารถขับขี่บนท้องถนนได้ตามปกติ) และลดความเสี่ยงจากไฟ การระเบิด และการช็อต ที่เกิดขึ้นได้จากแบตเตอรี่ ครอบคลุมถึงระบบของรถจักรยานไฟฟ้า Pedelec

ขอบเขตของมาตรฐาน UL 3030
อากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในธุรกิจประเภทต่างๆ UL 3030 แก้ไขข้อกำหนดสำหรับระบบไฟฟ้าของ UAV ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ (การเกษตร วิทยาศาสตร์ การวิจัย รัฐบาล ตำรวจท้องถิ่น การค้นหาและกู้ภัย การถ่ายทำวิดีโอสำหรับธุรกิจภาพยนตร์ หรือการถ่ายทอดข่าวและการขึ้นบินเพื่อธุรกิจสำหรับการสำรวจหลังคา) UAV ที่กล่าวถึงโดย UL 3030 จะต้องได้รับการควบคุมโดยนักบินที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว มุมมองต่างๆ เช่น สามารถใช้บินได้หรือไม่ ประสิทธิภาพในการควบคุม และหัวข้อที่คล้ายคลึงกันกันไม่ได้อยู่ในขอบเขต แต่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยกฏข้อบังคับ โปรแกรมของผู้ใช้และ/หรือมาตรฐานอื่นๆ

from:https://www.enterpriseitpro.net/%e0%b8%ad%e0%b8%b1%e0%b8%9e%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%95-3-%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%90%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%ab%e0%b8%a3/

[PR] UL ขอประกาศมาตรฐานที่ใหม่และเป็นปัจจุบันที่สุดเพื่อทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้คมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้ารุ่นต่อไป

นอร์ทบรูค, อิลลินอยส์ – 27 ธ.ค. – พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ – อัพเดทสำหรับมาตรฐาน UL 2272 UL 2849 และมาตรฐาน UL 3030 ที่ตีพิมพ์แล้ว

UL องค์กรด้านศาสตร์มาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก ขอประกาศว่า วันนี้ทางเราได้อัพเดทมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (E-Transportation) ส่วนบุคคลที่สำคัญสองมาตรฐานด้วยกัน ซึ่งก็คือ UL 2272 และ UL 2849 และเรายังได้ออกมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้ามาตรฐานใหม่ ซึ่งก็คือ UL 3030 เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) ระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) คือการคมนาคมด้วยอุปกรณ์อย่างเช่น โฮเวอร์บอร์ด รถจักรยานที่สนับสนุนคันเหยียบด้วยพลังงานไฟฟ้า (Pedelecs) รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า และสกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้เป็นอุปกรณ์ที่บุกเบิกการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนทั้งหมด ความต้องการที่เพิ่มขึ้นของการใช้ระบบไฟฟ้าในระบบการคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) ทำให้เกิดความท้าทายในด้านความปลอดภัยที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างทันที เช่นเดียวกัน การเพิ่มขึ้นอย่างมากของอากาศยานไร้คนขับ (UAV) หรือโดรน ที่ออกแบบเพื่อเติมเต็มเป้าหมายการใช้ทั้งในเชิงพาณิชย์และทางการทหาร ต่างก็ต้องพึ่งพาการใช้เทคโนโลยีแบตเตอรี่และระบบไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติงานที่เหมาะสม

“ผลิตภัณฑ์การคมนาคมด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Transportation) ที่ขับเคลื่อนโดยระบบไฟฟ้าที่มีแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน” กล่าวโดย Francisco Martinez, UL’s director of Energy Systems and e-Mobility  “การอัพเดทมาตรฐานความปลอดจากไฟฟ้าช็อตและอันตรายจากไฟที่ใหม่และเป็นปัจจุบันที่สุดได้ตั้งบรรทัดฐานสำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนที่ใช้งานในระบบไฟฟ้า เพื่อทำให้เกิดความคาดหวังร่วมกันสำหรับการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ที่ปลอดภัย สำหรับภารกิจของเรา UL ทำงานเพื่อสร้างความเป็นไปได้ในอนาคตที่สังคมของเราสามารถใช้แบตเตอรี่เพื่อทำให้เราสามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างปลอดภัยยิ่งขึ้น”

ในต้นปีที่ผ่านมา Consumer Product Safety Commission (CPSC) ได้เรียกร้องให้ผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ค้าปลีกของสกู๊ตเตอร์แบบทรงตัวด้วยตัวเอง (โฮเวอร์บอร์ด) เพื่อกำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการดังกล่าว “นำเข้า ผลิต เผยแพร่ หรือจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยที่กำหนดใช้โดยสมัครใจในขณะนี้ ซึ่งรวมถึงมาตรฐานที่อ้างอิงได้และข้อกำหนดที่ปรากฏใน UL 2272” นอกจากแนวทางการปฏิบัติตามที่มีอยู่แล้ว ในส่วนของของแผนการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2017 ในส่วนของ CPSC จะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเป็นอันตรายที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ที่ขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ความหนาแน่นพลังงานสูง (ลิเธียมไอออน) และ “คุณลักษณะความปลอดภัยของระบบที่ทำให้มั่นใจว่าแบตเตอรี่ความหนาแน่นพลังงานสูง ก้อนแบตเตอรี่ เซฟตี้เซอร์กิต ตัวผลิตภัณฑ์ และอุปกรณ์ชาร์จไฟ สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างปลอดภัยถูกต้องตามวัตถุประสงค์”

การอัพเดทสำหรับ UL 2272 และ UL 2849 สะท้อนให้เห็นถึงขอบเขตที่กว้างขึ้นและการแก้ไขปัญหาของเทคโนโลยีใหม่

ระบบไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล ANSI/CAN/UL 2272 ฉบับแรก ขอบเขตของ UL 2272 ได้เปิดกว้างขึ้น มาตรฐานแผงเทคนิค (STP) ของ UL ที่มีใน UL 2272 ได้ถูกโหวตให้ตีพิมพ์เป็นฉบับแรกในวันที่ 21/11/2016 เพื่อขยายขอบเขตให้ครอบคลุมอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคลทุกประเภท (ผู้ขับขี่คนเดียว ขับขี่บนถนนไม่ได้ กล่าวคือ ขับเคลื่อนปกติด้วยใช้งานด้วยการยืน และไม่มีคันเหยียบ) เช่นเดียวกันกับอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า ส่วนบุคคลประเภทอื่นๆ  การอัพเดทที่สำคัญ มีดังนี้

• รองรับรายการอัพเดทของผลิตภัณฑ์สำหรับการเคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล โดยมีจุดประสงค์เพื่อผู้ขับขี่คนเดียว มีตัวขับเคลื่อนไฟฟ้าที่สามารถชาร์จไฟซ้ำได้ สามารถทรงตัวและขับเคลื่อนให้ผู้ขับขี่เคลื่อนที่ได้ และอาจมีที่จับสำหรับการจับยึดในขณะขับขี่ อุปกรณ์อาจทรงตัวด้วยตัวเองได้หรือไม่ได้ ก็ได้ ชื่อของการอัพเดทมาตรฐานความปลอดภัยนี้ เปลี่ยนแปลงจาก “ระบบไฟฟ้าของสกู๊ตเตอร์ทรงตัวด้วยตัวเอง” เป็น “ระบบไฟฟ้าของ อุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-Mobility) ส่วนบุคคล”

• UL 2272 ได้ประสบความสำเร็จในการได้รับการรับรองมาตรฐานในสองประเทศ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานแห่งชาติ ANSI สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา และ SCC สำหรับประเทศแคนาดา การประเมินและรับรองเป็นมาตรฐานเดียวกันจะทำให้มั่นใจได้ว่าข้อกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยระบบไฟฟ้าแห่งชาติของประเทศทั้งสองตรงกัน

รถจักรยานไฟฟ้า รถจักรยานสนับสนุนด้วยพลังงานไฟฟ้า (จักรยาน EPAC) สกู๊ตเตอร์ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า – UL 2849 ฉบับที่ 3 ข้อกำหนดที่อัพเดทของ UL 2849 ฉบับที่ 3 ได้แก้ไขปัญหาความปลอดภัยที่รุนแรงล่าสุด เพื่อสนับสนุนการใช้งานที่ปลอดภัยของรถจักรยานไฟฟ้า (ผู้ขับขี่คนเดียว แต่อาจมีผู้โดยสารได้ ขับเคลื่อนปกติด้วยการนั่งเมื่อใช้งาน อาจมีคันเหยียบ สามารถขับขี่บนท้องถนนได้ตามปกติ) และลดความเสี่ยงจากไฟ การระเบิด และการช็อต ที่เกิดขึ้นได้จากแบตเตอรี่ การอัพเดทที่สำคัญ มีดังนี้

• UL 2849 ครอบคลุมถึงระบบของรถจักรยานไฟฟ้า Pedelec (สนับสนุนคันเหยียบด้วยพลังงานไฟฟ้า) และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและสกู๊ตเตอร์ที่สามารถใช้บนท้องถนนได้

• มาตรฐานนี้แก้ไขปัญหาด้านความเสี่ยงของการเกิดไฟฟ้าช็อตในระหว่างการชาร์จตลอดอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์และการเสียชีวิตจากไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นได้

มาตรฐานใหม่ UL 3030 มาตรฐานความปลอดภัยสำหรับอากาศยานไร้คนขับ (UAV) ที่สนับสนุนระบบไฟฟ้าที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์

UAV หรือโดรนมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในธุรกิจประเภทต่างๆ UL 3030 แก้ไขข้อกำหนดสำหรับระบบไฟฟ้าของ UAV ที่ใช้งานเชิงพาณิชย์ (การเกษตร วิทยาศาสตร์ การวิจัย รัฐบาล ตำรวจท้องถิ่น การค้นหาและกู้ภัย การถ่ายทำวิดีโอสำหรับธุรกิจภาพยนตร์ หรือการถ่ายทอดข่าวและการขึ้นบินเพื่อธุรกิจสำหรับการสำรวจหลังคา) UAV ที่กล่าวถึงโดย UL 3030 จะต้องได้รับการควบคุมโดยนักบินที่ได้รับการฝึกอบรมมาแล้ว มุมมองต่างๆ เช่น สามารถใช้บินได้หรือไม่ ประสิทธิภาพในการควบคุม และหัวข้อที่คล้ายคลึงกันกันไม่ได้อยู่ในขอบเขต แต่จะต้องได้รับการแก้ไขโดยกฏข้อบังคับ โปรแกรมของผู้ใช้และ/หรือมาตรฐานอื่นๆ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอัพเดทของ มาตรฐาน UL 2272 และ UL 2849 หรือเกี่ยวกับมาตรฐานใหม่ UL 3030 โปรดดู http://www.ul.com/eMobility ผู้ผลิตที่ต้องการได้รับการอ้างอิง โปรดติดต่อทาง eMobility@ul.com

###

เกี่ยวกับ UL

ULเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกด้านวิทยาศาสตร์ความปลอดภัยที่เป็นอิสระ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลากว่า 120 ปี ผู้เชี่ยวชาญเกือบ 10,000 รายปฏิบัติตามพันธกิจของULในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานและการอยู่อาศัยที่ปลอดภัยสำหรับทุกๆคน ULได้ใช้การวิจัยและมาตรฐานต่างๆ เพื่อยกระดับ และตอบสนองความต้องการด้านความปลอดภัยที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมออย่างต่อเนื่อง เราเป็นพันธมิตรกับบรรดาธุรกิจ ผู้ผลิต สมาคมการค้า และหน่วยงานกำกับดูแลระดับนานาชาติ เพื่อนำโซลูชั่นต่างๆ เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับรอง การทดสอบ การตรวจสอบ การให้คำปรึกษา และบริการด้านการศึกษาของเรา สามารถรับชมได้ที่ http://www.UL.com

from:https://www.techtalkthai.com/ul-announced-new-standard-for-e-transportation/

เปิดตัว AngelBoard โฮเวอร์บอร์ดทรงตัวได้เองสุดล้ำจากภาพยนตร์ดัง Back to the Future (ชมคลิป)

ภายในมหกรรม Canton Fair ครั้งล่าสุด AngelBoard และ Chic Intelligent Technology Co.(CHIC) ได้จับมือเป็นพันธมิตรแบบโคแบรนด์ เพื่อเปิดตัวสกู๊ตเตอร์ชนิดทรงตัวได้เองในชื่อ AngelBoard ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก Hoverboard ในภาพยนตร์ดัง ‘Back to the Future’ ที่พร้อมมอบความสนุกสนานด้วยเทคโนโลยีล้ำสมัย

11145910_1023590107674198_4753596813913255038_o

ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่มาร์ตี้ แมคฟลาย ตัวเอกของเรื่อง เดินทางถึงโลกแห่งอนาคตในวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เราเปิดตัว AngelBoard โฮเวอร์บอร์ดที่จะทำให้คุณสามารถแล่นไปตามท้องถนน โดยทางบริษัท AngelBoard ทำหน้าที่เป็นโคแบรนด์ระดับโลกแต่เพียงผู้เดียวของ CHIC Intelligent Technology

12113339_1042038902495985_3330245879040372626_o

ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมานั้นมีนวัตกรรมบอร์ดปรากฏให้เห็นตามท้องตลาดอยู่มากมาย ซึ่งก่อให้เกิดข้อโต้เถียงว่า ใครเป็นเจ้าของสิทธิบัตรที่แท้จริงของเทคโนโลยีโฮเวอร์บอร์ดชนิดทรงตัวได้เอง ทั้งนี้ CHIC เป็นรายแรกที่ได้คิดค้นนวัตกรรมดังกล่าวด้วยสิทธิบัตรทั้งสิ้น 22 ฉบับ และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังฮาร์ดแวร์ที่พบบน IO HAWK และแบรนด์อื่นๆ

สำหรับยานพาหนะชนิดทรงตัวได้เองรุ่นอื่นๆ อย่าง Hovertrax ซึ่งได้รับการโปรโมตผ่าน Kickstarter Campaign 2013 นั้น ทำงานโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ต่างออกไป

คิดค้นเป็นรายแรก

CHIC Intelligent Technology Co. เป็นผู้คิดค้น AngelBoard บริษัทก่อตั้งขึ้นโดยคุณ Pan Yunhe อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัย Zhejiang University of Science and Technology โดย CHIC ได้ดำเนินการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี

AngelBoard คืออะไร

AngelBoard เป็นนวัตกรรมยุคใหม่ที่ไม่ได้เป็นแค่เพียงสเกตบอร์ดหรือรถ Segway โดย AngelBoard ปฏิวัติรูปแบบการเดินทางส่วนบุคคลที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย โฮเวอร์บอร์ดล้ำยุคนี้คล้ายคลึงกับ Hoverboard ในภาพยนตร์เรื่อง “Back to the Future” ซึ่งสามารถเคลื่อนตำแหน่งได้ด้วยการถ่ายน้ำหนักเพียงเล็กน้อย AngelBoard สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุด 120 กิโลกรัม ด้วยความเร็ว 12 กิโลเมตร/ชั่วโมง และวิ่งได้ไกล 20 กิโลเมตรจากการชาร์จไฟครั้งเดียว AngelBoard ปรากฏให้เห็นตามสื่อโซเชียลมีเดียมากมาย ซึ่งแม้แต่ซูเปอร์สตาร์ดังระดับโลกอย่างจัสติน บีเบอร์ และเจมี ฟ็อกซ์ ต่างก็ชื่นชอบเทคโนโลยีล้ำสมัยนี้

from:http://www.flashfly.net/wp/?p=130460

เป็นจริงแล้ว!! Hoverboard บอร์ดลอยได้จากแบรนด์รถยนต์ยี่ห้อหรู Lexus (ชมคลิป)

ภาพยนตร์ล่าสุดจากแคมเปญ “Amazing in Motion” สุดยอดแห่งการนำเสนอภาพการทดลองใช้งานขั้นสุดท้ายซึ่งจัดขึ้นที่บาร์เซโลนาหลังจากที่มีการเปิดตัวเล็กซัส โฮเวอร์บอร์ดไปเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา บริษัทรถยนต์ยี่ห้อหรูอย่างเล็กซัสจึงได้นำเสนอขั้นตอนสุดท้ายของโปรเจคนี้ ด้วยการสรุปผลการทดลองใช้งานที่ประสบความสำเร็จซึ่งจัดขึ้นที่เขตคูเบลเยส ของเมืองบาร์เซโลนา

Screen Shot 2558-08-05 at 9.34.28 AM

มาร์ค เทมพลิน รองประธานบริหารของเล็กซัส อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดเผยว่า “เมื่อพูดถึงโครงการนี้ เราได้เริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อขยายขอบเขตด้านเทคโนโลยี การออกแบบ และนวัตกรรม เพื่อทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นจริงได้ โครงการภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ชื่อว่า “SLIDE” ซึ่งเราได้ร่วมมือกับบรรดาพันธมิตรผู้มีจุดมุ่งหมายเดียวกับเราในการสรรสร้างความสุขจากการเคลื่อนไหว ด้วยการรวมเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญของเราเข้าด้วยกัน เราจึงมองเห็นว่าการสร้างโฮเวอร์บอร์ดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ผ่านมาเราได้ลองผิด ลองถูก และได้เผชิญกับความท้าทายต่างๆ มาบ้าง แต่ด้วยความมุ่งมั่นอันเป็นหนึ่งเดียว เราจึงสามารถเนรมิตรภาพแห่งปรัชญาด้านการออกแบบและเทคโนโลยีขึ้นมาได้ แคมเปญ “Amazing in Motion” สุดยอดแห่งการขับเคลื่อนจึงถือกำเนิดขึ้น”

bf9a77f2-9a34-4a66-ab43-db5385c6bd27

โครงการเล็กซัส โฮเวอร์บอร์ด ได้เริ่มขึ้นเมื่อ 18 เดือนที่ผ่านมา โดยได้รับความร่วมมือจากทีมนักวิทยาศาสตร์จาก IFW ประจำเมืองเดรสเดน และ evico GmbH ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีแม็กเลฟ (Magnetic Levitation) ตามมาด้วยการทดลองใช้งานโดย รอส แม็คโกวราน นักสเกตบอร์ดมืออาชีพ และเป็นผู้ทดลองขับขี่โฮเวอร์บอร์ดที่เมืองเดรสเดน เยอรมนี ทีมงานต่างมุ่งมั่นที่จะผลักดันโฮเวอร์บอร์ดให้ถึงสุดขีดจำกัด และจะทำการทดลองต่างๆ เพิ่มเติมในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

4d0f6be4-f6ed-46df-8b7c-81b2aca896a2

“ผมใช้เวลาในการเล่นสเก็ตบอร์ดมากว่า 20 ปี แต่เมื่อไม่มีแรงเสียดทาน มันทำให้ผมรู้สึกว่า ผมต้องเรียนรู้ทักษะใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการยืน และการทรงตัว ซึ่งนี่ถือเป็นประสบการณ์ครั้งใหม่ล้วนๆ” แม็คโกวรานกล่าว

ตั้งแต่ที่ได้มีการเปิดตัวเล็กซัส โฮเวอร์บอร์ดในเดือนมิ.ย. การทดสอบต่างๆ ได้ถูกจัดขึ้นที่โฮเวอร์ปาร์ค ซึ่งถูกสร้างขึ้นเป็นพิเศษโดยการรวบรวมเอาส่วนต่างๆ ของวัฒนธรรมการเล่นสเก็ตผนวกเข้ากับเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบ ทั้งนี้ ได้มีการนำรางแม่เหล็กความยาวกว่า 200 เมตร จากศูนย์ปฏิบัติการในเดรสเดน เข้าไปยังบาร์เซโลนา เพื่อนำไปใช้รองใต้บริเวณพื้นผิวของโฮเวอร์ปาร์ค เพื่อนำไปใช้ในการทดลองครั้งใหญ่ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้เล็กซัสได้นำเสนอลีลาใหม่ๆ ที่สเก็ตบอร์ดทั่วไปไม่สามารถทำได้ ยกตัวอย่างเช่น การแล่นข้ามน้ำ โดยเล็กซัสได้บันทึกลีลาการขับเคลื่อนต่างๆ ไว้ในรูปแบบของภาพยนตร์ และได้มีการเผยแพร่ภาพยนตร์ดังกล่าวซึ่งกำกับโดย เฮนรี-อเล็กซ์ รูบิน ผู้กำกับมือรางวัล

3b31643a-13d6-473b-96e9-a80d60a78f86

เทคโนโลยี เล็กซัส โฮเวอร์บอร์ด ประกอบด้วยเครื่องควบคุมอุณหภูมิคริโอสแตต (Cryostat) 2 ชุด ซึ่งเป็นเครื่องที่สามารถควบคุมอุณหภูมิของเครื่องโฮเวอร์บอร์ดไว้ที่ -197 องศา ด้วยการใช้ความเย็นจากไนโตรเจนเหลว จากนั้นโฮเวอร์บอร์ดจะถูกนำมาวางไว้บนรางที่มีส่วนประกอบเป็นแม่เหล็กถาวรรวมอยู่ด้วย ดร. โอลิเวอร์ เด ฮาส ซีอีโอของ evico กล่าวว่า “สนามแม่เหล็กจากรางดังกล่าวจะถูกแช่แข็งจนกลายเป็นตัวนำยิ่งยวดของโฮเวอร์บอร์ด และจะเป็นตัวรักษาระยะห่างระหว่างตัวโฮเวอร์บอร์ดและรางแม่เหล็ก ซึ่งทำให้โฮเวอร์บอร์ดยังคงลอยได้นั่นเอง แรงผลักดังกล่าวมีความแข็งแรงพอที่จะทำให้ผู้ขับขี่สามารถขึ้นไปยืน หรือกระโดดขึ้นไปยืนบนโฮเวอร์บอร์ดได้”

ddc6f76b-6ac8-4214-830f-6c2c67650c3a

ภาพยนตร์เกี่ยวกับเล็กซัส โฮเวอร์บอร์ดนี้มีชื่อว่า “SLIDE” จะแสดงจุดเด่นซึ่งก็คือ GS F ประสิทธิภาพสูงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการในแคมเปญ “Amazing in Motion” สุดยอดแห่งการขับเคลื่อนครั้งที่ 4 ซึ่งเป็นโครงการสำหรับการจัดแสดงความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ของเล็กซัส

from:http://www.flashfly.net/wp/?p=124890