คลังเก็บป้ายกำกับ: HONEYWELL_SUPPLY_CHAIN

[PR] ซัพพลายเชนที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แนวโน้มสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน By Honeywell

ในอดีตที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) เกิดจากการขับเคลื่อนจากเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ แต่วันนี้ วิวัฒนาการทางวัฒนธรรมของผู้บริโภคกลับเป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง และกำหนดรูปแบบของอุตสาหกรรม สังคมแบบ “ต้องได้เดี๋ยวนี้ (get it now)” ที่เราอยู่กันในปัจจุบัน กำลังเรียกร้องการเข้าถึงสินค้าและบริการต่างๆ ได้แบบทันที ในขณะที่ครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ต เคยถูกมองว่าเป็นช่องทางเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างสมบูรณ์ แต่ปัจจุบันการเพิ่มขึ้นของการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นตลอดเวลาผ่านทางคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต  ได้เปิดประตูให้กับการทำธุรกิจผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (อี-คอมเมิร์ซ) ซึ่งสามารถซื้อหาสินค้าและบริการต่างๆ ได้ทุกที่ ทุกเวลา

supply-chain-trend-by-honeywell

การปรับตัวสู่ยุคของซัพพลายเชนที่ขับเคลื่อนด้วยอี-คอมเมิร์ซ

ตัวอย่างตลาดในประเทศออสเตรเลียซึ่งมีความแตกต่างจากตลาดอื่น ๆ ทั่วโลก ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากเป็นประเทศที่ไม่มีเขตแดนติดกับประเทศอื่น เช่น สหรัฐอเมริกามีเขตแดนติดกับแคนาดาและเม็กซิโก หรือประเทศต่างๆ ในยุโรปที่มีแนวเขตแดนติดต่อกัน ในอดีตบ่อยครั้งที่ลักษณะภูมิประเทศที่โดดเดี่ยวดังกล่าว เป็นปัจจัยลบสำหรับผู้ค้าปลีกของออสเตรเลีย เพราะเมื่อมีการขยายจำนวนร้านค้ารูปแบบเดิมซึ่งต้องมีที่ตั้งทางกายภาพ (bricks and mortar) ร้านค้าเหล่านั้นจึงเข้าถึงได้เฉพาะลูกค้าในประเทศเท่านั้น

อี-คอมเมิร์ซ สามารถสร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิตสินค้าและผู้ค้าปลีกของออสเตรเลีย และประเทศอื่น ๆ ในการขยายตลาดออกไปนอกประเทศ และขายสินค้าไปยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดตลาดที่ผู้บริโภคชาวออสเตรเลียสามารถเข้ามามีบทบาท และมีทางเลือกมากขึ้น เพราะธุรกิจต่างประเทศที่เข้ามาจะเพิ่มการแข่งขันให้กับผู้ค้าปลีกในท้องถิ่น

แบรนด์ชั้นนำต่างๆ เช่น ร้านอัญมณีทิฟฟานี่แอนด์โค ซึ่งในอดีตแบรนด์นี้เลือกตั้งร้านเฉพาะในเมืองใหญ่ ๆ ไม่กี่แห่ง ดังนั้นจึงมีลูกค้าเฉพาะกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เหล่านี้เท่านั้น  แต่ปัจจุบันเมื่อมีการนำอี-คอมเมิร์ซเข้ามาใช้ นั่นหมายความถึงการที่จะสามารถขายสินค้าให้กับทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ตัวอย่างเช่น ชาวออสเตรเลียที่อยู่ในเขตชนบทห่างไกลของเมืองโบรคเค่น ฮิลล์ ก็สามารถสั่งซื้อสร้อยคอจากทิฟฟานี่ ผ่านทางออนไลน์ได้

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการนำอี-คอมเมิร์ซเข้ามาใช้ คือการเคลื่อนไหวของผู้ให้บริการโลจิสติกส์รายใหญ่ของโลก ได้แก่ ดีเอชแอล (DHL) เฟดเอ็กซ์ (FedEX) และยูพีเอส (UPS) ซึ่งต้องการขยายการให้บริการและการดำเนินธุรกิจครอบคลุมทั่วโลก ในทางกลับกัน การนำเสนอบริการและการเข้าถึงได้ทั่วโลกเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้กับผู้ค้าปลีกอย่างมาก ในการเพิ่มช่องทางการใช้บริการด้านโลจิสติกส์ นอกเหนือจากรายเดิมที่มุ่งเน้นให้บริการแต่ภายในภูมิภาค  ปัจจุบัน ผู้นำด้านโลจิสติกส์ระดับโลก ได้มอบข้อเสนอด้านบริการเสริม (add-on services) ให้กับผู้ค้าปลีก เช่นบริการที่วงการขนส่งเรียกว่า “การขนส่งสินค้าเที่ยวขาไป (front hauling)” และ “การขนส่งสินค้าเที่ยวขากลับ (back hauling)”  ซึ่งหมายความว่า ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ สามารถทำประโยชน์จากการให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มเป็น 2 เท่า โดยไม่เพียงการจัดส่งสินค้าไปยังเขตเมือง ภูมิภาค หรือพื้นที่ห่างไกลทั่วโลก แต่ยังรวมถึงการนำสินค้ากลับมาด้วย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าส่งออก สินค้าที่ลูกค้าส่งคืน หรือการโอนถ่ายสินค้าระหว่างร้านค้า ทั้งทางอากาศหรือทางภาคพื้นดิน

แม้ผู้ให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ (T&L) เป็นคนกลุ่มแรกๆ ที่ขานรับอี-คอมเมิร์ซ แต่พวกเขาก็ไม่ได้เกาะติดกระแสนี้ โดยปราศจากการเผชิญความท้าทายมากมายมาก่อน แรงกดดันสำคัญหลายด้าน รวมไปถึงการที่ อี-คอมเมิร์ซ ทำให้เกิดการสั่งซื้อสินค้าชิ้นเล็กๆ จำนวนมาก และส่งผลให้จำนวนครั้งในการขนส่งเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันลูกค้าก็คาดหวังให้การจัดส่งสินค้าใช้เวลาน้อยลง สำหรับในประเทศที่มีเขตแดนทางบกติดต่อกัน ผู้ผลิตสินค้าหลายรายสามารถสร้างพันธมิตรกับผู้ประกอบการในประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อดำเนินการจัดส่งให้แทน แต่สำหรับผู้ประกอบการชาวออสเตรเลีย ไม่มีทางเลือกข้อนี้ และพวกเขายังคงต้องใช้ศักยภาพผู้ให้บริการขนส่ง และโลจิสติกส์ที่มีอยู่เดิม ที่ออกแบบมาสำหรับการจัดส่งสินค้าจำนวนมากให้กับร้านค้าภายในประเทศ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องมองหาบริการจากผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 (3PL) ซึ่งมีการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศไว้แล้ว

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ และศูนย์กระจายสินค้า (DCs) ต่างกำลังมองหาวิธีการรับมือกับสินค้าชิ้นเดี่ยวๆ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันศูนย์กระจายสินค้า ซึ่งเคยได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อจัดส่งสินค้าให้ร้านค้าเท่านั้น ก็ต้องส่งสินค้าผ่าน 2 ช่องทาง คือ การสั่งซื้อทางอี-คอมเมิร์ซ และการสั่งซื้อจากร้านค้า ยิ่งไปกว่านั้น การสั่งซื้อทางอี-คอมเมิร์ซ ต้องการบริการจัดส่งที่รวดเร็วยิ่งขึ้นกว่าการส่งสินค้าไปยังร้านค้าตามรูปแบบซึ่งศูนย์ฯ เหล่านี้ได้รับการออกแบบมา

ในการรับมือกับแรงกดดันจากการเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ ทั้งผู้ประกอบการด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3  และศูนย์กระจายสินค้า จำเป็นต้องมองหาเทคโนโลยี ซึ่งออกแบบมาสำหรับสนับสนุนคำสั่งซื้อจำนวนมากๆ รวมถึงความเร็วในการจัดส่งสินค้า เทคโนโลยีที่เป็นโซลูชั่นด้านเสียง ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยเพิ่มประสิทธิผลขึ้น 25-35%  นั่นหมายความว่า สามารถรับคำสั่งซื้อจำนวนมากขึ้น และทำการจัดส่งได้ในเวลาที่สั้นกว่าเดิม โดยโซลูชั่นนี้มีความเที่ยงตรงในการรับคำสั่งเสียงถึงเกือบ 100% และความเที่ยงตรงคือปัจจัยสำคัญในการทำอี-คอมเมิร์ซ เพราะความพึงพอใจของลูกค้า เป็นเงื่อนไขสำคัญที่สุดซึ่งจะทำให้กลับมาเป็นลูกค้าซ้ำอีก  ในทางกลับกัน หากผู้บริโภคได้รับสินค้าผิดพลาดไปจากคำสั่งซื้อ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่กลับมาซื้อสินค้าจากผู้ค้าปลีกรายนั้นอีก

ยุครุ่งเรืองของการย้ายฐานกลับ (Re-Shoring)

การที่ออสเตรเลียและภูมิภาคนี้ต้องพึ่งพาผู้ผลิต และผู้กระจายสินค้าจากส่วนอื่น ๆ ของโลกมาเป็นเวลานาน เนื่องจากไม่สามารถผลิตสินค้าได้เพียงพอกับความต้องการของคนในประเทศ และชนชั้นกลางในอาเซียนที่เพิ่มมากขึ้นก็ทำให้ความต้องการสินค้า และบริการเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ เหตุผลสนับสนุนอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการ และผู้ผลิตของออสเตรเลีย เริ่มมองเห็นโอกาสการย้ายฐานการดำเนินงานกลับประเทศ (re-shore) ก็คือหลายประเทศในเอเชียซึ่งก่อนหน้านี้ภาคธุรกิจของออสเตรเลีย เคยว่าจ้างให้ดำเนินงานแทนบางส่วนเพราะมีค่าแรงต่ำกว่า กำลังปรับขึ้นค่าจ้างแรงงาน  ยิ่งกว่านั้นยังเกิดความเข้าใจว่า หรือในบางกรณีก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงเกี่ยวกับการลดคุณภาพสินค้าจากผู้ผลิตในประเทศที่ย้ายฐานการผลิตเข้าไป และท้ายสุด ก็คือพบสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางการเมืองในหลายประเทศที่เข้าไปตั้งฐานผลิต  การย้ายฐานกลับประเทศเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกิดจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งหมดนี้ทำให้โอกาสของการตั้งโรงงานผลิตในออสเตรเลียน่าสนใจยิ่งขึ้น

supply-chain-trend-honeywell

ปัจจัยเหล่านี้ ยังรวมไปถึงการยื่นข้อเสนอให้ประเทศต่างๆ เช่น ออสเตรเลีย มีโอกาสโยกย้ายฐานผลิตกลับประเทศ หลังจากที่เคยย้ายไปตั้งนอกประเทศในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม การย้ายฐานกลับ เป็นความท้าทายอย่างมาก เพราะเมื่อครั้งที่เคยย้ายการผลิตไปประเทศอื่น บ่อยครั้งที่บริษัทผู้ผลิตและโรงงานสัญชาติออสเตรเลีย ได้สูญเสียแรงงาน และโรงงานในท้องถิ่นไปแล้ว

ดังนั้น แทนที่จะต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ในการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ใหม่หมด ตลอดจนการจ้างพนักงานใหม่ หลายๆ ธุรกิจจะมองหาการว่าจ้างผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 ซึ่งมีความพร้อมอยู่แล้ว ทั้งด้านโรงงาน ระบบ และบุคลากรเป็นผู้ดำเนินการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าแทน ทั้งนี้ อาจมีการติดต่อผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 เพื่อมาทำงานร่วมกับโรงงานผลิต และรับดำเนินงานอื่นๆ ในระบบซัพพลายเชน เช่น การรับและจัดเก็บวัตถุดิบ ซึ่งผู้ผลิตสินค้าต้องใช้ การเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านกระบวนการผลิต รวมถึงการส่งคืนสินค้าสำเร็จรูปกลับไปยังคลังสินค้า การหาสินค้าและการจัดส่ง (picking and shipping) ในบางครั้ง ผู้ให้บริการโลจิสติกส์บุคคลที่ 3 อาจต้องมีการดำเนินงานในอาคารที่แยกออกมาจากส่วนโรงงานผลิต หรือสามารถทำงานทั้งสองส่วนภายในอาคารเดียวกันได้

สำหรับการดำเนินงานทั้งในส่วนของโรงงานผลิต และโลจิสติกส์ภายในอาคารเดียวกัน มีความเป็นไปได้ที่จะมีการบูรณาการระบบริหารจัดการคลังสินค้า (WMS) เข้ากับเทคโนโลยีการอ่าน และระบุข้อมูลอัตโนมัติ (AIDC) ซึ่งครอบคลุมถึง เทคโนโลยีด้านเสียง เข้าไว้ในกระบวนการทำงานทั้งหมด โซลูชั่นนี้สร้างความได้เปรียบไม่เพียงการตรวจสอบย้อนกลับสินค้าได้ตลอดเส้นทางในห่วงโซ่อุปทาน แต่ยังรวมถึงการติดตามสถานะกระบวนการผลิต ให้คำแนะนำขั้นตอนในการผลิต และทราบสถานะของสินค้าคงคลัง ในกรณีที่การผลิตในขั้นต่อไป อาจเป็นเหตุที่กระทบโดยอัตโนมัติ ต่อการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการผลิตให้ได้สูงสุด

ทั้งนี้ ความสามารถในการตรวจสอบสินค้าย้อนกลับแบบเรียลไทม์ ตั้งแต่เริ่มต้นการผลิต ยังหมายถึงการที่โรงงานผลิต อยู่ในสถานะที่สามารถตอบโจทย์ด้านกฎระเบียบและมาตรฐานระบบตรวจสอบย้อนกลับ ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับสากล

ทางรอดสู่อนาคตของอุตสาหกรรมซัพพลายเชน

ภาคธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมซัพพลายเชน ที่มีการลงทุนด้านโซลูชั่นการอ่านข้อมูลอัตโนมัติ เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิผลอย่างสูงสุด ทั้งด้านการผลิต ความเที่ยงตรง และความสามารถด้านการตรวจสอบย้อนกลับ จะเป็นผู้ครองตำแหน่งผู้นำระดับแนวหน้าในการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการได้อย่างสมบูรณ์ด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ ให้กับลูกค้าทั้งที่มีอยู่เดิม ตลอดจนเปิดสู่ช่องทางใหม่ๆ ในการทำตลาดระหว่างประเทศ

from:https://www.techtalkthai.com/supply-chain-trend-by-honeywell/

Honeywell เปิดโควต้าฟรี 10 ที่นั่ง งานสัมมนาเทคโนโลยี IT สำหรับงาน Supply Chain

image002

สำหรับองค์กรที่กำลังมองหาแนวทางในการปรับปรุงระบบ Supply Chain โดยอยากจะมีการนำเทคโนโลยีและ Internet of Things เข้าไปช่วย ทาง Honeywell ได้จัดงาน Honeywell Executive Luncheon Forum สำหรับหัวข้อเทคโนโลยี Supply Chain โดยเฉพาะ มีรายละเอียดดังนี้ครับ

วัน: 5 สิงหาคม 2558
เวลา: 11:30 น. – 17:00 น.
สถานที่: ห้องบอลรูม 3 โรงแรม แกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ

กำหนดการ

11:30 น. ลงทะเบียน/รับประทานอาหารกลางวัน
13:00 น. กล่าวต้อนรับโดยฮันนี่เวลล์
13:05 น. เปิดประสบการณ์กับ นายวรการ ศรีนวลนัด กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไปรษณีย์ไทยดิสทริบิวชั่น จำกัด
13:50 น. วิวัฒนาการของเครือข่ายซัพพลายทั่วโลก นายตะวัน จันแดง ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน ฮันนี่เวลล์ สแกนนิ่ง แอนด์ โมบิลิตี้
14:30 น. ร่วมสัมผัสประสบการณ์และชมการสาธิตโซลูชั่นด้านซัพพลายเชนแบบครบวงจร พร้อมของว่าง ชา/กาแฟ

  • Warehouse & Distribution Centre Operations
  • Creating Holistic In-Store Experiences
  • Transport & Logistics Support
  • Efficient Voice for Hands-free Workflows

16:30 น. เน็ตเวิร์คกิ้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

งานนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีความเกี่ยวข้องในการวางแผนด้าน Supply Chain, Warehouse และทีม IT ขององค์กรที่มีความต้องการในการปรับปรุงระบบเหล่านี้ให้ดีขึ้นครับ เพราะจะได้เห็นภาพรวมของระบบที่มีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ไปใช้ ควบคู่ไปกับแนวคิดในการออกแบบระบบเหล่านี้ และเทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังนั่นเองครับ

ทั้งนี้ทางทีมงาน TechTalkThai ได้รับโควต้าเข้าร่วมงานจาก Honeywell สำหรับผู้อ่านฟรีจำนวนทั้งสิ้น 10 ที่นั่งครับ ถ้าหากใครสนใจโควต้านี้ก็ลงทะเบียนด้านล่างนี้ได้เลย และทางทีมงาน Honeywell จะทำการสุ่มผู้โชคดีและติดต่อกลับไปครับ

from:https://www.techtalkthai.com/honeywell-it-for-supply-chain-management-seminar/