คลังเก็บป้ายกำกับ: focal

มหกรรมลดราคาสินค้า หูฟังคู่ Focal Sphear จาก โฟคอล ร่วมฉลองเทศกาลแห่งความรัก ในวันวาเลนไทน์ ปี 2562 นี้

 

Focal แบรนด์เครื่องเสียงชั้นนำจากประเทศฝรั่งเศส จัดมหกรรมสินค้าลดราคากับสินค้าให้ผู้ที่รักในเสียงดนตรีอย่าง หูฟัง Focal Sphear ซึ่งมีน้ำหนักเบา และถูกออกแบบมาอย่างพิถีพิถัน ให้ความรู้สึกโมเดิร์นร่วมสมัย

อีกทั้งเสียงเบสสามารถสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวล และมอบขุมพลังแห่งเสียงดนตรีอันสมบูรณ์แบบ นอกจากนี้หูฟังยังประกอบด้วย วัสดุทำจากเมมโมรี่โฟม และฟองน้ำคุณภาพเยี่ยม ตัวหูฟังออกแบบได้แข็งแรงและทนทาน

Focal

หูฟัง Focal Sphear มอบสัมผัสและประสบการณ์แห่งความสะดวกสบายขณะสวมใส่ อีกทั้งสามารถรองรับได้ทั้งระบบ IOS และ Android โปรโมชั่นหูฟังคู่ Focal Sphear พร้อมจำหน่ายแล้ววันนี้ สองอัน ในราคาเพียง 6,990 บาท ตั้งแต่วันที่ 13 ถึง 14 กุมภาพันธ์ 2562 นี้เท่านั้น

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่เพจ  https://www.facebook.com/FocalThailand/

 

from:http://mobileocta.com/focal-sphear-promotion-valentines-day/

“ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล” มองเทรนด์ Digital Marketing แบรนด์จะทำงานร่วมกันมากขึ้น

ชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ซีอีโอ Siri Venture และเจ้าพ่อสตาร์ทอัปเผยพฤติกรรมผู้บริโภคในยุค Mobile-first จะนำไปสู่การทำงานร่วมกัน (Collaboration) ของแบรนด์ต่าง ๆ มากขึ้น


เป็นมุมมองที่น่าสนใจสำหรับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคดิจิทัลสำหรับเวทีสัมมนา GroupM FOCAL 2017 ซึ่งคุณชาคริต จันทร์รุ่งสกุล ซีอีโอจาก Siri Venture หนึ่งในผู้บริหารระดับสูงที่ได้ปรากฏตัวบนเวทีดังกล่าว ได้ให้ทัศนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับเทรนด์ดังกล่าวเอาไว้ว่า

“เราทำเรื่อง Transformation มา 8 ปี เมื่อ Device มันดีขึ้น Network ดีขึ้น บริการแบบ on demand ก็เกิดตามมา ผู้บริโภคในยุคนี้เป็นยุคที่เราจะเสพอะไร เมื่อไรก็ได้ พฤติกรรมนี้ไม่ใช่แค่การเสพสื่อ แต่ดิจิตอลคือเครื่องมือที่ทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรม สิ่งสำคัญคือเราต้องเป็นแพลตฟอร์มที่มีศักยภาพต่อการแข่งขันนั้น ๆ ให้ได้”

สำหรับแพลตฟอร์มของแสนสิรินั้น (Home Service Application) ปัจจุบันมีผู้ใช้งานเกือบสองหมื่นคน ซึ่งล้วนแต่เป็นลูกบ้านของแสนสิริ ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการจับจ่าย และในอนาคตอันใกล้จะมีการขยายแพลตฟอร์มดังกล่าวให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รายอื่นได้ใช้งานด้วย

“ความท้าทายของการตลาดคือ อย่ายึดติดกับฟอร์ม ถ้ายึดติดจะทำให้การก้าวไปขั้นต่อไปลำบากมากขึ้น แบรนด์ต้อง formless ต้องไม่ยึดติดกับมัน ในอีกไม่กี่ปี ผมเชื่อว่าคำว่าดิจิทัลจะหายไป เพราะมันจะ blend ไปกับชีวิต ญาติผู้ใหญ่ของผม เมื่อก่อนเคยบอกว่า อย่ามาพูดเรื่องสมาร์ทโฟนกับท่าน ใช้โทรก็พอแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ ท่านซื้อสติ๊กเกอร์ไลน์บ่อยกว่าผมเสียอีก”

จากจุดนี้คุณชาคริตเผยว่า สิ่งที่คนทำงานต้องตระหนักให้มากคือดิจิทัลและ Tradition นั้นมีการ Blend ร่วมกันไปหมดแล้ว ดังนั้นการที่แบรนด์ยังมาแบ่ง มาแยกทีมทำงาน จะเป็นการเพิ่มความยุ่งยากให้การทำงานมากกว่านั่นเอง

“พอเรา formless มันจะนำไปสู่ borderless ที่ทำให้แบรนด์มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น และแบรนด์ไม่จำเป็นต้องทำเองทุกอย่าง ปัจจุบันแบรนด์สามารถยิง notification ไปหาผู้ใช้งานของตนเองเพื่อจัดแคมเปญสักอย่าง อาจเป็นการแจกตั๋วชมภาพยนตร์ฟรี และดูการตอบรับ ลองทำสัก 2 -3 ครั้ง เราอาจพบว่า ในบรรดาผู้ใช้งานของเรา อาจมี 500 คนแล้วที่ชอบดูหนังแน่ ๆ เพราะร่วมกิจกรรมกับเราตลอด แต่แบรนด์ในอนาคตไม่จำเป็นต้องจัดการกับลูกค้าในกลุ่มนี้เอง เพราะหากส่งต่อข้อมูลนี้ให้กับผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์เพื่อให้เขาดำเนินการต่อ ก็จะเกิดเป็นนวัตกรรมจากการทำงานร่วมกันในลักษณะนี้มากขึ้น”

แผนการต่อไปสำหรับแสนสิริคือการทำงานร่วมกันในลักษณะดังกล่าว โดยในปี 2017 นี้จะมีการร่วมมือกับโรงพยาบาล ในการใช้งานข้อมูลร่วมกัน เพื่อให้ลูกค้าของแสนสิริเมื่อไปโรงพยาบาลแล้ว โรงพยาบาลสามารถให้บริการแบบ Personalized ได้ ซึ่งเทรนด์เหล่านี้สามารถนำไปสู่บริการได้อีกหลากหลายประเภทในอนาคต

ทั้งนี้คุณชาคริตได้ทิ้งท้ายเอาไว้ถึงความท้าทายของการทำตลาดในยุคต่อไปว่าอยู่ที่บรรดาสตาร์ทอัป ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญต่อการพัฒนานวัตกรรมนั้นต้องสามารถลดช่องว่างของ geek gap ลงให้ได้

“จุดตายของสตาร์ทอัปคือทำเทคโนโลยีได้ แต่ขายของไม่เป็น เขาจึงต้องเข้าหานักการตลาดให้มากขึ้น เพราะนักการตลาดเข้าใจลูกค้า รู้ว่าลูกค้าอยู่ตรงไหน และขายของได้ อนาคตต้องมีการทำงานระหว่างคนสองกลุ่มนี้ให้มากขึ้น แบรนด์จึงจะประสบความสำเร็จครับ”

 
Source: thumbsup

from:http://thumbsup.in.th/2017/04/shakrit-chanrungsakul-siriventure-vision-digital-marketing-focal-2017/

Group M และ mInteraction เผยเทรนด์การตลาดดิจิทัลในงาน FOCAL 2014

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม ณ ห้องแกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมพลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอริเดียน Group M  และเอเยนซีโฆษณาในเครืออย่าง mInteraction ได้ร่วมกันเข้าจัดงานสัมมนา FOCAL 2014 เพื่อชี้แนวทางการทำการตลาดบนสื่อดิจิทัลให้แก่กลุ่มลูกค้า นักกลยุทธ์ และบุคคลอื่นๆ ในวงการดิจิทัล

FOCAL2014_2

โดยสิ่งที่ภายในงานพูดถึงเป็นอย่างมากนั้นคือคำว่า “PHYGITAL” และ “Real-Time Marketing” แต่อย่างไรก็ตามเทรนด์ที่นำเสนออันเป้นคีย์หลักที่นักการตลาดควรรู้เพื่อให้ทันเกม และทันผู้บริภคนั้นมีอยู่ 4 เทรนด์ ได้แก่ Online Video, Mobile, Phygital และ Real-Time Marketing & Optimization

โดยภายในงานคุณศิวัตร เชาวรียวงษ์ CEO แห่ง mInteraction  ได้เปิดเผยตัวเลขการคาดการณฺ์การเติบโตของตลาดออนไลน์ในประเทศไทยว่าในปี 2014 นี้อาจเติบโต จากปี 2013 มากถึง 38.02% และคาดว่าแบรนด์ และนักการตลาดทั่วไปจะจัดสรรงบประมาณเพื่อการทำการตลาดบนสื่อดิจิทัลมากถึง 4.28% ของการโฆษณาทั้งหมด

สำหรับเทรนด์ Video Online คุณศิวัตรเผยว่า วิดีโอออนไลน์กำลังได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้น อาจเนื่องมาจากความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่รวดเร็วขึ้นก็เป็นได้ ที่ทำให้ยอดการชมวิดีโอออนไลน์นั้นได้รับความนิยมมากขึ้นทั้งในแง่ของการจำนวนการเข้าชม และระยะเวลาในการเข้าชม อันที่จริงแล้วสื่อวิดีโอออนไลน์นั้นเป็นที่พูดถึงมาตั้งแต่ปี 2011 แล้ว แต่จะเข้ามามีบทบาทสูสีกับสื่อหลักอื่นๆ อย่างชัดเจนในปี 2014 นี้

เทรนด์การเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตนั้นเริ่มเข้ามามีบทบาทในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ไมายิ่งหย่อนไปกว่าคอมพิวเตอร์เลยในปัจจุบัน โดยทั้งสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตนั้นได้พัฒนาจนกลายเป็นช่องทางหลักในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็นศูนย์กลางแทนคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ แล้วในปัจจุบัน ประกอบกับความนิยมในการใช้งานแอปพลิเคชันต่างๆ ที่เพิ่มขึ้น อย่างเช่น LINE ที่ปัจจุบันมีผู้ใช้งานในประเทศไทยมากถึง 23 ล้านคน และแบรนด์ต่างๆ หันมานิยม

เทรนด์ Phygital หนึ่งในสิ่งที่พูดถึง และเน้นย้ำเป็นอย่างมากภายในงาน คือการผสมผสานระหว่างโลกความเป็นจริง สิ่งที่สัมผัสได้ กับการใช้สื่อดิจิทัล เพราะจากเดิมนั้นแคมเปญส่วนมากมักใช้การทำแอปพลิเคชันบน Facebook หรือการร่วมกิจกรรมผ่านหน้าจอ แต่ในตอนนี้ดูเหมือนการตลาดแบบดังกล่าวจะไม่ได้รับผลการตอบรับที่ดีจากกลุ่มผู้บริโภคอีกต่อไปแล้ว  กรณตัวอย่างเช่น แคมเปญ “Share A Coke” ซึ่งเล่นกับความนิยมการถ่ายภาพและแชร์ต่อบนโลกโซเชียลของคนในปัจจุบัน ทำใหแคมเปญดังกล่าวได้รับการตอบรับและการพูดถึงค่อนข้างมาก

นอกจากนี้คุณศิวัตรยังได้เผยอีกว่า สำหรับการทำงานของดิจิทัล เอเยนซีในปัจจุบันนั้นเริ่มมีการประสานงานระหว่างสื่ออื่นๆ อย่างเช่น ผู้จัดเวนท์ หรือ ครีเอทีฟ เอเยนซีมากขึ้น และการผสานสื่อดิจิทัลกับโกลแห่งความจริงสามารถพึ่งพาเทคโนโลยีได้หลากหลาย อย่างเช่น Face Detection หรือ QR Code

นอกจากนี้อีกเทรนด์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือ Real-Time Marketing ที่คุณ Niklas Stalberg ได้พูดถึงการตลาดลักษณะดังกล่าวว่า เป็นการเข้าถึงผู้บรอโภคด้วยข้อความที่ถูกต้อง เวลาที่ถูกต้อง และถูกคน สิ่งที่นักการตลาดเริ่มหันมานิยมทำกันเป็นอย่างมากคือ การทำ Re-Marketing

Re-Marketing คือการส่งโฆษณาไปยังแพลตฟอร์มต่างๆ อย่างเช่น Facebook Ads เพื่อทำให้ผู้บริโภคคนนั้นๆ กลับไปยังเว็บไซต์ของนักการตลาดคนนั้นๆ อีกครั้ง กรณีดังกล่าวจะใช้ได้กับผู้ที่มีความรู้จักแบรนด์และเว็บไซต์ของนักการตลาดคนนั้นระดับหนึ่งเท่านั้น นอกจากผู้ประกอบการธุรกิจ E-Commerce แล้ว ธุรกิจอื่นๆ ก็สามารถใช้งานข้อมูลดังกล่าวเพื่อแสดงผลโฆษณาที่สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้อย่างถูกที่ ถูกเวลา และตรงความสนใจของพวกเขาได้อีกด้วย อย่างเช่น แบรนด์พิซซ่า สามารถเลือกแสดงผลโฆษณาด้วยภาพพิซซ่าหน้าที่ผู้บริโภคนนั้นนิยมสั่ง ซึ่งนักการตลาดจะได้ข้อมูลดังกล่าวมาจากการเก้บข้อมูการสั่งซื้อพิซซ่าออนไลน์นั่นเอง

นอกจากนี้อีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้นักการตลาดนิยมใช้เพื่อส่งข้อความต่างๆ ถึงผู้บริโภคในปัจจถบันนั้นคือการเปิด LINE Official Accounts โดยแลกกับการดาวน์โหลดสิต๊กเกอร์ของแบรนด์ไปใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผุ้บริโภคจำเป็นต้องเพิ่มแบรนด์นั้นๆ เป็นเพื่อน ทั้งนี้แบรนด์ต่างๆ จะได้รับโอกาสในการสื่อสารกับผู้บริโภคได้รวกเร็ว และมีความแม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ภายในงานผู้ร่วมงานยังจะได้ความรู้ในการร่วมงานกับบล็อกเกอร์และการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นเมื่อมีคนมาร้องเรียน หรือวิพากษ์วิจารณ์แบรนด์ จากคุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์, Product Development Manager แห่ง Pantip และ”นังนู๋วา” บล็อกเกอร์แนวไลฟ์สไตล์ และความงาม

โดย คุณอภิศิลป์ ตรุงกานนท์ ได้กล่าวถึงขั้นตอนการแก้ปัญหาง่ายๆ เมื่อมีคนกล่าวถึงแบรนด์ของเราในเชิงลบทั้งผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือ เว็บบอร์ดเบื้องต้นว่า สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างแรกคือแบรนด์ต้องรีบรับเรื่อง แสดงให้ผู้ร้องเรียนรับรู้ว่าทางแบรนด์รับรู้ข้อความต่างๆ ของพวกเขา จากนั้นเป้นหน้าที่ของนักการตลาดและการภายในที่ต้องสืบหาต้นตอของปัญหา แต่แม้ว่าทางแบรนด์จะไม่ใช่ผู้ผิด ทางแบรนด์จำเป็นต้องขอโทษ แต่ขอโทษไม่ใช่ในลักษณะของการยอมรับข้อหา แต่เป็นการขอโทษที่ทำให้เกิดกรณีการเข้าใจผิดอย่างที่ผ่านมา หลักจานี้หากประเด้นดังกล่าวต้องอาศัยบทบัญญัติทางกฏหมายใดๆ นักการตลาดไม่จำเป็นต้องเผยข้อกฏหมายและการดำเนินการเหล่านั้นผ่านโซเชียลมีเดียเนื่องจากข้อความลักษณะดังกล่าวทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกกับแบรนด์ในแง่ลบ

นอกจากนี้ “นังนู๋วา” ยังได้กล่าวถึงการที่แบรนด์ต่างๆ จะร่วมงานกับบล็อกเกอร์ว่า “บล็อกเกอร์ไม่ใช่นักข่าว”  บล็อกเกอร์จะเขียนอะไรต้องอาศัยประสบการณจริง พวกเขาไม่สามารถเขียนจากบทความ หรือข่าวแจกมนงานเพียงอย่างเดียวเหมือนที่นักข่าวทำได้ บล็อกเกอร์ต้องการเวลากับผลิตภัณฑ์หรือบริการมากกว่านักข่าว ในการเชิญบล็อกเกอร์มางานนั้นไม่ควรเป็นงานเดียวกันกับงานแถลงข่าว เนื่องจากพวกเขาต้องการการใช้เวลากับผลิตภัณฑ์มากกว่ากลุ่มนักข่าวเป็นอย่างมาก

ในการสร้างแคมเปญเป็นหน้าที่ของนักการตลาดที่จะเลือกติดต่อกับบล็อกเกอร์ หรือ influencer คนไหน ทั้งนี้เป้นหน้าที่ของนักการตลาดที่จะติดตามบล็อกเกอร์เหล่านั้นเพื่อศึกษาแนวการเขียน ไปจนถึงกลุ่มบุคคลที่ติดตาม แต่หากนักการตลาดไม่สามารหาข้อมูลเหล่านั้นได้ พวกเขาสามารถใช้บริการจากเอเยนซีโฆษณาต่างๆ ได้เช่นกัน

สำหรับหลายๆ แบรนด์ที่ยังมองข้ามการทำการตลาดกับบล็อกเกอร์ ที่จริงแล้วบล็อกเกอร์นั้นเป็นส่วนที่สามารถสร้าง Digital Asset ให้แก่แบรนด์ได้เป็นอย่างมาก และจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของแบรนด์โดยตรง เมื่อกลุ่มผู้บริโภคค้นหาชื่อแบรนด์ หรือสินค้านั้นๆ แล้วเจอชื่อแบรนด์ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ที่หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามการร่วมงานกับบล็อกเกอร์นั้นนักการตลาดจำเป็นต้องให้อิสระกับพวกเขาในการเขียน จะบังคับให้พวกเขาเขียนถึงแต่ข้อดี ไม่มีข้อเสียเลยนั้นเป็นไปไม่ได้

from:http://thumbsup.in.th/2014/03/group-m-minteraction-focal/

กรุ๊ปเอ็มเผยกลยุทธ์สื่อดิจิตัลที่น่าจับตามองในงานสัมมนา FOCAL 2013

FOCAL2013

กรุ๊ปเอ็ม บริษัทด้านการบริหารจัดการสื่อโฆษณาชั้นนาของประเทศไทย และเอ็มอินเตอร์แอ็คชั่น บริษัทในเครือซึ่งเป็นเอเจนซี่ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิตัล เผย 4 ทิศทางใหม่ที่น่าจับตามองในปัจจุบัน ณ งานสัมมนา FOCAL 2013 สาหรับปีนี้กรุ๊ปเอ็มนาเสนอการวางแผนการตลาดผ่านสื่อดิจิตัลแบบองค์รวม ผ่านการเลือกซื้อสื่อโฆษณาประเภท Paid Media การผสมผสานสื่อโฆษณาตลอดเส้นทางการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การใช้สื่อวิดีโอ และการสร้าง engagement กับลูกค้าผ่านสื่อประเภท owned และ earned media

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 มีการจัดงานสัมมนา FOCAL 2013 โดยจัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้แบรนด์สินค้ารวมถึงเอเจนซี่ต่างๆในประเทศไทยได้มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวโน้มทิศทางของการตลาดดิจิตัลในอนาคต โดยผสานความรู้ความเชี่ยวชาญของมืออาชีพด้านสื่อออนไลน์เข้ากับความต้องการของผู้บริโภคในยุคใหม่ และนาเสนอสื่อรูปแบบใหม่เพื่อเชื่อมโยงการตลาดในแบบดั้งเดิมและวิวัฒนาการล่าสุดเข้าด้วยกัน ซึ่งเครื่องมือสาคัญทั้ง 4 ที่กรุ๊ปเอ็มนาเสนอในงานสัมมนาครั้งนี้ ถือเป็นคู่มือสื่อดิจิตัลที่จะช่วยให้นักโฆษณาสามารถสร้างมูลค่าให้แบรนด์สินค้าได้อย่างสูงสุด และสามารถใช้กลยุทธ์ด้านสื่อออนไลน์อย่างทรงประสิทธิภาพมากที่สุดอีกด้วย

ศิวัตร เชาวรียวงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทเอ็มอินเตอร์แอ็คชั่น นาเสนอข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการเติบโตของสื่อโฆษณาดิจิตัลในประเทศไทย ซึ่งจากปี 2554 จนถึง 2555 มีการขยายตัวถึง 48.03% โดยถือเป็น 4% ของสื่อโฆษณาทั้งหมด และมีเม็ดเงินรวมถึง 4.5 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านบาทในปี 2554 ศิวัตรได้แนะนานักการตลาดดิจิตัลว่าควรให้ความสาคัญกับ 4 ทิศทางใหม่ในปี 2556 ได้แก่ การเลือกซื้อสื่อโฆษณาประเภท Paid Media การผสมผสานสื่อโฆษณาตลอดเส้นทางการตัดสินใจซื้อของลูกค้า การใช้สื่อวิดีโอ และการสร้าง engagement กับลูกค้าผ่านสื่อประเภท owned และ earned media

image001

นิคลาส สตอลเบิร์ก ผู้อานวยการฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เอ็ม อินเตอร์แอคชั่น สนับสนุนให้นักการตลาดเปลี่ยนแนวคิดจากการซื้อสื่อจากตาแหน่งมาเป็นซื้อจากพฤติกรรมของผู้บริโภค ผ่านการใช้เทคโนโลยีใหม่อย่าง Demand Side Platforms (DSPs) ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ เทคโนโลยีนี้เปิดโอกาสให้มีการเลือกลงสื่อโดยวิเคราะห์จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เหมาะกับเนื้อหาสื่อมากที่สุด โดยใช้ระบบการ bidding และสามารถเลือกการจ่ายตามจานวนครั้งการมองเห็นหรือรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสมกับแคมเปญ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้สูงสุดถึง 30%

“อีกหนึ่งเครื่องมือที่สาคัญคือการใช้ search marketing แบบตลอดต่อเนื่อง (always-on) ซึ่งการตลาดผ่าน search engine นั้นจะทรงประสิทธิภาพเมื่อวางแผนการใช้คาค้นหาให้สอดคล้องกับการตลาดฝั่ง above the line ดังนั้นการสร้างศัพท์ใหม่ๆจากสื่อหลักก่อนกระจายเข้าสู่ social media และ search engine จึงสามารถยกระดับแคมเปญให้ประสบผลสาเร็จได้ดียิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น “เป็ดพ่นไฟ” ซึ่งเป็นศัพท์ใหม่และไม่มีความหมายชี้เฉพาะมาก่อน ได้มีการนาเสนอผ่านสื่อหลักและได้รับความสนใจในโลกออนไลน์อย่างรวดเร็วจนกลายเป็นกระแสดิจิตัล ซึ่งนาไปสู่การทาการตลาดผ่าน search engine และ social media ได้อย่างเห็นผล” ศิวัตรกล่าว

เครื่องมือต่อมาคือการตลาดผ่านวิดีโอออนไลน์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยสาคัญที่ผลักดันให้เกิดการใช้การตลาดผ่านวิดีโอออนไลน์ได้แก่ การขยายตัวของอินเตอร์เน็ตบรอดแบรนด์และ 3G การแสวงหาช่องทางเพื่อออกอากาศสื่อที่สร้างสรรค์ขึ้นให้มากที่สุด รวมถึงความนิยมในการสร้างสื่อวิดีโอในปัจจุบันของสื่อและผู้บริโภคเองด้วย การทาการตลาดในรูปแบบวิดีโอผ่านช่องทางออนไลน์นั้นมีหลากหลายรูปแบบ เช่น โฆษณาที่เล่นก่อน กลาง และหลังคลิปวิดีโอที่ผู้ชมเลือกรับชม ( pre-roll mid-roll และ post-roll) รวมถึงการที่ผู้ชมเปลี่ยนช่องการการรับชมจากโทรทัศน์เป็นวิดีโอออนไลน์ โดยไม่จากัดเพียงวิดีโอสั้นๆ แต่ให้ความสนใจกับวิดีโอที่มีความยาว จึงเกิดทางเลือกอีกหนึ่งรูปแบบคือซีรีย์ส webisode (วิดีโอที่แบ่งฉายเป็นตอนๆทางเวบไซต์) หรือ mobisode (วิดีโอที่แบ่งฉายเป็นตอนๆทางโทรศัพท์มือถือ) ปัจจุบันนี้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยกว่า 82% รับชมวิดีโอออนไลน์หรือดาวโหลดวิดีโอออนไลน์ และ VRZO รายการออนไลน์ชื่อดังมียอดการรับชมสูงถึง 160 ล้านครั้ง ส่วนเวบไซต์ที่รวบรวมวิดีโอรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศอย่าง Mthai ก็เปิดเผยว่ามียอดการรับชมรวมถึง 1.2 พันล้านครั้ง ส่วนในด้านการตลาดออนไลน์ผ่านคลิปวิดีโอ ลูกค้ากว่า 22% ของกรุ๊ปเอ็มเลือกใช้โฆษณาแบบ pre-roll เพื่อขยายการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การตลาดแบบ multi-screen

เครื่องมือการตลาดออนไลน์ที่ขาดไม่ได้ในปี 2013 คือ social media ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทรงประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุน การใช้ social media แตกต่างจากการซื้อสื่อแบบดั้งเดิมคือสามารถขยายขอบเขตการสื่อสารได้แบบไม่จากัด ทั้งยังเหมาะกับการสร้าง engagement กับผู้ชมที่มองเห็นสื่อหลากหลายรูปแบบเป็นจานวนมากจนยากแก่การจดจา “เราไม่ควรมองข้ามการตลาดผ่านการสร้างสรรค์เนื้อหาเรื่องราวต่างๆ แต่ก็ไม่ควรจากัดผลงานอยู่เพียงแค่ภาพถ่าย วิดีโอ หรือเพลง แต่ควรจะผสมผสานการใช้ดารานักแสดงหรือผู้ที่มีชื่อเสียงในด้านต่างๆกับการตลาดผ่านสื่อ social network ด้วย” ศิวัตรกล่าวทิ้งท้าย

from:http://thumbsup.in.th/2013/04/focal-2013-minteraction/