คลังเก็บป้ายกำกับ: DeepMind

DeepMind สร้าง AI เขียนโปรแกรม สร้างไลบรารี sort ความเร็วสูง ใช้งานจริงในโครงการ LLVM

DeepMind เปิดตัว AlphaDev ปัญญาประดิษฐ์พัฒนาโปรแกรมที่ไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมธรรมดา แต่สามารถออปติไมซ์โปรแกรมจนเดินกว่าที่คนทั่วไปเขียนได้ ในกรณีนี้ทาง DeepMind ใช้ AlphaDev สร้างฟังก์ชั่น sort สำหรับเรียงลำดับข้อมูลที่มีการพัฒนากันมานาน

AlphaDev ทำงานคล้าย AlphaZero ที่เคยใช้สำหรับการเล่นเกมโกะมาก่อน โดย AlphaDev จะว่างคำสั่ง assembly ลงไปเรื่อยๆ เพื่อทำให้โค้ดรันได้เร็วที่สุดเหมือนเกมโกะที่พยายามครองพื้นที่ให้ได้มาก แต่หากโปรแกรมทำงานผิดก็จะถือว่าแพ้เกมนั้นไป โมเดลการให้รางวัลและปรับจูนไปเรื่อยๆ เช่นนี้ทำให้ AlphaDev สามารถเขียนโค้ด sort ที่ทำงานเร็วกว่าโค้ดเดิมใน LLVM ได้ทุกกรณี ในกรณีข้อมูลมีจำนวนน้อยโค้ดจะเร็วกว่าถึง 70% ขณะที่เมื่อข้อมูลมีจำนวนมากๆ ก็ยังเร็วกว่า 1.7%

เนื่องจากตัว AlphaDev เขียนโค้ดเป็นภาษา assembly ทีมงานต้องถอดโค้ดกลับมาเป็นภาษา C++ และส่งเข้าโครงการ LLVM นอกจากนี้ AlphaDev ก็ยังออปติไมซ์ฟังก์ชั่นแฮช ที่สามารถทำงานได้เร็วขึ้น 30% เมื่อแฮชข้อมูลขนาด 9-16 ไบต์ ทีมงานส่งโค้ดเข้าโครงการ Abseil แล้ว

ทาง DeepMind คาดว่าปัญญาประดิษฐ์อย่าง AlphaDev จะสร้างโค้ดที่ออปติไมซ์อย่างสูงจนมีผลต่อโลกในวงกว้าง หลังจากนี้จะพัฒนาให้มันเขียนโปรแกรมเป็นภาษา C++ ได้โดยตรง

ที่มา – DeepMind

No Description

from:https://www.blognone.com/node/134234

Sundar Pichai อธิบาย การรวมทีม Google Brain และ DeepMind เป็นธรรมชาติของกูเกิล

Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลให้สัมภาษณ์กับ The Verge หลังงาน Google I/O 2023 เน้นประเด็นเรื่อง AI

ข้อมูลสำคัญในบทสัมภาษณ์คือเขาอธิบายเรื่องการรวมทีม Google Brain กับ DeepMind เข้าเป็น Google DeepMind ว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของกูเกิลอยู่แล้ว เขายกตัวอย่างว่าก่อนหน้านี้ กูเกิลมีทีมเพลงสองทีมคือ YouTube Music และ Google Play Music ที่สุดท้ายยุบรวมกัน

Pichai บอกว่ากูเกิลโชคดีที่มีทีมวิจัย AI ที่ดีที่สุดระดับ Top 3 ของโลกอยู่ถึง 2 ทีม และหากไปดูงานวิจัยด้าน AI ชิ้นสำคัญๆ ก็เป็นผลงานของสองทีมนี้เสียเยอะ แต่เมื่อโมเดลของ AI มีขนาดใหญ่ขึ้น ซับซ้อนขึ้น ต้องการทรัพยากรมากขึ้น การรวมทีมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และทั้งสองทีมต่างตระหนักเรื่องนี้

No Description

เขาบอกว่า Google Brain กับ DeepMind ร่วมกันพัฒนาโมเดล Gemini ตัวใหม่อยู่ก่อนแล้ว การรวมทีมเข้าด้วยกันจึงเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ทิศทางใหม่ของ Google DeepMind จะเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใช้งานจริงมากกว่างานวิจัยเหมือนในอดีต มีทรัพยากรด้านการทดสอบและความปลอดภัยของ AI มากขึ้น

ในแง่โครงสร้างการบริหารทีม Jeff Dean หัวหน้า Google Brain มีความเป็นวิศวกร นักวิจัยสูงมาก จึงอยากทำงานเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ (chief scientist) มากกว่า ส่วน Demis Hassabis ซีอีโอ DeepMind เป็นนักสร้างระบบ AI มาตั้งแต่ต้น เขาจึงเหมาะกับการเป็นผู้บริหารทีมใหม่ที่รวมกันแล้ว

Pichai ยังบอกว่าเขาเตรียมความพร้อมเรื่อง AI มานานกว่าสิบปี ดังจะเห็นได้จากการตั้งทีม Google Brain, การซื้อกิจการ DeepMind, การดึงตัว Geoff Hinton ผู้บุกเบิกวงการ AI มาทำงานด้วยตั้งแต่ปี 2013, การสร้างชิป TPU เพื่อเร่งการประมวลผล AI ดังนั้นช่วงเวลาแห่ง AI จึงเป็นสิ่งที่เขาคาดหวังให้เกิดมานานแล้ว เขาตอบคำถามเรื่องการคุกคามของ OpenAI ว่ากูเกิลไม่ได้ต้องการเป็น “คนแรก” สิ่งสำคัญกว่าคือใช้เวลาทำมันให้ดีมากพอ (we took some time to get it right)

ที่มา – The Verge

from:https://www.blognone.com/node/133827

Inflection AI บริษัทใหม่ผู้ก่อตั้ง LinkedIn และ DeepMind เปิดตัว Pi แชทบ็อทคุยแล้วดีต่อใจ

บริษัท Inflection AI ที่ก่อตั้งโดย Reid Hoffman ผู้ร่วมก่อตั้ง LinkedIn และ Mustafa Suleyman ผู้ร่วมก่อตั้ง DeepMind ช่วงต้นปี 2022 ตอนนี้มีผลงานออกมาแล้ว เป็นแชทบ็อทชื่อว่า Pi

Pi ย่อมาจาก “personal intelligence” จุดเด่นของมันที่ต่างจากแชทบ็อทตัวอื่นๆ อย่าง ChatGPT, Bing, Bard คือการตั้งใจให้เป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่ “ใจดี” และพยายามช่วยเหลือเราในเรื่องต่างๆ (kind and supportive) ตัวบทสนทนามีความเป็นมนุษย์มากขึ้น พยายามชวนเราคุยด้วย ไม่ใช่ตอบคำถามอย่างเดียว

นอกจากนั้น อินเทอร์เฟซของ Pi ยังเปิดกว้างหลายช่องทาง นอกจากบนหน้าเว็บ HeyPi.com (ที่คุยได้ทันที ไม่ต้องล็อกอิน ไม่ต้องรอ waitlist) ยังสามารถคุยผ่านแอพแชทหลายตัว (WhatsApp, Messenger, Instagram DM), แอพบน iOS หรือจะคุยผ่านการส่ง SMS (ในสหรัฐ) ได้ด้วย

No Description

Mustafa Suleyman ซีอีโอของ Inflection AI ให้สัมภาษณ์ว่าตอนนี้ตลาดเต็มไปด้วยแชทบ็อทจำนวนมาก เป้าหมายของเขาคือการสร้าง AI ส่วนบุคคล (personal AI) ที่มีความเป็นเพื่อน (companionship) สามารถคุยเล่นได้ทุกเรื่อง (small talks) เหมือนเราคุยกับเพื่อนในชีวิตจริง

Reid Hoffman เป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนและลงทุน OpenAI ตั้งแต่ตอนก่อตั้ง (มาพร้อม Elon Musk เพราะชวนๆ กันมา) แต่ภายหลังเขาก็ลาออก และหันมาเปิดบริษัท Inflection AI ร่วมกับ Suleyman ตอนนี้บริษัทมีพนักงานราว 30 คน ระดมทุนได้แล้ว 225 ล้านดอลลาร์

เบื้องหลังของมันใช้โมเดล LLM ของตัวเอง ซึ่งระบุว่ามีข้อมูลที่ใช้เทรนอัพเดตถึงเดือนพฤศจิกายน 2022 และพยายามปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดย Suleyman บอกว่าโมเดลที่ใช้ในตอนนี้ยังไม่ใช่เวอร์ชันล่าสุด และรันอยู่บนเครื่อง Microsoft Azure แบบเดียวกับ OpenAI

ที่มา – Forbes

from:https://www.blognone.com/node/133700

กูเกิลรวมทีม DeepMind เข้ากับ Google Brain ในชื่อ Google DeepMind

กูเกิลประกาศรวมทีมวิจัยปัญญาประดิษฐ์สองทีมสำคัญ คือ Google Brain และ DeepMind เข้าเป็นทีมเดียวในชื่อ Google DeepMind โดยหวังว่าจะเร่งความเร็วในการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในบริษัทให้เร็วยิ่งขึ้น

Google Brain เป็นทีมภายใต้ Google Research ที่เป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนา Tensorflow และเทคโนโลยีเบื้องหลังปัญญาประดิษฐ์โมเดลภาษาขนาดใหญ่ทุกวันนี้ เช่น Transformer และ BERT โดยทีมนี้ก่อตั้งโดย Jeff Dean, Greg Corrado, และ Andrew Ng ส่วน DeepMind เป็นบริษัทอังกฤษที่กูเกิลไปซื้อมาเมื่อปี 2014 และมีผลงานสำคัญคือการสร้างปัญญาประดิษฐ์เล่น Go ที่เอาชนะ Lee Sedol ในปี 2016

การปรับโครงสร้างครั้งนี้ ทำให้ Jeff Dean ปรับตำแหน่งไปเป็น Google’s Chief Scientist ดูแลทั้ง Google Research และ Google DeepMind ขณะที่ Demis Hassabis ซีอีโอ DeepMind จะเป็นผู้ดูแล Google DeepMind และถูกกำกับโดย Scientific Board ที่เป็นกรรมการจากตัวแทนฝ่ายต่างๆ ในกูเกิล เพื่อดูแลความคืบหน้างานวิจัยและทิศทางงานวิจัย

ที่มา – Google Blog, DeepMind

from:https://www.blognone.com/node/133503

Elon Musk ตั้งบริษัท X.AI แข่ง OpenAI แล้ว ดึงพนักงานจาก DeepMind, ใช้ทรัพยากร Twitter/Tesla

จากข่าวลือว่า Elon Musk ตั้งทีมพัฒนาแชทบ็อทแนวเดียวกับ ChatGPT ของ OpenAI ล่าสุดมีคนค้นพบการจดทะเบียนตั้งบริษัท X.AI ในรัฐเนวาดา ตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม โดยมีชื่อ Musk เป็นกรรมการบริษัทเพียงคนเดียว

Financial Times รายงานข้อมูลโดยอ้างแหล่งข่าวว่า Musk กำลังสร้างทีมพัฒนา AI โดยดึงวิศวกรและนักวิจัยจำนวนหนึ่งเข้ามาทำงานด้วย ที่ระบุชื่อคือ Igor Babuschkin อดีตพนักงานของ DeepMind และชักชวนนักลงทุนบางรายใน SpaceX และ Tesla ให้มาร่วมลงทุนในบริษัทใหม่แห่งนี้

นอกจากนี้ เขายังสั่งซื้อจีพียูจาก NVIDIA เป็นหลักหลายพันตัว (thousands) เพื่อใช้เทรนโมเดล และอาจใช้ทรัพยากรประมวลผลจาก Tesla กับปริมาณข้อมูลของ Twitter มาช่วยในการเทรนโมเดลด้วย โดย Tesla ก็มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ชื่อ Dojo ใช้เทรนโมเดลของตัวเองเช่นกัน

Musk เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง OpenAI ในปี 2015 แต่ลาออกในปี 2018 โดยมีรายงานข่าวว่าเขาแตกหักกับผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นใน OpenAI เพราะมุมมองไม่ตรงกัน ทำให้ X.AI น่าจะเป็นบริษัท AI แบบที่เขาต้องการจริงๆ

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัท Twitter Inc. เพิ่งถูกควบรวมเข้ากับบริษัท X Corp. จึงเป็นไปได้สูงว่า X.AI จะเป็นส่วนหนึ่งของ X Corp. ภายใต้วิสัยทัศน์ใหญ่ Everything App ด้วย

ที่มา – Financial Times

from:https://www.blognone.com/node/133435

ไม่ใช่แค่งานวิจัย กูเกิลจะนำโมเดล Generative AI จาก Google Research และ DeepMind ให้คนนอกใช้งาน

กูเกิลประกาศนำเอาโมเดลสาย Generative AI ของตัวเองมาให้บริการลูกค้าผ่าน Google Cloud

Google Cloud มีบริการชื่อ Vertex AI สำหรับสร้างและใช้งานโมเดล AI อยู่แล้ว (ข่าวเก่า) เพียงแต่โมเดลที่เปิดให้ใช้งานยังเป็นโมเดลทั่วไป เช่น data labeling, vision, prediction, translation ไม่ได้เป็นโมเดลทันสมัยเกาะกระแสแบบ generative หรือ LLM ที่กำลังฮิตกันในช่วงนี้

โมเดล Generative AI ที่กูเกิลจะนำมาให้ใช้งานคือ PaLM API ตามที่ประกาศไป (เพียงแต่ทดสอบแบบจำกัดวงเฉพาะ trusted partner เท่านั้น) นอกจากนี้ยังบอกว่าจะนำโมเดลจาก Google Research และ DeepMind มาให้ใช้ด้วย แต่ยังไม่ระบุชัดว่ามีตัวไหนบ้างและจะเปิดให้ใช้เมื่อไร

กูเกิลยังบอกว่าจะเปิด Vertex AI ให้เรียกใช้งานโมเดลจากบริษัทอื่นๆ (third party) และโมเดลที่เป็นโอเพนซอร์สด้วย ซึ่งจะทำให้ Vertex AI กลายเป็นบริการที่มีโมเดล AI ให้เลือกใช้งานมากที่สุด แต่ก็ยังไม่บอกเช่นกันว่าเมื่อไร

คู่ต่อสู้ของ Vertex AI ที่เด่นชัดที่สุดในตอนนี้ย่อมหนีไม่พ้น Microsoft Azure OpenAI Service ที่ใช้โมเดลจากค่าย OpenAI มาให้บริการผ่านคลาวด์แก่ลูกค้าทั่วไปแล้ว

No Description

ที่มา – Google Cloud Blog

from:https://www.blognone.com/node/133018

DeepMind เผยแพร่โมเดลใหม่ DeepNash ที่คำนวณการเล่นเกมแบบรวม Nash Equilibrium เข้ามาด้วย

DeepMind เผยแพร่งานวิจัยใหม่ เป็นตัวดำเนินการ AI เรียกชื่อว่า DeepNash สำหรับการเล่นเกมที่ทำงานผสมผสานระหว่าง Model-Free Deep Reinforcement Learning ร่วมกับวิธีการ Nash Equilibrium ของ Game Theory

รูปแบบดังกล่าวเหมาะสำหรับเกมที่ผู้เล่นจะไม่มีข้อมูลในมือครบทั้งหมด (Imperfect Information) ต้องอาศัยการเดาอีกฝ่ายว่ามีเบี้ยหรือถือตัวเลขใดอยู่ และมีโอกาสตัดสินใจทางไหนได้บ้าง ต่างจากหมากกระดานที่ต่างฝ่ายต่างเห็นทุกอย่างเหมือนกันหมด จึงมีความซับซ้อนในการคิดหาทางเลือกมากขึ้น

โมเดล DeepNash ถูกสาธิตกับการเล่นบอร์ดเกม Stratego เกมหมากกระดานที่สองฝ่ายจะไม่เห็นเบี้ยของอีกฝ่าย และมีโอกาสเจอกับระเบิดที่ซ่อนอยู่ได้ เท่ากับเกมนี้มีทั้งโอกาสเกิดเหตุการณ์ที่เกินคาดหมาย ไปจนถึงอาจถูกอีกฝ่ายปั่นให้เชื่อไปอีกทางได้ด้วย

ผลการทดสอบโมเดลนี้ DeepNash สามารถเอาชนะคู่แข่งในแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ที่ระดับ 84%

ที่มา: DeepMind

No Description

ตัวอย่างเกม

from:https://www.blognone.com/node/131709

AI ของ DeepMind โชว์ความเหนือ ทุบสถิติการคำนวณด้านคอมพิวเตอร์ที่อยู่มา 50 ปีลงได้

DeepMind เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้พัฒนา AlphaGo ปัญญาประดิษฐ์ที่เล่นโกะได้เก่งกว่าแชมป์โลก ก่อนที่ต่อมาจะพัฒนา AlphaZero ที่มีความพิเศษตรงที่สามารถเทรนตัวเองได้ด้วย และล่าสุดทีมงาน DeepMind ได้พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่เพื่อแก้โจทย์สำคัญของวิทยาการคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะและมันก็ทำได้สำเร็จโดยทำได้เร็วกว่าสถิติที่อยู่มานานนับ 50 ปีลงได้

การคำนวณที่ว่านี้คือการคูณเมทริกซ์ ซึ่งเป็นโจทย์การทำงานระดับพื้นฐานที่คอมพิวเตอร์จำนวนมากมายทั่วโลกต้องทำอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ไม่ว่าจะเป็นการแสดงภาพให้ปรากฏบนหน้าจอ, การจำลองเชิงฟิสิกส์ที่มีความซับซ้อน และยังเป็นรากฐานสำคัญของตัว machine learning เองด้วย การที่ทำสิ่งนี้ให้เร็วขึ้นได้ย่อมเป็นเรื่องใหญ่กับโลกทุกวันนี้ที่ใช้คอมพิวเตอร์กับงานสารพัดอย่างรอบตัว

การคูณเมทริกซ์นั้นโดยคำนิยามก็เป็นการนำเอาค่าในแต่ละแถวของเมทริกซ์ตัวตั้งไปคูณกับค่าของตัวเลขแต่ละคอลัมน์ในเมทริกซ์ตัวคูณ ซึ่งวิธีการคำนวณนี้ก็มีการเรียนการสอนกันในโรงเรียนอยู่แล้วตั้งแต่ระดับมัธยม การหาผลลัพธ์การคูณนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากมากมายนัก แต่ที่ยากทำอย่างไรให้หาผลลัพธ์ได้เร็วที่สุด และโจทย์ในการค้นหาวิธีการคูณเมทริกซ์ให้เร็วนี้เองถือเป็นโจทย์ใหญ่ข้อหนึ่งของศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

โดยหลักการแล้วมีวิธีการมากมายในการคูณเมทริกซ์ กล่าวกันว่าจำนวนวิธีการนั้นมากยิ่งกว่าจำนวนอะตอมในเอกภพ
(10^33) มากมายนัก การค้นหาวิธีการใหม่ๆ แม้เพียงแค่ 1 วิธีที่จะคูณเมทริกซ์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เร็วขึ้นกว่าเดิมจึงเป็นเรื่องที่ท้าทายที่ไม่เคยหมดความเป็นไปได้ และปัญญาประดิษฐ์ของ DeepMind ก็พบวิธีหนึ่งที่เร็วกว่าวิธีที่ใช้กันมานานร่วมครึ่งศตวรรษ

เทคนิคที่ทีมงาน DeepMind ช่วยให้ปัญญาประดิษฐ์แก้โจทย์เรื่องนี้ได้ เริ่มจากการ “แปลงสภาพโจทย์” ที่เป็นเรื่องของการคำนวณให้กลายเป็นเกมที่ความเป็นบอร์ดเกม 3 มิติ ซึ่งพวกเขาเรียกมันว่า “TensorGame” ตัวกระดานเกมเปรียบเสมือนโจทย์การคูณเมทริกซ์ที่จะต้องแก้ ในขณะที่การเดินหมากแต่ละตาเป็นเสมือนขั้นตอนการคำนวณลำดับถัดไปเพื่อแก้โจทย์ การได้มาซึ่งลำดับการเดินหมากของ “TensorGame” นี้ก็จะเท่ากับได้ลำดับการคิดเลขเพื่อให้บรรลุการคูณเมทริกซ์ตามโจทย์ หรือก็คือได้อัลกอริทึมสำหรับการคูณเมทริกซ์นั่นเอง

DeepMind ได้ปรับปรุง AlphaZero และเทรนมันด้วย TensorGame และตั้งชื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่นี้ว่า “AlphaTensor” ซึ่งเป้าหมายของมันคือการ “เดินหมาก” ของ Tensorgame ให้ใช้จำนวนครั้งน้อยที่สุด ซึ่งเมื่อทำได้ก็เท่ากับว่าจะได้วิธีการคูณเมทริกซ์ที่มีกระบวนการลดน้อยลง หรืออีกนัยก็คือทำการคูณได้เร็วขึ้น

AlphaTensor สามารถทำการคูณเมทริกซ์ขนาด 2*2 ได้เร็วกว่าวิธีการที่ Volker Strassen นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้ค้นพบตั้งแต่ปี 1969 ซึ่งเป็นวิธีที่ยังไม่มีใครทำได้ดีกว่าจนกระทั่งการถือกำเนิดของ AlphaTensor วิธีการของ Strassen นั้นมีการคิดคำนวณ 49 ขั้นตอนจึงได้ผลลัพธ์การคูณเมทริกซ์ขนาด 2*2 ในขณะที่ปัญญาประดิษฐ์ของ DeepMind สามารถทำได้สำเร็จภายใน 47 ขั้นตอนเท่านั้น

No Descriptiona: การจำลองการคูณเมทริกซ์ขนาด 2*2 ในรูปแบบ TensorGame โดยกล่องทึบใช้แทนค่าผลการคูณ ตัวอย่างเช่น c1 ได้จาก a1b1 + a2b3 จึงมีกล่องทึบในพิกัด (a1,b1) และ (a2,b3) ปรากฏอยู่ในแถว c1, b: อัลกอริทึมการคูณเมทริกซ์ของ Strassen ซึ่งใช้การคูณ 7 ครั้ง, c: การจัดเรียงวิธีการคำนวณใหม่เพื่อนำเสนอในรูปแบบสัมพันธ์กับ TensorGame โดยใช้สี 3 สีเพื่อจับคู่ให้เปรียบเทียบกับองค์ประกอบที่อธิบายตามอัลกอริทึมของ Strassen

ในงานวิจัยของ DeepMind ระบุว่า AlphaTensor สามารถค้นหาวิธีการคูณเมทริกซ์ขนาดต่างๆ รวม 70 ขนาดได้ดีกว่าวิธีการเดิม นอกเหนือจากการคูณเมทริกซ์ 2*2 ที่ทำการคูณเสร็จด้วยการคำนวณที่เร็วกว่าเดิม 2 ขั้นตอน มันยังทำการคูณเมทริกซ์ขนาด 9*9 ได้เสร็จด้วยการคำนวณเพียง 498 ขั้นตอนดีกว่าของเดิมที่ต้องใช้ 511 ขั้นตอน ในขณะที่การคูณเมทริกซ์ขนาด 11*11 มันก็ลดจำนวนขั้นตอนการคำนวณที่ต้องใช้ลงจาก 919 ขั้นตอนเหลือ 896 ขั้นตอนเท่านั้น

No Descriptionตารางเปรียบเทียบจำนวนขั้นตอนการคำนวณเพื่อหาผลการคูณเมทริกซ์ขนาด n*m กับเมทริกซ์ m*p โดยตัวเลขสีแดงหมายถึงจำนวนขั้นตอนการคำนวณที่ AlphaTensor ทำได้เร็วกว่าวิธีการที่ใช้อยู่เดิม

และสำหรับโจทย์การคูณเมทริกซ์บางขนาดนั้นแม้ว่า AlphaTensor จะไม่พบวิธีการคูณเมทริกซ์ที่ดีกว่าเดิม แต่มันก็ค้นพบวิธีการคำนวณที่ดีที่สุด (แบบที่เคยค้นพบและใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน) ได้ด้วยตัวมันเอง

แม้ว่าเป้าหมายสูงสุดของทีมงาน DeepMind คือการพยายามค้นหาอัลกอริทึมที่เร็วที่สุดในทางทฤษฎี แต่เนื่องจากในความเป็นจริงแล้วอัลกอริทึมแต่ละอันก็สามารถใช้งานได้ดีบนฮาร์ดแวร์แต่ละรุ่นแตกต่างกันไปพวกเขาจึงเลือกใช้ Nvidia V100 GPU และ Google TPU เป็นฮารด์แวร์อ้างอิง สาเหตุเป็นเพราะหน่วยประมวลผล 2 ตัวนี้เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับการใช้งานเพื่อเทรนปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งพวกเขาพบว่าอัลกอริทึมที่ถูกค้นพบโดย AlphaTensor นั้นเร็วกว่าของเดิมที่ใช้กับชิปเหล่านี้ราว 10-20%

No Descriptionกราฟแสดงผลเปรียบเทียบประสิทธิในการคูณเมทริกซ์ขนาดต่างๆ เมื่อเทียบกับอัลกอริทึมเดิมของ Nvidia V100 GPU และ Google TPU

ผู้ที่สนใจในผลงานการคำนวณของ AlphaTensor สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

ที่มา – MIT Technology Review

from:https://www.blognone.com/node/130796

โกะก็แล้ว หมากรุกก็แล้ว ได้เวลา DeepMind หัดเล่นฟุตบอล

DeepMind เผยแพร่งานวิจัยใหม่โชว์ผลการฝึกปัญญาประดิษฐ์ให้หัดเล่นฟุตบอลตั้งแต่พื้นฐาน ตั้งแต่เริ่มยืน, วิ่งไล่ลูกบอล ไปจนถึงการเลี้ยงหลบ, เข้าสกัด และการเล่นเป็นทีม

งานวิจัยนี้เป็นการฝึก DeepMind ให้ควบคุมหุ่นที่ถูกเรียกว่า “agent” ซึ่งหมายถึงหุ่นจำลอง 3 มิติในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการกำหนดเงื่อนไขกลไกการเคลื่อนไหวร่างกายตามหลักฟิสิกส์เลียนแบบธรรมชาติของร่างกายคน (ซึ่งใช้เอนจิน MujoCo ที่บริษัทซื้อมา) ให้เรียนรู้วิธีการเล่นฟุตบอลโดยเริ่มตั้งแต่ศูนย์ในระดับที่ agent ไม่รู้แม้กระทั่งวิธีทรงตัวให้ยืนอยู่ในสนามฟุตบอลได้ จนกระทั่งมันรู้จักวิธีเล่นฟุตบอลกันเป็นทีม

ภายใน 3 วันหลังเริ่มการเทรนให้ DeepMind (เทียบเท่ากับการจำลองเกมการแข่งฟุตบอลจริง 5 ปี) มันการเริ่มรู้จักการควบคุมร่างกายของ agent ให้เคลื่อนที่หาลูกฟุตบอลและพยายามกระแทกลูกบอลให้ไปเข้าประตูทีมฝั่งตรงข้าม

ผ่านไป 50 วันหลังการเทรน DeepMind รู้จักการสั่งให้ agent เล่นฟุตบอลโดยการพยายาม “เตะ” ลูกฟุตบอล ไม่ใช่แค่การวิ่งชนกระแทกลูกบอลอีกต่อไป นอกจากนี้มันยังรู้จักการออกบอลไปยังพื้นที่ว่างที่ไม่มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม รู้จักการหลบหลีกคู่ต่อสู้ ทั้งยังพัฒนาการเคลื่อนที่ตอนไม่มีบอลด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือภาพรวมของการฝึกให้ปัญญาประดิษฐ์รู้จักเกมฟุตบอลและเริ่มหัดเล่นด้วยตัวมันเอง เสมือนการปล่อยให้คนทำความรู้จักการเล่นฟุตบอลด้วยตนเอง แตกต่างกันแต่เพียงแค่ว่านี่คือการฝึกให้ปัญญาประดิษฐ์ควบคุมร่างกายของหุ่นในโลกเสมือนแห่งคอมพิวเตอร์ให้เรียนรู้และค่อยๆ พัฒนาทักษะกีฬาแทนการใช้ร่างกายจริง

แน่นอนว่าเมื่อมองดูภาพการเล่นฟุตบอลของ DeepMind แล้ว มันช่างแตกต่างจากภาพที่เราเห็นจากเกมฟุตบอลอย่าง FIFA หรือ PES แบบคนละเรื่อง ซึ่งเกมเหล่านี้ก็มีโหมดที่ผู้เล่นสามารถแข่งกับทีมของคอมพิวเตอร์หรือปล่อยให้คอมพิวเตอร์ควบคุมทีมแข่งกันเอง และแน่นอนว่าโหมดเกมเหล่านั้นล้วนมีปัญญาประดิษฐ์อยู่เบื้องหลังคอยควบคุมตัวผู้เล่นต่างๆ ในเกมให้เคลื่อนไหวและพยายามเอาชนะคู่แข่ง

ปัญญาประดิษฐ์ในเกมเหล่านั้นมีความซับซ้อนในการเรียนรู้และควบคุมการเคลื่อนที่ต่างๆ น้อยกว่าสิ่งที่ DeepMind ถูกฝึกให้ทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฟิสิกส์เชิงกลของร่างกาย agent (หรือก็คือตัวผู้เล่นในเกมฟุตบอล) ซึ่งในเกมมีรายละเอียดซับซ้อนน้อยกว่าเอนจิน MujoCo ที่ DeepMind ต้องคอยควบคุม ไหนจะวิธีการเคลื่อนไหวร่างกายที่เกมอย่าง FIFA หรือ PES นั้นมีการออกแบบท่วงท่าหรือรูปแบบการเคลื่อนไหวเตรียมข้อมูลเอาไว้ให้พร้อมอยู่ก่อนแล้ว เหลือเพียงให้ปัญญาประดิษฐ์ของเกมเลือกดึงเอาชุดรูปแบบการเคลื่อนไหวเหล่านั้นมาใช้ให้เหมาะสมต่อสถานการณ์

ในแง่การเคลื่อนที่ในเชิงแทคติคการเล่นร่วมกันเป็นทีม หากมองถึงความลื่นไหลของเกมอย่าง FIFA หรือ PES ก็ดูเหมือนคอมพิวเตอร์จะรู้จักวิธีการเล่นเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพ แต่นั่นก็เพราะว่าในการพัฒนาเกมย่อมต้องใส่ข้อมูลแทคติกเหล่านี้เอาไว้ให้คอมพิวเตอร์อยู่ก่อนแล้วเช่นกัน ในขณะที่ DeepMind นั้นต้องเรียนรู้เรื่องเหล่านี้ใหม่หมดด้วยตัวมันเองทุกอย่าง ต้องลองผิดลองถูกด้วยตัวมันเอง เปรียบเหมือนคนที่ต้องหัดเล่นฟุตบอลโดยหัดคิดเอง ปราศจากโค้ชที่จะคอยมาสอนว่าทำแบบไหนจึงจะเป็นวิธีที่ดีและถูกต้อง

เบื้องหลังการเรียนรู้วิธีเล่นฟุตบอลของ DeepMind นั้น ทีมงานได้แบ่งขั้นตอนการฝึกปัญญาประดิษฐ์ออกเป็น 3 ช่วงใหญ่ๆ โดยแรกเริ่มพื้นฐานการเรียนรู้เรื่องการขยับร่างกาย, วิธีการทรงตัว, การยืน, การวิ่ง, การเหวี่ยงเท้าเพื่อเตะ เหล่านี้อาศัยการฝึกปัญญาประดิษฐ์ด้วยข้อมูลจากการทำ motion capture จากร่างกายคนจริงๆ ในขั้นตอนนี้เป็นการเทรนให้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้การควบคุม agent แบบเดี่ยว

ขั้นถัดมาคือการฝึกให้ DeepMind เข้าใจพื้นฐานการเล่นฟุตบอล โดยให้เลือกนำเอาการเคลื่อนไหวร่างกายที่มันได้เรียนมาจากข้อมูล motion captue ในขั้นตอนแรกมาใช้ในการเล่นฟุตบอลขึ้นพื้นฐาน ปัญญาประดิษฐ์จะถูกฝึกให้มันพยายามทำสิ่งต่างๆ เช่น การเคลื่อนที่ร่างกาย agent ให้ไปยังตำแหน่งต่างๆ ตามที่ถูกกำหนด, การเลี้ยงลูกฟุตบอลในทิศทางต่างๆ ตามที่โจทย์ระบุ รวมถึงการเตะลูกฟุตบอลให้เข้าประตู เหล่านี้อาศัยการปล่อยให้ปัญญาประดิษฐ์ใช้เวลาฝึกฝนโดยงัดเอาข้อมูลการเคลื่อนไหวร่างกายที่เรียนรู้ไว้มาใช้ให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งขั้นตอนนี้ก็เป็นการเทรนปัญญาประดิษฐ์ให้ควบคุม agent แบบเดี่ยวเช่นกัน

และการฝึกขั้นสูงสุดก็คือการฝึกเรื่องการเล่นร่วมกันของ agent มากกว่า 1 ตัว มีทั้งการฝึกการผ่านบอลให้กัน, การหาตำแหน่ง, การสกัดฝ่ายตรงข้าม โดย DeepMind จะตัองดึงเอาสิ่งที่มันได้เรียนรู้ผ่านการฝึกใน 2 ขั้นตอนแรกมาใช้งานให้บรรลุเป้าหมาย

ด้วยการปล่อยให้มันเรียนรู้และฝึกที่นานพอ DeepMind สามารถเล่นฟุตบอลโดยรู้จักทักษะการเล่นหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นการแตะหลบเพื่อเลี้ยงบอลผ่านคู่ต่อสู้, การบังบอล, การวางบอลยาว, การจ่ายบอลทะลุช่อง, การวิ่งหาตำแหน่งรับบอล, การโยกหลอก, การเข้าสกัด, การพลิกบอล, การงัดบอลโด่งข้ามคู่ต่อสู้, การสกัดบอลหน้าประตู, การถอยไปยืนตำแหน่งเกมรับ, การซ้อนตำแหน่งเพื่อนร่วมทีม

เรียกได้ว่าน่าสนใจมากกับการเห็นคอมพิวเตอร์หัดเล่นฟุตบอลได้ภายในเวลาไม่กี่วัน

ที่มา – The Next Web, DeepMind

from:https://www.blognone.com/node/130188

DeepMind เปิดฐานข้อมูลโครงสร้างสามมิติโปรตีน 200 ล้านแบบ เกือบครบทุกชนิดที่รู้จัก

DeepMind ใช้ปัญญาประดิษฐ์ AlphaFold ทำนายโครงสร้างสามมิติของโปรตีนรวมกว่า 200 ล้านชนิด แล้วเปิดเป็นฐานข้อมูลให้ใช้งานได้ฟรี นับเป็นฐานข้อมูลโครงสร้างโปรตีนที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้ ครอบคลุมโปรตีนแทบทุกชนิดที่รู้จักกัน

ฐานข้อมูลโครงสร้างโปรตีนที่ได้จากการทดลองทุกวันนี้มีขนาดเพียง 190,000 รายการ แม้ว่าเราจะรู้จักโปรตีนจำนวนมากก็ตาม โครงสร้างที่ได้จากการทำนายดัวย AlphaFold นี้จะนำไปแสดงในเว็บ UniProt (ตัวอย่างโครงสร้างอินซูลิน) ทำให้ผลการค้นหาต่อจากนี้สามารถแสดงภาพโครงสร้างได้ทั้งหมด และกูเกิลจะเปิดให้ดาวน์โหลดโครงสร้างที่ทำนายไว้ขนาดไฟล์รวม 23TiB

ก่อนหน้านี้มีงานวิจัยที่ใช้ข้อมูลจาก AlphaFold เป็นข้อมูลประกอบงานวิจัยจำนวนมาก โดยสามารถใช้ออกแบบยาเพื่อให้จับกับโปรตีนที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรตอนนี้ AlphaFold ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่ เช่น ยังไม่สามารถทำนายโครงสร้างโมเลกุลขนาดเล็ก, โปรตีนที่ทำงานกับโปรตีนอื่นๆ เช่น DNA/RNA, และยังไม่สามารถทำนายการเคลื่อนไหว

ที่มา – DeepMind

No Description

from:https://www.blognone.com/node/129576