คลังเก็บป้ายกำกับ: BULLGUARD

BullGuard เปิดให้บริการ IoT Scanner สำหรับตรวจสอบความเสี่ยงฟรี

bullguard_logo

เพียง 1 คลิก ก็ทราบว่าอุปกรณ์ IoT ของเราเสี่ยงถูกแฮ็คเกอร์เข้าโจมตีหรือไม่

เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์ที่ Dyn ผู้ให้บริการ DNS ชื่อดังถูก DDoS จนทำให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกไม่สามารถเข้าถึงหลายเว็บไซต์ เช่น GitHub, Twitter, Reddit หรือ AirBnb ได้ ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้นพบว่า ส่วนหนึ่งของทราฟฟิคที่ใช้โจมตีมาจากอุปกรณ์ IoT เช่น IP Camera หรือ DVR ที่ติดมัลแวร์ Mirai ส่งผลให้อุปกรณ์เหล่านั้นกลายเป็นกองทัพ Botnet เข้าโจมตีเป้าหมายตามคำสั่งของแฮ็คเกอร์

bullguard_iot_scanner_1

ก่อนหน้านี้ก็มีกรณีที่ KrebsOnSecurity.com และ OVH บริษัทโฮสติ้งสัญชาติฝรั่งเศส ถูกโจมตีด้วย IoT Botnets ปริมาณมหาศาล คาดการณ์ว่ามีอุปกรณ์ IoT มากกว่า 145,000 เครื่องถูกแฮ็คและใช้โจมตีแบบ DDoS เมื่อรวมกับกรณีที่ซอร์สโค้ดของมัลแวร์ Mirai ซึ่งเป็น IoT DDoS Botnet ถูกปล่อยออกมาสู่สาธารณะ จึงทำให้ปัจจุบันนี้ อุปกรณ์ IoT กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจะเป็น Botnet สำหรับให้แฮ็คเกอร์ใช้โจมตีโดยไม่รู้ตัว

สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ อาจเป็นเรื่องไม่ยากนักที่จะทำให้อุปกรณ์ IoT ที่ตนใช้งานอยู่มีความมั่นคงปลอดภัย เนื่องจากมีเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญพร้อมรับมือกับมัลแวร์ Mirai หรือ IoT Botnet อื่นๆ แต่สำหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือผู้ใช้งานตามบ้าน เป็นเรื่องยากที่จะค้นหาว่าอุปกรณ์ IoT เช่น Router, IP Camera หรือ DVR เสี่ยงต่อการถูกแฮ็คเกอร์โจมตีหรือไม่ BullGuard ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ Antivirus ชื่อดังจึงนำเสนอบริการ IoT Scanner สำหรับตรวจสอบช่องโหว่และความเสี่ยงฟรี

IoT Scanner เป็นบริการออนไลน์สำหรับตรวจสอบว่าอุปกรณ์ IoT ที่ใช้ในบ้าน เช่น Smart TV, IP Camera รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะต่างๆ เชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต และ Shodan * สามารถค้นหาเจอหรือไม่ เพียงแต่กดสแกนเพียง 1 คลิกเท่านั้น ซึ่งบริการดังกล่าวช่วยให้ผู้ใช้ทั่วไปทราบได้ว่าอุปกรณ์ IoT ของตนกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงหรือไม่ พร้อมให้คำแนะนำในการเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยแก่การใช้อุปกรณ์เหล่านั้น

bullguard_iot_scanner_2

* Shodan เป็น Search Engine สำหรับค้นหาอุปกรณ์ Internet of Things หรืออุปกรณ์ที่กำลังเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ทั่วโลก เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่แฮ็คเกอร์ชอบใช้เพื่อค้นหาเป้าหมายที่ต้องการแฮ็ค

ผู้ที่สนใจสามารถทดสอบสแกนอุปกรณ์ IoT ด้วยตนเองได้ที่ http://iotscanner.bullguard.com/

from:https://www.techtalkthai.com/iot-scanner-by-bullguard/

ผลทดสอบ Malware Removal Test โดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบการคลีนมัลแวร์ (Malware Removal Test) ประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย 16 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

ทดสอบการคลีนมัลแวร์

การทดสอบ Malware Removal Test นี้ ทำขึ้นเพื่อตรวจสอบว่าโปรแกรมแอนตี้ไวรัสต่างๆสามารถทำการกำจัดไวรัส โทรจัน สปายแวร์ และอื่นๆออกจากเครื่องที่ติดมัลแวร์เหล่านั้นได้ดีเพียงใด โดยสนใจเฉพาะศักยภาพในการจัดการมัลแวร์ที่อยู่ภายในเครื่องและทำความสะอาดไฟล์เท่านั้น ไม่ได้สนใจถึงอัตราการตรวจจับหรือป้องกัน (ดูผลทดสอบการป้องกันได้ที่ Real-world Protection Test 2015)

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

  • Avast Free Antivirus
  • AVG Internet Security
  • AVIRA Antivirus Pro
  • Bitdefender Internet Security
  • BullGuard Internet Security
  • Emsisoft Anti-Malware
  • eScan Internet Security
  • ESET Smart Security
  • F-Secure Internet Security
  • Fortinet FortiClient
  • Kaspersky Internet Security
  • Lavasoft Ad-ware Free Antivirus+
  • Microsoft Windows Defender
  • Panda Free Antivirus
  • Sophos Endpoint Security
  • ThreatTrack Vipre Internet Security

เตรียมพร้อมก่อนการทดสอบ

  • ทดสอบบนระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 64-Bit
  • ทดสอบเป็นระยะเวลา 7 เดือน ตั้งแต่ มีนาคม – กันยายน 2015
  • ใช้มัลแวร์ที่ทุกผลิตภัณฑ์สามารถตรวจจับได้จำนวน 35 รายการ โดยเป็นมัลแวร์ชื่อดังที่มีการแพร่กระจายและสร้างความเสียหายแก่ผู้ใช้จริง แต่ไม่ทำอันตรายระบบระบบไฟล์หรือฮาร์ดแวร์ กล่าวคือ โปรแกรมแอนตี้ไวรัสควรแก้ปัญหาได้โดยไม่จำเป็นต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือเปลี่ยนฮาร์ดแวร์ใหม่

av-comp_malware_removal_1

ขั้นตอนการทดสอบ

  1. แพร่มัลแวร์ใส่เครื่องที่ทดสอบทีละรายการ รีบูทเครื่องเพื่อให้มั่นใจว่ามัลแวร์ทำงานแน่นอน
  2. ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัส และอัพเดทฐานข้อมูลล่าสุด ในกรณีที่ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสไม่ได้ จะติดตั้งผ่าน Safe Mode หรือใช้วิธีตรวจสอบผ่านทาง Rescue Disk แทน
  3. กำจัดมัลแวร์และทำความสะอาดไฟล์โดยใช้วิธีรัน Full System Scan และทำตามคำแนะนำของโปรแกรมแอนตี้ไวรัส
  4. รีสตาร์ทเครื่องหลังกำจัดมัลแวร์เรียบร้อย จากนั้นตรวจสอบผลลัพธ์ที่ได้

การให้คะแนน

พิจารณาการให้คะแนนจากคุณสมบัติ 2 อย่าง คือ ความสามารถในการกำจัดมัลแวร์และทำความสะอาดไฟล์ และความง่ายในการใช้

ความสามารถในการกำจัดมัลแวร์และทำความสะอาดไฟล์

A: กำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ มีเพียงไฟล์ไร้สาระเหลือทิ้งไว้
B: กำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังคงมี Executable File หรือการเปลี่ยนแปลงบน MBR/Registry หลงเหลืออยู่
C: กำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยังคงหลงเหลือปัญหาทิ้งไว้ เช่น ข้อความแจ้งเตือน, ไฟล์มีปัญหา, ใช้ Task Manager ไม่ได้, แก้ไขการตั้งค่า Folder ไมไ่ด้, แก้ไข Registry ไม่ได้ และอื่นๆ
D: ไม่สามารถกำจัดมัลแวร์ได้อย่างสมบูรณ์ หรือผลลัพธ์ที่ได้ทำให้ไม่สามารถใช้งาน Windows ตามปกติได้อีกต่อไป

ความง่ายในการใช้

A: จัดการมัลแวร์ได้ในโหมดการใช้งานปกติ
B: จัดการมัลแวร์ได้ผ่านทาง Safe Mode หรือผ่านทาง Utility อื่นๆ
C: จัดการมัลแวร์ได้ผ่านทาง Rescue Disk
D: จัดการมัลแวร์ได้ผ่านทางการติดต่อทีม Support หรือไม่สามารถกำจัดมัลแวร์ได้

av-comp_malware_removal_2

ผลลัพธ์การทดสอบ

  • ผลิตภัณฑ์จาก Kaspersky Lab ให้ผลลัพธ์โดยเฉลี่ยสูงที่สุด คิดเป็น 93 คะแนน ตามมาด้วย Avast! และ Bitdefender ที่ได้ 89 คะแนนเท่ากัน
  • ระบบป้องกันภัยพื้นฐานของ Microsoft ได้คะแนนสูงถึง 84 คะแนน เหนือกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆกว่า 10 รายการ นับว่า Microsoft ออกมาระบบความปลอดภัยเพื่อรับมือกับการติดมัลแวร์ได้ค่อนข้างดี

av-comp_malware_removal_3

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์

av-comp_malware_removal_4

อ่านรายงานการทดสอบฉบับเต็มได้ที่: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/10/avc_rem_2015_en.pdf

from:https://www.techtalkthai.com/malware-removal-test-2015-by-av-comparatives/

เผยผลทดสอบ Internet Security Suite สำหรับ Windows 8.1 โซลูชันจาก Avira, Bitdefender และ Kaspersky Lab มาเป็นอันดับหนึ่ง

avtest_logo

การใช้งานระบบรักษาความปลอดภัยชั้นเยี่ยมในการป้องกันมัลแวร์และภัยคุกคามจากอินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกบริษัท AV-Test สถาบันวิจัยอิสระทางด้านความปลอดภัยของระบบ IT จึงได้ทำการทดสอบ Internet Security Suite จำนวน 21 โซลูชันบน Windows 8.1 เพื่อเป็นแนวในการเลือกใช้ให้แก่ทุกบริษัทที่สนใจเสริมความแข็งแกร่งให้แก่คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายของตน

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

AV-Test ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์ Internet Security Suite รวมทั้งสิ้น 21 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ AhnLab, Avast, AVG, Avira, Bitdefender, BullGuard, Check Point, Comodo, ESET, F-Secure, G Data, K7 Computing, Kaspersky Lab, McAfee, Microworld, Norman, Panda Security, Quick Heal, Symantec, ThreatTrack และ Trend Micro โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้กับ Windows Defender ระบบป้องกันภัยที่มาพร้อมกับ Windows 8.1

วิธีการทดสอบ

  • ทดสอบ 3 อย่าง คือ Protection, Performance และ Usability โดยแต่ละการทดสอบจะมีคะแนนเต็ม 6 คะแนน รวมเป็น 18 คะแนน
  • ศักยภาพในการป้องกัน (Protection) ทดสอบโดยใช้มัลแวร์แบบ Zero-day จำนวน 330 รายการ และมัลแวร์ที่ AV-Test รวบรวมอีกกว่า 45,000 รายการ
  • ประสิทธิภาพในการทำงาน (Performance) ทดสอบโดยพิจารณาการความเร็วในการเริ่มทำงานของระบบ การเปิดใช้งานเว็บเพจ การดาวน์โหลดไฟล์ การติดตั้งแอพพลิเคชัน และการคัดลอกไฟล์
  • ทดสอบ False Positive โดยการเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่มีอันตรายกว่า 500 เว็บไซต์ และติดตั้งแอพพลิเคชันปกติหลายสิบแอพพลิเคชัน นอกจากนี้ยังมีการสแกนไฟล์และโปรแกรมที่ปราศจากมัลแวร์มากกว่า 1.2 ล้านรายการ

ผลลัพธ์ของการทดสอบ

av-test_windows_8-1_2015_1

  • มีเพียง Commercial Solution จาก Avira, Bitdefender และ Kaspersky Lab เท่านั้นที่ได้คะแนนเต็ม 18 คะแนน
  • มี 7 ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนระหว่าง 17 – 17.5 หนึ่งในนั้นคือ Freeware จาก Panda ซึ่งนับว่าเป็นซอฟต์แวร์ฟรีที่ให้ผลลัพธ์ดีที่สุดในการทดสอบ
  • ผลทดสอบศักยภาพในการป้องกัน (Protection) พบว่ามี 11 ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนนเต็ม 6 และ 6 ผลิตภัณฑ์ที่ได้คะแนน 5.5 นับว่าผลลัพธ์ของการทดสอบโดยรวมอยู่ในระดับเยี่ยมยอด
  • ผลทดสอบประสิทธิภาพในการทำงาน (Performance) พบว่า บางโซลูชัน เช่น G Data มีศักยภาพในการป้องกันที่สูงมาก แต่ในขณะเดียวกันก็ข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพ (ได้ 4 จาก 6 คะแนน) เช่นเดียวกันกับ ESET และ Quick Heal ที่มีศักยภาพในการป้องกันค่อนข้างดี แต่ประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่น (ได้ 3 จาก 6 คะแนน) และที่น่าตกใจที่สุด คือ Windows Defender ที่นอกจากจะมีศักยภาพในการป้องกันค่อนข้างแย่แล้ว การทำงานของมันยังส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการใช้ Windows ค่อนข้างสูงอีกด้วย
  • ผลทดสอบ False Positive พบว่ามี 15 โซลูชันที่เกิด False Alarm 0 – 2 ครั้ง ซึ่งได้คะแนนเต็ม 6 คะแนน

av-test_windows_8-1_2015_2

  • ผลการทดสอบของ Windows Defender ถือว่าไม่ดีมากนัก ผู้ใช้งานควรพิจารณาการติดตั้งโซลูชันรักษาความปลอดภัยอื่นแทนการใช้ระบบป้องกันของ Windows เพียงอย่างเดียว

ดูผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่: https://www.av-test.org/en/news/news-single-view/21-internet-security-suites-put-to-the-test-under-windows-81/

รายละเอียดเพิ่มเติม: https://www.av-test.org/en/antivirus/home-windows/windows-8/june-2015/

from:https://www.techtalkthai.com/internet-security-suite-test-for-windows-8-1-by-av-test/

ผลการทดสอบ Anti-Phishing ประจำปี 2015 โดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives องค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบซอฟต์แวร์สำหรับป้องกันการโจมตีแบบ Phishing ประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์ทั้งหมด 10 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

Phishing คืออะไร

Phishing คือ เทคนิคการหลอกลวงบนอินเตอร์เน็ตเพื่อขโมยข้อมูลสำคัญของผู้ใช้ เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต หรือข้อมูลส่วนตัวอื่นๆผ่านทางการส่งข้อความผ่านอีเมลล์หรือโปรแกรมแชท พร้อมทั้งแนบลิงค์ URL เพื่อหลอกให้ผู้ใช้กดเข้าไป เช่น ระบุว่าตนเองเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุสำคัญที่จำเป็นต้องให้ผู้ใช้เข้าสู่ระบบ หรือกรอกข้อมูลใหม่ผ่านทาง URL ดังกล่าว แต่ที่จริงแล้วเป็น URL ปลอมหน้าตาคล้ายคลึงของจริงที่แอบหลอกดักข้อมูลของผู้ใช้

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

มีทั้งหมด 10 เจ้าที่มีฟีเจอร์การป้องกัน Phishing ได้แก่

av_comparatives_anti-phishing_2015_1

วิธีการทดสอบ

  • ทดสอบบนระบบปฏิบัติการ Windows 7 Professional 64 bits และ Internet Explorer 11 ซึ่งไม่มีการเปิดใช้ฟีเจอร์บล็อก Phishing ที่ติดตั้งมาให้บนเบราเซอร์
  • ทุกผลิตภัณฑ์ที่ทดสอบ ใช้การตั้งค่าดั้งเดิมจากโรงงาน (Default)
  • ทดสอบ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม ถึง 3 สิงหาคม 2015
  • เว็บไซต์ Phishing ที่ใช้ทดสอบเป็นเว็บที่มีอยู่จริง และหลอกผู้ใช้ให้กรอกข้อมูลจริงๆ เช่น เว็บที่หลอกถามข้อมูลล็อกอิน, บัตรเครดิต, Paypal, ข้อมูลธนาคาร, โซเชียลเน็ตเวิร์ค, เกม และอื่นๆ รวมทั้งหมด 245 เว็บไซต์

ผลการทดสอบ

เรียงลำดับตามเปอร์เซ็นที่ผลิตภัณฑ์สามารถบล็อกเว็บไซต์ Phishing ได้

  1. Kaspersky Lab – 98%
  2. Fortinet – 92%
  3. Bitdefender และ Trend Micro – 91%
  4. ESET – 90%
  5. BullGuard และ F-Secure – 84%
  6. Emsisoft และ Lavasoft – 71%
  7. Baidu – 52%

av_comparatives_anti-phishing_2015_3

ผลการทดสอบ False Alarm

False Alarm หรือการแจ้งเตือนผิดพลาดเนื่องจากระบุว่าเว็บไซต์ปกติเป็นเว็บไซต์ Phishing โดยทำการทดสอบกับเว็บไซต์ธนาคารกว่า 500 เว็บทั่วโลก (ทั้งหมดเป็น HTTPS และมีช่องสำหรับล็อกอิน) พบว่ามีเพียง F-Secure เท่านั้นที่มีการตรวจจับผิดพลาดทั้งหมด 1 ครั้ง

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์

av_comparatives_anti-phishing_2015_4

* F-Secure ถูกลดระดับ 1 ขั้น เนื่องจากมี False Alarm

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/08/avc_phi_201508_en.pdf

from:https://www.techtalkthai.com/anti-phishing-test-2015-by-av-comparatives/

รวมรายชื่อผลิตภัณฑ์รักษาปลอดภัยที่ใช้งานร่วมกับ Windows 10 ได้

av_comparatives_logo

หลังจากที่ Microsoft เปิดให้อัพเกรดระบบปฏิบัติการเป็น Windows 10 ได้ฟรีเมื่อวานนี้ (29 ก.ค.) หลายท่านคงได้ทำการอัพเกรดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดหลังจากติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ก็คือ การติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย หรือโปรแกรมแอนตี้ไวรัสนั่นเอง ซึ่งทาง AV-Comparatives ได้ทำการทดสอบผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยเพื่อดูว่าสามารถใช้งานบน Windows 10 ได้เหมือน Windows 7 และ 8.1 หรือไม่ ซึ่งทีมงาน TechTalkThai ได้นำผลการทดสอบมาเผยแพร่ให้ทุกท่านได้ทราบ ดังนี้

* AV-Comparatives แนะนำว่า ให้ยกเลิกการติดตั้งซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยก่อนอัพเกรดเป็น Windows 10 แล้วค่อยดาวน์โหลดโปรแกรมเพื่อติดตั้งใหม่อีกครั้งหลังอัพเกรดเรียบร้อยแล้ว

** AV-Comparatives จะทำการอัพเดทรายชื่อซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่ทำงานได้ดีบน Windows 10 เรื่อยๆ สามารถดูรายชื่อล่าสุดได้ที่ http://www.av-comparatives.org/windows-10-approved-products/

av-comparatives_security_software_compatible_to_windows_10

วิธีการทดสอบความเข้ากันได้

เครื่องที่ใช้ทดสอบ คือ Lenovo ThinkPad Twist โดยใช้ CPU Intel Core i3-3217U และ RAM 4 GB ซึ่งทำการอัพเกรด Windows 10 Build 10240 แบบ 64 bits

  • ทดสอบการติดตั้งและรันโปรแกรม โดยต้องไม่มีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาดหรือปัญหาอื่นๆ
  • ทดสอบการรีสตาร์ทเครื่อง ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยต้องสามารถอัพเดทและใช้งานได้ปกติ
  • ต้องไม่มีการแจ้งเตือนผิดพลาด (False Positive) อันเนื่องมาจากไฟล์ของระบบปฏิบัติการ รวมทั้งต้องไม่ทำให้ระบบปฏิบัติการ Crash หรือทำงานผิดปกติ
  • โปรแกรมต้องปรากฏในนาม Antivirus และ Anti-spyware (และ Firewall ถ้ารองรับ) ใน Windows 10 Security and Maintenance บน Control Panel และถ้าหยุดการใช้งานโปรแกรม ต้องมีการแจ้งเตือนบนหน้าต่าง Windows 10 Security and Maintenance
  • เมื่อติดตั้งโปรแกรมแล้ว Windows Defender ต้องหยุดการทำงาน และ Windows Firewall ต้องถูกตั้งค่าให้เหมาะสมกับการใช้งานร่วมกับโปรแกรมดังกล่าว
  • ไอคอนบน System Tray ของโปรแกรมต้องสามารถเปิดใช้เพื่อเข้าสู่หน้าต่างหลักได้
  • ระบบป้องกันภัยแบบเรียลไทม์ต้องป้องกันมัลแวร์และการติดต่อผ่านทาง USB แฟลชไดรฟ์และระบบเครือข่ายได้
  • โปรแกรมต้องสามารถสแกนหามัลแวร์ รวมทั้งลบ หรือหยุดการทำงานของมัลแวร์บน USB ได้
  • โปรแกรมต้องตรวจจับ ป้องกัน ลบ หรือหยุดการทำงานของมัลแวร์ที่ดาวน์โหลดผ่านเบราเซอร์ได้
  • สามารถยกเลิกการติดตั้งโปรแกรมผ่านทาง Control Panel โดยไม่มีปัญหาตามมา และ Windows Defender และ Windows Firewall จะต้องกลับมาทำงานใหม่อีกครั้งหลังจากรีสตาร์ทเครื่องแล้ว

รายละเอียดเพิ่มเติม: http://www.av-comparatives.org/windows-10-approved-products/

from:https://www.techtalkthai.com/approved-security-software-for-windows-10/

ผลทดสอบ Real-world Protection ประจำปี 2015 โดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives เป็นองค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามแบบ Real-world ประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยกว่า 20 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

av-comparatives_real_world_test_2015_1

เตรียมพร้อมก่อนการทดสอบ

  • คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทดสอบติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 Home Premium SP1 64-Bit โดยอัพเดทล่าสุดคือวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2015
  • มีการติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานทั่วไป เช่น Adobe Reader, Flash, QuickTime, IE, MS Office, Java, VLC เป็นต้น ซึ่งทุกโปรแกรมเป็นเวอร์ชันล่าสุด และมีการอัพเดทแพทช์ล่าสุดเช่นเดียวกัน
  • ทดสอบเป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่ มีนาคม ถึง มิถุนายน 2015

วิธีการทดสอบ

  • ทดสอบการตรวจจับภัยคุกคาม มัลแวร์ ทั้งแบบ Signature-based และ Heuristic-based รวมถึงป้องกัน Infection โดยไม่จำกัดวิธีการตรวจสอบ เสมือนกับใช้งานในสภาวะแวดล้อมจริง
  • ตรวจจับภัยคุกคามที่มาจากอินเตอร์เน็ต เครือข่ายภายใน (LAN) และผ่านทางแฟลชไดรฟ์
  • ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบใช้การตั้งค่าแบบ Default จากโรงงาน
  • ก่อนการทดสอบในแต่ละวัน จะทำการอัพเดทฐานข้อมูลและโปรแกรมแอนตี้ไวรัสให้ใหม่ล่าสุดเสมอ
  • ทุกสิ้นเดือน จะมีการสรุปผลร่วมกับเจ้าของผลิตภัณฑ์เพื่อรับทราบข้อจำกัดหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นขณะทดสอบ
  • ทดสอบเหตุการณ์หลายรูปแบบ เช่น ดาวน์โหลดมัลแวร์จากเว็บไซต์ กดลิงค์ที่เป็น Phishing ติดตั้งโปรแกรมที่แฝงโทรจัน เป็นต้น รวมทั้งมีการโจมตีเครื่อง
  • ทดสอบด้วยภัยคุกคามที่แฮ็คเกอร์นิยมใช้ในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้ง 1,895 เคส

ผลการทดสอบ

* คลิ๊กที่รูปเพื่อดูรูปขนาดใหญ่

av-comparatives_real_world_test_2015_2

แท่งสีเขียว คือ เปอร์เซ็นที่ป้องกันภัยคุกคามได้
แท่งสีเหลือง คือ เปอร์เซ็นที่ต้องอาศัยการยืนยันจากผู้ใช้จึงจะป้องกันภัยคุกคามได้
แท่งสีแดง คือ เปอร์เซ็นที่ไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้
กราฟสีเหลือง แสดงจำนวน False Positive
เส้นประสีขาว คือ เปอร์เซ็นที่ป้องกันภัยคุกคามได้โดยใช้ Microsoft Security Essential

สรุปผลการทดสอบการป้องกันภัยคุกคาม

สรุปผลการทดสอบตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนมิถุนายน รวมทั้งสิ้น 1,895 เคส เรียงลำดับ

av-comparatives_real_world_test_2015_3

สรุปผลการทดสอบการเกิด False Positive

av-comparatives_real_world_test_2015_4

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์

av-comparatives_real_world_test_2015_5

* คือ ถูกลดระดับ 1 ขั้นเนื่องจากมี False Positive ที่ค่อนข้างสูง

สรุปแล้ว มี 8 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ Panda, Bitdefender, Avira, Emsisoft, Kaspersky Labs, Qihoo, ESET และ Fortinet ที่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้มากกว่า 98% และมี False Positive ต่ำ (หรือไม่มีเลย) จึงได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ระดับ Advanced+ ในขณะที่ Ahnlab และ ThreatTrack VIPRE มีผลการทดสอบที่ไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร คือ ได้คะแนนต่ำกว่าการใช้งาน Microsoft Security Essenti ที่เป็นโปรแกรมพื้นฐานของระบบปฏิบัติการ Windows 7

อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่: Whole Product Dynamic “Real-World” Protection Test – (March – June 2015)

from:https://www.techtalkthai.com/real-world-protection-test-mar-jun-2015/

ผลการทดสอบ Performance Test ของซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยโดย AV-Comparatives

av_comparatives_logo

AV-Comparatives องค์กรอิสระที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการทดสอบซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์แอนตี้ไวรัส และโซลูชันความปลอดภัยบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ได้ออกรายงานผลการทดสอบประสิทธิภาพของซอฟต์แวร์ด้านความปลอดภัยประจำปี 2015 โดยทดสอบผลิตภัณฑ์กว่า 20 เจ้า สามารถดูสรุปผลการทดสอบได้ ดังนี้

** ผลการทดสอบ Performance Test นี้เป็นการทดสอบผลกระทบของผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้ง ไม่ได้ทดสอบความสามารถในการตรวจจับและป้องกันมัลแวร์แต่อย่างใด **

ผลิตภัณฑ์ที่เข้าร่วมการทดสอบ

av-comparative_performance_2015_1

เตรียมพร้อมก่อนการทดสอบ

  • ซอฟต์แวร์ทั้งหมดทดสอบบนคอมพิวเตอร์ HP 350 G1 ซึ่งใช้หน่วยประมวลผลแบบ Intel Core i5-4210U หน่วยความจำ 4GB และฮาร์ดดิสก์แบบ SATA II ซึ่งติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 8.1 64 bits
  • ซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่ติดตั้ง ใช้การตั้งค่าดั้งเดิมจากโรงงาน (Default Settings)
  • มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบผลกระทบต่อการใช้บริการออนไลน์และระบบคลาวด์
  • วัดผลการทดสอบโดยใช้ชุดทดสอบประสิทธิภาพของ PC Mark 8 Professional

วิธีการทดสอบ

ทดสอบผลกระทบต่อประสิทธิภาพจำนวน 5 รายการ ประกอบด้วย

  • คัดลอกไฟล์: ทำการคัดลอกไฟล์จากฮาร์ดดิสก์ลูกหนึ่ง ไปยังอีกลูกหนึ่ง
  • บีบอัดและคลายการบีบอัดข้อมูล: ทำการบีบอัดข้อมูลหลายประเภทที่ใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน
  • ติดตั้งและยกเลิกการติดตั้งซอฟต์แวร์: ตรวจสอบความเร็วในการติดตั้งซอฟต์แวร์ยอดนิยมที่ใช้งานทั่วไป
  • เปิดใช้งานแอพพลิเคชัน: ตรวจสอบความเร็วในการเปิดใช้แอพพลิเคชัน เช่น Microsoft Office และ PDF Reader
  • ดาวน์โหลดไฟล์: ทดสอบความเร็วในการดาวน์โหลดไฟล์จาก Local Server

ผลการทดสอบโดย AV-Comparatives

av-comparative_performance_2015_2
* คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

 

 

ผลการทดสอบโดย PC Mark 8 Professional

av-comparative_performance_2015_3

หมายเหตุ No security software คือ คอมพิวเตอร์ที่ไม่มีซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยติดตั้งอยู่ ถูกใช้เพื่อเป็นฐานการเปรียบเทียบ

สรุปผลการทดสอบ

เป็นการนำคะแนนผลการทดสอบทั้ง 2 แบบมารวมกัน โดยผลการทดสอบของ AV-Comparatives จะคิดคะแนนดังนี้ “Very fast” ได้ 15 คะแนน รองลงมา คือ “fast” ได้ 10 คะแนน และ “mediocre” ได้ 5 คะแนน

av-comparative_performance_2015_4

* กราฟยิ่งต่ำ คือ กระทบต่อประสิทธิภาพของระบบน้อย คือ ยิ่งดี

สรุปการรับรองผลิตภัณฑ์โดย AV-Comparatives

av-comparative_performance_2015_5

รายงานผลการทดสอบฉบับเต็ม: http://www.av-comparatives.org/wp-content/uploads/2015/07/avc_per_201505_en.pdf

ผลการทดสอบอื่นๆสามารถดาวน์โหลดรายงานมาอ่านฟรีที่เว็บไซต์ http://www.av-comparatives.org/

from:https://www.techtalkthai.com/performance-test-report-2015-by-av-comparatives/