คลังเก็บป้ายกำกับ: BLUESCREEN

Windows Tips – Blue Screen of Death รู้ทันความหมายต่างๆของ “จอฟ้ามรณะ” พร้อมวิธีแก้ไข

Blue Screen of Death หรือ “จอฟ้ามรณะ” เชื่อว่าเกือบทุกคนต้องเคยพบเจอแน่นอนกับการเจอหน้าจอสีฟ้านี้ขึ้นมา นั่นหมายความว่าเป็นลางร้ายที่คอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆ อาจจะเริ่มเกิดปัญหาขึ้นมาแล้ว แต่อย่าเพิ่งตกใจไป บางทีจอฟ้าอาจไม่ได้หมายความว่าคอมพิวเตอร์ของเพื่อนๆ เสียหาย ทางทีมงานรวมความหมายของรหัสจอฟ้าและวิธีแก้ไขไว้ให้เพื่อนๆแล้ว
โดยสามารถดูความหมายได้ตามนี้เลย

STOP CODE คือ รหัสที่แสดงถึงความผิดพลาดของระบบ
1.stop code: 0X000000BE Attempted Write To Readonly Memory
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: เกิดจากลง driver หรือ โปรแกรม หรือ service ที่ผิดพลาด เช่น ไฟล์บางไฟล์เสีย ไดร์เวอร์คนละรุ่นกัน วิธีแก้ไขให้ ถอนการติดตั้งโปรแกรมตัวเก่าก่อนที่จะเกิดปัญหานี้ ถ้าเป็นไดร์เวอร์ก็ให้ทำการ roll back ไดร์เวอร์ตัวเก่ามาใช้ หรือ หาไดร์เวอร์ที่ล่าสุดมาลง (กรณีที่มีใหม่กว่า) ถ้าเป็นพวก service ต่างๆที่เราเปิดก่อนเกิดปัญหาก็ให้ทำการปิด หรือ disable

2.stop code: 0X000000C2 Bad Pool Caller
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: ตัวนี้จะเหมือนกับข้อแรก แต่เน้นที่พวก hardware คือเกิดจากอัพเกรดเครื่องพวก Hardware ต่าง เช่น ram ,harddisk การ์ดจอ ต่างๆ ไม่ compatible กัน ทางแก้ไขก็ให้เอาอุปกรณ์ที่อัพเกรดออก ถ้าจำเป็นต้องใช้ก็ให้ลงไดร์เวอร์ หรือ อัฟเดท firmware ของอุปกรณ์นั้นใหม่

3.stop code: 0X0000002E Data Bus Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: เกิดจากการส่งข้อมูลที่เรียกว่า BUS ของฮาร์แวร์เสียหาย ได้แก่ ระบบแรม ,Cache L2 ของซีพียู , Memory, ฮาร์ดดิสก์ทำงานหนักถึงขั้น Error และเมนบอร์ดเสีย

4.stop code: 0X000000D1 Driver IRQL Not Less Or Equal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์กับ IRQ(Interrupt Request ) ไม่ตรงกัน การแก้ไขก็เหมือนกับข้อแรก

5.stop code: 0X0000009F Driver Power State Failure
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: เกิดจาก ระบบการจัดการด้านพลังงานกับไดรเวอร์ หรือ service ขัดแย้งกัน เมื่อคุณให้คอมทำงานแบบ “Hibernate” ทางแก้ไข ถ้าวินโดวส์แจ้ง error ไดร์เวอร์หรือ service ตัวไหนก็ให้ uninstall ตัวนั้น

6.stop code: 0X000000CE Driver Unloaded Without Cancelling Pending Operations
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการไดร์เวอร์ปิดตัวเองทั้งๆ ทีวินโดวส์ยังไม่ได้สั่ง ให้ทำการอัพเดทไดร์เวอร์ตัวที่มีปัญหาหรือลองถอนการติดตั้งแล้วติดตั้งใหม่อีกครั้ง

7.stop code: 0X000000F2 Hardware Interrupt Storm
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการที่เกิดจากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ เช่น USB หรือ SCSI controller จัดตำแหน่งกับ IRQ ผิดพลาด สาเหตุจากไดร์เวอร์หรือ Firmware การแก้ไขเหมือนกับข้อ 1

8.stop code: 0X0000007B Inaccessible Boot Device
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้จะมักเจอตอนบูตวินโดวส์ จะมีข้อความบอกว่าไม่สามารถอ่านข้อมูลของไฟล์ระบบหรือ Boot partitions ได้ ให้ตรวจฮาร์ดดิสก์ว่าปกติหรือไม่ สายแพหรือสายไฟที่เข้าฮาร์ดดิสก์หลุดหรือไม่ ถ้าปกติดีก็ให้ตรวจไฟล์ Boot.ini อาจจะเสีย หรือไม่ก็มีการทำงานแบบ Multi OS ให้ตรวจดูว่าที่ไฟล์นี้อาจเขียน Config ของ OS ขัดแย้งกัน

9.stop code: 0X0000007A Kernel Data Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดมีปัญหากับระบบ virtual memory คือวินโดวส์ไม่สามารถอ่านหรือเขียนข้อมูลที่ swapfile ได้ สาเหตุอาจเกิดจากฮาร์ดดิสก์เกิด bad sector, เครื่องติดไวรัส, ระบบ SCSI ผิดพลาด, RAM เสีย หรือ เมนบอร์ดเสีย

10.stop code: 0X00000077 Kernel Stack Inpage Error
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการและสาเหตุเหมือนกับข้อ 9 สามารถแก้ตามข้อ 9 ได้เลย

11.stop code: 0X0000001E Kmode Exception Not Handled
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดการทำงานที่ผิดพลาดของไดร์เวอร์ หรือ service กับ หน่วยความจำ และ IRQ ถ้ามีรายชื่อของไฟล์หรือ service แสดงออกมากับ error นี้ให้ทำการ uninstall โปรแกรมหรือทำการ Roll back ไดร์เวอร์ตัวนั้น ถ้ามีการแจ้งว่า error ที่ไฟล์ win32k สาเหตุเกิดจาก การ control software ของบริษัทอื่นๆ (Third-party) ที่ไม่ใช้ของวินโดวส์ ซึ่งมักจะเกิดกับพวก Networking และ Wireless เป็นส่วนใหญ่

12.stop code: 0X00000079 Mismatched Hal
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดการทำงานผิดพลาดของ Hardware Abstraction Layer (HAL)  วิธีแก้คือ reinstall วินโดวส์ใหม่
สาเหตุอีกประการการคือไฟล์ที่ชื่อ NToskrnl.exe หรือ Hal.dll หมดอายุหรือถูกแก้ไข ให้เอา Backup ไฟล์ หรือเอา original ไฟล์ที่คิดว่าไม่เสียหรือเวอร์ชั่นล่าสุดก๊อปปี้ทับไฟล์ที่เสีย

13.stop code: 0X0000003F No More System PTEs
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้เกิดจากระบบ Page Table Entries (PTEs) ทำงานโดย Virtual Memory Manager (VMM) ผิดพลาด ทำให้วินโดวส์ทำงานโดยไม่มี PTEs ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับวินโดวส์ อาการนี้มักจะเกิดกับการที่คุณทำงานแบบ multi monitors

โดยเรานั้นสามารถทำการปรับแต่ง PTEs ได้ใหม่โดยทำตามดังนี้

1. กดปุ่ม Windows ค้าง + R แล้วพิมพ์คำสั่ง Regedit
2. ไปตามคีย์นี้ HKEY_LOCAL_MACHINESYSTEMCurrentControlSetControlSession ManagerMemory Management
3. ให้ดูที่หน้าต่างขวามือ ดับคลิกที่ PagedPoolSize ให้ใส่ค่าเป็น 0 ที่ Value data และคลิก OK
4. ดับเบิลคลิกที่ SystemPages ถ้าคุณใช้ระบบจอแบบ Multi Monitor ให้ใส่ค่า 110000 แล้วคลิก OK รีสตาร์ทเครื่อง

14.stop code: 0X00000024 NTFS File System
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุเกิดจากการรายงานผิดพลาดของ Ntfs.sys คือไดร์เวอร์ของ NTFS อ่านและเขียนข้อมูลผิดพลาด สาเหตูนี้รวมถึง การทำงานผิดพลาดของ controller ของ IDE หรือ SCSI เนื่องจากการทำงานของโปรแกรมสแกนไวรัส หรือ พื้นที่ของฮาร์ดดิสก์เสีย คุณๆสามารถทราบรายละเอียดของerror นี้ได้โดยให้เปิดดูที่ Event Viewer วิธีเปิดก็ให้ไปที่ start > run แล้วพิมพ์คำสั่ง eventvwr.msc เพื่อเปิดดู Log file ของการ error โดยให้ดูการ error ของ SCSI หรือ FASTFAT ในหมวด System หรือ Autochk ในหมวด Application

15.stop code: 0X00000050 Page Fault In Nonpaged Area
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุการจากการผิดพลาดของการเขียนข้อมูลในแรม การแก้ไขก็ให้ทำความสะอาดขาแรมหรือลองสลับแรมดูหรือไ ม่ก็หาโปรแกรมที่ test แรมมาตรวจว่าแรมเสียหรือไม่

16.stop code: 0Xc0000221 Status Image Checksum Mismatch
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้สาเหตุมาจาก swapfile เสียหายรวมถึงไดร์เวอร์ด้วย การแก้ไขก็เหมือนข้อ 15

17. stop code: 0X0000007F unexpected Kernel Mode Trap
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: อาการนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกับนัก Overclock (ผมก็คนหนึ่ง) เป็นอาการ RAM ส่งข้อมูลให้ CPU ไม่สัมพันธ์กันคือ CPU วิ่งเร็วเกินไป หรือร้อนเกินไปสาเหตุเกิดจากการ Overclock วิธีแก้ก็คือลด clock ลงมาให้เป็นปกติ หรือ หาทางระบายความร้อนจาก CPU ให้มากที่สุด

18. stop code: 0X000000ED Unmountable Boot Volume
สาเหตุและแนวทางแก้ไข: สาเหตุและแนวทางแก้ไขอาการที่วินโดวส์หาฮาร์ดดิสก์ไม่เจอ (ไม่ใช่ตัวบูตระบบ) ในกรณีที่คุณมีฮาร์ดดิสก์หลายตัว หนึงในนั้นคุณอาจใช้สายแพของฮาร์ดดิสก์ผิด เช่น ฮาร์ดดิสก์เป็นแบบ 33MB/secound ซึ่งต้องใช้สายแพ 40 pin แต่คุณเอาแบบ 80 pin ไปต่อแทน

เป็นยังไงบ้างครับ หวังว่าคงเป็นความรู้ให้กับเพื่อนๆที่กำลังประสบปัญหาจอฟ้ากันอยู่ จะเห็นได้ว่า จอฟ้า ไม่ได้หมายถึง Hardware มีปัญหาเพียงอย่างเดียว แต่ทางที่ดีหากพบว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เกิดจอฟ้าขึ้นให้ใจเย็นๆแล้วจำเลขรหัส Error ไว้จากนั้นลองนำมาตรวจสอบดูว่าเป็นปัญหาที่ Hardware หรือ Software กันก่อน

สำหรับใครที่สงสัยตรงไหนสามารถคอมเม้นต์ไว้ที่ด้านล่างได้เลยนะครับ

from:https://notebookspec.com/blue-screen-of-death/445984/

4 ปัญหาคอมปวดหัวจี๊ด เปิดไม่ติด, บลูสกรีน, Error 404 และ DLL Fileis Missing แก้ไขได้

โดยพื้นฐานสำหรับคนที่ใช้คอม ก็มักจะเคยพบกับปัญหาในการใช้งานด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์ก็ตาม สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นบางอย่างก็แก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่อาการบางอย่าง ก็อาจจะต้องถึงมือช่างผู้ชำนาญ เพื่อทำการแก้ไข แต่จะอย่างไรก็ตาม ก็ขึ้นอยู่กับอาการหนักหรือเบาต่างกันไป

โดยทั่วไปปัญหาพื้นฐานแบบที่เจอกันบ่อย จะมีเพียงไม่กี่อย่าง แต่จะแตกต่างกันไปตามรายละเอียดที่แยกย่อยออกไปนั้นเอง ซึ่งผู้ใช้เองก็สามารถแก้ไขได้ไม่ยุ่งยาก เพียงแต่ก็ต้องทำความเข้าใจและสังเกตปัญหาในการทำงาน เช่นเดียวกับปัญหาทั้ง 4 แบบที่นำมาให้ดูกันในวันนี้ เชื่อว่าอย่างน้อยต้องได้เจอกัน 3 ใน 4 หรือบางทีโชคร้ายก็อาจจะเจอปัญหาทั้ง 4 แบบนี้เลยก็ดี ซึ่งเราก็นำวิธีแก้ปัญหาในเบื้องต้นแบบง่ายๆ มาฝากกัน

คอมพิวเตอร์เปิดไม่ติด บูตไม่ขึ้น
อาการแบบนี้เป็นปัญหาที่เบสิคสุดๆ มักจะพบกันได้ทั้งคอมเก่าและใหม่ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ นั่นก็เพราะว่าโอกาสที่จะเจอปัญหาเหล่านี้ เป็นได้ทั้งเครื่องใหม่ และเครื่องที่ใช้มานาน รวมถึงซอฟต์แวร์บางอย่าง ที่ทำให้เกิดความผิดปกติ การแก้ไข ด้วยวิธีการต่างๆ เหล่านี้

  • อาจเริ่มต้นจาก BIOS ให้เข้าไปเช็คว่า มีการตั้งค่า Boot Device ถูกหรือไม่ และระบบตรวจพบ HDD หรือ SSD ที่้เป็นตัวบูตระบบด้วยหรือเปล่า?
  • ฮาร์ดแวร์ ด้วยการเข้าไปเช็คอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครื่อง โดยเฉพาะแรมหรือการ์ดจอ ที่อาจเป็นตัวการ ทำให้ระบบไม่บูตตามปกติ หรือถ้าเป็นพีซี บนเมนบอร์ดบางรุ่นมาพร้อม LED Debug ก็สามารถดูจากรหัสที่ปรากฏขึ้นได้ทันที
  • หรือบางครั้งอาจเกิดจากซอฟต์แวร์ เช่น Windows ไม่บูตเข้าระบบตามปกติ ก็อาจจะใข้แผ่นบูตหรือ USB Flash drive ในการบูตระบบ จากนั้นเข้าไปยัง Repair Startup เท่านี้ก็กลับมาใช้งานได้ตามปกติแล้ว

Bluescreen of Death (BSOD)

เป็นอาการผิดปกติ ที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนรู้สึกย่ำแย่ เพราะมันจะไม่มีอาการเตือนใดๆ ทั้งนั้น แต่ขณะที่คุณทำงานอยู่ ก็ขึ้นหน้าจอสีฟ้าๆ ขึ้นมา พร้อมคำเตือนเป็นรหัส ที่คุณไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ต้องรีสตาร์ทเครื่องเท่านั้น ซึ่งคุณก็ต้องเข็คตัวเลขที่ปรากฏขึ้นให้ทัน เพื่อนำไปค้นหาต้นเหตุที่เกิดขึ้น

  • วิธีที่คุณอาจจะนำมาใช้ในการแก้ปัญหา Bluescreen of Death ก็คือ หากคุณเพิ่งติดตั้งซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์เข้าไปใหม่ ให้ลองอัพเดตโปรแกรมหรือไดรเวอร์ล่าสุดอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นสังเกตอาการอีกครั้
  • หรืออาจใช้วิธีในการแก้ไขด้วยวิธีพื้นฐาน ที่เป็นฟีเจอร์บน Windows
  • ใช้วิธีนำระบบเดิมที่ไม่เคยเกิดปัญหามาใช้ด้วยสิ่งที่เรียกว่า Starting up using Last Known Good Configuration
  • หรือจะใช้ System Restore
  • รวมไปถึงวิธีเรียกไดรเวอร์เดิมกลับคืนมา หรือ Rolling Back the device driver
  • ในแง่ของฮาร์ดแวร์ ก็จะมีตั้งแต่ การลองสลับสายเคเบิ้ลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสายสัญญาณหรือสายไฟเลี้ยงก็ตาม
  • การสลับโมดูลแรม ไปใช้ในสล็อตอื่นๆ
  • หรืออาจต้องลองเปลี่ยนการ์ดจอใหม่ ก็มีส่วนช่วยในการแก้ไขได้เช่นกัน

“404” or “Page Not Found” Error
404 error เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจปรากฏขึ้นบนเบราว์เซอร์ใดก็ได้เช่นกัน ส่วนใหญ่จะแสดงผลบนหน้าต่างของ Web Browser โดยในทางเทคนิค error 404 อาจเป็นความผิดพลาดอันเกิดจากคุณพิมพ์ URL ไม่ถูกต้อง หรือมีการย้ายหรือเปลี่ยนเว็บไซต์จากเดิมที่เคยใช้ไปเป็นอย่างอื่น รวมถึงทางเว็บได้ย้ายหน้าเว็บไปแล้วทั้งหมด แต่ไม่ได้เปลี่ยน URL ใหม่ ก็อาจเกิด error 404 ได้เช่นกัน เพราะไม่ได้ลิงก์ไปยังหน้าใหม่อัตโนมัติ

  • วิธีการแก้ไขในเบื้องต้นคือ เริ่มจากการกด F5 เพื่อทำการรีเฟรช หรือพิมพ์ URL ลงไปในช่อง Address bar ใหม่อีกครั้ง
  • เช็ค Error ที่มีอยู่ใน URL บ่อยครั้งที่ 404 Not Found error เกิดจากการพิมพ์ URL ผิด หรือลิงก์ URL นั้นไม่ถูกต้อง
  • เลือกใช้ Search engine ยอดนิยมในการค้นหาเว็บไซต์ที่ถูกต้อง เพื่อแก้ไขปัญหา URL ที่ผิดปกติ
  • เคลียร์แคชบน Web Browser มีความเป็นไปได้ว่า ข้อความ 404 Not Found อาจเกิดจากเครื่องของคุณเอง เช่น เปิดในมือถือได้ แต่เปิดในคอมไม่ได้ การ Clear cache เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

“DLL File is Missing”
อาการนี้ เกิดจากการค้นหาไฟล์ DLL ไม่เจอ ซึ่งจะแสดงอาการ เมื่อติดตั้งโปรแกรมหรือไฟล์บางอย่างลงไปในเครื่อง แล้วไม่สามารถเปิดโปรแกรม เพื่อใช้งานได้ตามปกติ

  • วิธีการแก้ไขก็คือ ในเบื้องต้นไม่แนะนำให้ไปดาวน์โหลดไฟล์ DLL มาจากเว็บไซต์ที่ให้ดาวน์โหลด DLL อยู่ทั่วไปมาติดตั้งทับลงไปบน DLL เดิม เพราะอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบได้
  • ให้ลอง Restore ไฟล์ DLL ที่อาจเกิดไปลบไฟล์อย่างไม่ตั้งใจใน Recycle bin หรือจะใช้วิธี Recovery file ก็ได้เช่นกัน
  • ใช้โปรแกรมในการสแกนไวรัสและมัลแวร์
  • เลือกใช้ฟังก์ชั่น System Restore เพื่อแก้ไขไฟล์ระบบ หากไฟล์ DLL ที่ใช้อยู่เดิมมีการเปลี่ยนแปลง
  • Reinstall Program เมื่อไฟล์ DLL สำคัญมีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้เปิดโปรแกรมไม่ได้ การเลือกติดตั้งโปรแกรมใหม่ ก็ทำให้ไฟล์ดังกล่าวกลับมาสู่ระบบอีกครั้ง
  • Repair Windows ใหม่ เป็นวิธีการแก้ไขหลังจากที่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตามขั้นตอนเหล่านั้น การ Restore ใหม่ ก็ทำให้ Windows DLL file ต้นฉบับกลับคืนมา
    สุดท้าย หากไม่สามารถแก้ไขได้ทั้งหมด การติดตั้งวินโดวส์ใหม่ด้วยวิธี Clean Install ก็เป็นการแก้ไขปัญหาได้ชัดเจนที่สุด

from:https://notebookspec.com/4-problem-bluescreen-error-dll-file-missing/427098/